พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
ตอนที่ ๓๐๑
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อปรากฏแล้ว การสืบต่ออย่างเร็วมาก ก็ทำให้สภาพจำ จำ ในสิ่งที่ปรากฏ เป็นนิมิตต่างๆ รูปร่างสัณฐานต่างๆ จึงสามารถจะนึกถึงนิมิตนั้น แล้วก็จำว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงยั่งยืน โต๊ะก็ไม่ได้ดับไป คนก็ไม่ได้ดับไป ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังมีอยู่
นี่คือให้เห็นความต่างกันว่า ปัญญากับความไม่รู้ โมหะ หรืออวิชชา ต่างกันมาก แม้ในระดับของการฟัง ก็ต้องฟังให้เข้าใจให้ถูกต้อง ฟังเพื่อวันหนึ่งจะสามารถรู้ความจริงอย่างนี้ มิฉะนั้นละความเป็นตัวตนไม่ได้เลย ไม่มีทางที่จะดับหมดสิ้นไปได้
ผู้ฟัง แต่ก่อนไม่รู้ว่า เห็น ได้ยิน เป็นจิต เราก็ไม่ได้สนใจว่าคืออะไร ก็คิดว่ามีตัวเราที่เห็น ได้ยิน แต่เมื่อฟังแล้วก็รู้ว่า เห็น เป็นจิตที่ไปรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา และได้ยิน ก็เป็นจิตที่รู้เสียง ลักษณะนี้ก็แสดงว่าเข้าใจในขั้นพื้นฐานพระอภิธรรมบ้างแล้ว
ท่านอาจารย์ ยิ่งฟังยิ่งรู้ว่า ความเข้าใจของเราน้อย หรือมาก และต้องมั่นคงระดับไหน ถึงจะรู้ความต่างของปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความจริงที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง แต่เราจะรู้ว่า เรารู้ขั้นเรื่องราว เพราะเรายังไม่ประจักษ์ตามที่เราฟัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ต้องรู้ว่า ศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจธรรม หรือว่าเราศึกษาธรรม พอศึกษาแล้วเรามีโกรธ เรามีโลภ เรามีจิต เรามีเจตสิก แทนที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา เมื่อไรจะรู้ว่า เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ศึกษาแล้วยังคงมีความเป็นตัวตน เรามีจิต เรามีเจตสิก เรามีรูป เราหมด
ผู้ฟัง จริงๆ จิต เจตสิกก็เกิดดับ แต่เราไปเอามาเป็นเรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมต้องละเอียด มีโอกาสได้ฟังพระธรรมซึ่งยากแสนยากที่จะได้ฟัง จะได้ฟังอีกนานเท่าไร ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ วันนี้ หรือพรุ่งนี้เท่านั้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ฟังด้วยสัจจะ ความจริงใจ และความเป็นผู้ตรง เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถแสดงความจริงนี้ได้เลย ต้องพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงแสดงความจริงให้คนอื่นเริ่มได้ยิน ได้ฟัง ได้เข้าใจ ได้อบรมปัญญา เพราะฉะนั้นชาติหนึ่งๆ อบรมความเห็นถูก ไม่ต้องไปกังวลว่าจะรู้เมื่อไร เพราะว่าปัญญาต้องตามลำดับขั้น ถ้าฟังไม่ดี ก็มีเราพยายามอยากรู้ แต่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นการเข้าใจว่า ไม่มีเรา ถ้ามั่นคงในความเป็นอนัตตา จะกระวนกระวายอะไร หรือไม่ ในเมื่อรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ ขณะนี้มีปัจจัยแล้วทั้งนั้นเลย จะรู้ หรือไม่รู้ ก็มีสภาพธรรมปรากฏให้เห็น ให้ได้ยิน ให้คิด ให้นึก ก็เป็นธรรมทั้งหมด จนกว่าจะเข้าใจขึ้น แต่ละครั้งที่ได้ยินได้ฟัง จนสามารถที่จะรู้ขณะนี้ที่สภาพธรรมปรากฏ
