พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
ตอนที่ ๑๙๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ เพราะว่าสภาพธรรมซึ่งชื่อว่าตับ ลักษณะจริงๆ คืออะไร พ้นจากอ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว สี กลิ่น รส โอชา ได้ไหม ไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นคำที่เราใช้เรียกรูปใดๆ ก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นธาตุซึ่งอยู่รวมกัน เกิดพร้อมกัน แล้วก็แปรเปลี่ยนไปตามสีสันวัณณะที่ทำให้สมมติเรียกตามส่วนสัดของธาตุนั้นๆ แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว การเห็นโทษจริงๆ ก็คือสามารถที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่รูปร่างที่งาม ไม่งามแล้วก็ไปนึกถึงแต่เพียงสภาพที่ไม่งาม เพราะถึงจะนึกอย่างไรก็ตามแต่ดับกิเลสไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าผู้ที่ไม่ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือพระอนาคามีบุคคล อย่างไรๆ ก็ไม่มีทางที่จะไม่ติดในรูปสวยๆ ในเสียงเพราะๆ ในกลิ่นหอม ในรสอร่อย ในสัมผัสที่กระทบกายที่สบาย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่เดือดร้อน
ที่ตัวทุกคนมีรูป จริงๆ แล้วรักรูปไหนที่สุด รักรูปที่ตัว ตั้งแต่ตื่นมา แม้ว่าไม่มีใครที่จะมาเกี่ยวข้อง แต่รูปที่ตัวนี่เป็นอย่างไร ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า จะมีความสนใจติดข้องในรูปที่ตัวเพราะเหตุว่าเป็นรูปของเรา คิ้วของเรา ตาของเรา ผมของเรา เสื้อของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรูปนี้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีความเห็นผิด เพราะได้ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรมแล้วก็ตาม แต่ว่ายังมีวิปลาสคือสะสมความติดข้องในรูปมานานแสนนานในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้นการที่จะให้ถึงกับการที่จะไม่ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะจริงๆ ดับได้เป็นสมุจเฉทก็ต้องถึงความเป็นพระอนาคามี อาหารอร่อยหรือไม่อร่อย รูปที่ตัวเป็นอย่างไร บำรุงร่างกายไว้มากๆ เพื่อรูปที่ตัวจะเป็นอย่างไร ทั้งหมดก็คือยังคงติดในรูปนั่นเอง ติดอย่างมาก
ผู้ฟัง ถ้าเราไม่ได้ฟังธรรม เราก็จะไม่เข้าใจตรง ที่ว่าในขณะที่เห็นมีทุกข์อย่างไร จากความเข้าใจก็คิดว่าการที่เห็นเป็นทุกข์เพราะว่าไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงใช่หรือไม่
อ.วิชัย สิ่งที่เกิดต้องดับไหม สิ่งนั้นไม่เที่ยง ตั้งมั่นคงยั่งยืนอยู่ไม่ได้ จิตเห็นเมื่อได้ปัจจัยแล้วก็เกิด แล้วเกิดนั้นก็ดับทันที และสภาพที่เกิดดับทรงแสดงว่าเป็นทุกข์
ผู้ฟัง การที่เห็นแล้วไม่สามารถที่จะระลึกรู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง แสดงว่าขณะนั้นมีสภาพธรรมที่ไม่รู้คือมีโมหะเกิดขึ้น เกิดร่วมด้วยใช่ไหม
อ.วิชัย ต้องพิจารณาว่าสภาพโมหะเมื่อเกิด โดยสภาพของเขาคือไม่รู้ และปกปิดด้วย จักขุวิญญาณเกิดไม่มีโมหะเกิดร่วมด้วย เพียงแต่ว่าทำกิจเห็นเฉยๆ แต่ว่าขณะนั้นก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้นจิตที่เป็นจักขุวิญญาณจึงทำกิจเกิดขึ้นเพียงเห็นเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาธรรมก็จะต้องเข้าใจธรรมไม่ใช่เรื่องราว เพราะฉะนั้นขณะนี้ที่กล่าวว่าอริยสัจจ ความจริงของผู้รู้ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐเพราะว่าได้รู้แจ้งสภาพธรรมนั้น ซึ่งทุกคนก็จะได้ยินเสมอว่าประการแรกคือทุกขอริยสัจจ แต่เข้าใจหรือไม่ว่าขณะไหนเป็นทุกขอริยสัจจ หรืออะไรเป็นทุกขอริยสัจจ ตามที่กล่าวว่ากำลังเห็นเป็นทุกข์ เพราะว่าเห็นไม่เที่ยง เห็นเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นสภาพธรรมใดก็ตามซึ่งเกิดดับ สภาพนั้นเป็นอริยสัจจสำหรับผู้ที่ประจักษ์แจ้งความจริงว่าเป็นสภาพธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น และดับไป
เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวว่า รู้ทุกขอริยสัจจ หรืออริยสัจจมี ๔ และก็เรียกชื่อได้ทั้ง ๔ แต่ไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นทุกข์ จะมีประโยชน์อะไรหรือไม่ เพราะว่าจำแต่เพียงชื่อว่าอะไรเป็นอริยสัจบ้าง อริยสัจที่ ๑ คือทุกขอริยสัจจ แต่ไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นทุกขอริยสัจจ ถ้ารู้ เราก็จะรู้ได้ว่าความไม่รู้ของเรามากแค่ไหนเพราะเหตุว่ากำลังเห็น แล้ว "ทุกขอริยสัจจ" หรือ "ทุกขสัจจ" นี้ อยู่ที่ไหน เมื่อไร ในเมื่อกล่าวเสมอว่าสภาพธรรมที่เป็นจริงอย่างยิ่งก็คือสภาพที่เป็นทุกข์ จะไปหาทุกข์อื่นที่ไหนนอกจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ความไม่รู้ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งหรือง่าย มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ มีชีวิตประจำวัน รู้ความจริงอะไรหรือไม่ ถ้าไม่รู้ ก็คือไม่รู้ว่าเป็นธรรม ถ้าไม่รู้แล้วจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ยากหรือเป็นสิ่งที่ง่าย ด้วยความไม่รู้เพราะไม่รู้นั่นเอง แต่ถ้ารู้ ขณะนี้ยากไหมที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏทั้งหมด เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงเลยสักขณะเดียว ยากหรือง่าย
ผู้ฟัง ยาก
ท่านอาจารย์ ยากมากหรือไม่
ผู้ฟัง ยากมากๆ
ท่านอาจารย์ มากที่สุดหรือไม่
ผู้ฟัง ที่สุด
ท่านอาจารย์ มากกว่าอย่างอื่นหรือไม่
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมแม้มีจริง แต่ถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้ ก็ไม่สามารถที่จะมีบุคคลอื่นรู้ตามความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้นก่อนอื่นทุกอย่างต้องมีเหตุ และผล เช่น การศึกษาธรรม ศึกษาพื้นฐานพระอภิธรรม ถ้ามีคนถามว่าทำไมศึกษาพื้นฐานของพระอภิธรรม ก็เพราะเหตุว่าเพื่อที่จะเข้าใจตัวจริงของสภาพธรรม และพื้นฐานของพระอภิธรรมไม่ใช่ศึกษาพื้นฐานเรื่องราวของจิต เจตสิก รูป เพื่อที่จะได้รู้เรื่องของจิต เจตสิก รูปอีกมากมายในตำรา เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจถูกในเมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้นแล้ว นั่นก็ไม่ถูกต้อง แต่ความถูกต้องก็คือพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจถูกต้องในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งยากมาก เพราะเหตุว่าแม้ปรากฏก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นประการที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราไม่ออกไปจากพระธรรม ก็คือเป็นผู้ที่มีความจริงใจต่อการศึกษาธรรม เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นความจริงใจก็คือเมื่อรู้ว่า มีสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏ แต่ไม่รู้ ความจริงใจก็คือฟังเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังมีเพื่อที่จะได้มีฉันทะที่จะรู้ว่าแม้เป็นสิ่งที่ยากที่สุด แต่ก็มีประโยชน์ที่สุด เพราะฉะนั้นจึงมีฉันทะที่จะศึกษาสิ่งที่ยากที่สุดต่อไปจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เมื่อไม่เข้าใจจึงกล่าวว่ายาก แต่ถ้าเข้าใจแล้วสิ่งที่เคยคิดว่ายากก็เป็นธรรมดาเพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถที่จะไปแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ และถ้าเป็นผู้ที่จริงใจ การอบรมเจริญปัญญาจะไม่ออกนอกทาง เพราะเหตุว่ามีความเข้าใจถูกต้องว่าขณะนี้ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นศึกษาเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ และเมื่อศึกษาเข้าใจขั้นเรื่องราว ก็จะรู้ว่าเพียงขั้นนี้ดับกิเลสไม่ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจมากกว่านี้ เป็นผู้ที่มีความจริงใจต่อการที่จะเข้าใจธรรมจึงศึกษาพระธรรม
ผู้ฟัง ขณะที่เราศึกษาแล้ว และก็มีแต่เรื่องราวในชีวิตประจำวันของเราทุกวันๆ ซึ่งก็หลีกหลี่ยงไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ให้หลีกเลี่ยง แต่รู้ว่าขณะที่กำลังเป็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น น่าตกใจ หรือน่ายินดี ถ้าไม่มีจิต เจตสิก เกิดขึ้น เรื่องราวต่างๆ นั้นก็ไม่มี เพราะฉะนั้นต้องรู้ตามความเป็นจริง เรื่องของโลกทั้งหมดจะกี่ชาติก็ตามเพราะมีจิต เจตสิกที่กำลังรู้แต่ละหนึ่งทวาร และแต่ละประเภท และก็รวมกันเป็นเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังมีเรื่องราวอยู่ มีความเป็นเรา มีความเป็นสัตว์ มีความเป็นบุคคล มีความไม่รู้ ก็ไม่สามารถที่จะละการติดข้องในเรื่องราวได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ถ้าไม่มีจิต เจตสิก ขณะนี้ที่กำลังรู้อารมณ์แต่ละ ๑ ขณะ เกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว เรื่องราวต่างๆ ก็มีไม่ได้
ผู้ฟัง เราก็มีเรื่องราวซึ่งไม่ต้องไปทุกข์ร้อน ก็ฟังไปเรื่อยๆ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คงจะไม่ได้ ถ้าเป็นเรื่องราว และมีเรา แล้วจะไม่ทุกข์ร้อน แต่ถ้าสามารถที่จะเข้าใจความจริงว่าเป็นสภาพธรรมที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก และก็เกิดขึ้น และก็ดับไปอย่างรวดเร็วเท่านั้น
ขอกล่าวถึงข้อความหนึ่งซึ่งต่อไปก็คงจะพบในพระไตรปิฎก แต่ว่าให้พิจารณาตามความเป็นจริงว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงความประพฤติเป็นไปของธรรม คือจิต เจตสิก ซึ่งในภูมิบางภูมิก็มีแต่เฉพาะจิต เจตสิก ไม่มีรูปเลย เช่น อรูปพรหมภูมิ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นภูมิที่มีทั้งจิต เจตสิก รูป แต่อย่างไรก็ตามเรากำลังศึกษาเรื่องความไม่รู้คืออวิชชา เพราะฉะนั้น ที่ทรงเน้นก็คือว่า ความประพฤติเป็นไปในชีวิตแต่ละชาติ ก็จะมีสภาพธรรมซึ่งใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เมื่อเกิดแล้วต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อศึกษาเรื่องจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๑๘ ประเภท คืออเหตุกจิตก็จะรู้ได้ว่าเป็นวิบาก ๑๕ เป็นกิริยา ๓ สำหรับวิบากใครจะกั้นไม่ให้เกิดได้ เพราะเหตุว่าเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นวิบากต้องมีตั้งแต่เกิด และก็จนกว่าจะตาย ก็ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู มาตามกรรม แล้วแต่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ เป็นธรรมดา ยับยั้งไม่ได้ แต่หลังจากนั้นแล้วมีสิ่งสำคัญ ๒ อย่างคืออวิชชา ความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งนี้เวลาศึกษาธรรมหรือฟังธรรม พิจารณาตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างนี้ไหม สิ่งที่สำคัญคือไม่มีใครสามารถที่จะไม่ให้สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด แล้วยับยั้งไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่เมื่อเกิดแล้วมีความไม่รู้อย่างหนึ่ง และเมื่อเกิดแล้วมีความรู้ มีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ นี่เป็นสิ่งที่ต่างกันมาก เพราะฉะนั้นลองคิดถึงอดีตอนันตชาติที่ผ่านมา ถ้าเรามีความเข้าใจที่ค่อยๆ สะสม เราก็สามารถที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏได้ แต่ถ้าเราสะสมมาน้อยก็จะต้องสะสมต่อไป เพราะว่าความจริงทนต่อการพิสูจน์ สภาพธรรมเกิดดับเร็วจนไม่ปรากฏความเร็วจนเหมือนเที่ยง จะกี่ภพกี่ชาติก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นรู้หรือไม่รู้ ถ้าไม่รู้หลังเห็น หลังได้ยิน หลังได้กลิ่น หลังลิ้มรส หลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ก็เป็นอกุศลทั้งนั้น สำหรับกุศลประเภทที่เป็นไปที่จะให้เกิดวัฏฏะ เช่น กุศลที่เป็นกามาวจร เป็นไปที่จะเป็นทาน เป็นศีล ที่จะให้ผลเป็นการเกิดในสุคติภูมิ หรือ ถ้าเป็นอกุศลกรรมก็เกิดในทุกคติภูมิ หรือแม้กุศลที่เป็นฌาณจิตที่จะทำให้เกิดในรูปพรหมภูมิเป็นพรหมบุคคล และอรูปพรหมภูมิ สิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็เพียงเป็นสิ่งที่เกิดตามเหตุตามปัจจัยยับยั้งไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าคิดจึงมี ๒ อย่าง หลังเห็นแล้วเป็นความไม่รู้ หรือว่าหลังเห็นแล้วเป็นความรู้ ซึ่งความรู้หลังจากที่เห็นแล้วมาจากไหน อยู่ดีๆ เกิดไม่ได้ แต่ต้องอาศัยการฟัง การพิจารณา แล้วเป็นความเข้าใจของตัวเอง ไม่ใช่เป็นความเข้าใจของผู้อื่นที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดมาก แต่ว่าเป็นปัญญาของผู้ที่ท่านรู้แล้ว ท่านจึงสามารถที่จะแสดงได้อย่างละเอียด แต่ผู้ไม่รู้ ก็ไม่รู้แม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏ ก็จะเห็นว่า กว่าจะรู้ได้นานไหม และก็เป็นผู้ที่จริงใจต่อการที่จะรู้ความจริงด้วย เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏก็เป็นการเริ่มที่จะฟังให้เข้าใจจนกว่าจะรู้ จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง มิฉะนั้นก็คือตายแล้วก็เกิดตามภพภูมิต่างๆ แล้วก็เห็น แล้วก็ได้ยินไป แล้วก็ไม่รู้ไป ก็เป็นเรื่องรู้ได้ด้วยตัวเองใช่ไหมว่าจะต้องฟังแล้วก็ศึกษาไปจนกว่าจะเป็นความรู้ของตัวเองจริงๆ
ผู้ฟัง ขณะที่เราฟังแล้วเรารู้ๆ ในขั้นเรื่องราวก็เป็นปกติ แม้จะไม่สามารถระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนั้นก็ตาม แต่รู้ในขั้นเรื่องราวว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่มีตัวตน
ท่านอาจารย์ ก็เป็นกุศลในขั้นประเภทที่จะทำให้เกิดในสุขคติภูมิ ยังวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์เพราะเหตุว่ายังไม่ใช่การรู้อริยสัจจ ๔ แต่ว่าเป็นหนทางที่จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้มั่นคง พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงก็เพื่อให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง สติปัฏฐานกับวิปัสสนามีความต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาเป็นความรู้แจ้งถูกต้องตามความเป็นจริงในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ และรู้แจ้งเห็นแจ้งตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏหรือยังว่าสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอย่างหนึ่ง และสภาพที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ ก็เป็นธรรมอีกชนิดหนึ่ง เป็นธาตุอีกชนิดหนึ่ง รู้แจ้งในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้หรือยัง ถ้ายัง ก็ไม่ใช่วิปัสสนา แต่ถ้าเป็นการประจักษ์แจ้งจริงๆ ทางมโนทวาร ขณะนั้นเป็นวิปัสสนา และวิปัสสนาจะมีได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงพระธรรมลอยๆ ไม่ให้มีการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อได้ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริง ก็ได้ทรงแสดงหนทางที่จะให้รู้ความจริงของสภาพธรรมด้วย เพราะฉะนั้นทุกท่านก็พิจารณาได้ ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วจะรู้แจ้งถึงความเป็นปัญญาระดับที่เป็นวิปัสสนาได้อย่างไร ต้องมีหนทาง และหนทางที่ทรงแสดงไว้ก็กล่าวไว้ว่ามีหนทางเดียวคือสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่าสติปัฏฐานคืออะไร ไม่ใช่เพียงอ่านแล้วคิดว่าเข้าใจ "สติ" เป็นสภาพที่ระลึกรู้ และ "ปัฏฐาน" คือที่ตั้งที่สติระลึกรู้ เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้พิจารณาว่าขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วสติระลึกรู้อะไร ถ้าไม่ระลึกรู้ลักษณะที่แท้จริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่สัมมาสติเกิด ก็ไม่ใช่เรา ต้องมีความเข้าใจในขั้นต้น การศึกษาปริยัติมีประโยชน์สูงสุดเมื่อสามารถที่จะนำไปสู่การรู้ถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม จากสติขั้นฟัง และเข้าใจ ก็จะเจริญถึงขั้นที่รู้ความต่างของขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด และขณะที่สติปัฏฐานเกิด มิฉะนั้นอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏไม่ได้ ไม่มีทางอื่นเลย จะไปจำเพียงแค่จำว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สภาพรู้คือธาตุรู้ที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จะจำอย่างนี้ไม่ใช่ทางที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งหรือเห็นจริง รู้จริงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม นอกจากจะเข้าใจว่าขณะไหนสติปัฏฐานเกิด และสติปัฏฐานไม่เกิด เพราะฉะนั้นจะข้ามสติปัฏฐานซึ่งเมื่ออบรมเจริญแล้ว ก็จะทำให้ปัญญารู้แจ้งสภาพธรรมซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณ จะขาดสติปัฏฐานไม่ได้เลย
ผู้ฟัง อาจารย์กรุณาอธิบายลักษณะของสมถภาวนาเป็นกุศลในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ นอกจากสติปัฏฐานมีหนทางอื่นไหมที่จะทำให้รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ไม่มีหนทาง แต่ว่าจิตเป็นอนัตตา ไม่สามารถที่จะเลือกกุศลได้ว่าเป็นไปในทาน ในศีล หรือเป็นไปในสมถะ หรือ วิปัสสนา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความรู้ต้องตรง ขณะใดเป็นกุศลขั้นทาน ก็รู้ว่าเป็นกุศลขั้นทาน ขณะใดเป็นกุศลขั้นศีล ก็รู้ว่าเป็นกุศลขั้นศีล ขณะใดที่เป็นกุศลขั้นความสงบ ก็รู้ว่าเป็นกุศลขั้นความสงบ นี้คือปัญญา สามารถจะรู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่สับสนปะปนแล้วไม่รู้ แล้วก็คิดเอง เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ด้วยขณะไหนเป็นกุศลระดับใด นี่คือปัญญา
ผู้ฟัง ถ้าหากว่าเป็นสติปัฏฐานแล้ว ก็จะต้องมีลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมเป็นอารมณ์เท่านั้น
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร เพราะเป็นการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม
ผู้ฟัง อ่านในพระสูตรต่างๆ เช่น ปฏิกูลมนสิการปัพพะ หรือ อานาปานสติ รู้สึกว่าในพระสูตรนั้นให้ทำทั้งหมดเลย
