พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
ตอนที่ ๑๗๒
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ คนที่โกรธแล้วไม่รู้ จะเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่าโกรธ แต่ถ้าโลภะเกิดแล้วไม่รู้ว่าโลภก็มีใช่ไหม ทั้งๆ ที่มีโลภะก็บอกว่าไม่มี แต่เมื่อบอกว่าโกรธ จะบอกว่าเขาไม่โกรธเลย เขาก็คงจะคิดว่าความโกรธนั้นหมายถึงสภาพธรรมที่ใหญ่โตโกรธจัดๆ อย่างนั้นเขาพอจะรู้ได้ แต่ถ้าขุ่นใจหรือเพียงรำคาญใจ เพียงรำคาญใจบางคนเขาจะบอกว่าเขามีมาก เขาไม่ได้โกรธใครอย่างสาหัสหรือว่ามากมายใหญ่โตเลย แต่รำคาญ อาจจะรำคาญคน หรือถ้าขณะนั้นไม่มีคนอื่นเลย รำคาญใจตัวเองมีไหม ขณะนั้นก็จะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะของปฏิฆะที่ทำให้รู้ได้ นี่ก็คือว่าสภาพธรรมที่ทรงใช้คำก็เพื่อที่จะให้เราเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ นั่นเอง
ผู้ฟัง รำคาญใจใช่กุกกุจจะหรือไม่
ท่านอาจารย์ รำคาญใจ ขณะนั้นเกิดร่วมกับโมหะหรือเกิดร่วมกับโทสะ โดยชื่อ เราใช้คำว่า “รำคาญใจ” แต่ใครจะใช้คำแปลว่าอย่างไร แล้วก็ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมในขณะนั้นเป็นอย่างไร เวลารำคาญใจนี่สบายใจไหม แล้วถ้าเป็นโมหะจะเกิดร่วมกับความรู้สึกประเภทใด โมหะต้องเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุข) แต่ถ้าเป็นความรำคาญใจในขณะนั้น เวทนาก็เป็นโทมนัสเวทนา
เพราะฉะนั้น เราอาศัยพระธรรมที่ทรงแสดงไว้เพื่อพิจารณาให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ เพื่อเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ไม่ใช่ไปคิดถึงคำที่ได้บัญญัติไว้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมายความว่าอะไร ขณะนั้นเป็นอะไร แต่ตัวจริงของสภาพธรรมในขณะนั้นเป็นระดับนั้นเกิดขึ้นแล้ว ใครจะใช้คำอะไรแล้วแต่ภาษา แต่จะเปลี่ยนลักษณะของระดับของความขุ่นใจนั้นไม่ได้ ซึ่งจะใช้คำอะไรก็เป็นเรื่องของภาษา แต่จริงๆ แล้วก็คือลักษณะนั้นเกิดแล้ว มีลักษณะอย่างนั้นแล้ว ปรากฏเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น เรื่องของโมหมูลจิตก็เป็นเรื่องที่คงจะต้องต่อจากโทสมูลจิต เพราะเหตุว่าก็มีวิจิกิจฉาสัมปยุตต์ มีอุทธัจจสัมปยุตต์ด้วย แต่สำหรับธรรมดาปกติเวลาที่อกุศลจิตเกิดขึ้นต้องมีทั้งโมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ ทั้ง ๔ ต้องมีเกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกประเภท แล้วแต่ว่าลักษณะนั้นปรากฏหรือไม่ เช่น ขณะโกรธ มีโมหะเกิดร่วมด้วย มีอหิริกะ อโนตตัปปเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีอุทธัจจะเกิดร่วมด้วย แต่อะไรปรากฏ ต้องเป็นโทสะ ลักษณะของโทสะเป็นปฏิฆะกระทบกระทั่ง เจตสิกที่เป็นอกุศลที่จะเกิดร่วมกับโทสะคืออิสสาเป็นความริษยาในสิ่งที่คนอื่นมี มัจฉริยะ (ความตระหนี่ ความหวงแหน) ไม่ต้องการให้สิ่งที่เรามีสาธารณะให้คนอื่นมาร่วมใช้สอย และกุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) เพราะฉะนั้นลักษณะของความรำคาญใจเป็นกุกกุจจเจตสิก