พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
ตอนที่ ๓๒๕
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ เราฟังเรื่องกุศลจิต และฟังเรื่องอกุศลจิต พอเข้าใจใช่ หรือไม่ แต่ขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล บอกได้ไหม เกิดแล้วดับแล้ว โดยไม่รู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นสมถภาวนา หรือสติปัฏฐานที่ทำให้รู้แจ้งความจริงของสภาพธรรมซึ่งเป็นปัญญาซึ่งเป็นวิปัสสนา เห็นแจ้งตามความเป็นจริง ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่คิดเอาเอง นึกเอาเอง จิตไม่สงบ ก็เข้าใจว่าสงบแล้ว อย่างนั้นก็ไม่สามารถอบรมเจริญภาวนาใดๆ ได้เลย
ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อความว่า ทั้งสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ต้องเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ คือ เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา จึงสามารถที่จะอบรมเจริญได้ ถ้าไม่ใช่กุศลที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ประกอบด้วยปัญญา ก็เป็นกุศลในชีวิตประจำวันตามการสะสม เช่น ขณะที่เป็นผู้มีอัธยาศัยในการให้ทาน ไม่ได้รู้เลยว่า ขณะนั้นจิตเห็น ไม่ใช่กุศลจิต และทานขณะนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นขณะที่สะสมมาที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลอื่น ซึ่งบางคนก็ไม่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นจิต ไม่ใช่เรา และเป็นจิตที่ดีงามด้วยในการที่สามารถไม่ติดข้องในวัตถุ จนกระทั่งสามารถสละให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ แค่นี้ก็ยังไม่ใช่การที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา ต้องประกอบด้วยปัญญา คือ สติสัมปชัญญะที่รู้ขณะจิตว่า ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล เพราะว่าเวลาที่กล่าวถึงความสงบของจิต ก็จะใช้อีกคำหนึ่งว่า “ปราศจากนิวรณธรรม” คือ ธรรมเครื่องกั้นความดี หรือกุศลจิตนั่นเอง อะไรกั้นกุศลจิต กามฉันทนิวรณ์ ความผูกพันพัวพันกับความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ทำให้จิตไม่สงบ
วันนี้เป็นอย่างนี้ หรือเปล่า เห็นโทษ หรือยัง ถึงแม้เห็นโทษแต่ไม่รู้ว่า ขณะไหนเป็นกุศลจิต ขณะไหนเป็นอกุศลจิต ก็ไม่สามารถจะกันนิวรณธรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้ เพราะเหตุว่าเกิดเป็นปกติ เป็นประจำ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และรู้ว่า ถ้าตรึก คือ ระลึกถึงอะไรแล้วจิตสงบ ไม่ใช่อะไรก็ได้ เพราะว่าบางแห่งซึ่งเป็นการอบรมเจริญสมาธิ มีทั่วโลก ไม่ใช่แต่เฉพาะประเทศไทย หรือว่าประเทศหนึ่งประเทศใด และวิธีการที่ใช้คำว่า “เจริญสมาธิ” หรือบางแห่งก็บอกว่า “สมถภาวนา” เลย เพราะไม่รู้ว่า สมถภาวนาต้องมีปัญญาที่เป็นระดับขั้นสติสัมปชัญญะ ก็กล่าวว่าให้ท่องอะไรก็ได้ แต่ละคนก็แต่ละคำ ไม่ให้บอกกันด้วย ไปบอกแล้วจะไม่สงบ หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ แต่บางแห่งก็ยังมีราคาของคำด้วย แล้วแต่อาชีพ แล้วแต่ฐานะการงาน ที่จะให้คำที่คิดว่า เอาไปท่องบ่นแล้วจิตจะสงบ แต่นั่นไม่ใช่สมถภาวนา
