พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
ตอนที่ ๑๖๕
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ ในขณะที่ถ้าเป็นแต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ ธรรมดา ปกติทั่วๆ ไป จะมีใครรู้บ้างว่าเวลารับประทานอาหาร อาหารยังไม่ได้เข้าปากเลย เป็นโลภะแล้ว เดินไปเป็นโลภะประเภทไหนใช่ไหม และถ้าอาหารนั้นอร่อยมาก พอใจ รับประทานคนเดียวหมดเลย ก็จะเห็นได้ว่าลักษณะของโลภะ ความติดข้องก็เพิ่มขึ้น เมื่อมีอาการที่ปรากฏต่างจากปกติซึ่งไม่สามารถที่จะรู้ได้ ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเป็น "วิสมโลภะ" โลภะที่ไม่สม่ำเสมอไม่ปกติ
เพราะฉะนั้น อุปกิเลสทั้งหลายก็จะปรากฏลักษณะสภาพของเจตสิก ซึ่งถ้าเป็นโลภะความติดข้องก็มีต่างระดับ จนกระทั่งถึงกระทำทุจริตกรรม เพราะฉะนั้นความติดข้องนี่มีมาก แล้วแต่ว่าจะติดข้องด้วยความเห็นผิดหรือไม่ ถ้าติดข้องด้วยความเห็นผิดจะมีลักษณะของ "อุปาทาน" ซึ่ง "อุปาทาน" ก็แสดงละเอียดแล้วว่าจิต ๗ ขณะที่เป็นชวนะ ขณะที่ ๑ เป็นตัณหา ขณะต่อไปเป็น "อุปาทาน"
เพราะฉะนั้น เรื่องธรรมเป็นเรื่องละเอียด เราก็ศึกษาตามท่านที่ได้ทรงแสดงไว้ แต่ว่าการที่จะเข้าใจ ก็จะต้องเข้าใจตามที่ท่านกล่าวโดยนัยที่ท่านแสดงด้วยว่า ถ้าแสดงอย่างนี้ก็คือชวนะที่ ๑ ซึ่งเพิ่งเกิดเป็นขณะแรก ก็จะยังไม่มีกำลังเท่ากับขณะหลังๆ ด้วยเหตุนี้ถ้าจะกล่าวโดยนัยของตัณหา อุปาทาน ก็มีหลายนัย ถ้าโดยละเอียดก็คือ แม้แต่ชวนะที่ ๑ ก็เป็น "ตัณหา" แต่ว่าชวนะหลังๆ ต่อไปก็เป็น "อุปาทาน" แต่จริงๆ ก็คือเราสามารถที่จะรู้ได้เมื่อมี "อุปกิเลส" ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นกิเลสที่เกิดจนกระทั่งปรากฏลักษณะที่สามารถจะรู้ได้ อย่าง "อภิชฌาวิสมโลภะ"
อ.ธิดารัตน์ "อภิชฌาวิสมโลภะ" ความโลภโดยไม่ชอบธรรม คือเพ่งเล็งผู้อื่น เช่นนี้คือ ๖ อย่างที่เหลือที่ละโดย "อรหัตตมรรค" ไม่เข้าใจว่าเลยระดับของพระอนาคามีมาแล้ว ก็ยังมี "อภิชฌาวิสมโลภะ" ในลักษณะไหน แล้วยังมี "ถัมภะ" ความหัวดื้อ "สารัมภะ" ความแข่งดี "อติมานะ" ซึ่งดูหมิ่นท่าน ยังไม่เข้าใจว่าเลยพระอนาคามีไปแล้วต้องละด้วยอรหัตตมรรค ชื่อเหมือนกับจะมีกำลัง ขอท่านอาจารย์อธิบายลักษณะ
ท่านอาจารย์ ดังนั้น ก็เป็นเหตุที่แสดงว่า แม้แต่คำก็แล้วแต่ที่ใช้ ซึ่งพระโสดาบันมี "พยาปาทะ" หรือไม่ ในความรู้สึกของเราเข้าใจว่า "พยาปาทะ" เป็นอย่างไร ซึ่งตามระดับก็จะต้องรู้ได้ว่า "พยาปาทะ" ที่กล่าวที่ว่าพระโสดาบันยังมี ก็คือไม่ได้ถึงระดับที่จะทำอกุศลกรรม และเมื่อถึงระดับนี้ก็จะต้องละด้วยความเป็นพระอรหันต์ ก็จะต่างกับที่เราสามารถที่จะรู้ได้ในชีวิตประจำวัน ในระดับของเรา ที่ว่า "อภิชฌาวิสมโลภะ" ท่านกล่าวถึงโลภะที่ไม่ใช่ปกติธรรมดา สามารถที่จะรู้ได้โดยการที่มีความอยากได้ มีความเพ่งเล็ง มีความต้องการของบุคคลอื่น แต่ตามที่คุณธิดารัตน์สงสัยก็จะต้องหมายความว่าต้องกล่าวถึงความละเอียดต่อไปอีกว่า