พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
ตอนที่ ๒๑๙
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ แม้โลภะจะเกิดก็ในสิ่งที่ถึงแล้ว มีแล้วตามกรรมที่ได้กระทำ สิ่งนี้ก็จะทำให้เป็นผู้ที่มั่นคงในเรื่องของกุศล และความพอใจนั้นก็จะเป็นไปตามการสะสมที่ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ว่าตราบใดที่ยังไม่ได้ดับโลภะ โลภะก็มี แต่เป็นระดับที่ไม่ใช่เหมือนกับเวลาที่ไม่มีความเข้าใจธรรม
ผู้ฟัง สภาพระลึกกับสภาพนึกคิด
ท่านอาจารย์ ที่คุณสุกัญญาสงสัยเป็นเรื่องของคำที่อาจจะได้ยินได้ฟังคือ สติเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่ง ที่ใช้คำนี้แล้วก็แปลออกมาว่าเป็นสภาพที่ระลึกได้แต่ต้องเป็นไปในกุศล เพราะว่าการคิดนึกของเรา เราคิดถึงอดีตได้ด้วยความเพลิดเพลิน หรือด้วยความขุ่นข้อง ขณะนั้นเป็นลักษณะของเจตสิกที่ไม่ใช่สติเจตสิก แต่ถ้าสติเจตสิกเกิดขณะใด จิตขณะนั้นเป็นโสภณ เป็นจิตที่ดี เป็นจิตที่ดีงาม เพราะฉะนั้นก็จะแยกจิต คือ จิตที่ไม่ดีกับจิตที่ดี ถ้าจิตฝ่ายดีจะต้องมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายประเภทจึงสามารถที่จะเป็นโสภณจิตได้ ไม่ใช่เฉพาะสติเจตสิกเท่านั้น แต่เวลาที่จิตฝ่ายดีเกิดจะขาดสติเจตสิกไม่ได้ ตามกำลังว่าจิตขณะนั้นเป็นจิตประเภทใด คือ เป็นจิตประเภทฝ่ายดีขั้นทาน หรือขั้นศีล หรือขั้นฟังธรรม หรือขั้นเข้าใจธรรม หรือขั้นประจักษ์แจ้งของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นที่แปลว่าระลึก จริงๆ แล้วภาษาไทยจะใช้คำที่ยากที่จะเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรม หรือแม้แต่ภาษาหนึ่งภาษาใดนอกจากภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม แต่ต้องเป็นผู้ฟังที่เข้าถึงอรรถของคำนั้น ไม่ใช่เพียงแต่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร ถ้าเพียงรู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร เช่น สติ ถ้าแปลว่าระลึกแล้วจะเข้าใจได้อย่างไรว่าขณะไหนเป็นสติ เพราะว่ามีการระลึกหลายอย่าง แต่ถ้าเป็นสติก็คือขณะนั้นเกิดขึ้น ระลึกคือเป็นไปในทานที่เป็นกุศลทั้งหมด เป็นไปในศีล เป็นไปในความสงบของจิต เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา เช่น การฟังธรรมเข้าใจ ขณะนั้นสติเจตสิกก็เกิด ขณะที่แม้ไม่ได้ฟังแต่นึกถึงธรรมไตร่ตรองด้วยความเข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นสติที่ใช้คำว่า “ระลึก” คือเป็นไปในกุศลหรือว่าในธรรมฝ่ายดีงาม แต่สติที่บอกว่าเป็นสติปัฏฐาน ใช้คำว่าระลึกเป็นไปในกาย ขณะนี้มีกาย เป็นไปในเวทนา ขณะนี้มีความรู้สึก เป็นไปในจิต ขณะนี้มีจิต เป็นไปในธรรม ขณะนี้มีธรรม ขณะที่ฟังเป็นสติขั้นฟัง หรือว่าเป็นสติขั้นระลึกเป็นไปในกาย ระลึกเป็นไปในกายไม่ได้แปลว่าคิดถึงเรื่องกาย แต่หมายความว่าที่กายมีสภาพธรรมที่ยึดถือว่าเป็นเราหรือว่าเป็นกายของเรา
เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน คือ ขณะที่กำลังรู้ตรงลักษณะ ที่ใช้คำว่า “ระลึก” เพราะเหตุว่าไม่ได้เป็นไปกับเรื่องราว แล้วไม่ใช่ระลึกเป็นคำ แต่ว่าระลึกเพราะเหตุว่ามีการเข้าใจจากขั้นการฟัง ทำให้สตินั้นเกิดขึ้นรู้ตรงลักษณะนั้น คือระลึกหรือรู้ตรงลักษณะที่เป็นกายหรือว่าเป็นจิต หรือว่าเป็นธรรม หรือว่าเป็นความรู้สึก เพราะฉะนั้นก็เป็นความเข้าใจ “คำ” คำเดียวที่ใช้คำว่า “สติ” แต่จะต้องรู้อรรถของสติว่าเป็นธรรมฝ่ายดี และสติก็มีหลายขั้น ตั้งแต่ขั้นเป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในความสงบของจิต และเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา
อ.วิชัย ตอนช่วงต้นๆ ท่านอาจารย์ได้ถามว่ารู้แข็งว่าเป็นแข็งหรือว่าเป็นธรรม สงสัยว่าการรู้แข็งว่าเป็นแข็งจะมีความต่างกันกับรู้แข็งว่าเป็นธรรมไหม ตอนแรกก็เข้าใจว่าท่านอาจารย์ให้เน้นถึงว่ารู้แข็งโดยความเป็นแข็ง ก็ยังมีความเป็นตัวตนได้ในการที่จะยึดถือว่าแข็งนั้นเป็นเรา แต่ถ้ารู้ว่าเป็นธรรมนี่ก็รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้จะเข้าใจถูกหรือไม่
ท่านอาจารย์ แข็งเป็นสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ทางกาย แน่นอนมีการกระทบทางกายเมื่อไรแข็งก็ปรากฏ ก็อาจจะเป็นอ่อน เป็นเย็น เป็นร้อน เป็นตึง เป็นไหวซึ่งเป็นปกติ เพราะฉะนั้นทุกคนก็จะรู้แข็งเมื่อกายวิญญาณเกิดขึ้น และแข็งกำลังปรากฏ แต่ที่จะมีความเข้าใจถูก เห็นถูกว่าแข็งเป็นแต่ลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น ขณะที่กำลังรู้ตรงแข็ง และเข้าใจถูกอย่างนี้ ขณะนั้นก็เข้าถึงความเป็นธรรมของแข็ง เพราะว่าขณะนี้แข็งก็กำลังปรากฏ แต่ก็มีเห็น มีได้ยินด้วย ไม่ใช่มีการรู้ตรงแข็งซึ่งเป็นลักษณะหนึ่ง เพราะฉะนั้นสภาพธรรมไม่เปลี่ยนเลย แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาที่สามารถเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของแข็ง หรือในลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เป็นเราหรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพราะว่ากำลังมีลักษณะของธรรมนั้นๆ ปรากฏให้รู้ถูก ให้เข้าใจถูก และปัญญาสามารถที่จะประจักษ์การเกิดดับของแข็งนั้นด้วย เมื่อถึงกาลที่ได้อบรมแล้ว สภาพธรรมทั้งหมดคงทนต่อการพิสูจน์ มิฉะนั้นจะไม่มีวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญญาต่างขั้นต่างระดับว่าถ้าเป็น นามรูปปริจเฉทญาณไม่ใช่อุทยัพพยญาณ เพราะฉะนั้นความรู้ต่างกัน นี้ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ขั้นเริ่มต้นที่เรากำลังรู้แข็ง ขณะนั้นเป็นความเข้าใจถูก เห็นถูกด้วยหรือไม่ในความเป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เริ่มค่อยๆ ชินกับลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งกำลังปรากฏ แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกคือรู้ตรงนั้น ลักษณะนั้นหรือว่าไม่ได้รู้ตรงนั้น แต่ว่าเริ่มระลึกรู้บ้าง แต่ว่าขณะนั้นต้องมีปัญญาที่รู้ว่าขณะที่หลงลืมสตินั้นเป็นอย่างหนึ่ง และขณะที่สติเกิดก็เป็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งแข็งไม่เปลี่ยน แต่ว่าความรู้ต่างกัน คือความรู้ของกายวิญญาณคือรู้เพียงแข็ง และก็ไม่รู้อะไรมากกว่านั้นเลย ก็แค่รู้แข็ง แต่รู้ว่าแข็งเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งจากการที่ได้ฟัง และสิ่งที่ได้ฟังก็ไม่ได้สูญหายไปไหนสะสมสืบต่อจนกระทั่งสามารถเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจในความเป็นธรรมของลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏพร้อมสติ
ผู้ฟัง ธรรมนี้บอกว่าธรรมมีอุปการะมาก แม้ว่าเราใช้สติเพราะอุปการะแก่ตัวเอง ถ้าไม่มีสติก็หมายความว่า
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ ตื่นมาแล้วเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ ใช้สติตอนไหน
ผู้ฟัง ใช้สติตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตอนที่นอนหลับยังไม่ใช่สติ
ท่านอาจารย์ ใช้ทั้งวัน
