พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
ตอนที่ ๑๗๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘
อ.กุลวิไล จริงๆ แล้วกุศลจิตเราเกิดหรือไม่ ขณะที่เราเคารพถึงพระคุณของบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ก็เป็นความเห็นถูก แต่ถ้าเรากราบไหว้แล้วเราต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากท่าน หรือว่าเป็นความเห็นที่คลาดเคลื่อนว่าท่านจะมาทานอาหารที่โต๊ะที่เราตั้งไหว้ ก็เป็นความเห็นที่คลาดเคลื่อนที่ผิดไป ทุกอย่างก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งเราก็ไม่สามารถจะไปเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นได้ แต่ความเข้าใจถูกของเราก็สามารถจะมีเพิ่มขึ้นได้จากการศึกษาพระธรรม
ท่านอาจารย์ เราควรจะให้เขาไตร่ตรองเองด้วย เช่น ถามเขาว่าการระลึกถึงผู้ที่มีพระคุณ เช่น บิดามารดาดีหรือไม่ แล้วปกติวันหนึ่งๆ ระลึกถึงบ่อยหรือไม่ และก็โดยที่ว่าคนนั้นอาจจะระลึก คนนี้ไม่ระลึก แต่ถ้าเรามาพร้อมกันระลึกถึงคุณด้วยกันก็ดีใช่ไหม เพราะว่าท่านเป็นผู้มีคุณ และก็ทำสิ่งที่เหมาะสมเช่นทำกุศล เพราะเหตุว่าถ้าเราประพฤติไม่ดี ญาติพี่น้องเราไม่อนุโมทนาแน่ ต่อให้จะนำอะไรไปให้สักเท่าไหร่ แต่ความประพฤติของเราก็เป็นทางอกุศล ใครจะมาอนุโมทนาใช่หรือไม่ เพราะว่าจริงๆ แล้วผู้ที่เป็นญาติผู้ใหญ่ก็ต้องการให้บุตรหลานเป็นคนดี เพราะฉะนั้นถ้าเราจะทำกุศลซึ่งกุศลก็มีหลายอย่าง ถ้าเราทำกุศลแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ก็จะดี
ผู้ฟัง ถ้าญาติตกนรกอยู่ก็ไม่สามารถจะอนุโมทนากุศลในขณะนั้นได้ พอพ้นจากนรกมาเป็นเปรตจะได้รับเหมือนกับยังรออยู่อย่างนี้หรือไม่
ท่านอาจารย์ กุศลของใคร
ผู้ฟัง กุศลของผู้ที่อนุโมทนา
ท่านอาจารย์ ใครอนุโมทนา
ผู้ฟัง หมายถึงว่ากุศลของเราที่อุทิศให้
ท่านอาจารย์ ดับแล้ว สะสมสืบต่อในจิตที่เกิดสืบต่อกันทุกขณะ
ผู้ฟัง แต่ญาติที่สามารถอนุโมทนาได้ก็คืออนุโมทนา
ท่านอาจารย์ จิตของใครอนุโมทนา
ผู้ฟัง จิตของญาติ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกุศลจิตเกิด อนุโมทนาดับ แล้วก็สะสมสืบต่อไปในจิตของญาติ
ผู้ฟัง แต่ถ้าอนุโมทนาไม่ได้ก็เป็นอันว่าไม่ได้รับ
ท่านอาจารย์ กุศลเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นจิต เจตสิก ดับแล้ว แล้วก็มีการเกิดดับสืบต่อ ของใครก็ของคนนั้น
ก็คงจะทบทวนกันบ้าง เพราะว่าไม่ทราบว่าที่ฟังไปแล้ว เราพอจะเข้าใจแล้วก็ไม่ลืม เป็นความรู้ของเราเอง เช่น ถ้ากล่าวถึงสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ถ้าถามว่าโทสะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม จะตอบว่าอย่างไร ทุกคนบอกว่าง่ายมาก เพราะเหตุว่านามธรรมเป็นสภาพรู้ และโทสะขณะที่กำลังโกรธก็คือรู้สิ่งที่กำลังโกรธ ถ้าไม่มีการรู้ จะโกรธในสิ่งนั้นไม่ได้เลย แต่เพราะเหตุว่าเป็นสภาพรู้ แต่ไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเมื่อโทสะเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ถ้าโดยปรมัตถธรรม โทสะเป็นอะไร เป็นเจตสิก แต่ถ้าโดยขันธ์ ถามว่าโทสะเป็นขันธ์อะไร สังขารขันธ์ เพราะว่าโทสะนี้ไม่ใช่รูปขันธ์ ไม่ใช่เวทนาขันธ์ ไม่ใช่สัญญาขันธ์ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้นโทสะก็เป็นสังขารขันธ์
