พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
ตอนที่ ๑๒๘
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ แต่ตามความเป็นจริง เวลาที่บอกว่าเป็นผู้ที่มั่นคงในกรรม และผลของกรรมต้องไม่ใช่เพียงเรื่องราว ต้องสามารถที่จะรู้ถึงเหตุที่จะให้เกิดวิบากคือกรรม กุศลจิต และอกุศลจิตด้วย
อ.วิชัย จะขอกล่าวเรื่องของมิจฉาทิฏฐิ ก็ขอทบทวนว่าความเห็นผิดที่เกิดขึ้นเป็นเหตุหรือ นเหตุ ความเห็นผิดที่เกิดเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง คือเห็นผิดจากความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่เป็นทิฏฐินี้เป็นเหตุหรือนเหตุ
ผู้ฟัง เป็นนเหตุ
อ.วิชัย เป็นนเหตุ ไม่ใช่เหตุ เป็นสเหตุกะหรืออเหตุกะ
ผู้ฟัง สเหตุกะ
อ.วิชัย เป็นสเหตุกะ เมื่อทิฏฐิเจตสิกเกิดขึ้นไม่มีเหตุได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
อ.วิชัย ไม่ได้ เหตุในที่นี้หมายถึงเหตุเจตสิก ๖ ประเภทคือสภาพธรรมที่เป็นเหตุ ไม่ได้กล่าวมุ่งหมายถึงความเป็นเหตุปัจจัย แต่มุ่งหมายถึงสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นมูลราก เมื่อทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด) เกิดขึ้นไม่มีเหตุได้ไหม เกิดขึ้นร่วมกันได้ไหม ไม่ได้ ทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมกับเหตุกี่เหตุ ๒ เหตุ คือโลภเหตุ และโมหเหตุ เมื่อเหตุเกิดขึ้นไม่มีทิฏฐิเกิดขึ้นได้ไหม จริงๆ ก็เป็นธรรมที่เกิดคือสภาพธรรมที่มีเหตุ มีใช่ไหม เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีทิฏฐิได้ไหม ได้ เช่น อะไรบ้าง ขณะใดบ้าง เมื่อโลภเหตุเกิดขึ้น โมหเหตุเกิดขึ้น มีทิฏฐิเกิดขึ้นร่วมด้วยทุกครั้งหรือไม่ ไม่ทุกครั้ง เพราะเหตุว่าแม้โลภมูลจิตเกิดขึ้นมีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ บางขณะก็คือไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนั้นทิฏฐิเจตสิกก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง แต่ทิฏฐิเจตสิกเป็นธรรมที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ทิฏฐิเจตสิกมีโทสเหตุเกิดร่วมด้วยหรือไม่ ไม่มี เพราะเหตุว่าทิฏฐิไม่เกิดร่วมกับโทสเหตุ เพราะเหตุว่าเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ ก็คือโลภเหตุ และโมหเหตุ ทิฏฐิเจตสิกทำกิจอะไร ทำชวนกิจ ทิฏฐิเกิดร่วมด้วยกับโทมนัสเวทนาได้ไหม ในขณะที่มีความเห็นผิดมีโทมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วยหรือไม่
ผู้ฟัง ต้องเกิดร่วมกับโลภะ ทิฏฐิจะมีความพอใจเกิดร่วมด้วย ส่วนไม่พอใจเป็นโทสะก็คงไม่ใช่
อ.วิชัย เพราะว่าโทมนัสเวทนาเกิดพร้อมกับโทสมูลจิต ฉะนั้นทิฏฐิเจตสิกเกิดกับเวทนาที่เป็นโสมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา
อ.อรรณพ สภาพเจตสิกธรรม บางอย่างก็เกิดร่วมกัน บางอย่างก็ไม่สามารถเกิดร่วมกันได้ แม้กระทั่งว่าเป็นโลภะเหมือนกัน
อ.วิชัย ถ้าเราพิจารณาถึงความจริงว่าขณะนั้นกำลังมีความสำคัญตนอยู่จะมีทิฏฐิได้ไหม หรือขณะที่มีความเห็นผิดจะมีความสำคัญตนได้ไหม เรียนถามท่านอาจารย์ว่าทำไมไม่เกิดพร้อมกัน
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่ละเอียดมากเพราะว่าเหมือนกับขณะที่เห็นเดี่ยวนี้ กับขณะที่ได้ยินเดี๋ยวนี้ ก็คงจะมีคำถามสำหรับคนที่ไม่เคยฟังว่าน่าจะเกิดพร้อมกัน แต่ว่าทำไมไม่เกิดพร้อมกัน เพราะว่าเป็นจิตต่างขณะ และอีกประการหนึ่งก็คือว่าสำหรับทิฏฐิ พระโสดาบันบุคคลดับ เพราะฉะนั้นถ้าทิฏฐิกับมานะเกิดร่วมกัน แล้วมานะยังไม่ได้ดับใช่ไหม แต่ว่าทิฏฐิดับด้วยโสตาปัตติมรรค แต่มานะก็ยังเกิดต่อไปจนกว่าอรหัตตมรรคเกิดเมื่อไร เมื่อนั้นมานะจึงจะดับได้ นี่ก็เป็นส่วนที่ได้แสดงไว้โดยความละเอียดว่าจิตขณะหนึ่งจะประกอบด้วยเจตสิกต่างกันอย่างไร สำหรับโลภมูลจิตก็จะมีเจตสิกอื่นๆ เกิด ผัสสเวทนาแล้วก็มีโลภะ มีโมหะ นั่นก็เป็นพื้นธรรมดาในวันหนึ่งๆ ซึ่งขณะนั้นก็ไม่มีทิฏฐิหรือมานะเกิดด้วย แต่เวลาที่มีความสำคัญตนเกิดขึ้นในขณะนั้นเราจะรู้ได้ในลักษณะของความสำคัญตน ซึ่งจริงๆ แล้วลักษณะของทิฏฐิความเห็นผิดแยกเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากความสำคัญตน เพราะว่าในขณะที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็ไม่มีทิฏฐิใดๆ เลย ก็ได้ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อไม่มีความรู้ในลักษณะของสภาพธรรมแล้วต้องมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย แสดงให้เห็นว่าทิฏฐิเจตสิกที่เรากล่าวถึงเรากล่าวตามที่เราได้ยินได้ฟัง หรือถ้าจะกล่าวถึงผัสสเจตสิกหรือเวทนาเจตสิกก็กล่าวตามที่ได้ยินได้ฟัง แต่ลักษณะจริงๆ ของสภาพนั้นซึ่งไม่ใช่เรา เป็นธรรม หรือจะพูดอีกคำหนึ่งง่ายๆ ก็คือเป็นสิ่งที่มีจริง อย่างความรู้สึกโทมนัสเกิดขึ้น ขณะนั้นจริงแน่ ใช่ไหม แต่เป็นเราที่กำลังไม่สบายใจ มีความทุกข์ มีความเดือดร้อนต่างๆ ทั้งๆ ที่เวทนาความรู้สึกก็เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็กำลังเกิดด้วย แต่ความไม่รู้ก็ทำให้ยึดถือสภาพธรรมนั้นด้วยแล้วแต่ว่าจะเป็นวิปลาสประเภทใด เพราะว่าวิปลาสมีถึง ๑๒ นี้ก็เป็นความละเอียดซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้เราจะกล่าวถึงธรรมแต่ตัวจริงๆ ของธรรมเราไม่รู้ อย่างแม้โทมนัสเวทนาเกิด แต่ขณะนั้นไม่รู้ว่าเป็นแต่เพียงลักษณะของจริงอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับแข็งขณะนี้ ทุกคนกำลังกระทบแข็งจริง จะได้รู้ว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง และสิ่งที่จริงเป็นธรรม เห็นขณะนี้จริง เพราะฉะนั้นเราจะต้องค่อยๆ เข้าใจลักษณะจริงๆ แล้วก็รู้ว่าลักษณะที่จริงเป็นธรรม นี่คือความสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังด้วยลักษณะที่มีจริงๆ ไม่ใช่เพียงขั้นเรื่องราวเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ตามเรื่องราวที่เราได้ทราบก็คือว่าเวลาที่มีโลภเจตสิกเกิด ก็จะเป็นความยินดีพอใจประการหนึ่งประการใดโดยไม่มีทิฏฐิความเห็นใดๆ เกิดร่วมด้วยได้ หรือบางกาลก็มีความสำคัญตนเกิดร่วมด้วยได้ แต่ทั้งโลภะซึ่งขณะนี้อาจจะกำลังมีก็ได้เวลาได้ยินเสียง หรือไม่ว่าจะเป็นทิฏฐิความเห็นผิด หรือไม่ว่าจะเป็นมานะ หรือไม่ว่าจะเป็นเจตสิกหรือธรรมใดๆ ก็ตาม จะรู้จริงๆ เมื่อสติปัฏฐานคือสติสัมปชัญญะกำลังรู้ตรงลักษณะนั้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราก็จะกล่าวตามว่าปกติธรรมดาก็มีโลภะซึ่งไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย และไม่มีมานะเกิดร่วมด้วย แต่เมื่อไรที่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย แล้วมีสติสัมปชัญญะที่จะรู้ตรงลักษณะที่เป็นธรรม ขณะนั้นก็จะรู้ได้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่ลักษณะขณะที่มีความสำคัญตนซึ่งเป็นคนละขณะ
อ.อรรณพ ทิฏฐิที่เป็นอาสวะก็คงจะละเอียด
ท่านอาจารย์ ตัวอย่างใกล้ตัวที่สุดก็คงจะดีใช่ไหม มิฉะนั้นเราก็ไปคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้วๆ สงสัยว่าเป็นอย่างไร ขณะนี้ก็เห็นมีหลายท่านที่กำลังจดหรือเขียน ก็ขอถามว่าขณะที่กำลังเขียนมีทิฏฐิเจตสิกมีความเห็นผิดใดๆ เกิดร่วมด้วยหรือไม่ ไม่มี นี่คือความถูกต้อง บางท่านก็ลูบผม ขณะที่กำลังลูบผมมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยไหม ก็ไม่มี นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่จะให้รู้ว่าขณะใดมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย และขณะใดไม่มี เพราะฉะนั้นปกติธรรมดาของการเคลื่อนไหวหรือการทำกิจการงานต่างๆ หรือความคิด เช่น ขณะที่กำลังอ่านหนังสือ ขณะนั้นมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยไหม