พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 247
ตอนที่ ๒๔๗
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ผู้ฟัง ผู้ถามสรุปมาว่า มีความสนใจใคร่ศึกษาในพระอภิธรรมมาก และสนใจในการปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ สนใจปฏิบัติ หรือว่าสนใจเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ต้องคิดแล้วใช่ไหม ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็จะผิดทางอีก
ผู้ฟัง ท่านผู้เขียนบอกว่าสนใจในการปฏิบัติ เฝ้าสังเกตจิตใจตนเอง และตอนต้นได้พูดว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นผู้เขียนอาจจะเข้าใจคำว่า “ปฏิบัติธรรม” ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็ต้องรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่จะรู้ได้ ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง และจะเกิดการเข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น ต้องอาศัยอะไร ต้องมีเหตุ ฐานะที่จะทำให้สามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้จริงๆ ไม่ใช่หวังที่จะทำให้เห็น ให้รู้ แต่เป็นความเข้าใจ ปัญญาคือความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ไม่ต้องไปที่อื่นเลย มีสิ่งที่กำลังปรากฏ และเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ เพราะอะไร ต้องเป็นการอบรมให้เข้าใจยิ่งขึ้น เพื่อละความไม่รู้ และความไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง จากการศึกษา และเข้าใจว่า อะไรเป็นมโนธาตุ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เมื่อสักครู่นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้สติปัฏฐานเกิดได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ หวังอะไร
ผู้ฟัง เครื่องเกื้อกูลที่เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น เจริญขึ้น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความเข้าใจ สติปัฏฐานจะเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงเรื่องความเข้าใจ ก็คือความเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ แล้วจะเข้าใจได้อย่างไร
ผู้ฟัง ก็คือศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เดี๋ยวนี้
ท่านอาจารย์ ต้องฟังให้เข้าใจยิ่งขึ้น สนใจที่จะปฏิบัติใช่ไหม
ผู้ฟัง สนใจที่จะปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ มีความสนใจแล้วจะทำอย่างไร
ผู้ฟัง ก็ฟังให้เข้าใจ แล้วระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วระลึก หรือฟังแล้วเข้าใจว่า ลักษณะที่เป็นสติ น่าอัศจรรย์ ขณะนี้ไม่เกิด และถ้าไม่มีปัจจัยก็เกิดไม่ได้ด้วย แต่ว่าไม่ใช่ฟังแล้วจะระลึก
ผู้ฟัง คือสนใจสิ่งที่สามารถจะระลึกได้ สิ่งที่จะศึกษาได้
ท่านอาจารย์ คุณวรศักดิ์สามารถจะให้สติระลึกได้ หรือ
ผู้ฟัง มิได้ แต่เครื่องพิสูจน์ที่ว่า สิ่งนั้นมีจริง สามารถเข้าใจได้
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เห็น จริงไหม
ผู้ฟัง เห็นมีจริง
ท่านอาจารย์ แล้วจะพิสูจน์อย่างไร
ผู้ฟัง ก็ไม่ต้องพิสูจน์ คือ เห็นอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วจะปฏิบัติอะไร หรือหวังว่าจะปฏิบัติอย่างไร
ผู้ฟัง คือระลึกลักษณะที่ปรากฏไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ แล้วระลึกอย่างไร ใครระลึก ระลึกเมื่อไร
ผู้ฟัง แล้วแต่เหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์ แล้วมีเหตุปัจจัยที่จะระลึก หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็คงต้องฟังบ่อยๆ ฟังเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ แล้วยังสนใจจะปฏิบัติไหม
ผู้ฟัง ก็ยังคิดว่าสนใจอยู่
ท่านอาจารย์ สนใจแล้วทำอย่างไร
ผู้ฟัง ก็ฟัง
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจ หรือฟังแล้วปฏิบัติ