ถามว่า โทสะเป็นเหตุหรือไม่ใช่เหตุ เป็นเหตุ เหตุมีเท่าไหร่ เหตุมี ๖ เป็นอกุศลเหตุ ๓ และเป็นโสภณเหตุ ๓ สำหรับเหตุก็ได้แก่เจตสิก ๖ ดวงเท่านั้น ถ้ากล่าวถึงประเภทของเจตสิก ธรรมที่เป็นเหตุจริงๆ ได้แก่ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก และก็ทางฝ่ายโสภณก็เป็นอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก เข้าใจใช่หรือไม่ แต่รู้ลักษณะของธรรมที่กล่าวหรือไม่ เข้าใจตอบได้ว่าโทสะเป็นนามธรรมโดยชื่อ แต่เวลาที่ลักษณะของโทสะเกิด สภาพที่เป็นนามธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นลักษณะของสภาพธรรมของโทสะ แต่ปัญญาไม่รู้ความจริงคือไม่รู้ลักษณะที่เป็นโทสะว่าเป็นธรรม แล้วก็เป็นนามธรรมด้วย
เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาขั้นฟังให้เข้าใจยังไม่พอ ต้องเป็นขั้นที่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น และความเข้าใจจากการฟัง เราฟังมาแล้วว่าโทสะไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แต่เวลาที่ลักษณะของโทสะเกิด ไม่มีปัจจัยพอที่จะรู้ลักษณะนั้นเป็นนามธรรม ด้วยเหตุนี้การฟังบ่อยๆ ก็คือให้ทราบว่าทุกคำที่ได้ทรงแสดง ๔๕ พรรษา เพื่อให้รู้ลักษณะของสภาพธรรม แม้จะกล่าวว่าโทสะก็ไม่ใช่เพียงให้จำว่าเป็นเจตสิก และก็เกิดกับจิต แต่ว่าเวลาที่โทสะเกิดเมื่อใด สติเกิดรู้โทสะที่กำลังเกิดนั่นเอง ก็มีความเข้าใจถูกต้องว่าลักษณะนั้นไม่ใช่เรา ถ้าไม่เป็นอย่างนี้เราก็รู้เพียงแค่ตำราตลอดชีวิต แล้วเมื่อไหร่ที่โทสะเกิดก็เป็นเราไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า พระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมกุศลหรืออกุศล ไม่ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นจิตหรือเป็นเจตสิก ก็แสดงให้เห็นว่าปัญญาของเราขั้นฟังแม้มาก แต่ขั้นที่จะรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมต้องอาศัยความอดทน และความเข้าใจที่มั่นคงว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมเพราะเหตุว่ากล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม ถ้าโทสะเกิดในขณะนี้ นึกถึงชื่อ นึกถึงเรื่อง ก็นึกถึงคำไปอีก ผู้นั้นก็สามารถที่จะรู้ความต่างว่าขณะนั้นเป็นขั้นจำเรื่องราวที่ได้ฟัง จนกว่าจะถึงกาลที่กำลังเข้าใจลักษณะนั้น ซึ่งทุกคนก็จะติดตรงนี้ว่าขณะที่กำลังจะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏจะเป็นลักษณะอย่างไร เพราะเหตุว่าไม่ใช่ขั้นฟังเท่านั้น แต่ขณะนี้ถ้าเข้าใจถูกต้องว่ามีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ เริ่มหันมาถึงลักษณะที่กำลังมีในขณะนี้ คือเมื่อครู่นี้ฟังเรื่องราวทั้งหมดเลย แต่ขณะนี้กำลังกลับมาลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งมีสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ และสิ่งนั้นก็ตรงตามที่ทรงแสดง เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้ ถ้าเราละเลย แล้วว่าทำไมมากล่าวกันอีกแล้วในวันนี้ คราวก่อนนั้นก็กล่าวแล้ว วันไหนๆ ก็กล่าว ก็กล่าวจนกว่าจะเข้าใจถูกต้องจริงๆ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณาในขณะที่กำลังฟังก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ต้องไปที่เรื่องราวหรือชื่อเสียง แต่ตรงลักษณะนี้ที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นเริ่มที่จะเข้าใจความเป็นธรรมของลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ นี่คือเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ทางใจก็มีเรื่องราว มีความคิดนึก มีเรื่องอะไรต่างๆ แสดงให้เห็นว่าผู้ฟังมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าจะต้องอบรมความรู้มากเพียงไหนที่จะรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมจนกระทั่งสามารถที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้ เป็นความจริงหรือไม่ ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง วิริยะความพากเพียรหรือความอดทนก็ไม่ใช่เรา ขณะที่ฟังก็ทรงแสดงไว้ว่ามีเจตสิกอื่นๆ เช่น วิริยเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ในขณะที่ฟัง แต่ลักษณะนั้นๆ ก็ไม่ได้ปรากฏ ต่อเมื่อใดลักษณะนั้นปรากฏ และสติรู้ลักษณะนั้น เมื่อนั้นก็จะเข้าใจความหมายที่พระองค์ทรงแสดงว่าทุกอย่างเป็นธรรม และผู้ที่ฟังไตร่ตรองที่จะสามารถที่จะอบรมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกทีละเล็กทีละน้อยในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ที่ใช้คำว่า “ทีละเล็กทีละน้อย” จริงหรือไม่สำหรับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็ยืนยันได้เลยใช่หรือไม่ว่าทีละเล็กทีละน้อยแค่ไหน กว่าที่จะเริ่มเข้าใจจริงๆ ว่าลักษณะนี้ก็เพียงปรากฏทางตา คนตาบอดไม่เห็น กี่ภพกี่ชาติก็เหมือนอย่างนี้ และถ้าชาติใดที่ไม่มีจักขุปสาท สิ่งนี้ก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นเมื่อสิ่งนี้ปรากฏก็เข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ยากหรือไม่ ยากที่สุด ต้องใช้คำว่ายากที่สุด ที่ไม่มีอะไรจะยากกว่านี้ เพราะว่าแม้ว่าจะเป็นผู้ที่ฉลาดรู้เรื่องราวทางโลกมากมาย แต่ไม่ใช่ความรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง โทสะกับโกธะ เป็นสภาพเดียวกันหรือไม่
