พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
ตอนที่ ๑๘๔
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ผู้ฟัง มีความรู้สึกว่าทางมโนทวารปิดบังทางปัญจทวาร
ท่านอาจารย์ เพราะนิดเดียว เวลานี้ไม่เป็นอย่างนี้ นี่คือตามความไม่จริงเพราะมีอวิชชาบัง ขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับจริงๆ แน่นอน แต่อวิชชา และโลภะกั้น ไม่สามารถที่จะเห็นความจริงของสภาพธรรมได้ แม้ความต่างกันของแต่ละทวารซึ่งมีมโนทวารคั่นแต่ก็ไม่เห็น เหมือนต่อกันเลยทั้งเห็นทั้งได้ยิน เพราะฉะนั้นการที่จะอบรมเจริญปัญญาจะมีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามปกติ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะว่าถ้าจะเป็นการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจะขาดความเข้าใจไม่ได้ จะไปนั่งทำอะไรแล้วก็ไม่รู้อะไร นั่นไม่ใช่ปัญญา แต่ทั้งๆ ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังเผชิญหน้า แต่ปัญญาค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น จนกว่าจะมีกำลังสามารถที่จะรู้แจ้งชัดในลักษณะของสภาพธรรมนั้น ซึ่งก็เป็นอนัตตา ก็จะประจักษ์ความเข้าใจในความหมายของอนัตตาโดยซาบซึ้งจริงๆ โดยมั่นคงจริงๆ ว่าไม่มีใครจะสามารถที่จะไปทำอะไรได้เลย เพราะแม้ว่าสภาพธรรมขณะนี้ก็เกิดแล้วทั้งนั้น แต่ความจริงก็คือดับไปแล้วทั้งนั้นซึ่งไม่รู้
ผู้ฟัง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดมีรูปเป็นอารมณ์ ก็หมายความว่าปัญจทวารปิดบังมโนทวารได้ด้วย
ท่านอาจารย์ เราไม่ต้องคิดอะไรหรือไปนั่งคิดว่าขณะนี้อะไรปิดบังอะไร ไม่ใช่สาเหตุที่ไปได้คำตอบ แต่รู้ได้ว่า เมื่อขณะใดที่สติเกิดจะมีลักษณะต่างกับหลงลืมสติอย่างไร แม้ขณะนี้เราไม่ต้องไปแจกแยกว่าขณะนี้สติระลึกทางปัญจทวารหรือทางมโนทวารเพราะรู้ไม่ได้เลย สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาใครบอกได้ว่าจักขุทวารวิถีจิตรู้หรือมโนทวารวิถีจิตรู้ เมื่อไม่รู้ก็จะไปพยายามคิด ปัญญาก็เจริญไม่ได้ แต่ปัญญาจะเจริญก็ต่อเมื่อค่อยๆ เข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เมื่อความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ไม่มีอะไรจะไปปิดกั้นการแทงตลอดของปัญญาที่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้
ผู้ฟัง ก็เข้าใจว่าการที่ถามเช่นนี้ก็รู้ความจริงไม่ได้ ไม่ได้รู้ตรงนั้นนอกจากพระพุทธองค์ แต่ว่าก็กล่าวกันมาก
ท่านอาจารย์ กล่าวทำไม กล่าวด้วยอวิชชา หรือด้วยโลภะ หรือด้วยปัญญา หรือด้วยอะไร
ผู้ฟัง เมื่อคุยกันสนทนากันก็อยากจะได้ความชัดเจนว่าเป็นอย่างไร แต่ตามที่ดิฉันเข้าใจ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน รูปปรากฏแน่นอน เพราะมีทางปัญจทวารปิดบังทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ขณะนี้สติระลึกทุกอย่างเหมือนเดิมหรือไม่
ผู้ฟัง ก็เหมือนเดิม
