พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
ตอนที่ ๑๗๓
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วขณะนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องของโทสะ ซึ่งคำถามของคุณสุกัญญาก็เกี่ยวกับโทสะ เพราะความอดทนในคนอื่น หรือว่าในกิเลสของตัวเองก็ต้องหมายความว่ามีความไม่พอใจที่จะมีกิเลสในขณะนั้น แล้วจะอดทนต่อกิเลสของตัวเอง และของคนอื่นได้อย่างไร ความจริงคำถามนี้ถ้าจะคิดก็น่าสงสัยได้หลายอย่าง อดทนต่อกิเลสของตัวเองหมายความว่าอย่างไร ไม่อยากให้กิเลสเกิดหรืออย่างไร
ผู้ฟัง คือไม่มีสติปัญญาที่เพียงแต่จะระลึกได้ถึงอกุศลนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าจะให้เข้าใจความหมายของคำว่า “อดทน” จริงๆ ซึ่งเป็นสภาพธรรม ทุกคนที่อยู่ที่นี่ทราบหรือไม่ว่ากำลังอดทน อากาศก็ร้อนแต่ทุกคนก็ยังอยู่ด้วยความอดทน แต่ก็ไม่ได้คำนึงถึงว่าขณะนี้กำลังมีความอดทน แต่ขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นจะไม่มีธรรมฝ่ายอกุศลเกิดร่วมด้วยเลย สภาพธรรมละเอียดมาก แม้แต่ความอดทนที่เราคิดถึงเรื่องกิเลส แม้แต่ความอดทนต่อความไม่ดีของคนอื่นหรืออะไรก็ตาม แต่ความอดทนละเอียดกว่านั้นอีก คือแม้ขณะนี้ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นแม้อากาศร้อน ขณะนั้นก็ยังเป็นความอดทนประการหนึ่งที่จะไม่บ่น หรือไม่เดือดร้อน หรืออาจจะไม่รำคาญใจ แต่ว่ายากเพราะจริงๆ แล้วขณะที่กำลังนั่งอยู่ที่นี่ แต่ละคนจะมีความอดทนอะไรบ้างเกือบจะไม่รู้เลย บางคนก็ต้องอดทนเพราะกำลังอยากฟังเรื่องของโทสะมากๆ หรือบางคนก็อาจจะคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่างๆ เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็อาจจะขุ่นเคืองใจก็ได้ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นว่าความอดทนเป็นขณะที่กุศลจิตเกิด แล้วขณะนั้นก็แล้วแต่ว่าจะอดทนต่ออะไร ต่อสภาพของสิ่งแวดล้อมต่อคำพูดของคนอื่น ต่อกิเลสของตัวเองที่ใคร่จะได้ฟังเรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของสติปัฏฐานที่จะทำให้ปัญญาเกิดหรืออะไรก็ตามแต่ เรื่องของโทสะฟังมาตั้งหลายอาทิตย์แล้วไม่จบสักที แต่ฟังไปโทสะก็เกิดแล้วก็เกิดอีกอยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันที่จะหมดไปได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมต้องอดทนต่อการฟังด้วยดี ด้วยการเห็นประโยชน์ว่าแม้แต่ขณะที่จะฟังธรรมก็ยังต้องอดทนเลย เพราะฉะนั้นที่คุณสุกัญญาถามกิเลสของเราเองที่ไม่พอใจอะไรในขณะนี้มีบ้างไหม และการที่ฟังธรรมก็เป็นการอดทนที่จะเข้าใจให้ถูกต้องในสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะแม้ว่าเราจะรู้เรื่องของโทสะมาก บ่อยๆ หลายอาทิตย์ หรือว่าในพระไตรปิฎกทุกเล่มก็จะมีเรื่องของโทสะด้วย เรื่องของอกุศลก็จะต้องปรากฏที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง แต่โทสะก็ยังมี
เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะเข้าใจถูกต้องได้ว่าการที่เราจะต้องฟังแล้วฟังอีกก็เป็นขันติบารมี เป็นความอดทนที่จะได้เข้าใจธรรม และแม้จะบอกว่าโทสะเป็นสภาพธรรม แต่เวลาที่โทสะเกิดก็ไม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างที่เราได้ศึกษามา นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการฟังก็ต้องมีการพิจารณา และก็ต้องมีการเข้าใจธรรมในขณะที่ฟัง กำลังเข้าใจเรื่องลักษณะของโทสะ แต่เวลาที่โทสะเกิด มาแล้ว อยากไม่มีโทสะ หรือว่าจากการฟังที่เราฟังด้วยความอดทนมานาน เริ่มที่จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง นี่เป็นประโยชน์ของการฟังพระธรรม แต่ก่อนเวลามีโทสะ ก็ไม่อยากมีโทสะเลย และก็อาจจะใจร้อน และก็ถามว่าเมื่อไหร่จะไม่มีโทสะซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย ให้ทราบว่าสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ก็ต้องเป็นไปไม่ได้ แต่จะเป็นไปไม่ได้ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นขณะนี้ไม่มีเรา และอาจจะมีลักษณะของสภาพธรรมหลายอย่าง โทสะ หรือเห็น หรือได้ยิน หรือคิดนึก หรือเมตตา หรือกรุณา อะไรก็แล้วแต่มีปัจจัยทำให้สภาพธรรมใดเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็ต้องเป็นอย่างนั้น แต่ประโยชน์ของการฟังคืออดทนต่อไปอีกเพราะรู้ว่าด้วยอาศัยความอดทนที่เป็นขันติบารมีนี่เองที่จะทำให้วันหนึ่งเราก็สามารถที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมโดยไม่เลือก เพราะว่าถ้าเลือกเมื่อไหร่ก็มีความเป็นเรา เมื่อครู่นี้มีความเป็นเราหรือเปล่า เห็นหรือไม่ แต่เราไม่รู้สึกเลย เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วอกุศลมีมากแล้วก็ละเอียด แต่กว่าจะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจก็ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดที่จะฟังเพื่อที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ และมีความเข้าใจว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่อยู่อำนาจบังคับบัญชาของใคร มีปัจจัยก็เกิด แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลที่เกิดส่วนใหญ่ปกติจะไม่พอใจถ้าเป็นโทสะ ถ้าเป็นโลภะก็ไม่ค่อยจะรู้สึก แต่ถ้าเป็นโทสะจะไม่พอใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ สภาพธรรมใดๆ ก็ตาม ประโยชน์คือสามารถเริ่มเห็นถูก เข้าใจถูก ในลักษณะนั้นว่าเป็นสิ่งที่มีจริง และก็เป็นสภาพธรรมที่ใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ เกิดแล้วจึงปรากฏ ค่อยๆ เข้าใจไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย นี่คือขันติ ขณะนี้ก็กำลังเป็นบารมีที่จะทำให้สามารถจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมได้ในวันหนึ่ง
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์วิชัย ว่าทุกคนมีปัจจัยภายในของโทสะคืออะไร แล้วปัจจัยภายนอกคืออะไร โทสะจึงเกิด ซึ่งสอดคล้องกับที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อครู่นี้ ว่าโดยไม่เลือก คือเกิดก็ต้องเกิด และเกิดจากปัจจัยภายนอกด้วย
