พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
ตอนที่ ๒๐๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ จิตที่เกิดทางใจสามารถที่จะรู้แข็งนั้นต่อจากทางกายทวาร เราก็รู้ไม่ได้แยกไม่ออกว่าขณะนี้ที่แข็งกำลังปรากฏเป็นกายทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี เพราะความรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นที่จะไปรู้ตทาลัมพนจิตต่อจากชวนะก็เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่จากการที่ตรัสรู้ และทรงแสดง ก็ทรงแสดงไว้ว่าสำหรับจิตที่ทำตทาลัมพนกิจคือกิจที่รู้อารมณ์ต่อจากชวนะ ถ้าเป็นรูปก็คือรูปนั้นยังไม่ได้ดับไป
ผู้ฟัง ตามได้ยินมาว่าถ้าเราคบคนไหน เรามักจะคล้อยไปตามคนนั้น แต่อย่างที่บ้านนี่อยู่กันมา ๑๗ – ๑๘ ปี แต่ละคนอย่างไรก็อย่างนั้น ไม่เห็นมีใครโอนเอนไปทางใครเลย
ท่านอาจารย์ เราคล้อยอะไรไปบ้างหรือไม่ถ้าไม่สังเกต รสอาหารคล้อยหรือไม่ อยู่บ้านหนึ่งรับประทานอาหารจืดๆ พอไปอีกบ้านหนึ่งก็มีรสมีชาติขึ้นมา มีเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และถ้าเราอยู่นานๆ เราจะเริ่มพอใจคล้อยตาม และพอใจในรสอาหารนั้นไหม หรือภาษาที่ใช้ ภาษาสมัยใหม่ คนหนึ่งพูดอีกกี่คนพูดตาม คล้อยไหม แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้ เพียงได้ยินบ่อยๆ ก็เริ่มใช้ตามแล้ว ตอนแรกก็ไม่ได้ใช้ ได้ยินบ่อยๆ เข้าก็ตามไป
อ.อรรณพ ประเด็นที่คุณหมอถามมา ก็คิดว่าการที่บางส่วนที่เราเปลี่ยนตามกลุ่มคนหรือสังคมที่เราอยู่นั้นตามที่ท่านอาจารย์อธิบายมาแล้ว แต่ถ้าบางอย่างที่เราไม่คล้อยตาม ก็หมายความว่าเราเคยสะสมสิ่งที่เราไม่ยอมเปลี่ยนมามากในอดีตด้วย ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นถึงความคุ้นเคย การคบหาสมาคม เช่น ท่านที่ได้ฟังธรรม ก็มาฟังบ่อยๆ คบหาสมาคมหรือไม่ แล้วก็มีความเห็นตามที่ได้ยินได้ฟังด้วยกันหรือไม่ ก็เป็นเรื่องหนึ่ง
อ.อรรณพ ก็เป็นไปกับตัวเองว่า เมื่อคุ้นเคยพวกนิสิตนักศึกษามากๆ ชวนไปรับประทานอาหารอะไรที่เป็นของในวัยเขา เมื่อเราทานไปเรื่อยๆ บางครั้งเราก็รู้สึกว่าเราชอบทานตามไปบางอย่างเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ทางรูปเรื่องรสอาหารยังเป็นอย่างนี้ แล้วทางความคิดเห็นก็ลองคิดดูว่าถ้าเราให้ความคิดเห็นมากๆ แล้วคนนั้นก็ไม่ได้พิจารณาก็อาจจะคล้อยตามไปตามความคิดเห็นได้ แต่ถ้าเป็นสัจธรรม ความจริง เป็นผู้ที่ไตร่ตรอง แล้วเราจะไม่คล้อยตามความเห็นผิด แต่ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ได้ไตร่ตรอง ได้ยินได้ฟังมาก็อาจจะเชื่อทันที ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นไม่สมควรแก่การจะเชื่อก็เป็นไปได้