ท่านอาจารย์ เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นเป็นอย่างไร รู้ลักษณะของมโนทวารหรือยัง ก็เหมือนเดิม เพียงแต่เริ่มที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ต้องไปคิดถึงทวาร เพราะแม้ขณะนี้จิตที่เห็นก็เป็นจักขุทวารวิถี และมโนทวารวิถี
ผู้ฟัง ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณเกิด ขณะที่รู้รูปกับนาม ก็เข้าใจว่าขณะนั้น มโนทวารปิดบังปัญจทวาร เนื่องจากว่าขณะนั้นเป็นสภาพรู้ปรากฏมากกว่า
ท่านอาจารย์ เพราะต้องรู้ชัด ซึ่งต้องรู้ชัดทางมโนทวาร
ผู้ฟัง สมมติว่ารู้สิ่งที่ปรากฏเป็นรูปก็คือรู้ทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ทางตา คุณสุกัญญาสามารถที่จะรู้ไหมว่าสิ่งที่ปรากฏๆ กับจักขุทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี
ผู้ฟัง ไม่สามารถจะแยกได้
ท่านอาจารย์ แล้วไปนั่งคิดอะไร
ผู้ฟัง ขณะที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน ขณะที่ได้ยินเสียงก็ไม่ใช่ขณะที่เห็น แล้วก็มีการคิดนึก
ท่านอาจารย์ คิดนึกเมื่อไร
ผู้ฟัง ไม่ทราบลักษณะจริงๆ ในขณะนั้น แต่เป็นเรื่องราวที่จากการฟัง
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เราจะเห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมหรือไม่ เช่น ขณะที่ทรงแสดงตั้งแต่เกิด ปฏิสนธิจิตเกิดหนึ่งขณะ เรารู้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทรงแสดงให้เห็นความเป็นอนัตตาว่า แม้จิตที่ทำกิจปฏิสนธิสืบต่อจากชาติก่อน เป็นจิตที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก เราก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นมีความไม่รู้จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วหมายความว่าเรารู้ทั้งหมดหรือ หรือว่าเริ่มเข้าใจเรื่องของสภาพธรรม แต่ยังไม่รู้จักลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญามาก เวลาที่ได้ฟังพระสูตร ที่ทรงแสดงโดยย่อ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ เหล่านี้ และหลังจากที่เห็นแล้ว อาจจะแสดงสำหรับผู้ที่มีปัญญามาก ว่า มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย มีวิตก วิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็อาจจะแสดงอย่างนั้น แต่สำหรับผู้ที่เพียงแค่ขณะนี้เห็นกับได้ยินแค่จะรู้ว่าต่างกัน ถ้าจะแสดงโดยละเอียดสำหรับผู้ที่แม้ฟังแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ ก็ต้องแสดงให้ละเอียดต่อไปอีกว่า ก่อนเห็นจิตกำลังเป็นภวังค์ แล้วก็มีอารมณ์ที่เป็นรูปกระทบปสาท หลังจากนั้นภวังค์ก็ไหว หมายความว่ากำลังใกล้ที่จะสิ้นสุดกระแสภวังค์ ถ้ากระแสภวังค์ไม่สิ้นสุด จิตจะรู้อารมณ์อื่นไม่ได้ เพราะว่าตราบใดที่ยังเป็นภวังค์อยู่ ก็ต้องรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต ซึ่งอารมณ์นั้นไม่ได้ปรากฏในโลกนี้ เพราะว่าไม่ได้อาศัยตา ไม่ได้อาศัยหู ไม่ได้อาศัยจมูก ไม่ได้อาศัยลิ้น ไม่ได้อาศัยกาย ไม่ได้อาศัยใจ ทรงแสดงโดยละเอียดเพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตาว่าใครไปเรียบเรียงบังคับบัญชาให้สภาพธรรมเกิดดับสืบต่ออย่างนี้หรือ หรือว่าเป็นปกติของสภาพธรรมที่จะเกิดดับสืบต่อกันอย่างนี้ จนกระทั่งถึงขณะที่เห็น ก่อนเห็นก็จะต้องมีปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นกิริยาจิตแสดงโดยชาติ ให้เห็นความต่างกันของขณะที่เป็นภวังค์ เป็นชาติหนึ่งเป็นผลของกรรม แต่เมื่อถึงปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นกิริยาจิตซึ่งเกิดเพราะปัจจัยที่ทำให้จิตนี้เกิดขึ้นทำกิจนี้แล้วดับไป จักขุวิญญาณจึงเกิดเห็น หลังจากที่จักขุวิญญาณซึ่งเป็นผลของกรรมเป็นวิบากดับไปแล้ว กรรมก็ยังทำให้สัมปฏิจฉันนะรับรู้สิ่งที่จิตเห็นรู้ต่อเป็นวิบากเหมือนกัน นี่คือไม่ได้แสดงโดยนัยของพระสูตร แต่เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา กว่าจะถึงเมื่อรูปนั้นดับ จิตเกิดดับมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ เมื่อรูปนั้นดับแล้วต้องเป็นภวังค์เกิดสืบต่อ ไม่ใช่จุติจิต เพราะยังคงความเป็นบุคคลนี้ หลายขณะจนกว่าจะถึงมโนทวาร ยังไม่ได้ได้ยิน เพราะต้องรับรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาต่ออีกหลายวาระแล้วจึงจะมีขณะอื่นต่อไป นี่แสดงให้เห็นว่า เราไม่รู้ ก็แสดงเพียงแค่จิตเห็นกับจิตได้ยินที่ต่างกันพอที่จะรู้ได้ แต่จะไม่สามารถรู้ปัญจทวาราวัชชนะ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ
ผู้ฟัง แต่จากการฟังก็ทราบเป็นเรื่องราวว่า ขณะที่ได้ยิน กับขณะที่คิดนึกเป็นคนละขณะกัน ก็คิดว่านี่เป็นลักษณะของโมหะที่ปิดบัง เป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็ยังคิดว่าเป็นลักษณะที่เราเข้าใจ
ท่านอาจารย์ การศึกษาโดยละเอียดต้องทราบว่าเจตสิกใดเกิดกับจิตใด เราคิดเองไม่ได้ อกุศลเจตสิกจะเกิดกับกุศลจิตไม่ได้ ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าดับเชื้อคืออนุสัยกิเลส จนกว่าจะถึงความเป็นพระอริยบุคคลเมื่อใดจึงจะดับอนุสัยกิเลสที่จะทำให้เกิดกิเลสต่างๆ เมื่อมีการรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การฟังธรรมจะฟังเพียงส่วนเดียวไม่ได้ ต้องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้น และสอดคล้องกันทั้งหมดที่จะทำให้เข้าใจจริงๆ
ผู้ฟัง ระหว่างที่เป็นตัวตนที่จะระลึกถึงอะไรอย่างนั้น ก็พอที่จะพิจารณาตรงนั้นได้ แต่การมีตัวตนนี้คิดว่ามีตลอด
ท่านอาจารย์ ตราบใดที่กิเลสยังไม่ได้ดับ โลภะเกิด และดับไปก็จริงแต่สะสมอยู่ในจิตขณะต่อไปเป็นอนุสัยกิเลส เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ดับ เพราะฉะนั้นการสะสมของสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อของแต่ละขณะก็จะเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมประเภทนั้นเกิดได้ สะสมศรัทธา สะสมโลภะ สะสมความเห็นผิด สะสมอะไรก็ตามแต่ ก็สะสมอยู่ในจิต ๑ ขณะ ลองคิดดูว่าจิตไม่ใช่รูป รูปนี่ก็ใช่ว่ายืนยาวเลย เพียงแค่ ๑๗ ขณะแล้วดับ สภาพธรรมจริงๆ หาสาระไม่ได้ ไม่ได้มากมายอย่างที่คิด ชั่วขณะที่บางเบาเพียงแค่ไหน เพียงเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ แต่ว่าต่างกันเป็นนามธรรม