พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
ตอนที่ ๑๖๒
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าเราจะอ่านพระสูตร ได้ฟังพระอภิธรรมหรือว่าได้รู้เรื่องของพระวินัย เราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ขณะนั้นประกอบให้เราเห็นลักษณะของสภาพจิตหลากหลาย พระวินัยตั้งแต่ละเอียด ขั้นเริ่มเล็กๆ น้อย จนกระทั่งถึงโทษหนัก นั่นก็คือ ความหลากหลายของจิต พระสูตรเรื่องราวต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่า จิตของแต่ละบุคคลซึ่งเกิดมาแล้วในอดีตมากมาย และก็ได้ปรากฏในพระไตรปิฎก และถ้ายังไม่ได้ดับสังสารวัฏฏ์ คนเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ผู้ที่มีชื่อต่างๆ ในพระไตรปิฎก ไม่ได้ออกไปจากสังสารวัฏฏ์เลย เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนเรื่อง เปลี่ยนสถานที่เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเรามุ่งเพื่อให้เข้าใจธรรม ปลอดภัยที่สุด คือว่าไม่มีเราที่ไปกะไปเกณฑ์ ไปหวังว่าจะต้องทำอย่างนี้หรืออย่างนั้น แต่ว่าทุกคำที่ได้ยินแล้วเข้าใจแค่ไหน และก็มีความมั่นคงในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นธรรม เราก็ค่อยๆ ฟัง ถ้าพูดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนี้ก็มี ค่อยๆ เข้าใจความจริง ว่าจริงหรือไม่ เป็นรูปารมณ์ใช้คำนี้ ไม่ได้บอกว่าเห็นคน สิ่งนี้ก็เป็นธรรมที่ปรากฏทางตา และหลังจากนั้นก็ทรงจำ เป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ ทะเลมาแล้ว เป็นเรื่องมาจากการเห็น สุข ทุกข์ทั้งหลายก็มาจากสิ่งที่ปรากฏทางตา และก็คิดนึกเพราะไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราฟังอย่างนี้ ก็จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจธรรม นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ยิ่งของการฟังโดยที่ไม่หวังอะไรทั้งสิ้น ไม่ได้ไปเตรียมที่จะทำอย่างนั้น หรือคิดว่าจะต้องทำอย่างนี้ แต่ฟังแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ก็เป็นแต่ละการสะสม
ผู้ฟัง ขณะนั้นเราก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะ รู้จักลักษณะที่เพิ่งเกิดแล้วก็ดับไป ขั้นพิจารณาเท่านั้น บ่อยครั้งเข้าๆ พอรู้จักลักษณะของเขา จะเป็นพื้นฐานของสติปัฏฐานหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ แน่นอน ปัญญาที่เกิดก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น
ผู้ฟัง แต่ก่อนพอเห็นมดตัวจะเท่าช้างเลย แต่พอหลังๆ ศึกษาธรรมไปเรื่อยๆ ช้างก็ตัวเล็กลง ตอนนี้มันกลับมาเหมือนเดิมในช่วงนี้ มีอะไรกระทบก็จะ ไม่มีการสำรวมอะไรทั้งสิ้น คือทุกครั้งที่มีความรู้สึกว่าทนไม่ไหว แก้วก็จะเปิดเทปฟังแล้วนิ่ง เพราะถ้ายังคงอยู่ในสภาพตรงนั้นแล้วเหมือนกับการควบคุมตัวเองไม่ได้แล้ว ถึงแม้จะคิดว่ามันเป็นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา แต่มันพุ่งออกไปแล้วก็น่าเกลียดมาก ก็พยายามหาทางช่วยตัวเอง