แต่ไม่ใช่โทสเจตสิก เพราะฉะนั้นเวลาที่โทสเจตสิกเกิดร่วมกับโทสะ จิตนั้นเป็นโทสมูลจิต จะปราศจากโทสเจตสิกไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกครั้งที่โทสมูลจิตหรือโทสเจตสิกเกิด จะต้องมีอิสสาหรือมัจฉริยะหรือกุกกุจจะเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่อย่างนั้น และถ้าขณะใดมีอิสสาเกิดร่วมด้วย ก็ไม่มีมัจฉริยะ กุกกุจจะเกิดร่วมด้วย มัจฉริยะเกิดกับโทสะ ขณะนั้นก็ไม่มีอิสสา และกุกกุจจะเกิดร่วมด้วย ขณะใดที่กุกกุจจะเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็ไม่มีอิสสาเจตสิก และมัจฉริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นี่เป็นการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมากของจิต ต้องเป็นการค่อยๆ รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏจึงจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามที่กล่าวถึงได้ มิฉะนั้นก็เป็นแต่เพียงชื่อ เพราะแม้ขณะนี้เห็นกับได้ยินก็เหมือนพร้อมกัน เพราะฉะนั้นก็จะทำให้หลงเข้าใจผิดว่าเจตสิกประเภทนั้นอาจจะเกิดกับเจตสิกประเภทนั้นๆ ก็ได้ โดยการที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงประเภทของเจตสิกนั้นๆ ว่าเกิดกับจิตประเภทใด
ผู้ฟัง ลักษณะขุ่นเคืองใจ และรำคาญใจ แม้กระทั่งผู้ที่สนใจธรรมก็ต้องเกิดสภาพนี้ เพราะว่ามีปฏิฆานุสัยซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสใช่ไหม พระโสดาบันก็ยังมีความขุ่นเคืองใจ และก็รำคาญใจ
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล และความจริงกิเลสทั้งหมดดับไม่ได้ถ้าไม่ใช่เป็นพระอริยบุคคล และการดับกิเลสก็ต้องดับตามลำดับขั้นด้วย เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าใจธรรมไม่หลงผิด เพราะว่าอะไร ทั้งๆ ที่ รู้ว่า อกุศลจิต ๑๒ ประเภท ถ้าถามก็อาจจะตอบได้ขึ้นใจว่า โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ โลภะก็เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็รู้ทั้งหมด แต่ก็ยังเป็นไปกับโลภะ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ปัญญาระดับที่มีกำลังสามารถจะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน และดับกิเลสจนถึงความเป็นพระอนาคามีที่จะไม่ติด ไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่รู้จักตัวเอง รู้จักอย่างไร สิ่งใดที่เกิดแล้วนั่นคือแสดงถึงการสะสมที่ได้สะสมมา แม้ว่าเราจะสะสมมามากแสนมาก แต่ถ้าไม่มีปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นก็ยังไม่เกิด บางคนก็อาจจะคิดว่าเป็นคนดีมาก แล้วก็หลอกตัวเองไป แต่ว่าตามความเป็นจริงตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอริยบุคคล อนุสัยกิเลสก็ยังอยู่เต็ม และก็พร้อมที่จะเป็นพืชเชื้อปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดขึ้นทำกิจการงานร่วมกับจิต ก็เป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้องว่าการศึกษาขั้นปริยัติก็เป็นการสะสมที่จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่ถ้าตราบใดที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอริยบุคคลก็จะดับกิเลสใดๆ ไม่ได้เลยทั้งๆ รู้ แต่รู้ขั้นปริยัติ
