ปกิณณกธรรม ตอนที่ 179


    ตอนที่ ๑๗๙

    สนทนาธรรม ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร

    พ.ศ. ๒๕๓๙


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หนทาง ต้องแยกเรื่องของโลภะกับเรื่องของปัญญา เป็นฝ่ายตรงกันข้ามจริงๆ โลภะเป็นธรรมที่ติดข้องด้วยความไม่รู้ ปัญญาละความติดข้องด้วยความรู้

    ผู้ฟัง ลักษณะของอโลภเจตสิกที่ท่านแสดงว่า เป็นสภาวะที่จิตไม่ติดอารมณ์ ไม่ติดในอารมณ์นั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต่างจากความรู้สึกเฉยๆ ที่เป็นอุเบกขาเวทนาอย่างไร

    ท่านอาจารย์ โลภะ ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่ความรู้สึก แล้วก็ อโลภะ ก็ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่ความรู้สึก เพราะฉะนั้นทำไมถึงจะมาเกี่ยวกัน

    ผู้ฟัง อโลภะ เป็นสภาพที่ไม่ติดในอารมณ์

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมจะต้องรู้สึกเฉยๆ ไม่ติดคือไม่ติด

    ผู้ฟัง จะต่างอย่างไรกับความรู้สึกเฉยๆ ที่เป็นอุเบกขาเวทนา

    ท่านอาจารย์ อโลภะเป็นสภาพที่ไม่ติดข้อง ต้องแยกเวทนาเจตสิกกับอโลภเจตสิกกับโลภเจตสิก เวทนาเป็นสภาพที่รู้สึก แต่ว่าโลภะเป็นสภาพที่ติดข้อง แต่อโลภะนี้ตรงกันข้าม คือไม่ติดข้อง แล้วเรื่องของลักขณาทิจตุกะ หรือลักษณะของสภาพธรรมที่แสดงโดยลักษณะ หรือว่าโดยกิจ โดยอาการที่ปรากฏ โดยเหตุใกล้ให้เกิด เป็นเครื่องเทียบ เพื่อจะให้เห็นความเป็นอนัตตา แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไปเห็นอย่างนั้น หรือรู้อย่างนั้น เช่นในขณะนี้ ขณะที่กำลังฟังธรรม มีอโลภเจตสิก มีอโทสเจตสิก แล้วก็มีโสภณเจตสิกมาก แต่เราจะรู้ลักษณะของอโลภไหม

    ผู้ฟัง อโลภะ ยังไม่สังเกตเห็น

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ว่าเราจะไปเห็น แต่เรารู้ว่ามี เพราะฉะนั้น เวลาที่กุศลจิตเกิด แล้วแต่ว่ากุศลจิตนั้นเป็นไปในทานก็ต้องมีอโลภเจตสิก แล้วก็ต้องมีอโทสเจตสิกด้วย ขณะที่วิรัติทุจริต ขณะนั้นก็มีอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก แต่ไม่ใช่หมายความว่าขณะนั้นเรารู้ในลักษณะอาการของอโลภะ แล้วแต่สติจะมีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด ทั้งๆ ที่มีอยู่ แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไปรู้ ต้องแล้วแต่สติเกิด

    ผู้ฟัง แล้วแต่สติจะเกิด ในขณะที่เป็นอโลภเจตสิก ขณะนั้นแม้ว่าเราจะไม่รู้ แต่ก็เป็นไปพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ คือ อุเบกขาได้

    ท่านอาจารย์ เกิดกับโสมนัสก็ได้ เกิดกับอุเบกขาก็ได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น บางครั้งที่เฉยๆ เราก็ไม่ทราบว่าคนนี้เฉยติด หรือ เฉยไม่ติด

    ท่านอาจารย์ คุณกฤษณายกตัวอย่างเมื่อกี้รับประทานอาหาร ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ตัวอย่างที่ถาม ชอบอาหารจานนี้ไหม แล้วคนที่ถูกถามก็ตอบว่า เฉยๆ

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่ใช่อโลภะเลย

    ผู้ฟัง เพราะว่าเฉยๆ จะเฉยๆ อโลภะก็ได้ หรือโลภะก็ได้

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นกุศล จึงจะเป็นอโลภะ

    ผู้ฟัง ถ้าขณะนั้นสติปัฏฐานเกิด ก็เป็นอโลภะ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ถ้าขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นจึงจะเป็นอโลภะ อโทสะ และโสภณเจตสิกอื่นๆ แต่ถ้าคนนั้นตอบว่า เฉยๆ แล้วคนอื่นคิดว่า คนนี้ไม่ติดข้อง ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าขณะนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่า เขาเป็นกุศลจิต หรือไม่ใช่กุศลจิต แต่เวลาที่กุศลจิตเกิด แน่นอนต้องมีอโลภะ

