ปกิณณกธรรม ตอนที่ 129
ตอนที่ ๑๒๙
สนทนาธรรม ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ฟัง เมื่อจุติจิตแล้วก็ต้องปฏิสนธิจิตไม่มีภวังค์คั่น จิตที่ไม่มีภวังค์คั่นก็เช่นจิตในฌาน ในฌานจิต แล้วก็ในมรรคจิต จะไม่มีภวังค์คั่น อันนี้ถูกไหม
ท่านอาจารย์ แต่นั่นเป็นพวกวิถีจิต เรายังไม่พูดถึง เราพูดถึงก่อนที่วิถีจิตจะเกิด หมายความว่าหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ก่อนวิถีจิตจะเกิดก็ต้องเป็นภวังค์ เวลาที่จุติจิตดับ แล้วก็ไม่ใช่ภวังค์จะเกิดได้ เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิตต้องเกิดต่อ นี่พูดถึงก่อนวิถีจิตทั้งหมด
เพราะเหตุว่าถ้าใช้ภาษาผิดนิดเดียว ความเข้าใจผิดของเราซึ่งมีอยู่มาก จะทำให้เราคิดว่า มีที่อยู่ ใช่ไหม พอออกมาเห็น ได้ยิน แล้วก็ลงภวังค์ คล้ายๆ กับไปอยู่ที่นั่น สงบนิ่ง ไม่ต้องทำอะไร ไม่เห็น ไม่ได้ยินอะไรเลย แล้วก็พอมีอะไรมากระทบก็ขึ้นมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งลักษณะของจิตไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าตามปกติแล้ว ไม่ใช่ว่ามีสภาพของจิตเกิดอยู่ก่อน แต่ว่าจิตทุกขณะที่จะเกิดต้องอาศัยปัจจัยพร้อมที่จะทำให้จิตประเภทนั้นเกิดขึ้น อย่างจักขุวิญญาณที่เห็น หรือว่าโสตวิญญาณที่ได้ยิน ไม่มีทางเลย ที่ถ้าขาดจักขุปสาท หรือโสตปสาทแล้ว จิตนี้จะเกิดได้
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่มีจิตพร้อม แล้วก็ลงภวังค์ แล้วก็ขึ้นมา หรืออะไรอย่างนั้น เพียงขณะหนึ่งๆ ที่เกิดจะต้องอาศัยเหตุปัจจัย เหมือนไฟแต่ละกอง ซึ่งไฟกองนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทางตา ไฟอีกกองหนึ่งก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทางหู แต่ระหว่างที่ปัจจัยยังไม่พร้อม ไฟจะยังไม่เกิด จิตจะยังไม่เกิดเลย
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่ามีที่อยู่ที่ลงภวังค์ไปสบายๆ แล้วก็ขึ้นมา หรืออะไรอย่างนั้นหรือขณะที่นอนหลับก็สบายดี ไม่มีการรับรู้อะไรต่างๆ เหล่านั้น ไม่ใช่ พยายามที่จะเข้าถึงสภาพธรรมซึ่งมีอายุที่สั้นมาก แล้วก็มีปัจจัยทำให้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่คือความเป็นจริงของชีวิตในแต่ละขณะ
ผู้ฟัง อยากจะขอยืนยันว่าตอนจุติ พอเราเริ่มต้นตายปุ๊บ จะไม่มีภวังค์ก็ไปปฏิสนธิเลยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ไปด้วย หมายความว่าดับคือดับ แล้วกรรมหนึ่งทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด
ผู้ฟัง หมายความว่า จากจุติไม่มีภวังค์คั่น ก็เป็นปฏิสนธิ จากปฏิสนธิ ภวังค์แรกเรียกว่าปฐมภวังค์ และภวังค์นี้มันก็จะเกิดดับเหมือนกระแสน้ำที่เราเรียกว่ากระแสภวังค์ จนกว่าเมื่อไรรูปกระทบปสาท ขณะที่รูปกระทบนั้น จะเกิดภวังค์ที่เรียกว่า อดีตภวังค์ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว วิถีจิตวาระแรกของทุกภพทุกชาติเป็นทางมโนทวาร ไม่ใช่ทางปัญจทวาร ให้ทราบไว้อย่างนี้แน่นอนที่สุดว่า ภวังคจิต คือ ขณะจิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผู้ฟัง เมื่อออกมาได้เห็น
ท่านอาจารย์ จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ในท้อง นอกท้อง บนสวรรค์ ในนรก ที่ไหนก็ตาม ภวังคจิตในอรูปพรหมภูมิก็ตาม ขณะใดที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นเป็นภวังค์ เพราะเหตุว่าจิตนั้นทำภวังคกิจ จึงชื่อว่าภวังคจิต ภวังคกิจก็คือดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น ไม่ให้ตาย ตายไม่ได้ จะต้องรับผลของกรรม จะต้องมีจิตซึ่งเป็นวิบากจิตเกิดขึ้นเป็นผลของกรรม ที่ไม่ใช่ปฏิสนธิ ที่ไม่ใช่ภวังค์