อ.กุลวิไล กราบเรียนถามท่านอาจารย์ถึงสภาพธรรมที่เป็นอสังขาริกกับสสังขาริก ในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ก็เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดตามประเภทของจิตนั้นๆ
อ.กุลวิไล กรณีมิทธเจตสิกก็เป็นสภาพที่โงกง่วง ถ้าหากขณะที่เราง่วงนอน แน่นอนว่าจิตไม่มีกำลัง แม้แต่จะฟังธรรมก็จะเหนื่อยอ่อนเพลีย ก็จะมีปัจจัยให้จิตนั้นไม่ควรการงาน และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ไม่ควรแก่การงานด้วย ขณะนั้นก็พอจะทราบถึงความที่มีถีนะ และมิทธะเกิดร่วมด้วย แต่ในชีวิตประจำวันถ้าจิตที่ไม่มีกำลัง ไม่ถึงขนาดขั้นง่วงนอน แต่เป็นจิตที่เป็นอสังขาริก
ท่านอาจารย์ สสังขาริกไม่จำเป็นต้องมีถีนมิทธเจตสิกเกิดร่วมด้วย จะเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้
อ.กุลวิไล ที่ท่านแสดงถึงว่ามีถีทุกะเกิดร่วมด้วย จะมีเฉพาะสสังขาริกบางประเภทเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ บางกาล สสังขาริกนั้นก็มีถีนมิทธเจตสิกเกิดร่วมด้วย บางคราวสสังขาริกนั้นไม่มีถีนมิทธเจตสิกเกิดร่วมด้วย
อ.กุลวิไล กรณีที่ไม่มีถีทุกะเกิดร่วมด้วย และเป็นสสังขาริก เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็ให้เข้าใจว่าหมายความถึงถีนเจตสิก ๑ และมิทธเจตสิก ๑ ซึ่งทั้ง ๒ เจตสิกจะแยกกันไม่ได้เลย เมื่อถีนเจตสิกเกิด มิทธเจตสิกก็เกิดร่วมด้วย จึงเรียกว่า “ถีทุกะ” เวลาที่ทุกคนรู้สึกท้อถอยมีไหม มี นั่นคืออะไร ต่างกับขณะที่ไม่ท้อถอย ก็แสดงว่าต้องมีเจตสิกที่ทำให้อาการอย่างนั้นเกิดขึ้นเท่าที่พอจะรู้ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถที่จะไปรู้ความต่างอย่างละเอียดระหว่างอสังขาริกกับสสังขาริก แต่พอที่จะทราบกำลังของสภาพธรรมที่เกิดว่าสภาพธรรมนั้นเกิดเองตามการสะสม โดยที่ว่าไม่ได้อาศัยความลังเล ความไม่แน่ใจคิดไปคิดมา หรือไม่ได้อาศัยการชักจูงของใครเลย เช่น คนที่โกรธๆ ง่ายๆ เขาจะรู้เลย ไม่ต้องมีใครชวนเลย ไม่น่าโกรธก็โกรธ ขณะนั้นก็จะเห็นว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะอาศัยการสะสมมามีกำลังที่จะเกิด แต่บางกาลก็ไม่เป็นอย่างนั้นเลย ก็แสดงให้เห็นว่าบางคนอาจจะเรื่องนี้ก็ไม่เห็นจะน่าโกรธเลย ต้องมาบอกว่าทำไมจะไม่น่าโกรธ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และเขาก็รู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้น นี่ก็เป็นชีวิตประจำวันของแต่ละคนซึ่งถ้ามีเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น และได้ฟังธรรม และจากความเข้าใจลักษณะของจิตนั้นก็พอที่จะเห็นได้ว่าขณะนั้นเป็นจิตประเภทใด แต่ความเป็นจริงก็คือกำลังเรียกชื่อตามที่จำไว้ แต่ว่าสภาพธรรมนั้นก็ดับแล้ว ไม่มีทางที่จะรู้ตัวจริงของสภาพธรรมจนกว่าสติปัฏฐานหรือสติสัมปชัญญะจะเกิด ที่ไม่มีการคิดนึกเลย แต่รู้ลักษณะ ข้อสำคัญคือมีลักษณะแล้วรู้ลักษณะก่อนที่จะคิด เพราะว่าถ้าขณะใดที่คิดคงยากที่จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นจิตที่คิด เพราะว่าแม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏก็ยังไม่รู้เลยว่านามธรรมต่างกับรูปธรรมอย่างไร เพราะฉะนั้นก็จะต้องค่อยๆ เข้าใจความต่างของขณะที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์กับขณะที่มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์