ก็ไม่มี นี่ก็เป็นที่เข้าใจในเรื่องของโลภมูลจิตซึ่งไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย และไม่มีมานะเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่าในบางกาลเราอาจจะไม่รู้สึกเลยว่าเรานี่มีความสำคัญตน เพราะว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมเราก็จะรู้เพียงลักษณะของจิตที่หยาบกระด้าง ขณะนั้นไม่เป็นสุขแน่นอน แต่แม้กระนั้นก็ทรงแสดงไว้ว่ามานะไม่ได้เกิดกับโทสมูลจิตหรือโทมนัสเวทนา ความละเอียดที่ต้องแยกว่าขณะใดที่มีความสำคัญตน ขณะนั้นความรู้สึกจะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดคืออุเบกขา อทุกขมสุข หรือโสมนัสในความเป็นเรา เพราะว่าเป็นเราด้วยทิฏฐิก็ได้ ด้วยมานะก็ได้ ด้วยตัณหาคือโลภะก็ได้
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าแม้เป็นเรื่องของมานะซึ่งเป็นลักษณะของอกุศลที่กระด้าง แต่แม้กระนั้นความรู้สึกที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นอุเบกขาหรือโสมนัส ถ้าคิดว่าเราดีเป็นอย่างไร เรานี่ดี เวทนาเป็นอย่างไร โสมนัสใช่ไหม เราดี เราก็ต้องดีใจใช่ไหมว่าเราดี ขณะนั้นคือความสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่เราว่าเป็นเรา มีโลภะในความเป็นเรา คิดว่าเราดี แต่เวลาที่บอกว่าเราไม่ดี เป็นอย่างไร โทสะ แต่ต้องไม่ลืมว่ามานะไม่เกิดกับโทสมูลจิต ธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ถ้าไม่ใช่การตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนก็สับสนหมด ธรรมตามใจชอบ แต่ว่าเวลาที่ศึกษาแล้วจะเห็นพระปัญญาคุณที่ตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง และทรงแสดงไว้ด้วยว่าการจะรู้จริงก็คือลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วรู้ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมคือมีจริงๆ แต่ถ้าสิ่งใดไม่มีจริงขณะนั้นเราก็ไม่สามารถที่จะไปรู้ความจริงของสิ่งที่ไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีการดับไปได้
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ฟังก็ให้รู้ว่าลักษณะของสภาพธรรมที่กล่าวถึงมีจริง และจริงในขณะที่เกิดปรากฏ ถ้าขณะนี้ไม่มีมานะจะให้ไปรู้ลักษณะของมานะนั้นก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าขณะนี้ไม่มีทิฏฐิ เราก็กล่าวเรื่องทิฏฐิ แต่เวลาที่ทิฏฐิเกิดไม่รู้ นี่คือการที่เราจะเข้าใจจริงๆ ว่าธรรมเป็นเรื่องที่จะต้องอบรมด้วยความเห็นถูก ความเข้าใจถูก อย่าเพียงคิดว่าชื่อเป็นอย่างนี้ เรื่องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องสามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้จริงๆ แต่ว่าต้องมีพระธรรมนำทางที่จะต้องมีความเข้าใจในพระธรรมที่ทรงแสดงยิ่งขึ้น ไม่ใช่คิดเอง
ผู้ฟัง โลภะเขาก็รู้ปรมัตถธรรมได้ อยากให้อธิบายว่าแตกต่างกับกุศลอย่างไร ที่รู้ปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ โลภะเป็นสภาพที่ติดข้อง เพราะมีความไม่รู้ในความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้นจะเป็นกุศลไม่ได้
ผู้ฟัง โลภะที่เป็นปรมัตถธรรมหรือเป็นสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ โลภะเป็นนามธรรมมีจริงๆ ไม่ใช่รูป และก็เป็นลักษณะที่ติดข้อง สิ่งนี้ลืมไม่ได้ โลภะเป็นนามธรรมที่มีลักษณะที่ติดข้อง และต้องเกิดกับจิตด้วย เพราะว่าสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกจะเกิดที่อื่นนอกจากจิตไม่ได้ ต้องเกิดกับจิต เพราะฉะนั้นขณะใดที่จิตกำลังรู้อารมณ์ใดก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย และเจตสิกของแต่ละประเภทก็ทำกิจของเจตสิกแต่ละประเภทนั้น แม้โลภเจตสิกซึ่งเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งก็ทำกิจของโลภะซึ่งจะไปทำกิจของเจตสิกอื่นไม่ได้ ขอถามคุณเริงชัยว่าชอบสีอะไร