ผู้ฟัง จุดประสงค์ที่เราจะพูดอดีตภวังค์ก็ต่อเมื่อ
ท่านอาจารย์ เมื่อมีการที่อารมณ์กระทบ
ผู้ฟัง มีอารมณ์กระทบ ๕ ทวาร
ท่านอาจารย์ ๕ ทวาร เพราะเหตุว่าทางมโนทวารจะไม่ใช้คำว่าอดีตภวังค์
ถ้าตื่นทำกุศลได้ก็ควรจะตื่น แต่ถ้าตื่นแล้วเป็นอกุศล ก็ไม่น่าจะตื่นเลย หลับไปนานๆ เสียก็ยังจะดีเสียกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย ท่านไม่ทราบว่า ที่ท่านหลับเป็นผลของกรรม เพราะเหตุว่าภวังค์เป็นวิบากจิต วิบากจิตทุกประเภทต้องเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ถ้าไม่มีกรรมแล้ว วิบากจิตเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากจะหลับสักเท่าไรก็หลับไม่ลง ก็เพราะเหตุว่ากรรมไม่เป็นปัจจัยให้วิบากจิตที่เป็นภวังค์เกิด แต่เป็นปัจจัยให้จิตเห็นบ้าง หรือว่าจิตกระทบสิ่งที่อ่อนที่แข็ง ที่นอน ที่นั่ง หรือทางเสียง ทางอะไรก็ตามแต่ หรือมิฉะนั้นก็มีเหตุปัจจัยอื่นซึ่งทำให้จิตคิด แม้ว่าจะไม่ใช่วิบากจิตทางกาย หรือทางตา หรือทางหู ทางจมูกก็ตาม แต่ว่ามีเหตุปัจจัยที่ทำให้หลับไม่ลง เพราะเหตุว่าจิตในขณะนั้นมีปัจจัยที่จะเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลที่จะคิดไปต่างๆ
แสดงให้เห็นว่า ชีวิตเป็นอนัตตาทุกขณะ ถ้าศึกษาโดยละเอียดพิจารณาโดยละเอียด จะรู้ว่า แม้แต่ตื่นก็เป็นวิบากที่ต้องตื่น เพราะว่าบางคนบอกว่าชอบภวังค์ คงจะชอบหลับนานๆ แต่ว่าถึงจะอย่างไรก็ตาม เมื่อกรรมจะให้ผลทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ต้องตื่น ไม่อยากตื่นก็ต้องตื่น อาจจะมีเสียงที่ดังมาก หรือว่ามีกลิ่น หรือว่าจะมีอะไรๆ ก็แล้วแต่ หรือตื่นขึ้นมาเองก็ได้ แสดงให้เห็นว่า เมื่อตื่นแล้วก็คือเห็น หรือได้ยิน หรือได้กลิ่น หรือลิ้มรส หรือรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสซึ่งก็คือวิบากทั้งหมดนั้นเอง และเมื่อกรรมวัฏฏ์ มีเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากวัฏฏ์ กิเลสซึ่งยังมีอยู่ เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว พวกนี้ก็เกิดกิเลสต่อไป
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ท่านที่บอกว่า ไม่ชอบภวังค์ ก็ลองคิดดูว่าจริงๆ แล้วชอบไหม หรือว่าชอบมากหรือชอบน้อย แล้วมีเหตุผลอย่างไรในการจะชอบหรือไม่ชอบภวังค์
ผู้ฟัง ภวังคจิตเป็นวิบาก เป็นผลของกรรมของผู้ที่สะสมอย่างนั้นมา จึงต้องมาหลับ อย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนั้นไม่ใช่โอกาสที่จะรับผลของกรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำให้ภวังคจิตเกิด
ผู้ฟัง ศึกษาเรื่องภาษาบาลี เราไม่เข้าใจเรื่องบาลี เมื่อเป็นภาษาไทยแล้วก็บางทีก็เกิดความสับสนเหมือนกัน อันนี้อยากให้อาจารย์ลองวินิจฉัย ชี้ประเด็นอันนี้ให้ชัดๆ อีกที
ท่านอาจารย์ นี่เป็นเรื่องความยากจากภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาหนึ่ง แต่ถ้าเข้าใจสภาพปรมัตถธรรมหรือสภาพธรรมแล้ว ก็เข้าถึงความหมายของคำที่เราใช้เท่านั้นเอง อย่างเวลานี้ ถ้าเราจะพูดถึงปัญจทวาราวัชชนจิต ก็หมายความว่า เราทุกคนขณะนี้กำลังเห็น แล้วเราก็ทราบว่าจิตเห็นเป็นจิตขณะหนึ่งซึ่งต้องมีแน่ๆ เพราะเหตุว่าขณะนี้กำลังเห็น สภาพที่เห็นมีจริง แต่เพียงใช้คำว่าสภาพที่เห็น ก็ดูจะลึกลับ แล้วก็พูดตามๆ กัน แต่ว่าลักษณะที่เห็น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นเพียงธาตุรู้หรือว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งมีจริง แค่นี้ ภาษาไทยบ้างภาษาบาลีบ้าง ก็ยังจะต้องพยายามเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเห็นในขณะนี้ หรือว่าสภาพที่ได้ยินในขณะนี้ก็เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เสียงก็มีจริง แต่เสียงไม่ใช่ได้ยิน นี่คือการที่จะพยายามเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงที่ปรากฏ แต่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงเป็นภาษาบาลี
