ปกิณณกธรรม ตอนที่ 180
ตอนที่ ๑๘๐
สนทนาธรรม ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๙
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตใดเป็นกุศล จิตนั้นไม่ใช่อพยากตะ จิตใดเป็นอกุศล จิตนั้นไม่ใช่อพยากตะ เฉพาะวิบากจิตกับกิริยาจิตเป็นอพยากตะ
ผู้ฟัง ขอเปลี่ยนคำตอบ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ต้องบอกว่าเป็นอพยากตะ ๔ ดวง ไม่เป็นอพยากตะ ๔ ดวง ที่เป็นอพยากตะ คือ โลกุตตรวิบาก ที่ไม่เป็นอพยากตะ คือ โลกุตตรกุศล ธรรมต้องตรง และตายตัว ไม่ใช่ก็ได้ๆ
ผู้ฟัง มันเป็นเหตุปัจจัยไม่เหมือนกัน เพราะว่าอย่างคำว่าจิต พูดกันชัดๆ ว่า กิริยาจิตก็มี
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ถึงมีก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ก็ได้ไม่ได้ ต้องเป็นกิริยาจิต แล้วก็โดยชาติ ๔ เราทราบว่า มีชาติ ๔ แต่ที่นี้เรากล่าวถึงธรรมโดยหมวด ๓ ย่อเป็น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อพยากตาธัมมา กล่าวเฉพาะกุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม อันนี้เพื่อความเข้าใจกว้างขวาง และถูกต้องของผู้ศึกษาธรรมที่จะมีการทรงแสดงธรรม โดยนัยต่างๆ เพื่อผู้ฟังเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็ตรงกัน เหมือนกันทั้งหมด แต่ว่ากล่าวได้โดยนัยต่างๆ แล้วตอบว่าอย่างไร
ผู้ฟัง แม้คำว่า โลกุตตรจิต ตอนนี้ก็ยังหาคำจำกัดความที่ชัดเจน จะว่ามั่นใจ ก็ยังมั่นใจยากว่า จริงๆ แล้วคืออะไร โลกุตตรจิต
ท่านอาจารย์ โลกุตตรจิต คือ จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ นี่ทั้ง ๘ ดวง ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตหรือวิบากจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ สำหรับโลกุตตรกุศลจิตซึ่งเป็นมรรคจิต เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ และดับกิเลส แล้วสำหรับโลกุตตรวิบากจิตซึ่งเป็นผลของโลกุตตรกุศลจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ต่างกับโลกุตตรกุศลจิต คือ มรรคจิต เพราะเป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์โดยสภาพที่ดับกิเลสแล้ว ซึ่งเป็นผลสืบต่อจากมรรคจิต แต่ถ้าเป็นจิตอื่นซึ่งก็มีนิพพานเป็นอารมณ์ เช่น โคตรภูจิต ซึ่งเกิดก่อนมรรคจิต แต่ไม่ใช่โลกุตตระเพราะไม่ได้ดับกิเลส
เพราะฉะนั้น จึงจำกัดความว่า สำหรับโลกุตตรจิต ๑. มีนิพพานเป็นอารมณ์ และ ๒. แยกเป็น ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรคจิต แล้วก็เป็นโลกุตตรจิตซึ่งดับกิเลส ถ้าเป็นผลจิตก็คือโลกุตตรจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ โดยสภาพที่ดับกิเลสแล้ว
ผู้ฟัง โลกุตตรจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นอพยากตะ
ท่านอาจารย์ ทั้ง ๒ อย่างมีนิพพานเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง ทั้ง๒ อย่าง
ท่านอาจารย์ แต่เฉพาะวิบากเท่านั้น
โลภมูลจิตมีกี่เหตุ ๒ เหตุ คือโลภเหตุกับโมหะเหตุ เจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต มีเหตุเกิดร่วมด้วยกี่เหตุ เจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ถามกว้างๆ ก่อน มีเหตุเกิดร่วมด้วยกี่เหตุ ถ้าไม่ใช่โลภเจตสิก ไม่ใช่โมหเจตสิกแล้ว มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ ถูกไหม แต่ถ้าพูดถึงโลภเจตสิกในโลภมูลจิตแล้ว มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๑ เหตุ คือโมหเจตสิก หรือ ถ้าพูดถึงโมหเจตสิกในโลภมูลจิตแล้ว ก็มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๑ เหตุ คือโลภเจตสิก แต่ถ้าพูดถึงเจตสิกอื่น นอกจากเจตสิก ๒ ดวงนี้แล้ว จะมีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ เมื่อกี้นี้ โลภเจตสิกในโลภมูลจิตเป็นสเหตุกะหรืออเหตุกะ เป็นสเหตุกะ
