ปกิณณกธรรม ตอนที่ 139
ตอนที่ ๑๓๙
สนทนาธรรม ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๖
ผู้ฟัง ในขณะที่บุคคลศึกษาพระอภิธรรมจากที่ได้เรียนรู้เรื่องวิถีจิตต่างๆ โดยชื่อต่างๆ ซึ่งเมื่อสังเกตดูแล้ว ความเข้าใจในเรื่องของจิตแต่ละระดับ ซึ่งเมื่อได้ศึกษาก็จะเห็นว่า ละเอียดมาก คลายความสงสัยไปได้ว่า ทำไมจิตจึงเกิดได้ ทำไมจิตจึงดับไป หรือว่าทำไมจึงรู้อารมณ์ได้ เช่น การศึกษาเรื่องของวิถีจิต ทีนี้ถ้าเกิดว่าพูดถึงนัยของบุคคลที่ฟังแต่พระสูตร เช่นอย่างในครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ พระองค์ทรงแสดงธรรม สั้นๆ เช่น เห็นสักแต่ว่าเห็น ในขณะนั้นบุคคลที่สามารถมีสติปัฏฐานเกิดขึ้นรู้ลักษณะของธรรมได้ทันที นี่แสดงให้เห็นว่าเขาก็ไม่มีความสงสัยเรื่องของจิต ถูกไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน หมายความว่า ถ้าได้ยินว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น คนนั้นเข้าใจความหมายทันทีว่าเห็นเป็นสภาพรู้ แล้วไม่ใช่ตัวตนด้วย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับด้วย คือ คำๆ เดียวขึ้นอยู่กับความเข้าใจของคนฟังว่า คนฟังเข้าใจได้ลึกซึ้งแค่ไหน ถ้าบอกว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น คนที่ไม่เข้าใจธรรมเลย ก็พูดตามว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น แต่ก็ไม่เข้าใจอะไร แต่ถ้าคนที่เข้าใจแล้วก็เข้าใจได้จริงลึกจนกระทั่งว่า ขณะนี้เห็น สักแต่ว่าเห็นจริงๆ เพราะเหตุว่าเหมือนกำมือที่ว่างเปล่า เมื่อเกิดขึ้นแล้วดับไปเลย ไม่กลับมาอีกเลย ไม่เป็นของใครเลย เพราะฉะนั้น ที่ว่าเป็นเราเห็นเมื่อสักครู่นี้ ก็คือความว่างเปล่าจากตัวตน เพราะเหตุว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ
ผู้ฟัง บุคคลคนนี้ก็จะต้องมีความเข้าใจดีว่า จิตเกิดขึ้นแล้วต้องดับ ไม่กลับมาอีก เขาต้องมีความรู้อันนี้มาก่อน ถูกต้องไหม
ท่านอาจารย์ ต้องมีความรู้ความเข้าใจขนาดที่ว่า พอฟังแล้วเข้าใจอย่างท่านพระสารีบุตร ไม่ต้องกล่าวมากเลย ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ขณะนี้ที่กำลังเห็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่ตัวตน เพราะเหตุว่าต้องมีปัจจัย จึงเกิดขึ้น ชั่วขณะที่ฟัง
ผู้ฟัง ไม่จำเป็นต้องไล่ชื่อ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะใดๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าคลายความสงสัยมาแล้ว ถูกต้องไหม
ท่านอาจารย์ สำหรับพวกปทปรมะที่ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ โดยไม่ได้อาศัยการฟังอย่างละเอียด และเมื่อฟังอย่างละเอียดแล้ว ก็แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกได้มากน้อยเท่าไร ในแต่ละชาติ ถ้าใครสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในชาตินี้ ผู้นั้นเป็นเนยยบุคคล แต่ไม่มีใครในยุคนี้ที่เป็นอุคฆฏิตัญญู หรือว่าวิปจิตัญญูบุคคล
ผู้ฟัง ทำไมจึงเรียกว่าสันตีรณจิต แล้วก็มีความหมายอย่างไรในความลึกซึ้งของสันตีรณจิต
สมพร ชื่อว่าจิตทั้งหมดมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่ว่าจิตทั้งหมดนั้นมีการทำกิจทั้งหมดต่างกัน ถ้าลักษณะมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันหมดทุกดวง ไม่ว่าจิตดวงไหน มีลักษณะอย่างเดียว คือ รู้อารมณ์ แต่กิจของจิต กิจคือหน้าที่ การงานของจิตนั้น เฉพาะจิตดวงนี้มีหน้าที่อย่างนี้ เฉพาะจิตดวงนี้มีหน้าที่อย่างนี้ เหมือนจักขุวิญญาณทำทัศนกิจ ส่วนโสตวิญญาณ จิตได้ยินทำหน้าที่ของตน ทำกิจเป็นสวนกิจ กิจนั้นต่างกัน แต่ลักษณะของจิตทุกดวงเหมือนกัน คือ มีการรู้อารมณ์ ถ้ายังไม่จุติ การรับอารมณ์ทุกครั้ง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ต้องมีสันตีรณจิต ซึ่งต่อจากสัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ แปลว่าพิจารณา บางครั้งจะแปลอย่างอื่นก็ได้ นี่ผมแปลเอาอย่าเดียว แปลว่าพิจารณา พิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ สัมปฏิจฉันนจิตนั้นทำกิจอย่างหนึ่ง เรียกว่าทำกิจรับอารมณ์ต่อ เมื่อรับอารมณ์ต่อแล้วอารมณ์ยังมีอยู่ ก็เกิดจิตอีกดวงหนึ่งทำกิจพิจารณาอารมณ์ที่ยังอยู่นั้น เรียกว่า สันตีรณจิต จิตทำกิจพิจารณาอารมณ์ เป็นกิจเรียกว่าสันตีรณกิจ ถ้าเป็นจิต เรียกว่าสันตีรณจิต ต่างกันนิดหนึ่ง กิจกับจิต ถ้าลักษณะของจิต ต้องจำไว้ว่า มีลักษณะเหมือนกันทั้งหมด ทั้ง ๘๙ ดวง มีการรู้อารมณ์ แต่กิจหน้าที่ของจิตนั้นต่างกัน แล้วแต่ว่าจิตเห็น ก็ทำหน้าที่ทำทัศนะ คือ การเห็น ถ้าจิตได้ยินก็ทำหน้าที่ได้ยิน คือ สวนะ สวนกิจ เมื่อสัมปฏิฉันนจิตเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องมีสันตีรณจิต เพราะว่าอารมณ์ยังมีอยู่ เมื่ออารมณ์ยังมีอยู่ตราบใด จิตก็ยังเกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อๆ กันไป จนกระทั่งอารมณ์นั้นหมดไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีสันตีรณจิต
ผู้ฟัง สันตีรณะมี ๓ ก็สงสัย รับไป ๒ เพิ่มมาอีกเป็น ๓ อันนี้กรุณาอธิบายเป็นเพราะอะไร จึงเป็น ๓ ดวง
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครไปเปลี่ยน ที่จะไม่ให้เป็นอย่างนี้ คือ สภาพธรรมเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น แม้แต่คำถามที่ว่าไม่มีสันตีรณจิตได้ไหม ถ้าคิดถึงว่าต้องมีจิต ไม่มีจิตไม่ได้ แล้วก็จิตที่จะเกิดก็ไม่มีใครไปบังคับ หรือไปเปลี่ยนแปลง ต้องแล้วแต่ปัจจัย เช่น เมื่อจักขุวิญญาณดับ จิตต่อไปต้องเกิดต่อ จะเรียกชื่อว่าอะไร หรือไม่เรียกชื่อก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อเลย แต่เรียกเพื่อให้เข้าใจว่า จิตนี้เป็นวิบาก ซึ่งเกิดต่อจากจักขุวิญญาณ แสดงว่ากรรมทำให้จิตที่เป็นวิบากเกิดขึ้น คือ จะได้ทราบว่าในวันหนึ่งๆ ชีวิตของเราส่วนหนึ่งเป็นผลของกรรม คือ เป็นวิบาก เมื่อเป็นผลของกรรมที่สำเร็จแล้ว ทำไปแล้ว ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะแยกให้เข้าใจเรื่องชาติของจิต ที่ต้องรู้อย่างแน่นอนว่า จิตที่เป็นวิบาก เป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้ว มีอะไรบ้าง ขณะไหนบ้าง แล้วเมื่อหมดกิจหน้าที่ของจิตซึ่งเป็นวิบากแล้ว ต่อจากนั้นไม่ใช่วิบาก เป็นเหตุใหม่ที่จะทำให้เป็นการสะสมแล้วก็เกิดผลข้างหน้า นี่เป็นส่วนที่จะต้องเข้าใจ
