พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
ตอนที่ ๑๙๔
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ากรรมที่ได้กระทำแล้ว ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่ากระทำกรรมอะไรไว้มาก ชาตินี้เราเห็นกรรมของคนอื่นได้รับโทษเพราะการกระทำนั้นๆ เพียงขณะที่เป็นชาตินี้เท่านั้น ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงในกรรมจริงๆ ในเหตุในผล และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจนกระทั่งรู้ว่าไม่มีเรา นั่นก็เป็นประโยชน์สูงสุดของการที่ได้ฟังพระธรรม
อ.กุลวิไล ดิฉันเองก็เคยป่วยหรือว่าร่างกายไม่ดี ก็เกิดทุกข์ทางใจมากจนกระทั่งทำให้เกิดทุกข์ทางกายขึ้นมาอีก เกิดโรคกระเพาะขึ้นมา เมื่อพิจารณาแล้วเพราะความที่รักตนเองจริงๆ ก็เลยเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ทางกายเกิดขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ก็มาจากกิเลสที่เรามีอยู่มากด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกข์กายไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ทุกข์ใจมีโอกาสที่จะคลายลงได้เมื่อได้ฟังพระธรรม และเข้าใจพระธรรม แต่ว่าทุกข์กายอย่างไรๆ ก็ไม่มีใครสามารถที่จะไปยับยั้งผลของกรรมได้
ผู้ฟัง ความเป็นจริงแล้ว สัตว์โลกทุกชนิดกลัวความตาย อายุ ๙๐ ไปไหนไม่ได้แต่ก็ยังไม่อยากตาย ถึงแม้ว่าจะต้องนอนบนเตียงก็ยังไม่อยากตาย เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าเกิดเพื่อตาย ก็คงจะบอกว่าไม่ใช่สำหรับคนส่วนมาก
ท่านอาจารย์ แล้วตายหรือไม่
ผู้ฟัง ต้องตายแน่นอน
ท่านอาจารย์ ก็ต้องตายเท่านั้นเอง อย่างไรๆ เกิดมาแล้วก็ต้องตาย จะกลัวหรือไม่กลัวก็ต้องตาย แต่ตายแล้วไปไหน
ผู้ฟัง ก็แล้วแต่บุญแต่กรรมที่เคยสะสมกันไว้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอกุศลกรรมให้ผล ก็จะไปสู่อบายภูมิหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก่อนตายควรจะเป็นกุศลเท่าที่จะเป็นได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำปัจจุบันคือสะสมกุศลให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
ท่านอาจารย์ ถึงแม้ว่าเราจะมีความสุขมาก มีความสนุกมาก มีความเพลิดเพลินมาก เวลาที่ตายแล้ว ความสนุก ความเพลิดเพลินเหล่านั้นจะช่วยให้เราไปสู่ที่ไหน ลองคิดดู ทุกคนหวังสุข เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่พอเลยในแต่ละวัน ทั้งเช้า ค่ำ โทรทัศน์ หนังสือ และต่างๆ อีกมากมาย ระหว่างนั้นที่กำลังเป็นสุข สิ่งนั้นจะช่วยอะไรได้ถ้าจากโลกนี้ไปแล้ว จะช่วยให้เป็นสุขหรือช่วยให้เป็นทุกข์
ผู้ฟัง ความสุขก็คงจะมีแค่ปัจจุบัน
ท่านอาจารย์ แต่ประโยชน์มีหรือไม่
ผู้ฟัง ประโยชน์คงจะไม่มี
ท่านอาจารย์ แม้ไม่มีประโยชน์ก็ยังคงต้องการอยู่ นี่คืออะไร โมหะ อวิชชา เพราะฉะนั้นถ้ายังมีอวิชชาอยู่ อกุศลทั้งหลายก็เจริญขึ้นแน่นอน แต่สภาพธรรมที่ตรงข้ามกับอวิชชาคือปัญญา ปัญญานำมาซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าพอใจหรือ ไม่ แน่นอน เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเลย ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด ไม่ว่าจะประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศล เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญารู้ว่าไม่สามารถที่จะละความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส โผฏฐัพพะได้ก็จริง แต่ก็อบรมเจริญปัญญาที่จะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นธรรมใดๆ ก็ตามเป็นอนัตตาทั้งหมด มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น แม้เพียงเข้าใจอย่างนี้เป็นกุศล เป็นประโยชน์ทั้งภพนี้ และภพหน้า ส่วนความเพลิดเพลินก็ยับยั้งไม่ได้ เมื่อมีปัจจัยก็เกิด แต่ก็รู้ว่าเป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายปัญญา และฝ่ายกุศล