ผู้ฟัง อันนี้เป็นเจตสิกที่เป็นเหตุที่เป็นอเหตุกเจตสิกหรือสเหตุกะ ตัวอย่างเจตสิกที่เป็น นเหตุ เช่น ผัสสะ เป็นอเหตุกะ หรือสเหตุกะ
ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดกับอเหตุกจิตก็เป็นอเหตุกเจตสิก ถ้าเกิดกับสเหตุจิต ก็ต้องเป็นสเหตุกเจตสิก เพราะเหตุว่าถ้าเกิดกับจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตสิกอื่นๆ ก็ต้องประกอบร่วมกับเจตสิกซึ่งเป็นเหตุนั้น
ผู้ฟัง ถ้าเขาเกิดกับอเหตุกจิต ก็เป็นอเหตุกะ เขาเกิดกับ สเหตุจิต ก็เป็น สเหตุกเจตสิก อยากจะให้อาจารย์อธิบาย อเหตุกจิต ๑๘ ดวง
ท่านอาจารย์ อเหตุกะ ๑๘ ดวง ถ้าเปิดดูในหนังสือ ก็คงจะทราบว่าเป็นวิบาก ๑๕ ดวง เป็นกิริยาจิต ๓ ดวง ซึ่งถ้าจำแนกอย่างนี้แล้วก็คงจะจำง่าย หมายความว่าไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต เพราะเหตุว่าถ้าเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตต้องมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่านี่เป็นวิบากจิต และกิริยาจิตประเภทที่ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ต่อไปจะทราบว่ากรรมที่ได้กระทำแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ตาม เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบาก แล้วก็มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย แต่ว่า เมื่อกรรมที่ได้กระทำแล้ว สำเร็จแล้ว มีกำลังที่จะให้เกิดผล ผลที่เกิดไม่ประกอบด้วยเหตุ เรียกว่า อเหตุกวิบาก จำพวก ๑ แล้วก็ยังมีวิบากซึ่งประกอบด้วยเจตสิกฝ่ายดีที่เป็นเหตุอีก เรียกว่า สเหตุกะ แต่เราก็คงจะต้องค่อยๆ ไปตามลำดับ แต่ให้ทราบเหตุผลว่า กรรมที่ได้กระทำแล้ว ตัวเหตุ ตัวกุศลจิตหรืออกุศลจิตนั้น มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วยจริง แต่เวลาที่จะให้ผล ไม่จำเป็นต้องมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย กรรมนั้นก็สามารถที่จะทำให้วิบากจิตเกิดได้แล้ว
เพราะฉะนั้น มีวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรมที่ไม่ประกอบ ด้วยเหตุที่ชื่อว่า อเหตุกวิบากจิต นี่เป็นประเภทหนึ่ง เราจะเรียนเรื่องผลของกรรมซึ่งไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นวิบากประเภทที่เป็นอเหตุกะ ซึ่งได้แก่ วิบาก ๑๕ ดวง เป็นกุศลวิบาก ๘ ดวง เป็นอกุศลวิบาก ๗ ดวง เวลาที่ใช้คำว่า อกุศลวิบาก ๗ ไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า อเหตุกอกุศลวิบาก เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นอกุศลวิบากเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม จะมีเพียง ๗ ดวงเท่านั้น แล้วก็ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย จะต้องเป็นอเหตุกะ คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุอย่างเดียวที่เป็นผลของอกุศลกรรม จิตเห็นสิ่งที่ไม่ดี ขณะนั้นเป็นอกุศลวิบากจิต จิตได้ยินเสียงที่ไม่ดี ขณะนั้นเป็นอกุศลวิบากจิต ได้กลิ่นไม่ดี ลิ้มรสไม่ดี กระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่ดี นี่ ๕ แล้ว เหลืออีก ๒ ยังไม่ต้องกล่าวถึง ใช่ไหม
ผู้ฟัง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง ดวงสุดท้าย ก็คือ สมมติว่าเป็นสันตีรณกุศลจิตนำเกิด แปลว่าการปฏิสนธิ เกิดด้วยอเหตุกจิต ใช่ไหม การเกิดของเรา เพราะว่าอันอื่นมันดับหมดทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ คือดวงสุดท้ายก็ยังไม่รู้ว่าสุดท้ายของอะไร ของอเหตุกจิต หรือของวิบากจิต เพราะว่าอเหตุกจิต ๑๘ ดวง เป็นวิบาก ๑๕ ดวง แล้วก็เป็นกิริยา ๓ ดวง
ผู้ฟัง ใช่ แต่ว่าเราจะปฏิสนธิ
