พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
ตอนที่ ๑๒๕
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ เวลานี้มีปัญจทวาราวัชชนะหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ตอบได้ แต่รู้ลักษณะของปัญจทวาราวัชชนะหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ก็เห็นความต่างกันปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับผู้ที่เริ่มฟังหรือถึงแม้จะอบรมก็ตาม ก็ยังต่างระดับขั้น แม้เป็นพระอรหันต์ก็มีทั้งที่เป็นเอตทัคคะ และไม่ใช่เอตทัคคะ เป็นมหาสาวก และปกติสาวก เพราะฉะนั้นก็จากพระอรหันต์ลงมาจนถึงพระโสดาบัน จะเห็นความต่างกันของปัญญาว่าไม่ใช่เรื่องที่เราจะคิด แต่ว่าเป็นเรื่องที่เราอบรมเจริญปัญญาที่จะละความเป็นตัวตน
ผู้ฟัง ปัญญาจะมีบัญญัติเป็นอารมณ์ได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ กำลังฟังนี่มีบัญญัติเป็นอารมณ์หรือไม่
ผู้ฟัง มีเรื่องราว
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจถูก สุตมยญาณ จินตมยญาณ
ผู้ฟัง ต้องเป็นเรื่องราวของธรรมด้วยจึงกล่าวว่าเป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นปัญญาเจตสิก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง เป็นความเข้าใจเรื่องราว สามารถที่จะเชื่อมโยงเรื่องนี้ไปสู่เรื่องนี้ได้
ท่านอาจารย์ ได้ ถ้าเป็นความเห็นถูกว่ามารดาบิดามีคุณ ก็เป็นความเห็นถูก ไม่ใช่ความเห็นผิด
ผู้ฟัง เพราะอย่างนั้นจะบอกว่าทะเลชื่อจะไม่ดีเลยเสียทีเดียวก็ไม่ใช่ ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ที่จะไม่มีชื่อเป็นไปไม่ได้ จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรโดยไม่รู้บัญญัติ ใครก็อยู่ไม่ได้ จานข้าวก็ไม่รู้ เมื่อสักครู่นี้ก็จะตักข้าวใส่จานใช่ไหม ถ้าไม่รู้ว่าเป็นจาน เป็นข้าว ก็ตักไม่ถูก รับประทานไม่ได้ จะอยู่ได้อย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าฟังแล้วไม่คิดตามหรือระลึกตามก็คงจะไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ใช้คำถูกต้องป็นผู้ที่ฉลาดในโวหาร มิฉะนั้นก็แย่ใช่ไหม ขันธ์ ๕ ที่นี่สร้างพระเชตุวัน หรือขันธ์ ๕ โน้น อะไรก็ยุ่งกันไปใหญ่
ผู้ฟัง ปัญญาที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องราวของธรรมแต่ว่าคิดตามการแก้ปัญหาอย่างเรื่องราวต่างๆ เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ กำลังทำงานเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต
ผู้ฟัง เป็นอกุศลจิต
ท่านอาจารย์ ประเภทไหน ค่อยๆ รู้ไป
ผู้ฟัง ก็คือโลภะ ถ้าไม่มีโลภะก็จะไม่เข้าใจกระบวนการหรือระบบที่จะทำให้เข้าใจในเรื่องราวมากยิ่งขึ้นได้
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ไม่ใช่กุศลต้องเป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด
ผู้ฟัง ซึ่งต่างจากความเข้าใจเรื่องราวของธรรมที่จะนำไปสู่ความเข้าใจจริงๆ
ท่านอาจารย์ นั่นคือปัญญา คนที่กำลังรู้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ รู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะนั้นหรือไม่ กำลังเห็นแท้ๆ เลย รู้ไหมว่าเห็นคืออะไร เพราะฉะนั้นไม่มีทางเลยที่วิชาการอื่นจะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมได้ เพราะว่าวิชาทั้งหมดเป็นเรื่องราวของสภาพธรรม แต่ว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่รู้เรี่องชื่อ เรื่องราว แต่ว่ามีลักษณะปรากฏกับสติสัมปชัญญะที่เป็นสติปัฏฐานที่กำลังรู้ลักษณะเฉพาะแต่ละลักษณะ ทีละลักษณะ จนกว่าทุกอย่างเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็มีผู้ที่ถามว่าจะต้องไปรู้ทำไมสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้ววันหนึ่งๆ ไม่ได้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลยหรือ จะได้ไปรู้อย่างอื่น จะชอบก็ชอบในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะไม่ชอบก็ไม่ชอบในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นก็เป็นความสำคัญ และรูปอื่นจะปรากฏไหมในชีวิตประจำวัน ภาวรูปปรากฏไหม โอชารูปปรากฏไหม ก็ไม่ได้ปรากฏ แต่รูปที่ปรากฏเป็นปกตินี้ที่จะทำให้รู้ได้ว่าไม่ใช่นามธรรม และก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และก็ติดข้อง เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้จักลักษณะของสภาพธรรม รู้วิชาอื่นทั้งหมดก็คือไม่ใช่ปัญญาเจตสิก เพราะขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิตด้วย
ผู้ฟัง แต่เพียงขั้นรู้เรื่องราวสืบต่อความเป็นเหตุเป็นผลกัน จากเรื่องหนึ่งไปสู่เรื่องหนึ่ง ก็เป็นปัญญาขั้นหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ขั้นไหน
ผู้ฟัง ขั้นเข้าใจเรื่องราว
ท่านอาจารย์ ของอะไร
ผู้ฟัง ของธรรม
ท่านอาจารย์ ต้องของสภาพธรรม ไม่ใช่เรื่องเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ผู้ฟัง ความเห็นผิดที่ต่างออกไปก็มีความคลาดเคลื่อนในความเห็นก็หลากหลาย ความเห็นผิดที่หลากหลายออกไปเป็นเพราะอะไร
ท่านอาจารย์ ก็เพราะมีสักกายทิฏฐิอยู่ มีเรา เพราะว่าเป็นความเห็นของเราใช่หรือไม่ หรือว่าเราเห็นอย่างนั้น
เราศึกษาเราทราบว่าผลของกรรมก็คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น ขณะนี้ที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นผลของกรรม แต่จะรู้ขณะนั้นตัวผลของกรรมก็ต้องเป็นสภาพธรรม คือขณะที่เห็นรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นนามธรรม หรือว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กายก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เราสามารถที่จะเห็นความต่างของผลของกรรม และกรรมหรือไม่ เช่น เวลาที่เป็นภวังค์ ไม่มีอะไรปรากฏ แต่เวลาเห็นต้องมีการอุบัติหรือการเกิดขึ้นโดยที่ใครก็ยับยั้งไม่ได้ เพราะเหตุว่าโดยการศึกษาเราทราบว่าต้องมีจักขุปสาทแล้วก็มีรูปารมณ์ซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับเป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้น แต่เวลาคิดนึกไม่ได้อาศัยการอุบัติอย่างนี้เลย ใช่ไหม ไม่ต้องมีจักขุปสาท และไม่ต้องมีรูปารมณ์ด้วย ไม่ต้องมีการอุบัติขึ้นของจักขุปสาท ของรูปารมณ์ และจักขุวิญญาณ แต่จิตคิดนึกก็เกิดได้ เพราะฉะนั้นลักษณะที่คิดนึกไม่ใช่ลักษณะของการอุบัติซึ่งเป็นผลของกรรม แต่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศลก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม แต่ว่าจริงๆ แล้วสภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับเร็วมาก เพราะฉะนั้นขณะนั้นสำหรับผู้ที่อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ความไม่ใช่เราก็ต้องมีลักษณะของรูปหรือนามเป็นอารมณ์ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพนามธรรมที่คิด กับนามธรรมที่เห็นกับที่ได้ยินว่าต่างกัน และสามารถจะรู้ว่าการอุบัตินั้นเป็นไปตามกรรมคือเป็นไปตามเหตุที่ได้กระทำแล้ว ไม่เหมือนกับว่าเห็นแล้วจิตจะเป็นกุศลหรืออกุศลอีกเรื่องหนึ่ง ตามการสะสมที่ได้สะสมมา เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะเข้าใจเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง และก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟังมาด้วย ด้วยการรู้ว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นแม้แต่การเข้าใจเรื่องของปริยัติก็จะมีความมั่นคงขึ้น เพราะว่าปริยัติก็คือสภาพธรรมที่จะรู้แจ้งได้ด้วยการอบรมเจริญปัญญาในระดับของปฏิปัตตินั่นเอง