    ผู้ฟัง ทำไมอกุศลเหตุนี้ท่านไม่เรียกว่าเป็น อโสภณเหตุ จะได้คู่กับโสภณเหตุ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าอกุศลเจตสิกทั้งหมด จะไม่เกิดกับจิตประเภทอื่นเลย นอกจากอกุศลจิตชาติเดียวเท่านั้น อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ประเภท ที่เราใช้คำว่า ๑๔ ดวง จะเกิดกับอกุศลจิตเท่านั้น แต่สำหรับโสภณเจตสิกเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับวิบากจิตก็ได้ เกิดกับกิริยาที่เป็นโสภณก็ได้ แต่เกิดกับอกุศลไม่ได้

    เพราะฉะนั้น สำหรับอกุศลเจตสิก โดยชาติแล้วเป็นอกุศลชาติเดียว เช่นเดียวกับอกุศลจิต ซึ่งอกุศลจิตจะไปเป็นวิบากก็ไม่ได้ เป็นกิริยาก็ไม่ได้ เป็นกุศลก็ไม่ได้ ต้องเป็นชาติอกุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น อกุศลเจตสิกก็ เป็นชาติอกุศลอย่างเดียว

    ผู้ฟัง ในเรื่องของโมหเหตุ ที่โดยปกติแล้วเป็นสาธารณะคือเกิดขึ้นกับอกุศลจิตทุกดวง ทีนี้ในขณะที่โมหเหตุเข้าไปร่วมด้วยโลภมูลจิต ก็มี ทิฏฐิคตสัมปยุตต์บ้าง ไม่สัมปยุตต์บ้างแต่ละดวง ส่วนโทสะนั้นไม่ได้พูดถึงทิฏฐิคต เข้าไปสัมปยุตต์หรือไม่สัมปยุตต์เลย ทีนี้พอมาเป็นจิตที่เป็นกุศล ก็มีอโทสะกับอโลภะ อันนี้เป็นสาธารณะกับจิตที่เป็นกุศลทุกดวง แล้วถามว่า ปัญญาซึ่งเป็นอโมหเจตสิก ทำไมถึงไม่เกิดกับกุศลจิตทุกดวง แทนที่คิดฟัง ฝ่ายอกุศลจิตเขา เจ้าโมหเจตสิกเกิดร่วมกับเขาไปหมดเลย

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจสภาพของโมหะ เป็นความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่รู้อริยสัจ เวลาที่อกุศลจิตเกิด เพราะความไม่รู้จึงเป็นอกุศล จึงมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นโลภมูลจิต หรือว่ามีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นโทสมูลจิต แต่จะปราศจากโมหเจตสิกไม่ได้เลย

    เวลานี้รู้สึกว่า เราจะสลับๆ กันระหว่างจิตกับเจตสิก เวลาพูดถึง ต้องพูดถึงให้ชัดเจนว่า พูดถึงเจตสิก หรือว่าพูดถึงจิต สำหรับโมหเจตสิกเป็นสภาพที่ไม่รู้ สั้นๆ ก็แล้วกัน เข้าใจแล้วว่าไม่รู้อะไร แล้วก็เวลาที่มีโลภะเกิดร่วมด้วย เพราะมีโมหะ จึงมีโลภะ หรือว่าเพราะมีโมหะ จึงมีโทสะ นี่ทางฝ่ายอกุศล แต่เวลานี้มีใครมีปัญญาเป็นพื้นอย่างโมหะบ้าง ที่จะว่าเมื่อเป็นกุศลเกิดขึ้น ก็ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบลักษณะของเจตสิกซึ่งต่างกันว่า โมหะเป็นสภาพที่ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้เลย ขณะนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม แต่ขณะนี้มีใครที่รู้ว่า เป็นนามธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตาที่กำลังเห็น หรือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูป

    เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเวลาที่มีความไม่รู้ ต้องมีความไม่รู้แล้วก็มี เจตสิกอื่นๆ ซึ่งเป็นอกุศลจิตเกิดร่วมด้วย จะปราศจากโมหะไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นอกุศลจิตประเภทไหน เพราะไม่รู้ แต่ทางฝ่ายกุศล ไม่ใช่ว่าเพราะรู้ ก็ยังคงไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ว่าประกอบด้วยโสภณเจตสิกถึง ๑๙ ประเภท เช่น อโลภะ อโทสะ สติ ศรัทธา พวกนี้ ขณะนั้นจิตที่เป็นกุศลจึงเกิดขึ้นได้ แต่แม้กระนั้นก็ยังไม่ประกอบด้วยปัญญา นอกจากขณะใดที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย กุศลจิตนั้นจึงเป็นญาณสัมปยุตต์ คือ ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น เป็นความต่างกันลิบ ระหว่างโมหเจตสิกกับปัญญาเจตสิก

    ผู้ฟัง ยังขืนๆ อยู่นิดหนึ่งว่า ความรู้สึกว่าในเมื่อเราทำทานโดยไม่รู้อะไรหรือ สมาทานศีลโดยไม่ทราบอะไร คือไม่ทราบสภาพของอาการของปัญญาเจตสิกเลย มันก็ยังไม่รู้อะไรอยู่

    ท่านอาจารย์ ก็ยังมีโสภณเจตสิกอื่น แต่ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีอโลภะ ขณะที่ให้ มีอโทสะ เพราะว่าถ้ายังเป็นโลภะไม่ให้แน่ ถ้ายังมีโทสะก็ไม่ให้เหมือนกัน ขณะนั้นจึงต้องมีทั้งอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ให้ได้ แต่ว่าขณะนั้นปัญญาเจตสิกไม่ได้เกิดร่วมด้วย เพราะว่าลักษณะของปัญญาเจตสิก ตรงกันข้ามกับโมหเจตสิก

    ผู้ฟัง ผมก็พอเข้าใจด้วยความหมายของเจตสิกนี่ คือหมายความว่าเพียงเข้าใจ เพราะไม่เกิดกับผม ผมไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ โดนมากคิดเทียบเคียง แต่ความจริงสภาพธรรมไม่ใช่โดยการเทียบเคียงอย่างนั้น ไม่ใช่หลักที่จะเทียบเคียง แต่ต้องเข้าใจตัวสภาพธรรมแต่ละอย่างให้ถูกต้องว่า เจตสิกแต่ละชนิดเป็นอกุศลเจตสิก เป็นโสภณเจตสิก ต่างกันอย่างไร อย่างโมหเจตสิกกับปัญญาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้าม

    ผู้ฟัง ถ้าโมหเจตสิกไม่เกิด ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ ถ้าอกุศลจิตเกิดต้องมีโมหเจตสิกแน่นอน เวลาที่เป็นกุศลจิตไม่แน่ ว่ามีปัญญาเกิดร่วมด้วยหรือไม่

    ผู้ฟัง แต่ไม่มีโมหเจตสิกแน่ เพราะว่ามีโสภณเจตสิก

    ผู้ฟัง ทำไมอพยากตเหตุ จึงได้แค่อโลภเหตุ อโทสเหตุ แล้วก็อโมหเหตุ

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องจำก็คือว่า เหตุ ๓ ที่เป็นอกุศลเป็นชาติอกุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นคำตอบเวลาจำแนกโดยเป็นเหตุ ๓

    ผู้ฟัง แล้วอพยากตเหตุไม่สามารถที่จะ

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าสำหรับอโลภะกับอโทสะนี้เกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับวิบากจิตก็ได้ เกิดกับกิริยาจิตก็ได้ แต่สำหรับอกุศลเจตสิก เช่น โลภะ โทสะ จะเกิดกับวิบากไม่ได้ เกิดกับกิริยาไม่ได้ ต้องเกิดกับอกุศลชาติเดียว

    เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นก็คงจะต้องทบทวนความหมายของ กุสลาธัมมา อกุสาธัมมา อพยากตาธัมมา อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ไม่พ้นจากชาติทั้ง ๔ คือ อกุศล ๑ กุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ สภาพธรรมที่เป็นกุศลต้องเป็นจิต และเจตสิก สภาพธรรมที่เป็นอกุศลก็ต้องเป็นจิต และเจตสิก แต่อพยากตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล เป็นจิตก็ได้ เป็นเจตสิกก็ได้ เป็นรูปก็ได้ เป็นธรรมอื่น เช่น นิพพานปรมัตถก็ได้ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดก็ตามที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลแล้ว เป็นอพยากตธรรมทั้งหมด