ท่านอาจารย์ ก็เป็นชื่อ แต่ความจริงคือลักษณะของสภาพธรรมที่ขณะนั้นไม่เป็นสุข แล้วก็ขุ่นใจ อาจจะเล็กน้อยมากจนกระทั่งเราไม่รู้สึก เช่น ขณะที่เราว่าใคร ขณะนั้นรู้หรือไม่ว่าโทสะหรือโกธะหรืออะไร ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อ แต่ลักษณะขณะนั้นจะรู้หรือไม่ว่าเพราะไม่พอใจ ขณะนั้นจึงมีคำพูดอย่างนั้น ลักษณะของสภาพธรรมสำคัญกว่าชื่อ เพราะว่าชื่อจะมีมาก มีคำว่าปฏิฆะ มีคำว่าโกธะ มีคำว่าโทสะ มีคำว่าพยาปาท แต่สรุปแล้วก็คือลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่เป็นสุข ขณะนั้นความรู้สึกไม่สบายใจ แล้วก็มีระดับต่างๆ กันด้วย ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจเล็กน้อย เพียงว่าหรือตำหนิ ถ้าไม่ว่าก็แค่ตำหนิ แค่ตำหนินิดเดียวจะรู้หรือไม่ว่าเป็นโทสะ
ผู้ฟัง ถ้าพวกเราไม่ได้เรียนในทางโลก ไม่ได้ถูกสอนให้ถือศักดิ์ศรี ตระกูล ชาติเชื้อของเราเอง จะทำให้เราเข้าใจคำว่าโทสะ คำว่าอัตตาง่ายขึ้นไหม อาจารย์ที่สอนธรรมเคยพูดว่าสอนพวกปริญญาสอนยากเพราะติดทางโลกกันมาก สอนเด็ก ป. ๔ ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร สอนง่ายกว่า ฟังดูก็มีเหตุมีผล หมายความว่านอกจากเข้าใจในศัพท์ ไม่ทราบว่าอาจารย์จะมีข้อวิเคราะห์อย่างไร
ท่านอาจารย์ คำสอนมีมากมาย แต่คำสอนที่เลิศประเสริฐ และถูกต้องที่สุดคือคำสอนของพระอรหันตสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะถูกสอนมาอย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะพิจารณาว่าผู้สอนมีจุดประสงค์อะไร สอนให้เรามีศักดิ์ศรีเพื่อให้เราเป็นคนดี หรือว่าสอนให้เรามีศักดิ์ศรีเพื่อให้เราทะนงตน สำคัญตน ก็ขึ้นอยู่กับเราด้วย ถ้าเราสะสมมาที่จะเข้าใจความมุ่งหมายของผู้ที่สอน ก็จะต้องรู้ว่าสอนเพื่อให้ประพฤติดี ถ้าจะให้มีศักดิ์ศรีก็คือว่าศักดิ์ศรีด้วยความดี ไม่ใช่ว่าเมื่อมีศักดิ์ศรีแล้วประพฤติชั่ว แล้วศักดิ์ศรีนั้นจะมีความหมายอะไร ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นทั้งหมดคำสอนที่ถูกต้องที่สุดก็คือว่าให้เป็นผู้ที่กุศลจิตเกิด เพราะว่าทุกคนหลีกเลี่ยงอกุศลไม่ได้เลย แม้แต่คำสอนทั้งหลายที่เป็นไปในเรื่องเชื้อชาติหรือในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งหมด ถ้ารับไม่ดีก็มีความสำคัญตน มีความเข้าใจผิด แต่ถ้าความเข้าใจถูกต้องว่าประเพณีนั้นๆ มีพื้นฐานคำสอนมาจากใคร สำหรับชาวพุทธประเพณีพื้นฐานทั้งหมดก็มาจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่เด็กเคารพผู้ใหญ่ นี่ก็คำสอนที่แสดงให้เห็นว่าควรบูชาหรือควรแสดงความเคารพผู้ที่ควรเคารพโดยวัย หรือโดยฐานะ โดยความรู้ โดยอะไรทั้งหมด เพื่อความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะบางคนถ้าสูงวัยก็ไม่เคารพคนที่อ่อนวัย แต่ว่าจริงๆ แล้วเคารพในอย่างอื่นได้ เช่น ในฐานะ ในความรู้ ในคุณความดี หรืออย่างอื่นได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นทั้งหมดก็ต้องพิจารณาว่าเพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อกระทำความดี
ผู้ฟัง ถ้าเรามีอัตตาน้อยลง ลดอัตตาให้มากขึ้น ความรู้สึกของตัวเองเหมือนกับถ้าเราไม่มีตัวมีตน ไม่มีอะไร เราจะเป็นโมฆะบุรุษไปหรือไม่ ที่พูดอาจจะใช้คำไม่ถูก คือรู้สึกไม่มีอะไร จะไปเมตตาใครทำไม กรุณาใครทำไม