ท่านอาจารย์ อ่านถูกหรือไม่ เข้าใจถูกหรือไม่ เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่าคนที่อ่านมากจะเข้าใจมาก จะมีความเข้าใจในสิ่งที่อ่านหรือจะมีความเข้าใจผิดเห็นผิดในสิ่งที่อ่าน ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีพื้นฐานที่มั่นคง "สัจจญาณ" การรู้แจ้งสัจจธรรมมี ๓ รอบ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ทำไมไม่กล่าวถึง แต่กล่าวถึงเพียงแค่อริยสัจ ๔ ถ้าไม่มีสัจจญาณคือปัญญาที่รู้ความจริงอย่างมั่นคง ก็จะเขวไป แต่ถ้ามีสัจจญาณที่รู้ความจริงว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเกิดขึ้น และดับไป ผู้ใดรู้ ผู้นั้นเป็นพระอริยบุคคลสามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏได้ และหนทางที่จะรู้ก็มีหนทางเดียวที่ทรงแสดงไว้ว่า เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดแล้วรู้ตรงลักษณะนั้นด้วยความค่อยๆ เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ นี่เป็นหนทางเดียวไม่ใช่หนทางอื่น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเช่น นี้ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าแม้ว่าจะมีเรื่องของสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็ตาม ก็สามารถที่จะแยกรู้ได้ เช่น อานาปานสติ เป็นทั้งสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ผู้ที่มีปัญญารู้ตามความเป็นจริงก็สามารถที่จะรู้ว่าขณะใดเป็นการอบรมเจริญสมถภาวนา ขณะใดเป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพื่อจะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ไม่ใช่มีความเป็นเราหรือมีความเป็นตัวตนที่จะทำ เพราะฉะนั้นเวลาอ่านพระสูตรหรือพระไตรปิฎก ขอให้เข้าใจตามความจริงว่าผู้ที่ทรงตรัสรู้ทรงแสดงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมทั้งหมด จริงหรือไม่ ถ้าจริงทำไมเราลืม และกลายเป็นเราทำ ลืมเลย เพราะแท้จริงแล้วการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเหนียวแน่นมาก ด้วยเหตุนี้จึงทรงแสดงพระธรรมตามความเป็นจริงโดยละเอียดเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อที่จะละความเป็นเรา ผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนาไม่รู้ความจริงว่าเป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา แต่ว่ามีความรักใคร่ผูกพันเหนียวแน่นในความเป็นเราที่ต้องการสงบโดยที่ว่าไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ความจริงเป็นเรื่องอวิชชา ความไม่รู้ทั้งหมดซึ่งแสดงให้เห็นว่ากว่าจะค่อยๆ เข้าใจได้ต้องเป็นผู้ที่ตรง เป็นผู้ที่ละเอียด และก็เป็นผู้ที่จริงใจ และก็ไม่คลอนแคลนด้วย แม้แต่ปัญญาก็มีหลายระดับ ขั้นกามาวจรเป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ขั้นความสงบที่เป็นสมถะ ขั้นสติปัฏฐานซึ่งเป็นการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทำไมเราศึกษาธรรม เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เมื่อจุดประสงค์เป็นอย่างนี้ ความจริงใจเป็นอย่างนี้ว่าเพื่อรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าเราจะศึกษาอะไรที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกก็เป็นความจริงที่ปรากฏ แต่ผู้ที่ไม่รู้ก็เป็นเราทั้งหมด แต่ผู้ที่รู้ก็รู้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้นการศึกษาพระไตรปิฎก จะรู้ได้ว่ามีทั้งอกุศลทุกประเภทที่ทรงแสดงไว้ตามความเป็นจริง และมีกุศลทุกระดับ ทุกประเภท ที่ทรงแสดงไว้ตามความเป็นจริง ซึ่งผู้ศึกษาต้องรู้ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม กุศลก็เป็นธรรม แม้แต่การสะสมที่จะระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ หรือเป็นเรื่องของความสงบของจิตใจ ขณะนั้นก็เป็นธรรมด้วย แต่ตราบใดที่ยังเป็นเรา ขณะนั้นก็คือไม่ใช่ความรู้ที่สามารถจะละความเป็นตัวตนได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240