ผู้ฟัง รูปมี ๔ สมุฏฐาน คือเกิดจาก อาหาร อุตุ จิต และ กรรม รูปที่เกิดจากจิต เช่นยักคิ้วหลิ่วตา หรืออาจจะยิ้มด้วย ไม่ทราบว่าจิตขณะนั้นอาจจะเป็นเพราะโลภมูลจิตหรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้ายิ้มขณะนั้นเวทนาเป็นอะไร ถ้ายิ้มมีความสุขใช่ไหม โสมนัสเป็นกุศลได้ไหม หรือเป็นอกุศลได้ไหม นี่ก็ตรง
ผู้ฟัง เวลาเราปวดท้อง ปวดศรีษะ เกิดทุกขเวทนา ไม่ทราบว่าทุกขเวทนาขณะนั้นเป็นวิบากจิตหรือว่าเป็นรูปที่เกิดจากจิต
ท่านอาจารย์ รูปเกิดจากกรรมก็ได้ ซึ่งถ้ารูปเกิดจากกรรม สมุฏฐานอื่นไม่สามารถจะทำให้รูปนั้นเกิดขึ้นได้เลย และยังมีรูปที่เกิดจากจิตแล้วก็เกิดปัจจัยที่จะทำให้วิบากเกิดได้ เช่นความเครียดที่คุณวรศักดิ์กล่าวถึง
ผู้ฟัง เครียด ปวดศรีษะ ปวดท้อง
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นจิตที่ทำให้รูปนั้นเกิดขึ้น ถูกต้องไหม จิตเป็นปัจจัยให้รูปเกิด แต่ทุกขเวทนาต้องเป็นอดีตกรรมที่ทำให้ทุกขเวทนานั้นเกิด
ผู้ฟัง วิบากจิตเป็นผลของอดีตกรรม ไม่ใช่เป็นผลจากความเครียดที่เรามี
ท่านอาจารย์ จิตทำให้เกิดรูป แล้วเวลาที่เวทนาเกิด ขณะนั้นก็ต้องเป็นวิบากจิตที่เกิดรู้อารมณ์นั้นทางกาย ทำให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นเมื่อเป็นอกุศลวิบาก ถ้าเครียดแล้วเกิดหลับได้หรือไม่
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ แล้วขณะนั้นก็ยังเครียด รูปที่เกิดจากจิตก็ยังมี แต่ว่าวิบากไม่ได้เกิดขึ้น อย่างคนที่กำลังเป็นโรคชนิดหนึ่ง แล้วก็ยังไม่ได้หาย โรคนั้นจะเกิดจากอะไรก็ตามแต่ จะเกิดจากจิต จะเกิดจากอุตุ จะเกิดจากกรรม จะเกิดจากอาหารก็ตาม แต่ขณะที่หลับสนิทโรคนั้นก็ยังมีอยู่ ไม่ได้หายไป แต่ว่าวิบากจิตไม่ได้เกิดขึ้นมีความรู้สึกในรูปนั้นโดยความเป็นทุกข์
ผู้ฟัง เวทนาที่เกิดทางกายไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อกรรมให้ผลเท่านั้น
ท่านอาจารย์ เมื่อถึงกาลที่จะให้ผลก็เกิดขึ้น
ผู้ฟัง จิตที่ทำกิจตทาลัมพนะ เวทนาก็จะเป็นลักษณะตามจิตนั้นๆ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ในบุคคลคนหนี่งจะมีจิตหลายประเภทที่ทำกิจตทาลัมพนะหรือไม่
ท่านอาจารย์ หมายความว่าคนหนึ่งจะมีตทาลัมพนจิตได้กี่ประเภทใช่ไหม
ผู้ฟัง มีจิตที่ทำกิจตทาลัมพนะได้กี่ประเภท
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่บุคคล ถ้าเป็นคนที่เป็นบุคคลผู้เลิศ ก็จะมีตทาลัมพนะครบ ๑๑ ได้ อย่างสัตว์เดรัจฉานจะให้มหาวิบากไปทำตทาลัมพนกิจได้ไหม แล้วคนที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย จะให้มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ไปทำตทาลัมพนกิจต่อจากชวนะได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าชวนะนั้นจะมีตทาลัมพนะเกิดจะต้องเป็นวิถีทางปัญจทวารเท่านั้น