ในบรรดาคำที่ใช้คำว่า "อภิชฌาวิสมโลภะ" ในขั้นของกรรมบถกับในขั้นที่ไม่ใช่กรรมบถก็จะต้องมีด้วย และหมายความอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจว่าความเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดก็ดับกิเลสขั้นนั้นโดยไม่มีการเกิดขึ้นอีกเลย ไม่ว่าจะโดยนัยของ "อุปกิเลส" ประเภทใด เช่น ลักษณะของการยกตนหรือความสำคัญตนต่างก็มีด้วยกันทุกคน คนละเล็กคนละน้อย รู้บ้างหรือไม่ แม้แต่วาจาที่เอ่ยออกไปด้วยความสำคัญตน เหมือนกับว่าไม่รู้เลยว่านั่นเป็นไปด้วยมานะ ก็แสดงให้เห็นว่าถ้ามีการโอ้อวดเมื่อใด ก็รู้เลยว่าคนที่โอ้อวดเป็นอย่างไร มีความสำคัญในตนถึงขนาดที่โอ้อวด ถ้าเป็นคนเก่งก็เก่ง จะมีมานะอยู่ เพราะเหตุว่ายังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ว่าถ้าถึงระดับโอ้อวดในความเก่ง ก็แสดงให้เห็นว่าเราสามารถที่จะเห็นในความเป็น "อุปกิเลส" ของอกุศลทั้งหลาย เวลาที่แสดงออกมาเป็นประเภทต่างๆ แต่ถ้าถึงอีกระดับหนึ่งก็ต้องเป็นความละเอียดขึ้น เพราะว่าสำหรับทั่วๆ ไป เมื่อกล่าวถึง "อภิชฌาวิสมโลภะ" จะหมายความถึงว่าไม่ใช่ปกติที่พอจะรู้ได้
อ.อรรณพ หมายความว่าถ้าเป็น "อภิชฌาวิสมโลภะ" ของปุถุชนก็คือหยาบกระด้างมาก และก็ต่างกับ "สมโลภะ" ที่เป็นพื้นอยู่
ท่านอาจารย์ เช่น โลภะ เวลาที่เราจะเดินไปรับประทานอาหารกับเวลาที่กำลังรับประทานอาหารอร่อย และอร่อยมากจนรับประทานคนเดียวจนหมด ไม่คิดถึงเลยว่าคนอื่นเขาก็คงอยากรับประทาน เขาก็คงชอบเหมือนๆ กัน และก็มีผู้ร่วมโต๊ะอาหารอยู่ ๕ คน แต่ก็ไม่คิดถึงสัดส่วนอะไรทั้งหมดรับประทานไปจนหมดก็ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จริงๆ ชีวิตประจำวันก็คือลักษณะของสภาพธรรมประการต่างๆ แต่ว่าเราก็ไม่เห็นจนกว่าจะได้ฟัง ได้พิจารณาว่า จริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้นหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ สภาพที่โอ้อวดหรือตีเสมอ คือมีการแสดงออกทางกาย วาจา แสดงว่าหยาบมาก แต่ "วิสมโลภะ" โลภะที่ไม่สม่ำเสมอ ก็คือแม้กระทั่งเกิดกลุ้มรุมจิตแล้วนิดหนึ่ง ท่านก็จัดว่าไม่สม่ำเสมอแล้วในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้เห็นถึงความละเอียดของสภาพธรรม และคำที่ใช้ว่าต้องต่างกันตามระดับของบุคคลที่สามารถจะรู้ได้ด้วย เช่น ปัญญาของพระอนาคามี และของผู้ที่เป็นปุถุชนก็ต่างกันมาก ปุถุชนก็จะเห็นเพียงระดับที่สามารถจะเห็นได้ แต่ถ้าท่านได้ดับกิเลสอื่นหมด แต่กิเลสนั้นก็ยังมีปรากฏให้เห็นได้สำหรับท่าน ก็เป็นสิ่งที่ท่านสามารถจะละด้วย "อรหัตตมรรค" ดังนั้น "วิสมโลภะ" ที่กล่าวถึงเพียงแต่ให้เห็นความต่าง ซึ่งคนที่กำลังรับประทานอาหารอร่อยมาก รับประทานคนเดียวจนหมด เขาจะรู้ไหมว่า ขณะนั้นเป็นโลภะที่เป็น "วิสมโลภะ" ที่คนอื่นมองเห็นว่าไม่ควร นี่เพียงแค่เรื่องอาหาร และถ้าไม่ใช่เรื่องอาหาร แต่เป็นเรื่องกิจการงาน เรื่องหน้าที่ เรื่องทุจริตกรรมต่างๆ ก็ตามระดับ แล้วแต่ว่าสามารถที่จะเห็นได้อย่างหยาบที่สุดจนกระทั่งถึงค่อยๆ เห็นละเอียดขึ้นๆ จนกว่าจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะอย่างเดียวกันแต่ละเอียดกว่า