ในเรื่องของวิบากก็ต้องทราบว่า ตั้งแต่ ปฏิสนธิ ภวังค์ จนกระทั่งถึงเวลาที่เป็นวิถีจิตเกิดขึ้น วิถีจิตแรกไม่ใช่วิบาก เพราะเหตุว่าเป็นจิตที่รำพึงถึงอารมณ์เป็นปัญจทวาราวัชชนจิตชั่วขณะหนึ่งแล้วก็ดับ แล้วต่อจากนั้นก็เป็นวิบากอีก
นี่คือการที่จะให้ทราบกระแสของชีวิตซึ่งเป็นจิตแต่ละประเภท ซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน เปลี่ยนไม่ได้ แต่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่า เมื่อเหตุที่ได้ทำไปแล้ว เสร็จแล้ว ผลต้องมี เพราะฉะนั้น ก็ควรจะพิจารณาถึงผลของกุศลกับอกุศล ถ้าเป็นอกุศลกรรมไม่ว่าจะเป็นกรรมหนักสักเท่าไรก็ตาม เป็นการฆ่ามารดาบิดา หรือว่าประทุษร้ายพระผู้มีพระภาค หรือว่าจะทำลายชีวิตของพระอรหันต์ กรรมทั้งหมดที่เป็นอกุศลกรรมเป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบากจิตเพียง ๗ ดวง เหมือนกับสิ่งที่ทำไปแล้วเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ผลต้องมี นี่ต้องคิดก่อน เป็นธรรมดาแน่นอนซึ่งผลต้องเกิด แล้วสำหรับอกุศลวิบาก ผลไม่มาก น้อยที่สุดเลย ทั้งๆ ที่กรรมหนักสักเท่าไรก็ตาม อกุศลวิบากมีเพียง ๗ ดวงเท่านั้น คือ จิตเห็น๑ จิตได้ยิน๑ จิตได้กลิ่น๑ จิตลิ้มรส๑ จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย ๕ แล้ว แล้วก็มีสัมปฏิฉันนจิต๑ สันตีรณจิต๑ ที่เป็นอกุศลวิบาก เท่านั้นเอง แต่ไม่มีใครชอบ แล้วก็ไม่มีใครอยากได้ผล แต่เหตุทำอยู่บ่อยๆ ก็เป็นได้ ถ้าไม่เข้าใจ
แต่สำหรับทางฝ่ายกุศล นี่เป็นความต่างกัน ทางฝ่ายกุศล อย่างมหากุศลมีเพียง ๘ ดวง แต่ให้ผลเป็นกุศลวิบากถึง ๑๖ ดวง
นี่แสดงให้เห็นความต่างกันของการให้ผลของอกุศลกรรมกับกุศลกรรม เพียงกุศลกรรมไม่ว่าจะเป็นในทาน หรือในศีลก็ตาม ที่ทำสำเร็จแล้ว แต่ทำให้เกิดกุศลวิบากจิตได้ถึง ๑๖ ดวง ซึ่งเป็นอเหตุกะ ซึ่งที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เรากำลังกล่าวถึงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ๕ และสัมปฏิฉันนะ ๑
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็มีวิบากแค่ ๗ ลักษณะเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ สันตีรณจิตอีก
ผู้ฟัง ก็เป็น ๗ รวมทั้งอันนั้น ๕ แล้วก็อีก ๒ ก็เป็น ๗ เพราะฉะนั้น วิบากที่จะได้รับจากผลของกรรมที่ได้ทำแล้ว
ท่านอาจารย์ ที่เป็นกุศลหรืออกุศลวิบาก ถ้าอกุศลแล้ว ๗ ถ้ากุศลแล้วเพิ่มอีก ๑ คือ สันตีรณะ มี ๒ แทนที่จะมี ๑ หมายความว่ากุศลวิบาก นอกจากจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ๕ สัมปฏิฉันนะ๑ เป็น ๖ และสันตีรณจิต ๒ เป็น ๘ ซึ่งทางฝ่ายกุศลมีมากกว่าทางฝ่ายอกุศล ๑
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ฝ่ายกุศลก็คง
ท่านอาจารย์ ให้ผลมากกว่า
ผู้ฟัง ให้ผลมากกว่าฝ่ายอกุศล ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง ทำกุศลรู้สึกได้กำไรมากกว่าอกุศล ที่เพิ่มขึ้นมาเพราะอำนาจที่เป็นอย่างนั้นเอง เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอย่างนั้นเอง จึงได้ทรงแสดงไว้อย่างนั้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าจะคำนึงถึงเหตุ อกุศลก็เกิดง่าย แล้วก็ทำบ่อย ไม่ยาก พร้อมที่จะเกิด แต่กว่ากุศลแต่ละประเภทจะเกิดไม่ง่าย ต้องอาศัยโสภณสาธารณเจตสิกมาก เพราะฉะนั้น จึงให้ผลมากกว่าทางฝ่ายอกุศล