ท่านอาจารย์ เมื่อรูปนั้นยังไม่ได้ดับ แล้วทางมโนทวารก็เกิดต่อได้ในอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ นี่เราจะไปรู้อะไร เราจะไปจำชื่อหรือว่าเราจะทำอะไร หรือเราจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมซึ่งใครรู้ ใครแสดง ใครสอน และใครรู้ได้ เพราะว่าสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้แล้วก็ยังไม่รู้
อ.วิชัย ตทาลัมพนะจะเกิดได้ ก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่ปรากฏ เช่นทางปัญจทวาร ถ้ารูปยังไม่ดับ ปกติรูปที่เป็นสภาวรูป เว้นวิญญัติ และลักขณรูป จะมีอายุ ๑๗ ขณะจิต เมื่อมีอารมณ์มา กระทบกับปสาทรูป ขณะนั้นก็ตั้งว่าเป็นอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ และก็มีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรำพึงนึกถึงอารมณ์นั้น เรื่อยไป (โดยมีจิตเกิดขึ้น) คือ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ และตทาลัมพนะ เพราะเหตุว่ารูปนั้นยังมีอายุเหลืออยู่ ก็เป็นปัจจัยให้กรรมให้ผลเป็นตทาลัมพนะเกิดขึ้น ส่วนทางมโนทวารถ้าเป็นอารมณ์ที่ชัดเจน ทางมโนทวารจะมี ๒ วาระด้วยกันก็คือชวนวาระกับตทาลัมพนวาระ ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนก็เป็นปัจจัยให้ตทาลัมพนะเกิดด้วย ถ้าอารมณ์ไม่ชัดเจนก็เป็นแค่ถึงชวนวาระเท่านั้น ในส่วนของตทาลัมพนะที่จะเกิดต้องเป็นบุคคลที่เป็นกามบุคคลคือบุคคลนั้นปฏิสนธิในกามภูมิ สำหรับบุคคลที่เป็นพรหม อรูปพรหมก็จะไม่มีตทาลัมพนะเกิด ส่วนอารมณ์ก็ต้องเป็นกามอารมณ์เท่านั้นถึงจะมีตทาลัมพนะเกิดได้
ผู้ฟัง ปกตูนิสสยปัจจัยมีกี่นัยโดยขณะจิต และโดยวิถีจิต
อ.วิชัย ปกตูนิสสยปัจจัยก็หมายถึงว่าผลที่จะเกิดก็ต้องอาศัยธรรมนี้จึงจะเกิดได้ เช่นยกตัวอย่างอกุศลธรรม เมื่อเกิด ถ้าไม่มีอวิชชาก่อนๆ อกุศลธรรมหลังๆ จะมีได้ไหม แสดงว่าอวิชชาก่อนๆ เป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมภายหลังเกิดขึ้นได้โดยปกตูนิสสยปัจจัย หมายถึงอกุศลธรรมอาศัยอวิชชาก่อนๆ จึงเกิดขึ้น ถ้าไม่มีอวิชชา อกุศลธรรมก็ไม่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง จักขุวิญญาณเป็นปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะจิตเกิดโดยเป็นปกตูนิสสยปัจจัยได้ไหม
อ.วิชัย จักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่สัมปฏิจฉันนะ ไม่ได้เป็นโดยปกตูปนิสสยปัจจัย แต่เป็นโดยความเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย เพราะเป็นปัจจัยโดยไม่มีระหว่างคั่น ฉะนั้นโดยลักษณะของปกตูปนิสสยปัจจัยจะไม่เป็นปัจจัยโดยลักษณะของความไม่มีระหว่างคั่น เพราะว่าอุปนิสสยปัจจัยจะมี ๓ อย่างโดยความเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย อานันตรูปนิสสยปัจจัย และปกตูนิสสยปัจจัย ทั้ง ๓ ปัจจัยนี้จะไม่ระคนกัน คือจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้าเป็นโดยความเป็นอนันตรปัจจัยแล้วก็จะไม่เป็นปกตูนิสสยปัจจัย