อ.อรรณพ "สมโลภะ" ของปุถุชน จะเป็น "วิสมโลภะ" ของพระอริยบุคคล
ท่านอาจารย์ ดังนั้น คนที่ฟังด้วยกัน ก็อาจจะเห็นว่าเขานั่งรับประทานอาหารคนเดียวคงไม่ใช่ "วิสมโลภะ" ถ้า "วิสมโลภะ" ต้องถึงทุจริตกรรมใช่ไหม นี่ก็เป็นความเข้าใจในอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่าแม้เป็นคำนี้ แต่คนที่เข้าใจว่า ทุจริตกรรมนั้นเองเป็น "วิสมโลภะ" ก็อย่างหยาบ แต่ถ้าอย่างละเอียดขึ้นมาอีกจนกระทั่งถึงของพระอนาคามี ก็คือ "วิสมโลภะ" ที่ใครสามารถที่จะเห็นทั้งๆ ที่คนอื่นเห็น แต่คนที่กำลังรับประทานอร่อยไม่เห็นเลยว่าไม่ใช่โลภะอย่างธรรมดา
อ.อรรณพ ตัวอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า รับประทานอาหารจนไม่คิดถึงคนอื่น ถ้าเป็นปุถุชน
ท่านอาจารย์ ก็ไม่กล่าวว่าเป็น "วิสมโลภะ" ก็เป็นเรื่องธรรมดา ชอบก็รับประทานไป
อ.อรรณพ แต่ของบุคคลที่ท่านละเอียดขึ้น ประเสริฐขึ้น เป็นพระอริยบุคคล นั่นคือเป็น "วิสมโลภะ"
ท่านอาจารย์ ก็ให้เห็นกำลังว่า ทำไมไม่คิดถึงคนอื่นบ้าง หรือคนอื่นก็อร่อยเหมือนกัน ก็แสดงให้เห็นว่า กิเลสมีกำลังถึงระดับนั้น
อ.อรรณพ หรือถ้าจะกล่าวง่ายๆ คือ สิ่งที่หยาบของพระอริยบุคคลที่ท่านเห็นว่าหยาบ แต่ปุถุชนไม่เห็นว่าหยาบ
อ.ธิดารัตน์ พระอนาคามี ท่านละความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะหมดแล้ว ท่านก็จะยังเหลือโลภะที่ละเอียดอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็ยังติดข้องในภพ ในความเป็น
อ.ธิดารัตน์ แล้วที่จะเป็น "วิสมโลภะ"
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ปรากฏกับท่าน
อ.ธิดารัตน์ หมายความว่า แม้ความติดข้องของท่านที่เหลืออยู่ ก็เป็น "วิสมโลภะ" แล้วสำหรับท่าน
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้นปรากฏความเป็น "วิสมโลภะ" ให้เห็น
อ.ธิดารัตน์ ก็จะต้องมีกำลังมากกว่าธรรมดา
ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นพระอนาคามีก็จะรู้ เพราะว่าจริงๆ แล้วเราพูดได้ เราคิดได้ทุกอย่างเลย แต่จริงๆ ความลึก และความละเอียดของความเป็นจริง ต้องเป็นปัญญาที่สามารถที่จะรู้ได้ เช่น ปกติของพระอนาคามีก็ยังมีโลภะ แต่ท่านไม่มีโลภะในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เพราะว่าดับแล้วเป็น "สมุจเฉท" เพราะฉะนั้น ท่านก็มีความติดข้องในภาวะ ในความเป็น เพราะท่านเป็นผู้ที่ดับกิเลสประเภทที่ไม่เดือดร้อนเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะได้หมดแล้ว แต่แม้อย่างนั้นก็ยังมีโลภะ ความพอใจ ในความสงบซึ่งเป็นกุศล เพราะกุศลทุกประเภทสงบ และอีกประการหนึ่งท่านก็มีมานะเพราะท่านเป็นพระอนาคามีบุคคลซึ่งดับกิเลสที่เป็นกามราคะหมดแล้ว ก็เป็นความละเอียดขึ้น แต่เวลาที่มีความจงใจที่อยากให้สมถะระดับขั้นต่างๆ เกิด เช่น พระอนาคามีที่ท่านได้ฌานด้วยท่านก็เป็นผู้ที่สามารถจะได้ก็มี ก็ต่างกับขณะที่ไม่จงใจต้องการ เพียงแค่นี้ก็จะเห็นว่า เป็น "วิสมโลภะ" "อภิชฌาวิโลภะ" ของท่านก็ต้องต่างระดับกับของบุคคลอื่น
