พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
ตอนที่ ๑๙๓
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่เรามีความจริงใจที่จะเข้าใจธรรม คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ เราได้ยินได้ฟังอะไรแล้วเข้าใจเรื่องราวของสิ่งนั้น แต่ว่าต้องมีความค่อยๆ เข้าใจขึ้นจากการฟังว่าเป็นธรรม โดยที่ไม่ใช่เอามาเทียบว่าโลภมูลจิตมี ๘ ประเภท เป็นอะไรบ้าง อสังขาริกเป็นอย่างไร สสังขาริกเป็นอย่างไร แต่เวลาเกิดไม่รู้ จะมีประโยชน์ไหม กับการที่เราฟัง และรู้ว่าปัญญาของเราจำกัดแค่ไหนเมื่อเทียบกับปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คงไม่ลืม" จงอยปากยุงที่จุ่มลงในมหาสมุทร " ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่มีข้อความนี้เลย ความห่างไกล และเราก็เพิ่งได้ยินได้ฟัง แล้วเราจะไปรู้หมดหรือไปพยายามเข้าใจในสิ่งซึ่งขณะนั้นไม่มี แต่ขณะนั้นกำลังมีอะไร และถ้าสามารถจะเข้าใจสิ่งนั้น จะค่อยๆ เข้าใจเมื่อสิ่งอื่นที่ปรากฏด้วย ไม่ว่าจะเป็นมานะ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐิ หรือจะเป็นสภาพธรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อรู้ความเป็นธรรมของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็จะรู้ว่าทั้งหมดที่ฟังมาตัวจริงคืออย่างนี้ และขณะนั้นไม่มีชื่อด้วย เพราะฉะนั้นที่รู้เพียงชื่อ เราไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่เราเข้าใจถูก แต่ถ้าเป็นผู้ที่รู้ความสามารถของตัวเองว่าสามารถจะรู้ตทาลัมพนะได้ไหม สามารถรู้ถีนมิทธเจตสิกได้ไหม สามารถจะรู้ผัสสเจตสิกได้ไหม มนสิการเจตสิกได้ไหม ชีวิตินทริยเจตสิกได้ไหม ถ้ารู้แล้วว่าเราไม่มีความสามารถอย่างนั้น เพราะเหตุว่าทุกอย่างเป็นอนัตตาจริงๆ
การที่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ต่างกับพระอัครสาวก ต่างกับมหาสาวก และสาวกอื่นๆ ก็แสดงถึงการสะสมการปรุงแต่งของธาตุต่างๆ ไม่มีเราหรือว่าไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้นธาตุที่ปรุงแต่งมาเป็นเรา บัดนี้ ณ ขณะนี้ มีความสามารถระดับไหนที่จะฟังแล้วก็เข้าใจ แล้วก็ไตร่ตรอง แล้วก็ไม่หลงทางด้วยความเป็นเราที่ต้องการอย่างมาก ทำให้ทุกอย่างที่จะทำให้ปัญญาเกิด แต่ด้วยความเป็นตัวตนจึงไม่สำเร็จเพราะเหตุว่ามีความเป็นเรา ไม่ใช่ความรู้ที่ถูกต้องว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็จะรู้ได้ ฟังธรรม รู้ว่าผู้แสดงคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราสามารถเข้าใจสิ่งที่ทรงแสดงในขณะนี้หรือยัง ถ้ายัง กิจคืออะไร ไปศึกษาเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้ได้ หรือว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็เริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วสิ่งอื่นทั้งหลายเราจะไม่รู้ตัวเราเลยว่าเราแต่ละคนสะสมที่จะรู้อะไร แม้ในวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นก็ไม่มีการที่จะรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิด และก็จะรู้อะไร แต่ว่าทุกอย่างก็เป็นไปเพื่อละ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความต้องการ พระพุทธศาสนาคำสอนทั้งหมดเพื่อละอกุศล ละขันธ์ ละทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ เพราะเหตุว่าเห็นจริงๆ ว่าเป็นทุกข์ เกิดแล้วก็ดับ บางคนก็ถามว่าแล้วเหนื่อยไหม เห็นเหนื่อยไหม ได้ยินเหนื่อยไหม ทุกชาติเกิดมาก็เห็นอีก ได้ยินอีก เหนื่อยไหม จิต เจตสิกเกิดขึ้นทำกิจยับยั้งไม่ได้ ต้องเกิดเพราะมีเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ถ้าเบื่อหน่ายหรือเหนื่อยก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นธาตุแต่ละชนิด ถ้าศึกษาเรื่องธาตุจะรู้ว่าการศึกษาโดยผู้ที่ไม่ได้ประจักษ์แจ้ง ความรู้เรื่องธาตุก็น้อยมาก และก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงของธาตุนั้นๆ ด้วย เป็นแต่เพียงชื่อที่จำจากประสบการณ์วิชาการต่างๆ เท่านั้น แต่ถ้าเป็นธาตุจริงๆ ใครบังคับบัญชาได้แม้สักธาตุเดียว และแต่ละธาตุก็มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น และธาตุก็ต่างกันเป็นธาตุใหญ่ๆ ๒ ประเภท คือ รูปธาตุ กับนามธาตุ ถ้ามีแต่รูปธาตุไม่เดือดร้อนเลย ฝนจะตก น้ำจะท่วม ไม่มีสภาพรู้ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่เดือดร้อน แต่ใครจะยับยั้งหรือจะไม่ให้มีนามธาตุได้ไหมในเมื่อเป็นธรรม ก็รู้ตามความเป็นจริงเท่านั้น
ผู้ฟัง จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะ จำเป็นจะต้องรู้อารมณ์ แต่โดยความเป็นจริงก็อดที่จะคิดหรือนึกไม่ได้ว่าอารมณ์ในขณะนั้นที่จิตรู้
ท่านอาจารย์ นี่ก็ค้านกันแล้วใช่ไหม จิตเขาเกิด เขาคิด จิตทำหน้าที่ตลอดเวลาของจิต เพราะฉะนั้นเราจึงเรียนเรื่องกิจของจิตว่าจิตแต่ละประเภททำกิจอะไร จิตไหนเกิดขึ้นทำกิจอะไร ไม่ใช่เรา ทั้งหมดคือกิจของจิต จิตเกิดขึ้นทำกิจคิด จิตเกิดขึ้นทำกิจติดข้องเมื่อมีเจตสิกนั้นๆ เกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ขอทราบความแตกต่างของจิต และเจตสิก
ท่านอาจารย์ จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ใช้คำว่า “ปัณฑระ” เมื่อกล่าวถึงจิตล้วนๆ ไม่กล่าวถึงเจตสิกใดๆ เลยที่เกิดร่วมด้วย เป็นสภาพที่ผ่องใสในฐานะที่เพียงรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ได้กล่าวถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แต่จะเศร้าหมองเป็นอกุศลหรือเป็นกุศลเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ถ้าไม่กล่าวถึงวิบากจิตรึกิริยาจิต เพราะว่าจิตจะเกิดตามลำพังโดยที่ไม่มีเจตสิกเกิดร่วมไม่ได้ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ลักษณะของเจตสิก ขั้นฟัง ขณะนี้แม้การรู้ลักษณะของจิตก็ขั้นฟัง เช่น ขณะนี้เห็นเป็นหน้าที่ของจิตเพราะว่าสามารถที่จะรู้ลักษณะที่ปรากฏแจ้งว่าลักษณะเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอื่น สามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ เช่น เสียงที่กำลังปรากฏ เป็นเสียงอย่างนี้ ลักษณะอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะจิตรู้แจ้งในลักษณะของเสียงนั้น ถ้าโกรธรู้ลักษณะของอะไรแจ้ง หรือว่าขณะนั้นโกรธ กำลังขุ่นเคืองไม่พอใจ