ท่านอาจารย์ แต่ละคนก็แต่ละการสะสม รับฟังเรื่องจริงที่เกิดแล้วตามความเป็นจริง แต่ไม่ใช่จะไปวิพากษ์วิจารณ์ จะไปพยายามให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ แต่ให้รู้ว่าเมื่อเกิดแล้วแต่ละคนเป็นอย่างนี้ จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่อาศัยการฟังเข้าใจ ประโยชน์อยู่ตรงนี้ ไปบีบ ไปรัด ไปเร่ง ไปเร้าให้กุศลจิตเกิดมากๆ ไม่ให้เป็นอย่างนั้นเลย ให้เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจธรรม
เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องไปคิดว่าอะไรจะเกิดหรือไม่เกิด กำลังฟังธรรมให้เข้าใจธรรม และเวลาที่เรากล่าวถึงเรื่องอินทรีย์ต้องเสมอกันอะไรต่างๆ พวกนี้ ไม่ใช่ตัวเราไปทำ แต่ขณะนี้ที่ฟังแล้วกุศลจิตไม่เกิด แล้วเวลาจะเกิดเพราะอะไร นี่ก็เป็นเพราะเหตุว่าถ้ามีการฟังมากขึ้น สภาพธรรมก็จะปรับ หรือปรุงแต่งให้จิตที่เป็นกุศลแต่ละระดับเกิดโดยที่เราบังคับไม่ได้ เพราะเราสะสมอกุศลมามาก แล้วจะเป็นตัวตนไปเลือกให้เจตสิกนี้เกิด ให้เกิดหิริ ให้เกิดโอตตัปปะ ให้ละอาย เป็นไปไม่ได้เลย แต่สภาพธรรมทั้งหมดปรุงแต่งเป็นสังขารขันธ์ แล้วแต่ว่าจะสม่ำเสมอเมื่อไร เกิดขึ้นเมื่อไร เป็นไปในกุศลเมื่อนั้นแต่ว่ากุศลต่างระดับ กุศลขั้นคิดก็มี ไม่ใช่ไม่มีเลย แต่ว่าเป็นเพียงขั้นคิด และถ้าปรับหรือว่าอบรมต่อไป สังขารขันธ์ปรุงแต่งต่อไป ก็จะทำให้กุศลนั้นเจริญในทางที่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ นี่คือพระมหากรุณาคุณที่ทรงแสดง เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ ความละเอียดของธรรมเป็นอย่างนี้ หนทางที่ละเอียดเป็นอย่างนี้ ผู้ที่เข้าใจจริงๆ และเป็นผู้ที่ละเอียด และเป็นผู้ที่ศึกษาเพื่อเข้าใจ และละก็จะได้สาระ ได้ประโยชน์จากพระธรรมที่ได้ทรงแสดง เพราะว่าทั้งหมดเป็นไปเพื่อละ ไม่ว่าจะดูตรงไหน พระวินัย พระสูตร หรือพระอภิธรรม ก็เพื่อให้ละความไม่รู้ และก็ละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ซึ่งจะเป็นทางนำไปสู่การดับกิเลสหมดสิ้น ไม่เหลือเลยเป็นสมุจเฉท
ผู้ฟัง ทุกๆ เรื่องที่เกิด มันเป็นเหมือนบทเรียนจริงๆ สำหรับตัวเอง ธรรมที่มาเป็นบทเรียนครั้งใหญ่
ท่านอาจารย์ บทเรียนจริงๆ แล้วมีทุกวัน บทเล็กบทใหญ่ แม้แต่ในการเดินทาง เปลี่ยนสถานที่ มาแล้ว พิสูจน์ความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏระดับไหน ระดับขุ่น ไม่พอใจ ระดับคิดถึงคนอื่นในทางที่ ถ้าเราทำอย่างนั้นจะดีกว่า ทุกอย่างจะมาหมดเลย ชีวิตประจำวันก็จะเป็นบทเรียนถ้าเรารู้ว่าขณะนั้น แสดงให้เห็นถึงการสะสมของเราระดับไหน เราพูดถึงเมตตาเป็นบารมี แล้วเราจะให้เมตตาเกิดเป็นบารมีเมื่อไร ตอนนี้ไม่เอา ตอนนี้โกรธก่อน ตอนนี้จัดการเสียก่อน ตอนนี้ระเบิดเสียก่อน ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย ทุกขณะที่กุศลจิตเกิด แล้วก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี และก็มีการฟังธรรม และก็มีการอบรมทั้งหมดเป็นบารมี แม้หนึ่งขณะ ชั่วขณะที่เกิด