    สำหรับอกุศลเจตสิก เช่น โทสะ โลภะ โมหะ พวกนี้ ไม่เกิดกับวิบากจิต ไม่เกิดกับกิริยาจิต เพราะฉะนั้น ก็เป็นอพยากตไม่ได้ แล้วก็เป็นกุศลไม่ได้ ก็ต้องเป็นอกุศลอย่างเดียว สำหรับอกุศลเหตุ

    ผู้ฟัง สภาพธรรมที่ไม่เป็นเหตุบ้างว่าได้แก่อะไร ที่ป็น นเหตุธัมมา

    อ. สมพร เราต้องแยกออกธรรมที่เป็นเหตุ มุ่งถึงมูลเหตุ ถ้ามุ่งถึงมูลเหตุก็ได้แก่สภาพธรรม ๖ อย่างนี้ เหตุที่เป็นมูล แต่คำว่าเหตุ เฉพาะเหตุอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับมูล มีความหมายกว้างขวาง หมายถึงว่าเป็นปัจจัยก็ได้ เป็นที่อาศัยให้เกิดอย่างอื่นอีกก็ได้ แต่ถ้ากล่าวถึงเหตุที่เป็นมูล หมายถึงเหตุที่มั่นคงดุจต้นไม้มีรากแก้ว ต้นไม้มีรากใหญ่มั่นคงอย่างนั้น ดังนั้นเราจะต้องนึกถึงว่า ที่กล่าว ธรรมที่นอกจากมูลเหตุ ๖ อย่างแล้ว ได้แก่อะไรบ้าง ก็มากมาย มูลเหตุ ๖ อย่างป็นเจตสิก ที่เหลือเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ อย่าง เราก็ตัดออกเสีย ๖ ที่เหลือก็ธรรมที่ไม่ใช่ที่เป็นมูลเหตุ ทั้งหมดมี ๕๒ ตัดออกเสีย ๖ แล้วก็จิตทั้งหมดไม่ใช่เหตุที่เป็นมูล จิตทั้งหมดก็มี ๘๙ หรือ ๑๒๑

    ท่านอาจารย์ รู้สึกอยากจะให้ผู้ฟังคิดบ้าง รู้สึกฟังไปเรื่อยๆ แล้ว ยังไม่ได้ถามกลับไปเลยว่า มีความมั่นคงเข้าใจอะไรสักแค่ไหน เพราะว่าธรรมก็สับสนง่าย ถ้าถามกลับว่ารูปเป็นเหตุหรือเปล่า ไม่เป็น เพราะฉะนั้นแน่นอนที่สุด คือว่า นอกจากเจตสิก ๖ ดวงแล้วทุกอย่างไม่ใช่เหตุ

    การศึกษาธรรมต้องจำกัดความ เพราะว่าพระธรรมเกิดจากการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นเมื่อทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ถ้ากล่าวว่าสภาพธรรมที่เป็นเหตุ ที่เป็นมูล ได้แก่ เจตสิก ๖ ดวง คือ โมหเจตสิก โลภเจตสิก โทสเจตสิก เป็นอกุศลเจตสิก ๓ ที่เป็นอกุศลเหตุ ๓ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นโสภณเจตสิก ซึ่งเป็นโสภณเหตุ ๓ นอกจากเจตสิก ๖ ดวงนี้แล้ว ทุกอย่างไม่ใช่เหตุ ๖ ถ้ากล่าวอย่างนี้ จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ที่ถามว่ารูปเป็นเหตุใช่ไหม คำตอบ คือ ไม่ใช่แน่นอน นิพพานเป็นเหตุใช่ไหม ไม่ใช่ สติเจตสิกเป็นเหตุใช่ไหม ไม่ใช่