ผู้ที่ศึกษาภาษาบาลี ก็แปลศัพท์โดยคำ หรือว่าโดยความหมายของพยัญชนะ แต่ก็ไม่เข้าถึงอรรถ จนกว่าเราจะเข้าใจจริงๆ ว่า เมื่อปฏิสนธิจิตเกิด และดับไปแล้ว ปฏิสนธิจิตเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย แล้วก็ไม่มีใครที่หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว จะไม่มีจิตอื่นเกิดต่อ เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นมี ก็หมายความว่า เป็นต้นกำเนิดที่จะให้จิตเริ่มเกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันไป จนกว่าจะสิ้นชีวิตที่ใช้คำว่า จุติ แต่ก่อนที่จะสิ้นชีวิต กรรมก็ยังให้ผล
ให้ทราบว่าการที่เราใช้คำว่ากรรมก็ดีหรือว่า วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมก็ดี คือชีวิตประจำวันซึ่งเราจะต้องเข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อที่จะละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดเพราะกรรมทำให้วิบากจิตทำกิจปฏิสนธิเกิดขึ้นเป็นขณะแรกสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เป็นอย่างนี้เนิ่นนานมาแล้วในสังสารวัฏฏ์ คิดดูถึงความไม่สิ้นสุดของธาตุชนิดหนึ่ง คือ จิต ซึ่งเมื่อเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ สืบต่อไป จะใช้คำว่า สมมติมรณะ คือ ตาย ก็ต้องมีการเกิดอีกแล้วก็ตายแล้วก็เกิดอีก และเมื่อปฏิสนธิจิตดับ กรรมทำให้ภวังคจิตเกิดต่อเป็นผลของกรรมด้วย ให้ทราบว่าการที่จะมีชีวิตอยู่ ยาวสั้นมากน้อยก็เป็นเพราะกรรม หรือแม้แต่การที่เราจะเห็นสักครั้งหนึ่ง ได้ยินอะไรสักครั้งหนึ่ง ได้กลิ่นลิ้มรส รู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัสในขณะนี้ก็เป็นผลของกรรม
แสดงให้ทราบว่า นอกจากเกิดมาเป็นผลของกรรม แล้วก็ยังจะต้องมีชีวิตอยู่ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นสุดกรรมที่ทำให้เกิดเป็นบุคคลนั้น ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ ก็ยังจะต้องมีการรับผลของกรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่วิถีจิต หรือว่าการเกิดดับสืบต่อของจิตต้องเป็นไปตามปัจจัยที่ใช้คำว่า อนันตรปัจจัย หรือสมนันตรปัจจัย หมายความว่าไม่มีใครไปบังคับ จิตจะต้องเกิดดับสืบต่อทำกิจการงาน ตามหน้าที่ ตามควรแก่ฐานะของการเกิดขึ้นเป็นจิตประเภทนั้นๆ อย่างภวังคจิต เกิดขึ้นหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับแล้ว ทำกิจสืบต่อดำรงภพชาติ โดยที่ว่าขณะนั้นไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการได้กลิ่น ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าคนนั้นตาย ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่ามีจิต กำลังเป็นภวังค์ ไม่รู้หรอกว่ามีจิต ทั้งๆ ที่จิตเกิดดับ
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการได้กลิ่น ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่มีการคิดนึกแล้วละก็ จะไม่มีใครรู้เลยว่ามีจิต ทั้งๆ ที่จิตเกิดแล้วก็ดับสืบต่อดำรงภพชาติ เพราะเหตุว่าจิตขณะนั้นทำกิจภวังค์ดำรงภพชาติ
นี่แสดงให้เห็นว่า แม้แต่การศึกษาเรื่องจิตจะต้องรู้ว่า จิตนั้นทำกิจอะไร แล้วจิตที่ทำกิจนั้นเป็นชาติอะไร เป็นเหตุ คือเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล หรือว่าเป็นผล คือเป็นวิบาก หรือไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล คือไม่ใช่ทั้งเป็นจิตที่เป็นเหตุ และไม่ใช่ทั้งจิตที่เป็นผล แต่เป็นกิริยาจิต คือเมื่อไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล แต่ว่ามีปัจจัยเกิดขึ้นก็เป็นจิตอีกประเภทหนึ่งซึ่งใช้คำว่ากิริยาจิต
เราศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจชีวิตประจำวัน โดยที่ว่าคำภาษาบาลี จะค่อยๆ แทรกเข้ามาทีละเล็กทีละน้อย แล้วก็คงจะไม่ยากนักต่อการที่จะจำ อย่างคำว่า “ปฏิสนธิ” ถ้าไม่ศึกษาธรรม อาจจะไม่ทราบว่าหมายความถึง เกิดขึ้นสืบต่อจากชาติก่อน เป็นจิตขณะแรก เพราะว่าบางคนจะใช้คำว่าจุติ คล้ายๆ กับว่าจุตินี้คือเกิด แต่ความจริงไม่ใช่ จุติคือเคลื่อนจากภพชาติ สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ หมายความถึงขณะสุดท้ายซึ่งเป็นการตาย ไม่ใช่การเกิด
นี่ก็ ๒ ประเภทหรือว่า ๒ กิจแล้ว ซึ่งคงจะไม่มีใครสงสัย เพราะว่าก็ทวนกันไปทวนกันมาเรื่องของปฏิสนธิจิต และภวังคจิต แต่ก่อนที่จะมีวิบากจิตเกิดขึ้นรับผลของกรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย กระแสของจิตซึ่งเป็นภวังค์เกิดดับสืบต่ออยู่
การเห็น หมายความว่าต้องมีรูปหรือธาตุชนิดหนึ่งที่กระทบกับจักขุปสาท เป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้นแล้วก็เห็นสีสันวรรณะต่างๆ ซึ่งคนตาบอดไม่เห็น นี่เป็นทางตา ถ้าเป็นทางหู ก็คือเสียงต่างๆ ที่กำลังปรากฏ ซึ่งคนหูหนวกไม่มีโอกาสที่จะรู้เลยว่า เสียงนั้นมีลักษณะอย่างไร
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การรับผลของกรรมที่จะได้รับผลทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง คือ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้เอง ทุกคนไม่ลืมว่า ขณะนี้กำลังเป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้ว ที่ได้ยินเสียงที่จะทำให้สามารถเข้าใจสภาพธรรมได้ถูกต้อง ไม่เหมือนกับเสียงอื่นซึ่งได้ยินแล้วก็ผ่านไป ไม่ทำให้สามารถที่จะเข้าใจธรรมได้ หรือว่าการเห็นก็ตาม การได้กลิ่น พวกนี้ก็เป็นผลของกรรมซึ่งก่อนที่จากภวังคจิตซึ่งไม่รู้อะไรเลย แม้ว่าจิตเกิดดับ ก็ไม่รู้ว่า จิตนั้นมีลักษณะอย่างไร หรือไม่รู้แม้ว่ามีจิต เพราะขณะนั้นภวังคจิต ดำรงภพชาติ โดยที่ไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น จะเป็นขณะที่เปลี่ยนจากการเป็นภวังค์สู่การที่จะเป็นผลของกรรมทางหนึ่งทางใด เมื่อรูปทางหนึ่งทางใดกระทบปสาททางหนึ่งทางใด ขณะนั้นต้องกระทบภวังค์ เพราะว่าจิตกำลังเป็นภวังค์อยู่ แต่ไม่ว่าจะใช้คำว่าอดีตภวังค์ หรือภวังคจลนะ หรือภวังคุปัจเฉทะก็ตาม ภวังค์ คือ สภาพที่ไม่รู้อารมณ์อื่น นอกจากอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อย่างไร ภวังค์ก็มีอารมณ์อย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้แน่นอน เพราะเหตุว่าถ้าเป็นอารมณ์ของโลกนี้ เรารู้ว่าเราอยู่ในโลกนี้เพราะเห็นโลกนี้ เพราะได้ยินเสียงของโลกนี้ ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
ถ้าเราจะพยายามศึกษาไปช้าๆ แต่ว่าให้เข้าใจจริงๆ ว่า เราเกิดมาเป็นผลของกรรม แล้วก็เราก็กำลังรับหรือว่าเป็นผลของกรรมขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยินขณะที่ได้กลิ่น ขณะที่ลิ้มรส ขณะที่รู้สิ่งกระทบสัมผัส
