พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
ตอนที่ ๓๑๘
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังฟังเรื่องนิพพาน จะรู้ลักษณะของนิพพานได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่นิพพานมีจริง
ผู้ฟัง มี แสดงว่ามีอยู่แล้วใช่ไหม
ท่านอาจารย์ มีจริง จะมีอยู่แล้วตรงไหน อย่างไร ในเมื่อไม่รู้ แล้วไปนั่งคิดเรื่องอะไร คิดเกินกว่าที่ได้ยินได้ฟังเสมอ เอาความคิดของเราเองมาใส่ แล้วจะรู้อย่างไร อยู่ที่ไหน ก็ไม่ใช่เรื่องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมตามลำดับ ถึงอย่างไรๆ ก็ไม่สามารถจะรู้นิพพานได้ แม้ใครจะบอกอย่างไร หรือจะคิดอย่างไรต่อไป ก็รู้ไม่ได้ แต่สิ่งที่รู้ได้แน่นอน คือ มีจริง และถ้าไม่ปรากฏแจ้งลักษณะของนิพพาน ก็เป็นพระอริยบุคคลไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ว่าโดยปริยัติแล้วศึกษาได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ศึกษาสิ่งที่กำลังมี เพื่อให้รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพื่อที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน ต้องตามลำดับ
ผู้ฟัง ขอเปลี่ยนประเด็นสักนิด ทางจักขุทวารวิถี เห็นเฉพาะรูปารมณ์ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่สามารถจะเข้าใจถึงจักขุวิญญาณได้ ใช่ไหม ต้องเป็นทางมโนทวารเท่านั้น
ท่านอาจารย์ นี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ทราบว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏ เช่น สีสันวัณณะที่ปรากฏทางตา ไม่ได้ปรากฏเฉพาะกับจักขุทวารวิถี ซึ่งเกิดโดยอาศัยจักขุปสาท เป็นทางที่จะรู้อารมณ์นั้น ในขณะนี้มีทั้งจักขุทวารวิถี และมโนทวารวิถี ทั้ง ๒ อย่าง เร็วมากสืบต่อกันจนแยกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เมื่อประสบกับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายแล้ว มโนทวารวิถี คือ จิตที่รู้สืบต่อทางใจ รับรู้สืบต่อเร็วทันที สลับกันอยู่เรื่อยๆ แยกไม่ออก แล้วอย่างไร
ผู้ฟัง ถึงเร็วอย่างนั้นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามก็คืออารมณ์ที่ทางจักขุทวารรู้
ท่านอาจารย์ ขณะนี้รู้ได้ หรือยัง
ผู้ฟัง ยังไม่ได้
ท่านอาจารย์ ให้ทราบเพียงว่า อยู่ในโลกของความคิดมากแค่ไหน ในเมื่อสิ่งที่ปรากฏทางตา ชั่วขณะสั้นๆ แล้วดับ แล้วจิตทางมโนทวารรับรู้คิดต่อไปแล้ว และก็มีการเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาที่แสนสั้น เล็กน้อย นิดหน่อย แล้วก็คิดต่อไปโดยไม่รู้ตัว อยู่ในโลกของความคิดนึกมาก โดยที่มีสิ่งที่ปรากฏแต่ละทาง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาก็คิด ทางหูก็คิด รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู สืบต่ออย่างรวดเร็ว แยกไม่ออก รู้อย่างนี้ หรือไม่ว่าแยกไม่ออก
ผู้ฟัง รู้ว่าแยกไม่ออก เพราะว่าเร็ว
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร สำหรับสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทางใจรับรู้หมด ยิ่งกว่านั้นก็คือแม้ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏให้เห็น ให้ได้ยิน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตก็ยังคิดนึกได้ จิตที่คิดนึกมากมายมหาศาล เราจะรู้ลักษณะได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้นเรารู้ว่า จิตคิด แต่แม้ขณะที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา เหมือนไม่ดับ แต่ความจริงจิตคิดต่อจากสิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา
จะต้องไปแยกอะไร หรือเปล่า หรือเข้าใจให้ถูกต้องว่า ความจริงขณะนี้จำเป็นไหมที่จะไปพูดถึงทางจักขุทวาร มโนทวาร ในเมื่อทรงแสดงไว้ว่า รูปมีอายุ ๑๗ ขณะจิตแล้วก็ดับ ขณะที่รูปยังไม่ดับ จิตที่อาศัยทวารนั้นๆ เกิดขึ้นรู้รูปนั้น ชื่อว่า ทวารนั้นๆ เช่น จักขุทวารวิถี ไม่ใช่มีแต่จักขุวิญญาณ แต่มีจิตที่เกิดดับสืบต่อที่กำลังรู้รูปที่ยังไม่ดับ จนกว่ารูปนั้นจะดับ และมโนทวารวิถีก็เกิดต่อ ทางหู ก็เช่นเดียวกัน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็เช่นเดียวกัน ให้ทราบว่า ทางทวารหนึ่งทวารใดเมื่อเกิดแล้วดับแล้ว ทางมโนทวารเกิดสืบต่ออย่างรวดเร็ว แยกไม่ได้เลย ความเร็วเป็นอย่างนั้น ขณะนี้พิสูจน์ได้ ใครแยกได้
ผู้ฟัง เนื่องจากสภาพธรรมเป็นอนัตตา ได้ยินได้ฟังมาอย่างนั้น แต่ทำไม
ท่านอาจารย์ ได้ยินได้ฟังมาอย่างนั้น แค่ได้ยินได้ฟังไม่พอ พิจารณาว่าจริง หรือเปล่า
ผู้ฟัง แล้วเมื่อมาได้ยินเรื่องฌานที่สามารถกำหนดได้ จะเข้าจะออก ดูเหมือนว่าความเป็นอนัตตาจะอธิบายได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ คุณวรศักดิ์หลับตาดู
ผู้ฟัง หลับแล้ว
ท่านอาจารย์ บังคับได้ใช่ไหมให้หลับ
ผู้ฟัง เหมือนจะ
ท่านอาจารย์ แล้วความจริงเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ ความจริงต้องมีจิตที่คิดที่จะหลับ เป็นปัจจัยให้รูปนั้นไหวไปเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่มีจิต จะหลับตาได้ไหม คนที่ตาย ตาค้างอยู่ หลับตาไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง แสดงว่าเราศึกษานิดหน่อย แล้วเราคิดเองเยอะ แล้วก็ข้ามจากตรงนี้ไปตรงโน้นเลย โดยที่ไม่มีความมั่นคงในเรื่องความเข้าใจปรมัตถธรรม จิตเป็นจิตอย่างไร เจตสิก รูป และเป็นอนัตตาอย่างไร ต้องมีความเข้าใจที่มั่นคง แม้แต่คำว่า “ฌาน” ใครจะกล่าว่าฌาน แต่ความเข้าใจของเรา รู้ว่าฌานหมายความถึงอะไรที่ถูกต้อง หรือเปล่า หรือว่าเพียงคิดเอาเองว่า ฌานต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นไม่ต้องศึกษาธรรมเลย คิดเอาก็ได้ แต่คิดเองเมื่อไร ผิดเมื่อนั้น เพราะเหตุว่าอาศัยพระธรรมเพียงสั้นๆ นิดเดียว แล้วคิดเองหมด อย่างนั้นก็ไม่ต้องศึกษา แค่เอามากล่าวถึงนิดเดียว ก็คิดว่าเข้าใจแล้ว แต่ความจริงเป็นเรื่องที่ละเอียด และก็ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เขาว่า เราว่าตาม เขาว่าอะไรก็ตาม ใครว่าอะไรก็ตาม ฟังแล้วไม่ได้นึกถึงเขาที่ว่า คนที่ว่า แต่ข้อความที่ได้ยินจริง หรือเปล่า ถูกต้อง หรือเปล่า เข้าใจได้ หรือเปล่า พิสูจน์ได้ หรือเปล่า เป็นเรื่องของผู้ฟัง ไม่ใช่เรื่องของผู้พูด ผู้พูดจะพูดอย่างไรก็ได้ แต่ผู้ฟังมีสิทธิ์ที่จะคิดไตร่ตรองว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังถูกต้อง หรือเปล่า
ผู้ฟัง ที่เป็นอนัตตา ก็คงเป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ต้องให้เข้าใจอย่างนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครสามารถจะดลบันดาลให้ธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีคน แต่ที่เข้าใจว่าเป็นคน เพราะมีธรรม ซึ่งเป็นจิต เจตสิก รูป ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป อะไรๆ ก็ไม่มี
อ.วิชัย สำหรับเรื่องการศึกษาพื้นฐานพระอภิธรรม ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจ เมื่อศึกษาเข้าใจมากขึ้น เจริญขึ้น สภาพธรรมที่เป็นความเข้าใจก็เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้น้อมไปเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ตามการศึกษา ที่ได้ศึกษาตามความเข้าใจเพียงขั้นการศึกษา ความเข้าใจไม่ใช่เพียงขั้นการฟังแล้วเข้าใจเท่านั้น แต่ทั้งหมดมีการปรุงแต่งของสภาพธรรมที่จะน้อมไป ที่จะรู้ในลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม อย่างเช่นเมื่อสักครู่นี้ ผมกล่าวเรื่องมโนทวารวิถีจิต วิถีจิตทางมโนทวาร ซึ่งสามารถรู้อารมณ์ได้ทุกอารมณ์ ไม่เว้นเลย วิถีจิตจะมีอยู่ ๖ วิถี คือ วิถีจิตทางตา ๑ วิถีจิตทางหู วิถีจิตทางจมูก วิถีจิตทางลิ้น วิถีจิตทางกาย และวิถีจิตทางใจ ซึ่งวิถีจิตจะเกิด ก็ต้องอาศัยทาง หรือทวารที่จะเป็นทางให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ตามทวารนั้นๆ อย่างเช่นทางตา รู้ได้เฉพาะอารมณ์ที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จะรู้อย่างอื่นไม่ได้เลย ทางตารู้อารมณ์อะไร รูปารมณ์ ก็คือสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏกระทบกับจักขุปสาท และเป็นอารมณ์ให้วิถีจิตทางตาเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นๆ โดยมีจักขุปสาทนั้นเป็นทวาร ก็เป็นการเริ่มเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมต่างๆ ที่มีลักษณะต่างๆ กัน เป็นปัจจัยต่างๆ ให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารนั้นๆ ก็เริ่มมีความเข้าใจ
ส่วนวิถีจิตทางมโนทวาร เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อ หลังจากที่จักขุทวารวิถีจิตดับแล้ว มีภวังคจิตเกิดคั่น และภวังคจิตขณะสุดท้ายดับไป ขณะนั้นก็เป็นทวารให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางใจ โดยมีภวังคจิตซึ่งเป็นภวังคุปปัจเฉทะนั่นเองเป็นมโนทวาร คือ เป็นทางให้วิถีจิตทางใจเกิดขึ้นรู้อารมณ์
ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ก็เป็นการสั่งสมความเข้าใจ เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็มีการปรุงแต่งน้อมไปที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็น วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจก็ตาม ก็มีอารมณ์ที่ปรากฏในขณะนั้น ก็เริ่มมีความเข้าใจแม้เรื่องของวิถีจิต ถ้าเป็นภวังคจิต คือ ขณะที่หลับสนิท ขณะนั้นไม่รู้อารมณ์ใดๆ เลยของโลกนี้ ไม่มีรูปปรากฏ ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีโผฏฐัพพะปรากฏ มีแต่เพียงจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ก่อนจุติจิตของชาติที่แล้ว แต่เมื่อมีอารมณ์มากระทบกับปสาททั้ง ๕ ก็เริ่มมีปัจจัยที่จะให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่มากระทบกับทวารนั้นๆ วิถีจิตจึงเกิดขึ้น โดยอาศัยทวาร
ท่านอาจารย์ ก็ทบทวนเรื่องอายตนะได้ใช่ไหม คือ รู้สึกได้ยินได้ฟังอะไรมา ก็จบเป็นเรื่องๆ แต่ถ้าได้ยินได้ฟัง และทบทวนถึงสิ่งที่เราได้ยิน และอาจจะสนใจ เพราะว่ามีคนที่ได้ยินคำว่า “อายตนะ” และอยากจะรู้ว่า อะไรเป็นอายตนะ และอายตนะก็กล่าวไว้ว่า มี ๑๒ เป็นภายใน ๖ และเป็นภายนอก ๖ แม้ว่าจะได้พูดไปแล้ว แต่เมื่อมีการเห็น เมื่อไร มีการได้ยินเมื่อไร มีการคิดนึกเมื่อไร ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริง ก็พูดเรื่องอายตนะได้ เพื่อจะได้เข้าใจทันทีขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ
คำถามของคุณบุษบงรำไพ ในเรื่องของรูปภายใน รูปมีถึง ๒๘ แต่ว่าเพียง ๕ รูปที่เป็นภายในก็น่าคิด ใช่ หรือไม่ว่า ทำไมกล่าวว่าเป็นรูปภายใน