ผู้ฟัง ก็เป็นลักษณะของความหยาบกระด้าง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลักษณะของการรู้แจ้งอารมณ์ไม่ได้ปรากฏเลย เพราะว่าขณะนั้นมีลักษณะของความโกรธปรากฏ นั่นคือลักษณะของเจตสิกชนิดหนึ่งซึ่งไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ แต่มีความไม่ชอบในอารมณ์ที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ เสียงด่า เสียงก็ดับไปแล้ว เกิดความขุ่นเคืองใจ
ท่านอาจารย์ แต่ขณะที่มีขุ่นเคืองใจ ต้องมีเสียงด้วย เพราะว่ารูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นเวลาที่กำลังขุ่นเคืองใจในรูปหนึ่งรูปใดก็ตามแต่ ขณะนั้นโกรธไม่ชอบขุ่นเคืองในรูปนั้นที่ปรากฏ แต่จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ส่วนความโกรธก็โกรธในอารมณ์ แต่ไม่ใช่ลักษณะที่รู้แจ้งในอารมณ์เหมือนเช่นจิต เกิดพร้อมกัน จิตกับเจตสิก
ผู้ฟัง พยายามแยก
ท่านอาจารย์ พยายามแยกด้วยเรา ไม่มีทางสำเร็จ พยายามคิดเรื่องธรรมละเอียดอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เพราะว่าไม่ใช่สติที่กำลังรู้เฉพาะแต่ละลักษณะซึ่งต้องเป็นทีละลักษณะก็ชัดเจนกว่าจนกว่าจะประจักษ์แจ้งเมื่อไร แล้วถ้ามีความเป็นเราอย่างคุณศุภัสสรว่าแล้วจะรู้เจตสิกไหน เลือกแล้วใช่ไหม ไม่ได้รู้ความเป็นอนัตตาเลยว่าเจตสิกไหนก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ไม่ใช่ว่ามีเราที่จะไปเลือก โลภะตามไปตลอด ไม่เคยทิ้งห่างพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างตลอดเวลาแม้แต่ฟังธรรม จะรู้เจตสิกอะไร เห็นไหม อะไรทำให้คิดอย่างนี้ ต้องการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นไม่เห็นโลภะ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเห็นโลภะเมื่ออบรมเจริญปัญญาเพื่อละโลภะซึ่งเป็นสมุทัย
ผู้ฟัง สติสัมปชัญญะที่จะรู้ลักษณะของจิต เจตสิก หรือรูปในขณะนั้นก็แล้วแต่ว่าสติจะระลึกในลักษณะอะไร แล้วแต่อะไรปรากฏ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะว่าเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง เจตสิกที่หยาบกระด้างก็จะพอรู้ได้ รู้แบบตัวตน แต่พอกล่าวถึงจิตก็จะไม่ค่อยเข้าใจว่าปัญญาเขารู้อะไร หมายถึงสติสัมปชัญญะจะระลึกอะไร ไม่เข้าใจว่าเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ปรากฏอย่างรูปใช่ไหม หรือไม่ปรากฏอย่างเจตสิกอื่นๆ เพราะว่าเป็นธาตุรู้ ไม่มีรูปใดๆ เลย แต่เมื่อธาตุนี้เกิดขึ้น เป็นธาตุที่ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏให้รู้ นั่นคือหน้าที่ และลักษณะของจิต ถ้ารู้ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมอย่างจิตอย่างนี้