ผู้ฟัง แต่ดูเหมือนกับ ธรรมชาติ หรือธรรม เหมือนกับหลอกมาก เช่นสิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดดับ แต่เราก็เห็นว่าไม่เกิดดับ ตามที่อาจารย์เคยบอกว่า ก้านธูปแกว่งแล้วเห็นเป็นวงกลม เรายังเข้าใจว่าตรงนั้นเป็นก้านธูปแล้วไปแกว่งเป็นวงกลม ก้านธูปนี่ช้ามาก และจิตเร็วกว่านั้น ดูเหมือนว่ายากมาก กว่าเราจะสามารถเข้าใจได้
ท่านอาจารย์ ถ้าง่าย จะเป็นความจริง หรือไม่จริง และง่ายคืออะไร จะทำให้ง่าย ทำอะไรถึงง่าย
ผู้ฟัง มาฟัง ก็เข้าใจขั้นเรื่องราวมากกว่าตอนที่ไม่ฟัง แต่ก็คิดว่า ความจริงนี่รู้ยากมาก แต่คงต้องอดทน และฟังต่อไป
ท่านอาจารย์ อาจหาญ ร่าเริง ขันติ อดทน วิริยะ ความเพียร สัจจะ ความจริงใจ อธิษฐาน คือ ความมั่นคง ถ้าไม่มี ก็ไม่ใช่บารมี และขณะนี้กำลังเป็นอย่างนั้น ให้ทราบว่า ไม่ใช่เราต้องไปทำอย่างอื่นเลย เพียงกำลังฟังขณะนี้ ก็เป็นบารมีแล้ว เมื่อฟังถูก เข้าใจถูก เห็นถูก แต่ถ้าผิด ก็ไม่ใช่
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้เรามั่นคง และไม่หวั่นไหวก็คือ ฟังให้เข้าใจ และมีศรัทธาเชื่อมั่นว่า แนวทางนี่เป็นแนวทางที่ถูกต้องที่จะทำให้เราเกิดปัญญา รู้ความจริง
ท่านอาจารย์ ก่อนฟังมีกุศลขั้นทาน ใช่ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แค่นั้น แล้วก็มีกุศลขั้นศีล วิรัติทุจริต แค่นั้น มีกุศลที่เป็นศรัทธาที่จะฟังธรรม หรือเปล่า สำหรับบางคนไม่มีเลย แต่ผู้ที่ได้สะสมมาแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า มีศรัทธาที่จะฟังพระธรรม และศรัทธา ต้องฟังด้วยดี ให้รู้ว่า นี่เป็นธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์ ทรงแสดง เพื่ออุปการะแก่สัตว์โลก
เพราะฉะนั้นเวลาฟังแล้วก็รู้ว่า ขณะนี้เป็นความจริงทั้งหมด เห็นก็จริง ไม่ใช่เราด้วย เกิดแล้วก็หมดไป ได้ยินขณะนี้ไม่ใช่เห็น เกิดขึ้นได้ยิน แล้วก็หมดไป สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ก็เป็นธรรมแต่ละอย่าง ศรัทธาในพระธรรม ในพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่มขึ้น หรือไม่ ตถาคตโพธิศรัทธา ศรัทธาในพระปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้จริงๆ จึงได้แสดงความจริงอย่างนี้ และสิ่งที่มีจริง เช่นเห็น ได้ยินขณะนี้ ไม่เคยคิดเลยว่า ห่างกัน แต่ว่าจากการฟังรู้ว่า พร้อมกันไม่ได้