ผู้ฟัง ในปัจจุบันสิ่งที่ล่อตา ล่อใจ จูงใจให้สนุกเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์เท่าไรก็มากมาย และคนส่วนมากก็หลง
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาก็รู้ความจริงว่ามากด้วยอวิชชา และโมหะแค่ไหน เพราะฉะนั้นจึงมีโทษมาก และคลายช้า จะละอวิชชาหรือคลายอวิชชาลง ทำได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่ด้วยปัญญาก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง สุจริต ๓ กาย วาจา ยังพอมีศีลจากการฟัง หรือจากการศึกษา แต่ทางใจ สุจริต ๓ ทางใจ การอบรมที่จะให้ละคลาย ขออาจารย์บรรยาให้ยาวๆ และก็ลึกซึ้งเพื่อที่จะอบรมให้เกิดสติ และสัมปชัญญะบ้าง
ท่านอาจารย์ กายสุจริต ๓ ทุกคนทราบแล้วไม่ต้องกล่าวถึง เว้นการฆ่าสัตว์ เว้นการถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ เว้นความประพฤติผิดในกาม เป็นอย่างนี้ใช่ไหมสำหรับผู้ที่ศึกษาธรรม จึงผ่านข้อนี้ไปได้เรื่องของกายสุจริต วจีสุจริต ๔ ไม่พูดสิ่งที่ไม่จริง ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ผ่านไหม วจีสุจริต ๔ แม้ว่าจะฟังธรรมแล้ว เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องปฏิบัติ ไม่ใช่หมายความว่าฟังวันนี้ ปฏิบัติวันนี้ได้ แต่เป็นเรื่องที่ค่อยๆ สะสมโดยเฉพาะคือต้องเข้าใจจริงๆ และก็เป็นผู้ที่ตรง และจริงใจต่อการที่จะประพฤติปฏิบัติตามด้วย ถ้าเป็นผู้ที่จริงใจต่อการที่ได้ฟังธรรม เห็นประโยชน์ว่าพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้ประโยชน์แก่คนที่ฟังทั้งหมดที่จะไม่ให้เกิดอกุศล เราก็เห็นว่าเราก็ควรที่จะน้อมนำที่จะมีวจีสุจริตด้วย บางกาลอาจจะเผลอหรือบางกาลอาจจะบ่อยๆ บางคนอาจจะคิดในใจแต่ยังไม่กล่าวออกมา บางคนคิดแล้วก็กล่าวทันที แต่ถ้าเห็นประโยชน์จริงๆ ของการที่จะรู้ว่าไม่ควรที่จะมีอกุศลถึงขั้นที่จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ขณะนั้นก็จะละเว้นทีละเล็กทีละน้อยก็ยังดี แต่สำหรับมโนสุจริตต้องทราบด้วย ถ้าไม่รู้ว่ามโนสุจริตคืออะไร แล้วเราก็พูดแต่ว่ามโนสุจริตแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร แล้วเราจะมีครบหรือมีได้อย่างไร
มโนสุจริต คือ ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของบุคคลอื่น ซึ่งก็เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่นแล้วก็เป็นประโยชน์กับตนเองด้วย การไม่พยาบาท ซึ่งแล้วแต่ว่าความโกรธของแต่ละคน โกรธแล้วจะฝังลึกแค่ไหน หรือว่าจะผูกไว้แน่น หลายวันมาแล้วก็ยังไม่ลืม ก็ยังคิดถึง แล้วก็ยังมีความคิดที่จะทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อนเพราะความโกรธของตัวเองด้วย นี่ก็เป็นสิ่งที่มองเห็นความน่ารังเกียจของอกุศลธรรมทั้งหมด แต่มโนสุจริตคือความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง นี่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเหตุว่าที่มีการกระทำต่างๆ ถูกบ้างผิดบ้างตามการสะสม ถ้าเป็นการสะสมของทางฝ่ายอกุศลก็เป็นไปในทางทุจริต ทั้ง กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แต่ถ้าเป็นผู้ที่สะสมมา ก็จะต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่ายังสะสมอะไรน้อย อาจจะสะสมการที่ไม่เพ่งเล็งอยากจะได้ของคนอื่น