ท่านอาจารย์ ถ้าบอกว่าไม่มีตัวตน ประโยคนี้ครึ่งเดียวยังไม่จบ เมื่อไม่มีตัวตนแล้วมีอะไร ขณะนี้ที่กำลังมี
ผู้ฟัง มีจิต
ท่านอาจารย์ มีจิต มีเจตสิก มีรูป ถ้าสามารถที่จะเข้าใจเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับตามความเป็นจริง เพราะว่าผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริง ถ้าอย่างนั้นจะไม่มีความหมายอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไม่มีการกล่าว ไม่มีการที่จะเข้าใจความจริงได้ แต่เมื่อสภาพธรรมเป็นจริงอย่างนี้ การที่เรามีทุกข์เพราะเรายึดถือสภาพธรรมทั้งหมดว่าเป็นเรา ทุกข์ทั้งหลายต้องมาจากความไม่รู้ความจริง และมาจากการยึดถือ ถ้าเป็นเราอยู่ตราบใด ใครพูดไม่ดีก็โกรธ ใครไม่ต้อนรับ ไม่ประพฤติอย่างที่ดีก็โกรธ ทุกอย่างพร้อมที่จะไม่พอใจได้ทั้งหมดเพราะมีความเป็นเรา และถ้าเราเป็นคนที่มีความรู้ มีความสามารถ และคนอื่นไม่เห็นความรู้ความสามารถ ก็โกรธอีก เรื่องที่จะไม่พอใจมีมาก ทั้งหมดพื้นฐานมาจากการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เหตุใดคนที่มีกิเลสมากๆ ในแสนโกฏิกัปป์ที่สะสมมาสามารถที่จะดับกิเลสนั้นหมดไม่เหลือเลย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะมีความเป็นตัวตนสะสมมานานแสนนาน แต่ปัญญาที่เริ่มเข้าใจถูกเริ่มเห็นถูกจะนำมาซึ่งกุศลทั้งปวง ถ้าเรารักสุข คนอื่นก็รักสุข ถ้าเราเกลียดทุกข์ คนอื่นก็เกลียดทุกข์ เท่านี้ก็ยังพอที่จะทำให้กุศลเจริญได้ ใช่ไหม แม้ว่ายังมีความเป็นเรารักสุข คนอื่นก็รักสุขเหมือนกัน แต่ถ้ารู้ความจริง จริงๆ ทั้งหมด ไม่มีกิเลสเหลือเลย จะเป็นภาวะที่สบาย และเป็นสุขสักเพียงไหน ไม่เดือดร้อนด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น แต่ที่เดือดร้อนเพราะมีความเป็นเรา
ผู้ฟัง บางครั้งคิดไปว่าอยากให้อัตตาลดลง และให้มีเหลือแค่จิตเท่านั้นเอง คิดต่อไปอีกว่าจิตมันก็จิตของเรานี่ ไม่ใช่จิตของคนอื่น ก็ยังเป็นเราโกรธอยู่ คือไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าทราบว่าผู้ที่ไม่มีความเป็นตัวตนคือพระโสดาบัน เข้าใจเช่นนี้ก็จะบรรเทาได้ว่าตราบใดที่ยังมีเรายังไม่เป็นพระโสดาบันก็จะยึดถือสภาพธรรมตลอดหมดทั้งวัน เราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราลิ้มรส บางคนอาจจะรู้สึกว่าเราไม่ได้คิดอย่างนี้เลย เห็นก็แค่เห็นใช่ไหม แต่เพราะเหตุว่าเราไม่ได้เข้าใจกิเลสอีกระดับหนึ่งคืออนุสัยกิเลส และการอบรมเจริญปัญญา ความเข้าใจลักณะของสภาพธรรมจากการฟังเพื่อรู้หนทางที่จะดับอนุสัยกิเลส แสดงให้เห็นว่ามีกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตทุกขณะตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอริยบุคคลพร้อมที่จะเกิดเมื่อมีปัจจัย แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดตลอดเวลา แต่เมื่อมีปัจจัยเมื่อใดก็เกิด และการอบรมความรู้ความเห็นถูกเพื่อดับกิเลสนั้น