ผู้ฟัง สงสัยว่าตทาลัมพนะเกิดหลังจากชวนะที่เกิดซึ่งโดยจิตที่ทำกิจชวนะก็จะต้องเป็นกุศล และอกุศล แต่ตทาลัมพนะเป็นวิบากที่เกิดสืบต่อจากชวนะ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ถ้าเป็นชวนะที่เป็นกุศล วิบากตทาลัมพนะก็ต้องเป็นกุศลหรือว่าไม่จำเป็น
ท่านอาจารย์ ที่จริงพอจะตอบได้ก็จริง แต่สมควรแก่การที่จะสนใจที่จะรู้หรือไม่ เพราะว่าถึงแม้ว่าจะมีอยู่ในตำรา ก็ไม่ได้หมายความว่าตำรานั้นจะทำให้เราเข้าถึงลักษณะนั้นโดยการเพียงคิดหรือไตร่ตรอง ทำไมตทาลัมพนะจึงมีถึง ๑๑ นี่ก็น่าคิดใช่ไหม ตรงกับคำถามของคุณสุกัญญา แต่ว่าเราจะรู้จริงๆ ได้เมื่อไร ถ้าเราเป็นมนุษย์ เราก็สามารถที่จะมีตทาลัมพนจิตได้ครบทั้ง ๑๑ และเวลาที่อกุศลชวนะเกิด ตทาลัมพนะที่เกิดต่อจะเป็นอะไร ถ้าตำราไม่บอก แล้วเราคิดเองจะเป็นอย่างไร
อ.อรรณพ เราศึกษาพระอภิธรรมเพื่อที่จะให้เรามีความมั่นคง หรือความไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรม ความเป็นไปของรูปที่เป็นอารมณ์ยังมีอยู่ วิถีจิตก็ต้องเกิดไปจนถึงตทาลัมพนวาระ นั่นก็คือเป็นความเป็นไป และส่วนทางมโนทวารนั้น ถ้าอารมณ์ทางมโนทวารเป็นปรมัตถ์ทางอารมณ์ก็มีโอกาสที่หลังชวนะทางมโนทวารเกิด บุคคลนั้นสามารถที่จะมีวิบากจิตเกิดขึ้นทำกิจตทาลัมพนะได้ตามสมควรกับปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้น การได้สนทนาเรื่องจักร ๔ อะไรเหล่านี้ ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลเกิด
อ.ธีรพันธ์ จักร ๔ คือล้อที่หมุนสู่ความเจริญก็ได้แก่การอยู่ในประเทศที่สมควร ๑ การคบสัตบุรุษ ๑ การตั้งต้นไว้ชอบ ๑ และความเป็นผู้มีบุญอันผู้ทำไว้แล้วแต่ปางก่อน ๑ การอยู่ในประเทศที่สมควรอยู่ในประเทศที่มีพระธรรมคำสั่งสอนยังดำรงอยู่ ยังมีการศึกษา มีการสนทนา มีพุทธบริษัท คบสัตบุรุษ คบผู้ที่มีความเห็นถูก สัตบุรุษก็มีหลายระดับ สูงสุดก็คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยินได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป ความเป็นผู้มีศรัทธา ไม่ประมาทในการเจริญกุศล ถ้าไม่มีการตั้งต้นไว้ชอบ โอกาสที่กุศลจะเจริญ อย่าว่าแต่เกิดเลยก็เกิดยาก เรื่องเจริญยังไม่ต้องกล่าวถึง อีกประการหนึ่งก็คือความเป็นผู้ได้สั่งสมบุญไว้ในปางก่อน สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญ แม้ในขณะที่ท่านมาศึกษาธรรมหรือว่ามาเจริญกุศลในแต่ละวันๆ ก็เป็นบุญในปางก่อนของชาติหน้า เพราะฉะนั้นความเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ในชาติปางก่อนก็เป็นล้อหมุนให้มาคบสัตบุรุษ อยู่ในประเทศที่สมควร และมีการตั้งต้นไว้ชอบ
คุณอุไรวรรณ การที่ได้มาฟังธรรมตอนนี้ ก็เป็นการสั่งสมบุญไว้ในชาติต่อไป ไม่ถ้าจะกล่าวโดยนัยกลับกัน การที่เราได้มาฟังธรรมในวันนี้เป็นเพราะเราได้สั่งสมบุญไว้ในกาลก่อนในอดีตชาตินี่ได้ไหม