ผู้ฟัง ตรงลักษณะที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ จะรู้จิตก็ได้ เจตสิกก็ได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่มีการเลือกเลย จะเกิดเมื่อไรก็ไม่รู้ แล้วแต่ความพร้อมปรุงแต่งให้เกิดเมื่อไรก็เมื่อนั้น
ผู้ฟัง ก็คงต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจที่ปัญญาจะรู้ว่าลักษณะนี้เป็นลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เขาก็เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งเอง ไม่มีเราต่างหากที่ไปนั่งปรุงเตรียมพร้อม
ผู้ฟัง อย่างที่คุณศุภัสสรได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสภาพรู้ซึ่งรู้ยาก ดิฉันก็เคยพยายามที่จะเข้าใจ ขณะที่คิด ท่านอาจารย์ก็บอกว่าต้องมีจิตแล้วที่คิด แต่เราก็ไม่เข้าใจลักษณะว่าตรงนั้นหรือไม่ที่เป็นจิตที่คิด
ท่านอาจารย์ ต้องรู้ความต่างของขณะที่เป็นสติสัมปชัญญะหรือสติปัฏฐานเกิดกับขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด จึงไม่ใช่ตัวเราที่พยายามๆ จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ผู้ฟัง ไม่ได้ ไม่มีทางเลย ถ้าสติไม่เกิด ไม่มีความสามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการฟังที่กำลังเข้าใจเป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งให้สติปัฏฐานเกิด ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างนี้ มีแต่ความเป็นเรา มีแต่ความต้องการ สติปัฏฐานจะเกิดไม่ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นตรงนี้เห็นความสำคัญของสติที่จะเกิดระลึกรู้ เพราะทำอะไรไม่ได้จริงๆ ดิฉันมักลืมอยู่เสมอ อยากจะรู้อยู่เรื่อย พยายามที่จะหาหนทางที่จะเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ความเป็นตัวตนลึกแค่ไหน เห็นไหม อาจจะค่อยๆ ละ
ผู้ฟัง ตรงนี้ก็ทราบแล้ว เดี๋ยวก็ลืมอีก อยากจะรู้อีกแล้ว ก็ไม่ได้อีก ก็ขอกล่าวถึงเรื่องการปรุงแต่งที่ว่าสังขารขันธ์ เท่าทื่ทราบจิตเกิดก็ต้องมีเจตสิกประกอบด้วย แม้แต่การเห็นก็ต้องมีเจตสิกประกอบด้วยแล้ว ๗ ดวง เพราะฉะนั้นเราต้องกล่าวว่าสังขารขันธ์ คือเจตสิกก็ต้องเกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ สังขารธรรมหรือสังขารขันธ์
ผู้ฟัง สังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ เจตสิก ๕๐
ผู้ฟัง ก็ต้องเกิดอยู่แล้ว และเมื่อกล่าวว่าฟังแล้วเดี๋ยวมีการปรุงแต่ง ก็ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเกิดอยู่ตลอดอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องไม่ลืม “สังขารธรรม” กับ “สังขตธรรม” สังขารธรรมคือธรรมที่มีสังขารปรุงแต่ง สังขตธรรมคือปรุงแต่งแล้วเกิด เช่นขณะเห็น ปรุงแต่งแล้วเกิดคือเจตสิก ๗ ดวงเกิดพร้อมจิต ปรุงแต่งจิตในขณะที่เกิด
ผู้ฟัง หมายความว่ามีการปรุงแต่งอยู่ตลอดแล้ว แม้แต่การเห็น หรือ คิดนึก
ท่านอาจารย์ ไม่มีเราอีกต่างหากที่จะไปปรุงแต่งอะไร
ผู้ฟัง เช่นนี้ยิ่งชัดเจนมากๆ ที่จะไม่มีเราจะไปคิดดีหรือคิดร้าย ตรงนี้ก็กล่าวได้เลยว่าสังขารขันธ์จะปรุงแต่งเอง ไม่มีเรา
ท่านอาจารย์ มีใครเตรียมคิดไหมว่าจะคิดอะไร เตรียมได้ไหม ไม่มีทางเลย ขณะที่เตรียมคือคิดแล้ว ปรุงแต่งให้เป็นอย่างนั้นแล้ว
อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับ ถ้ากล่าวถึงขณะที่เป็นโทสะ ขณะนั้นก็มีโมหะซึ่งปกปิดไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าการยึดถือว่าเป็นเราก็เป็นส่วนของโลภะหรือว่าธรรมที่เกิดกับโลภะคือตัณหา มานะ ทิฏฐิ แต่ว่าถ้าโทสะแล้ว ขณะนั้นไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา มีโมหะเกิด
ท่านอาจารย์ ค่ะ
คุณอุไรวรรณ เพราะฉะนั้น โมหเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่ร้ายที่สุดเพราะว่าเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท
ท่านอาจารย์ ร้ายจนกระทั่งต้องทรงแสดงว่าวันหนึ่งๆ นอกจากความเป็นไปของจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ยังกล่าวถึงเพียงเฉพาะ ๒ อย่างคือโมหะ และปัญญาจึงเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน ไม่มีใครจะไปทำลายอวิชชาหรือโมหะได้เลยนอกจากปัญญา
ผู้ฟัง จากรู้ลักษณะของความฟุ้งซ่านตามความเป็นจริง จะต้องเป็นปัญญาระดับขั้นที่เจริญมากขึ้นระดับไหน
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ รู้แล้วหรือไม่ แล้วก็จะไปรู้ความฟุ้งซ่านโดยเฉพาะเจาะจงก็เป็นสิ่งที่ยากมาก ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า ถ้าเราได้ฟังธรรม เราก็จะต้องไตร่ตรองถึงความเป็นจริง แม้แต่คำว่า "โมหะหรืออวิชชามีโทษมาก และคลายช้า" แค่นี้เห็นความมีโทษมากของอวิชชาหรือไม่ เพราะว่าส่วนใหญ่เราจะคิดไม่อยากมีโทสะเป็นอันดับแรก แล้วก็ต่อไปอาจจะเห็นโทษของโลภะว่าเพราะมีโลภะนั่นเองจึงได้มีโทสะ ก็เห็นโทษ และก็ไม่อยากจะมีโลภะมากๆ เพราะว่าถ้ามีโลภะมากจนกระทั่งเกินประมาณก็เป็นเหตุให้กระทำทุจริตกรรม และเมื่อทำทุจริตกรรมแล้วไม่ใช่ว่าจะมีความสุขเลย ผลของอกุศลกรรมก็ติดตามมา แต่โทษที่มากจริงๆ คือโมหะ ความไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งถ้ายังมีโมหะอยู่ ออกจากสังสารวัฏฏ์จนกระทั่งเป็นการปรินิพพานไม่ได้ มีความไม่รู้อย่างมากมายในเรื่องของความไม่รู้ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยินคำไหนก็ติดตามไปเพื่อที่จะได้ฟังธรรม และได้เข้าใจถึงโทษมากของอวิชชาหรือโมหะ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเห็นว่าเราไม่รู้ก็จะไม่มีการศึกษาธรรม เพราะฉะนั้นทุกคนเห็นโทษของโมหะ แม้จะไม่กล่าวว่า ขณะนี้เราเห็นโทษมากน้อยแค่ไหน แต่การที่มีการศึกษาธรรม นั่นก็แสดงว่าต้องเห็นโทษของความไม่รู้ แต่เพียงไม่รู้ว่าไม่รู้อะไรบ้างเท่านั้น จึงต้องศึกษาให้รู้ว่าความจริงแล้วไม่รู้สิ่งที่กำลังมีจริงทั้งหมดตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นโทษมากไหม ออกจากสังสารวัฏฏ์ไม่ได้เลย มีเงินทอง มีทรัพย์สมบัติ มีความรู้ มีทุกอย่าง แต่จะมีสุขตลอดวันตลอดเวลาไม่ได้ บางคนอาจจะคิดว่าไม่มีทุกข์ แต่ทุกข์กายก็ยังมี หิวบ้าง เจ็บปวดบ้าง นิดๆ หน่อยๆ เหล่านี้ โดยคิดว่าทนได้ เพราะว่าเคยทนมานาน แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าเห็นโทษจริงๆ ของโมหะก็จะเห็นประโยชน์ของการที่ไม่มีโมหะเลย ซึ่งถ้าไม่มีโมหะเลยจะเกิดไหม ไม่เกิด แต่ว่ายังเห็นว่าเกิดมาแล้วไม่ลำบากเท่าไร พอทนได้ ทุกชาติๆ ก็ทนไป แต่ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความทุกข์กายทุกข์ใจ จะทนได้แค่ไหน ขณะที่กำลังเป็นอยู่ ขณะนี้อยู่ในโลกมนุษย์ทนร้อนได้ใช่ไหม ถ้าอยู่ในนรกร้อนระดับนั้นจะทนได้มากไหม แต่ก็ต้องทน จะเจ็บจะปวดสักเท่าไรก็ต้องทน อย่างถ้าใครที่บาดเจ็บ มีนิ้ว มีมือถูกประตูหนีบหรืออะไรก็ตามแต่ วันก่อนนี้ก็มีคนเล่าเรื่องประตูหนีบ ๒ คน ไม่ใช่คนเดียว ดูเป็นชีวิตประจำวัน คนหนึ่งก็บอกว่าไม่สนใจ ทายาหม่องแล้วก็หายไป อีกคนหนึ่งก็ปวดเจ็บเพราะว่าคิดถึงแต่เรื่องของนิ้วที่ถูกประตูหนีบ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าชีวิตจริงๆ มีการที่ต้องรู้สึกเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมานมากบ้าง น้อยบ้าง ตามกรรม แล้วใครจะรู้ว่าวันไหนอะไรจะเกิดขึ้น ขณะนี้ยังไม่สิ้นชีวิต แต่จากขณะนี้พริบตาเดียวอยู่ในนรกได้หรือไม่ ได้แล้ว สวรรค์ก็ได้ ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความเป็นผู้ไม่ประมาทก็คือว่าตราบใดที่ไม่รู้ก็ควรจะศึกษาให้รู้ขึ้น ให้เข้าใจขึ้นเพื่อที่จะละความไม่รู้จนถึงสามารถที่จะดับได้เป็นสมุจเฉท นี่คือการเห็นโทษของโมหะ ตราบใดที่ยังฟังพระธรรมอยู่ ก็แสดงว่าบุคคลนั้นเห็นโทษของโมหะซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอกุศลกรรมทั้งหลาย หรือว่าให้เกิดอกุศลจิตซึ่งใครก็บังคับบัญชาไม่ได้
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาย้ำเตือนถึงการที่ว่าให้มีความมั่นคงในการศึกษาธรรม ถึงแม้ว่าจะมีทุกข์ทางใจในชีวิตประจำวัน จะเกื้อกูลอย่างไรที่จะให้ปัญญาเจริญขึ้น และค่อยๆ เห็นโทษของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครที่จะไม่มีทุกข์ เวลาที่ใครประสบทุกข์ คนนั้นเป็นทุกข์ยิ่งกว่าคนที่ไม่ได้ประสบ ถ้าเราได้ยินเรื่องราวของญาติพี่น้องเพื่อนฝูง เขากำลังได้รับความทุกข์จากภัยพิบัติต่างๆ ความรู้สึกของเราเทียบไม่ได้เลยกับผู้ที่กำลังเป็นทุกข์จริงๆ ในขณะนั้น อย่างไรๆ ก็ไม่มีทางเลย จะเห็นใจ จะเข้าใจสักเท่าไร ก็ยังไม่เท่ากับโทมนัสเวทนาของบุคคลที่กำลังเป็นผู้ได้รับภัยพิบัตินั้น ซึ่งไม่มีใครช่วยได้นอกจากตัวเอง ที่จะให้จิตใจของใครมีความมั่นคงในพระธรรมที่มีความเข้าใจถูกต้องว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร และถ้าไม่มีเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสิ่งใดเกิดขึ้น ผู้มีปัญญาก็รู้ว่าเกิดแล้ว เมื่อเกิดแล้วจะทุกข์หรือจะสุข ถ้ามีสติจึงสามารถที่จะระลึกได้ แต่ก่อนอื่นก็มีความทุกข์เสียแล้ว เพราะฉะนั้นความทุกข์ของแต่ละคนจะมากหรือจะนานสักเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับปัญญาว่ามีปัญญาพอที่จะเกิดขึ้น และสามารถที่จะเข้าใจในความจริงของสภาพธรรมนั้นระดับไหน ถ้าเพียงแต่เข้าใจเรื่องราว