ไม่ว่าในเหตุการณ์ไหนทั้งสิ้น ถ้าอาหารไม่อร่อย เค็มไป บารมีมีหรือไม่ ชีวิตประจำวัน อาหารเป็นเพียงสิ่งที่ดำรงชีวิต ไม่บริโภคไม่ได้ ขณะที่กำลังบริโภค สติสัมปชัญญะเกิด แล้วแต่ว่าระดับไหน ถ้าไม่อร่อยจะทำยังไง ก็แล้วแต่การสะสม แต่จะถึงกับกล่าววาจาที่ตำหนิติเตียนหรือไม่ นี่ก็แสดงถึงระดับซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน บทเรียนทุกขณะ แล้วก็เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ไม่ใช่เลือกสถานการณ์ นั่นคือบทเรียนใหญ่มาก แต่ว่าธรรมดาปกติทุกขณะ เมื่อกุศลจิตเกิด และมีความเข้าใจถูกก็เป็นบารมี เป็นการละอกุศลซึ่งมีมาก แต่ก็ต้องหนทางเดียวจริงๆ ที่จะดับอกุศลได้ ไม่ใช่เพียงขั้นเล็กๆ น้อยๆ
ผู้ฟัง เวลาที่เราโกรธ ต้องมีจิตตชรูปออกมาลักษณะอย่างนั้นใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่าจิตตชรูป เป็นรูป ซึ่งเกิดจากจิต ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิต ๑๐ ดวง ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป เช่น จิตเห็น ๒ คือกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และปฏิสนธิขณะ ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดเป็นปัจจัยให้กัมมชรูปเกิด แต่ไม่เป็นปัจจัยให้จิตตชรูปเกิด ต่อเมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว หลังจากนั้นจิตทุกดวงเว้น ๑๐ ดวงในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็จะเป็นปัจจัยให้รูปเกิด จะรู้หรือไม่รู้ก็ตามแต่ และจุติจิตของพระอรหันต์ และอรูปวิบากซึ่งทำกิจปฏิสนธิที่เป็นอรูปพรหม นอกจากนั้นทุกขณะ
ผู้ฟัง ดิฉันไปซื้อก๋วยเตี๋ยว แล้วก็สั่งเขา สั่งเสร็จเขาก็บอกว่า "พี่เดี๋ยวนะ ยังมีอีกหลายชาม" ก็ไม่เป็นไรเพราะว่าจะสั่งกลับ ก็ยืนดูเขาแล้วก็เพลิดเพลินเวลาเขาตักโน่นตักนี่ แล้วเขาก็หันมาบอกว่า "คุณๆ รอเดี๋ยวนะ ผมรู้สึกว่าคุณนี่กำลังร้อนใจมากเลย" ก็เลยแปลกใจว่าก็เรายืนดูเพลินๆ ไม่ได้มีความรู้สึกว่าโมโหหรือโกรธอะไรเลย เขาก็ยังดูว่าเรานี่เป็นคนใจร้อน
ท่านอาจารย์ คือความคิดของเขา ห้ามไม่ได้ ไม่ว่ารูปที่ปรากฏจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความคิดของเขา
ผู้ฟัง คนเขาดูก็คงจะดูออก ว่าเป็นคนใจร้อนมาก
ท่านอาจารย์ คิดถึงได้ แต่จะจริงหรือเปล่า อย่างถ้าคนกำลังยิ้มหรือหัวเราะอย่างสนุกสนาน รู้ได้เลยใช่หรือไม่ ว่าจิตประเภทไหนที่ทำให้เกิดการยิ้มแย้มหัวเราะ
ผู้ฟัง โทสมูลจิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จากการศึกษา จิตมีการสะสมสืบต่อใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ในจิตขณะต่อไปที่เกิดสืบต่อ ไม่ใช่จิตเก่ากลับมา
ผู้ฟัง หมายถึง จิตดวงนั้นถ้าเป็นอกุศลจิตเกิดขึ้นดับ ก็หมดไปแล้ว
ท่านอาจารย์ แต่เป็นอนันตรปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ไม่มีการขาดช่วงเลยแล้วแต่ว่าเป็นจิตประเภทใด แต่ไม่ใช่จิตเก่าจะกลับมา เหมือนกับไฟ ซึ่งเกิดจากเชื้อไฟนาน ดับไปแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าไฟเก่าที่เกิดจากเชื้อไฟนั้นจะกลับมาอีก ก็ต้องเกิดจากเชื้อไฟใหม่
