พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 278
ตอนที่ ๒๗๘
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะอธิบายเพิ่มขึ้นได้ไหมว่า ตอนนี้จริงๆ ฟังแล้วก็เข้าใจว่าต้องเข้าใจ แต่ระดับของความเข้าใจ ก็คือ ถ้าประจักษ์ ไม่รู้เข้าใจอย่างไร
ท่านอาจารย์ เข้าใจขึ้น มีไหม จากตรงนี้จะกระโดดไปตรงโน้นไม่ได้ เข้าใจขึ้นขั้นฟัง มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วก็เข้าใจขึ้นอีก ขั้นฟังอีก ก็มีเพิ่มขึ้น ขณะที่สติสัมปชัญญะเริ่มเกิด ต่างกับขณะที่เพียงฟังหรือไม่ สติสัมปชัญญะกำลังรู้ลักษณะ มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฎตลอดเวลา แต่ลืมเสมอว่าเป็นธรรม ลืมเสมอว่าเป็นเพียงลักษณะของธรรม ขณะนี้ที่กำลังนั่งอยู่ที่นี่ ลืมว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่สามารถปรากฏทางตา ภาษาบาลีใช้คำว่า รูปารัมมณะ ใช้คำว่า “วัณโณ” หรือคำอื่นก็ได้ แต่หมายความถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา ลืมว่าเป็นสภาพธรรมที่สามารถปรากฏเมื่อกระทบจักขุปสาทเท่านั้น ฟังมาเท่าไรๆ ก็ลืม ก็ยังเป็นคนนั่งอยู่ที่นี่ตลอดเวลา
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นผู้ที่ประจักษ์ก็จะไม่ลืม ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องมีความเข้าใจถูกต้อง จนกระทั่งสามารถที่จะดับทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ไม่มีความสงสัยในความเป็นธรรมแต่ละลักษณะ
ผู้ฟัง ทุกขณะจิตของผู้ประจักษ์จะไม่ลืมว่า นี่คือธรรม ไม่ใช่เรา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ รู้ไหมว่าเป็นธรรม ก่อนประจักษ์ ฟังแล้วเข้าใจไหมว่าเป็นธรรมก่อนประจักษ์ ฟังแล้วเข้าใจอีกๆ ๆ หรือไม่ เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิดก็รู้ว่าต่างกับขณะที่เพียงฟัง และเวลาที่มีความเข้าใจขึ้น เพราะสติเกิด และมีความรู้ทั่วขึ้น และจะลืมอะไร ในเมื่อเป็นความเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง เป็นไปได้ไหมว่า ขณะที่ทำงาน หรือการที่เราทำอะไรก็ตาม ในการดำเนินชีวิต ซึ่งไม่ได้อยู่ในขณะของทาน ศีล ภาวนา ในขณะนั้นก็ไม่มีทางเป็นกุศลได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คุณณรงค์ใช้คำว่า ไม่ใช่ในขณะที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา หมายความว่าในขณะนั้นต้องเป็นอกุศลจิต
ผู้ฟัง เช่น ขณะคิดทำงานต่างๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่า ขณะนั้นไม่ใช่ทาน ศีล ภาวนา ก็ปิดประตูของกุศลไปเลย แต่ว่าขณะนั้นเป็นอกุศลจิต
ผู้ฟัง หมายถึงว่า ขณะทำงาน แล้วทานจะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ มีของอะไรที่จะให้คนข้างๆ ไหม ไม้บรรทัด ดินสอ ปากกา ทิชชู่ หรืออะไรก็ได้
ผู้ฟัง อย่างนี้ก็ต้องให้กันทั้งวัน
ท่านอาจารย์ เป็นไปได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะความเป็นเราที่อยากเป็นกุศล หรือเพราะมีความเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในขณะนั้นสำหรับคนนั้น
ผู้ฟัง ก็เป็นประโยชน์ เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ความต่างกันของขณะที่เป็นกุศลจิต และอกุศลจิต
ผู้ฟัง ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหา เพราะว่าสติเราไม่เกิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคุณณรงค์ก็ปิดประตูตั้งแต่ว่า ไม่ใช่ทาน ศีล ภาวนาก็ต้องเป็นอกุศลตลอดไป แต่ว่าแม้ขณะนั้นกุศลจิตเกิดได้ไหม เห็นใครก็ตาม มีเมตตาได้ไหม เมตตาก็เป็นกุศลแล้ว แต่ถ้าปิดประตูว่า ไม่ใช่ทาน ศีล ภาวนา ก็จบ คือ เป็นอกุศลตลอด แต่ไม่ว่าขณะไหนก็ตาม กุศลจิตเกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัย แล้วแต่โอกาส แล้วแต่ปัจจัยในขณะนั้น