อ.อรรณพ คือท่านไม่มี "อภิชฌา" ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้ว
ท่านอาจารย์ โลภะธรรมดา ที่จะกล่าวถึงว่าต่างกับ "อภิชฌาวิสมโลภะ" อย่างไร ก็จะเห็นความละเอียดว่า ความติดข้องในความเบาสบายของกุศลจิตของท่านซึ่งเกิดบ่อย และไม่เป็นไปกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ขณะนั้นท่านก็สงบ โทสะไม่เกิดเลย แต่แม้กระนั้นเวลาที่ท่านประสงค์ หรือต้องการที่จะให้ฌานจิตเกิด ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความต่าง คือ เพ่งเล็งเฉพาะส่วนนั้นที่ต้องการ ก็เป็นแต่เพียงข้อพิจารณา แต่จะรู้จริงๆ ได้ ก็ต้องถึงความเป็นบุคคลนั้นๆ
ผู้ฟัง ลักษณะของสภาพธรรมเมื่อเกิดขึ้นก็หมดไปแล้ว แต่เราก็ยังตรึกนึกถึงสภาพธรรมเหล่านั้นซึ่งหมดไปแล้ว ขอให้ท่านอาจารย์กรุณาขยายในส่วนนี้
ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ยังมีอะไรเหลืออยู่บ้าง
ผู้ฟัง จริงๆ ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่เหลือเลย เมื่อเช้านี้มีอะไรที่ยังเหลืออยู่หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ยังเหลืออยู่หรือไม่
ผู้ฟัง จริงๆ ก็ไม่มี
ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ เราก็จะเห็นความจริงว่า ปัญญาของเราที่เข้าใจธรรม มากน้อยแค่ไหน เพียงแต่เริ่มได้ยินได้ฟังก็ยังไม่สามารถประจักษ์เท่าที่เรากล่าวว่า "เมื่อวานนี้ไม่มีแล้ว ไม่เหลือแล้ว และเดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้ว ไม่เหลือแล้ว" ถ้าเรากล่าวเช่นนี้หมายความว่าเป็นความจริง แต่ปัญญาของเรา ยังไม่ถึงระดับที่จะประจักษ์แจ้งในความจริงนั้น เพราะเหตุอย่างที่ผู้ถามกล่าว มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ เมื่อไร ที่ไหน ก็เหมือนกันหมด แม้ขณะนี้เดี๋ยวนี้ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง จะกล่าวถึงอะไร ถ้ากล่าวถึงสีสันวัณณะก็กำลังปรากฏ ถ้ากล่าวถึงเสียง เสียงก็ปรากฏ ถ้ากล่าวถึงแข็ง แข็งก็ปรากฏ เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ที่จะไม่มีธรรมเป็นไปไม่ได้เลย แต่ไม่คุ้นเคยกับลักษณะของธรรมเลยแม้ลักษณะเดียว เพียงแต่ฟังชื่อ แล้วเข้าใจ แต่ลักษณะจริงๆ ของธรรม ก็มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไป แม้แต่ขณะนี้เสียงก็เกิดปรากฏแล้วก็หมดไป เห็นก็มี ความจริงก็เกิดปรากฎแล้วก็หมดไป แข็งก็มี เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ต้องเป็นปัญญาที่อบรมแล้วถึงจะรู้ได้