อ.อรรณพ แน่นอนที่สุด ถ้าไม่มีการสะสมบุญไว้ แค่ว่าจะมาเกิดเป็นมนุษย์ก็คงไม่ได้ แม้ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดในถิ่นที่ไม่มีการศึกษาธรรม ไม่มีศีลธรรมเลย เพราะฉะนั้นความวิจิตรของกรรม ก็ยังให้เกิดในถิ่นที่สมควรที่จะมีโอกาสศึกษาธรรมด้วย คือบางคนก็มีความเข้าใจผิดไปอีกอย่างหนึ่งว่าในเมื่อทุกอย่างเป็นผลของกรรมในอดีต ก็ไม่ต้องขวนขวายอะไร นั่นก็คือยังไม่เข้าใจธรรมโดยตลอด เพราะไม่ใช่เพียงแค่มีเรื่องของกัมมปัจจัย วิปากปัจจัยเท่านั้น ก็ยังมีสภาพธรรมปัจจัยหลายอย่าง ถ้าไม่มีการสะสมอุปนิสัยในการฟังธรรมมา แม้จะเกิดในประเทศอันสมควร แต่ก็เป็นผู้ที่มีความเห็นผิด ได้มีโอกาสมาพบพระบรมศาสดาก็กลับเป็นผู้ที่มีแต่ความเห็นผิดประกอบกรรมถึงขั้นอนันตริยกรรมก็มีมากมาย
ผู้ฟัง กุศลที่เป็นญาณวิปยุตต์ก็เป็นโยนิโสเหมือนกันหรือไม่
อ.วิชัย กุศลทั้งหมด
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นโยนิโสมนิการก็ต้องมีระดับ
อ.วิชัย คือเรากล่าวโดยความที่เป็นเหตุให้เกิดกุศล ดังนั้นขณะที่เป็นกุศล ขณะนั้นก็ต้องเป็นโยนิโสมนสิการโดยไม่กล่าวว่าเป็นกุศลขั้นใด
ผู้ฟัง โยนิโสมนสิการเป็นมโนทวาราวัชชนจิตใช่หรือไม่
อ.อรรณพ มนสิการมี ๓ คือ วิถีปฏิปาทกมนสิการนั่นคือปัญจทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกทางปัญจทวาร เช่น วิถีจิตทางตามีจักขุทวาราวัชชนจิตเป็นจิตขณะแรกของวิถีจิตทางตา ส่วนมโนทวาราวัชชนจิตซึ่งจะทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวารก่อนที่ชวนจิตทางปัญจทวารจะเกิด และกระทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารก่อนที่ชวนจิตทางมโนทวารจะเกิด เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตเป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ เป็นมนสิการที่กระทำทางให้ชวนจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวารหรือทางมโนทวารก็ตาม ส่วนมนสิการเจตสิกนั้นเป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกประเภท ทุกชาติ ทุกระดับ มนสิการเจตสิกนั้นเป็นสภาพเจตสิกกระทำหน้าที่ใส่ใจในอารมณ์ ถ้าไม่มีมนสิการเจตสิก จิตก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ได้เลย นั่นคือมนสิการ ๓ โดยนัยพระอภิธรรม แต่ที่เรากล่าวถึงโยนิโสมนสิการ อโยนิโสมนสิการ นี้เป็นอีกนัยหนึ่ง ถ้าทั้งจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกันในขณะนั้นเป็นกุศลชาติ เป็นกุศลธรรมก็เป็นโยนิโสมนสิการโดยนัยพระสูตร
ผู้ฟัง ขอถามอย่างไรเป็นอลคัททูปมาปริยัติ
อ.วิชัย อลคัททูปมาปริยัติก็คือศึกษาแล้วก็เกิดความสำคัญตนว่ามีความรู้มาก ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในพระเถระต่างๆ ศึกษาเพื่ออาจจะไปอวดตัวหรือว่ากล่าวข่มคนอื่น สิ่งนี้ก็คือการศึกษาไม่ถูกต้อง เพราะที่ถูกก็คือเพื่อถึงปฏิปัตติ เป็นไปเพื่อปฏิบัติธรรม สิ่งนี้คือเป็นนิสสรณัตถปริยัติ คือ เป็นที่พึ่งเพื่อให้อบรมเจริญปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ฟัง คนถูกรางวัล ๗๐ ล้าน เขาก็มีบุญ ขณะเดียวกันเขาก็ดีใจจนเขาช๊อคตายไป อย่างนี้เรียกว่าเขามีบุญหรือมีกรรม