ผู้ฟัง ทุกข์กับโทมนัส คือ เวลาที่เจ็บ ก็มีความเดือดร้อนทางใจ ก็เป็นโทมนัส ซึ่งถ้าไม่สังเกตจริงๆ เราก็จะมีความตั้งใจในการเจ็บ คือ จะรู้สึกเจ็บอยู่อย่างนั้น ซึ่งจะเกิดติดต่อกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราจะพูดอะไร เราจะคิดอะไร เราจะใคร่ครวญสงสัยอะไรก็ตามแต่ แต่ไม่ใช่การรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นจริง และสามารถจะรู้ความจริงได้ด้วย โดยไม่ใช่ไปคิดเรื่องราว ซึ่งขณะนั้นเพราะไม่รู้ลักษณะจริงๆ จึงปนกัน เช่นคำถามว่า เจ็บ แล้วก็คิดว่าโอ๊ยเจ็บ นี่ต้องแยกเลย เสมือนว่าพร้อมกันอย่างรวดเร็วมาก แม้แต่ขณะที่โอ๊ยเจ็บ ก็เหมือนกับว่ายังเจ็บอยู่ด้วย แต่การเกิดดับสืบต่อของจิตอย่างเร็ว ทำให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่า จิตแต่ละขณะต่างกัน เช่น ขณะที่เจ็บมีจริงๆ แต่ขณะที่คิดคำ เป็นอารมณ์ แม้ว่าจะมีลักษณะที่เจ็บเกิดดับสลับอยู่ แต่ขณะที่กำลังคิดคำว่า “โอ๊ย” ขณะนั้นที่โอ๊ย จิตมีคำว่า “โอ๊ย” เป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่ให้เราไปนั่งคิดไตร่ตรอง งุนงงสงสัย ปวดศีรษะ แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมที่มี ค่อยๆ ฟังให้เข้าใจ อย่างมโนทวารกับปัญจทวาร ไม่ใช่ให้ใครไปแยก แต่ให้เข้าใจถูกต้องว่า ทางปัญจทวาร อายุของรูปที่กระทบปรากฏสั้นมากแค่ไหน และหลังจากนั้นก็คือว่า เมื่อภวังคจิตเกิดคั่นดับไปแล้ว มโนทวารวิถีเกิดต่อ ก็ไม่ได้ปรากฏ เหมือนกับมีทางจักขุทวารปรากฏอยู่ตลอดเวลา นี่คือการที่เริ่มให้เห็นความจริงว่า ความไม่รู้ของเรามากมายมหาศาลแค่ไหน อยู่ในโลกของความคิด ฝัน นึก ตลอดเวลา ถึงสิ่งที่ปรากฏ โดยที่ไม่รู้ความจริงเลย จนกว่าเมื่อสติสัมปชัญญะเกิด มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏให้เข้าใจ ขณะนั้นตื่นนิดหนึ่ง ที่จะรู้ว่าความจริงคือเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง
ผู้ฟัง ถ้าลักษณะของแข็งตกใส่ กายวิญญาณก็มีลักษณะแข็งเป็นอารมณ์ คือ เวทนาที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ ก็คือทุกขเวทนา แล้วมโนทวารที่เกิดจากกายวิญญาณ จะมีแข็งเป็นอารมณ์ หรือว่าเจ็บเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ ประเด็นนี้ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า เมื่ออารมณ์ที่ปรากฏทางหนึ่งทางใดของปัญจทวารดับไปแล้ว ภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารรู้อารมณ์นั้นต่อ เป็นอารมณ์เดียวกัน คำว่า “อารมณ์เดียวกัน” เราก็จะเข้าใจได้เลยว่า มโนทวารจะต้องมีอะไรเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง แข็งเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง แล้วเจ็บเป็นอารมณ์ ก็คือขณะมโนทวารที่ต่อไป
ท่านอาจารย์ เมื่อไรเป็นอารมณ์ เมื่อนั้นก็รู้ โดยไม่ต้องไปแยกว่าทวารไหน ไปนั่งคิดทำไม ในเมื่อมีโอกาสที่จะรู้ความจริง เหมือนกับคนที่ไม่ได้เข้าใจหนทางที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่า สัจญาณ คือ การที่ฟังจนกระทั่งมีความเข้าใจที่มั่นคงว่า เป็นธรรม เป็นสัจธรรม เพราะว่าเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน การฟังทั้งหมด ไม่ว่าจะฟังจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ไหน ก็เพื่อให้เข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม มั่นคงจนกระทั่งรู้จริงๆ ว่า ขณะนี้เป็นสภาพธรรม หลงลืมสติ หรือว่าสติเกิด แต่ไม่ใช่ให้เราไปทำอย่างอื่น ถ้าไปทำอย่างอื่น ไปคิดอย่างอื่น ก็คือขณะนั้นมีความมั่นคงในการที่จะรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ซึ่งทุกขสัจเป็นกิจที่ควรรู้ ปัญญาควรเข้าใจ คือ ควรรู้ความเกิดขึ้น และดับไป ความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ส่วนการฟังก็เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เข้าถึงความเป็นอนัตตา การที่สามารถสละความเป็นเราจากสภาพธรรมที่ปรากฏ แต่ต้องมีสติสัมปชัญญะจึงสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏได้ ไม่ใช่เพียงแต่คิด แล้วจำเรื่องราว