ไม่สะสมความที่จะพยาบาทเพราะว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน แม้ว่าคนอื่นจะทำกรรมที่ไม่ดีกับเรา แต่เรามีกรรมดี เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเดือดร้อนกับกรรมไม่ดีที่คนอื่นกระทำกับเรา เพราะว่าใครทำกรรมอย่างใดก็ได้อย่างนั้น แล้วเราจะไปคิดที่จะพยาบาทเบียดเบียนเขาไหม ในเมื่อรู้ว่าเขาต้องได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอน ซึ่งความพยาบาทไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเก็บให้มีมากๆ เพราะเหตุว่าเป็นทุกข์ในขณะที่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้นสำหรับความเห็นถูกต้องคือมโนสุจริต ถ้าไม่มีการฟังพระธรรม เราจะมีสุจริต ๓ เพียงบางส่วน แต่ขณะที่ได้ฟังพระธรรม ปัญญาจะทำให้เป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งชีวิตข้างหน้าให้เป็นไปตามความเข้าใจถูก แต่เป็นเรื่องที่มองเห็นอวิชชา และยากแสนยากเหลือเกินที่จะค่อยๆ ละคลายอวิชชาได้เพราะว่ามากจนกระทั่งไม่รู้เพราะปิดบัง
อ.ธิดารัตน์ ขณะที่มีโลภะมากๆ ก็จะรู้สึกว่าขณะนั้นเดือดร้อนไปกับลักษณะของโลภะ หรือแม้ขณะที่โทสะเกิด เดือดร้อนรำคาญใจ ขณะนั้นก็ไม่สงบ เพราะความฟุ้งซ่านตามที่ท่านอาจารย์กล่าว จะเหมือนกับเรื่องราวลักษณะของอุทธัจจะ ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่
ท่านอาจารย์ แต่ความจริงถ้ามีคนบอกว่าคนนี้เขาฟุ้งซ่าน เขากำลังพูดอะไร คิดอะไร แต่ถ้าพิจารณาจริงๆ ด้วยโลภะหรือโทสะ เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็ยังไม่ใช่โมหมูลจิตซึ่งไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วย ไม่มีโทสะเกิดร่วมด้วย แต่มีอุทธัจจเจตสิกทุกครั้งที่อกุศลจิตประเภทหนึ่งประเภทใดเกิด ด้วยเหตุนี้การที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ก็จะต้องพิจารณาไตร่ตรอง และรู้ว่าแม้ขณะนี้ที่กำลังนั่งอยู่ อกุศลก็เกิดสลับเพราะว่ามีการเห็น มีการได้ยิน แล้วถ้าปัญญาไม่เกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้น ขณะนั้นก็เป็นอกุศลได้ แต่ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะไปรู้ถึงความละเอียดของเจตสิกต่างๆ ซึ่งเกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นก็ยาก แล้วแต่ว่าเป็นผู้อบรมเจริญปัญญาเพื่อละ ถ้ามีคำนี้จริงว่า “อบรมเจริญปัญญาเพื่อละ” จะหวังไหมว่าจะรู้สภาพธรรมอะไร เพื่อละความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะปรากฏแล้วไม่รู้จึงอบรมเจริญปัญญาเพื่อละความไม่รู้ในสิ่งที่ปรากฏ โดยไม่หวังจะไปรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าผู้ที่จะรู้สภาพธรรมได้ทั้งหมดก็ต้องแล้วแต่ว่า ระดับการสะสมของปัญญาของผู้นั้นว่าสามารถที่จะประจักษ์แจ้ง รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมใด เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าสภาพธรรมนั้นยังไม่เกิด เมื่อยังไม่เกิด แล้วจะไปหวังจะไปรู้สิ่งที่ยังไม่เกิด ให้ปัญญารู้สิ่งที่ยังไม่เกิดนั้นเป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจถูกต้องว่าปัญญาจะเริ่มอบรมรู้ถูกเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ แม้แต่ขณะที่ฟังเรื่องราวของสภาพธรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป ก็ฟังเพื่อให้เข้าใจถูกต้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ความเป็นจริงของสภาพธรรม และสภาพธรรมนั้นก็มีปรากฏในชีวิตประจำวันจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็คือเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏโดยไม่หวัง เพราะว่าโลภะเป็นธรรมฝ่ายตรงกันข้ามกับปัญญา ถ้าขณะใดที่มีความต้องการ ขณะนั้น อย่างไรๆ ปัญญาก็ไม่สามารถไปรู้สิ่งที่ต้องการรู้ได้