คือกิเลสที่เป็นพืชเชื้อที่จะทำให้เกิดอกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่ไปดับเมื่อมีปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดแล้วหาทางดับ นั่นไม่ใช่ ถ้าโทสะเกิดแล้วหาทางดับ ไม่ต้องหาทางเลย โทสะดับแล้ว มีความเป็นเราที่ไม่พอใจในโทสะ และมีความเป็นเราที่เหนื่อยหนัก และวุ่นวาย หาทางเท่าไหร่ก็ไม่พบเพราะว่าไม่ใช่ทางที่จะไปดับกิเลสที่ดับไปแล้ว หรือคิดถึงกิเลสที่ยังไม่เกิด จะไปดับกิเลสที่ยังไม่เกิดก็ไม่ได้ แต่มีความรู้ถูกต้องว่าตราบใดที่ยังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่เรา ตราบนั้นไม่สามารถดับพืชเชื้อที่ทำให้มีความเห็นผิดยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราได้ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าจุดประสงค์ของการฟัง การอบรมความรู้ การอบรมความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏเพื่อดับอนุสัยกิเลส เราก็จะไม่ไปเหนื่อย ไม่ไปหนัก ไม่มีความเป็นตัวตนที่จะไปหาทางอื่น
ผู้ฟัง คือเตรียมตัวไม่ทัน มีโกรธอยู่ทุกวัน
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วดับแล้ว
ผู้ฟัง ก็ไม่รู้อยู่นั่น
ท่านอาจารย์ เพราะอวิชชา ไม่ใช่เรา อวิชชาก็ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ต้องรออีกแสนโกฏิกัปป์
ท่านอาจารย์ ไม่กังวลถึงวันเวลาเดือนปี แต่ขณะนี้ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วถ้ามีความเข้าใจพระธรรมถูกต้อง เราจะไม่ประมาทแม้อกุศลอื่นด้วย จะไปคอยให้สติปัฏฐานเกิด เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อจิตเป็นอกุศลอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรม และผลของกรรม จะไม่รีรอการทำกุศลทุกประการทุกขณะด้วย ทำให้เราเจริญทางฝ่ายกุศลยิ่งขึ้น เพราะว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะไม่อยู่โลกนี้ในวันไหน อาจจะเป็นขณะต่อไปพรุ่งนี้หรือเดือนต่อไปก็ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เป็นวันดีที่สุดที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุดตามกำลังความสามารถ คือสิ่งที่ดีที่สุดประเสริฐเหนือสิ่งอื่นใดคือความเข้าใจพระธรรม เก็บเล็กผสมน้อยความเข้าใจถูกว่าเป็นธรรม เป็นสัจจญาณ
ผู้ฟัง ฟังแล้วก็อุ่นใจ พอกลับไปถึงบ้านก็ยังมีอีกแล้ว คือก็ยังรู้สึกไม่ค่อยลดละอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้เลย
ท่านอาจารย์ ถ้าแสนโกฏิกัปป์ เราสะสมอกุศล และอวิชชาไว้มาก แล้ววันนี้เราจะเอาสิ่งที่เราสะสมมาแสนโกฏิกัปป์ออกไปได้อย่างไร นอกจากสะสมใหม่ที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แต่ว่าน่าอุ่นใจที่ว่าได้สะสมกุศลมาที่จะได้ฟังพระธรรมแล้วพิจารณาจนกระทั่งเป็นความเข้าใจของเราแม้ทีละเล็กทีละน้อย แต่ก็มีพืชเชื้อที่จะเจริญเติบโตได้ในเมื่อเป็นความเห็นถูก เพียงเท่านี้ก่อนดีไหม