ผู้ฟัง ที่เราเข้าใจว่ามีคนรับผลของกรรม มีคนกระทำกรรม แม้ขณะนั้นก็เป็นทิฏฐิเจตสิกอย่างหนึ่งใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ เรื่องราว หรือว่าเชื่อว่ามีสัตว์บุคคลจริงๆ มีตัวตนจริงๆ ถ้าคุยกับเด็ก เด็กก็จะมีแต่เรื่องราวกับความทรงจำ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นในขณะนั้นก็จะต้องเป็นผู้ที่รู้ว่าในขณะนั้นมีความเห็น ยึดมั่นในความเห็นอย่างนั้นหรือไม่ว่ามีสัตว์ บุคคล ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เป็นสัตว์เป็นบุคคลจริงๆ
ผู้ฟัง ทิฎฐิเจตสิกตัวนี้จะละคลายได้ด้วยธรรมอะไร
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม สักกายทิฏฐิจะไม่สามารถละได้เพียงเรื่องราวที่เข้าใจว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม แต่ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมจริงๆ
ผู้ฟัง ถ้าเข้าใจเพียงแค่เรื่องราว ว่า ทำกรรมชั่วก็ได้รับผลกรรมชั่ว หรือว่ามีการเกิดชาติหน้า
ท่านอาจารย์ นั่นคือความเข้าใจในเหตุผล
ผู้ฟัง แต่ว่าก็ยังเป็นสัตว์ บุคคลที่รับผลของเรื่องราวนั้นๆ
ท่านอาจารย์ สัตว์ บุคคล ไม่ได้ทำกรรม หรือว่ากรรมที่เกิดขึ้น มี
ผู้ฟัง เป็นกรรมที่เกิดขึ้นมี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็พูดเรื่องกรรม
ผู้ฟัง ถ้าเกิดยังไม่เข้าใจว่าสัตว์ บุคคลไม่มีก็ยังเป็นทิฏฐิอยู่
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ว่าขณะนั้นมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือไม่ นี่เป็นเรื่องที่เราจะต้องแยก สัญญาความจำ บัญญัติเรื่องราวกับความเห็นผิดในสภาพธรรม
ผู้ฟัง เพราะว่าการที่เราจะไปอธิบายเรื่องกรรม เรื่องผลของกรรมให้คนภายนอกรู้ ก็ต้องเป็นเขาที่รับผลของกรรมเพราะเขาทำกรรมอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการที่จะมีปัญญาความเห็นถูกก็เห็นถูกหลายเรื่องตามลำดับขั้น จนกระทั่งเห็นถูกถึงไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์บุคคล กุศลธรรมกับอกุศลธรรม สิ่งไหนดีสิ่งไหนชั่ว นี่คือเรื่องราวใช่หรือไม่ แล้วก็บอกได้ด้วย หรือถ้าใครบอกว่าอกุศลดีนั่นคือเห็นผิด แต่ถ้าตราบใดยังบอกว่าอกุศลไม่ดี กุศลดี นั่นคือเห็นถูกในระดับของกุศล และอกุศล
ท่านที่นั่งฟังก็มีเรื่องราวของความเห็นผิดมาก แต่ว่าไม่ได้กล่าวถึงใช่ไหม เพียงแต่ฟังไปเรื่อยๆ แต่เข้าใจว่าบางอย่างก็ยังคงสงสัยหรือว่าบางอย่างก็ยังไม่รู้ว่าเป็นความเห็นผิดหรือไม่ หรือความเห็นผิดต่างๆ นาๆ มีอยู่ก็ยังไม่สามารถที่จะพิจารณาได้ด้วยตัวเองว่าเป็นความเห็นผิดหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ถ้าได้ฟังพระธรรมแล้วก็คงจะพิจารณาด้วยตัวเองได้
ผู้ฟัง เป็นไปได้ไหมว่าเรามาทางถูกแล้ว แต่เราอาจจะผิดเมื่อไรก็ได้เมื่อปริยุฏฐานเกิด
ท่านอาจารย์ ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ยังไม่ถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็จะมีความเห็นผิดเกิดขึ้นได้ เพราะว่าจริงๆ แล้วถ้าเราจะคิดถึงชาติหน้าซึ่งจะมาถึงเมื่อไรก็ไม่รู้ ขณะนี้ที่เรากำลังฟังธรรม กำลังมีความเห็นถูกทีละเล็กทีละน้อยสะสมไป ไม่ได้จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปเลย เราจากโลกนี้ จากคนที่เราเคยรู้จัก กลายเป็นคนที่ไม่รู้จักกันก็ตามแต่ แต่สิ่งที่ไม่จากก็คือทุกขณะที่เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ตาม ดับไปแล้วก็จริงแต่สะสม เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นได้ว่าการสะสมที่เราสะสมกุศลวันหนึ่งๆ มากน้อยแค่ไหน สะสมกุศลอกุศลมากน้อยแค่ไหน แล้วถ้าตราบใดที่ยังไม่ได้ดับทิฏฐานุสัย ความเห็นผิดที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเราชาติหน้าจะเกิดที่อื่น ได้ฟังคำสอนอื่น ก็เป็นไปได้ที่เราจะเชื่อในความเห็นหรือในความคิดอย่างนั้น มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่มีหลายคนซึ่งเกิดที่ต่างๆ กัน และก็สิ่งที่ได้ยินได้ฟังตั้งแต่เล็กแต่น้อยก็ค่อยๆ ทำให้เขามีความยึดมั่น เชื่อมั่นในสิ่งที่เขาได้ยิน แต่ถ้ามีการสะสมที่มั่นคง แม้ว่าได้ยินได้ฟังก็สามารถที่จะพิจารณาได้ว่าเป็นเหตุผลหรือไม่ หรือว่าไม่มีเหตุผลเลยที่จะคิดอย่างนั้น เข้าใจอย่างนั้น เชื่ออย่างนั้น เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังฟัง ประโยชน์สูงสุดก็คือว่าพิจารณาสิ่งที่ได้ฟังจนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่มั่นคง ซึ่งจะทำให้ไม่ว่าเราจะเกิดอีกแล้วแต่ว่าเกิดที่ไหนก็อาจจะมีการชักชวนให้เข้าใจอย่างนั้น คิดอย่างนั้น แต่เราก็ยังสามารถที่จะมีความเห็นถูกเกิดขึ้นได้ เรื่องของความไม่แน่นอนจนกว่าเราจะถึงความเป็นพระโสดาบัน
ผู้ฟัง ถ้าตราบใดที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ เราก็ไปตามน้ำหรือ
ท่านอาจารย์ แต่ก็มีความมั่นคงในการที่จะพิจารณาสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่าถูกต้อง ก็เพิ่มความมั่นคงที่จะรู้จริงในสิ่งนั้น ไม่หันไปทางอื่น
ผู้ฟัง ในความคิดเห็นส่วนตัวว่าถ้าเราพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง เราก็มั่นใจได้ แต่ถ้ายังไม่พิสูจน์ อย่าประมาท ไปเมื่อไรไม่รู้
ท่านอาจารย์ ก็กำลังพิสูจน์ในขั้นการฟังเพราะว่ากำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็กำลังฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ ขณะที่กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วกำลังค่อยๆ ถึงลักษณะนั้นตามที่เข้าใจ จะใช้คำว่า “สติปัฏฐาน” ได้ไหม หรือว่าไม่ต้องเรียกอะไรก็ได้ แต่จริงๆ ก็คือถ้าไม่มีสติเกิดในขณะนั้นจะทำให้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้ไหม ไม่ใช่เพียงเข้าใจเรื่องราว แต่กำลังค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏมีลักษณะให้เข้าใจขึ้น นั่นคือสติปัฏฐานเป็นความมั่นคง
ผู้ฟัง ทำสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ทำหรือ
ผู้ฟัง ปฏิบัติสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ปฏิบัติหรือ ไม่ใช่ เป็นการเข้าใจ มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วก็มีความเข้าใจของเราขณะที่ฟัง เราเข้าใจลักษณะนั้นหรือกำลังฟังคำแล้วก็เข้าใจเรื่องราว เพราะฉะนั้นก็กำลังมีขณะฟังแล้วก็เข้าใจเรื่องราว หรือขณะที่กำลังฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือสภาพเห็น หรือสภาพคิดนึก และขณะนี้ก็มีลักษณะนั้นปรากฏให้เข้าใจ ถ้าแม้ในขณะที่กำลังฟังนี้เอง แต่กำลังเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นจะใช้คำว่า “สติปัฏฐาน” ต้องไปถามใครว่าเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม หรือว่าจะไม่เรียกอะไร แต่ความเข้าใจขณะนั้นไม่ใช่เข้าใจเพียงฟัง แต่ว่ากำลังมีลักษณะที่กำลังค่อยๆ เข้าใจตามที่ได้ฟังด้วย ขณะนั้นก็คือสติปัฏฐานนั่นเอง