พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 270
ตอนที่ ๒๗๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่หมายความว่า เมื่อได้ยินแล้ว นามธรรมเป็นสภาพที่ไม่มีรูปร่าง แต่เป็นธาตุที่สามารถรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขั้นการฟังสามารถเข้าใจได้ แต่ขณะนี้ก็มีสภาพธรรมนั้นที่ไม่มีรูปร่างเลย และเป็นสภาพที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรม แต่ยังไม่รู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมเลย เพราะเหตุว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ ต้องเพราะสติสัมปชัญญะเกิด มีลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏแล้ว แต่ว่าสติจะรู้ลักษณะนั้น หรือไม่รู้ลักษณะนั้น แต่ว่าลักษณะนั้นก็กำลังมี เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือเสียง หรือลักษณะที่อ่อน หรือแข็ง เย็น หรือร้อน ก็มี ไม่ใช่ไม่มี แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีนั้น สามารถจะรู้ลักษณะ ไม่ใช่รู้แต่ว่ามีรูป ๗ รูป แล้วรูปที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้มี กำลังปรากฏ
นี่คือขั้นฟัง และเข้าใจความจริงว่าขณะนี้สิ่งที่มีปรากฏมีแน่นอน แต่ยังไม่ถึงลักษณะที่เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมของสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าเพียงได้ฟัง แต่ว่าตลอดเวลามา จำเป็นคน เป็นสัตว์ ลืมที่จะรู้ลักษณะแท้ๆ ของสิ่งที่สามารถกระทบปรากฏเปิดเผยในลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ แต่จะปรากฏได้ ต่อเมื่อกระทบกับจักขุปสาท
เพราะฉะนั้น เราจะได้ฟังเรื่องของธรรมมาโดยตลอด เรื่องของนามธรรม เรื่องของรูปธรรม เรื่องของจิต เรื่องของเจตสิก ซึ่งกำลังมีในขณะนี้ทั้งหมด ไม่ขาดรูปธรรมนามธรรมเลย แต่เริ่มเพียงเข้าใจเรื่องราวของนามธรรม และรูปธรรม ยังไม่ได้รู้ลักษณะจริงๆ ของนามธรรม และรูปธรรม เพราะเหตุว่าต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่กำลังรู้ลักษณะ เพราะว่ามีลักษณะให้รู้ เช่น ขณะนี้เห็นคน แสดงว่าเรารู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือไม่ เพราะว่าเห็นเมื่อไรก็เป็นคน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ เป็นชีวิตประจำวันปกติ แม้ว่าจะฟังแล้วว่า มีธาตุ หรือมีธรรมชนิดหนึ่งที่สามารถปรากฏให้เห็น เพียงเท่านี้ ไม่ใช่ให้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด สามารถปรากฏให้เห็นลักษณะของธาตุนั้น ก็จะต้องมีความเข้าใจอย่างมั่นคงว่า รู้จริงๆ หรือยัง ถ้ายังไม่รู้จริงๆ หมายความว่าขณะนั้นสติสัมปชัญญะไม่ได้รู้ และเข้าใจเฉพาะลักษณะของสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ก็ต้องฟังไปอีก และทางหูก็มีเสียง เสียงก็มีจริงๆ หมดแล้วด้วย และไม่ทันที่จะรู้ว่าเป็นธรรมชนิดหนึ่งซึ่งต่างจากสภาพที่กำลังได้ยินเสียง ทั้งหมดมีจริงในชีวิตประจำวันทุกภพชาติ แต่ต้องอาศัยการฟัง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่มั่นคง เป็นสัจญาณ รู้ว่าทุกขสัจ อริยสัจที่ ๑ ก็คือ การเกิดดับของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้
เพราะฉะนั้น เพียงฟังเรื่องราวเข้าใจได้ว่า สภาพธรรมไม่เที่ยง เกิดดับ แต่ยังไม่ประจักษ์การเกิดดับ ซึ่งเกิดจริงๆ ดับจริงๆ แล้วก็เกิดจริงๆ แล้วก็ดับจริงๆ สืบต่อ จนกว่าจะถึงกาลที่สติสัมปชัญญะเริ่มเกิด เริ่มเกิดนี่จะน้อย หรือจะมาก เพราะว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก แม้ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตา รูปใดเกิดแล้วดับแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย แต่มีรูปอื่นซึ่งปรากฏสืบต่อเสมือนว่าไม่ดับเลย เพราะฉะนั้น เวลาที่สติสัมปชัญญะจะเกิดบ้าง เพราะว่ามีเหตุปัจจัยที่ทำให้นึกได้ ก่อนอื่นจะเป็นระลึกได้ว่า ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ กว่าจะเริ่มค่อยๆ เข้าใจตรงลักษณะ ซึ่งไม่ต้องไปทำอะไรเลย เมื่อจะทำ ก็คือเราอีกแล้ว นี่คือความยากของการละความเป็นตัวตน ด้วยการมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงจริงๆ ที่จะรู้ว่า ลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงว่า เป็นสภาพธรรมที่เป็นธรรม เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ด้วยเหตุนี้ฟังขณะนี้ มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วแต่ว่ามีความเข้าใจถึงระดับใด ถ้าถึงระดับที่รู้ว่า เป็นธรรมชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง กำลังเห็น แต่ยังไม่สามารถที่จะรู้จนกระทั่งประจักษ์แจ้งลักษณะนั้นได้ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องรู้ความต่างของขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดกับขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด
มีข้อความในปฏิสัมภิทามรรค รูปปรากฏแน่นอนกับจิตที่กำลังรู้รูปนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตเห็นเกิด รูปก็ปรากฏกับจิตเห็น เสียงมี ปรากฏกับจิตได้ยิน กลิ่นปรากฏกับจิตรู้กลิ่น รสปรากฏกับจิตลิ้มรส แข็ง อ่อน เย็น ร้อน ตึงไหว ปรากฏกับจิตที่รู้สิ่งนั้นทางกาย แต่ไม่ปรากฏดี "ดี" ในที่นี่ ไม่ได้หมายความว่าเป็นกุศล แต่ปรากฏโดยไม่รู้ เช่น อ่อนแข็งที่กำลังปรากฏ ปรากฏเสมอกับทุกคนที่มีกายปสาท แต่ไม่ได้ปรากฏดี ตามความเป็นจริง ดี คือ เกิดแล้วดับ ดี คือ เป็นลักษณะของสภาพธรรมชนิดหนึ่งจริงๆ เพราะฉะนั้น เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดเมื่อใด จะสังเกตได้ว่า แข็งที่เมื่อครู่นี้ก็ปรากฏ แต่ปรากฏดีกับสติ ดี คือ ลักษณะนั้นปรากฏ เพราะเหตุว่าสติกำลังรู้ ไม่ใช่เพียงปรากฏกับกายวิญญาณเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นความต่างกันของของขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ที่เป็นสติปัฏฐาน กับขณะที่หลงลืมสติ เป็นปกติ แต่สภาพธรรมปรากฏดี เพราะเหตุว่าลักษณะนั้นปรากฏจริงๆ ในขณะเวลาที่สติสัมปชัญญะไม่ได้เกิด แม้จิตรู้ลักษณะนั้น ลักษณะก็ไม่ปรากฏจริงๆ เหมือนกับที่ปรากฏกับสติสัมปชัญญะที่เป็นสติปัฏฐาน
อ.วิชัย หลายพระสูตรที่ทรงแสดงเรื่องอริยสัจธรรม เช่น ทรงแสดงเรื่องเวทนา ๓ อะไรเป็นเหตุให้เกิดเวทนา อะไรเป็นความดับเวทนา อะไรเป็นหนทางให้ดับเวทนานั้น ซึ่งก็ทรงแสดงให้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อศึกษาเมื่อฟัง เช่น เมื่อศึกษาสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา คล้ายๆ กับทรงแสดงให้เห็นเหตุด้วย ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ด้วย หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจักขุปสาท ของธรรมดาๆ แต่ไม่ได้คิดเลยว่า ขณะนี้เพียงจักขุปสาทรูปไม่เกิด สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ปรากฏไม่ได้เลย นี่คือเหตุ แต่ไม่ใช่ขั้นคิด ขั้นคิดนี่คิดยาวไปจนกระทั่งเกิดดับ แล้วกิจการงานอะไรได้ทุกอย่าง ปัจจัยต่างๆ ก็คิดได้ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นธรรม เพราะเหตุว่าสติสัมปชัญญะไม่ได้รู้ลักษณะ แต่คิดเรื่องของสิ่งนั้น เพราะจริงๆ ขณะนี้ ถ้าเอาเรื่องออกหมด มีเฉพาะลักษณะเท่านั้นจริงๆ ที่ปรากฏแต่ละทาง เช่น เสียงก็ปรากฏเท่านั้นถ้าไม่คิด ถ้าไม่คิดเลยจะปรากฏแต่เฉพาะลักษณะแต่ละลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ แต่เพราะเหตุว่ายับยั้งการคิดไม่ได้เลย คิดโดยไม่รู้ตัว เช่น ขณะเห็นเป็นคนก็คิดแล้ว เร็วแค่ไหน คิดถึงรูปร่างสัณฐานจำได้เลยทันที ไม่ต้องรอเวลาเลย ได้ยินเสียง รู้ความหมายทันที ไม่ต้องไปนั่งคิด เหมือนคนที่เพิ่งเรียนภาษาหนึ่งภาษาใด และจะค่อยๆ จำว่า เสียงนั้นมีความหมายว่าอะไร นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของความคิด ทุกอย่างเกิดดับเร็วมาก เหมือนอยู่ในโลกของความไม่จริง เพราะสิ่งที่ปรากฏดับแล้ว หมดแล้ว ไปเรื่อยๆ ทุกขณะ
เพราะฉะนั้น ก็จะอยู่ในโลกของนิมิต และมายา เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด จะรู้ได้เลยว่า ชั่วขณะนิดหนึ่งที่ลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ ในกระแสเหมือนกับห้วงน้ำซึ่งเกิดดับไม่หยุดยั้ง จะมีการรู้ลักษณะหนึ่งขณะนั้น ที่จะเริ่มให้รู้ว่า ลักษณะนั้นจริงๆ ซึ่งเป็นลักษณะซึ่งแม้สติปัฏฐานไม่เกิด ก็เกิดดับไปแล้วอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่คำนึงถึง หรือไม่รู้ หรือไม่ใส่ใจ ไม่เข้าใจในลักษณะนั้น แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด เริ่มมีการรู้ลักษณะ ขณะนั้นก็จะเห็นได้ว่า วันหนึ่งๆ ชีวิตเป็นอย่างนั้น นามธรรมรูปธรรมก็เกิดดับไปเร็วอย่างนั้น เมื่อครู่นี้ก็หมดไป ไม่รู้ว่านามธรรมเท่าไร รูปธรรมเท่าไร แต่เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด ก็ชั่วขณะที่มีการรู้ลักษณะของสิ่งนั้น