ผู้ฟัง ใช้กลางคืน ปกติผมจะสวดมนต์บ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่เมื่อเช้าผมไม่ได้สวด
ท่านอาจารย์ คงเป็นเรื่องคิดเอง
ผู้ฟัง ก็เอาธรรมนี้มาคิดด้วยว่าธรรมมีอุปการะมาก มีอุปการะอย่างไร ก็อุปการะที่ว่าต้องใช้สติที่ว่าเราจะทำอะไรต้องระมัดระวัง
อ.ธิดารัตน์ การศึกษาธรรมโดยละเอียดก็จะทำให้เข้าใจว่าแม้ว่าสติหรือสัมปชัญญะจะเกิดกับจิตประเภทไหนได้ ก็จะต้องเป็นประเภทที่เป็นกุศลจิต ถ้าเป็นกุศลจิตก็จะต้องมีโสภณธรรมอื่นๆ อย่างเช่นศรัทธา ความผ่องใส ขณะที่เราคิดว่าเป็นกุศล ขณะนั้นจิตผ่องใสไหม ก็จะทำให้ไม่เข้าใจคลาดเคลื่อน เราลืมตาตื่นขึ้นมา ความยินดีพอใจในสิ่งที่เห็นมีแล้วโดยปกติ การที่จะมีกุศลเกิดตลอด หรือว่ามีสติเกิดตลอดยังไม่ใช่วิสัยของปุถุชนๆ หรือผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสปกติก็จะต้องมีกิเลส ไม่ว่าจะเป็นการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส กลิ่นต่างๆ ความยินดีพอใจในสิ่งที่เห็นที่ได้ยินเริ่มปรากฏแล้ว โลภเจตสิกเกิดกับโลภมูลจิต นอกจากจะมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็ยังมีธรรมอื่นๆ ที่เกิดพร้อมกับโลภะนั้น อย่างเช่นเวทนาที่เป็นอุเบกขา แค่พอใจเฉยๆ นิดเดียว ถ้าหากว่าไม่ใช่บุคคลที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานโอกาสที่จะรู้ว่าเป็นลักษณะของอกุศลจิตรึกุศลจิตก็เป็นเรื่องที่ยาก
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างน้อยเราจะไม่เข้าใจผิดคิดว่าขณะที่เราเฉยๆ ก็คือมีสติ หรือขณะที่เราทำอะไรด้วยความจดจ้องต้องการต่างๆ เป็นสติ เพราะว่าในขณะนั้นเราจดจ้องต้องการด้วยอำนาจของโลภะก็ได้ อย่างการทำงาน การเดิน การข้ามถนนไม่ให้รถชน เป็นไปด้วยความรักตัวเอง และด้วยความปลอดภัย เพราะฉะนั้นกุศลจิตจะเกิดขึ้นเป็นไปในทานหรือไม่ อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวแล้ว ทาน ศีล ภาวนา คือเป็นสิ่งที่เราสามารถจะเอามาวัดในชีวิตประจำวันได้ว่า ขณะนั้นเราคิดที่จะสละวัตถุสิ่งของให้ใครหรือไม่ เป็นไปในทานไหม หรือว่าเป็นไปในศีลคือการวิรัติทุจริตต่างๆ ไหม เป็นการอบรมเจริญภาวนามีการทบทวนสภาพธรรมหรือว่ามีเมตตากับคนอื่น หรือเป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐานหรือไม่ ขณะนั้นถ้าเป็นธรรมฝ่ายที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา จึงจะมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย และถ้าจะมีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็จะเป็นอีกระดับหนึ่งที่ใช้คำว่าสัมปชัญญะจะต้องเกิดกับสติปัฏฐาน สัมปชัญญะคือความรู้ตัวทั่วพร้อมหรือรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงรู้ทั่วถึงธรรมในขณะนั้นโดยความเป็นธรรม จึงจะเป็นทั้งสติ และสัมปชัญญะซึ่งเป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีพื้นฐานความเข้าใจธรรมเลย แล้วก็ไปพบข้อความใดๆ ก็ตามแต่ ก็จะทำให้คิดเอง เข้าใจเอง ซึ่งไม่ตรงกับธรรมตามความเป็นจริงได้
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อผู้ที่ได้ไปปฎิบัตืธรรมพอสมควรแล้วๆ จะมีเกณฑ์อะไรในการตัดสินว่ามีความเจริญก้าวหน้าหรือมาถูกทาง
ท่านอาจารย์ ถ้าสติเกิดหรือหลงลืมสติต่างกันหรือไม่
ผู้ฟัง ต่าง