    เพราะฉะนั้น ก็ไม่ยากเลย ถ้าเรามีความเข้าใจจริงๆ ว่า ถ้าพูดถึงเหตุ ๖ นอกจากเจตสิก ๖ ดวงนี้แล้ว อย่างอื่นทั้งหมดไม่ใช่ โลภมูลจิตเป็นเหตุใช่ไหม ไม่ใช่ เราต้องมีความมั่นใจว่า ถ้าพูดถึงจิตก็ไม่ใช่เหตุ หรือว่าเหตุ ๖ นี้ ถ้าพูดถึงเหตุ ๖ แล้วต้องเป็นเจตสิกเพียง ๖ ดวงนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น วันนี้ก็คงจะถามตอบกันได้หลายคน ต่างคนต่างถามกันดู เพื่อความมั่นใจว่าเข้าใจในเรื่องเหตุ ๖ นี้แค่ไหน หรือแม้แต่เรื่องของอพยากตธรรมก็เหมือนกัน ก็พอจะถามตอบกันได้เวลาที่รู้จักเจตสิกอะไรหรือว่ารู้จักจิตอะไรก็อาจจะถามกันเองว่า เป็นอพยากตะ หรือว่าไม่ใช่อพยากตะ

    ผู้ฟัง อพยากตะมันไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล แล้วอโลภเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบากได้ อโลภเจตสิก เกิดกับวิบากจิตได้ เกิดกับกิริยาจิตได้

    ผู้ฟัง อย่างนั้นมันก็ต้องเป็นโลภะได้เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ อย่าลืม อกุศลเจตสิกจะไม่เกิดกับจิตชาติอื่นเลย นอกจากอกุศลจิตอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อกุศลเจตสิกไม่เกิดกับอกุศลวิบากจิต

    ผู้ฟัง นิพพานไม่ใช่อโลภเจตสิก จะมีนิพพานได้ก็ต้องมีปัญญาไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรมมี ๔ แยกกัน จิตไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป ไม่ใช่นิพพาน เจตสิกไม่ใช่จิต ไม่ใช่รูป ไม่ใช่นิพพาน รูปไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป จึงจะเป็นปรมัตถธรรม ๔ เอาไปรวมกันมันก็ไม่เป็น ๔

    ท่านอาจารย์ อกุศลจิตเป็นอพยากตธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น เพราะอาจารย์บอกเมื่อกี้นี้แล้ว ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น กุศลจิต

    ผู้ฟัง กุศล อกุศลไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ต้องอย่างนั้น แล้วก็ยังถามได้อีกตั้งหลายอย่าง เคยมีผู้ฟังถามว่า ทำอย่างไรถึงจะเข้าใจธรรม คือไม่ใช่เพียงแต่จำ เพราะว่าบางคนจำแม่น อย่างคนที่ท่องมหาสติปัฏฐานสูตรได้ หรือว่าท่องพระสูตรอื่นๆ ได้ รัตนสูตร เมตตากรณียสูตร หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าไม่เข้าใจเลย

    การศึกษาพระอภิธรรม อย่าให้เป็นอย่างนั้น อย่าให้เป็นเพียงว่าเราจำได้ โดยที่ไม่มีเหตุผล หรือว่าไม่มีความเข้าใจสภาพธรรมเลย แต่ต้องเข้าใจว่า อภิธรรม คือการศึกษาสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เกิดปรากฏกับเราตลอดชีวิต แต่ว่าถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมจะไม่รู้เลยว่า นั่นเป็นอภิธรรม หรือว่านั่นเป็นธรรม

    จุดประสงค์ของการศึกษาพระอภิธรรม อย่าให้เป็นเรื่องการจำชื่อ จำจำนวน แต่ให้เป็นความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะมิฉะนั้นก็จะเป็นบุรุษเปล่า โมฆะบุรุษ คือ รู้จักแต่ชื่อ แต่ตัวจริงๆ ของสภาพธรรมที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิด กำลังเป็นกุศล กำลังเป็นอกุศล มีอยู่ตลอด เพียงแต่ว่า ทรงใช้ชื่อในภาษาบาลีเพื่อที่จะให้เราเข้าใจสภาพธรรม ซึ่งถ้าขณะที่กำลังเข้าใจนั้น ไม่มีชื่อใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่มีการที่จะเอาป้ายไปติดไว้ว่าขณะนี้เป็นภาษามคธว่าอะไร ภาษาไทยว่าอะไร แต่ว่าเป็นตัวสภาพธรรม

    ขอให้พยายามเข้าใจ การพูดถึงเรื่องธรรมอย่างปรมัตถธรรม เมื่อเป็น ๔ ก็คือเป็น ๔ จิตต้องไม่ใช่เจตสิก นิพพานต้องไม่ใช่จิต รูปก็เป็นรูป

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเราจะแยก เหตุ กับ นเหตุ ถ้าเป็นเหตุแล้ว ก็ต้องตัดออกไปเลย เจตสิก ๖ ดวง