ผู้ฟัง ถ้าเป็นกุศลจะมีเจตสิกเกิดมากกว่า
ท่านอาจารย์ สันตีรณะมี ๒ ดวง ซึ่งทางฝ่ายอกุศลสันตีรณะมีเพียง ๑ ดวง คำถามที่ว่าทำไมถึงสันตีรณะเป็น
ผู้ฟัง มี ๓ ดวง
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลวิบาก ๒ ดวงแล้ว ก็เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง
ผู้ฟัง อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ท่านผู้ฟังก็คงอาศัยว่าได้ฟังบ่อยๆ เพราะฉะนั้น ท่านก็คงจะจำชื่อได้ แล้วคงจะพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นจิตอย่างนั้น ผมคิดว่าในเรื่องของตัวสภาวธรรมของจิตจริงๆ นั้น จะรู้ได้ก็ต้องอาศัยสติปัญญาที่จะต้องหมั่นพิจารณาอยู่บ่อยๆ อยู่เสมอๆ ในสภาพของจิตที่เป็นวิบากอย่างนี้ การที่จะระลึกรู้นั้นคงจะรู้ยาก
ท่านอาจารย์ การที่เพิ่มแล้วจริงๆ ที่เพิ่มมากกว่า ก็ไม่มากกกว่าเท่าไรเลย คือ มีสันตีรณะที่มากกว่า ๑ ดวง แล้วก็มหาวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม แต่มหาวิบากก็เพียงแต่ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ตทาลัมพนะ ซึ่งเรายังไม่กล่าวถึง แต่ให้ทราบว่าเป็นการจำแนกบุคคลให้ต่างกัน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเกิดในสุคติภูมิ แต่ก็มีบุคคลหลายระดับ ที่ปฏิสนธิประกอบด้วยปัญญาก็มี ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็มี แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้ว ไม่มีทางที่จะจำแนกได้อย่างนั้น เหมือนกันหมด คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญา และไม่ประกอบด้วยโสภณเจตสิกด้วย
ผู้ฟัง โสภณสันตีรณะกับอุเบกขาสันตีรณะ อุเบกขาสันตีรณะซึ่งเป็นกุศลวิบากนี้ คิดว่าได้รับอารมณ์ดีธรรมดา ที่เรียกว่า อิฏฐารมณ์อย่างนั้นไหม ถ้าเป็นโสมนัสสันตีรณะ ได้รับอารมณ์ที่เป็นอติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดียิ่ง อย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ทีนี้ก็สงสัยต่อไปว่า จะตัดสินได้อย่างไรว่า การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การกระทบสัมผัส อย่างการเห็น บางคนจะตัดสินว่า ดีไม่ดีตัดสินลำบาก อย่างคนที่เขาไม่ค่อยมีทรัพย์สินเงินทอง เขามีอะไรเล็กๆ น้อยๆ อาจจะเกิดยินดีอย่างยิ่ง สำหรับคนมั่งมีร่ำรวย สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ เขาก็ไม่เป็นที่ยินดีสำหรับเขา จะตัดสินว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ตัดสินลำบาก กรุณาอธิบาย
อ. สมพร เรื่องการตัดสิน ท่านแยกบุคคลเป็น ๓ ประเภท บุคคลชั้นต่ำที่สุด บุคคลชั้นสูงที่สุด บุคคลชั้นปานกลาง นี่อธิบายบุคคลทั้ง ๓ ก่อน
บุคคลที่ต่ำที่สุดได้ของที่เลวก็ชอบใจ จึงไม่เป็นมาตรฐานที่จะกล่าว
หรือบุคคลที่สูงที่สุด เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ หรือพระเจ้ามันธาตุราช ได้ของที่ประณีตที่สุด บางทีก็ยังเฉยๆ ไม่เป็นมาตรฐาน
ในข้อนี้ท่านเรียกเป็นมัชฌัตตบุคคล บุคคลปานกลาง ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป แล้วอารมณ์นั้นปรากฏ ปรากฏตามสภาวะ สิ่งที่ดี ดีคือดีปานกลาง หรือดีพิเศษ ปรากฏแก่บุคคลชั้นกลาง