ท่านอาจารย์ ใครรู้ ผู้ที่สติเกิดเท่านั้นจึงรู้ว่าขณะนั้นสติเกิด นั่นคือการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ตั้งแต่ต้น ถึงจะรู้ความต่างของขณะที่สติเกิดกับขณะที่หลงลืมสติ ก่อนที่จะไปถึงอย่างอื่นทั้งหมด ต้องเป็นความรู้ที่ค่อยๆ รู้ขึ้น เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าเอาอะไรมาวัด ไม่ใช่ไปเอาอะไรมาวัด แต่ความรู้ถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่สติกำลังระลึก กำลังรู้ต่างหากที่จะรู้ว่าเป็นความรู้ระดับไหน แต่ไม่ใช่เอาอย่างอื่นมาวัดว่าปิติหรือว่าชื่อต่างๆ เหล่านั้น ไม่ใช่
ผู้ฟัง ก็คือปัญญาเท่านั้น ในขณะที่ปัญญาเกิดระลึกรู้ก็จะทราบเอง
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาเป็นความเห็นแจ้ง ความเห็นที่ถูกต้องในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งจะเริ่มจากขณะที่สติเริ่มเกิด และรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมซึ่งไม่เคยรู้ว่าเป็นธรรม ค่อยๆ เข้าใจถูกต้องขึ้น เพราะฉะนั้นสติเจริญเพราะระลึกบ่อย และปัญญาก็เจริญเพราะสติระลึกในสิ่งที่ไม่เคยรู้ในความจริงของสิ่งนั้น
ผู้ฟัง อารมณ์ที่จิตรู้กับลักษณะสิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันนั้นต่างกันหรือไม่
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญากำลังเห็นไหม
ผู้ฟัง กำลังเห็น
ท่านอาจารย์ มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วอะไรเห็น
ผู้ฟัง จิตเห็น
ท่านอาจารย์ ตอบได้ว่าเป็นจิตเห็น แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของจิต เพียงแต่รู้ว่าต้องมีจิตที่เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ที่กำลังเห็น แต่การที่จะรู้ว่ามีจิต และลักษณะของจิตก็คือ เห็นนี่กำลังมี เพราะมีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ส่วนสภาพธรรมที่เห็น ไม่มีรูปร่างใดเลยๆ ทั้งสิ้นคือค่อยๆ ฟัง และพิจารณาตาม ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา และก็มีสภาพที่เห็นสิ่งนี้ สิ่งนี้กำลังปรากฏโดยที่มีสภาพที่กำลังเห็นสิ่งนี้ ลักษณะของสภาพที่เห็นไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ เลยทั้งสิ้น อาการที่เห็น ลักษณะที่เห็น แยกออกจากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เพราะว่าสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็คือกำลังปรากฏอย่างนี้ จะใช้คำอะไรก็ได้หรือไม่ใช้อะไรก็ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งกำลังปรากฏ และก็ไม่ใช่เสียง จึงใช้คำว่าปรากฏทางตากับสภาพธรรมซึ่งกำลังเห็น เพราะฉะนั้นลักษณะที่เห็นมี และก็ไม่มีรูปร่างใดๆ ทั้งสิ้นแต่กำลังเห็น นี่คือลักษณะของจิตในขณะที่กำลังเห็น
ผู้ฟัง เข้าใจว่าจิตเห็นก็คือมีรูปารมณ์
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ไปเข้าใจชื่อว่าจิตเห็น มีรูปารมณ์ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ขณะนี้มีเห็นจริงๆ มีสิ่งที่กำลังปรากฏ จะเรียกหรือไม่เรียกภาษาไหนอะไรก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาให้เป็นอย่างอื่นไปได้ แต่ที่จำเป็นต้องใช้คำในภาษาหนึ่งภาษาใดก็เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏว่าสิ่งนี้มีแน่นอน เมื่อมีจะปฏิเสธว่าไม่มี ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเป็นธรรมหรือเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสามารถจะปรากฏทางตา ในเมื่อมีสภาพธรรมที่กำลังเห็นเท่านั้น ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่กำลังเห็นสิ่งนี้ที่ปรากฏทางตา สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาจะปรากฏไม่ได้เลย นี่คือการที่จะเข้าใจลักษณะของจิต