เพราะฉะนั้น มีทางอยู่ ๕ ทาง ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า ทวาระหรือทวาร ๕ คือ ปัญจ เป็นปัญจทวาร ในภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาบาลี คงจะต้องออกเสียงว่า ปัญ-จะ-ทวา-ระ ใช่ไหม นี่คือทวาร ยังไม่ใช่จิต ถ้าพูดคำว่าปัญจ ๕ แล้วก็ทวาร คือ ทางก็คือ ๕ ทาง นี้ยังไม่ใช่จิตเลย เป็นแต่เพียงทางที่จะรู้อารมณ์โดยอาศัยตา ๑ ทาง หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย แต่เวลาใช้คำว่าอาวัชชนะ ปัญจทวาราวัชชนะหมายความถึงจิตซึ่งไม่ใช่ภวังคจิตอีกต่อไป พ้นสภาพของการเป็นภวังคจิต เปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์สู่อารมณ์ที่กระทบ จิตในขณะนั้นยังไม่เห็น ถ้าเป็นสิ่งที่กระทบตา ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่เห็น ถ้าเป็นเสียงที่กระทบหู ปัญจทวาราวัชชนจิตก็ไม่ได้ยิน ถ้าเป็นกลิ่นแม้กระทบกับฆานปสาท ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่ภวังคจิต เป็นวิถีจิตขณะแรก แต่ยังไม่ใช่จิต ขณะที่กำลังได้กลิ่นจริงๆ
แสดงให้เห็นว่า ก่อนที่จะมีการเห็นจริงๆ ได้ยินจริง ได้กลิ่นจริง ลิ้มรสจริง รู้สิ่งที่กำลังกระทบจริง จะต้องมีวิถีจิตแรกเกิดก่อน คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ถ้าตามภาษาบาลีก็อย่างที่งงๆ กันว่า เป็นจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบ นี่คือแปลโดยศัพท์ แต่คนไทยเราถ้าใช้คำว่ารำพึงแล้ว ก็ยาว เป็นเรื่องเป็นราว รำพึงต้องเป็นเรื่อง แต่ว่านี้เป็นจิตขณะเดียวที่เกิดขึ้น พ้นจากสภาพที่เป็นภวังค์ เพราะเหตุว่าอารมณ์กระทบ และภวังค์ไหว หลังจากที่อดีตภวังค์ เป็นขณะแรกที่รูปกระทบดับไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ภวังค์ที่เกิดต่อไหว ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า ภวังคจลนะ และเมื่อภวังคจลนะดับไปแล้วภวังค์ต่อไปเป็นภวังค์สุดท้ายสิ้นสุดภวังค์ จึงใช้คำว่า ภวังคุปัจเฉทะ ถ้าใช้คำนี้แล้วหมายความว่า จิตขณะต่อไปจะเห็น เป็นภวังค์อีกไม่ได้ โดยเหตุโดยผลที่ว่า ถ้าใช้คำว่า ภวังคุปัจเฉทะ หมายความว่า สิ้นสุดกระแสของภวังค์ ถ้าสิ้นสุดแล้ว จะมีภวังค์อีกไม่ได้ ต้องเป็นวิถีจิต เพราะฉะนั้นผู้ที่เพิ่งเริ่มฟังใหม่ๆ หรือว่าอาจจะรับฟังไม่ติดต่อกัน แต่ให้ทราบว่าถ้าจะแยกออกแยกได้หลายนัยทีเดียว ตั้งแต่เกิดจนตาย หรือว่าไม่ว่าจะเป็นภพไหนภูมิไหน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยละเอียด ที่จะให้แยกเป็นจิตหลายนัยได้
ถ้าจะแยกนัยหนึ่งก็คือว่า จิตที่ไม่ใช่วิถีจิตกับจิตที่เป็นวิถีจิต อันนี้ก็จะช่วยมากทีเดียวที่จะให้เข้าใจว่า จิตที่ไม่ใช่วิถีจิตนั้นไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะฉะนั้น คงจะไม่มีใครสงสัยอีกในเรื่องว่า จิตอะไรไม่ใช่วิถีจิต มีอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต เท่านั้น ที่ไม่เป็นวิถีจิต นอกจากนั้นแล้วเป็นวิถีจิต เพราะเหตุว่าต้องอาศัยทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ถ้าเป็นทางตาก็เป็นจักขุทวารวิถีจิต ถ้าเป็นทางหูก็เป็นโสตทวารวิถีจิต ถ้าเป็นทางจมูกก็เป็นฆานทวารวิถีจิต ถ้าเป็นทางลิ้นก็เป็นชิวหาทวารวิถีจิต ถ้าเป็นทางกายก็เป็นกายทวารวิถีจิต ถ้าเป็นทางใจก็เป็นมโนทวารวิถีจิต ถ้าไม่ใช่วิถีจิต ก็คือ ภวังคจิต เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิตดับไปแล้วเป็นจิตที่เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว ครั้งเดียว ในภพหนึ่งชาติหนึ่ง แล้วจุติจิตก็เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในภพหนึ่งชาติหนึ่ง แต่ตอนนี้ยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น เวลาที่ไม่ใช่วิถีจิตก็เป็นภวังคจิต
ตอนนี้ทุกคนก็คงจะจำได้ว่า พอหมดของกระแสของภวังค์ซึ่งเป็นภวังคุปัจเฉทะแล้ว วิถีจิตต้องเกิด แล้ววิถีจิตแรกก็คือปัญจทวาราวัชชนจิต เพียงรู้สึกว่าอารมณ์กระทบคงจะทำให้เข้าใจสภาพของจิตขณะหนึ่ง ซึ่งตอนที่เป็นภวังค์ ไม่รู้ตัว ไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่เริ่มที่จะรู้สึกว่ามีอารมณ์กระทบ นั่นคือปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบ หรือว่าจะใช้คำว่าคิด หรือจะใช้คำว่านึกถึงอารมณ์โดยที่ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน แต่รู้ จะใช้คำว่ารู้ก็ได้ รู้ว่าอารมณ์กระทบ