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ใช่ ๖ ดวงนี้แล้ว ทุกอย่าง

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่เจตสิก ๖ ดวงนี้แล้ว ทุกอย่าง ใช้คำว่าทุกอย่างทั้งหมด

    ผู้ฟัง หมายความว่าจิตทั้งหมด เจตสิกอีก ๔๖ ดวง ซึ่งไม่ใช่ ๖ ดวงเมื่อกี้นี้ รูป นิพพาน เป็น นเหตุ ใช่ไหม จะเรียนถามว่า อกุศลเจตสิกเกิดจากอกุศลวิบากหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ต้องยึดหลักว่า อกุศลเจตสิก (ซึ่งเป็นเหตุ) จะเกิดกับจิตเพียงชาติเดียวคืออกุศลจิต ส่วนอกุศลวิบากเป็นผลของอกุศลกรรม ซึ่งจะไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ ใดๆ ก็ตามที่เป็นอกุศล ต้องเป็นเหตุ ไม่ใช่เป็นผล

    ถ้าใช้คำว่าอกุศลวิบาก หมายความว่า ต้องเป็นผลของอกุศลเท่านั้น จะเป็นผลของอย่างอื่นไม่ได้เลย เพราะถ้าใช้คำว่ากุศลวิบากก็ต้องเป็นผลของกุศล จะเป็นผลของอย่างอื่นไม่ได้ หรือจะเป็นตัวเหตุก็ไม่ได้

    จึงจำเป็นต้องพูดให้เต็มว่า กุศล หรือ กุศลวิบาก อกุศล หรือ อกุศลวิบาก คำว่า อพยากตะ หมายความถึงธรรมทั้งหมดที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล อันนี้เป็นคำจำกัดความที่สั้น และก็กว้าง ธรรมทั้งหมดที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล เพราะฉะนั้น เมื่อปรมัตถธรรมมี ๔ รูปเป็นกุศลหรือเปล่า เป็นอกุศลหรือเปล่า เมื่อรูปไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล รูปเป็นอพยากตะ นิพพานเป็นกุศลหรืออกุศลหรือเปล่า นิพพานไม่ใช่กุศล และอกุศล เพราะฉะนั้น นิพพานเป็นอพยากตะ จิตเป็นกุศลหรืออกุศลหรือเปล่า จิตที่เป็นอกุศลไม่เป็นอพยากต จิตที่เหลือ คือ วิบากจิต และกิริยาจิตเป็นอพยากตะ รวมทั้งเจตสิกด้วย โลกุตตรจิต ๘ เป็นอพยากตะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง โลกตุตรจิต

    ท่านอาจารย์ โลกุตตรกุศล ๔ โลกุตตรวิบาก ๔ รวมเป็นโลกุตตรจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ เป็นอพยากตะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อย่างพระโสดาบันบุคคลก็เป็นโลกุตตรจิตแล้ว ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ พระโสดาบันบุคคลไม่ใช่มีแต่เฉพาะโสดาปัตติมรรคจิตหรือโสดาปัตติผลจิต จิตเห็นก็มี จิตได้ยินก็มี เพราะฉะนั้น จิตเห็นของพระโสดาบันไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่โลกุตตระ ก็เป็นจิตเห็นธรรมดา ซึ่งมีสีเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ขณะที่มีสีเป็นอารมณ์ไม่ใช่โลกุตตรจิต

    เพราะฉะนั้น เวลาพูดถึงโลกุตตรจิต ให้ทราบว่า หมายเฉพาะโลกุตตรจิต ๘ ดวง เท่านั้นจริงๆ คือ โสดาปัตติมรรคจิต ๑ โสดาปัตติผลจิต ๑ ตลอดไปจนถึงอรหัตตมรรค อรหัตตผล รวมเป็นโลกุตตรกุศล ๔ โลกุตตรวิบาก ๔ เพื่อที่จะให้ตอบคำถามนี้ให้ได้ว่า โลกุตตรจิตเป็นอพยากตธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นอพยากตหรือเปล่า อพยากตะเป็นเฉพาะ

    ท่านอาจารย์ ธรรมทุกอย่างที่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล ยืนยันไปได้เลย ตลอดทั้ง ๓ ปิฏก ในปรมัตถธรรม ๔ รูป นิพพาน เป็นอพยากตะ เพราะว่ารูปเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ นิพพานเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ แต่จิตที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นกิริยาก็มี

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 16
    22 มิ.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