เพราะฉะนั้นการที่ค่อยๆ ฟังก็จะทำให้เพิ่มศรัทธาที่จะฟังต่อไปอีก เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และรู้ว่า ไม่ใช่ตัวเราที่อยากจะเร่ง อยากจะรู้ อยากจะไม่เกิด แต่ว่าไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏเลยสักนิดเดียว มีแต่ความต้องการที่อยากจะถึงนิพพาน อยากจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม โดยไม่รู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า ต้องเป็นความอดทน และต้องเป็นปัญญา ที่จะต้องเพิ่มศรัทธาในพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ท้อถอยเมื่อไร ก็คือได้มีศรัทธาเพิ่มขึ้นอีกๆ ที่จะได้ค่อยๆ เข้าใจธรรม จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้
ผู้ฟัง ต้องฟังด้วยความเชื่อว่า การเข้าใจขั้นฟังจะเป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิด โดยที่เราไม่ต้องหวังว่าให้สติเกิดรู้สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะเวลานี้แม้สภาพธรรมเป็นอย่างนี้ก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะอวิชชา เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความรู้ขึ้น สภาพธรรมที่เป็นจริงก็จะค่อยๆ ปรากฏความจริง จากการที่มีสติอีกระดับหนึ่ง คือ สติสัมปชัญญะซึ่งเป็นสติปัฏฐาน ตามรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ ไม่ได้ไปที่อื่นเลย ปกติเราไม่เคยตามรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ มีสิ่งที่ปรากฏจริง แต่ไม่เคยรู้ลักษณะนั้น เป็นเรื่องเป็นราวไปหมด อย่างลักษณะที่แข็ง มี เกิดขึ้นแล้ว สติสัมปชัญญะไม่ได้เกิดตามรู้ คือ รู้ตรงแข็ง ไม่ได้คิดเรื่องอื่น ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นเวลาที่สติสัมปชัญญะซึ่งเป็นสติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นปัญญาก็สามารถจะรู้ว่า ต่างกับขณะอื่น
นี่คือขั้นต้นที่จะรู้ว่า ธรรมที่ได้ยินได้ฟังทั้งหมดมีลักษณะจริงๆ เป็นธรรมจริงๆ เมื่อสติปัฏฐานเกิด ถ้าสติปัฏฐานยังไม่เกิด แม้จะฟังเรื่องแข็ง แม้จะฟังเรื่องเห็น แม้จะฟังเรื่องได้ยิน แม้จะฟังเรื่องคิดนึก ก็หมดไปๆ โดยลักษณะนั้นๆ สติไม่ได้ตามรู้ที่ลักษณะนั้น เข้าใจในลักษณะที่เป็นธรรมเพิ่มขึ้น
นี่ก็เป็นความต่างกัน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน ถ้าไม่มีการฟังที่ทำให้เข้าใจขึ้น ไม่มีทางที่สติสัมปชัญญะเกิด หลงไปทำอย่างอื่น แต่ไม่มีทางรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นก็ต้องอดทน และมีความตั้งใจที่จะฟังต่อไป
ท่านอาจารย์ ไม่เช่นนั้นไม่ทรงแสดงเรื่องบารมี ๑๐ เมื่อมีบารมี ๑๐ ต้องเข้าใจด้วย ขณะนี้เป็นบารมี หรือเปล่า ขณะใดที่เข้าใจถูก เห็นถูก มีความอดทนที่จะเข้าใจยิ่งขึ้น อาจหาญ ร่าเริงที่จะรู้ว่า เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ วันหนึ่งก็สามารถรู้ความจริงนี้ได้แน่นอน
เช่นเห็นกับได้ยิน ไม่พร้อมกัน วันหนึ่งต้องรู้ได้ ถ้าสติสัมปชัญญะกำลังตามรู้เห็น คือ ตรงเห็น สภาพที่กำลังเห็น ขณะนั้นไม่ใช่ได้ยิน เริ่มเห็นความต่าง ความห่าง ของสภาพธรรม ๒ อย่าง ก็ต้องเป็นผู้ตรง สัจจบารมี