ไม่ใช่ไปจำว่าจิตมีรูปารมณ์เป็นอารมณ์ แต่ขณะที่กำลังเห็นนี่เองที่จะรู้ว่าจิตมี และลักษณะของจิตก็คือว่าเป็นสภาพที่กำลังเห็นแน่นอน แล้วก็ไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ เลยทั้งสิ้น ธรรมเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ และก็เริ่มพิสูจน์คือเริ่มค่อยๆ เข้าใจในขณะที่กำลังฟังเดี๋ยวนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าลักษณะของจิตคืออย่างนี้ ไม่ว่าสิ่งใดจะปรากฏ เช่นเสียงปรากฏ จิตก็เป็นสภาพที่ไม่มีรูปร่างลักษณะใดๆ ทั้งสิ้นแต่กำลังได้ยินเสียง ขณะที่กำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ขณะนั้นก็มีสภาพที่กำลังรู้เรื่องที่กำลังคิดนึก โดยสภาพรู้ไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรสเมื่อรสปรากฏ ทางกายเมื่อมีสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหวปรากฏ ขณะนั้นเพราะมีธาตุซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เลย ทั้งสิ้น แต่กำลังรู้สิ่งนั้นๆ ที่ปรากฏ นี่คือการที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา และไม่มีเรา จะเรียกอะไรไม่เรียกอะไรภาษาไหนก็เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงการไปจำว่าจิตเห็นมีรูปารมณ์เป็นอารมณ์ อย่างนั้นไม่ใช่ความเข้าใจลักษณะของธรรม ซึ่งการศึกษาธรรมเพื่อเข้าถึงความเป็นจริงของธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดปรากฏ และก็หมดไป และก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้ลักษณะของจิตแต่จำชื่อจิตได้ และรู้ว่าจิตนั้นๆ มีอะไรเป็นอารมณ์ แต่ไม่รู้ลักษณะของจิตเลย เพราะไม่ได้พิจารณาให้เข้าใจคำที่ใช้อธิบายลักษณะของจิตว่าไม่มีรูปร่าง เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นนามธาตุก็คือว่าไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น และเมื่อเป็นนามธาตุที่เกิดต้องเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้นชีวิตที่เกิดมาแล้วก็รู้เห็นเรื่องราวต่างๆ คิดนึกเรื่องราวต่างๆ นั่นก็คือลักษณะของจิตแต่ละประเภทซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย
ผู้ฟัง พูดถึงปัญญานี่ทำลายความมืด คำว่า “ปัญญา” ตรงนี้คืออะไร
ท่านอาจารย์ ปัญญาคือความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ ที่มีจริงๆ แต่ละอย่าง
ผู้ฟัง แล้วกับจิต
ท่านอาจารย์ จิตเป็นธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ขณะที่กำลังเห็น ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้งกับจิตซึ่งสามารถเห็น เห็นแจ้งในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เสียงมีหลายเสียงไหม
ผู้ฟัง หลายเสียง
ท่านอาจารย์ แต่ละเสียงต่างกัน เพราะจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะของเสียงที่ปรากฏแต่ละเสียง จึงเป็นหน้าที่ของจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะฉะนั้นสภาพของนามธรรมไม่ใช่มีแต่จิต แต่มีสภาพนามธรรมอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับจิตทุกครั้งที่จิตเกิด ธรรมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นได้ จะเกิดขึ้นตามลำพังไม่ได้ ต้องมีสภาพธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วยเป็นปัจจัยอาศัยกัน และกันเกิด เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นสภาพรู้จะเกิดโดยไม่มีเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมอีกชนิดหนึ่งเกิดร่วมด้วยไม่ได้ ขณะนี้เห็นหรือคิด