อ.วิชัย แต่ละท่านก็มีอุปนิสัยแตกต่างกัน บางท่านก็เป็นผู้ที่มักโกรธ คือเห็นหรือประสบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเพียงเล็กน้อยก็โกรธ เพียงคำพูดเล็กน้อยก็โกรธ ให้เห็นถึงว่าอัธยาศัยที่สะสมมาเป็นผู้ที่มักโกรธ หรือบางท่านสะสมมาเป็นผู้ที่สามารถอดทนต่อบุคคลอื่นหรือต่อสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่ได้ ก็เห็นถึงอุปนิสัยภายในที่สั่งสมมาที่จะเป็นผู้ที่มีความอดทน ไม่เป็นผู้ที่มักโกรธ ก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่สั่งสมมาที่เรียกว่าเป็นอุปนิสัยซึ่งเป็นปัจจัยภายใน ส่วนปัจจัยภายนอกก็หมายถึงว่าคลุกคลีกับผู้ที่มักโกรธก็มีการสั่งสมสมาคมกับผู้ที่มักโกรธ ก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะมีการคลุกคลีกันก็เป็นปัจจัยให้เกิดความโกรธได้ หรือประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ก็เป็นปัจจัยภายนอกที่ให้เกิดความโกรธได้
ผู้ฟัง อาจารย์วิชัยให้ประเด็นที่น่าจะสนทนาคือ ๑. คลุกคลีกับผู้ที่มักโกรธ จะทำให้เรามักโกรธอย่างไร ๒. อารมณ์ซึ่งไม่น่าพอใจเกิดจากอะไร ลึกซึ้งมากทั้ง ๒ ประการ
อ.วิชัย ก็เห็นถึงการสั่งสมการสมาคมกับบุคคลต่างๆ เช่น ถ้าเรามีสหายผู้ซึ่งมักโกรธ เมื่อคบสมาคมก็อาจจะมีคำแนะนำชักชวนให้กระทำอย่างนี้ ต้องกล่าวโต้คืน หรือว่าต้องโกรธ หรือว่าต้องกระทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นการตอบโต้ต่างๆ ก็แสดงให้เห็นถึงมีการชักจูงต่างๆ ซึ่งปกติแล้วเราสามารถอดทนได้ แต่เมื่อคบกับมิตรที่ไม่ดีก็อาจจะมีการชักชวนต่างๆ ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ก็สามารถจะเป็นปัจจัยให้ความโกรธที่สั่งสมมาเกิดขึ้นได้โดยคำชักชวน การสมาคม เห็นบ่อยๆ ก็เป็นปัจจัยให้ความโกรธเจริญขึ้นได้ หรือถ้าประสบอารมณ์สิ่งไม่น่าปรารถนาก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่ง เช่นถ้าได้ยินคำกล่าวหาว่าเรา ก็ไม่น่ายินดีใช่หรือไม่ หรืออาจจะมีทรัพย์สินเสียหายขึ้นมา ก็ไม่น่ายินดี นี่ก็คือประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดความโกรธขึ้นได้
ท่านอาจารย์ เวลาที่โทสะเกิดเพราะความคลุกคลีก็คงจะเห็นในชีวิตประจำวันสมัยนี้คือ เด็กนักเรียนตีกันใช่ไหม ก็เพราะเหตุว่าคลุกคลี และก็มีการคิดว่าสมควรที่จะทำอย่างนั้นก็ชักชวนกันทำ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถ้าลำพังคนเดียวก็อาจจะไม่คิดอย่างนั้น แต่เวลาที่มีเพื่อนฝูง และมีความคิดเห็นอย่างนั้นก็ชักชวนกันไปในทางที่จะทำให้พยาบาท อาฆาต และ ประทุษร้ายกัน แต่จริงๆ แล้วถ้าจะคิดถึงสภาพของปรมัตถธรรม ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น มีอนุสัยกิเลสที่สะสมมานานแสนนาน รวมทั้งปฏิฆานุสัยซึ่งหมายความถึงการสะสมของความขุ่นเคืองใจหรือโทสเจตสิกนั่นเอง เพราะฉะนั้นปกติธรรมดาถ้าเราเห็นสิ่งที่น่าพอใจ โทสะจะเกิดหรือไม่ ไม่เกิด ใช่หรือไม่ หรือใครเห็นสิ่งที่น่าพอใจสะสมมาจนกระทั่งแม้เป็นสิ่งที่น่าพอใจก็ยังไม่พอใจได้นั่นก็เป็นอัธยาศัยพิเศษ แต่ว่าตามปกติธรรมดา ถ้าเราเห็นสิ่งที่พอใจเราจะติดข้อง และถ้าเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจเราก็จะไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ยังไม่ทันจะรู้เลยว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร นี่คือความแรง ความมีกำลังของสิ่งที่ได้สะสมมาซึ่งเป็นอนุสัยกิเลส หมายความว่าเป็นสิ่งที่สะสมอยู่ในจิตยังไม่ได้เกิดขึ้นทำกิจการงานเลย แต่มีกำลังที่จะทำให้อกุศลเจตสิกเกิดขึ้นได้ ถ้าตราบใดที่อนุสัยนั้นยังไม่ได้ดับ
เพราะฉะนั้น เมื่อมีอารมณ์ใดกระทบไม่ว่าจะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ตามแต่ เช่น เป็นสี เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ขณะนั้นเมื่อการรู้อารมณ์นั้นๆ ดับไปแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้จิตที่รู้อารมณ์ที่ดีก็พอใจ ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีก็ไม่พอใจโดยที่ยับยั้งไม่ได้เลย นี่คือความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ให้ทราบว่าเริ่มเกิดตั้งแต่อารมณ์กระทบ โดยที่อารมณ์นั้น ยังไม่ทันรู้ว่าอารมณ์นั้นเป็นอะไร เพียงแต่เป็นสิ่งที่กระทบแล้วเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ โทสมูลจิตก็เกิดขึ้น และเมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ลองคิดดูถึงการที่จิตเกิดดับสลับการอย่างเร็วมาก ทั้งๆ ที่เห็นเหมือนไม่ดับเลย แต่ทางใจก็เริ่มเห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือคิดถึงรูปร่างสัณฐาน ความโกรธก็มาอีกจากทางตาที่เพียงเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ หรือได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ แต่พอถึงกาลที่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ความไม่พอใจก็ติดตามมาเป็นเรื่องเป็นราว เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ มากมาย เพราะเหตุว่าเราไม่ได้เพียงรู้สิ่งที่ปรากฏ ยังจำเรื่องราวของสิ่งนั้นไว้ด้วย เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อในวันหนึ่งก็เต็มไปด้วยสภาพธรรมที่มีจริงเกิดดับ และเรื่องราวสมมติบัญญัติที่ทรงจำในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วแต่ว่าจะสะสมโลภะหรือโทสะมาอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น และก็ยังมีกิเลสอีกมากมาย ที่พูดอย่างนี้ก็เพื่อจะให้เห็นว่าวันหนึ่งๆ เราอยู่ในห้วงของอกุศลหรือจมอยู่ในอกุศลธรรมมากเพียงไหน นี่เฉพาะโทสะ โลภะไม่ต้องนับ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีใครสามารถจะทำร้ายเราได้ เช่น ผู้ที่มากระทบให้โมโห
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องที่เราคิด