ผู้ฟัง ฟังในเทป ท่านอาจารย์พูดว่า เห็น ได้ยิน เกิดคนละขณะ ซึ่งเราฟังแล้วพิจารณาไตร่ตรองตรงนี้ ก็เป็นปัจจัยให้สติเรารู้อย่างนั้นจริงๆ รู้อย่างที่เราฟังจริงๆ ในขณะนี้เรารู้เป็นเรื่องราว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกอย่างรู้ด้วยตัวเอง ต้องถามใคร หรือไม่ว่า ฟังตอนนี้เป็นสติปัฏฐาน หรือเป็นปัญญาขั้นฟัง ไม่ต้องถามเลย ถ้าถามคือไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ของตัวเอง
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมเพื่อพิจารณา จนเข้าใจถูกต้องตามลำดับขั้นเพิ่มขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นประโยชน์อะไร ฟังแล้วไม่เข้าใจ แล้วต้องถามคนอื่น เสียเวลาที่ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง
ผู้ฟัง ชาติของจิตมี ๔ ชาติ คือ กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา เมื่อท่านอาจารย์อธิบาย ก็กล่าวว่ากิริยาจิต ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่วิบาก แต่อยากทราบว่า จริงๆ แล้ว "กิริยาจิต" มีคำจำกัดความ หรือไม่ว่าคืออะไร นอกจากไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่วิบาก
ท่านอาจารย์ วันนี้ก็ถือว่าเป็นการทบทวนเรื่องกิริยาจิต เพราะว่าบางคนก็ได้ยินชื่อคุ้นหู กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต ก็ผ่านไป จำไว้ว่ามี ๔ และจำชื่อได้ กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต แต่ไม่ใช่เพียงจำ ควรจะเข้าใจด้วย วันนี้ก็เป็นโอกาสที่จะพูดให้เข้าใจเรื่องกิริยาจิต ถ้ามีข้อสงสัยก็เชิญถาม
การที่เราจะเข้าใจธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ต้องไตร่ตรอง ต้องละเอียด และต้องประกอบกันด้วย จิตเกิดขึ้นเปล่าๆ แล้วก็ดับไป หรือว่าจิตทุกประเภทเกิดขึ้นแล้วทำกิจ คือ หน้าที่ของกิจนั้นๆ แต่ละจิตที่เกิดขึ้น จิตเกิดขึ้นมีลักษณะเป็นธาตุรู้ มีกิจเฉพาะแต่ละจิต
เพราะฉะนั้นสำหรับเวลาที่จิตหนึ่ง คิดถึงจิตหนึ่ง เกิดขึ้น ไม่ใช่กุศลจิต และไม่ใช่อกุศลจิต และไม่ใช่วิบากจิต คือ ไม่ใช่ผลของกุศล และอกุศล แต่จิตที่เกิดนั้นทำหน้าที่ซึ่งเป็นหน้าที่ของกิริยาจิต ที่จะขอกล่าวถึง คือ กิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ จะใช้คำว่า “อเหตุกกิริยา” ก็ได้ ตามปกติก็จะมีกิริยาจิต ๒ ประเภท คือ กิริยาจิตที่มีเหตุที่ดีงามเกิดร่วมด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ ที่เป็นกิริยาจิตเพราะเกิดแล้วทำกิจ แต่ไม่เป็นเหตุให้เกิดผลข้างหน้า