ขณะเห็น ทุกคนทราบว่า ถ้าไม่มีจักขุปสาท เห็นเกิดได้ไหม ขณะนี้จริงๆ ที่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะมีจักขุปสาทรูป รูปอื่นคิดถึงหรือเปล่า รูปอะไรๆ อีกตั้ง ๒๗ รูปนั่น คิดถึง หรือเปล่า ก็ไม่ได้คิดถึง รูปไหนเป็นภายในที่สามารถทำให้จิตเกิดขึ้น แล้วเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็ต้องรูปที่เป็นจักขุปสาท
ด้วยเหตุนี้ แม้ว่ารูปจะมีต่างกันไปเป็นประเภทต่างๆ แต่ในขณะใดที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ขณะนั้นอาศัยรูปใด รูปนั้นเป็นรูปภายใน ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ตรงนั้น ไม่ได้นอกจากตรงนั้นเลย ต้องมีอยู่ สำหรับจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท เป็นรูปภายใน เพราะเหตุว่า แม้มีรูปอื่น แต่รูปเหล่านี้ไม่มีเลย จะมีการรู้อะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้ไหม เห็นก็ไม่มี แต่รูปอื่นมี ได้ยินก็ไม่มี แต่รูปอื่นมี ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย เหล่านี้ก็จะต้องมีเพราะปสาทรูป ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้จึงเป็นรูปภายใน คือ เราไม่ไปคิดถึงความเข้าใจของเราเองว่า ภายในคืออะไร แต่ความหมายของภายในมี ๒ ความหมาย อัชฌัตตะ คือ ภายใน พาหิระ คือ ภายนอก รูปของเราตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เป็นภายในเมื่อเทียบกับรูปอื่น ซึ่งไม่ใช่รูปตรงนี้ รูปอื่นของคนอื่นเป็นภายนอก นี่เป็นความเข้าใจตามลำดับทั่วๆ ไป ตั้งแต่เริ่มต้นของคำว่า “ภายใน” มีความหมายอะไรบ้าง ถ้าตรงนี้ที่เคยเป็นของเรา เคยเป็นเรานั่นเอง คือภายใน ถ้าไม่ใช่ของเราเป็นคนอื่น ขณะนั้นก็เป็นภายนอก เพราะไม่ใช่เรา นี่ความหมายหนึ่ง แต่ความหมายที่ละเอียดกว่านั้น เมื่อไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นการที่จิตแต่ละขณะจะเกิดขึ้นได้ แม้รูปอื่นๆ มี แต่ถ้ารูปนี้ไม่มีในขณะนั้น จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย และจิตซึ่งเกิดสืบต่อรู้อารมณ์แต่ละทาง ก็เกิดไม่ได้เลย
ด้วยเหตุนี้ในขณะเห็น คิดถึงหทยวัตถุ หรือเปล่า คิดถึงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม หรือเปล่า คิดถึงภาวรูป หรือเปล่า ไม่มีปรากฏในที่นั้นเลย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นภายใน และต้องมีประชุมอยู่ในขณะนั้นด้วย คือ ยังไม่ดับไป จึงเป็นอายตนะ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยปัจจัย ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมาได้
สิ่งที่มีอยู่ในขณะนั้น ตรงนั้น ที่ขาดไม่ได้เลย จึงเป็นอายตนะ คือ มีจิต และมีเจตสิก และมีปสาทรูป และมีรูปารมณ์ หรือว่าอารมณ์อื่นๆ สำหรับทวารอื่นๆ
พอจะเข้าใจหรือไม่ คือ ความเข้าใจของเราแม้ในขั้นปริยัติ เราก็พอจะมองเห็นว่า ที่ทรงแสดงไว้เพื่อให้เห็นว่า ไม่ใช่เราเลย และแม้รูปทุกรูปไม่ใช่เรา หากแต่ แต่ละขณะ แต่ละรูปก็ต่างกันไปอย่างไร คือ ไม่ใช่รูปทั้งหมดเป็นภายใน ถ้าไม่กล่าวโดยตัวเอง และคนอื่น ก็กล่าวเฉพาะรูปที่ขณะนั้นมีอยู่ ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้รูปที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ความสงสัยของดิฉันมีไปอีกเรื่องหนึ่งแล้ว คือ จิต มนายตนะ เป็นอายตนะภายใน แต่เกิดกับหทยวัตถุ