อ.อรรณพ กุศลวิบากจะต้องเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ผู้ที่มีกุศลกรรมที่สะสมมามาก บางคนเกิดบนกองเงินกองทอง หรือบางคนเกิดมาที่ท่านมีบุญมาก ขุมทรัพย์เกิดขึ้น แต่ขณะนั้นก็ยังไม่ได้รับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย สมบัติที่ได้มานั้นเพื่อที่จะรองรับช่วยเสริมให้ได้รับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นกุศลวิบากมากขึ้น เต็มที่ขึ้น แต่ถ้าสมมติเขาดีใจแล้วเขาก็ช๊อคสิ้นชีวิตไป ก็ไม่ได้รับผลของสิ่งที่เขาได้มานั้น เขาอาจจะหมดกรรมที่เป็นมนุษย์ หรือมีกรรมอื่นมาตัดรอนที่ทำให้เขาต้องสิ้นชีวิตไป กรรมคือเจตนาเจตสิกซึ่งถ้าสำเร็จเป็นกรรมบทแล้ว สามารถให้ผลเป็นวิบากได้ คือจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ถ้าเราไม่พูดถึงรายละเอียดตทาลัมพนะอะไรพวกนั้น อย่างเช่นผู้ที่เป็นคนทำงานในบ้าน เป็นแม่บ้าน บ้านที่อยู่ก็ไม่ใช่บ้านเขา แต่เขาก็ได้รับความสะดวกสบายมากกว่าผู้ที่ต้องออกไปทำงานข้างนอกซึ่งเป็นเจ้าของบ้านด้วยซ้ำไป แต่ถ้าเราจะกล่าวโดยทั่วไปสำหรับผู้ที่มีกุศลกรรมมาก ก็ย่อมที่จะมีทรัพย์สมบัติมาก แต่รูปเหล่านั้นก็เป็นรูปที่เกิดจากอุตุซึ่งมีกรรมเป็นปัจจัย
ผู้ฟัง เคยอ่านพบในหนังสือพิมพ์ มีผู้ชายคนหนึ่งเขาก็ไปทอดแห แล้วก็สาวแหขึ้นมา เขาก็ปลดปลา ปลดตัวแรก เขาก็เอาไปคาบไว้ที่ปาก แล้วก็จะปลดตัวที่สองต่อ ตัวที่คาบไว้ที่ปากก็ดิ้น คงเป็นเมือกลื่นๆ ปลาก็หลุดเข้าไปในคอ และไปค้างอยู่ที่คอ ก็ติดคอตาย อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นกรรมเหมือนกันใช่ไหม
อ.อรรณพ กรรมคือเจตนา นี่คือผลของอกุศลเจตนาที่เคยทำมาแล้วคือผลของอกุศลกรรมเป็นอกุศลวิบากที่ทำให้เขาได้รับทุกข์ทางกายอย่างนั้น
ผู้ฟัง รับผลของกรรมเป็นเรื่องราว หรือเป็นเรื่องปรมัตถธรรม ช่วยอธิบายตรงนี้
อ.วิชัย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยนัยพระสูตรก็จะกล่าวถึงเรื่องของบุคคลที่ได้รับผลของกรรมต่างๆ ผู้ฟังเข้าใจได้ แต่พระองค์ก็ทรงแสดงในส่วนที่ละเอียดขึ้นไปว่าจริงๆ ผลของกรรมจริงๆ ก็ได้แก่นามธรรมที่เป็นชาติวิบาก และรูปที่เป็นกัมมชรูปคือเป็นผลของกรรม
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ ในพระสูตรว่าธรรม ๒ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นไปเพื่อละอกุศลธรรมประการต่างๆ คือเป็นผู้มีกัลยาณมิตร และเป็นผู้ว่าง่าย ฉะนั้นความเป็นผู้ว่าง่ายคล้ายๆ ว่าจะเชื่อทุกอย่างหรือไม่