อ.ธิดารัตน์ ก็ไม่ได้รู้ชัดลงไปว่าความไม่สงบตรงนั้นเกิดกับโมหมูลจิตหรือเกิดกับจิตประเภทใดเพราะจริงๆ จิตก็เกิดสลับกันมาก
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วลักษณะของสภาพธรรมใดก็เป็นสภาพธรรมนั้น ลักษณะของอุทธัจจเจตสิกไม่สงบ แต่ปัญญาที่กำลังรู้ลักษณะนั้นตามความเป็นจริง แล้วแต่ว่าลักษณะนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ปัญญาที่รู้สงบ นี่เป็นสิ่งที่จะต้องแยกจากกัน ตามที่คุณธิดารัตน์ใช้คำว่า “รู้ลักษณะของความไม่สงบ” จริงๆ แล้วรู้ลักษณะของอะไร สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้กำลังปรากฏ รู้ลักษณะของอะไร ที่จะกล่าวว่ารู้ลักษณะของความไม่สงบ
อ.ธิดารัตน์ ลักษณะของความไม่สงบเป็นลักษณะของนามธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลานี้กำลังเห็น มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นความไม่สงบหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ กำลังเห็น ก็ไม่ใช่ความสงบ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนี้ไม่มีความไม่สงบปรากฏ ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้นจะไปรู้ลักษณะของความไม่สงบก็ไม่ได้เพราะว่าไม่มีความไม่สงบ แล้วเวลาที่เกิดชอบในสิ่งที่กำลังปรากฏ ลักษณะของอะไรที่กำลังปรากฏให้รู้ได้
อ.ธิดารัตน์ โลภะปรากฏ
ท่านอาจารย์ โลภะปรากฏ แล้วจะไปรู้ลักษณะของความไม่สงบได้อย่างไร
อ.ธิดารัตน์ หมายถึงว่าต้องมีลักษณะของความไม่สงบปรากฏหรือ
ท่านอาจารย์ มิได้ ความสงบนี่ อกุศลทุกประเภทไม่สงบใช่ไหม เพราะฉะนั้นเวลาที่หลังจากที่เห็นแล้วเกิดชอบหรือเกิดไม่ชอบ ลักษณะใดกำลังปรากฏให้รู้สึกตัวว่าขณะนั้นเป็นอะไร
อ.ธิดารัตน์ อาจารย์กรุณายกตัวอย่างให้เห็นว่าในขณะที่โลภะเกิด ก็มีลักษณะของความไม่สงบอยู่ด้วย แต่ขณะนั้นลักษณะของโลภะปรากฏ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องหรือไม่ ทำให้รู้ว่าขณะนั้นเป็นโลภะ เป็นความติดข้อง ถ้าลักษณะของความติดข้องปรากฏ ก็เข้าใจในลักษณะนั้นว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นไม่มีการเจาะจงเลยที่ใครจะไปรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด แต่เมื่อมีสภาพธรรมใดเกิดปรากฏก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งความจริงเกิดดับเร็วมากจนใช้คำว่า “สังขารนิมิต” ใช้คำว่า “รูปนิมิต” ก็ได้ “สัททนิมิต” ก็ได้ “คันธนิมิต” ก็ได้ “รสนิมิต” ก็ได้ “โผฏฐัพพนิมิต” ก็ได้ “วิญญาณนิมิต” ก็ได้ นี่แสดงให้เห็นว่าเราเริ่มที่จะเข้าใจความจริงว่าขณะนี้ที่อวิชชาปิดบัง เพราะเหตุว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมากจนกระทั่งมีความทรงจำยึดมั่นว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วแต่ว่าถ้ามีการฟังพระธรรมก็รู้ว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่เที่ยง นี่คือปัญญาขั้นที่ฟัง แต่ปัญญาขั้นฟังไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นก็ต้องอบรม ค่อยๆ เข้าใจขึ้นตามลำดับ
อ.ธิดารัตน์ แสดงว่าในขณะที่โมหอุทธัจจสัมปยุตต์ ขณะนั้นโมหะนั้นเกิดร่วมกับอุทธัจจะ และก็มีลักษณะของอุทธัจจะปรากฏใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ลักษณะของความไม่รู้หรือลักษณะของอุทธัจจะ
