พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
ตอนที่ ๑๘๕
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ผู้ฟัง ทั้งทิฏฐิ และมานะก็เกิดกับตัณหา เพราะฉะนั้นการที่จะพิจารณาได้ว่าขณะนั้นเป็นเราด้วยทิฏฐิหรือเป็นเราด้วยมานะ ขณะนั้นก็เป็นเราด้วยตัณหาด้วยใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่ว่าโดยตัณหาโดยไม่มีทิฏฐิได้ โดยตัณหาโดยไม่มีมานะได้
ผู้ฟัง ความต่างก็ต่อเมื่อรู้ได้ทีละหนึ่ง คือหมายถึงสภาพมานะ สภาพทิฏฐิ หรือสภาพตัณหานั้น อะไรเด่นจนกระทั่งสามารถที่จะเกิดสภาวะที่จะรู้สภาพนั้นได้ในขณะที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ จิตเกิดดับทีละ ๑ ขณะ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ขณะที่มานะเกิด ทิฏฐิไม่ได้เกิด
ผู้ฟัง แต่ว่าโลภะเกิดด้วย
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่เป็นพระโสดาบันมีโลภะที่เกิดกับมานะ และก็ยังมีโลภะที่ไม่ได้เกิดกับมานะ และสำหรับผู้ที่เป็นพระอนาคามีก็เช่นเดียวกัน
ผู้ฟัง ก็มีโลภะที่เกิดกับมานะ
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ละมานะ ต่อเมื่อใดเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มีกิเลสใดๆ ทั้งสื้น
ผู้ฟัง แต่ก็ยังเป็นเรื่องราว อย่างไรจึงจะแยกได้
ท่านอาจารย์ ที่จริงลักษณะของสภาพธรรมก็ต่างกันอยู่ แต่เป็นเรา โลภะ ทุกคนก็รู้ว่ากำลังเพลิดเพลิน กำลังสนุก ไม่ใช่ลักษณะของโทสะ เพราะฉะนั้นลักษณะของโทสะกับลักษณะของโลภะนี้ต่างกัน แต่เป็นเราทั้งสองอย่าง
ผู้ฟัง ในกรณีของโลภะที่มีมานะกับโลภะที่มีทิฏฐิ หรือโลภะเฉยๆ ของโลภะเดียว ในขณะนั้นไม่ใช่โทสะ คือไปเทียบกับโทสะก็อาจจะเห็นได้ คืออาการของโลภะที่เกิดในมานะหรือโลภะที่เกิดในทิฏฐิ จะรู้ได้ว่าเป็นตัวตนด้วยมานะหรือเป็นตัวตนด้วยทิฏฐิ ก็ต้องมานะหรือทิฏฐินี่เกิดชัด
ท่านอาจารย์ มีลักษณะปรากฏให้รู้
ผู้ฟัง และผู้นั้นก็จะต้องรู้ลักษณะนั้น ไม่ใช่ว่าคิดเอาเอง
ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะนั้นแต่ไม่เรียกชื่อก็ได้ ไม่ใช่เมื่อไปเรียกชื่อแล้วก็มีลักษณะนั้น
ผู้ฟัง รู้สึกโลภะนี่จะเกิดก่อน เหมือนกับอิจฉา เหมือนกับไม่อยากให้เขาได้ดี แล้วต่อไปก็มานะเกิด
ท่านอาจารย์ เห็นกับได้ยิน เกิดพร้อมกันหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่พร้อม
ท่านอาจารย์ ก็เช่นเดียวกัน
ผู้ฟัง แต่ลักษณะของสภาพธรรมเป็นกลุ่มก้อน เช่น จิตเกิด ๑ ดวงก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากมาย
ท่านอาจารย์ โดยมากแล้ว เมื่อฟังก็ไปคิดมาก โน่นนี่ๆ นั่นก็ตามแต่ แต่ว่าถ้าฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังจริงๆ แล้วฟังอีกก็เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ไม่ใช่ฟังแล้วไปเอาเรื่องอื่นเข้ามาแล้วก็มานั่งคิด ไม่รู้ว่าขณะที่ฟังจริงๆ จะต้องรู้ว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ และจิตจะเกิดเองโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมไม่ได้ และเจตสิกที่จะเกิดก็เกิด เช่น อวิชชาก็เกิดกับอหิริกะ อโนตตัปปะ จิตใดที่มีเจตสิกที่เป็นอกุศลเกิดร่วมด้วย จิตนั้นก็เป็นอกุศล ไม่เอาเรื่องราวหรือไม่เอาตัวเราเข้าไปใส่ เพราะกำลังเรียนให้รู้ว่าสิ่งที่เคยเป็นเราทั้งหมดเป็นเรื่องราวต่างๆ ก็คือจิตแต่ละประเภทซึ่งเกิดดับสืบต่อกันอย่างเร็วมาก ถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่องของจิต ค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ไม่ไปคิดเรื่องรวมโดยความเป็นเรื่องโดยความเป็นเรา แต่ค่อยๆ เข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน
ผู้ฟัง จิตที่เป็นกุศลเกิดก็เกิดขณะเดียว
ท่านอาจารย์ ทุกประเภทเหมือนกัน
ผู้ฟัง แต่โดยสภาพที่เราศึกษามา เจตสิกที่เกิดร่วมกับกุศลจิตมีหลายชนิด แล้วเมื่อเราระลึกกุศลจิตที่เกิด เราก็จะไปคิดนึกถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ในลักษณะสภาพธรรมจริงๆ ที่เกิด มันคือขณะเดียว
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเกิดดับเร็วมาก
ผู้ฟัง แต่ก็ต้องศึกษา
ท่านอาจารย์ รู้สิ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์แสดงมา บางครั้งก็เอาสภาพธรรมมาเทียบเคียง ตรงนี้คืออย่างนี้หรือไม่ เพื่อที่จะให้เข้าใจมากขึ้น คือสมมติว่าไม่เคยเห็นความสำคัญว่าโลภมูลจิตเกิดดับเจตสิกอะไรบ้าง เมื่อเวลาคุยกันก็จะมารวมกันหมดว่า ระหว่างที่โทสเจตสิกเกิดก็ต้องมีทิฏฐิเจตสิกเกิดขึ้นด้วย ก็คุยกันก็บอกว่าไม่ใช่ ก็จริงๆ แล้วจากการศึกษาจะต้องไม่มีลักษณะแบบนี้
ท่านอาจารย์ โลภะมีกี่ประเภท ศึกษาแล้วก็ต้องทราบว่าโลภะมีกี่ประเภท
ผู้ฟัง มี ๘ ประเภท
ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไรใน ๘
ผู้ฟัง มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย กับไม่มี และมีมานะเกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยก็มี ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยก็มี ก็เข้าใจกันอยู่แล้ว ขณะที่ไม่มีทิฏฐิก็มี ขณะที่มีทิฏฐิก็มี แล้วอย่างไร แล้วทำไมต้องนั่นต้องนี่ โลภะที่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยก็มี โลภะที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยก็มี
ผู้ฟัง เวลาที่เกิดความสงสัยในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เราเทียบเคียงไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก่อนที่จะได้ฟังธรรม คนที่เขาเห็นผิดมีหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วคนที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยมีหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนเดิม เพียงแต่เราเรียกชื่อถูกเท่านั้นเองว่าขณะนั้นเป็นโลภะ ขณะที่เห็นผิดเป็นทิฏฐิ เรียกชื่อถูก แต่ความจริงก็คือแม้จะไม่ได้ฟังธรรม เวลาที่โลภะเกิดไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยก็มี แล้วมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยก็มี ก็ธรรมดา ฟังละเอียดก็เพื่อที่จะให้เห็นว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงสิ่งที่คนอื่นไม่สามารถจะแสดงได้ เพราะเขาไม่ตรัสรู้ถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เห็นพระปัญญาคุณ ให้รู้ว่าแม้ความจริงเป็นอย่างนี้ ปัญญาของเราเองสามารถจะรู้ได้แค่ไหน แม้แต่ในขณะที่กำลังฟังขณะนี้ ฟังเรื่องจิต ๘๙ ฟังเรื่องเจตสิก ๕๒ ฟังเรื่องรูป ฟังเรื่องธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพียงเท่านี้ เพียงว่าเป็นธรรมกับอนัตตา เรารู้แค่ไหน แต่ที่ฟังทั้งหมดยิ่งฟังยิ่งเห็นความเป็นอนัตตาโดยรู้ว่านั่นคือปัญญาของผู้ที่ทรงตรัสรู้ทรงแสดง และปัญญาของเรารู้ได้แค่ไหน เช่น ทรงแสดงเรื่องผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท เพราะว่าผัสสเจตสิกมีหน้าที่กระทบอารมณ์ ผัสสเจตสิกกระทบอารมณ์ใด จิตรู้อารมณ์นั้น เพราะฉะนั้นขณะที่เห็นขณะนี้จากการฟังรู้ว่ามีผัสสเจตสิกซึ่งกำลังกระทบสิ่งซึ่งจิตกำลังรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เราไปรู้อย่างนั้นว่าขณะนั้นมีผัสสเจตสิกขณะนั้นจริงๆ เพราะเหตุว่าปัญญาของเราถึงระดับนั้นหรือไม่ ปัญญาของเราระดับการฟังก็ถึงความสามารถที่จะให้เรารู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าเราเป็นใคร กำลังศึกษาอะไร และแม้แต่คำที่ทรงแสดงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม เรารู้ลักษณะของทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรมหรือยัง หรือเพียงแต่จำไว้เท่านั้นเองว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่เราเพราะเป็นธรรม แต่ลักษณะของธรรมจริงๆ ไม่ได้ปรากฏ เพราะว่าถ้าเป็นลักษณะจริงๆ ธรรมนั้นเป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม แม้นามธรรม ธรรมนั้นเป็นนามธรรมอะไร แม้รูปธรรม รูปธรรมนั้นเป็นรูปอะไร ข้อความในพระไตรปิฎกก็จะกล่าวถึงข้อความตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตา (จักขุวิญญาณ ภาษาบาลี) ภาษาไทยคือเห็น เป็นจิตที่รู้โดยอาศัยจักขุ รูปารมณ์ เพียงรูปารมณ์คำเดียว เราฟังแค่เป็นคำกล่าวที่ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเหมือนเข้าใจแล้ว แต่ว่าท่านไม่ได้กล่าวว่าคน ว่าสัตว์ ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ เพราะฉะนั้นขณะนี้เห็นอะไร ถ้าไม่ละเอียดก็ไม่คิดแล้วใช่ไหม แล้วเราก็ตอบว่าเราเห็นรูปารมณ์ แต่ลักษณะที่เป็นรูปารมณ์เฉพาะรูปารมณ์เท่านั้นปรากฏหรือยังว่าเป็นเฉพาะรูปารมณ์ แล้วหลังจากนั้นก็คือคิดแล้วถึงได้จำได้ว่าคนนี้ชื่อนั้น รูปร่างอย่างนี้เป็นโต๊ะ รูปร่างอย่างนั้นเป็นถ้วยแก้ว จากความทรงจำ จากเห็น แต่ต้องหลังจากเห็น เพราะว่าจิตเกิดขึ้นจะทำกิจของตนเองอย่างเดียว ไม่ก้าวก่ายกันเลย จิตเห็นคิดไม่ได้ จิตเห็นๆ เท่านั้น และจิตต่อไปก็รับต่อจนกระทั่งถึงทางใจ ก็จะมีสัญญาความจำ และรู้ว่าขณะนี้เป็นคน แต่ขณะที่กำลังเห็นคนต้องแยกว่าเห็น สิ่งที่ถูกเห็นเป็นรูปารมณ์คือธาตุที่สามารถกระทบจักขุปสาทแล้วปรากฏ ปรากฏอย่างนี้ ไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น ในฝันไม่มีรูปารมณ์ปรากฏ แต่มีเรื่องเพราะว่าเห็นคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง แต่รูปารมณ์นี้ไม่ได้ปรากฏในฝันเลย เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีรูปารมณ์แล้ว มีความคิดจากรูปารมณ์ที่ปรากฏเป็นคนต่างๆ และก็จำมั่นคงแม่นยำว่าเห็นรูปร่างสัณฐานอย่างนั้นชื่ออย่างนั้น เพราะฉะนั้นเวลาฝันก็ฝันจากความจำ สิ่งที่คิดนึกในรูปารมณ์ที่ปรากฏ แต่รูปารมณ์ไม่ได้ปรากฏ นี่คือการฟังธรรมให้เข้าใจธรรม ให้รู้ว่าเป็นธรรม แล้วรู้ปัญญาของเราเองด้วยว่าเราสามารถที่จะรู้ได้แค่ไหน แต่ถ้าไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นเพียงรูปารมณ์ ก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรมไม่ได้ นี้คือการที่เราจะต้องรู้ว่าเราสะสมความไม่รู้มากมายแค่ไหน และความรู้จะค่อยๆ เกิดขึ้นเป็นไปได้อย่างไร ต้องอาศัยสุตมยปัญญาๆ ที่สำเร็จจากการฟัง ไม่ใช่ฟังแล้วไม่รู้ ก็คือได้ยินเท่านั้นเอง แต่ว่าไม่รู้เลยว่าฟังอะไร แต่ขณะนี้กำลังฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ให้รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นอะไร เพราะว่าทางที่สิ่งเหล่านี้จะปรากฏได้ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะกี่โลกก็ตามแต่ กี่จักรวาลก็ตามแต่ จะไม่รู้อื่นเลยนอกจากสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏในขณะนี้ โดยอาศัยตา หรือหู หรือลิ้น หรือจมูก หรือกาย หรือใจ ค่อยๆ เข้าใจ มิเช่นนั้นพระผู้มีพระภาคทรงไม่บำเพ็ญพระบารมีถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่ได้ทรงรับคำพยากรณ์แล้ว ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เมื่อกล่าวอย่างนี้คำถามมาเลยว่า กัปป์นี่เท่าไร อสงไขยเท่าไร ๔ เท่าไร เอาเลข ๔ ตัวเข้าไปแล้วคูณอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ฟังอะไร ฟังให้เข้าใจเท่านั้นเองว่าระยะเวลาที่ยาวนาน แล้วใครจะบอกว่าแสนกัปป์หรือ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ก็แล้วแต่ ก็ยาว และความยาวนานนี่ก็ต่างกัน แต่จะให้มานั่งคิดทั้งวันว่าอสงไขยแสนกัปป์นี่เท่าไรก็แล้วอต่อัธยาศัย แต่ว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะว่าขณะนั้นไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ขณะฝันไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะใช้คำว่า “ฝัน” ไม่ใช้คำว่า “เห็น”
ผู้ฟัง และก็ไม่มีเสียงที่ปรากฏทางหูด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าจิตได้ยินไม่ได้เกิด ถ้าจิตได้ยินเกิด ไม่ใช่ฝัน กำลังเห็น เฉพาะเห็นขณะนี้ฝันหรือไม่
ผู้ฟัง เห็นขณะนี้เหมือนฝัน เพราะไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ แน่ใจหรือ เห็นขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ฝันหรือเห็น
ผู้ฟัง จริงๆ โดยสภาพเป็นจริงก็ไม่ได้ฝัน
ท่านอาจารย์ เพราะกำลังเห็น รู้ไหมว่าเมื่อไรหลับ เมื่อไรตื่น เมื่อไรฝัน
ผู้ฟัง ทราบ
ท่านอาจารย์ แล้วเดี๋ยวนี่เป็นอะไร หลับ หรือตื่น หรือฝัน
ผู้ฟัง ตื่น
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะไม่ได้ฝัน
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะมีสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ ทวารหนึ่งคือทวารใจ มโนทวาร จะเห็นได้ว่าเกิดบ่อยมาก เพราะเหตุว่าขณะนี้หลังจากที่เห็นแล้วคิด ถูกต้องไหม แล้วเวลาฝันคิดหรือไม่
ผู้ฟัง คิด
ท่านอาจารย์ แต่เวลาฝันแล้วคิด ต่างกับเวลาเห็นแล้วคิด เพราะขณะนี้เห็นแล้วคิดตามสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ในขณะฝันไม่มีสิ่งปรากฏทางตาเลย คิดหมดเลย เรื่องราวต่างๆ แล้วก็ดูความวิจิตรของความคิด เราคิดอะไรในฝันหรือว่าเราฝันเห็นอะไรก็ตามแต่ ทั้งหมดคือความทรงจำจากการเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง รวมทั้งสิ่งซึ่งเราอาจจะคิดว่าแล้วเราเห็นหรือไม่ใช่ไหม แต่เราฝันได้ แต่พอตื่นขึ้นมาไม่เห็น ถ้าฝันว่าเหาะได้ หรือฝันว่าเห็นคนเหาะ ไม่ได้ปิดกั้นเลยว่าฝันไม่ได้ใช่ไหม ฝันเห็นคนเหาะก็มี หรือฝันว่าเหาะก็มี แล้วตื่นแล้วจะเห็นคนเหาะไหม เห็นหรือไม่ นี้ก็แสดงให้เห็นว่าความทรงจำของเราจากทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เรารู้ได้ว่าเราไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่าขณะต่อไปจะคิดอะไร ตัวอย่างคือฝัน คืนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะฝันอะไรฉันใด ขณะนี้กำลังเห็นรู้ว่าเห็น แต่หลังจากเห็นแล้วจะคิดอะไร ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ นี่คือความเป็นอนัตตา สภาพธรรมที่เป็นอนัตตา ศึกษาเพื่อให้เข้าถึงความเป็นอนัตตา เพื่อที่จะได้รู้จริงๆ ว่าไม่มีเรา เพื่อที่จะดับสักกายทิฏฐิก่อนที่จะดับกิเลสอื่นได้ ถ้าสักกายทิฏฐิยังไม่ได้ดับ กิเลสอื่นก็ดับไม่ได้
ผู้ฟัง ขณะนี้เห็นท่านอาจารย์ ถ้าฝันเห็นท่านอาจารย์ การเห็นท่านอาจารย์ในขณะนี้กับการเห็นท่านอาจารย์ในฝันก็เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เหมือนหรือ ในฝันเห็นใส่เสื้อสีอะไร
ผู้ฟัง เสื้อสีชมพู