ท่านอาจารย์ เกิดที่หทยวัตถุในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ถ้าในภูมิที่ไม่มีขันธ์ ๕ ไม่ต้องมีหทยวัตถุเป็นที่เกิด
ผู้ฟัง ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก ไม่เข้าใจว่า จะมาเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ ภายในจริงๆ ขณะเห็น รูปอะไร ต้องมี ขาดไม่ได้เลย ในขณะนั้นจริงๆ คือ จักขุปสาทสำหรับจิตเห็น เกิดที่นั่นด้วย
ผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นมนายตนะ
ท่านอาจารย์ มนายตนะเป็นธาตุรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธาน ขณะนั้นในภูมิที่ไม่มีขันธ์ ๕ ก็ยังเกิดได้
ผู้ฟัง หมายความว่าไม่ได้อาศัยหทยวัตถุ ก็ยังเกิดได้
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ก็คือว่า มีอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นอกจากนั้นที่เหลือก็ไม่ยากจะเข้าใจว่าเป็นภายนอกทั้งหมด
ผู้ฟัง อยากให้คุณธิดารัตน์ช่วยกล่าวถึงจิตที่ไม่เป็นวิถีบ้าง อยากจะทราบว่า มีอะไรบ้างที่ไม่เป็นวิถี มีใช่ไหม ในภูมิที่มีขันธ์ ๕
อ.ธิดารัตน์ ขณะที่ไม่ใช่วิถีจิต ก็เริ่มต้นตั้งแต่ขณะแรกเลย คือ ขณะที่ปฏิสนธิ ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น จิตขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิต เพราะว่าเป็นจิตที่พ้นจากวิถี ปฏิสนธิ แล้วหลังจากนั้นก็เป็นภวังคจิต ภวังคจิตก็ทำกิจดำรงภพชาติ ดำรงความเป็นบุคคลนี้ ไม่ว่าจะเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ก็คือจิตสุดท้ายที่จะทำหน้าที่เคลื่อนจากภพนี้ ก็เป็นจิตที่เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม กรรมในอดีตที่ได้ทำแล้ว ให้ผลเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิในภพภูมิใด กรรมนั้นก็จะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิในภพภูมินั้น ก็คือให้ผลเป็นปฏิสนธิจิตแล้วก็ยังให้ผลเป็นภวังคจิต ขณะที่เราหลับ ไม่มีอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจใดๆ เลย แต่ก็มีจิตที่ทำกิจดำรงภพชาติ ก็คือเรายังไม่ตาย ขณะที่หลับ เราไม่ได้ตาย เพราะมีภวังคจิตทำหน้าที่ดำรงภพชาติให้เรายังเป็นบุคคลนั้นอยู่ จนถึงจุติจิต
ผู้ฟัง ความหมายที่ว่า ไม่เป็นวิถี ก็คือเกิดขณะเดียวแล้วก็ดับ ไม่มีการต่อเนื่องแบบที่เป็นวิถีจิตที่เกิดต่อ อย่างนั้น หรือ
อ.ธิดารัตน์ ภวังคจิตเกิดดับนับไม่ถ้วนเลย ถึงแม้ในขณะที่เราคิดว่า เราตื่นอยู่ แล้วก็มีการเห็น วาระของการเห็น คือ วิถีจิตที่เป็นจักขุทวารวิถีดับไปจะต้องมีภวังคจิตคั่นหลายวาระมากเลย นับไม่ได้เลย ก่อนที่มโนทวารจะเกิดขึ้นแล้วรู้สีที่เพิ่งจะดับไป แต่ละวิถีจิตในชีวิตประจำวัน จะมีภวังค์คั่นระหว่างวิถีตลอด
อ.วิชัย กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ขณะที่กล่าวว่ารู้ เข้าใจลักษณะสภาพธรรมตามปริยัติ คือ ขณะที่สติเกิดระลึกในลักษณะของรูปารมณ์ ขณะนั้นก็ไม่มีชื่อ แต่มีลักษณะที่ปรากฏ จะทราบความต่าง หรือไม่ว่า ลักษณะของรูปารมณ์กับสัททารมณ์มีความต่างกัน หรือรู้เพียงเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้ลักษณะของรูปารมณ์ ก็รู้เฉพาะว่า สิ่งนี้มี ที่จะเข้าใจก็คือ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ และไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่อะไรเลยที่จะไถ่ถอนการที่เคยหลงจำไว้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ก็มารู้ความจริงว่า สิ่งที่ปรากฏจริงๆ ทางตา ก็เพียงเป็นสีสันที่กำลังปรากฏ เพียงเท่านั้นเอง