คือทุกชาติไปที่มีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม และก็ค่อยๆ สะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ไม่กังวลถึงการที่จะไปดับกิเลส ไม่กังวลถึงวิปัสสนาญาณจะเกิด เพราะว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ ให้เป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่าเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่โดยชื่อ แต่ลักษณะนี้มี และค่อยๆ เข้าใจขึ้นบ้างหรือยัง ทีละเล็กทีละน้อย ดีกว่าไม่รู้เลย และไม่เข้าใจเลย และคงไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นการละโลภะไปในตัว เพราะว่าโลภะเป็นสมุทัย
ผู้ฟัง ขอถามว่า ปฏิฆสัมปยุตต์ที่เป็นโทจตุกะนั้น โทจตุกะก็ต้องมีเจตสิกอีก ๓ ดวงเกิดร่วมด้วย ปฏิฆสัมปยุตต์เข้าใจว่าประกอบด้วยอิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิกด้วย ใช่หรือไม่
อ.ธิดารัตน์ โมจตุกะ หมายถึงธรรมหมวด ๔ มีโทสเจตสิกเป็นต้น คือธรรมที่สามารถจะเกิดร่วมกับโทสเจตสิกได้ แต่จะไม่เกิดพร้อมกัน เช่น ขณะที่อิสสาเจตสิกเกิดร่วมกับโทสเจตสิกนั้น มัจฉริยเจตสิกก็จะไม่เกิดร่วมด้วย แต่ในขณะที่มัจฉริยเจตสิกเกิด อิสสาเจตสิกก็จะไม่เกิดร่วมด้วย เจตสิก ๓ ประเภท คืออิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ จะไม่เกิดพร้อมกัน จะประกอบกับโทสเจตสิกเหมือนกัน เป็นแต่ละขณะจิต
ท่านอาจารย์ อกุศลจิต ๓ ประเภท คือ โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต สำหรับโลภมูลจิตกับโมหมูลจิตนั้น ส่วนใหญ่เรารู้หรือไม่ เพราะฉะนั้นเราจะได้ยินคำว่า “สัมปยุตตธรรม” เวลาที่กล่าวถึงธรรมที่เกิดร่วมกับจิต แล้วก็แสดงถึงชื่อของสิ่งนั้นด้วย เช่น โลภมูลจิต จะมีคำว่า “ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง” แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีทิฏฐิความเห็นเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็เป็นโลภะที่ไม่ได้ปรากฏรู้ได้เลยใช่หรือไม่ เช่น เวลานี้ได้ยินเสียง โลภะหรือเปล่า โมหะหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีอะไรสัมปยุตต์ใช่ไหม ทิฏฐิความเห็นก็ไม่เกิดร่วมด้วย วิจิกิจฉาความสงสัยก็ไม่ได้เกิดร่วมด้วย แต่ว่าสำหรับปฏิฆสัมปยุตต์เป็นสภาพธรรมที่แม้เป็นโทสะ เป็นสภาพที่ประทุษร้ายจิตขณะที่เกิดขึ้น แต่รู้โดยปฏิฆสัมปยุตต์เพราะเหตุว่าสามารถที่จะมีลักษณะของความที่เป็นปฏิฆะกระทบ กระทั่ง ซึ่งปกติวันหนึ่งๆ เหมือนไม่กระทบอะไรใช่ไหม เห็นก็ผ่านไป ได้ยินก็ผ่านไป แต่เมื่อไม่พอใจแม้เล็กน้อย ลักษณะขณะนั้นเป็นลักษณะของการกระทบกระทั่งที่จะทำให้ความรู้สึกไม่แช่มชื่น สามารถที่จะปรากฏให้รู้ได้ โกรธไม่พอใจ ลักษณะนั้นหยาบกระด้าง และกระทบกระทั่งให้สามารถรู้ได้ในขณะนั้น คนที่โกรธแล้วไม่รู้ เป็นอย่างไร คือไม่รู้ว่าโกรธ แต่ถ้าโลภะเกิดแล้วไม่รู้ว่าโลภก็มีใช่หรือไม่ ทั้งๆ ที่มีโลภะก็บอกว่าไม่มี
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180