ผู้ฟัง ชอบหลายสี
ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างได้ไหม หลายสีนี่ไม่ผิด คงจะไม่มีใครชอบสีเดียว เช่นสีอะไร
ผู้ฟัง สีชมพู
ท่านอาจารย์ ชอบสีชมพู ขณะนั้นมีจิตเห็นเกิด และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่โลภเจตสิกไม่ได้เกิดกับจิตเห็น จิตเห็นต้องดับไปเสียก่อนแล้วจิตอื่นเกิดสืบต่อจนกระทั่งถึงกาลที่โลภมูลจิตจะเกิดขึ้นก็ยังคงมีสีที่ยังไม่ได้ดับนั่นเองเป็นอารมณ์ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่าโลภะเป็นสภาพที่ติดข้องไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา สีสันวัณณะต่างๆ เสียงปรากฏทางหู อะไรก็ตามที่เกิดปรากฏ โลภะติดข้องหมด ไม่เว้น นอกจากสิ่งที่ไม่เกิด เช่น นิพพาน และโลกุตตรจิต ซึ่งโลภะไม่สามารถที่จะไปติดข้องในสภาพธรรมนั้นได้ นอกจากนั้นแล้วไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โลภะชอบหมด ติดข้องหมด จริงหรือไม่ ลักษณะที่ติดข้องในสิ่งที่ปรากฏคือลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งสภาพธรรมอย่างอื่นจะทำกิจนี้ไม่ได้ คือติดข้อง
เวลาที่ผ่านสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายดับแล้ว ยังจำได้ถึงสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวอะไรๆ ก็ตาม โลภะก็สนุกสนานเพลิดเพลินติดข้องไปกับเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ แต่ว่าเป็นเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏเวลาที่คิดนึก ขณะนั้นก็คือโลภะติดข้อง เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าโลภะสามารถที่จะติดข้องในปรมัตถธรรมก็คือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม โลภะก็ติดข้องในสีสันวัณณะที่ปรากฏ แต่ไม่ใช่กุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ขณะนั้นก็จะมีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่จะมีเฉพาะปัญญาเจตสิกเกิดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย และสติเจตสิกที่เกิดร่วมกับปัญญาที่สามารถจะเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ใช่สติขั้นฟังหรือขั้นคิด เพราะเหตุว่าขั้นฟัง ขั้นคิด ก็รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ ส่วนใหญ่เวลาที่กุศลจิตไม่เกิด จิตก็เป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใดคือจะเป็นโลภมูลจิต หรือจะเป็นโทสมูลจิต หรือว่าจะเป็นโมหมูลจิต ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม โลภะจะติดข้องอะไรได้ไหมถ้าไม่มีเลย
เพื่อให้เข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ รู้ได้ว่าขณะนี้กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ ไม่ต้องให้คนอื่นวัด ไม่ต้องให้คนอื่นบอก แต่ว่าเริ่มที่จะเข้าใจถูกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาจริง ธรรมจริงๆ กำลังปรากฏสิ่งที่มีจริง ถ้าเริ่มเข้าใจอย่างนี้ทีละเล็กทีละน้อยก็จะคล้อยตามความเป็นจริงว่าเป็นสภาพธรรมซึ่งไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ในสิ่งที่ปรากฏเลย นอกจากความทรงจำในสีสันวัณณะแล้วก็คิดยึดถือว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเป็นอย่างนี้มาตลอด แล้วเมื่อไรที่จะคลายความไม่รู้ เริ่มเข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏจนกว่าที่จะสามารถประจักษ์แจ้งจริงๆ ในความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกุศลต่างกับขณะที่ไม่รู้ซึ่งเป็นอกุศล
ผู้ฟัง จะเรียกว่าพ่ายแพ้ต่อกิเลส เขาจะประติดประต่อเลย ทางตาก็เห็น ทางใจก็คิดนึกเป็นเรื่องเป็นราว ทางหูก็เหมือนกัน ถึงต้องมีสติระลึกรู้ ก็ยากเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ยาก และนี่คือความเป็นผู้ตรงเป็นเหตุที่เราศึกษาเรื่องของพระสูตรเมื่อวานนี้ ซึ่งกล่าวถึงอาสวะทั้งปวงให้รู้จริงๆ ว่าเป็นความจริงอย่างนั้น เพราะฉะนั้นกว่าปัญญาจะเจริญขึ้นก็ต้องอาศัยกาลเวลา แต่ว่าอบรมเจริญขึ้นได้จริงๆ