อ.วิชัย สภาพธรรมปรากฏอย่างรวดเร็ว แล้วทรงแสดงให้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทย คือ การเห็นอย่างนี้ในสภาพที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว คล้ายๆ จะเป็นขั้นคิด
ท่านอาจารย์ ถ้าขั้นคิด วันนี้ทุกคนก็เป็นพระโสดาบัน ใช่ไหม สภาพธรรมเกิดแล้วดับแล้ว ก็เป็นปัญญาขั้นหนึ่งที่รู้แล้วว่า ธรรมเกิดแล้วดับแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่าขณะนี้ต้องมีความเข้าใจตามที่ได้ศึกษาว่า สภาพธรรมไม่เที่ยง สิ่งที่ปรากฏเหมือนเที่ยง เกิดดับเร็ว จนไม่ปรากฏการเกิด และดับ
เพราะฉะนั้น เวลาที่อยู่ในกระแส ในวังวน ในโอฆะ ในห้วงน้ำของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับไม่หยุด กับการที่เริ่มระลึก คือ สติเกิดรู้ลักษณะนิดหนึ่ง ก็คือ สัมผัส เริ่มที่จะแตะลักษณะของปรมัตถธรรม ซึ่งแท้จริงก็คือเกิดดับนั่นแหละ
ผู้ฟัง เมื่อกล่าวถึงทุกข์ หรือทุกขสัจจะ ในความเป็นจริงของชีวิตประจำวัน แม้แต่สุขก็คือทุกข์ แต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ได้แม้เพียงขั้นความคิดว่า ขณะที่เป็นสุขก็คือทุกข์
ท่านอาจารย์ สุขเที่ยงไหม เดี๋ยวนี้สุขที่เคยมีนั้นอยู่ที่ไหน กลับมาอีกได้ไหม หรือว่าสุขใหม่เกิดแล้ว ไม่ใช่สุขเก่า
ผู้ฟัง เช่น เรารู้สึกร้อน เราเป็นทุกข์ เราก็ไปอาบน้ำ ก็รู้สึกว่าสบาย
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกร้อน เป็นความรู้สึก ต้องดับไปก่อนที่จะรู้สึกสบาย
ผู้ฟัง แต่ว่าเกิดต่อเนื่องสืบต่อตลอด และทำให้เราร้อนตลอด แต่เราก็เดินไปอาบน้ำ ซึ่งจริงๆ อาจเป็นเรื่องราว แต่มองไม่เห็นว่า ลักษณะของความสบายนั้น
ท่านอาจารย์ มีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เกิด หรือไม่ จึงได้ปรากฏ เดี๋ยวนี้มีไหม ความสบายตอนที่เดินไปอาบน้ำแล้วสบาย ยังอยู่ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่อยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ นี่คือดับแล้ว เกิดแล้วก็ต้องดับ สภาพธรรมใดที่เกิดแล้วไม่ดับ ไม่มี ทุกอย่างที่เกิดต้องดับไป และก็เร็วด้วย สั้นมาก ถ้าไม่ประจักษ์ว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือสภาพธรรมใดๆ เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ถ้าไม่ประจักษ์เช่นนี้ ก็พอใจยึดมั่นในความรู้สึกที่เป็นสุข และก็แสวงหาความสุข ไม่รู้ความจริงว่า เพียงชั่วขณะที่เกิดแล้วก็หมดไป
ผู้ฟัง แต่ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ที่เป็นความจริง คือ ลักษณะของปรมัตถ์ ไม่ได้ปรากฏ แต่เราอยู่ในขั้นของการศึกษา และมีความเข้าใจขั้นนึกคิด เมื่อเรามีความเข้าใจขั้นนึกคิด เราก็ไม่สามารถคิดได้ว่า สุขนี้หมด หรือทุกข์ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา แล้วก็หมดไป แต่ว่าในชีวิตประจำวัน สุขก็คือสุข ทุกข์ก็คือทุกข์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าสภาพธรรมไม่ปรากฏไม่ได้ ตราบใดที่มีจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้ ถ้าความรู้สึกเป็นสุขมีจริงๆ ที่เราใช้คำว่า “รู้สึกเป็นสุข” ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง จะกล่าวว่าไม่มี ไม่เกิด ไม่ปรากฏไม่ได้ แต่ไม่รู้การเกิด และการดับ ของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เช่น "เห็น" มีจริงแน่นอน กำลังเห็น มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นด้วยแน่นอน กำลังเห็นสิ่งนั้น แต่ไม่รู้ความจริงว่า เห็น และสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เกิดแล้วดับแล้วอย่างรวดเร็ว ไม่อย่างนั้นเราไม่ต้องมานั่งฟัง ไม่ต้องมานั่งเรียนให้ค่อยๆ เข้าใจว่า ความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อเกิดมาแล้วด้วยความไม่รู้ ก็ไม่รู้ไปตลอดชาติ กี่ภพกี่ชาติก็ไม่รู้ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ และสุขทุกข์จะมาไม่ตรงกับที่เราหวังด้วย ใครหวังไม่ได้เลย ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน ข่าวคราวต่างๆ ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว ที่ทำให้สิ่งนั้นๆ เกิดขึ้น ไม่มีใครสามารถที่จะดลบันดาลได้ แล้วก็เป็นอย่างนี้ไปทุกชาติ บางคนก็บอกว่า ก็ยังไม่เบื่อ เพราะไม่ใช่ปัญญาที่รู้จริงๆ ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ซึ่งเกิดแล้วดับ ยังมีเราที่สามารถจะเปลี่ยนแปลง ยังมีเราที่หวังว่าจะได้สิ่งที่ดีในอนาคตใกล้ หรือไกลก็แล้วแต่ ยังมีความผูกพันกับผู้คน เครือญาติ มิตรสหายในโลกนี้ ในสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น จะจากไปทำไม ในเมื่อกำลังผูกพัน และก็ไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ บางคนก็บอกทนได้ ทั้งๆ ที่ทุกข์อยู่ก็ทนได้ พอทนได้ ขอเพียงมีชีวิตต่อไป
ผู้ฟัง สิ่งเหล่านี้ทำให้ ถ้าจะตอบจริงๆ ว่าอยากไหมที่จะไม่เกิดอีก บางคนก็อาจจะตอบว่า ถ้าเกิดแล้วพบสิ่งที่ไม่ดี หรือเป็นทุกข์ ก็จะไม่เกิด แต่ถ้าจะเกิดแล้ว จะอยู่ในที่ดี และเป็นสุข ก็จะเกิด ก็ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์จริงๆ ว่า ศึกษาธรรมเพื่อที่จะสิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ยังไม่ทันไปถึงเรื่องสิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์ เพียงแค่มีสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้ แล้วไปคิดเรื่องจะเกิดดี หรือไม่เกิดดี ถ้าเกิดดีก็เกิด ถ้าเกิดไม่ดีก็ไม่อยากจะเกิด นี่คือคิดทั้งหมด แต่สิ่งที่มีในขณะนี้เกิดแล้วเพราะอะไร ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้เกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เกิดให้ทราบว่า ไม่มีใครเปลี่ยนดลบันดาลให้เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดได้เลย แต่สิ่งใดที่เกิดแล้วเป็นอย่างไร เพราะมีปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น
ด้วยเหตุนี้อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถจะไปเลือกให้เกิด หรือไม่เกิด และไม่สามารถจะไปเลือกภพภูมิตามความต้องการได้ แต่สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ควรเข้าใจถูก หรือว่าผ่านไป ไม่เข้าใจมาแล้วตั้งแต่เกิด ก็ผ่านไป ก็ไม่เดือดร้อน หรือว่าควรเข้าใจถูกต้องขึ้น และถ้าเข้าใจแล้ว จะไปคิดเรื่องจะเกิดที่ไหน หรือไม่อยากเกิดที่ไหน เพราะแค่คิด ความจริงใครจะไปเกิดที่ไหน ไม่สามารถมีใครจะรู้ได้
ผู้ฟัง กรณีที่มีความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ก็เบื่อ อยากจะทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ บางทีก็สลับกับความสุข พอมีความสุข ก็ไม่เบื่อ อยากให้เกิดอีก น่าจะมีกุศโลบายที่ทำให้ความเบื่อเกิดต่อเนื่อง จนกระทั่งไม่อยากเกิดอีก ขอความกรุณาอาจารย์แนะนำ
ท่านอาจารย์ ของตัวเอง หรือของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ตอนนี้คงเป็นของตัวเองก่อน
ท่านอาจารย์ ของตัวเองต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างมีทฤษฎีของตัวเอง
ผู้ฟัง จะให้เบื่ออย่างถาวรไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จะให้เบื่อถาวร พระพุทธศาสนาไม่ใช่จะให้ทำอะไร แต่เข้าใจถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริงของสิ่งที่มี ปรากฏแล้วในขณะนี้ ถ้าสิ่งที่กำลังมีปรากฏแล้วในขณะนี้แล้วไม่เข้าใจ ไม่ได้ให้ไปทำอะไรเลย จะไปทำอะไร ในเมื่อไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี และจะไปทำอะไรได้ จะทำอะไรได้
ผู้ฟัง คือพัฒนาความคิดเบื่อ
ท่านอาจารย์ มิได้ สิ่งที่มีแล้วยังไม่เข้าใจ เหตุที่เกิดของสิ่งนี้ แล้วจะไปรู้เหตุที่ต้องการจะให้เกิดของสิ่งที่คิดหวัง แม้ขณะนี้สิ่งนี้ปรากฏแล้วเพราะมีเหตุให้เกิดฉันใด การที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิด ก็เพราะมีเหตุของสิ่งนั้น จึงจะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เราไปทำทฤษฎี หรือคิดหวังอะไรขึ้น แต่ให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มี และเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งที่มีด้วย ถ้าจะดับสิ่งที่มี ก็ต้องดับเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งที่มีนั้น ตราบใดที่ยังมีเหตุ ก็ยังต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นตามเหตุนั้นๆ