ผู้ฟัง แต่สังเกตว่า โทสะนี่เห็นได้ง่าย เวลาที่เกิด กำลังจะเพิ่มๆ
ท่านอาจารย์ กี่ขณะแล้วไม่รู้ เกิดดับไปเท่าไรแล้วไม่รู้ แม้เดี๋ยวนี้เอง นี่คืออนิจจัง ต้องเข้าใจความหมายว่าไม่เที่ยง คือเกิดแล้วดับทันที ทำกิจหน้าที่ของจิตนั้นแล้วก็ดับ เร็วแสนเร็ว นับไม่ได้เลย
ผู้ฟัง แต่ทำไมมีกำลังเพิ่มขึ้น
ท่านอาจารย์ สืบต่อสะสม
ผู้ฟัง เมื่อก่อนเราคิดว่าเรารักพ่อแม่ ลูก แต่ว่าพอเรามาศึกษาธรรมจริงๆ เราก็มีความรู้สึกว่าแท้ที่จริงแล้ว เราจะรักตัวเองมากที่สุด แต่ก็ยังสามารถที่จะฆ่าตัวตายได้
ท่านอาจารย์ ด้วยความรักตัว ทนสภาพนั้นไม่ได้
ผู้ฟัง ไม่ใช่โทสะที่มีกำลังมาก
ท่านอาจารย์ ด้วยความรักตัว และก็เป็นเหตุให้เกิดโทสะ ไม่พอใจที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น ถ้าพอใจแล้วจะฆ่าตัวทำไม ถ้ารู้ว่าจิตเกิดทีละหนึ่งขณะสืบต่ออย่างรวดเร็ว จิตประเภทไหนก็เปลี่ยนเป็นประเภทอื่นไม่ได้ ชาติของจิต คือการเกิดของจิตเป็นกุศล เมื่อเกิดแล้วเป็นกุศลแล้วก็ดับไป ถ้าเกิดขึ้นเป็นอกุศลแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นเป็นวิบากแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นเป็นกิริยาแล้วก็ดับไป แต่ละขณะไม่มีใครยับยั้งได้เลย แต่สืบต่อเร็วจนเหมือนพร้อมกัน เช่นเห็นกับได้ยินเหมือนพร้อมกันเลย
ผู้ฟัง ขันติจะเกิดกับปัญญาหรืออย่างไร หรือว่าเป็นอย่างไร ตรงนี้สภาพธรรมเป็นอย่างไร
อ.อรรณพ ขันติก็มีหลายระดับขั้น ขันติ อดทน อดกลั้นในวาจาที่ไม่ดีของผู้อื่น ในขณะนั้นก็เป็นขันติ แต่ถ้าสติปัฏฐานเกิดเป็นขันติมากๆ เลย เพราะขณะนั้นรู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น ขันติที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นขันติบารมี แล้วก็เป็นตบะอย่างยิ่ง
ท่านอาจารย์ ต้องขอยกตัวอย่างเรื่องของผู้สนทนาที่กำลังโกรธ ขันติอยู่ตรงไหนมีโอกาสจะเกิดหรือไม่ แต่ถ้ามี ขณะนั้นก็รู้ว่าเป็นอกุศล ขณะนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่นอน สภาพนั้นกำลังเกิดขึ้นเป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดี นั่นคือแค่นั้นนิดเดียว แต่ขันติยิ่งกว่านั้น ขณะที่โกรธเกิดขึ้น อยากจะไม่โกรธ หรือรู้ตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขันติอย่างไหน เพราะฉะนั้น ขันติ ก็คือ ไม่เป็นไปตามกำลังของโลภะ หรือความต้องการที่จะไม่ให้โกรธ พยายามหาวิธีต่างๆ ที่จะไม่โกรธ นั่นเป็นแล้ว ตามกำลังของโลภะ ไม่ใช่ขันติเลย เพราะเหตุว่าเป็นเราที่ต้องการที่จะไม่โกรธ แต่ขันติจริงๆ อกุศลกำลังปรากฏให้เห็น แล้วมีขันติที่จะอดทน ที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะนั้นตามความเป็นจริงว่าป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ลักษณะนี้เปลี่ยนไม่ได้เลย ขันติเป็นตบะอย่างยิ่งที่จะเผาความไม่รู้ เราก็จะเห็นได้ว่าจริงๆ เมื่อความโกรธเกิดขึ้น เราเป็นไปด้วยตัวตนที่ไม่อยากจะโกรธ อยากจะให้ความโกรธนั้นหมดไป หรือขันติที่จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นสิ่งที่สามารถจะเห็นถูก เข้าใจถูก ว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง อย่างนี้เป็นความอดทนจริงๆ เพราะรู้ว่าไม่ง่ายที่จะเกิดใช่หรือไม่ ต้องเป็นความอดทนที่จะเข้าใจลักษณะที่ปรากฏ ไม่ใช่ไปไม่อยากจะให้สิ่งนั้นมี อยากจะให้หมดไปเร็วๆ