ผู้ฟัง สภาพธรรมเช่นนี้ไม่ได้ปรากฏกับตัวเองบ่อยๆ นัก ก็เพียงชั่วขณะเดียวที่เบื่อที่จะโกรธ แต่พอได้ยินคนว่ากล่าวก็โกรธเหมือนเดิมอีก
ท่านอาจารย์ กว่าจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็นานอย่างนี้ คิดบ้าง อะไรบ้าง ทุกสิ่งทุกอย่าง จนกว่าจะมีปัจจัยที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะเป็นแล้ว
ผู้ฟัง ยังมีข้อคิดอีกอย่างหนึ่ง คือถ้าเราเชื่อในกฏแห่งกรรม เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา วิบากกรรมเราเป็นอย่างนี้ เราทำอย่างนี้ไว้แต่ไหนแต่ไรมาถึงต้องถูกด่า ถูกว่า ถูกโกง ถูกเอาเปรียบ อะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เราโกรธมีโทสะ ก็นึกว่าเป็นวิบากของเรา ก็ทำไปอย่างนี้ คิดอย่างนี้ จะเป็นทางออกได้บ้างหรือไม่
ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงศ์บังคับความคิดได้ไหม ถึงเตรียมว่าจะคิดดีหรือไม่คิดดี เวลานี้เรากำลังคิดถึงสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ แล้วไม่รู้ว่าจะปรากฏหรือไม่ แล้วจะปรากฏในลักษณะใด เพราะฉะนั้นทุกคนจะคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วหรือสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น ลืมสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมจนกว่าจะรู้ว่าศึกษาให้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏแม้แต่คิด ที่คุณเด่นพงศ์คิดเป็นสังขารขันธ์ การปรุงแต่งของสภาพธรรมที่สะสมมา เช่นคุณศุภัสสรเวลาที่โกรธ สภาพธรรมที่ปรุงแต่งสะสมมาก็ทำให้ความขุ่นเคืองใจเกิดขึ้น และก็มีน้อยมากที่เกิดเบื่อที่จะโกรธ ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่การเบื่อที่จะโกรธจะรู้ไหมว่าวันไหน หรือว่าเบื่อดีกว่า และเย็นนี้จะเบื่อ ก็เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่าคาดคะเนคิดเอาเท่านั้นเอง โดยที่ว่าขณะที่คิดอย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าเหตุใดจึงคิดอย่างนั้น บังคับไม่ให้คิดอย่างนั้นไม่ได้ หรือว่าจะบังคับให้คิดอย่างอื่นแม้แต่ความคิด
เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจความหมายของอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ทุกอย่างที่เกิดไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม นามธรรม เป็นจิต เป็นเจตสิกประเภทต่างๆ เป็นโลภะบ้าง เป็นโทสะบ้าง เป็นกุศลบ้าง ก็บังคับไม่ได้ เลือกไม่ได้ แต่รู้เมื่อสิ่งนั้นเกิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นการสะสมของเราเองโดยที่ว่าเมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นแล้วเราก็รู้ แม้แต่ความคิดที่จะคิดต่อไปข้างหน้าก็เกิดเพราะสังขารขันธ์ปรุงแต่ง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เคยกล่าวในเทปว่า เมตตาจะช่วยลดโทสะได้ แต่ความรู้สึกตัวเองก็ยังคิดอยู่ว่าจะมีเมตตาได้ก็ต่อเมื่อเรามีปัญญา ไม่ทราบว่าวิธีคิดอย่างนี้จะทำให้ฟุ้งซ่านไปหรือไม่