ผู้ฟัง หมายความว่า ถ้าต้องการให้เกิดวิบากที่ดีก็ต้องทำเหตุที่ดี สะสมเอาไว้ อย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เห็น มีเหตุให้เกิด หรือไม่
ผู้ฟัง มีจากอดีต
ท่านอาจารย์ ได้ยิน มีเหตุให้เกิด หรือไม่ คิดนึกมีเหตุให้เกิด หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ และจะไม่ให้มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างไร ในเมื่อเหตุมีแล้ว พิสูจน์แล้วด้วย คือ ทำให้ผลเกิดปรากฏแล้วด้วยในขณะนี้ ก็ต้องรู้เหตุ เข้าใจเหตุ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติต่อไป คือ ทำในสิ่งที่ถูก
ท่านอาจารย์ คือ เข้าใจ จะเข้าใจสิ่งที่มี สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้โดยวิธีใด ถ้าไม่ใช่การฟัง
ผู้ฟัง ใช้จินตามยปัญญาได้ไหม
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วต้องคิดทุกคน แต่ว่าคิดถูก หรือคิดผิด อีกเรื่องหนึ่ง ตามการสะสม
ผู้ฟัง ถ้าเราคิดแล้ว จะเอาอะไรเป็นเครื่องตัดสินว่า เราคิดถูกแล้ว
ท่านอาจารย์ "แล้ว" คือ สามารถรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ "ยังไม่แล้ว" คือ เพิ่งเริ่มที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ซึ่งยังไม่พอ
อ.นิภัทร การเข้าใจพระธรรมมีคุณค่ามหาศาลในชีวิต เรื่องทุกข์ เรื่องสุขในโลกนี้ก็เป็นของธรรมดาที่จะต้องประสบ แต่ถ้าเราเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมแล้ว ก็ถือว่าเราได้แสวงหาสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่ชีวิตของเรา เบื้องแรกก็ต้องมีความเข้าใจในพระธรรมให้ถูกต้อง นี้คือสำคัญที่สุด
อ.กุลวิไล การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ต้องจากการได้ยินได้ฟังพระธรรม และมีปัจจัยให้พิจารณาไตร่ตรองในสภาพธรรมที่มีจริง แม้แต่คำว่า “ทุกข์” ที่เราได้สนทนากันมา เพราะว่าถ้าหากไม่รู้ว่า ทุกข์คืออะไรแล้ว ก็ย่อมเข้าใจทุกข์นั้นผิด เพราะส่วนใหญ่เราจะคิดว่า ทุกข์นั้นคือทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพราะทุกท่านคงไม่ชอบแน่นอนสำหรับทุกข์กาย และขณะเดียวกัน ทุกข์ใจก็ตามมาด้วย แต่สิ่งเหล่านี้ถ้าเราได้ศึกษาพระอภิธรรม ที่เราได้ศึกษากันในช่วงของพื้นฐานพระอภิธรรม ก็จะเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้มีความเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน
เพราะว่ากล่าวถึงทุกข์ ก็ไม่พ้นทุกข์กาย ทุกข์ใจ ที่เราเข้าใจมาก่อน ซึ่งท่านกล่าวถึงสภาพธรรมที่เป็นทุกขสัจ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เพราะว่ามีในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่สภาพธรรม รูปทั้ง ๒๘ รูป มีจริง แต่รูปในชีวิตประจำวัน ๗ รูป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มีในชีวิตประจำวัน แต่รู้ไหมว่า นี่คือรูปธรรมที่มีในชีวิตประจำวันนั่นเอง และเป็นทุกข์ด้วย เพราะว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเกิดแล้วดับไป ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นรูป มีจริง และรูปก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนด้วย ลองกระทบสัมผัสที่กายเรา หรือว่าที่ภายนอก ที่ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนมากมาย แต่ลักษณะอะไรปรากฏเมื่อกระทบสัมผัส ท่านแสดงไว้ว่า รูปที่รู้ได้ทางกาย มี ๓ รูปด้วย คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ลักษณะของธาตุดินเป็นอย่างไร ก็ไม่พ้นลักษณะอ่อน หรือแข็งนั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้ก็มีจริง เพราะฉะนั้นการศึกษาปรมัตถธรรม พระอภิธรรม ก็ต้องมีการไตร่ตรองพิจารณาในสภาพธรรมที่ทรงแสดงด้วย เพราะฉะนั้นการศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริง และทั้งหมดก็คือในขณะนี้เอง แต่ปัญญาเท่านั้นที่จะเห็นถูก รู้ทั่วในสภาพธรรมที่ปรากฏ ซึ่งก็ไม่พ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 241
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 242
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 243
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 244
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 245
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 246
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 247
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 248
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 249
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 250
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 251
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 252
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 253
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 254
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 255
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 256
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 257
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 258
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 259
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 260
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 261
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 262
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 263
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 264
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 265
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 266
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 267
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 268
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 269
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 270
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 271
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 272
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 273
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 274
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 275
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 276
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 277
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 278
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 279
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 280
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 281
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 282
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 283
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 284
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 285
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 286
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 287
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 288
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 289
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 290
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 291
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 292
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 293
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 294
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 295
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 296
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 297
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 298
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 299
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 300