และรูปธรรม เพราะฉะนั้นเวลาที่สภาพธรรมใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยดับไปแล้วสะสมสืบต่อทั้งฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี ถ้าเป็นฝ่ายทั้งกุศล และอกุศลใช้คำว่า “อาสยะ” แต่ถ้าทางฝ่ายอกุศลเท่านั้นใช้คำว่า “อนุสย” หรือ “ อนุสัย” เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเวลานอนหลับไม่มีกิเลสใดๆ เกิดในขณะที่หลับสนิท เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว ถ้าจิตใน ๑ ขณะนั้นไม่มีเหตุใดๆ ที่สะสมมา อกุศลที่จะเกิด เกิดมาได้อย่างไร เพราะฉะนั้นให้คิดถึงรูปธรรมซึ่งก็บอบบางแค่ ๑๗ ขณะ ก็ดับ นามธรรมเร็วยิ่งกว่านั้น และไม่มีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ใช้คำว่า “ธาตุ” เกิดเมื่อมีปัจจัย แต่ว่าธาตุนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วรู้ และรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วดับ แต่ก็เป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิด สิ่งใดที่มีในจิตขณะนั้นสะสมสืบต่อมาไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศลมากมายเท่าไรในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมาไม่ได้หายไปไหนก็สืบต่ออยู่ในจิตแต่ละขณะ พร้อมด้วยเหตุปัจจัยที่สภาพธรรมใดจะเกิดก็เพราะมีปัจจัยที่จิตนั้นสะสมมาเป็นอาสยานุสยะทำให้ฝ่ายดีเกิดบ้าง หรือฝ่ายไม่ดีเกิดบ้าง แต่ให้ทราบถึงธาตุที่น่าอัศจรรย์ ไม่มีรูปร่างเลย เป็นธาตุรู้ เมื่อเกิดขึ้นรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ โดยมีนามธาตุอีกชนิดหนึ่งเกิดร่วมกันคือเจตสิก ทั้ง ๒ อย่างเข้ากันสนิทเพราะไม่ใช่รูปที่จะต้องเอาไปผสมกันเช่นน้ำกับน้ำมัน แต่นี่เป็นนามธาตุซึ่งอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ต่างก็เกิดขึ้นทำกิจเฉพาะของตนๆ จิตทำหน้าที่ของจิต เจตสิกทำหน้าที่ของเจตสิก แล้วทั้งจิต และเจตสิกก็ดับไปเป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกในขณะต่อไปเกิด
เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงอนุสัยก็คืออกุศลที่ยังไม่ได้ดับ อาสยะก็คือทั้งกุศล และอกุศลแต่ละขณะที่เกิดไม่ได้สูญหายไป นี่เป็นเหตุที่ทำให้แต่ละคนมีอัธยาศัยต่างกัน นอกจากนั้นแม้คนเดียวก็ยังมีกาลที่กุศลจิตเกิดหรืออกุศลจิตเกิดแล้วก็สะสมต่อไปอีก เพราะฉะนั้นถ้าสะสมโทสะไว้มากๆ ก็เป็นคนที่ขี้โกรธ หรือว่าไม่เห็นโทษของโทสะ และก็จะเป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมที่ทำด้วยอำนาจของโทสะได้ ทางฝ่ายกุศลก็เหมือนกัน นี่คือไม่ใช่เรา นี่คือธาตุ นี่คือธรรม นี่คืออนัตตา เพราะฉะนั้นกำลังนอนหลับสนิทเห็นผิดหรือไม่ ทิฏฐิเจตสิกไม่ได้เกิดขึ้นทำกิจการงาน แต่สะสม มีแล้ว แล้วแต่ว่าใครสะสมทิฏฐิระดับไหน พร้อมที่ว่าขณะใดที่โลภะเกิด ทิฏฐิความเห็นผิดก็เห็นผิดตามโลภะที่ติดข้องในความเห็นนั้นๆ แต่ว่าโลภะก็ดับไปแล้ว ภวังคจิตก็คั่น มีทุกสิ่งทุกอย่างที่สะสมไว้ เมื่อโทสะมีปัจจัยเกิด โทสะก็เกิด