ท่านอาจารย์ ปัญญามีหลายระดับ ปัญญาขั้นฟัง และก็เห็นประโยชน์ของเมตตา เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้ว ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่ประโยชน์ของคนอื่นเลย แต่ประโยชน์ของตนเอง พระธรรมที่ทรงแสดงไม่ใช่เป็นประโยชน์แก่พระองค์ พระธรรมที่ทรงแสดงเป็นประโยชน์แก่ทุกคนที่ฟังพิจารณาไตร่ตรอง และเข้าใจ เพราะฉะนั้นเรื่องของเมตตาที่ทรงแสดงก็เพื่อให้เห็นประโยชน์ของเมตตา หรือเรื่องของโทสะก็เพื่อให้เห็นโทษของโทสะ แต่ความเห็นนั้นมีหลายระดับ ถ้าเราเข้าใจว่าเมตตาเกิดเมื่อใด ขณะนั้นจะเป็นการพร้อมที่จะช่วยบุคคลอื่น มีความหวังดี ไม่ว่าจะเห็นก็มีความเป็นเพื่อน หรือไม่ว่าจะคิดถึงก็คิดถึงในทางที่จะเป็นประโยชน์กับบุคคลนั้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ และเห็นว่าเมตตาเกิดเมื่อไหร่ก็เป็นประโยชน์ เพราะจิตขณะนั้นเป็นกุศลจะนำมาซึ่งกุศลวิบาก ถ้าโทสะหรืออกุศลเกิดไม่ได้เป็นโทษกับบุคคลอื่นเลย พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าเป็นโทษกับจิตที่มีโทสะเกิดร่วมด้วย เหมือนขณะนั้นไฟกำลังไหม้จิตเพราะเหตุว่าประทุษร้ายจิตให้ไม่เป็นสุข และถ้ามีไฟกองใหญ่ ไฟนั้นก็ลามไปทำร้ายบุคคลอื่นต่อไป
เพราะฉะนั้นจากการที่ทรงแสดงโทษของธรรมที่เป็นอกุศล และประโยชน์ของธรรมที่เป็นกุศล ผู้ฟังซึ่งสะสมอกุศลมามากนานแสนนานก็เริ่มที่จะไตร่ตรองพิจารณา และก็เห็นความเป็นอนัตตาด้วยว่าถ้ามีความเข้าใจธรรมมากขึ้น ความเข้าใจนั้นเองก็จะทำให้เกิดกุศลมากหลายขั้นทีเดียว ไม่ใช่เพียงแต่เฉพาะขั้นทานหรือขั้นเมตตา หรือความสงบของจิตเท่านั้น ก็เป็นการเห็นประโยชน์ของการฟังเพื่อมีความเห็นถูก และเมื่อมีความเห็นถูก ความเห็นถูกนั้นเองก็เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งที่จะให้กุศลต่างๆ เกิด
ผู้ฟัง การที่ผมกล่าวว่าวางแผนล่วงหน้า คิดแผนล่วงหน้าว่า ถ้าโกรธแล้วให้คิดอย่างนั้น แก้อย่างนี้ เราก็พยายามวางแผนล่วงหน้า คิดล่วงหน้า ในที่สุดก็ได้มาพบปัญหาที่ว่าไปไม่รอด ก็เหลือตรงที่ว่าต้องมีปัญญาเท่านั้นเอง ซึ่งก็วางแผนไม่ได้อยู่ดี คล้ายๆ อย่างนั้นใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะนั่นเป็นเราคิดเราเตรียม แต่ถ้าเป็นความเข้าใจ ก็อบรมความรู้ความเข้าใจขึ้นพร้อมที่จะรับทุกสถาการณ์ ที่เราคิดเราเตรียมด้วยความเป็นเราอาจจะเพียงบางสถานการณ์เท่านั้น แล้วก็จะเป็นไปอย่างนั้นได้หรือไม่ก็ไม่แน่ แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่าขณะนั้นมีเจตนาเจตสิก มีความตั้งใจ มีความจงใจ ถ้าเรามีอธิษฐาน คือความมั่นคงที่จะเป็นคนดีที่พร้อมที่จะอภัย พร้อมที่จะเป็นเพื่อน มีความเป็นมิตร เป็นเมตตา ถ้ามีความตั้งใจที่มั่นคง เราก็ไม่ลืมใช่หรือไม่ ก็ค่อยๆ มั่นคงขึ้น เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นเจตนาเจตสิกที่ตั้งไว้ในฝ่ายกุศล แต่ว่าเวลาอกุศลเกิดก็คือขณะนั้นมีปัจจัยที่เจตนาทางฝ่ายอกุศลก็จะเกิด สำคัญที่สุดคือให้รู้ว่าธรรมเป็นอนัตตา ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครมีอำนาจสั่งเตรียม แต่เป็นไปตามสังขารขันธ์คือการสะสม