อ.ธิดารัตน์ แยกไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน โมหะคือความไม่รู้ ขณะนี้รู้หรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ต้องลักษณะของโมหะปรากฏครั้งหนึ่ง และลักษณะของอุทธัจจะปรากฏอีกครั้งหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ยากไหมที่จะรู้ แม้ขณะนี้อกุศลก็ไม่ได้ประกอบด้วยโลภะ เพราะว่าสำหรับโลภมูลจิตเกิดร่วมกับความรู้สึกเฉยๆ ก็มี อุเบกขาเวทนา โมหมูลจิตก็เกิดร่วมกับความรู้สึกเฉยๆ อทุกขมสุขอุเบกขาเวทนา แล้ว ๒ อย่างต่างกันตรงไหน เป็นอกุศลทั้ง ๒ อย่าง
อ.ธิดารัตน์ ถ้าเป็นโมหะก็คือลักษณะของความไม่รู้ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เฉยๆ แต่มีโลภะเกิดร่วมด้วย กับ เฉยๆ และไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จักลักษณะของสภาพธรรมตรงลักษณะซึ่งปรากฏ กี่รอบไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย เกิดดับสืบต่อเร็วมาก แต่มีนิมิตที่จะทำให้รู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพของธรรมอะไร แล้วสติก็เริ่มคือรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้น คำว่า “รู้ตรง” สำหรับทวารอื่น อาจจะเริ่มจากทางกายก่อนซึ่งทุกคนก็คิดว่าก็มีลักษณะของรูปหยาบคือรูปอ่อนหรือแข็งที่กำลังปรากฏตามปกติในขณะนี้ ก่อนที่จะกล่าวเรื่องนี้ก็ไม่รู้ลักษณะที่อ่อนหรือแข็งที่กำลังปรากฏ แต่เมื่อกล่าวก็อาจจะทำให้มีปัจจัยที่รู้ลักษณะ ตรงลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เพียงเท่านั้นก็เป็นความต่างกันของขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติเกิด เพราะฉะนั้นบางคนถ้าฟังธรรมแล้วบอกว่าธรรมยาก ก็จริง ไม่ใช่ไม่ยาก สติปัฏฐานบางคนก็บอกว่ายิ่งยากกว่าธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ก็จริง แต่ว่าไม่พ้นวิสัยของความเข้าใจถูก ถ้ามีความเข้าใจถูกว่าถ้าเป็นสติสัมปชัญญะที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ต้องเป็นปกติ นี่แสดงให้เห็นว่าไม่มีตัวตนที่จะทำให้ผิดปกติ จึงสามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปกติเพราะเกิดแล้วเป็นอย่างนั้น ใครก็เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ปกติธรรมดาอย่างนี้ ไม่ได้มากมาย หรือยากถึงขณะที่ว่าจะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏที่แข็งไม่ได้ แต่ก็จะมีความต่างกันว่าด้วยความจงใจตั้งใจ หรือว่าด้วยการรู้ว่ากำลังมีลักษณะนั้นปรากฏ นี่คือความละเอียด เพราะฉะนั้นธรรมอยู่ที่ความละเอียด ถ้ามีความเข้าใจแล้วค่อยๆ เห็นความต่างกันของสภาพธรรมที่ปรากฏ แม้ว่ากำลังปรากฏว่าปรากฏโดยหลงลืมสติเพราะสติไม่ได้รู้ตรงลักษณะนั้น หรือปรากฏโดยไม่ได้หลงลืมเพราะสติกำลังรู้ตรงลักษณะนั้นแม้เพียงเล็กน้อย แต่ผู้นั้นก็จะรู้ว่าสาระทั้งหมดอยู่ที่การเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง สิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วทั้งวัน สนุกทั้งวัน ไม่เหลือเลย จะไปหาลักษณะนั้นกลับมารู้ไม่ได้ แต่ลักษณะของสิ่งที่มีจริงขณะนี้กำลังปรากฏให้รู้
เพราะฉะนั้นขณะใดที่กำลังรู้ลักษณะนั้น ถ้าปัญญาอบรมเจริญขึ้น ก็สามารถประจักษ์ทั้งการเกิดขึ้น และการดับไปของสภาพธรรมนั้น แต่เมื่อปัญญายังไม่ถึงระดับนั้นก็เพียงมีลักษณะนั้นปรากฏให้ค่อยๆ เริ่มเข้าใจในความเป็นจริงว่าก็เป็นเพียงแต่สภาพธรรมอย่างหนึ่ง และถ้าศึกษาเรื่องของจิตที่ผ่านมาแล้วก็จะทราบได้ว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังมีแข็งปรากฏ อย่างอื่นจะมีปรากฏด้วยไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราอยู่ที่ไหน แต่ถ้าไม่รู้อย่างนี้ เรากำลังนั่งอยู่แล้วก็รู้แข็ง