ผู้ฟัง แต่จริงๆ ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ จริงๆ คืออยู่คนเดียวในโลกส่วนตัว ซึ่งมีสภาพธรรมปรากฏ และดับ และสัญญาก็จำ และก็ปรุงแต่งคิดตลอดจนตาย ยังจำสิ่งที่ได้คิดจนตายว่าคิดถึงใคร เมื่อไร อย่างไร ทำอะไรไว้บ้าง โดยที่ว่าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งแท้จริงเกิดแล้วดับแล้วหมดไม่มีอะไรเหลือเลย
ผู้ฟัง สรุปที่อวิชชาๆ คือว่าไม่รู้ ทำให้เกิดโมหะ ทำให้เกิดโทสะ ทำให้เกิดโลภะ สรุปแล้วถ้าจะแก้อะไรทุกอย่างก็แก้ที่ปัญญาตัวเดียว ไม่ว่าเกิดจากภายใน หรือเกิดจากภายนอก ไม่มีตัวไหนจะทำอะไรได้นอกจากปัญญาหรือญาณหรือความรู้เท่านั้นเองใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ที่คุณเด่นพงศ์พูดก็คือความเข้าใจในปฏิจสมุปบาท เริ่มด้วยอวิชชา เรายังไม่ต้องก้าวไกลไปถึงแต่ละองค์ของปฏิจสมุปบาท เพียงที่เราเห็นทั้งหมดเพราะยังมีอวิชชาอยู่ นี่ก็คือว่าเราเริ่มที่จะเข้าใจ เมื่อมีความไม่รู้ก็ทำให้ยึดถือสิ่งที่ปรากฏ และก็ขณะนั้นเป็นกุศล เป็นอกุศลต่างๆ ก็เป็นสังขาร เพราะถ้าไม่มีอวิชชา สังขารก็เกิดไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วความกว้างขวาง ความลึกซึ้งของธรรมมากมายมหาศาลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การปรุงแต่งอย่างละเอียดจนถึงขณะนี้ที่กำลังคิดก็มาจากที่เคยสะสมไว้ทั้งหมดเลย ก็แล้วแต่จะปรุงแต่งให้ขณะจิตนั้นเป็นสภาพธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลซึ่งถ้าไม่มีวิชชา อวิชชาก็หมดไปไม่ได้เลย
ผู้ฟัง โยนิโสเป็นเหตุใกล้ของสติปัญญา เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เราไม่ได้ไประลึกตรงนี้ เช่น อากาศร้อน เราก็เกิดเบื่อๆ ก็เป็นอาการของโทสะ เย็นหนาวไปก็เบื่อ ไม่ไหว อย่างนี้เป็นต้น ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ เพราะว่าสะสมอกุศลมานานมากด้วยความไม่รู้ จนกว่าจะค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริง กว่าจะดับกิเลสได้ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคล
ผู้ฟัง ค่อยๆ ไปเรื่อยๆ ปล่อยไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ไม่มีคำว่าปล่อย เพราะว่าถ้าปล่อยคือเรา แต่ความจริงสภาพธรรมทุกขณะเกิดเพราะเหตุปัจจัย และสิ่งใดก็ตามที่กำลังปรากฏต้องหมายความว่าสิ่งนั้นเกิดแล้วจึงปรากฏ เพราะฉะนั้นแล้วใครไปทำก่อนที่จะให้สิ่งนี้เกิด ไม่ว่าจะเป็นโยนิโส อโยนิโส ก็คือแล้วแต่การสะสมว่ากุศลจิตเกิดเมื่อไหร่ก็รู้ได้ว่าสะสมขณะนั้นที่จะเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด ไม่ใช่เราทั้งหมด เพราะสิ่งนี้เกิดแล้วก่อนที่ใครจะไปทำได้ กำลังปรากฏอยู่ ก็เกิดแล้วๆ ก็ดับแล้วด้วย
ผู้ฟัง ดังนั้นเราจึงไปโยนิโส
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดเรื่องเราจะโยนิโสเลย ให้เข้าใจ
ผู้ฟัง คิดในสิ่งที่เกิดผ่านไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ด้วย แต่สัญญาจำแต่สิ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยดี เป็นฉันทะ ตั้งหลายนัยรวมๆ กันอยู่
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นชื่อมากมาย แต่ขณะนี้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏมีจริง และเราเริ่มเข้าใจความเป็นธรรม ไม่ใช่เราเริ่มเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏมากแค่ไหน นี่ก็คือทุกคนเป็นผู้ตรงที่จะรู้ ฟังเพื่อให้เข้าใจถูกต้องในความเป็นจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามถึงการฟังธรรมจะมีเหตุอย่างไรที่ทำให้บางครั้งโทสะกล้ากว่าเดิมก็มี ประมาณเท่าเดิมก็มี น้อยหรือไม่ล่วงก็มี มีหลายแบบ
ท่านอาจารย์ การฟังธรรมก็ทำให้คุณสุภัสสรได้รู้ลักษณะของโทสะของตนเองว่าไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกครั้ง บางครั้งก็โทสะเล็กน้อย บางครั้งก็โทสะมาก แล้วจากมากก็มาเป็นเล็กน้อยอีกได้ แล้วก็เล็กน้อยก็ไปเป็นมากอีกก็ได้ เพราะเหตุว่ายังมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดโทสะซึ่งเราไม่สามารถจะรู้ได้ วันนี้เราเป็นคนสงบเสงี่ยม วันรุ่งขึ้นเราจะเป็นอย่างไร หรือตอนเย็นอาจจะมีเหตุการณ์ซึ่งไม่สามารถจะระงับได้ก็ได้ เพราะฉะนั้นที่ถามเรื่องละเอียด และก็หยาบ ก็แสดงให้เห็นว่าคนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยนอกจากตัวเอง พระธรรมที่ทรงแสดง เราอาจจะบอกว่าเราอ่าน และก็เห็นว่าลักษณะของโทสะหลายอย่าง ตั้งแต่เริ่มขุ่นนิดๆ จนกระทั่งมีอาการออกทางสีหน้า อาจจะหน้าแดงจนกระทั่งมีการลุกขึ้นหยิบไม้ขว้างปา ตัวสั่นหรืออะไรก็แล้วแต่ นั่นก็เป็นสิ่งที่ได้ประมวลไว้ว่า จริงๆ แล้วสภาพของโทสะก็ทำให้เกิดลักษณะอาการต่างๆ ได้ แต่ใครรู้ ไม่ใช่ว่าเวลาเมื่อเราไปอ่านอย่างนั้นแล้วเราก็เข้าใจหมด แต่ว่าเวลาที่สภาพธรรมเกิด เราต้องมานั่งเทียบว่าเหมือนหน้านี้ บรรทัดนี้ที่กล่าวไว้ว่ากำลังขุ่นนิดๆ หรือเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เลย ซึ่งการศึกษาธรรมเพื่อให้มีความเข้าใจขึ้นว่าเป็นธรรมเพื่อที่จะละคลายความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นความขุ่นใจเล็กน้อยอาจจะไม่สังเกต มีมากในวันหนึ่งๆ เริ่มตื่นขึ้นมานิดๆ หน่อยๆ เกือบไม่รู้สึกเลย และก็จะมีวาจาซึ่งออกมาจากความรู้สึกนั้นด้วย แต่วาจาที่ออกมาถ้าเป็นผู้ที่สังเกตรู้ความต่างแล้ว ถ้าเป็นผู้ที่สังเกตรู้ความต่างแล้ว วาจาที่ประกอบด้วยโทสะ น้ำเสียง และคำพูดกับวาจาที่ประกอบด้วยเมตตาต่างกันแน่นอน เพราะฉะนั้นผู้นั้นก็จะรู้สึกตัวเองว่าจากโทสะที่มีแล้วยังไม่ได้เอ่ยคำพูดอะไรเลย กับการพูดซึ่งต้องพูดในลักษณะตำหนิหรือว่าพูดในลักษณะที่สอนแล้วก็เข้าใจ และอภัยให้ด้วย แทนที่จะติเตียนแล้วบอกว่าคราวหน้าจะไม่ทำอย่างนี้ นั่นก็คือไม่ได้ติเตียนแต่ก็คือให้เขารู้ว่าขณะที่เขาทำเป็นอย่างนั้น หรือว่าบางคนเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็ยังคิดต่อไปอีก คนนี้เป็นอย่างนี้ตลอดเลย บอกตั้งหลายครั้งก็ยังไม่เชื่อ ก็เป็นเรื่องที่ยาวไปอีกด้วยกำลังของโทสะซึ่งก็ไม่รู้ตัว