เพราะฉะนั้นก่อนอื่นเราศึกษาว่า มีธรรมเป็นปรมัตถธรรมเพียง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วปรากฏ คือ จิต เจตสิก รูป เมื่อสภาพธรรมซึ่งเป็นจิตกำลังทำหน้าที่ของจิต การฟังก็ต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจอย่างมั่นคงพอที่จะเริ่มรู้ลักษณะของตัวจริงของสภาวธรรมที่กำลังเห็นว่า เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเห็น สามารถรู้ สามารถคิด
เพราะฉะนั้น การฟัง ฟังแล้วฟังอีกเรื่องเก่า และสิ่งที่มีปรากฏก็เหมือนเดิม กี่แสนชาติโกฏิกัปป์มาแล้วก็เป็นอย่างนี้เท่านั้น คือ ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็ฟังเรื่องนี้ จนกว่าจะรู้ขณะที่ต่างกันของขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดซึ่งเป็นสติปัฏฐาน กับขณะที่หลงลืมสติ และจะรู้ว่าขณะที่คิด เราคิดด้วยความจำ เราจำอะไรเราก็คิดอย่างนั้น เราจำสิ่งที่เราเห็นตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ได้ไปจำเรื่องของคนอื่นเลย เพราะเราไม่รู้ ไม่เคยเห็นเรื่องนั้นๆ เพราะฉะนั้น แม้แต่ความคิด ก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ชั่วขณะที่คิดแล้วก็หมดไป ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงเป็นสัจจญาณ ก็จะทำให้รู้ด้วยความมั่นใจว่า ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้ลักษณะ ขณะนั้นก็คือคิดเรื่องสิ่งที่เราจำไว้ เพราะฉะนั้น บางคนก็จะเห็นได้ว่า แม้ว่ามีลักษณะกำลังปรากฏ แต่หลงลืมสติ ต่างกับขณะที่กำลังรู้ลักษณะ และปัญญาที่จะอบรมเจริญจนกระทั่งประจักษ์การเกิดขึ้นของธรรม ก็ด้วยการรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ บางคนก็สงสัยว่า นี่เป็นหนทางจริงๆ หรือ แค่นี้ที่กำลังเห็น ที่กำลังแข็ง แต่จะรู้อะไร จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ก็มีหนทางนี้หนทางเดียว คือ ค่อยๆ เข้าใจว่า สิ่งที่กำลังปรากฏก็อย่างนี้เอง ทำให้เราไม่ติดยึดมั่นใน "นิมิตอนุพยัญชนะ" และก็รู้ในขณะที่เรากำลังคิดเรื่องราวต่างๆ ว่า ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา บางคนก็สงสัยว่า เสียงแค่นี้หรือที่จะต้องรู้ ขณะที่ได้ยินเสียง มีใครได้ยิน นอกจากสภาพธรรมที่เกิดแล้วได้ยินเสียงแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น การจะรู้ความจริง ไม่ใช่รู้อย่างอื่นเลย มีความมั่นใจ มีความมั่นคงว่า ปัญญาที่จะรู้ความจริง ก็คือรู้ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดปรากฏ จะผิดได้อย่างไร เพราะจะรู้อะไร จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ จะรู้เสียง จะรู้กลิ่น จะรู้รส จะรู้สิ่งที่มีจริงๆ ก็ต้องรู้ขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติเกิด และเมื่อนั้นจะรู้ว่า ชั่วขณะที่สติเกิด กำลังเริ่มจะค่อยๆ ชินกับลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง แต่จริงๆ แล้ว ในวันหนึ่งๆ สภาพคิดนึก หรือเราคิดนึกเป็นเรื่องราวก็จะทอดยาวออกไป