ท่านอาจารย์ พูดถึงดวงไหน
ผู้ฟัง ดวงไหนก็ตาม แต่ว่าเป็นอเหตุกจิตใช่ไหม ที่จะนำเราปฏิสนธิ
ท่านอาจารย์ คุณสุพรรณีหมายความถึงว่า อกุศลกรรมจะให้ผลทำให้ปฏิสนธิ ในเมื่ออกุศลวิบาก มี ๗ ดวง ดวงไหนทำกิจปฏิสนธิหรือ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิในอบายภูมิดวงเดียว เกิดเป็นช้าง เป็นมด เป็นนก เป็นปลา ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก เพราะเหตุว่าสำหรับอกุศลวิบาก ๗ ดวง จักขุวิญญาณ ๑ โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๑ ชิวหาวิญญาณ ๑ กายวิญญาณ ๑ ทุกคนต้องรู้แล้วไม่ลืม แต่พิเศษอีก ๒ คือ สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบาก ๑ ซึ่งเกิดต่อจากปัญจวิญญาณนี้ และเมื่อดับไปแล้ว อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากก็เกิดต่อ
เพราะฉะนั้น ใน ๗ ดวงที่จะทำกิจปฏิสนธิได้ คือ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก เท่านั้น
ผู้ฟัง แล้วผู้ที่ปฏิสนธิด้วยติเหตุกะ เขาเอาอันไหนมาปฏิสนธิ
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผลของกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา นี่เรากำลังพูดถึงอเหตุกะ ซึ่งเป็นผลของกรรม ๑๕ ดวง ที่เป็นวิบาก ๑๕ ดวง ซึ่งไม่ประกอบด้วยเหตุ แสดงให้เห็นว่า ผลของกรรม มี ๒ ประเภท ที่ประกอบด้วยเหตุเป็นสเหตุกะก็มี ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นอเหตุกะก็มี แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้วไม่ประกอบด้วยเหตุ ต้องเป็นอเหตุกะอย่างเดียว แล้วก็มีประเภทเพียง ๗ ดวงเท่านั้นไม่มากกว่านั้นเลย
นี่แสดงให้เห็นว่าพ้นจากอเหตุกอกุศลวิบาก ๗ ดวงนี้แล้ว จิตอื่นนอกจากนั้นเป็นโสภณะหรือเป็นกุศลวิบาก
ผู้ฟัง หนูยังเข้าใจว่า อเหตุกจิตเป็นจิตที่นำเกิด
ท่านอาจารย์ เฉพาะอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากทำให้เกิดในอบายภูมิ ถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ซึ่งพิการตั้งแต่กำเนิด นี่ก็จำแนกออกไปว่า ถ้าปฏิสนธิจิตประกอบด้วยเจตสิกที่เป็นโสภณเหตุก็ดีขึ้น แต่ว่าถ้าไม่ประกอบด้วยเหตุ ก็ต้องเป็นแบบไม่ดีเท่ากับที่ประกอบด้วยเหตุ
ผู้ฟัง โมหมูลจิตเป็นสเหตุกจิต โมหเจตสิกเป็นอเหตุกะ เพราะว่าไม่มีเหตุอื่น เกิดร่วมด้วย แต่ทำไมโมหมูลจิตไม่มีเหตุอื่นเกิดร่วมด้วย มีแต่โมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยถึงเป็นสเหตุกะ
ผู้ฟัง อันนี้ดิฉันก็เคยงงเหมือนคุณนิภัทร
ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่งง เพราะเหตุว่าสภาพธรรมก็ตามซึ่งเกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุ ภาษาบาลีใช้คำว่า สเหตุกะ คือเราคิดถึงเรื่องธรรมดาๆ แปล สเหตุกะ ออกมาก็หมายความถึง สภาพธรรมใดซึ่งเกิดร่วมกับเจตสิกซึ่งเป็นเหตุ สภาพธรรมนั้นมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ภาษาบาลีเรียกว่า สเหตุกะ
โมหมูลจิต พูดถึงจิต มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น โมหมูลจิตเป็นสเหตุกจิต พูดถึงผัสสเจตสิกในโมหมูลจิต ก็เป็นสเหตุกะ เพราะเหตุว่ามีโมหะเกิดร่วมด้วย พูดถึงเวทนา สัญญา สังขาร เจตสิกใดๆ ที่เกิดร่วมกับโมหมูลจิต เว้นโมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเท่านั้น ซึ่งไม่มีเหตุเจตสิกอื่นมาเกิดร่วมด้วย
ถ้ากล่าวถึงโมหเจตสิกในโมหมูลจิต เป็นอเหตุกะ โมหเจตสิกในโมหมูลจิต แต่ถ้าในโลภมูลจิตเป็น สเหตุกะ เพราะเหตุว่ามีโลภเจตสิก เกิดร่วมด้วยที่เป็นเหตุ
ผู้ฟัง เรื่องจิต เว้นจิต ๑๘ ดวงแล้ว นอกนั้นเป็นสเหตุกจิต ใช่ไหม คือ มีเหตุเกิดร่วมด้วย จะเหตุเดียว ๒ เหตุ ๓ เหตุ อะไรก็แล้วแต่เรียกว่าเป็นสเหตุกะทั้งนั้น เพราะมีเหตุเกิดร่วมด้วย แต่ถ้าพูดถึงเจตสิกที่ในโมหมูลจิต เป็นอเหตุกะ ไม่มีเจตสิกอื่นที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ก็จัดเป็นอเหตุกะ แต่ไม่ใช่อเหตุกจิตนะ