แต่ทิฏฐิเจตสิกจะเกิดร่วมกับโทสมูลจิตไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่ามีอกุศลตลอดเวลาหมายความถึงมีในฐานะที่เป็นอนุสัย ยังไม่ได้เกิดขึ้นทำกิจการงานเป็นอกุศลเจตสิกหรือว่าอกุศลจิตประเภทใดทั้งสิ้น แต่มี เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาไม่ได้ดับอกุศลจิตแต่ดับอนุสัยกิเลส การดับหมายถึงดับพืชเชื้อที่สะสมมา ซึ่งถ้าไม่ถึงปัญญาระดับที่สามารถจะดับได้โดยการที่เพียงสงบเจริญสมถภาวนาอย่างถูกต้อง จิตสงบจนกระทั่งเป็นอรูปฌาณกุศล เกิดแล้วในอรูปพรหมภูมิเป็นอรูปพรหมบุคคลก็ยังมีอนุสัยกิเลสเพราะยังไม่ได้ดับ หนทางเดียวที่จะดับได้ก็คือการอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่หนทางอื่น ตราบใดที่ไม่ใช่หนทางนี้ อนุสัยกิเลสก็ยังคงมี เพราะจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะแล้วก็ดับไปเป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปสืบต่อ ด้วยเหตุนี้จิตของแต่ละคนก็แต่ละการสะสม จะไปแลกกันไม่ได้ จะไปเอาของคนอื่นมาสะสมก็ไม่ได้ ต้องเป็นของตนเอง และก็สามารถที่จะเจริญปัญญาได้ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจนถึงการดับอนุสัยกิเลส
ผู้ฟัง เวลาที่กุศลจิตเกิดจะต้องไม่มีอกุศลเจตสิกใดๆ เกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่มีอนุสัยกิเลส และมีอะไรๆ ที่สะสมมาทั้งหมด
ผู้ฟัง ตามที่ฟังว่า แม้เวลาที่กุศลจิตเกิดความเป็นตัวตนก็ยังมี ตรงนี้ที่ยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ มีฐานะอนุสัย ไม่ได้เป็นอกุศลเจตสิกเกิดร่วมกับกุศลจิต เพราะฉะนั้นอกุศลเจตสิกเกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น จะไม่เกิดร่วมกับกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต ถ้าเป็นอกุศลเจตสิกจะเกิดกับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น ในขณะที่โสภณเจตสิกเกิดกับกุศลก็ได้ วิบากก็ได้ กิริยาก็ได้ แต่ต้องจำว่าสำหรับอกุศลเจตสิกเกิดเมื่อไร จิตขณะนั้นเป็นอกุศลเท่านั้นอย่างเดียว จะเป็นวิบากไม่ได้
ผู้ฟัง ยกตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือเวลาที่มีทานกุศล ช่วงที่หลังจากที่ทานกุศลเกิดแล้ว บางครั้งก็จะระลึกได้หลังจากช่วงที่กุศลจิตเกิดแล้ว จริงๆ กุศลที่เกิดมองไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ศรัทธาเกิด หิริเกิด โอตตัปปะเกิด แล้วพวกอกุศลเจตสิกจะเกิดได้อย่างไร คนละประเภท
ผู้ฟัง เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด อย่างไรก็ตามอนุสัยก็ต้องมี
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะถึงโสตาปัตติมรรคเมื่อไร ก็ดับทิฏฐานุสัย
ผู้ฟัง ก็คือมีตัวตน
ท่านอาจารย์ ต้องโลกุตตรจิตเท่านั้นที่จะดับอนุสัยกิเลสได้ กุศลอื่นดับไม่ได้ ความเป็นเรามี ๓ อย่าง ไม่ใช่อย่างเดียว เราด้วยทิฏฐิความเห็นผิด เราด้วยมานะความสำคัญตน และเราด้วยตัณหาคือโลภะ หลังจากที่ทำกุศลแล้ว เราประเภทไหนเกิด
ผู้ฟัง บางทีก็โลภะ บางทีก็มานะ
ท่านอาจารย์ ก็ถูกต้องแล้ว