ผู้ฟัง จะไม่ดีกว่าหรือที่คิดไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าโกรธจะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ในขณะนี้คิดได้
ผู้ฟัง แต่เมื่อได้พบเข้าจริงๆ จะไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วแต่เหตุการณ์
ผู้ฟัง ก็ยังดีกว่าไม่คิดไว้ล่วงหน้าไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ปัญญาๆ กับเจตนา อย่างใดจะเป็นไปได้ เพราะเจตนาเกิดกับอกุศล และก็ได้เกิดกับกุศลก็ได้ แต่ปัญญาต้องเป็นฝ่ายโสภณ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในประโยชน์ของกุศลธรรม กุศลธรรมจะไม่ทำร้ายใครเลย เรานี่ไม่ถูกใครทำร้ายเลยนอกจากอกุศลซึ่งเป็นอกุศลเจตสิกเกิดเมื่อไหร่ก็ทำร้ายเมื่อนั้น ถ้ายังไม่เห็นโทษของอกุศลธรรม อกุศลธรรมก็มีมาก แต่ถ้าเห็นโทษ ปัญญาเขาก็เกิดขึ้นปรุงแต่งไป แม้แต่กำลังคิดอย่างนี้ก็คือการปรุงแต่งของการได้ยินได้ฟัง
ผู้ฟัง ถ้าจะใช้สภาวะปัจจุบันจะใช้อย่างไรได้ ไม่คิดล่วงหน้า จะเอาตา หู จมูก ลิ้น กาย จะช่วยอย่างไรให้โทสะลดลงได้
ท่านอาจารย์ ขณะนี้จะเป็นกุศลระดับไหนที่ถาม ถ้าเป็นระดับความสงบของจิตก็คือขณะนี้ทุกคนที่นี่มีกุศลจิตที่เราอนุโมทนาได้ ขณะนี้ก็เป็นกุศลแล้ว มีความเป็นมิตร มีอะไรที่เราพอจะช่วยใครได้ก็ช่วยทันที หยิบช้อน หยิบซ่อมหรือว่าด้วยกายด้วยวาจา ขณะนั้นก็เป็นการสะสมธรรมฝ่ายกุศลที่จะทำให้คุ้นเคยกับทางฝ่ายกุศล และก็มีกำลังขึ้น
ถ้าเป็นเรื่องของปัญญาก็คือฟังให้เข้าใจ แม้ขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟัง พิจารณาไตร่ตรอง เห็นประโยชน์ของกุศล กุศลจิตขณะนั้นก็ไม่เกิด
เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมดที่แสดงว่าเป็นอนัตตา เพราะเหตุว่าเมื่อเกิดต้องเกิดตามเหตุ และปัจจัย เพราะฉะนั้นสัตว์โลกเป็นที่ดูบุญ และบาปตามการสะสมที่สะสมมาแล้ว ก็เป็นแต่ละคน และก็ยังเป็นการดูผลของบุญ และบาปด้วย นี่ก็คือปัญญา ที่เรารู้ว่าไม่มีใครที่จะบงการหรือเป็นผู้บังคับบัญชาได้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กรุณาแนะนำว่าควรจะเข้าใจในลักษณะใดที่เหมาะสมกับการอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ เห็นความวิจิตรของความคิดไหม คุณเด่นพงศ์ก็คิด และกล่าวตามความคิด คุณประทีปกล่าวแล้วก็คิดทำตามความคิด ทุกคนขณะนี้ก็คิดต่างๆ กันไป เพราะฉะนั้นที่จริงแล้วก็คือความคิดนั่นเอง ถึงเวลาจริงๆ ความคิดอย่างนี้จะเกิดหรือไม่ แม้แต่ความคิดก็บังคับบัญชาไม่ได้ ก็แค่คิดใช่ไหม หมดแล้ว และอะไรจะเกิดก็คือเกิด แล้วแต่ว่าสังขารขันธ์จะปรุงแต่งให้คิดขณะนั้นเป็นอย่างไร คงจะไม่ซ้ำกับที่คิดอย่างนี้ ขณะนี้มีปัจจัยที่จะให้คิดอย่างนี้ เวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก็มีปัจจัยที่จะให้คิดอย่างนั้น