ผู้ฟัง คำถามที่น่าจะงง ที่ตัวโมหะ เมื่อสักครู่นี้ ผมก็อยากจะขอถามเพิ่มเติมว่า เพราะเหตุว่าจิตเกิดแล้วจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถึงจะต้องบอกว่าจิตที่ประกอบด้วยโมหเจตสิก ร่วมกับโมหะ ก็เป็นอเหตุกะ
ท่านอาจารย์ โมหะเป็นเหตุเจตสิก เหตุเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ไปเกิดร่วมกับจิตหรือเจตสิกใดๆ ก็ตาม จิต และเจตสิกนั้นๆ ชื่อว่า มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า สเหตุกะ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น โมหมูลจิต มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงเป็นโมหมูลจิต ใช่ไหม
ผู้ฟัง แต่มันไปขัดแย้งตรงนี้ ขัดแย้ง คำว่า อเหตุกะ แล้วก็ เหตุกะ ก็เรียงมาเลย โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ท่านอาจารย์ นี่คือเหตุ ๖ นอกจากนั้นเป็นนเหตุทั้งหมด คือภาษาไทยธรรมดา ไม่ใช่เหตุ นเหตุ คือ ไม่ใช่เหตุ จิตไม่ใช่เหตุ เจตสิก ๔๖ ไม่ใช่เหตุ รูปไม่ใช่เหตุ นิพพานไม่ใช่เหตุ แต่พอถึง สเหตุกะ เหตุเจตสิก คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรืออโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดกับจิตเจตสิกใด จิตเจตสิกนั้น ภาษาไทยเราก็บอกว่า มีโมหะเกิดร่วมด้วย ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า สเหตุกะ คือ มีเหตุ โดยที่ยังไม่ได้แจ้งว่าเหตุอะไรเท่านั้นเอง แต่เป็นจิตที่มีเหตุหรือเจตสิกที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย
สำหรับโมหเจตสิก แล้วแต่ว่าเขาจะเกิดกับจิตดวงใด ถ้าเกิดกับโลภมูลจิต โมหเจตสิกนั้นแน่นอนต้องเป็นสเหตุกะ เพราะว่ามีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าพูดถึงโมหเจตสิกล้วนๆ ทีนี้พอถึงโทสมูลจิตก็เหมือนกัน โมหเจตสิกในโทสมูลจิต ก็ต้องเป็นสเหตุกะ เพราะมีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วลองคิดถึงโมหมูลจิต ไม่มีโลภเจตสิก ไม่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีแต่โมหเจตสิก ที่เป็นเหตุๆ เดียว เพราะฉะนั้น จิต และเจตสิกอื่นที่ไม่ใช่โมหเจตสิก มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ตัวโมหเจตสิก จะไปเอาเหตุ หรือไปเอาโมหะไหนมาเกิดอีกกับเขา ไม่มี เพราะฉะนั้น โมหเจตสิกในโมหมูลจิต จึงไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ซึ่งภาษาบาลี ก็ใช้คำว่า อเหตุกะ เท่านั้นเอง ธรรมตรงไปตรงมา แต่ต้องเข้าใจให้ละเอียด
ผู้ฟัง เรื่องชาติ ชาติจริงๆ หมายถึงเกิด ใช่ไหม และการเกิดของจิตก็เกิดดับสืบต่อตลอดเวลา แต่ว่าท่านจำแนกเป็นจิตมีชาติเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา อันนั้นก็คงเป็นการเกิดเหมือนกัน แต่เป็นการเกิดตามปัจจัยของปัญญาที่เกิดขึ้น แต่ว่าที่เกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดเวลา จะเรียกว่าเป็นชาติได้หรือเปล่า และก็เหตุปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้จำแนกจิต เจตสิก รูปออกมา ที่ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ความจริงมันก็เป็นการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก รูป ทั้ง ๓ อย่าง แต่ว่าความยึดถือความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ทำให้เรามองไม่เห็นสภาพธรรม เหตุปัจจัยอะไร ซึ่งผมคิดว่า แค่ฟังอย่างเดียวคงไม่พอ คงจะต้องอ่าน ต้องศึกษาด้วย แล้วผมขอฟังแนวทางจากท่านอาจารย์สุจินต์ว่า ท่านได้ศึกษาพระธรรมอย่างไร ถึงเข้าใจแตกฉานมาก เพราะว่าบางสิ่งที่เราคิดว่ารู้ แต่ว่าเราฟังแล้ว เรายังไม่รู้อีกมากมาย ในสิ่งเหล่านี้เป็นต้นว่า ศึกษาอย่างไร ทำอย่างไร ที่จะเข้าใจให้ลึกซึ้ง ชัดเจน มั่นใจได้ อย่างที่ท่านอาจารย์ประพฤติปฏิบัติอยู่