ก็ยังคงมีคงมีความทุกข์อยู่ แต่ก็ยังน้อยกว่าที่ไม่มีความเข้าใจเสียเลย เพราะว่าบางคนพูดไปเรื่อยๆ ในเรื่องความทุกข์ แม้ว่าจะเตือนจะกล่าวธรรมสักเท่าไร ก็ไม่ได้มีการรับฟังเลย ยังคงพูดถึงความทุกข์นั้นโดยที่ไม่ฟังอย่างอื่น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะได้ยิน ได้ฟังธรรม แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นมีปัจจัยของอะไรจะเกิดขึ้น มีปัจจัยของกุศลจิตจะเกิด หรือว่ามีปัจจัยของอกุศลจิตจะเกิด แต่ถึงอย่างไรการฟังพระธรรมที่สะสมไปเรื่อยๆ ไม่สูญหาย ยังเป็นปัจจัยให้เกิดคิดในทางที่ถูกต้อง ในทางที่เป็นกุศลได้ซึ่งคนอื่นคิดไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้สะสมมาที่จะมีความเข้าใจในเหตุผล แม้ว่าจะหลงลืมสติเป็นทุกข์ไปมาก และนาน ก็ยังมีโอกาสที่สติสัมปชัญญะจะเกิดได้ หรือจะระลึกรู้ข้อความในธรรมที่ได้ยินได้ฟังมาทั้งหมด
จริงๆ แล้วทุกคนเกิดมาเพื่อตายหรือไม่ แต่ก่อนจะตายทำทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดว่ามีความสุขเหลือเกิน สนุกเหลือเกิน แต่ชั่วขณะจริงๆ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้เข้าถึงพระธรรมที่ว่าสภาพธรรมใดเกิดขึ้น สภาพธรรมนั้นดับไป ไม่เหลืออะไร ถ้ารู้ความจริงอย่างนี้ ความติดข้องจะคลายลงไปบ้าง แม้ในขั้นของการฟัง ถ้ายิ่งเป็นการประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมนั้นจริงๆ ก็จะรู้ได้ว่า การที่จะถึงความเป็นผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเมื่อนั้น แม้ความทุกข์ยังไม่หมด แต่ก็ลดลงตามลำดับคือเป็นพระโสดาบัน ไม่มีความทุกข์ที่จะต้องไปสู่อบายภูมิอีก และเมื่อเป็นผู้ที่ค่อยๆ คลายความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งระหว่างที่ติดข้องอยู่คิดว่าเป็นสุข เพราะเหตุว่าปัญญายังไม่ถึงระดับที่จะเห็นความจริงว่า แม้สิ่งซึ่งคิดว่างาม สิ่งนั้นก็ไม่เที่ยง ต้องอาศัยการประจักษ์แจ้งจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น จึงสามารถที่จะละคลายอกุศลที่ได้สะสมมานานมากตามลำดับ เพราะฉะนั้นไม่มียาวิเศษเม็ดเดียว ข้อความธรรมอันเดียว ที่จะทำให้คนที่กำลังมีทุกข์คลายทุกข์ได้ แต่ต้องอาศัยความเข้าใจธรรมที่ได้สะสมมาจนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่มั่นคงว่าทั้งหมดเป็นสภาพธรรมที่เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย ไม่ใช่ของใคร และไม่ใช่ใครด้วย และยับยั้งเหตุที่ได้กระทำแล้วที่จะไม่ให้ผลเป็นไปไม่ได้ ซึ่งชีวิตรอบข้างทุกวันก็พิสูจน์ธรรม บังคับบัญชาไม่ได้เลย ไม่มีใครอยากทุกข์ ก็ทุกข์กันมากมายตามเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเราประมาทไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ากรรมที่ได้กระทำแล้วไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่ากระทำกรรมอะไรไว้มาก ชาตินี้เราเห็นกรรมของคนอื่นได้รับโทษเพราะการกระทำนั้นๆ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240