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาแยกตรงนี้ หมายถึงว่า ขณะที่ขันติอยากจะหาหนทางที่จะอดกลั้น อดทนในเรื่องความโกรธ อันนั้นเป็นโลภะ
ท่านอาจารย์ คือพอที่จะเข้าใจความจริง คือเราจะไม่วิจัย วิจารณ์สภาพธรรม แต่จะเข้าใจลักษณะของธรรมแต่ละอย่าง เพื่อที่จะได้รู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมอะไรอย่างถูกต้อง แทนที่จะมาใคร่ครวญ คิดว่านั่นเป็นนี่ นี่เป็นนั่น เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าเวลาโกรธเกิดขึ้น ถ้ามีขันติความอดทนเป็นกุศลเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะเข้าใจลักษณะนั้นเป็นสภาพที่ไม่ดี ขณะที่เห็นถูกว่า ลักษณะนั้นเป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดี นั่นระดับหนึ่ง แต่ระดับที่มีความอดทนที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ลักษณะนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เวลาที่เรากล่าวถึงโทสะ เราก็เอ่ยลักษณะหยาบกระด้าง ขุ่นเคืองประทุษร้ายหลายๆ อย่าง นั่นเป็นเรื่องราว แต่เวลาที่สภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏตัวจริง คืออาการหยาบกระด้างดุร้าย ความอดทนที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่เรา เป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ก็ต้องเป็นความอดทนที่มากกว่าที่จะหันไปทางให้กุศลจิตเกิดแทนอกุศล เพราะเหตุว่าแม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่การที่จะดับการเห็นผิดที่จะยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราได้
ผู้ฟัง ขณะที่กำลังโกรธก็มีหลายระดับที่ว่า ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องโกรธก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ต้องกล่าวถึง แต่ว่าขณะที่เราได้ยินเรื่องโกรธว่าโกรธไม่ดี หรือว่าอาการโกรธนี่เกิดทำให้ปวดหัว หรือว่าเราตาพล่า หรือว่าเราใจสั่นอะไรอย่างนี้ เราไปนึกถึงโทษของการโกรธ แต่ขณะที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงตรงนี้ ปัญญาไปรู้สภาพของโกรธว่าโกรธเกิดไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล อะไรทั้งสิ้น อันนั้นเป็นเรื่องของปัญญาระดับสูง แต่ว่าเรายังคงติดอยู่ในตอนที่ว่าจะหาทางให้ดับโกรธได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ เรื่องของสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิดหลากหลายละเอียดมาก แม้แต่การคิดนึกจะเกิดคิดอย่างไร เห็นโทษไม่อยากจะมี ก็คือรักตัว เพราะว่าไม่รู้ความจริง