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วการศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจเท่านั้น คือ ไม่ใช่เพื่อต้องการอย่างอื่นเลย นอกจากเข้าใจ เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินหรือกำลังฟังธรรมในขณะนี้ ถ้าไม่เข้าใจก็ถาม ฟัง สุ จิ ปุ ลิ ฟังแล้วก็คิด แล้วก็พิจารณา ถ้าไม่เข้าใจถามได้เลย เพราะว่าถ้ามีคำตอบ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไตร่ตรอง เมื่อเข้าใจขึ้นก็จำได้ โดยที่ว่าจะไม่มีการสับสน ข้อสำคัญก็คือว่า ต้องศึกษาตามลำดับจริงๆ อย่าข้ามขั้น เพราะว่าโดยมากบางคนใจร้อน พอพูดเรื่องจิต ก็อยากจะรู้เรื่องนิพพาน หรืออะไรอย่างนี้ ซึ่งเป็นสิ่งซึ่งควรจะได้เข้าใจตามลำดับจริงๆ แล้วก็ไม่สับสน เช่น จิต เจตสิก รูป นิพพาน ต้องทราบจริงๆ ว่า ปรมัตถธรรมมีเพียง ๔ อย่าง แต่ว่าสามารถที่จะแยกออกมากมาย เต็มตามพระไตรปิฎก โดยนัยต่างๆ เพราะเหตุว่าจิตก็มีหลายประเภท เจตสิกก็มีมากมาย แล้วก็เมื่อเกิดกับจิตประเภทหนึ่งก็ยังจำแนกออกไปเป็นความต่างโดยอีกหลายนัยได้ เช่น โลภะ ไม่ใช่แต่เฉพาะทางตา ทางหูก็มี ทางจมูกก็มี ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็มี แล้วก็มีหลายระดับขั้นด้วย
อีกประการหนึ่ง การศึกษาธรรม ถ้าไม่เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็เหมือนกับคนที่เห็นอาหารอยู่ตรงหน้า แต่ว่าไม่ได้ลิ้มรส เพราะฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่า รสอาหารจริงๆ เป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ได้ฟังคำเรื่องเครื่องปรุงต่างๆ วิธีปรุงต่างๆ แต่แม้กระนั้นก็ฟังไปตลอด ไม่มีโอกาสที่จะลิ้มรสเลย
เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าธรรม เป็นสัจจะ เป็นความจริง เป็นสิ่งที่มีจริง และเครื่องเตือนก็คือว่าขณะนี้เอง เป็นธรรมทั้งหมด คือ การฟังธรรม ฟังคำเดียว แต่ก็ตลอดทั้ง ๓ ปิฎก คือธรรมคือธรรม ทั้ง ๓ ปิฏก หรือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ทุกอย่างถ้าเข้าใจว่า เป็นธรรมแล้วละก็ แม้ขณะนี้เอง ก็ไม่ลืมที่จะรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แต่เราก็เริ่มที่จะเห็นทีละเล็กที่ละน้อยว่า เราไม่ได้เข้าใจธรรมตัวจริงๆ ถ้าพูดเรื่องจิต มีคำอธิบายว่า เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมือนแข็ง แข็งก็เป็นธาตุที่มีจริง มีลักษณะแข็งฉันใด จิตซึ่งมีจริงก็เป็นธาตุรู้ หรือเป็นสภาพรู้ ซึ่งต่างจากธาตุแข็ง แล้วก็มีอยู่ในชีวิตประจำวันนี่เอง
ไม่ว่าจะลืมตาหลับตา เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ทั้งหมดคือธรรม ตรงนี้จะทำให้เราเริ่มเห็น อวิชชาของเราเองว่ามากมายสักแค่ไหน คือฟังเรื่องจิตก็รู้ ชื่อรู้เรื่องราวของจิต แต่ตัวจิตที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไป เราจะต้องเริ่มรู้ความจริงว่า ยังต่างระดับ คือนั่นเป็นเพียงความเข้าใจเรื่อง แต่ว่าตัวจริงๆ ของสภาพธรรมที่เราฟังจะต้องมีปัญญาอีกขั้นหนึ่ง แล้วก็ขั้นนี้ก็ต้องอบรมเจริญจนกระทั่งประจักษ์ความจริง จนคำพูดที่ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วขณะนี้เองธรรมปรากฏ ถ้าปัญญาสมบูรณ์จริงๆ จะไม่มีความสงสัยในคำพูดนี้ว่า ขณะนี้เองธรรมกำลังปรากฏ ไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้น จุดประสงค์การศึกษาเพื่อให้เข้าใจจริงๆ ถึงระดับนี้ แต่ก็ต้องอาศัยการฟัง แล้วการฟังจะเห็นได้ว่า ภาษาไทยต่างกับภาษาบาลี เพราะฉะนั้น ก็ทิ้งความเข้าใจที่เราเคยเข้าใจเอง แล้วเราคิดว่าเข้าใจแล้ว อย่างคำว่า สติกับปัญญา คิดว่าเข้าใจแล้ว ความจริงไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่ถ้าโดยนัยของพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นภาษาบาลี จะต้องหมายความถึงสติซึ่งเป็นโสภณธรรม เป็นธรรมฝ่ายดีเท่านั้น เกิดกับจิตที่เป็นจิตที่ดี
นี่ก็เป็นเรื่องของความละเอียด แม้แต่เรื่องของชาติที่ว่าให้ทราบว่า จิตนี้มีชาติ เจตสิกก็มีชาติ นามธรรมที่เกิดขึ้นที่เป็นสภาพรู้ มีชาติ ๔ คือ เป็นกุศล ๑ เป็นอกุศล ๑ เป็นวิบาก ๑ เป็นกิริยา ๑ อยู่ที่ไหน อยู่ที่ตัวเรา เพราะฉะนั้น ไม่ยากที่จะคิดที่จะเข้าใจ ที่จะพิจารณา ไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย ไม่ต้องไปไหลแสนไกล ทุกขณะนี้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 140
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 141
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 142
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 143
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 144
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 145
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 146
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 147
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 148
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 149
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 150
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 151
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 152
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 153
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 154
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 155
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 156
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 157
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 158
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 159
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 160
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 161
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 162
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 163
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 164
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 165
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 166
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 167
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 168
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 169
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 170
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 171
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 172
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 173
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 174
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 175
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 176
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 177
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 178
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 179
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 180