ไม่ต้องตื่นเต้น ไม่ต้องคิดว่าต้องไปทำหรือว่าไม่ต้องคิดว่าต้องคอยเวลา แต่ว่ามีสภาพธรรมที่ปรากฏแล้วความเข้าใจก็มีในขั้นฟัง โดยที่ว่าไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ กับมีความเข้าใจขณะที่ฟังแล้วก็กำลังมีลักษณะที่กำลังเข้าใจถูกตามที่ได้ฟังทีละเล็กทีละน้อย เพราะทุกคนก็ทราบว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ไม่ต้องไปกังวลอะไร เพียงแต่สะสมลักษณะที่สติขณะนั้นรู้ระลึกจึงได้เข้าใจแม้เพียงนิดเดียว ก็คือรู้ขณะที่ต่างกันของขณะที่สติเกิดกับขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด แต่ไม่ใช่ทำ
ผู้ฟัง ในขณะปัจจุบันอธิษฐานหรือทำสัจจะว่าขอให้พบคำสั่งสอนหรือพุทธศาสนา สอนธรรม รูปนามทุกภพทุกชาติไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย มีสิทธิ์ที่จะเป็นไปได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ อธิษฐานคือความตั้งใจมั่นหรือว่าคำขอ
ผู้ฟัง ตั้งใจมั่น
ท่านอาจารย์ ตั้งใจมั่น ในขณะที่ฟังก็มีความตั้งใจที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังให้ถูกต้อง นี่ก็คือแม้จะไม่กล่าว่าอธิษฐาน แต่ความตั้งใจมั่นในขณะที่ฟังก็เพื่อเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ นั่นก็คือลักษณะของอธิษฐาน ถ้าสะสมความมั่นคงถึงจะเกิดที่ไหน ได้ยินได้ฟังอย่างอื่นก็รู้ว่าไม่ถูกต้อง
ผู้ฟัง บางทีโดนเป่าหู
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องสะสมความมั่นคงในความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม สัจจญาณ
ผู้ฟัง แต่บางทีมีโอกาสที่จะเข้าใจอย่างถูกต้อง บางทีก็อาจจะถึงแก่แล้วก็อาจจะช้าไป
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ คุณวิจิตรจะทำอะไร
ผู้ฟัง ก็ฟังธรรมไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังฟังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ กำลังอบรมความรู้ความเห็นถูกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ จนกระทั่งมีการเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่เข้าใจแต่เพียงเรื่องราว ทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฏมี แล้วก็ฟังเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏมามาก แต่จะเห็นได้ว่าการเข้าใจตัวจริงๆ ของลักษณะธรรมที่กำลังปรากฏไม่ง่ายแล้วก็ไม่เร็ว การฟังอาจจะเข้าใจได้มาก แต่ว่าการที่กำลังเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งมีจริงๆ จะเห็นความหมายของคำว่า “ จิรกาลภาวนา ” การอบรมภาวนาที่นานมากจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจ และกำลังค่อยๆ เข้าใจลักษณะของความเข้าใจชัดก็ยังไม่ได้ปรากฏเพราะเริ่มที่จะเข้าใจบ้างทีละเล็กทีละน้อย ทีละนิดทีละหน่อยใช่ไหม แต่ไม่ไปทำอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่การรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าฟังมากแต่ไปทำอย่างอื่น เข้าใจว่าทำแล้วจะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ นั่นก็คือไม่มีความมั่นคง จะอธิษฐานอย่างไรก็ตาม แต่ว่าอธิษฐานจริงๆ คือความตั้งใจมั่นที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ถามว่ามิจฉามรรคที่ไม่มีองค์ธรรมมีกี่ข้อ