บางคนจะไม่รู้ตัวเลย ศึกษาธรรมเพราะรักตัว ไม่อยากจะไม่ให้ตัวมีอย่างนั้น ตัวมีอย่างนี้ที่เป็นอกุศล หรือว่าอยากจะให้ตัวมีความเก่งหรือมีความรู้ นั่นก็คือด้วยความรักตัว กว่าจะเป็นผู้ที่ตรงเพื่อรู้เพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกลักษณะของสภาพธรรมเท่านั้นเอง และปัญญาที่เห็นถูกก็จะทำหน้าที่ของเขา เพราะเหตุว่าปัญญาไม่มีโทษเลย ทุกอย่างที่มีปัญญาเป็นผู้นำ ก็จะนำไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น ก็ไม่ใช่ด้วยความรักตัว พอโกรธเกิดแล้ว ทำร้ายตัวเองแล้ว รักตัวขึ้นมาแล้ว เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ต้องเข้าถึงความลึกซึ้งของธรรม แม้อริยสัจ ๔ ลึกซึ้งทั้ง ๔ บางคนก็จะนึกถึงอริยสัจที่ ๓ นิโรธว่าเป็นนิพพานเท่านั้นใช่หรือไม่ แต่ว่าจริงๆ แล้วทั้ง ๔ นี่ลึกซึ้ง แม้แต่สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับซึ่งเป็นทุกขณะนี้ก็ลึกซึ้ง เพราะว่าถ้าไม่ใช่ปัญญาก็เห็นไม่ได้
ผู้ฟัง อาจารย์ช่วยกรุณาแยกระหว่างขันติกับเมตตา
ท่านอาจารย์ เวลาที่กุศลจิตเกิดในสัตว์ ในบุคคล ขณะนั้นก็เป็นเมตตา เพราะเหตุว่าเมตตาต้องในสัตว์ ในบุคคล มีความเมตตา มีความเป็นมิตร มีความหวังดี เกื้อกูล กรุณา ก็คือว่ามีความเห็นใจ เข้าใจในความทุกข์ของบุคคลอื่น มุทิตา ก็คือเป็นการที่พลอยยินดีด้วยในสิ่งที่เขาได้รับจากผลของกรรมของเขา อุเบกขา ก็คือไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งหมดเป็นญาติสนิท มิตรสหาย ความรู้สึกก็เป็นไปในทางกุศล
เพราะฉะนั้น ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเราคงไม่ต้องเรียกว่าเป็นอะไร แต่ให้ทราบว่าขณะนั้นก็ต้องมีโสภณเจตสิกทั้งหมด ๑๙ ประเภทจะขาดประเภทหนึ่งประเภทใดไม่ได้เลย ขณะใดที่เป็นไปในสัตว์บุคคล ลักษณะของอโทสะนั้นก็เป็นลักษณะของเมตตาต่อบุคคลนั้น แต่ถ้าในขณะนั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นอกุศลทั่วๆ ไป ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นอดทนที่จะไม่เป็นไปกับโลภะ หรือโทสะ หรืออกุศล
อ.ธีรพันธ์ ขันตินี่เป็นตบะ เป็นสภาพธรรมที่เผาปฏิปักษ์ธรรมตรงกันข้าม การที่จะมีสภาพธรรมนี้ได้จะต้องเป็นผู้ที่อบรมฝึกรู้ตามความเป็นจริง เราจะสังเกตว่าขณะที่ขันติเกิด บางท่านอาจจะคิดว่าอดทนที่จะไม่กล่าว หรือว่าอดทนที่จะไม่ทำ แต่จิตใจยังขุ่นอยู่ ขณะนั้นก็ไม่ใช่ขันติ ถ้าเป็นขันติจริงๆ จะต้องเป็นสภาพธรรมที่เป็นโสภณเจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมด้วยเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แต่เข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ดิฉันคิดว่าตรงนี้สำคัญ พอมาเรียนธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม แต่พอเวลาธรรม อะไรเกิดขึ้น ไม่รู้เลย ไม่ได้ศึกษาตรงนั้น จะคิดว่าเป็นตัวเรา ขออนุญาตท่านอาจารย์ช่วยพูดถึงคำว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม“ แล้วเราไม่ได้คล้อยตามตรงนั้นไปเลย