ถือบุคคลชั้นกลางเป็นประมาณ ไม่เอาบุคคลชั้นต่ำสุด หรือสูงสุด บุคคลชั้นต่ำสุด เพราะว่ายากจนอยู่แล้ว ของที่คนอื่น บุคคลชั้นสูงบอกไม่ดี แต่เขาบอกว่าเป็นของที่ดี ดังนั้นชนชั้นต่ำสุดจึงไม่ถือเป็นประมาณในที่นี้ คงถือเอามัชฌัตตบุคคล บุคคลกลางๆ เห็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่ดียิ่ง คำว่าดีก็คือดีปานกลาง เมื่อเห็นแล้ว สันตีรณอุเบกขาที่เป็นอุเบกขาก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อ ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ แต่ถ้าอารมณ์นั้นดีมากที่สุด โสมนัสสันตีรณะ ก็รับอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ ท่านมุ่งถึงคนปานกลางอย่างนี้
ผู้ฟัง สันตีรณะบางแห่งเขาแปลว่า ไต่สวนอารมณ์ กับการที่แปลว่าพิจารณาอารมณ์นี้มีนัยอธิบายต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร
อ. สมพร คำว่าสันตีรณะ เราจะแปลว่าไต่สวนก็ได้ แปลว่าพิจารณาก็ได้ ไต่สวนลองพิจารณาโดยอรรถ ไต่สวนก็คือสอบถาม สอบถามก็คือการพิจารณา ดังนั้นภาษาบาลีเป็นของคงที่ แต่ภาษาท้องถิ่นคนนี้แปลอย่างนี้ คนนั้นแปลอย่างนั้น บาลีต้องคงไว้เป็นของคงที่ แต่ว่าความหมายมุ่งถึงอย่างเดียวกัน
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบเคยคิดที่จะวัด หรือที่จะเลือก หรือที่จะกำหนดกฎเกณฑ์หรือเปล่าว่า อารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออติอิฏฐารมณ์ หรือว่าเพียงแต่อยากจะทราบหลักหรือกฎที่จะตัดสิน
ผู้ฟัง ก็ไม่เคยคิดจะเทียบ ดีตามสภาพ หรือตามสภาวะที่ควรจะเป็น ก็คิดเอาอย่างนั้น พอดีท่านอาจารย์สมพรบอกว่าเอามัชฌัตตบุคคลเป็นเครื่องติดสิน ก็พอจะประมาณได้ว่า คงจะดีตามสภาพของอารมณ์ที่ดี สภาพหรือสภาวะที่เป็นเอง คงไม่ขึ้นอยู่กับความพอใจหรือไม่พอใจ ซึ่งเป็นเรื่องของโลภะกับโทสะ
ท่านอาจารย์ ถึงอย่างนั้นก็จะง่ายหรือยากในการพิจารณาว่า สิ่งนี้เป็นอิฏฐารมณ์ หรือว่าสิ่งนี้เป็นอติอิฏฐารมณ์ ยากหรือง่ายถึงแม้ว่าจะกล่าวอย่างนี้ ก็ยังยาก
ถ้าเราจะพิจารณาอย่างที่ไม่ต้องให้สงสัยต่อไป หรือว่าจะต้องคิดมากในเรื่องนี้ ก็ทราบว่าอารมณ์ต้องมี ๒ อย่างโดยประเภท คือ อารมณ์ที่ดีก็ต้องมี แล้วอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก็ต้องมี โดยสภาพของอารมณ์นั้นเอง เพราะว่าอารมณ์จะเหมือนกันไม่ได้ สิ่งใดๆ ในโลกไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าเมื่อจำแนกแล้วก็แยกได้เป็นส่วน ใหญ่ๆ ว่าเป็นอารมณ์ที่ดีกับอารมณ์ที่ไม่ดี แล้วอารมณ์ที่น่าพอใจนั้นก็มีอารมณ์ที่น่าพอใจยิ่งซึ่งเป็นสิ่งซึ่งไม่มาก ไม่บ่อย แล้วก็มีน้อย แล้วก็เกิดขึ้นเพราะเป็นผลของกุศลกรรมอย่างประณีต แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะมานั่งคิด หรือมานั่งเลือก มานั่งวัดว่า อันนี้เป็นอะไรในวันหนึ่งๆ แต่ให้ทราบว่า เมื่อลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างนั้นตามความเป็นจริง แล้วก็ผลของกุศลนี้ก็มีประณีตขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไปจัดสรรให้ โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากเกิดขึ้น