ผู้ฟัง ฟังแล้วเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เมื่อฟังแล้วเข้าใจ จะสนใจปฏิบัติไหม เมื่อเข้าใจขึ้นๆ รู้ว่าขณะไหนหลงลืมสติ ขณะไหนสติเกิด แล้วก็รู้ว่า ไม่มีใครสามารถจะบังคับสภาพธรรมใดๆ ได้เลย แม้สติที่เกิดก็น่าอัศจรรย์ ทำไมเดี๋ยวนี้ไม่เกิด แต่เมื่อมีปัจจัยก็เกิด แต่ถ้าไม่มีปัจจัย ทำอย่างไรก็ไม่เกิด เข้าใจอย่างนี้ หรือไม่ ที่จะเข้าใจให้ตรง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะหมายถึงว่า ฟังไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเลิกสนใจปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ มิได้ ฟังให้เข้าใจเท่านั้น เพราะว่าไม่ใช่คุณวรศักดิ์เลย จิต เจตสิก ประเภทไหน เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำกิจประเภทใด แล้วสะสมอะไร สะสมความเห็นถูก สัมมามรรค หรือสะสมความเห็นผิด มิจฉามรรค
ผู้ฟัง เพราะดูเหมือนว่า สิ่งที่เรารู้ไม่ได้ และไม่มีทางรู้ได้
ท่านอาจารย์ สนใจจะปฏิบัติ โดยไม่เข้าใจ หรือคิดว่าที่เข้าใจนี้พอแล้ว
ผู้ฟัง ก็ยังไม่พอ
ท่านอาจารย์ แล้วทำอย่างไรจะเข้าใจขึ้นได้
ผู้ถามก็ระลึกศึกษา
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะไม่มีคุณวรศักดิ์แน่ๆ แต่มีสภาพธรรมที่หลงลืมสติก็อย่างหนึ่ง สติเกิดก็อย่างหนึ่ง นั่นจึงชื่อว่า เข้าใจ
ผู้ฟัง นั่นคือของจริงใช่ไหม และสามารถพิสูจน์ได้ ใช่ หรือไหม แล้วที่ละเอียดยิ่งกว่านั้น
ท่านอาจารย์ ที่ละเอียดยิ่งกว่านั้น ก็ต้องเข้าใจ เข้าใจความละเอียด ไม่ใช่ให้ไปทำความละเอียด หรือไม่ใช่ไปปฏิบัติความละเอียด แต่เข้าใจความละเอียดของธรรม
ผู้ฟัง เหมือนกับเข้าทฤษฎี เรื่องราว แล้วก็ลืม
ท่านอาจารย์ ไม่ถูกต้อง ทฤษฎีคือตัวหนังสือ และขณะนี้มีสภาพธรรมปรากฏ
ผู้ฟัง คือสนใจตรงจุดนี้
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าอย่างไร สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
ผู้ฟัง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คุณวรศักดิ์
ผู้ฟัง ก็เข้าใจเช่นนี้
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างอื่นอีกมีไหม วันหนึ่งๆ ไม่ได้มีแต่เห็น ทั้งวันนี่เอง
ผู้ฟัง ก็วนเวียนไปทั้ง ๖ ทวาร
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น และความเข้าใจก็ต่างกัน เป็น ๒ ระดับ เข้าใจเรื่องราว กับเข้าใจเพราะกำลังมีความรู้ถูกต้องในสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นไม่มีคุณวรศักดิ์ แต่เป็นสติที่เกิดจึงระลึก และเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏได้
ผู้ฟัง เข้าใจเพียงแค่ ๖ ทวารนี้ยังไม่เพียงพออีก หรือ
ท่านอาจารย์ มีทวารที่ ๗ หรือเปล่า
ผู้ฟัง อย่างไรๆ อาจารย์ก็ให้สนใจสภาพธรรมที่ละเอียด
ท่านอาจารย์ มิได้ ต้องเข้าใจ ปัญญาคือความเข้าใจถูก เราไปแปล “ปัญญา” ว่า “ปฏิบัติ” ได้อย่างไร "ปัญญา" คือ เข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้ง ขณะที่ประจักษ์แจ้ง ก็คือเข้าใจความจริงของสภาพธรรมนั่นเอง แต่ภาษาบาลีใช้คำว่า ปัญญา
ผู้ฟัง อันดับแรกก็เข้าใจเรื่องราว ทฤษฎีไปก่อน
ท่านอาจารย์ เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า ขณะนี้ได้ยินได้ฟังเรื่องสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ไม่ใช่สิ่งอื่น สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ผู้ฟัง นี่เรียกว่า การปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ ทำไมต้องมาเรียกอะไร ปฏิบัติแปลว่าอะไร ได้ยินแค่ชื่อก็สนใจ นิพพานก็สนใจ อะไรก็สนใจ แต่ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏยิ่งขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้ง แล้วจะมีประโยชน์อะไร
ผู้ฟัง เมื่อเช้านี้ตอนประมาณตีห้าครึ่ง ได้ฟังธรรมท่านอาจารย์กล่าวถึงเรื่องอาหารที่จะทำให้สติเกิด ที่สนใจก็คือ ๑. ฟัง ๒. ศรัทธา และ ๓. คบสัตบุรุษ ๓ อย่างนี้ก็สามารถทำให้สติเกิด เพราะจากฟัง แต่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งตรงคำว่า ศรัทธา
ท่านอาจารย์ "ศรัทธา" คือ ความผ่องใสของจิต สภาพที่ผ่องใส
ผู้ฟัง เมื่อฟังแล้วเข้าใจ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลจิต เป็นโสภณเจตสิก
ผู้ฟัง ก็คือฟังแล้วศรัทธาเกิด แล้วคบสัตบุรุษ นี่คือเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ทำให้เกิดได้แล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องไปหาอาหาร หรือขณะนี้กำลังมีอาหาร
ผู้ฟัง กำลังมีอยู่ตอนนี้