ผู้ฟัง ในขณะที่กุศลจิตเกิด ดับไปแล้ว ก็ความเป็นเราเกิด จึงเกิดอกุศลจิต ก็เป็นไปได้โดยปกตูนิสสยปัจจัยหรือไม่
ท่านอาจารย์ การสะสมมามีกำลังที่จะทำให้สภาพธรรมใดเกิด ถ้าใช้ชื่อก็คือเป็นปัจจัย และปัจจัยก็มีหลายประเภท สิ่งที่เกิดแล้วดับไปสะสมสืบต่อเป็นปกตูนิสสยปัจจัย แต่ความจริงอุปนิสสยปัจจัยก็มี ๓ แต่ว่ากล่าวถึงเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจต่อไป อย่างไรๆ ก็ต้องเข้าใจขึ้น แต่ว่าขอให้เป็นความเข้าใจจริงๆ ตามลำดับไม่สับสน เพราะว่าเป็นการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เข้าใจเรื่องราว การเข้าใจเรื่องราวจะเข้าใจได้หมดไหม โดยที่ว่าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมเลยสักอย่าง เช่น คำว่า “ธรรม” ไม่สงสัย ฟังทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม แล้วขณะนี้ปัญญารู้ความเป็นธรรมของอะไร ไม่มีเลย มีแต่ชื่อ เพราะฉะนั้นก็อย่าเพียงพอใจคิดว่าเรารู้จักชื่อเยอะ แต่จริงๆ แล้วจะต้องรู้ว่า เรารู้เพียงชื่อ ทั้งๆ ที่ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงก็เกิดขึ้น และดับไปอย่างรวดเร็ว และก็มีหนทางที่จะรู้ได้ด้วย
ผู้ฟัง ความเป็นตัวตนที่ทำอกุศลกับความเป็นตัวตนที่ทำกุศล
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่อง แต่ว่าต้องเป็นขณะจิต ขณะที่พูดว่ากำลังมีความเห็นผิดเกิด ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ความชัดเจนก็คือว่า รู้สภาพธรรมไหนว่าเป็นเรา ต้องในขณะนั้น ไม่ใช่กล่าวรวมๆ ไปหมด มีหรือไม่มีก็ไม่รู้ คิดเอาเองว่ามีใช่ไหม แต่ถ้ามีจริงๆ จะรู้ลักษณะของการยึดถือสภาพที่กำลังปรากฏ นั่นจึงจะกล่าวได้ว่าขณะนั้นมีสักกายทิฏฐิยังมีความเป็นเราในสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงกล่าวลอยๆ ว่ามี แต่ต้องมีในขณะไหน เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ มีสักกายทิฏฐิเกิดหรือไม่ มี และยึดถืออะไรว่าเป็นเรา เพราะว่าสภาพธรรมเกิดทีละอย่าง การที่จะเข้าใจธรรม ไม่ใช่เข้าใจชื่อธรรมว่าหมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง แต่สิ่งที่มีจริงยังไม่ได้เป็นธรรมตามที่ฟัง จนกว่าสติสัมปชัญญะจะรู้ตรงลักษณะที่เป็นธรรมแต่ละอย่างจึงจะกล่าวได้ว่าเริ่มเข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นธรรมเพราะเป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม เพราะมีลักษณะที่ต่างกันไปเป็นแต่ละอย่าง ต้องมีความชัดเจน เพราะแม้ขณะที่จะบอกว่าเรามีสักกายทิฏฐิ เราก็มีเพราะว่าเรายังไม่ได้ดับ แต่ว่าขณะนั้นสักกายทิฏฐิเกิดหรือไม่ หรือว่ามีในฐานะของอนุสัย เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่พูดลอยๆ เรากล่าวถึงโลภมูลจิต ๘ ประเภทได้ว่า โลภมูลจิตต่างกันเป็นอย่างละ ๔ คือ ๔ อย่างที่เป็นโลภะมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย และอีก ๔ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย ฟังก็เข้าใจ แต่ขณะไหน ขณะไหนนี่ไม่ใช่เพียงคิดนึก