เพราะฉะนั้น จะมีระดับที่ขุ่นเคืองใจเล็กน้อยซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น เริ่มรู้ เริ่มเห็นว่าแม้แต่เพียงนั่งเฉยๆ ขณะนี้ก็รำคาญก็ได้ เป็นความรู้สึกที่ไม่สบายใจ หม่นหมอง หรือว่าเป็นทุกข์หรือรำคาญจะด้วยประการใดๆ ก็แล้วแต่ เบื่อๆ ก็มี รำคาญก็มี นี่ก็เป็นลักษณะของโทสะทั้งหมด แต่เป็นอย่างที่ยังไม่ถึงการที่จะประทุษร้าย และก็ไม่ได้แสดงออกมาด้วยกายด้วยวาจา
เพราะฉะนั้น ผู้ที่เริ่มเข้าใจธรรมก็จะเห็นสภาพที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน เริ่มเข้าใจแต่ยังคงเป็นชื่อ หรือว่ายังคงเป็นเรา แต่เริ่มที่จะไม่สนใจในอย่างอื่น แต่ว่ากำลังมีลักษณะแต่ละลักษณะ แต่เป็นลักษณะอย่างนั้นจริงๆ แต่ยังมีความเป็นตัวตนอยู่จนกว่าจะอาศัยการฟังด้วยความละเอียด จึงรู้ว่าแม้ขณะที่กำลังฟังก็มีลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดปรากฏ แต่ปกติแล้วก็คือว่าเกิดแล้วดับไปอย่างเร็วมาก ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าไม่มีเราที่จะปล่อย หรือว่าไม่มีเราที่จะไม่ปล่อย นั่นคือผิดแน่นอน เพราะเหตุว่าไม่ปล่อยก็คือเรากำลังจงใจพยายามด้วยความเห็นว่าเป็นเราที่จะจงใจ ถ้าจะปล่อยก็คือว่าก็เป็นเราอีกนั่นแหละที่ปล่อยไปซึ่งความจริงไม่ได้ปล่อยอะไรเลย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมนั้นเกิดแล้วดับแล้วแต่ไปคิดว่าปล่อยใช่หรือไม่ นี่ก็เป็นความเห็นผิด การที่จะเข้าใจธรรมจริงๆ ก็คือว่ารู้ว่าสภาพธรรมนั้นๆ มีลักษณะแต่ละอย่างซึ่งเกิดแล้วจึงได้ปรากฏตามเหตุปัจจัย ถ้ามีความมั่นคงอย่างนี้ก็จะรู้ลักษณะที่เกิดแล้ว ไม่คิดถึงลักษณะที่ยังไม่เกิด
เพราะฉะนั้น วันนี้จะมีโทสะระดับไหน แต่ละคนรู้ตัวเอง และเวลาที่โทสะเกิด กำลังจะพูด ก็รู้เองอีกว่ากุศลเปลี่ยนคำพูดนั้นหรือไม่ หรือว่าเหมือนเดิม หรืออาจจะมีคำพูดนั้นก็ได้ ก็เป็นธรรมที่ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ แต่ปัญญาเริ่มเข้าใจถูก แม้ในคำว่า “ธรรม” แม้ว่ายังไม่ประจักษ์ในลักษณะที่เป็นธรรมแต่ก็คุ้นเคยที่จะเข้าใจว่าไม่มีเราทั้งหมดเป็นธรรม
ผู้ฟัง เรื่องโทสะก็พอจะรู้ตัวว่าสะสมมามาก แล้วก็เกิดเร็ว พอเริ่มมีลักษณะที่รู้ตัวก็มีการวิรัติ แต่ถ้าอยู่ตรงนั้นอีกสักนิดเดียว ก็จะปรากฏฉับพลันเกิดขึ้นมาอีก ตรงนั้นคืออะไร
ท่านอาจารย์ อนัตตา นี่คือเรายังไม่ได้คุ้นเคย ยังไม่ได้มีความมั่นคงว่าทุกขณะจิต สภาพธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจิต เจตสิก รูป เป็นอนัตตา ใครจะทำอะไรทั้งหมดตามการสะสม จะเบือนหน้าหนี หรือจะโต้ตอบ หรือจะทำอะไรก็แล้วแต่ทั้งหมด แต่ละขณะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา นี่คือธรรม ให้เข้าใจในความเป็นธรรมทุกอย่าง ถ้าสงสัยตรงนี้ไม่เป็นธรรมแล้วใช่ไหม นี่คือยังไม่มั่นคง แต่ก่อนไม่หลีกเป็นธรรมหรือไม่ และกำลังหลีกเดี๋ยวนี้เป็นธรรมหรือไม่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180