ท่านอาจารย์ ความเป็นผู้ว่าง่ายไม่ใช่เป็นผู้เชื่อง่าย คนละอย่าง ถ้าใครเตือนในสิ่งที่ดี และเราสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตามได้ทันทีในสิ่งที่ดี ในสิ่งที่ถูกต้อง นั้นคือว่าง่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าใครบอกให้ทำอะไร เราก็ทำโดยที่ว่าไม่มีเหตุผล อย่างนั้นจะบอกว่าเป็นผู้ว่ายากจะดีกว่าเพราะว่าสิ่งนั้นไม่มีเหตุผล ว่าง่ายคือไม่ใช่เชื่อง่าย แต่เป็นผู้ที่พร้อมที่จะประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง
อ.วิชัย คือบางครั้งบุคคลที่กล่าวไม่มีความเข้าใจเพียงพอในสิ่งนั้นคือไม่แน่ใจว่าจะเชื่อหรือไม่
ท่านอาจารย์ สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่เรามักจะได้ยินคือการชักชวนให้ทำอย่างนั้นบ้างอย่างนี้บ้าง แต่สำหรับเราเอง เรามีความเข้าใจถูก ความเห็นถูกในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังหรือในสิ่งที่ชักชวนหรือยัง เพราะฉะนั้นเรื่องความเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยกตัวอย่างเรื่องศีล นอกพระศาสนาก็มี ใช่ไหม แล้วก็อาจจะชักชวนกันให้ประพฤติตามก็ได้ แต่ว่าเรามีความเข้าใจในเหตุในผลนั้นอย่างไร ถ้าเพียงแต่บอกว่าฆ่าสัตว์ไม่ดี ทุกคนเห็นด้วย และไม่ฆ่า แต่ผู้ที่สามารถที่จะเข้าใจมากกว่านั้นอีกถึงเหตุ และผล และถึงสภาพธรรมขณะนั้นซึ่งไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมที่ดี เกิดขึ้น บังคับบัญชาไม่ได้ ทำไมบางกาลเราทำสิ่งที่เราก็รู้ว่าไม่ดี อย่างบางครั้งก็จะมีการฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยโดยที่ว่าก็รู้ว่าเป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อย แต่ทำไมบางคนก็ยับยั้งไม่ได้ มดตัวเล็กๆ นี่รู้สึกว่าจะเสียเวลาที่จะช่วยขึ้นมาจากน้ำหรืออะไรอย่างนี้ หรือว่าจะปัดไปอย่างแรง และเร็วเพราะว่าไม่มีเวลา ก็เป็นอัธยาศัยของแต่ละบุคคล ซึ่งทำให้เราเข้าใจธรรมละเอียดขึ้นว่าธรรมเป็นธรรม เพราะฉะนั้นสำหรับในกาลที่จะถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ กับการมีศีลโดยไม่มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะนี่ก็ต้องต่างกัน ถ้าเป็นคนที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วย ก็จะทำให้มีความเข้าใจในธรรม แล้วก็รู้ว่าขณะนั้นก็ไม่ใช่เราที่รักษาศีล ไม่ใช่รักษาศีลเพราะต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งคนธรรมดาไม่มีเหตุผลเลย ไม่ได้มีความเข้าใจเลย อาจจะเหตุผลหนึ่งคือรักษาตามๆ กันไป อย่างในบางกาล บางเทศกาลก็มีการชักชวนกันที่จะให้รักษาศีล ๘ นุ่งขาวห่มขาว แต่ว่าในขณะนั้นอกุศลมากเหลือเกิน เพราะเหตุว่าไม่มีความรู้ความเข้าใจในขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ แต่ก็มีศรัทธาชั่วขณะที่ถูกชักชวนให้ไปรักษาศีล ๘ และก็เห็นว่าศีล ๘ นี้ก็ดีทั้ง ๘ ข้อ ก็ไปรักษา แต่ผลคือขณะนั้นได้อะไร
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240