ท่านอาจารย์ นึกเอาใช่หรือไม่ แต่ความฝันจริงๆ จะเป็นสีอะไรก็แล้วแต่ความทรงจำ และความคิดซึ่งต่างไปทุกขณะเลย ขณะนี้คิดอย่างนี้ ต่อไปคิดอะไรไม่รู้แล้ว รู้ได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างนั้น ก่อนจะตายก็ต้องรู้ แล้วก็เลือกสิ่งที่ดีๆ ก่อนจะตาย
ผู้ฟัง แล้วการเห็นในกระจกกับเห็นในสภาพเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เห็นเปลี่ยนไม่ได้ หลังจากเห็นแล้วคิดได้ทุกอย่าง
ผู้ฟัง จากการศึกษา เข้าใจว่ารูปทุกอย่างมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ แล้วก็เกิดดับด้วย
ท่านอาจารย์ รูปทุกอย่าง หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง รูปทุกอย่างๆ เช่นกระดาษ
ท่านอาจารย์ ความละเอียด รูปเกิดพร้อมกันอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป แล้วอากาศธาตุคั่นระหว่างกลาปแต่ละกลาป บางกลุ่มหรือกลาปอาจจะมีมากกว่า ๘ รูป เพราะฉะนั้นไม่ได้ไปคั่นตัวรูป แต่คั่นกลุ่มของรูปซึ่งเล็กที่สุดซึ่งแยกออกอีกไม่ได้แล้ว อย่างน้อยสุด ๘ รูป
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วรูปก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ท่านอาจารย์ ทยอยกันเกิด ทยอยกันดับด้วย
คุณอุไรวรรณ โลภมูลจิตก็ประกอบด้วยโมหเจตสิกด้วยใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ จริงๆ เราเรียนเรื่องราวในสิ่งที่เรายังไม่รู้อีกมาก เช่น อกุศลจิตเราเรียนถึง ๑๒ ประเภท แต่เรารู้ลักษณะของจิตประเภทหนึ่งประเภทใดหรือยัง คือ การฟังธรรมต้องเข้าใจด้วย มิฉะนั้นเราก็จะเรียนเรื่องชื่อ เรียนเรื่องๆ ราวไปทุกชาติ แล้วก็ลืมไปทุกชาติด้วย เพราะเหตุว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่าขณะนี้กำลังสะสมความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมซึ่งมีมากมายโดยที่ว่าเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม แต่การศึกษาพระธรรมอย่าไปคิดว่าสามารถที่จะรู้ และจำชื่อ แต่ว่าเป็นการสะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งนี้สำคัญที่สุด เพราะว่าการที่เราจะสามารถรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม และดับกิเลสได้ ถ้าไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ไม่มีทางที่จะรู้ได้ ไม่ว่าเราจะจำชื่อได้มากมายสักเท่าไรก็ตาม แต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าขณะนี้กำลังสะสม ใช้คำว่า “สะสม”สะสม อะไร ไม่ใช่สะสมชื่อ แต่สะสมความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ยิ่งสะสมก็จะยิ่งรู้ตามความเป็นจริงว่าแท้ที่จริงแล้ว เรารู้จักชื่อต่างๆ เกินกว่าที่เราจะรู้จักลักษณะของสภาพธรรมนั้น เช่น คำว่า “ธรรม” ขณะนี้ยังไม่ถึงกับกล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรมเมื่อไร ก็แสดงว่าที่เรากำลังค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูก ความเห็นถูกทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าสามารถที่จะเข้าใจจริงๆ โดยสติสัมปชัญญะที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ มิฉะนั้นในขณะนี้เราฟังเรื่องโลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ ขณะนี้มีครบไหม กำลังนั่งอยู่ขณะนี้ กำลังฟังเรื่องราวของสภาพธรรม และรู้ว่ามีจริงๆ และรู้ว่ากำลังมีด้วย แต่ว่าไม่ได้เคยคิดเลยว่าขณะนี้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเป็นอะไร เพราะฉะนั้นจะเห็นความละเอียด ความลึกซึ้งของทุกคำที่เราได้ยินว่าไม่ใช่สิ่งที่ ถ้าไม่ไตร่ตรอง และไม่เข้าใจจริงๆ แล้วจะชื่อว่าผู้มีปัญญาหรือว่าผู้ที่สามารถจะดับกิเลสได้ ไม่ใช่เลย ต้องเป็นผู้ที่ฟังภาษาอะไรก็ได้ตามที่เราใช้อยู่ แต่ว่าภาษานั้นสามารถทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีปรากฏในขณะนั้น ขณะนี้ก็ทราบเพียงคร่าวๆ ว่า ทุกคนมีจิต และมีอกุศลจิตมาก แต่ไม่ได้รู้จริงในลักษณะของจิต ในลักษณะของอกุศลจิตที่กล่าวถึง และต่อไปก็จะมีเรื่องจิตต่อไปอีก ก็ไม่รู้อีกใช่ไหม แต่สามารถที่จะจำชื่อได้ เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมว่า เรากำลังสะสมความรู้ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ที่เป็นธรรม มิฉะนั้นเราก็จะหลงเข้าใจว่าเราต้องไปปฏิบัติเพื่อที่จะให้ปัญญาเกิด แต่ขณะที่กำลังฟัง และค่อยๆ เข้าใจจนกระทั่งสามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นี่คือภาวนาหรือการอบรมความรู้ที่สามารถที่จะละความไม่รู้ได้ เพราะเหตุว่าความไม่รู้ คือ ไม่รู้ในธรรม ไม่ใช่ไม่รู้ในชื่อ แต่ไม่รู้ในลักษณะความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ควรจะเข้าใจหรือว่าสะสมความเข้าใจในเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐานอย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ สะสมความรู้ถูก ความเห็นถูกในธรรมเพื่อที่จะเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏละเอียดขึ้น เพื่อที่จะได้รู้จริงๆ ว่าเมื่อปัญญาสามารถแทงตลอดลักษณะของสภาพธรรมใดๆ สภาพธรรมนั้นก็ปรากฏตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีการที่เราจะไปเจาะจงได้แต่ฟังให้เข้าใจ
ผู้ฟัง ฟังให้เข้าใจว่าลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน หรือควรจะเข้าใจอะไรให้มากกว่านี้หรือไม่
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วไม่ใช่ใส่ชื่อ แต่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟัง โลภมูลจิตไม่ว่าของใครขณะไหนก็เป็นโลภมูลจิต เพราะว่ามีสภาพที่ต้องการติดข้องเกิดร่วมด้วยกับจิตที่กำลังรู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์นั้น นั่นคือเราใช้คำว่า “โลภมูลจิต” โลภมูลจิตเกิดแล้วก็ดับไป แต่สืบต่อเป็นอนุสัยสะสมอยู่ในจิต เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าแต่ละคนไม่เหมือนกันตั้งแต่เกิด แม้ว่าจิตจะกล่าวไว้เพียง ๘๙ ประเภท แต่ความหลากหลายนี้มากมาย เพราะฉะนั้นเวลาฟังพระธรรมให้มีความเข้าใจจริงๆ ว่ามีธาตุซึ่งเป็นนามธาตุ ซึ่งเป็นอนัตตา ใครก็บังคับบัญชาให้เกิดไม่ได้เลย แต่เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย และก็ไม่ได้เพิ่งมาเกิดขณะนี้ แต่เกิดมานานแสนนานสะสมมาจนกระทั่งหาต้นไม่ได้ว่านานเท่าไร เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดจะไปรู้สภาพธรรมที่ดับไปนานแสนนาน ไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้มาจากไหน ก็ต้องมาจากการสืบต่อของจิตขณะก่อน จิตขณะนี้สืบต่อมาจากจิตขณะก่อน จิตขณะก่อนสืบต่อมาอย่างไร ก็สืบต่อมานานแสนนาน นี่เป็นปฏิจสมุปบาทหรือไม่ คือเราไม่ใช่ว่าไปติดชื่อว่าเราจะต้องมีหัวข้อนี้ แล้วก็เรียนให้เข้าใจเรื่องนี้ แต่ว่าถ้าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรม ก็จะเป็นความจริงที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกโดยประการต่างๆ หลากหลายที่จะให้เข้าใจ
เพราะฉะนั้นถ้าขณะนี้รู้ว่าจิต ๑ ขณะก็เกิดสืบต่อมาจากขณะก่อน รู้ปฏิจสมุปบาทหรือไม่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 181
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 182
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 183
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 184
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 186
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 188
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 189
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 190
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 191
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 192
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 193
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 194
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 195
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 196
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 197
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 198
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 199
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 200
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 201
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 202
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 203
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 204
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 207
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 208
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 209
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 210
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 211
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 212
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 213
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 215
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 216
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 218
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 219
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 221
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 222
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 223
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 224
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 225
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 226
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 227
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 228
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 229
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 230
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 231
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 232
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 233
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 234
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 235
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 236
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 237
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 238
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 239
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 240