ผู้ฟัง ผมเห็นในอรรถกถาว่า น้อมไปสู่ก็มี หมายถึงลักษณะอันนี้หรือเปล่า รำพึง นี้หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าคำว่า นาม หมายความถึง สภาพที่น้อมไปสู่อารมณ์ไม่ว่าเป็นจิตหรือเจตสิกก็ตาม สภาพของนามธรรมจะน้อมไปสู่อารมณ์ อย่างขณะนี้มีสี มีเสียง มีโผฏฐัพพะ แล้วแต่ว่าจิตใครจะน้อมไปสู่อารมณ์ใด เพราะเหตุว่าจิตนั้นเป็นสภาพที่น้อมไปสู่อารมณ์
ภวังคจิตก็ยังเป็นช่วงขณะที่ว่างจากอารมณ์ที่ปรากฏสั้นๆ แต่สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นจิตเพียงขณะเดียวซึ่งเกิดก่อนจักขุวิญญาณจิตที่กำลังทำกิจเห็น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 140
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 141
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 142
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 143
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 144
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 145
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 146
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 147
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 148
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 149
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 150
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 151
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 152
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 153
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 154
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 155
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 156
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 157
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 158
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 159
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 160
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 161
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 162
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 163
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 164
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 165
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 166
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 167
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 168
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 169
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 170
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 171
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 172
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 173
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 174
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 175
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 176
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 177
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 178
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 179
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 180