หรือว่าจะให้เห็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากเกิดขึ้น แล้วแต่ว่าอารมณ์ขณะนั้นเมื่อเกิดกระทบ ทั้งๆ ที่มีอายุเพียง ๑๗ ขณะจิตเท่านั้นเอง แต่ก็เป็นปัจจัยที่จะทำให้กุศลวิบากจิตประเภทใดเกิดขึ้นเกินกว่าที่เราจะรู้ แต่ให้ทราบว่าต้องเป็นไปตามนั้น เพราะเหตุว่าโดยสภาพของอารมณ์จริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าจะมานั่งเถียงกันว่า คนนี้ชอบ คนนั้นไม่ชอบ เพราะฉะนั้น อารมณ์นี้เป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์อย่างไร แต่ให้ทราบว่าจะชอบหรือไม่ชอบ ก็ตามสภาพลักษณะของอารมณ์ต้องแยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ อิฏฐารมณ์อารมณ์ที่น่าพอใจประเภทหนึ่ง และอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจประเภทหนึ่ง แล้วในอิฏฐารมณ์นั้น ก็ยังมีอารมณ์ที่ประณีตยิ่งที่น่าพอใจยิ่งด้วย เท่านั้นเอง คือให้ทราบว่าก่อนที่ชวนวิถีจิต โลภะ หรือโทสะ หรือกุศลจิตจะเกิด วิบากจิตต้องรู้อารมณ์พวกนี้ก่อน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เอาความชอบของเราตัดสิน ต้องเป็นไปตามกรรม ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นปัจจัยให้วิบากจิตประเภทใดเกิด
ผู้ฟัง สันตีรณจิต ที่ว่าพิจาณาอารมณ์ หรือว่าไต่สวนอารมณ์ หรือว่าใคร่ครวญอารมณ์ ในความหมายในแง่มุมมองของสันตีรณจิต ในลักษณะสันตีรณจิตเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงปรมัตถธรรม ก็คงจะไม่ลืมว่า ที่จริงที่เราใช้คำว่า ปฏิสนธิจิต หรือว่าภวังคจิต จักขุวิญญาณ พวกนี้ เป็นเพียงชื่อซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงใช้คำภาษาบาลี แต่ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งแม้ไม่ต้องเรียกชื่อ สภาพธรรมเหล่านี้ก็เกิดขึ้น แล้วก็กระทำกิจตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งจะเห็นได้ว่า แม้แต่คำว่า “สันตีรณะ” ถ้าไม่เรียกชื่อเลยตั้งแต่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต แล้วก็ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิตก็ได้
ผู้ฟัง แต่ถ้าไม่เรียกชื่อเลยเวลาสนทนากันเราก็ไม่รู้เรื่องกัน
ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรม หมายความว่าเป็นสภาพที่มีจริง ซึ่งเราจะต้องไม่ลืม เพราะฉะนั้น เราต้องไม่ลืมว่า เรากำลังพูดถึงปรมัตถธรรม คือ ธรรมที่มีจริง ซึ่งแม้ไม่เรียกชื่อ สภาพธรรมนั้นๆ ก็ต้องเกิด อย่างสันตีรณะก็ต้องเกิด แต่ทำไมเราจึงต้องใช้คำ สันตีรณะ เพื่อที่จะให้เข้าใจความต่างของสัมปฏิจฉันนะ กับสันตีรณะ
สำหรับปฏิสนธิจิตก็ทราบแล้วเป็นความต่าง คือ เป็นจิตขณะแรกทำกิจเกิดขึ้นในภพนี้สืบต่อจากชาติก่อน เพราะฉะนั้น จะเป็นขณะเดียว แล้วก็เป็นชาติวิบากด้วย เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ต้องมีจิตเกิดต่อแน่นอน เพราะเหตุว่ามีปัจจัยที่ทำให้จิตนั้นเกิดขึ้น แล้วเราก็ใช้คำว่า “ภวังคจิต” เพราะว่าจิตนั้นดำรงภพชาติ
นี่คือชื่อซึ่งเราใช้สำหรับให้เข้าใจความหมายของจิต ซึ่งจะต้องเกิดดับสืบต่อ ยับยั้งไม่ได้เลย แล้วแต่ละขณะก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเลย เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแล้ว จิตขณะต่อไปไม่ใช่จิตปฏิสนธิกลับมาทำหน้าที่ภวังค์ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การดับไปของปฏิสนธิจิตนั้น เป็นปัจจัยให้ภวังคจิตเกิด
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 140
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 141
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 142
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 143
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 144
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 145
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 146
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 147
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 148
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 149
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 150
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 151
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 152
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 153
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 154
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 155
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 156
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 157
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 158
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 159
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 160
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 161
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 162
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 163
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 164
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 165
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 166
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 167
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 168
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 169
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 170
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 171
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 172
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 173
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 174
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 175
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 176
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 177
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 178
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 179
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 180