กำลังยืนอยู่รู้แข็ง กำลังเดินอยู่รู้แข็ง ก็เป็นรูปทั้งหมดที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ แต่ว่าลักษณะของรูปไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นจะละคลายความยึดมั่นในรูปตั้งแต่ศรีษะจรดเท้าได้อย่างไร ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิดแล้วรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ แม้เพียงเล็กน้อย เพราะว่าขณะนั้นก็ดับแล้วเป็นเรื่องธรรมดา ที่จะเห็นประโยชน์ว่าในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีอะไรที่จะมีประโยชน์เท่ากับสติปัฏฐาน สังขารธรรมทั้งหลาย มรรคมีองค์ ๘ เป็นเลิศ เพราะสามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ และก็จะรู้จริงๆ สุข ทุกข์ ใดๆ ทั้งหมดที่ผ่านไปแล้ว และยังไม่เกิด ไม่มีความสำคัญเลยเพราะว่าถ้ามีเกิดขึ้นด้วยความไม่รู้ก็ผ่านไปหมด แต่สิ่งที่กำลังปรากฏให้ค่อยๆ อบรมความรู้ความเข้าใจถูกขึ้นนี้ก็เป็นสาระ
เพราะฉะนั้นก็ต้องไม่ลืมว่าพร้อมด้วยความละคลาย ไม่ใช่ความติด ถ้ามีการติดเมื่อไร ธรรมฝ่ายตรงกันข้ามกับปัญญามาทันที กั้นทันที แต่ถ้าเป็นปกติ และรู้ว่า"เห็น"ยังเกิดขึ้นได้ตามเหตุตามปัจจัย "ได้ยิน" ก็เกิดขึ้นได้ตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นสติปัฏฐานเมื่อมีปัจจัยจึงเกิดได้ ก็จะคลายความต้องการ โลภะก็ไม่สามารถที่จะมาทำให้ติดข้องที่จะต้องการผล หรือว่าต้องการที่จะทำ แต่ว่าเป็นการละตั้งแต่ขั้นฟัง และก็เป็นการละไปโดยตลอด ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ไม่มีเครื่องเนิ่นช้าเท่าที่มีหรือจะเป็นไปได้ตามกำลังของการสะสมของโลภะ อยากเมื่อไร ช้าเมื่อนั้น เพราะว่าขณะที่อยากไม่ใช่การรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ก็ไม่ต้องคิดเรื่องรู้อุทธัจจะ แล้วแต่อะไรจะปรากฏ
ผู้ฟัง รู้อารมณ์ที่นึกคิด ก็ห้ามไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ห้าม
ผู้ฟัง คือต้องนึกคิดอยู่ตลอด
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง มีปัจจัยก็ต้องคิด
ผู้ฟัง แล้วไปนึกคิดแต่สิ่งที่ไร้สาระ ไม่มีสาระ
ท่านอาจารย์ ก็ห้ามไม่ได้อีก
ผู้ฟัง เมื่อสติระลึกรู้ก็จะหายไป และก็เกิดใหม่อยู่อย่างนี้เป็นส่วนใหญ่
ท่านอาจารย์ นี่เป็นการศึกษาเรื่องราวของธรรม แต่ถ้าจะเข้าใจธรรมจริงๆ ก็คือว่าเป็นอนัตตา ศึกษาให้เข้าใจความเป็นอนัตตาว่า ถ้าเกิดคิดเป็นอกุศลมากมายก็ยับยั้งไม่ได้ แต่การศึกษาที่เข้าใจจริงๆ จะทำให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะที่คิด ที่สำคัญที่สุดก็คือ การอบรมความรู้ความเข้าใจถูกจากขั้นการฟังที่ถูกต้อง จะนำมาซึ่งหนทางอบรมเจริญปัญญาที่ถูกต้อง และการอบรมเจริญปัญญาที่ถูกต้องก็จะนำมาซึ่งการประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นปริยัติหรือการศึกษาธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องเข้าถึงอรรถ ไม่ใช่พยัญชนะ เพราะพยัญชนะพูดตามได้เหมือนกับเรียนภาษาหนึ่งภาษาใด แต่ อรรถ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ จะต้องรู้ว่าฟังเพื่อที่จะได้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ตามความเป็นจริงโดยสติสัมปชัญญะเกิด ถ้าหลงลืมสติ ขณะนั้นไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้ มีใครบ้างที่ไม่ได้คิดเป็นอกุศล ก็เหมือนกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาเข้าใจถูก อบรมสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นสติปัฏฐาน
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240