นี้จะทำให้เข้าใจลักษณะของจิตที่เป็นกิริยาจิตว่า เป็นจิตที่เกิดแล้ว แต่ไม่ใช่เป็นผลของกรรม คือ ไม่ใช่วิบากจิต และไม่ใช่ผลของกุศล และอกุศล เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่ากิริยาจิตจะไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากจิตข้างหน้า เพราะฉะนั้นที่เราพอจะเข้าใจได้ คือ จิตของพระอรหันต์ไม่เป็นกุศลจิต และไม่เป็นอกุศลจิต เพราะเหตุว่าถ้าเป็นกุศล และอกุศล ต้องเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อดับกิเลสหมด แต่ยังมีปัจจัยที่จิตจะเกิดทำกิจการงาน เพราะว่าใครจะไปยับยั้งจิตไม่ให้เกิดได้ หรือไม่ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย จิตทุกขณะที่เกิดต้องมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้แม้เป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ใช่จะไปยับยั้งไม่ให้จิตเกิดขึ้นอีกต่อไป ในเมื่อยังมีเหตุปัจจัยที่ยังให้จิตเกิดขึ้นต่อไป แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นต่อไปจะไม่เป็นกุศลจิต และอกุศลจิต จะเป็นวิบากจิต และกิริยาจิต เพราะเหตุว่าวิบากเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว จะให้กรรมที่ได้กระทำแล้วหมดไป ไม่เป็นปัจจัยให้วิบากเกิด นั้นเป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่ถึงการสิ้นชีวิต คือ ปรินิพพาน คือจิตขณะสุดท้ายยังไม่เกิด กรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตก็ยังมีปัจจัยให้วิบากจิตเกิด นี่เป็นวิบาก ทำหน้าที่ของวิบาก แต่ไม่ใช่มีแต่เฉพาะวิบาก กุศล และอกุศลซึ่งเคยเกิดเป็นกุศล และอกุศล พอหมดกิเลสไม่เป็นปัจจัยให้เป็นกุศล จึงเป็นกิริยา คือ ประกอบด้วยโสภณเหตุ
แต่ก็ยังมีกิริยาจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นทำกิจการงาน เพราะเรารู้แล้วว่า ไม่มีใครสามารถยับยั้งไม่ให้จิตเกิดขึ้นได้เลย เมื่อถึงวาระที่จิตประเภทไหนจะเกิด จิตประเภทนั้นจึงเกิด สลับกันก็ไม่ได้ ไปบังคับก็ไม่ได้ ไปเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นนอกจากกิริยาจิตที่เป็นของพระอรหันต์แล้ว ซึ่งเป็นสเหตุกะ ประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ยังมีกิริยาจิตอีก ๒ ประเภท คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นกิริยาจิต เพราะเป็นจิตที่เกิดขึ้นทำกิจอาวัชชนะ เป็นกิริยา
ที่กล่าวนี้อาจจะฟังดูเป็นชื่อ และเป็นตำรับตำรา แต่ความจริงให้ทราบว่า เมื่อจิตขณะแรกเกิดขึ้นในภพหนึ่งชาติหนึ่ง เป็นปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรม เป็นวิบากจิต ข้อนี้มีใครไม่เห็นด้วย หรือไม่
จิตขณะแรกที่เกิดเป็นผลของกรรม และกรรมที่ได้ประมวลมาด้วย ตั้งแต่แสนโกฏิกัปป์ สังขารขันธ์ปรุงแต่งให้แต่ละคนต่างกันไป แม้ขณะนี้ก็กำลังต่าง ตามเหตุตามปัจจัย ถึงจะเป็นวิบากประเภทเดียวกัน แต่การสะสมที่สะสมอยู่ในจิตก็ต่างกันไปตามการสะสมด้วย
เพราะฉะนั้นทุกคนเห็นด้วยว่า จิตขณะแรกที่เกิดเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม และกรรมก็ไม่ได้ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เวลาทำกรรม จิตหลายขณะ เพราะฉะนั้นจะให้ผลของกรรมเกิดขึ้นขณะเดียว เป็นปฏิสนธิจิต ที่ใช้คำว่า “ปฏิสนธิจิต” เรียกตามกิจ ว่า วิบากจิตนี้ทำปฏิสนธิกิจ คือ สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เป็นกิจแรกของชาตินี้ คือ สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน และเป็นวิบากจิต