ผู้ฟัง ไม่อยากให้โทสะเกิด ไม่อยากให้โลภะเกิด ถึงรู้อย่างนี้แล้ว แต่เมื่อเวลาจริงๆ
ท่านอาจารย์ ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะไม่ให้เกิด
ผู้ฟัง เป็นไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นไปไม่ได้แล้วคิดทำไม ในเมื่อเป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง ถ้าเป็นไปไม่ได้อย่างนั้น ความเข้าใจในขั้นการฟังเท่านั้นเองที่จะทำให้เรามีความคิดที่เหมาะสมกับเหตุการณ์เฉพาะหน้า
ท่านอาจารย์ ก็ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นเพราะไม่รู้จริงๆ มีใครจะรู้ว่ามีอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เมื่อไม่รู้จริงๆ ขณะนี้ก็สะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ไม่มีหนทางอื่นเลยหรือที่จะลดโทสะลง ตัวเองก็ไม่ชอบโทสะเหมือนทุกคน
ท่านอาจารย์ แล้วบังคับได้หรือไม่
ผู้ฟัง คงไม่ได้
ท่านอาจารย์ ยิ่งไม่ชอบยิ่งเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตรงนี้ก็เป็นความกรุณาของท่านอาจารย์ แต่ถึงเวลาจริงๆ จะจำได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เฉพาะขณะ เฉพาะขณะเดี่ยวนี้เอง เฉพาะหน้า อะไรจะเกิด ก็คือเมื่อมีปัจจัยก็ต้องเกิดเป็นอย่างนั้น เมื่อมีปัจจัยก็คิดอย่างนั้น เมื่อมีปัจจัยก็พูดอย่างนั้น ไม่พ้นจากการสะสมเลย
อ.วิชัย การศึกษาพระธรรมก็ให้เห็นธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ศึกษาเลยก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมที่มีจริงๆ แต่เรายังมีความสำคัญอยู่ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขาอยู่ แต่เมื่อศึกษาแล้ว แม้แต่โทสะเองก็เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย โทสะที่เคยสั่งสมมาแล้ว ไม่ใช่ว่าจะเก็บไว้อยู่ ยังมีอยู่แล้วค่อยเกิดขึ้น แต่ว่าธรรมเมื่อถึงพร้อมด้วยปัจจัยต่างๆ ก็เกิดขึ้น เช่น โทสะซึ่งเป็นสภาพที่ประทุษร้าย ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่ประสบอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และเมื่อเกิดแล้วก็ยังมีธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วย เช่น อิสสา มัจฉริยะ และก็กุกกุจจะ ซึ่งธรรมเหล่านี้ก็เกิดขึ้นพร้อมกับโทสะ แต่ก็ไม่ใช่เกิดพร้อมกันทั้งหมด แต่เกิดขึ้นทีละประเภท แต่บางคราวก็ไม่เกิด ก็แล้วแต่ปัจจัยนั้นๆ ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
ผู้ฟัง กราบเรียนถามถึงความอดทนต่อกิเลสของตนเอง และของผู้อื่น
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาถามถึงความอดทนต่อกิเลสของตนเอง และก็ยังห่วงถึงของคนอื่นด้วย ขณะใดที่อกุศลธรรมเกิด ขณะนั้นไม่ใช่กุศล เพราะฉะนั้นก็จะเป็นขันติคือความอดทนไม่ได้
จริงๆ แล้วขณะนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องของโทสะ ซึ่งคำถามของคุณสุกัญญาก็เกี่ยวกับโทสะ เพราะว่าความอดทนในคนอื่น หรือว่าในกิเลสของตัวเอง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180