แต่ต้องรู้จริงๆ ว่าในขณะนั้นมีอะไร และไม่มีอะไร ใน ๔ อย่างที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย มีความรู้สึกต่างกันอย่างละ ๒ คือเป็นอุเบกขาความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์หรือเป็นโสมนัส และในขณะที่มีความรู้สึกเฉยๆ เป็นสสังขาริกหรืออสังขาริก นี่ก็คือว่าเราเรียนชื่อเหมือนรู้ เข้าใจได้ แต่ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละประเภทยังไม่ได้ปรากฏ ไม่ว่าลักษณะของอุเบกขาหรือโสมนัสโดยสภาพที่ไม่ใช่เรา ไม่ว่าขณะนั้นมีการชักจูงหรือเกิดขึ้นโดยไม่มีการชักจูงก็ไม่ได้ปรากฏ
เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าเราฟังธรรมเข้าใจชื่อแล้วเราจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม การที่จะรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ ก็มีทางเดียว สติสัมปชัญญะเกิด เพราะฉะนั้นต้องรู้ความต่าง กล่าวเรื่องการปฏิบัติ กล่าวเรื่องภาวนา กล่าวเรื่องมรรค ๘ กล่าวเรื่องสติปัฏฐานโดยชื่อ แต่ไม่ได้เข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วก็คือว่าต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และรู้ว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่ขณะอื่น แต่ในขณะนี้ที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว มีความทรงจำแต่ชื่อทั้งหมด นึกถึงธรรมขณะใดก็เป็นชื่อหมด เป็นโลภมูลจิต ๘ ดวง มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร มีเวทนาอะไรเกิดร่วมด้วย นั่นไม่ใช่การรู้ลักษณะของโลภะซึ่งเกิดแล้วดับเร็วแค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดนั่นไม่ใช่หนทางอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่การเจริญมรรค ไม่ใช่วิปัสสนา แต่เป็นการทำด้วยความเป็นเราที่มีความต้องการ ก็ไม่มีทางที่จะรู้สภาพธรรมเพราะว่าไม่ได้ละความไม่รู้ เมื่อไม่ละความไม่รู้ ความรู้จะมีได้อย่างไร ความรู้เกิดเท่านั้นจึงละความไม่รู้ได้ ถ้าความรู้ไม่เกิดก็จะละความไม่รู้ไม่ได้ ตอนนี้ตอบง่ายๆ หรือไม่ว่าเรามีทิฏฐิ ความเห็นผิดอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อนั่นเมื่อนี่
ผู้ฟัง ไม่ง่ายแล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องชัดเจน
ผู้ฟัง เราไม่สามารถจะรู้สภาพธรรมนั้นได้จนกว่าสติสัมปชัญญะจะเกิด
อ.ธิดารัตน์ แสดงว่าสักกายทิฏฐิเวลายึดสภาพธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปหรือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือต้องยึดทีละ ๑ ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ยึดอย่างไร ๕ อย่างทีเดียวพร้อมกัน เพราะว่าสิ่งต่างๆ นั้นต่างกันหมด เวทนาก็ไม่ใช่สัญญา
อ.ธิดารัตน์ หมายถึงว่าต้องมีอารมณ์เป็นสภาพธรรมทีละ ๑ อย่าง
ท่านอาจารย์ ถึงจะรู้จริงๆ ว่ายังมีสักกายทิฏฐิ เพราะว่าสักกายทิฏฐิเกิดให้เห็นว่าเป็นสักกายทิฏฐิ
ผู้ฟัง ทั้งทิฏฐิ และมานะก็เกิดกับตัณหา
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240