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เห็นเพราะผัสสเจตสิกกำลังกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าขณะที่คิดก็มีเจตสิกคือผัสสเจตสิกกระทบเรื่อง เพราะมีการจำคำนั้นหรือเรื่องนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะกระทบเรื่อง และจิตก็รู้ในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้นลักษณะของจิตกับเจตสิกต่างกันที่จิตเป็นนามธรรม เจตสิกก็เป็นนามธรรม แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใดทั้งสิ้นจะใช้คำว่าโลกุตตรจิต โสตาปัตติมรรคจิต หรืออะไรก็ตามแต่ จิตจะเปลี่ยนลักษณะจากความเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจิตไม่ใช่ปัญญา ปัญญาเป็นเจตสิก จิตเห็นเพียงเห็น แต่ไม่ใช่เป็นความเห็นถูกความเข้าใจถูกว่าสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริง และก็คือธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสามารถปรากฏ เมื่อมีจักขุปสาท และก็ต้องมีจิตเกิดขึ้นเห็น สิ่งนี้จึงปรากฏได้ แต่เมื่อจิตนี้เกิดแล้ว การฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจว่าเป็นธาตุหรือเป็นสภาพธรรม นั่นคือความเห็นถูก เริ่มเป็นปัญญาที่เกิดจากขั้นการฟัง ซึ่งปัญญานี้ก็จะเจริญต่อไปอีก จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งสิ่งที่ได้ยินได้ฟังทั้งหมดว่าเป็นความจริง ไม่คลาดเคลื่อนเลย ไม่มีแล้วมี แล้วหามีไม่ พิสูจน์ได้ เช่น เสียงไม่มี แล้วก็มีเสียง แล้วเสียงก็หมดไป นี่เป็นแต่เพียงตัวอย่างที่จะให้เข้าใจสภาพธรรมว่าเราได้ยินแต่ชื่อมากมายตามตำรา แต่ลักษณะจริงๆ ไม่รู้ในความเป็นธรรม เช่น เวลาที่โกรธขุ่นใจเกิดขึ้น มีใครบ้างที่ไม่รู้ รู้แต่เป็นเรา ไม่ได้มีปัญญาที่เข้าใจถูก เห็นถูกว่าเป็นธรรมลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับธรรมลักษณะอื่น แต่ทั้งหมดนี้เป็นธรรมทั้งนั้น ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์อื่นใด
เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม จุดประสงค์คือเพื่อให้มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในภาษาไทย ถ้าในภาษาบาลีก็ใช้คำว่า “ปัญญา” เพราะฉะนั้นการที่เราจะใช้ภาษาหนึ่งภาษาใดก็ควรที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงในภาษานั้น ถ้าพูดภาษาไทยกับคนที่เป็นชาวมคธหรือที่อินเดีย เขาก็ไม่เข้าใจ แต่เวลาที่เขาพูดคำของเขา และคำที่ใช้ในสมัยพุทธกาลก็เป็นภาษามคธ เราซึ่งกำลังอยู่ในเมืองไทยเกิดเป็นคนไทยก็ไม่เข้าใจ แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมไม่เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นโดยภาษาใดก็สามารถที่จะใช้คำที่จะทำให้เข้าใจลักษณะนั้นได้ แต่ต้องตรง และก็ต้องรู้ความหมายของแต่ละภาษาด้วย
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้คำว่า “เจริญสติ” ในเมื่อสติเป็นเจตสิก ทำไมไม่ใช้คำว่าเจริญจิต
ท่านอาจารย์ จิตเป็นธาตุรู้หรือสภาพรู้ จิตไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้นหน้าที่ของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก้าวก่ายกันไม่ได้เลย เป็นลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ โทสะก็เป็นสติไม่ได้ ปัญญาก็เป็นสติไม่ได้ สติเป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศลเท่านั้นหรือในธรรมฝ่ายดี
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240