และไม่สามารถกลับมาว่าเป็นเสียงที่ระลึกได้ทางหู อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ข้อความนี้สำคัญที่สุด เพราะว่าหมดแล้วจริงๆ ไม่เหลือ สิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วค่อยๆ เข้าใจ ใช้คำว่า “ค่อยๆ เข้าใจ” ถ้ากำลังค่อยๆ เข้าใจลักษณะ ขณะนั้นก็ไม่ต้องกังวลกับคำว่า สติปัฏฐาน เพราะถ้าสติไม่ระลึกที่ลักษณะนั้น จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะนั้นไม่ได้
ผู้ฟัง สิ่งที่หมดไปแล้ว หรือล่วงไปแล้ว ที่ตอบท่านอาจารย์ว่าไม่มี คือตอบด้วยความเข้าใจขั้นฟังเท่านั้นเอง จริงๆ ลึกๆ ยังสงสัยว่า ไม่มีจริงหรือ ในเมื่อยังปรากฏอยู่
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่เมื่อวานนี้ สิ่งเมื่อวานนี้มีจริงๆ หรือ หรือหมดไปแล้ว
ผู้ฟัง ก็หมดไป แต่ยังอยู่ในความทรงจำ หรือในความคิดนึกของเราอยู่
ท่านอาจารย์ นี่คือ "อัตสัญญา" ความทรงจำยังมีเราอยู่ตลอด จนกว่าจะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา
คุณสุกัญญาต้องการที่จะรู้ชื่อว่า หรือว่ารู้ว่าลักษณะนั้นมีจริงๆ เกิดแล้วหมดไป จะได้ไม่ต้องพะวงถึงอีกว่า ชื่ออะไร กุศลหรือเปล่า กุศลเล็กๆ กุศลน้อยๆ เราไม่รู้หรือว่าอะไร ไม่ต้องคำนึงถึงเลย เพราะเหตุว่าแม้การที่คุณสุกัญญาจะคิดอย่างนั้นว่า พรุ่งนี้จะอยู่หรือเปล่า ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ความคิดทุกขณะหรือสภาพธรรมทั้งหมดเกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น บังคับความคิดไม่ได้เลย แต่ที่จะรู้จริงๆ ว่า ไม่ใช่เรา ก็ต่อเมื่อสติสัมปชัญญะเกิดตามปกติ ไม่ตื่นเต้น ธรรมดา และรู้ด้วยว่าขณะนั้นต่างกับขณะที่ไม่ได้ใส่ใจในลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ใช่ว่าวันนี้จะให้คุณสุกัญญารู้ว่า ที่กำลังคิดนี้ไม่ใช่คุณสุกัญญาเลย ที่กำลังโกรธก็ไม่ใช่คุณสุกัญญาเลย ความจริงเป็นอย่างนั้น แต่ปัญญาสามารถที่จะรู้จริงได้เมื่อไร เราก็เห็นว่าต้องมีการอบรม อบรมอะไร ไปอบรมทำอย่างอื่นๆ มากมาย หรืออบรมความเข้าใจถูก ปัญญาเป็นความสามารถรู้ถูก เห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น แต่ฟัง แล้วมีความเข้าใจ แล้วรู้ว่าขณะที่สติเกิดต่างกับขณะที่หลงลืมสติ ในเมื่อไม่ใช่คุณสุกัญญาเลยทั้งหมด ไม่ใช่คนโน้นคนนี้ทั้งหมด เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง แล้วแต่ว่าขณะนั้นมีปัจจัยที่จะให้สภาพธรรมใดเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การฟัง เราฟัง และเราก็รู้ว่า ธรรมทั้งหมดกำลังอยู่ที่ตัวหมด ไม่ได้อยู่ในตำรา แต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรมแต่ละอย่าง