ท่านอาจารย์ ต้องไปเรียงลำดับ หรือไม่ หรือว่าความจริงจะรู้ได้จากการที่ว่า ใครเป็นสัตบุรุษ ใครไม่ใช่สัตบุรุษ ที่ทรงแสดงทั้งหมด เริ่มจากการคบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คบใคร ก็จะมีความเห็น มีความคิด มีความโน้มเอียง ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ตามการคบหาสมาคม ค่อยๆ คุ้นเคยกับการกระทำ และความคิด
เพราะฉะนั้นแม้แต่สัตบุรุษ ก็จะต้องรู้ว่า ใครเป็นสัตบุรุษ พระธรรมที่ทรงแสดง ให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่า ใครเป็นสัตบุรุษ ใครไม่ใช่สัตบุรุษ ถ้าเป็นสัตบุรุษ ก็จะกล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ที่จะทำให้เกิดปัญญาของผู้นั้นเองจากการฟัง และไตร่ตรอง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ใช่หมายความว่าต้องเชื่อ หรือต้องจำ โดยที่ไม่เข้าใจ แต่ฟังแล้วพิจารณาในเหตุในผล ในความเป็นจริง
ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์คำว่า “กำลังเห็น”
ท่านอาจารย์ ใครตอบไม่ได้ว่า ขณะนี้กำลังเห็น
ผู้ฟัง ครั้งที่แล้ว ท่านอาจารย์ถามว่า “กำลังเห็น” “กำลังเห็นเดี๋ยวนี้” ดิฉันตอบท่านอาจารย์ว่า “เห็นแล้ว” แต่ไม่มีคำว่า “กำลังเห็น” ขอเรียนถามท่านอาจารย์เพราะยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เห็นเมื่อวานนี้ ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ และพรุ่งนี้จะเห็นไม่ใช่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ทำอะไร
ผู้ฟัง เห็นท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ก็กำลังเห็น
ผู้ฟัง เห็นแล้ว ไม่ใช่กำลังเห็น
ท่านอาจารย์ จิตเกิดดับเร็วมาก ถ้ากำลังเห็นแล้วจะบอกว่าไม่เห็นไม่ได้ กำลังได้ยิน จะบอกว่าไม่ได้ยินไม่ได้ แล้วคิดว่าจิตเกิดดับอย่างรวดเร็ว แล้วก็งง แต่ไม่ใช่เรื่องให้งง เรื่องค่อยๆ เข้าใจขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ให้เข้าใจ หรือเปล่า หรือเห็นไม่มี ได้ยินไม่มี คิดนึกไม่มี อะไรก็ไม่มี
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ ตามไม่ทัน
ท่านอาจารย์ ก่อนฟังธรรม ไม่สงสัยเลย ถามว่าเห็นไหม ก็บอกว่า เห็น พูดได้ทุกอย่าง แต่เมื่อฟังธรรม ทำไมถึงงงอะไร ไม่เข้าใจอะไร ก็ชีวิตธรรมดาปกติ แต่มีความรู้ว่า ขณะนี้เป็นสภาพที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏจึงกำลังปรากฏ ที่เราใช้คำว่า “เห็น”
เมื่อวานนี้เห็นไหมคะ
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ พรุ่งนี้จะเห็นอีกไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่แน่
ท่านอาจารย์ แต่หากตายังไม่บอด เหตุปัจจัยเกิดขึ้นก็เห็นได้ และเดี๋ยวนี้ เป็นเมื่อวานนี้กับพรุ่งนี้ หรือเปล่า หรือไม่ใช่
ผู้ฟัง ขณะนี้ก็เหมือนกับครั้งก่อน
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังเห็น หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็เห็นว่า เป็นท่านอาจารย์ แต่กำลังเห็น มีลักษณะเป็นสภาพรู้ หรือรู้ตรงที่เห็นตรงนั้น หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ กำลังคิด หรือเปล่า
ผู้ฟัง คิด
ท่านอาจารย์ กำลังคิด กำลังเห็น หรือไม่
ผู้ฟัง เห็นก่อน แล้วก็คิด
ท่านอาจารย์ และคิดแล้วเห็น หรือไม่
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ แล้วได้ยินด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง แล้วได้ยินด้วย
ท่านอาจารย์ กำลังได้ยินด้วย กำลังเห็น กำลังคิด กำลังได้ยิน หรือไม่ แต่ความจริงจิตกำลังเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ นี่คือสิ่งที่ไม่รู้
ผู้ฟัง ขณะที่กำลังเห็นท่านอาจารย์ เลยเห็นแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่คิด เห็นคือเห็น ชั่ว ๑ ขณะที่เห็น
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเห็น โดยการตรึก หรือคิดนึก เมื่อเรามองเห็นเป็นดอกไม้ หรือมองเห็นสิ่งสวยๆ งามๆ เช่นนี้ก็เลยลักษณะปรมัตถธรรมแล้ว ก็เลยไม่ใช่เป็นกำลังเห็น