อ.อรรณพ มิจฉามรรคก็คือหนทางผิด สัมมามรรคก็คือหนทางถูก ซึ่งท่านแสดงมิจฉามรรคเพื่อให้เห็นว่าถ้ามีความเห็นถูก ก็มีความเห็นผิด ถ้ามีการคิดถูก ก็มีการคิดผิด อย่างผู้ที่มีความเห็นผิดก็จะคิดว่าการเจริญสติคือการจดจ้องในนามหนึ่งนามใด รูปหนึ่งรูปใดหรือในเรื่องหรือในความเป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ มีถูกกับผิดใช่ไหม ถ้าเป็นสัมมาก็คือถูก สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และก็เจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นสัมมาทั้งหมด แต่ถ้าไม่ใช่ขณะที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เข้าใจผิดไปทำ อะไรก็ตามที่เข้าใจว่าขณะนั้นเป็นหนทางที่ถูก ขณะนั้นก็เข้าใจเองว่ากำลังเจริญสติปัฏฐาน แต่จริงๆ แล้วก็คือโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องของความเห็นผิดก็เป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะว่าชีวิตประจำวันละเอียดมาก แสนละเอียดจริงๆ ถ้าจะกล่าวถึงประเภทของธรรมฝ่ายอกุศล ก็จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ลืมตาตื่น ตอนนอนหลับไม่มีเจตสิกที่เป็นอกุศลเกิดร่วมด้วย เจตสิกที่เป็นกุศลก็ไม่เกิดร่วมด้วยเพราะขณะนั้นเป็นผลของกรรมที่ทำให้ยังไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังไม่ได้คิดนึก แต่ก็มีอนุสัยกิเลสอย่างที่ถามตอนต้น ทิฏฐานุสัยก็มี กามราคานุสัยก็มี แต่ว่าขณะใดที่มีการรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างวันนี้เราตื่นมาแล้ว ความละเอียดของธรรม เรารู้หรือไม่ว่า ขณะที่เห็น อกุศลที่เป็นเจตสิกเกิดร่วมกับจิต แต่ว่าเป็นประเภทที่ไม่ได้พัวพันหรือผูกพันปรากฏอย่างลักษณะของที่เราใช้คำว่า “นิวรณ์” หรือ “นิวรณธรรม” เราตื่นขึ้นมาเราก็มีการเห็น ก็ไม่รู้ว่ามีความพอใจ โลภะหรือโทสะ หรือโมหะในสิ่งที่เห็นอย่างรวดเร็ว หมดไปแล้วแต่ละขณะ นี่ไม่รู้เลย แต่พอมาถึงการแต่งตัว รับประทานอาหาร เริ่มเห็นกิเลสที่พัวพันไหม มีความต้องการเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่เห็นแล้วก็ผ่านไป เห็นแล้วก็ผ่านไป ซึ่งความจริงไม่ใช่ว่าผ่านไปโดยที่ไม่มีอกุศลเกิดเลย มีอกุศลเกิดแล้วทั้งนั้น ถ้าขณะนั้นไม่ใช่กุศล เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าธรรมที่เรากล่าวละเอียดมาก และก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่กว่าปัญญาของเราจะรู้อย่างนั้นก็จะต้องอาศัยการฟังว่าเราผ่านการเห็นมาเท่าไร แล้วก็มีอาสวกิเลสประเภทกามาสวะ อยู่ตลอดเวลาที่พอใจ จนกว่าจะนั่งที่โต๊ะรับประทานอาหาร ตอนนี้ปรากฏแล้วเริ่มพัวพันแล้ว ช้อมส้อม อาหารบนโต๊ะ ปรากฏลักษณะที่ไม่เหมือนกับเห็นแล้วผ่านไป เห็นแล้วผ่านไป นี่ก็คือความต่างกันของระดับขั้นของอกุศลจนกระทั่งถึงการมาฟังธรรม ต่างขณะแล้ว แต่ต้องมีปัจจัยที่สะสมมาเพราะว่า ขณะที่หลับสนิทไม่ใช่มีแต่ที่เป็นอกุศลที่เป็นอนุสัย ยังมีอาสยกุศลทั้งหลายด้วยที่ได้สะสมมา มิฉะนั้นก็จะไม่มีการเห็นประโยชน์แม้แต่การจะได้ฟังสิ่งที่ฟังแล้วก็ฟังอีก ฟังวิทยุก็ฟังแล้วก็ยังต้องฟังอีก เพื่อที่จะได้เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าที่เราฟังอยู่นี่ มีไหมขณะที่เรากำลังฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ หรือว่าทางหูที่กำลังได้ยินเสียงขณะนี้ แล้วมีความคิดถูกเกิดขึ้นว่าที่จริงแล้วทุกอย่างที่เราผ่านมาหรือว่าเคยมีมา ที่เราอาจจะคิดว่ามีแล้วในอดีตตั้งแต่เด็ก ก็คือว่าไม่มีอะไรที่เป็นสาระหรือเหลือเลย ขณะนี้มีเพียงแต่สิ่งที่ปรากฏทางตาชั่วขณะที่ปรากฏเท่านั้น อย่างอื่นตั้งแต่เช้ามาที่เราตื่นเต้นดีใจกับทุกสิ่งทุกอย่าง เรื่องอาหาร เรื่องเพื่อน หรือเรื่องอะไรก็ตามแต่ ความบันเทิงต่างๆ บางคนก็อาจจะดูโทรทัศน์เรื่องนั้นเรื่องนี้มา ไม่มีอะไรเหลือเลย จริงๆ แล้วไม่มีเลยสักขณะนอกจากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180