เพราะฉะนั้นในชาตินี้จะให้มีปฏิสนธิจิตหลายๆ ขณะ ได้ หรือไม่ ไม่ได้เลย นี่ก็คือการเริ่มเข้าใจเรื่องจิต และกิจของจิตว่า เป็นจิตประเภทเดียวกัน เป็นผลของกรรมที่ทำให้เกิดเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ แล้วแต่ว่าใครจะเกิดเป็นอะไรก็ตามแต่ เกิดเป็นนก เกิดเป็นช้าง เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นมนุษย์ ก็แล้วแต่ว่าเป็นวิบากจิตที่ทำปฏิสนธิกิจแล้วดับไป
หลังจากนั้นแล้ว จิตหยุด ไม่เกิดได้ไหม ไม่มีทางเลย ต้องเกิด และจิตอื่นจะเกิดต่อก็ไม่ได้ นอกจากวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรมเดียวกันที่ยังไม่สิ้นสุด ก็ทำให้จิตที่เป็นวิบากประเภทเดียวกันนั้นเกิดสืบต่อ ทำภวังคกิจดำรงภพชาติ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยินเลย ยังไม่เป็นกิริยาจิตด้วย เป็นวิบากจิตดำรงภพชาติไปตลอด จนกว่าถึงกาลที่จะไม่เป็นวิบากจิต
ในเมื่อวิบากจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ต้องเป็น ๑ ขณะ หรือ ๑ ดวง ๑ ประเภท ปฏิสนธิของแต่ละคนที่นี่ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ปฏิสนธิของใครเป็นวิบากจิตประเภทไหน แต่ก็ไม่ได้พิการ บ้าใบ้ บอดหนวก ตั้งแต่กำเนิด เพราะฉะนั้นก็เป็นผลของกุศลกรรม และถ้ามีปัญญาที่เข้าใจธรรม ขณะนั้นปฏิสนธิจิตก็ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกได้ เพราะเหตุว่าสามารถเข้าใจรู้เรื่องธรรม
เพราะฉะนั้นภวังคจิตก็ดำรงความเป็นบุคคลนี้ ซึ่งมีพื้นฐานทางฝ่ายโสภณธรรม คือ อโลภะ อโทสะ และปัญญาเจตสิก พร้อมที่ว่าเมื่อไรจะเกิดที่จะไม่ใช่วิบากจิตอีกต่อไป ก็จะเป็นจิตที่เกิดขึ้นทำกิจโดยประเภทของชาติของจิตนั้นๆ จากวิบากที่ทำกิจภวังค์ จะไปสู่การเห็น การได้ยิน ซึ่งต่างจากขณะที่เป็นภวังค์ ก็จะต้องมีจิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกำลังเป็นภวังค์อยู่ หมายความว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ขณะนั้นมีจิต หรือไม่ มี ทำภวังค์กิจ เห็น หรือเปล่าในขณะที่เป็นภวังค์ ไม่เห็น ได้ยินไหม
เพราะฉะนั้นขณะนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อคืนเป็นอย่างนั้นเลย ภวังคจิตมาตลอด ยังไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ แต่พอเริ่มจะเปลี่ยนจากการดำรงภพชาติ ถ้ากล่าวถึงวาระแรกของชาติหนึ่งๆ มโนทวาราวัชชนจิตไม่ใช่วิบากจิต ถ้ายังเป็นวิบากทำภวังคกิจ จะไม่เปลี่ยนอารมณ์เลย ก็ยังคงเหมือนกับปฏิสนธิ และภวังค์อยู่เรื่อยๆ แต่การที่จะเปลี่ยนจากการเป็นภวังค์ รู้อารมณ์อื่น ก็จะต้องมีจิตที่ทำกิจอาวัชชนะ รำพึงถึง หรือนึกถึง ซึ่งขณะนั้นเป็นกิริยาจิต