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สภาพธรรมเกิดแล้วดับ เร็วที่สุด เกินที่จะประมาณได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า สภาพธรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นปรากฏให้รู้ แต่จะรู้ขณะไหน สิ่งไหน เราไม่สามารถที่จะบอกได้ เพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นวันคืนจะปรากฏเหมือนต่อกันไปสนิทเลย ทั้งๆ ที่เกิดดับอยู่ตลอด ขณะที่กำลังเห็น ไม่ใช่ขณะที่กำลังได้ยิน ไกลกันด้วย แต่เพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็ว ก็เสมือนว่าไม่มีอะไรคั่น ทุกอย่างเป็นไปตามปกติอย่างรวดเร็ว เหมือนไม่มีการเกิดดับ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ขณะคิดนึก เคยพิจารณาบ้างไหม กว่าจะรู้ตัวว่า คิดอยู่ตลอดเวลาก็นานมาก แม้ปัจจุบันก็ยังไม่รู้ตัว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมพิสูจน์ด้วยตัวเอง ใช่ไหม แม้ความจริงจะเป็นอย่างนี้ แต่กว่าจะค่อยๆ รู้ ต้องอาศัยการฟัง การเข้าใจ เป็นปัจจัยที่จะทำให้มีความเข้าใจถูกต้อง ตามลำดับขั้นของการเข้าใจ
ผู้ฟัง จริงๆ ก็เป็นสภาพปกติ หรือไม่
ท่านอาจารย์ ความคิดใครก็ยับยั้งไม่ได้ แล้วแต่ปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมเท่านั้นเอง ยังกังวลอยู่ตราบใด ยังไม่รู้อยู่ตราบใด ก็จะปั่นป่วนไปอยู่ตราบนั้น แต่ถ้ารู้ว่า เพียงเกิดแล้วก็หมดไปแล้ว ขณะนี้ไม่มีแล้ว ใครจะไปผ่านประสบการณ์อะไร ตอบไม่ได้ ไม่รู้ว่านั่นคืออะไร อย่างไร ก็ตามแต่ ยังกลับไปหาคำตอบ อยากจะให้ใครมาบอก จะชี้แจงสักเท่าไร สิ่งนั้นก็หมดไปแล้ว เหตุใดไม่ระลึกถึงคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง" เพราะขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจถูก แต่ทั้งหมดก็หมดแล้ว ที่คุณสุกัญญาถาม เรื่องต่างๆ แต่มีเห็น แล้วก็มีได้ยิน เช่นนี้จะเป็นปัจจัยให้สัมมาสติเกิด ไม่ข้ามลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าปกติ ที่คุณสุกัญญากล่าวว่า เห็นแล้วก็เป็นดิฉันบ้าง แล้วก็เป็นอย่างอื่นบ้าง คือ ขณะนั้นไม่มีการระลึกได้ที่จะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏก็เป็นเพียงสภาพที่สามารถปรากฏเท่านั้นเอง แต่กลายเป็นเรื่องราว เป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้ใหญ่โตมากมาย เพราะไม่เคยที่จะเกิดระลึกได้ว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นลักษณะของธรรมอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้นจึงต้องฟัง จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง สภาพของธาตุดิน สงสัยว่าลักษณะของธาตุดินที่ปรากฏ ทำไมถึงเป็น ๒ อย่าง คือ อ่อน และแข็ง และทำไมถึงมีความต่างกันกัน
ท่านอาจารย์ ทุกคนก็คงจะเคยได้ยินคำว่า “ดิน” แต่ว่าเวลาที่มีคำว่า “ธาตุดิน” ก็ต่างจากดินที่เราเคยเข้าใจ เพราะเหตุว่าตามธรรมดา เวลาที่เราพูดถึงดิน เราก็คิดถึงดินที่เราปลูกต้นไม้ หรือดินที่นำมาทำเป็นภาชนะต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงธาตุดิน ความหมายจะเปลี่ยนจากความเข้าใจที่เราใช้ เพราะเหตุว่ามีคำว่า “ธาตุ” หรือ “ธา – ตุ” ซึ่งหมายความถึงสภาพธรรมที่มีจริง และมีลักษณะเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้
เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งที่มี มีลักษณะที่ปรากฏแต่ละลักษณะ เพราะฉะนั้นก็เป็นธาตุ หรือ “ธา – ตุ” หมายความถึงสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพธรรมทั้งหมดที่ใครไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นได้
เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงธาตุดิน และเราไปคิดถึงเฉพาะดินที่ปลูกต้นไม้ หรือดินที่นำมาทำเป็นภาชนะต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ความหมายจริงๆ ของธาตุดิน เพราะว่าเป็นแต่เพียงความหมายของดิน แต่ว่าถ้าใช้คำว่า “ธาตุ” หมายความว่าสภาวะ หรือสภาพที่มีลักษณะที่แข็ง
ขณะนี้มีแข็งไหม มี ปรากฏเมื่อมีการกระทบสัมผัส สภาพที่แข็งที่กำลังปรากฏ ใครเปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นี่คือความหมายของธาตุดิน คือ เป็นสภาพธรรมที่แต่ก่อนเราอาจจะคิดถึงชื่อ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตามความเป็นจริงแล้ว ลักษณะของโต๊ะ เก้าอี้ เปลี่ยนไปตามรูปร่างลักษณะที่เราจำได้ว่า ลักษณะนี้เป็นโต๊ะ ลักษณะนั้นเป็นเก้าอี้ แต่ถ้ามีการกระทบสัมผัส มีลักษณะที่แข็งปรากฏ ขณะนั้นจะไม่มีการนึกถึงว่า รูปร่างของสิ่งที่แข็งนั้นเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะเหตุว่าเมื่อลักษณะที่แข็งปรากฏ รูปร่างไม่ได้ปรากฏ
ธรรมเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ ขณะนี้เคยเข้าใจว่าเป็นโต๊ะแข็ง เก้าอี้แข็ง แต่เวลาที่กำลังกระทบสัมผัส ลักษณะแข็งปรากฏ มีรูปร่างโต๊ะ มีรูปร่างเก้าอี้ หรือเปล่า ตรงแข็ง ไม่มีเลย
เพราะฉะนั้น เวลาที่กล่าวถึงธาตุดิน หมายความถึง “ปฐวีธาตุ” ในภาษาบาลี ซึ่งภาษาไทยก็ใช้คำว่า “แข็ง” ธาตุแข็ง ก็เป็นสิ่งที่มีจริง แต่สิ่งที่มีจริง ถ้าใช้คำว่า “ธาตุ” ต้องเป็นผู้ที่ตรงต่อความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง คือ ก่อนนั้นไม่รู้จักปฐวีธาตุ หรือธาตุดิน รู้จักแต่ดิน แต่เวลาที่ได้ยินได้ฟังแล้วมีความเข้าใจเรื่องสภาวะแข็ง หรือสภาพที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน จะใช้คำไหนก็ได้ ขณะนั้นมีสิ่งที่มีลักษณะที่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แล้วจะปรากฏทางตา ทางหูไม่ได้ด้วย แต่ต้องปรากฏทางกาย
นี่คือการที่จะเริ่มเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธาตุ แต่ว่าเวลาที่คุณสุกัญญาถามถึงธาตุดิน ก็จะกล่าวถึงแต่เฉพาะธาตุดิน ซึ่งธรรมที่ได้ยินได้ฟัง พิสูจน์ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อใช้คำว่า “ธาตุดิน” เป็นใคร หรือไม่ เป็นของใคร หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ นั่นคือเริ่มเข้าใจความหมายของ “ธรรม” ซึ่งเป็นธาตุต่างๆ นั่นเอง
ผู้ฟัง และสภาวะที่อ่อน
ท่านอาจารย์ คงไม่ต้องกังวลเรื่องอ่อนเรื่องแข็ง เพราะนั่นเป็นชื่อ เวลาที่อ่อนปรากฏ มีไหม
ผู้ฟัง จริงๆ แล้ว สภาพแข็งเป็นสภาพที่ชัดเจนมากกว่า
ท่านอาจารย์ ขณะที่อ่อนกำลังปรากฏ แข็งจะชัดเจนไหม
ผู้ฟัง อ่อนปรากฏ แข็งไม่ชัดเจน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นธรรม เราไปคิดถึงคำที่เราชินหู พอได้ยินคำว่า ธาตุดินมีลักษณะ ๒ อย่าง คือ อ่อน หรือแข็ง ความสงสัยก็เกิดขึ้นว่า อ่อนกับแข็ง ต่างกันอย่างไร แต่ว่าตามความเป็นจริงแม้ไม่มีคำว่า “อ่อน” แม้ไม่มีคำว่า “แข็ง” แต่ลักษณะที่ปรากฏเมื่อกระทบกาย ขณะนั้นไม่ต้องเรียกชื่อเลย ไม่ต้องบอกว่าอ่อน ไม่ต้องบอกว่าแข็ง นั่นคือการเริ่มที่จะเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงๆ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นลักษณะอย่างนั้น ซึ่งต่างกับลักษณะอื่นซึ่งปรากฏขณะอื่น
ผู้ฟัง ไม่กล่าวว่า “อ่อน” และไม่กล่าวว่า “แข็ง” และไม่ต้องกล่าวว่า “ธาตุดิน” หรือไม่ต้องคิดว่าธาตุดินด้วย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ การศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ต้องเข้าใจว่า เราไม่ได้ศึกษาเลื่อนลอย ไม่ใช่ฟังพระธรรม แล้วก็หาธรรมไม่เจอ ไม่เลื่อนลอยอย่างนั้น แต่เริ่มมีความเห็นถูก เข้าใจถูกว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ แล้วปรากฏให้รู้ได้ในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ว่าเมื่อไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่มีการเข้าใจความเป็นธรรมของสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน เพราะความไม่รู้ และไม่เข้าใจจึงยึดถือสิ่งที่ปรากฏโดยความเป็นเรา เช่นขณะนี้เห็นมี เป็นเราเห็น ได้ยินมี เป็นเราได้ยิน แต่ว่าตามความเป็นจริง ได้เห็นจะเป็นใคร จะเป็นสัตว์ จะเป็นคน จะเป็นนก จะเป็นปู จะเป็นปลา เป็นไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าเห็นเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่คิดถึงรูปร่างเลย ก็จะเป็นเพียงขณะที่เห็น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เอง เท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นธรรมเป็นสิ่งซึ่งใหม่ต่อคนที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน และเริ่มได้ยินได้ฟัง ก็จะรู้ว่า เป็นอีกโลกหนึ่ง ต่างกับโลกซึ่งเคยอยู่ ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวบุคคลต่างๆ แต่ว่าธรรมจริงๆ ปรากฏแล้วก็หมดไปอย่างรวดเร็ว
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 241
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 242
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 243
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 244
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 245
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 246
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 247
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 248
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 249
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 250
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 251
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 252
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 253
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 254
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 255
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 256
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 257
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 258
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 259
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 260
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 261
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 262
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 263
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 264
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 265
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 266
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 267
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 268
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 269
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 270
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 271
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 272
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 273
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 274
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 275
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 276
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 277
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 278
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 279
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 280
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 281
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 282
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 283
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 284
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 285
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 286
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 287
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 288
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 289
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 290
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 291
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 292
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 293
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 294
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 295
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 296
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 297
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 298
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 299
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 300