ข้อสำคัญ จำเรื่องราวชาตินี้เป็นภาษาไทย ชาติหน้าไม่ได้พูดภาษาไทย จะนึกออกไหม เพราะเป็นแต่เพียงการจำชื่อ แต่ถ้าเป็นความเข้าใจจากการฟัง ไม่ว่าภาษาไหนแต่ละชาติ ก็เป็นการรู้ว่า หมายความถึงลักษณะของสภาพธรรม มีจริงๆ และแต่ละลักษณะก็เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏได้ เพราะเหตุว่ามีธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้น รู้สิ่งนั้นแล้วก็ดับไป เพราะชีวิตเป็นคนนี้ชั่ว ๑ ขณะจิต ไปทุกๆ ขณะจิต จนกว่าจะถึงขณะสุดท้าย
ผู้ฟัง เวลาเราฟัง เราก็ต้องรู้เรื่องละเอียดของรูป จิต เจตสิกว่า มีจิตเท่าไร เจตสิกเท่าไร และรายละเอียดเป็นกุศล อกุศลอย่างไร ถ้าจุดประสงค์ของการเรียน เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้ และเป็นอนัตตา แต่สำหรับตัวเอง และหลายๆ คน เป็นจำชื่อพวกนี้ จนกระทั่งเหมือนปิดบังการที่จะรู้ความจริง
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการฟังเลย จะเข้าใจไหมว่า ขณะนี้เป็นธรรม แล้วก็เป็นอนัตตาด้วย
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ จึงต้องฟัง แต่รู้จุดประสงค์ของการฟังว่า ฟังอะไร ฟังคำที่สามารถจะทำให้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ฟังเรื่องราวแล้วก็ไม่รู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่กล่าวถึงนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เป็นธรรมซึ่งไม่เคยเข้าใจว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นฟังเพื่อให้เข้าใจถูกต้องว่าเป็นธรรม แต่จะไม่ฟังไม่ได้ และฟังก็ไม่ใช่ว่าฟังโดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ แล้วก็ไปจำเพียงจำนวน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้ที่จริงทุกคำหมายความถึงสภาพธรรมขณะนี้
ผู้ฟัง แต่ถ้าเราเข้าใจแล้วจำได้ เช่น รูป ๒๘ ก็พอจำได้ว่า มีอะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ รูป ๒๘ มีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็มีตั้งแต่ดิน น้ำ ลม ไฟ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เมื่อไรปรากฏ
ผู้ฟัง ปรากฏให้จิตรู้
ท่านอาจารย์ แล้วก็ดับไป นี่คือการที่จะเข้าใจให้ถูกว่า ขณะไหนก็ตามที่มีอ่อน หรือแข็งปรากฏ เย็น หรือร้อนปรากฏ ก็คือชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็หมดไป ไม่ใช่ให้ไปจำเป็นเรื่องราวทั้งหมด โดยที่ไม่เข้าใจลักษณะของอ่อน หรือแข็ง ซึ่งปรากฏ เพราะจิตกำลังรู้สิ่งนั้น คือ ให้เข้าใจลักษณะของธรรมที่มีเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เพียงจำชื่อ
ผู้ฟัง ฟังวิถีจิต สังเกตว่าแต่ละคนก็จะจำว่า เริ่มจากปัญจทวารา แล้วก็จิตเห็น แล้วก็สัมปฏิจฉันนะ ซึ่งจริงๆ เราเข้าใจว่าเป็นอนัตตาแบบนี้ แล้วก็จะเป็นสังขารขันธ์ให้รู้ความจริงตามที่เป็นอย่างนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จนกว่าสติสัมปชัญญะจะเกิด คุณอรวรรณจำรูป ๒๘ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่หมด
ท่านอาจารย์ ตอนนี้สติสัมปชัญญะกำลังรู้ลักษณะของรูปอะไร เห็นไหม จำชื่อ จำคำ แต่ขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ
ผู้ฟัง อย่างจับไมโครโฟน ก็รู้ว่าแข็ง แต่ว่ายังเป็นคำ เราก็รู้ว่า สติไม่เกิด
ท่านอาจารย์ รูปที่ปรากฏมีทั้งหมดกี่รูปในชีวิตประจำวัน
ผู้ฟัง ๗ รูป
ท่านอาจารย์ รูปอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็สี เสียง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีปรากฏไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลืม หรือเปล่าว่า เป็นเพียงสภาพธรรม แต่ขณะนี้กำลังปรากฏ ก็ลืม จนกว่าจะไม่ลืม จนกว่าสติสัมปชัญญะจะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ตามที่ได้เข้าใจมาแล้วจากการฟัง
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นฟังมากๆ เราก็จะลืมน้อยลง เราก็จะรู้ว่าเป็นธรรมมากขึ้น
ท่านอาจารย์ วันนี้คิดเรื่องอะไรบ้าง เรื่องอื่นมากกว่าธรรม เพราะสะสมมาที่จะจำ ที่จะคิดเรื่องอื่นมากกว่า ถ้าได้ฟังธรรมบ่อยๆ คิดธรรมบ่อยๆ ก็จะมีการคิดถึงธรรมบ้างเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าความเกิดดับของสภาพธรรม หมายถึงความไม่มีตัวตน
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีคุณณรงค์ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ก็มีทุกๆ คน
ท่านอาจารย์ ก่อนฟังธรรม แม้กำลังฟังธรรมเรื่องจิต และเจตสิก ถูกต้องไหม ก็แสดงให้เห็นว่า การฟังเรื่องสภาพธรรม โดยยังมีเราที่ฟังเรื่องสภาพธรรม เพราะว่ากว่าจะเข้าใจได้จริงๆ ว่า ขณะนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย แต่มีธรรม เราต้องค่อยๆ พิจารณา จริงหรือไม่ ขณะนี้มีอะไรจริงๆ แล้วสิ่งที่มีจริงก็เป็นธรรม ซึ่งเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม นามธรรมเป็นธาตุรู้ สภาพรู้ สามารถเห็น คิด จำ โกรธ เสียใจ ดีใจ พวกนี้ ไม่มีรูปร่างเลย แต่เป็นนามธรรม มีลักษณะเฉพาะนามธรรมแต่ละอย่าง รูปธรรมก็มีลักษณะเฉพาะรูปธรรมแต่ละอย่าง เช่น รูปธรรมที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้ เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น แล้วจะไม่ปรากฏทางทวารอื่นด้วย นี่คือรูปธรรม
เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะได้ฟังเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ เข้าใจ แต่ยังไม่หมดความเป็นเรา
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ขณะที่กำลังฟัง สิ่งหนึ่งที่ทุกคนไม่ได้คิด ก็คือว่ากำลังคิดอยู่เรื่อยๆ มีเห็นจริง แต่ก็คิดเรื่องเห็น ได้ยินเสียง ก็คิดเรื่องที่ได้ยิน เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ มีความคิดซึ่งเกิดตามสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ยับยั้งความคิดไม่ได้ และไม่ใช่ให้ยับยั้ง แต่สภาพธรรมใดก็ตามที่เกิด แสดงความเป็นอนัตตาว่า ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และก็เป็นลักษณะของสภาพธรรมนั้นจริงๆ เปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้
นี่คือการที่จะเข้าใจธรรมถูกต้องว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เป็นเพียงความเห็นที่หลายคนเข้าใจว่ามีตัวตน แต่คนนี้เห็นว่าไม่มี ไม่ใช่ความเห็น แต่หมายความว่า ใครจะเห็นว่าอย่างไรก็ตาม สภาพธรรมเป็นธรรม ใครจะว่าธรรมเป็นตัวตน ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ก็เป็นความเห็นของบุคคลนั้น แต่ธรรมก็เป็นธรรม
เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า การฟังธรรมเพื่อพิจารณาให้เข้าใจสิ่งที่มี และไม่เข้าใจ และเคยยึดถือว่า เป็นเรา เป็นเขา เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ความจริงของสิ่งนั้นคืออะไร นี่คือสัจธรรม