สำหรับกิริยาจิตซึ่งเป็นวิถีจิตแรก ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือทางมโนทวาร มี ๒ ดวง หรือ ๒ ประเภท คือ ถ้าเป็นทางใจ เป็นหน้าที่ของจิตที่เป็นมโนทวาราวัชชนจิต มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยไม่เท่ากับปัญจทวาราวัชชนจิต เพราะฉะนั้นไม่ใช่จิตประเภทเดียวกัน เป็นกิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็จริง แต่สำหรับมโนทวาราวัชชนจิตมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย การที่จากไม่รู้อารมณ์ใดๆ เลย เป็นภวังค์ คิดถึงสภาพจิตที่เป็นภวังค์ ไม่มีอะไรปรากฏเลย เกิดคิดนึก เป็นไปได้ไหม หรือไม่มีใครคิดนึก เป็นชีวิตประจำวัน แต่ไม่เคยรู้เลยว่า เป็นหน้าที่การงานของจิตแต่ละขณะ แต่ละประเภท ขณะที่คิดนึก วิถีจิตแรก คือ มโนทวาราวัชชนจิต ยังไม่เป็นกุศล และอกุศลใดๆ และยังไม่ใช่วิบากที่เป็นภวังค์ด้วย เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจนี้ เป็นกิริยาจิต เป็นวิถีจิตแรกทางมโนทวาร
ทวารมี ๖ คือ ตา ๑ หู ๑ จมูก ๑ ลิ้น ๑ กาย ๑ ใจ ๑ เพราะฉะนั้นนี่เป็นทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ต่างจากขณะที่อารมณ์ใดๆ ก็ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้นเวลาที่ถึงกาลที่มโนทวาราวัชชนจิตจะเกิด มีปัจจัยที่จะทำให้มโนทวาราวัชชนจิตเกิดต่อจากภวังคุปัจเฉทะ ซึ่งเป็นกระแสภวังค์ขณะสุดท้าย ถ้าภวัค์คุปัจเฉทะเกิดแล้ว จิตจะเป็นภวังค์ต่อไปอีกไม่ได้เลย แต่จะเป็นปัจจัยให้วิถีจิตแรกเกิดขึ้น ถ้าเป็นวาระแรกในชาติหนึ่ง จะเป็นมโนทวาราวัชชนจิตเกิด หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอกุศล ถ้าไม่ใช่ผู้ที่สะสมมา มีสติสัมปชัญญะที่กุศลจิตจะเกิด ส่วนใหญ่แล้วก็เหมือนเมื่อคืนนี้ พอตื่นขึ้นมารู้สึกตัว กุศลจิตเกิด หรือว่าอะไรเกิดก่อน โดยไม่รู้เลย แต่เป็นความคุ้นเคยที่ได้สะสมมาที่จะเป็นความติดข้อง ไม่ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ โลภะติดทันที สภาพธรรมที่พอใจในทุกอย่างที่เกิดขึ้นปรากฏ จะให้เห็นก็ตาม จะให้ได้ยินก็ตาม จะให้คิดนึกเป็นเรื่องราวใดๆ ก็ตาม โลภะเป็นสภาพที่ติดข้อง พอใจ เราไม่รู้ตัวเลยว่า เราพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มานานแสนนานเท่าไร และก็ยังเป็นอย่างนี้ตลอดไป ถ้าไม่มีปัญญาที่สามารถเริ่มรู้ว่า ไม่มีเรา แต่ว่าเป็นจิต
นี่คือการศึกษาเรื่องจิต ไม่ใช่ว่าวันนี้ฉันจะไปเที่ยว เมื่อวานนี้พี่สาวฉันป่วย หรืออะไรอย่างนั้น นั่นคือเป็นเรื่องราว แต่ไม่ได้เข้าใจเรื่องจิต แต่เมื่อใดก็ตามที่ศึกษาธรรม ให้รู้ว่า เรากำลังกล่าวถึงตัวธรรม เพื่อจะได้เข้าใจธรรม
เพราะฉะนั้นในขณะนี้ก็กล่าวถึงเรื่องจิตที่เป็นกิริยาว่า เป็นจิตที่ไม่ใช่กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิตใดๆ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360