เพราะฉะนั้น ก็เริ่มจะเห็นความจริงว่า ขาดการฟังไม่ได้ เพราะเราได้ยินเรื่องอะไร เราก็คิดถึงเรื่องนั้น เมื่อเช้านี้ตลอดตั้งแต่ตื่นมาเรื่องทั้งนั้นเลยที่เราคิดเพราะเราได้ยิน เพราะเราเห็น สำหรับธรรม เราฟังน้อย เพราะฉะนั้น การคิดถึงเรื่องธรรมของเราจะมากเท่ากับเรื่องอื่นๆ ในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย แต่ก็ทราบว่า ธรรมทั้งหมดไม่ใช่เรา แล้วมีลักษณะด้วย เช่นสภาพคิด มองไม่เห็นเลย ขณะใดที่คิดก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่คิดเรื่องนั้นแล้ว จนกว่าจะชินทั้งหมดเลย นี่แสดงให้เห็นว่า ต้องอบรมนานมากเป็นจิรกาลภาวนา แต่เราไม่ไขว้เขวที่จะไม่รู้ เราไม่ไขว้เขวที่จะไปคิดว่า ปัญญารู้อย่างอื่น ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏ นี่คือ "สัจจญาณ"
เรากำลังกล่าวถึงเรื่องโทสะ แล้วทุกคนก็มีโทสะต่างระดับ บางวันก็คงจะมีไม่มาก แต่บางวันก็อาจจะมีมากได้ เพราะฉะนั้น เรื่องของสภาพธรรมก็แสดงให้เห็นว่า ขณะต่อไปก็ยังไม่รู้เลยว่า อะไรจะเกิด เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเราอาจจะได้ฟังพระธรรมโดยนัยประการต่างๆ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า เรารู้ลักษณะของธรรมที่เราได้ฟังหรือไม่ ถ้าเราไม่รู้ ก็เป็นเรื่องของความคิด โดยอุบาย โดยนัยต่างๆ ซึ่งห้ามไม่ได้ ไม่มีใครไปห้ามใครไม่ให้คิด ไม่มีใครไปห้ามใครไม่ให้จำแล้วเกิดโทสะขึ้น แต่เมื่อเกิดแล้ว ค่อยๆ อบรมความรู้ ความเข้าใจว่าบังคับบัญชาไม่ได้ และลักษณะนั้นเกิดแล้วด้วย จะเป็นอื่นไม่ได้ ให้รู้ตามความเป็นจริง ค่อยๆ สะสมการรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะอย่างนั้น แทนที่หวังว่าจะไม่ให้เกิดอีก หรือหวังว่าจะให้เกิดน้อยลง แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ยังคงเป็นเรา เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อที่จะให้เรามีโทสะน้อย หรือไม่ให้มีโลภะมาก หรืออะไร แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะให้สภาพธรรมในขณะนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แต่ประโยชน์สำคัญที่สุด คือให้รู้ลักษณะ เพื่อจะไม่ยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตน มิฉะนั้นเราก็เป็นกุศลประเภทอื่นอยู่เสมอ คือพยายามไม่ให้เกิดโลภะ พยายามไม่ให้เกิดโทสะ แต่ไม่สามารถเป็นไปได้ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมแต่ละชนิด ซึ่งก็น่าสนใจเรื่องของโทสะ ไม่ทราบคุณธิดารัตน์อบรมเจริญปัญญาอย่างไร
อ.ธิดารัตน์ เมื่อฟังธรรมแล้วก็เริ่มพิจารณาลักษณะโทสะที่เกิดกับตัวเองละเอียดมากขึ้น จนมั่นคง จนเป็นเหตุปัจจัยให้มีสติรู้ลักษณะของโทสะตามความเป็นจริงทีหลัง
ท่านอาจารย์ ขอความเห็นคุณธีรพันธ์บ้าง
อ.ธีรพันธ์ เมื่อโทสะเกิดขึ้น อาศัยการฟัง และการพิจารณา แต่จะรู้โทสะตามความเป็นจริงเมื่อมีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้น จึงจะรู้ลักษณะของความเป็นธรรม อาศัยการอบรมเจริญเมตตาก็ได้ พรหมวิหาร ๔ ในชีวิตประจำวันก็ช่วยบรรเทาโทสะได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180