เพราะฉะนั้นเราศึกษาเรื่องความจริง และความจริงสามารถที่จะพิสูจน์ได้ ทนต่อการพิสูจน์ด้วย ถ้าจะว่า ยังมีเรา เห็น ถ้าเป็นเรา ขณะที่เห็นหมดไป แล้วมีได้ยินเกิดขึ้น เราอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังมีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นนามธรรม คือ จิต เจตสิก และรูปธรรม ก็ยึดถือสภาพนั้นนั่นเองว่าเป็นเรา แต่ถ้าไม่มีจิต ไม่มีเจตสิก ไม่มีรูปเลย เราจะอยู่ที่ไหน ก็ไม่มี เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่มีเรา ก็ต้องฟัง แล้วก็ต้องรู้ว่า ขณะนั้นเป็นปัญญาระดับไหน ระดับที่กำลังฟังเรื่องสภาพธรรม ทั้งๆ ที่สภาพธรรมแต่ละขณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า ที่เราเห็นเป็นสังขารนิมิต หรือว่าได้ยินเสียง ก็เป็นสังขารนิมิตทางเสียง จริงๆ แล้วก็ไม่มีต่อเนื่อง แต่ว่าเราเห็นต่อเนื่อง ถูกไหม
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ามีการคิดนึกเกิดสืบต่อแต่ละทวาร ลองค่อยๆ พิจารณาความจริงว่า รูปที่มีสภาวธรรมจริงๆ ที่เกิดปรากฏ เพราะกระทบทวารหนึ่งทวารใด มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แสดงว่าขณะนี้รูปต้องดับแล้ว รูปที่ปรากฏทางตาขณะนี้ต้องดับแล้ว ถูกต้องไหม แล้วก็มีคิดนึกคั่น เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความคิดนึกถึงสิ่งที่ดับไป แล้วก็มีการเกิดสืบต่อ จนกระทั่งปรากฏเสมือนไม่ดับเลย แต่ระหว่างนั้นก็จะมีความคิดเรื่องสภาพธรรมที่เกิดแล้ว ดับแล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ก็คือการสืบต่อของรูปที่เกิดดับ ปรากฏเป็นนิมิต เหมือนกับว่า ไม่ดับเลย
ด้วยเหตุนี้จึงมีความทรงจำว่า เป็นวัตถุ เป็นดอกไม้ เป็นคน เป็นสัตว์ แต่ถ้าเมื่อไรปัญญาสามารถที่จะอบรมเจริญ จนกระทั่งเข้าถึงความหมายของสังขารนิมิต หรือรูปนิมิต ก็จะเห็นได้ว่า อยู่ในความคิดที่ไม่มีอะไรเลย สิ่งที่เรากำลังคิดถึง ความจริงไม่มี ดับไปหมด จะคิดถึงอะไร สิ่งนั้นก็ไม่มีอยู่ในขณะนั้น นอกจากกำลังคิดเท่านั้นเอง เช่น จะคิดถึงเสียง คิดถึง กับ เสียงปรากฏ ต่างกัน เวลาเสียงปรากฏ จิตได้ยินเสียง ดับไปแล้ว แต่สามารถที่จะคิดเรื่องความหมายของเสียงนั้นได้ ทั้งๆ ที่ขณะนั้นเสียงไม่ได้ปรากฏเลย
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอย่างนี้ทุกทวาร ก็แสดงให้เห็นว่า เราอยู่ในโลกของความหลง ยินดียินร้ายกับสิ่งที่เพียงปรากฏกระทบแล้วก็หมดไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความทรงจำในอัตสัญญาว่า สิ่งที่มีนั้นเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งความจริงไม่เหลือ นี่ก็เป็นเรื่องที่ฟังแล้วต้องไตร่ตรอง แล้วจะรู้ความจริงอย่างนี้ ต่อเมื่อสติสัมปชัญญะเกิดแล้วก็ระลึก จึงจะรู้ตามความเป็นจริงว่า พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด เป็นความจริงอย่างที่ทรงแสดง
ผู้ฟัง ถึงตอนนี้แล้ว ชีวิตประจำวันที่ผ่านไป ก็คือไม่มีอะไรเลย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ก็เหมือนกัน
ผู้ฟัง ฟังแล้วตกใจมากเลย
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ที่ตกใจ
ผู้ฟัง ก็ไม่มีอะไรเลย แต่เราก็วุ่นวายทั้งวัน
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่ปัญญาที่รู้ความจริงว่า แม้ปัญญานั้นก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นกว่าจะเป็นพระอริยบุคคลได้จริงๆ เป็นเรื่องของความรู้จริง ความเข้าใจจริงๆ การเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่ทรงแสดง สามารถที่จะเข้าถึงอรรถที่ทรงแสดง แม้แต่คำว่า รูปนิมิตทางตา ขณะนี้ รูปจริงๆ เกิดดับไปตลอดเวลา ปรากฏเป็นเพียงรูปที่เหมือนเที่ยง เหมือนเรากำลังดูก้านธูปที่แกว่งเป็นวงกลม แล้วก็คิดว่ามีวงกลม แกว่งหลายๆ วงก็มีวงกลมหลายๆ วง แต่จริงๆ แล้วมีอะไร เป็นแต่เพียงสภาพธรรมสั้นๆ ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปสืบต่อ เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความคิดนึก คือ ความหลง เป็นสุข เป็นทุกข์กับเพียงนิมิตของสิ่งที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ผู้ฟัง ตรงนี้ต้องพระอริยบุคคล ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึง เพราะว่ากว่าจะเป็นพระโสดาบันก็จะต้องมีปัญญาที่เกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะที่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏถูกต้องตามที่ได้ยินได้ฟัง
ผู้ฟัง ในเมื่อไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลที่เกิดขึ้นมา แล้วบัญญัติที่ว่าพระพุทธองค์ และพระสาวกทั้งหลายเกิดมานับสิบ นับโกฏิ นับล้านชาติ จนกระทั่งท่านไปนิพพาน แล้วก็บรรลุเป็นพระอริยเจ้าหมดแล้ว ตรงนั้นก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้น ใช่ไหม
อ.นิภัทร ธรรมดาปุถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ ทั้งหลายก็ไม่มีทางอื่นที่จะทำให้เข้าใจธรรมได้ นอกจาก การฟัง การศึกษา จะเป็นการอ่าน การฟัง สนทนาก็ได้ เราไม่ต้องไปพูดถึงว่าเราจะได้บรรลุมรรคผล ฟังเพื่อจะให้รู้ว่า ที่เห็นคนทั้งหลาย คนทั้งหลายเป็นสภาวธรรม หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คุณอนุสรณ์ ขอร่วมสนทนาด้วย คือ การศึกษาธรรม ศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเราไม่เคยเข้าใจถูกต้องมาก่อน ปกติเราจะเห็นเป็นเห็นคน เห็นสัตว์ เราก็ต้องพิจารณาว่า นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ หรือ หรือว่าตรัสรู้มากกว่านี้ ที่ว่าเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ นี่เป็นความถูกต้องหรือไม่ จริงๆ แล้ว ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าเราจะไปแสวงหาธรรม เราไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่นเลย ถ้าเราเข้าใจว่า ธรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจริง และปรากฏด้วย ถ้าไม่ปรากฏ ใครจะไปรู้จักธรรมได้ ใครจะไปหาธรรมที่ไหนได้ ถ้าธรรมไม่ปรากฏ แต่เพราะเหตุว่าธรรมมีปรากฏ แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ธรรมหมายความถึงอะไร หมายความถึงสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ แต่จากการที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ ก็หลงเข้าใจผิด จึงต้องมีการสะสมของปัญญาของผู้ที่สามารถตรัสรู้ความจริง และทรงอนุเคราะห์แสดงธรรมโดยละเอียดให้ผู้ที่ได้ฟังค่อยๆ ไตร่ตรองด้วยตัวเอง เพราะว่าไม่ใช่ไปเอาปัญญาของใครไปให้คนอื่น หรือว่าไม่ใช่เราเชื่อ เพราะเหตุว่าพระพุทธเจ้าบอกเรา แต่ว่าพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นความจริง โดยการที่เราพิจารณาแล้วรู้ว่าเป็นความจริง เช่น ขณะนี้มีธรรม หรือเปล่า มีจริง ธรรมกำลังปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนไม่ได้ ธรรมกำลังปรากฏนี่เปลี่ยนไม่ได้ สิ่งที่ปรากฏต้องเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นขณะนี้เห็นอะไร
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 241
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 242
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 243
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 244
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 245
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 246
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 247
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 248
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 249
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 250
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 251
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 252
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 253
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 254
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 255
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 256
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 257
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 258
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 259
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 260
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 261
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 262
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 263
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 264
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 265
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 266
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 267
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 268
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 269
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 270
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 271
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 272
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 273
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 274
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 275
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 276
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 277
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 278
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 279
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 280
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 281
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 282
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 283
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 284
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 285
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 286
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 287
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 288
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 289
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 290
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 291
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 292
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 293
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 294
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 295
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 296
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 297
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 298
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 299
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 300