อ.อรรณพ ทิฏฐิก็เป็นอาสวะ ซึ่งอาสวะก็เป็นกิเลสที่บางเบาที่เกิดขึ้นแล้วก็ไหลไปในทุกภพภูมิทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยากเรียนถามให้ท่านอาจารย์ช่วยขยายความถึงความบางเบาของทิฏฐิที่เป็นทิฏฐาสวะ
ท่านอาจารย์ ทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมกับโลภมูลจิตใช่ไหม เพราะฉะนั้นเวลาที่เห็น และมีโลภะเกิดขึ้นรู้ได้ไหม
อ.อรรณพ แทบจะไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทิฏฐิเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภะ ถ้าเกิด จะรู้ได้ไหม ก็เหมือนกับลักษณะของโลภะที่ยากที่จะรู้ แต่ทั้งหมดปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะรู้ได้ ปัญญาจริงๆ รู้ได้จริงๆ ถ้ารู้ไม่ได้ละกิเลสไม่ได้ ดับกิเลสไม่ได้ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จริง ไม่ใช่การไม่รู้หรือคิดว่ารู้ หรือเข้าใจผิดว่ารู้แล้ว แต่ความจริงเป็นปัญญาที่ค่อยๆ รู้ และค่อยๆ เจริญขึ้นจนกระทั่งรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ
อ.อรรณพ ทันทีที่เห็น หลังจากที่เห็นดับไป แทบจะไม่รู้ว่ามีความติดข้อง แล้วความเห็นผิดก็อาศัยให้โลภะนั้นเกิดร่วมด้วยได้ หมักดองด้วยความติดข้อง และก็หมักดองด้วยความเห็นซึ่งกว้างขวางมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คำอีกคำหนึ่งสำหรับพระอรหันต์ก็คือ “ขีณาสวะ” ขีณะแปลว่าดับ + อาสวะ แสดงให้เห็นว่าเราจะเข้าใจเพียงแค่นิวรณธรรม กำลังสนุกหรือว่ากำลังผูกโกรธหรือว่ากำลังมีแต่ความขุ่นเคือง นั่นก็เป็นสภาพของอกุศลเจตสิกที่ปรากฏให้เห็นได้ แต่พระอรหันต์ไม่มีแม้อาสวะ เมื่อเห็นแล้วที่จะเป็นอกุศลใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่า "ขีณาสวะ" แต่เวลาที่ทรงแสดงถึงโลกุตตรมรรคดับอนุสัย ก็แสดงให้เห็นว่าอนุสัยที่มีนอนเนื่องอยู่ในจิตสืบต่อไม่ปรากฏ ไม่เกิดขึ้น แต่มี เป็นพืชเป็นเชื้อ เมื่อมีปัจจัยก็ทำให้อกุศลเกิดขึ้น ก็แล้วแต่ว่าระดับนั้นเป็นระดับของอาสวะหรือว่าจะเป็นนิวรณธรรมหรืออะไรก็แล้วแต่
อ.อรรณพ ทิฏฐิก็มีการหมักดองทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจตลอดสังสารวัฏฏ์ แล้วจะมีความเป็นไปในความเห็นผิด หรือในโลภะต่างๆ ได้มากมาย คุณวิชัยจะขยายในลักษณะที่หมักดองของทิฏฐิ
อ.วิชัย ขอสนทนาในเรื่องของเหตุ ว่า ทิฏฐิเจตสิกมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นไหม ต้องมี เพราะเหตุว่าแม้ทิฏฐิเองก็ต้องเป็นสังขารธรรม คือเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นได้ ก็น่าคิดว่าอะไรจะเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิเกิดขึ้นบ้าง เพราะเหตุว่าเราพอทราบว่าทิฏฐิเจตสิกเกิดขึ้นไม่ได้เพียงลำพังอย่างเดียว แต่ต้องมีธรรมที่เป็นสัมปยุตตธรรมเกิดพร้อมกันด้วย ถ้าไม่มีโลภเหตุ ทิฏฐิเกิดได้ไหม ไม่ได้ ถ้าไม่มีโมหเหตุ ทิฏฐิก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้นของทิฏฐิก็มีปัจจัยหลายอย่างที่จะเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิเกิดขึ้น อย่างเช่นแม้โลภเหตุเอง หรือโมหเหตุเอง ก็ต้องเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิเกิดขึ้น หรือแม้สัมปยุตตธรรมอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น จิตหรือเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดพร้อมกันก็เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิเกิดพร้อมกันด้วย สิ่งนี้เรากล่าวถึงเรื่องของการเกิดขึ้นพร้อมกันของธรรมที่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ก็มีธรรมที่เกิดพร้อมกันเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิเกิดขึ้น แต่ถ้ากล่าวถึงโดยความเป็นอารมณ์ แม้ทิฏฐิเองก็ต้องมีอารมณ์เป็นปัจจัยให้ทิฏฐินั้นเกิดขึ้นด้วย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 121
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 122
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 123
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 124
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 125
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 127
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 128
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 130
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 131
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 132
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 133
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 134
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 135
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 136
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 137
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 139
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 140
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 141
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 142
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 143
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 144
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 145
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 146
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 147
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 148
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 149
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 150
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 152
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 153
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 154
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 155
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 157
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 158
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 159
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 160
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 161
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 162
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 163
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 165
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 166
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 167
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 168
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 169
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 170
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 172
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 173
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 175
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 176
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 177
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 178
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 179
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 180