ท่านอาจารย์ ก็ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าขณะนี้ฟังเรื่องราวของธรรม แต่ว่ายังไม่ได้รู้ลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่งซึ่งเกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะ จากการที่ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ไม่สามารถที่จะไปเร่งรัดด้วยความเป็นเรา เพราะว่ายิ่งเร่งรัด ก็คือเราเพิ่มขึ้นไปอีก ฟังแล้วรังเกียจโทสะหรือเปล่า คือเลือกไม่ได้ หิริโอตตัปปะเกิดกับกุศลจิต เป็นโสภณธรรมในแต่ขณะนั้นต้องไม่มีโลภะ โทสะ ถ้าเกลียด ไม่ชอบ ขณะนั้นก็คือโทสะซ้ำเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น เรื่องของอกุศลก็ หลายซ้ำหลายซ้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดที่จะต้องเข้าใจให้ตรง ถ้าสามารถที่จะเข้าใจเรื่องราวของธรรมได้ ความเข้าใจนี้อย่างแยบคาย อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ค่อยๆ คลายความติดข้อง แม้ในโลภะหรือว่าความไม่พอใจในโทสะ เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา แต่ว่าเมื่อลักษณะสภาพธรรมนั้นเกิดเพราะเหตุปัจจัย ที่ยังไม่ดับเป็นสมุจเฉทก็ยังคงต้องเกิดต่อไป
ผู้ฟัง ยังติดใจ และสงสัย ในสภาพธรรมของโทสะที่มีโลภะเป็นเหตุ
ท่านอาจารย์ ก็ลองยกตัวอย่างขณะที่โกรธสักขณะหนึ่งว่าโกรธอะไร
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่ถ้าจะนึกออกก็คือ โกรธที่คนอื่นเขาทำไม่ดี
ท่านอาจารย์ ก็อย่างนั้นใช่หรือไม่ ก็อยากให้คนอื่นเขาทำดีแล้วเขาทำไม่ดี
ผู้ฟัง แล้วเราจะกล่าวได้หรือไม่ว่าโลภะเกิดก่อนแล้ว โทสะเกิดทีหลัง
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็น ขณะนี้เห็นเกิดก่อน ได้ยินเกิดก่อน คิดนึกเกิดก่อน หรืออะไรเกิดก่อน จะเอาอะไรเป็นตัวตั้งต้น ถ้าสิ่งนี้เกิดก่อน อย่างอื่นก็ตามหลัง ถ้าจะเอาสิ่งนี้ สิ่งนั้นก็เกิดก่อน หรือว่าสิ่งอื่นก็ตามหลัง ก็แล้วแต่เรื่อง ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องคิด แต่ให้ทราบว่าถ้าไม่มีความหวัง ไม่มีความต้องการใดๆ อะไรจะมาทำให้เราขุ่นใจได้
ผู้ฟัง แต่ว่าจริงๆ แล้วโลภะ จะอยู่กับเราเหมือนเป็นเพื่อนสนิทไปตลอด มันก็เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่มีโลภะ
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่เป็นโลภะ
ผู้ฟัง แต่ว่าโทสะ
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ อยากเสมอ อยากให้อาหารอร่อย ถ้าอาหารไม่อร่อยเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นโทสะ
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร เพราะอยากให้อาหารเป็นรสนั้นรสนี้
ผู้ฟัง แต่เราจะไม่รู้ตัวเลย
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดจะไม่รู้ตัวเลยจนกว่าจะฟังพระธรรม
อ.วิชัย เรียนถามท่านอาจารย์ ก็ได้อ่านในเรื่องของอกุศลกรรม เรื่องของปาณาติบาต และพยาปาท ท่านจำแนกปาณาติบาตว่าโดยสภาพมีมูล ๒
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180