นี่คือการที่จะไม่ติด ในนิมิตอนุพยัญชนะ ซึ่งจำไว้มาก จำไว้นานว่า เป็นคนนั้นคนนี้ แต่เริ่มที่จะเข้าใจถูกในขณะที่ฟังว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่สามารถกระทบ และปรากฏสั้น ก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ แต่เพราะว่าไม่ประจักษ์การเกิดดับ ซึ่งเกิดดับสืบต่อนาน ก็เลยทำให้เหมือนกับมีสีสันวัณณะ มีขอบเขต มีรูปร่างสัณฐาน แล้วก็จำไว้
อ.วิชัย ลักษณะของรูปารมณ์ และสัททารมณ์มีความต่างกัน แต่ขณะที่เริ่มอบรม จะเข้าใจเพียงเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง หรือมีความรู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ แล้วรู้ความต่าง อย่างนี้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คงยังไม่ไปถึงความต่าง เพราะแม้แต่ลักษณะของรูปารมณ์เดี๋ยวนี้ เข้าใจตามนี้ หรือเปล่า การที่จะรู้ลักษณะของรูปารมณ์จริงๆ ขณะที่กำลังมีรูปารมณ์ ซึ่งขณะนี้ปรากฏ และเริ่มเข้าใจถูก ใครก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ได้ เพราะจิตเห็นเกิดแล้ว เห็น แต่ที่ไม่รู้ ก็คือไม่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดแล้วดับ
ถ้าจะชื่อว่า รู้จักรูปารมณ์จริงๆ ก็คือค่อยๆ คลาย ไถ่ถอนการที่เคยจำว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะนั่นเป็นอัตตสัญญา การจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยังไม่ใช่อนัตตสัญญา สิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย เนื้อแท้จริงๆ ของธาตุชนิดนี้ก็คือว่า สามารถปรากฏกับจิตเห็น ซึ่งต้องอาศัยจักขุปสาท
นี่คือการรู้ความจริง ไม่ใช่เราจะไปเทียบเคียง แต่ว่าแม้สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้เอง ก็เริ่มที่จะเข้าใจถูกในความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏ โดยไม่ต้องไปนึกถึงเสียงว่าต่างกัน เพราะแม้ว่าลักษณะก็ยังไม่ได้ประจักษ์ตามความเป็นจริง ถ้าประจักษ์ตามความเป็นจริงเมื่อไร ก็คือ รู้ขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติเกิด วันหนึ่งๆ เราเห็นเป็นคนมาก มีขณะไหนบ้างไหม ที่จากการฟังแล้ว แล้วฟังอีก ฟังแล้วฟังอีกแต่ละภพแต่ละชาติ เริ่มคิด แม้แต่เป็นความคิดว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ นี่ขั้นคิด แต่ยิ่งกว่านั้นก็คือ ไม่ใช่เพียงคิด สติสัมปชัญญะเริ่มถึงลักษณะของสภาพที่ปรากฏ ซึ่งเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะคลายความเป็นเรา แต่ละทวารที่ปรากฏ
นี่เป็นเรื่องของทางตาอย่างเดียว พอถึงทางหู ก็เช่นเดียวกัน เสียงปรากฏ ทุกคนเหมือนกับว่ารู้ ใครบ้างไม่รู้เสียง แล้วเสียงเกิดแล้วก็หมดไป ใครบ้างไม่รู้ แต่รู้ หรือเปล่าว่า เสียงที่ได้ยินนี้เกิดดับสืบต่อด้วย เช่น เวลานี้กำลังเหมือนกับได้ยินคำที่เกิดจากจิต แต่เสียงที่ได้ยินเกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน เพราะว่าแม้รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน คือ เสียงซึ่งเปล่งออกจากจิตที่คิด ก็มีอายุเพียงแค่ ๑๗ ขณะ แล้ว ๑๗ ขณะนี่เร็วแค่ไหน แต่อุตุที่เป็นปัจจัยให้เสียงนั้นสืบต่อ เสียงเป็นรูปที่เกิดจากอุตุก็สืบต่อไป
ในขณะนี้ได้ยินเสียง เข้าใจเสียงว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ หรือว่าเหมือนธรรมดา มีใครบ้างที่เสียงปรากฏ แล้วเสียงก็หมดไป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360