เพราะฉะนั้นการใช้คำหนึ่งคำใด ควรได้เข้าใจโดยถ่องแท้ว่า คำนั้นหมายถึงสภาพจิตขณะไหน อย่างไร ขณะที่เป็นเพียงสมาธิขั้นต่างๆ อาจจะอ้างว่าเป็นสมถะ แต่ถ้าตราบใดที่ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะที่จะรู้ว่า ขณะไหนตรึกถึงอะไรแล้วจิตสงบ แล้วตรึกถึงอะไรจิตไม่สงบ ก็ไม่สามารถเจริญสมถภาวนาได้
เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่เพียงขั้นได้ยินคำว่า ศีลต้องบริสุทธิ์ แล้วจิตจะสงบ ศีลอะไร ศีล ๕ ชั่วคราว หมดแล้ว แล้วทำอย่างไร สงบ หรือยัง บริสุทธิ์ หรือยัง ก็เป็นเรื่องที่ต้องฟังให้เข้าใจว่า ศีลก็มีหลายประเภท ศีลซึ่งเป็นสิกขาบท หมายความถึงบทที่จะต้องประพฤติตาม ศีลไม่ใช่มีเพียงให้เราจำได้ว่า ๕ ข้อ มีอะไรบ้าง ๘ ข้อ มีอะไรบ้าง ๑๐ ข้อ มีอะไรบ้าง พระธรรมทั้งหมดที่ศึกษาแล้ว เข้าใจแล้วเพื่อประพฤติปฏิบัติตาม มิฉะนั้นแล้วมีประโยชน์ไหม ที่จะเพียงฟังแล้วจำได้ แล้วเข้าใจเรื่องราว แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตาม
เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงศีลสิกขาบทที่ว่า เมื่ออบรมแล้วจะสงบ ก็ต้องถามว่า ศีลอะไร เพียงแค่ศีล ๕ หรือเปล่า หรือมีศีลอื่นจากศีล ๕ ด้วย เช่น อินทรียสังวรศีล เป็นต้น ก็ละเอียดกว่าศีล ๕ เพียงแค่จิตไม่สงบ คิดที่จะเบียดเบียนคนอื่นด้วยกาย หรือด้วยวาจา ก่อนพูด ก็ต้องมีจิตที่คิดจะเบียดเบียนด้วยคำพูดที่ไม่น่าฟัง คำพูดหยาบ หรือคำพูดส่อเสียด หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นทุจริต ขณะนั้นสามารถจะระลึกรู้ได้ แม้ยังไม่ทันกล่าว ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล
นี่ก็เป็นศีลที่ละเอียดยิ่งกว่า ศีล ๕ หรือศีล ๘ หรือศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ก็จะมีตามลำดับขั้นของกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องละเอียด แล้วเคยได้ยินคำที่กล่าวว่า ขณะใดที่ปัญญาเกิด ขณะนั้นพร้อมทั้งศีล สมาธิ และปัญญา หรือเปล่า
เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปรอ ไปคอย ศีลจะบริสุทธิ์เสียก่อน อย่างไร ศีลอะไร และสมาธิ คือ จิตบริสุทธิ์คืออย่างไร ขณะไหน ระดับขั้นของความสงบระดับไหน แต่ให้ทราบว่า ขณะใดก็ตามที่ปัญญาเกิด ขณะนั้นพร้อมทั้งศีล และสมาธิ จะมีปัญญาโดยที่ศีลไม่บริสุทธิ์ทางกาย ทางวาจาได้ไหม ขณะที่ปัญญาเกิด จะให้ประพฤติผิดทางกาย ทางวาจาได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นขณะนั้นกายวาจาก็ไม่เป็นไปทางฝ่ายอกุศล ขณะนั้นก็เป็นศีล อย่างผู้ที่กุศลจิตกำลังเกิด จะเบียดเบียนคนอื่นได้ไหม ไม่ได้
เพราะฉะนั้นพื้นฐานของกุศล ก็คือ ศีล สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ แล้วแต่ว่า ขณะนั้นที่เป็นกุศลนั้นจะเป็นไปในทาน ไม่มีการที่จะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ แต่ก็ยังประพฤติในการให้ หรือว่าประพฤติเป็นไปในศีล การสงเคราะห์ช่วยเหลือบุคคลอื่น หรือว่าเป็นศีล ขณะนั้นสงบ ก็มีการฟังธรรม การพิจารณาธรรม การเข้าใจธรรม เป็นไปในภาวนา
นี่ก็เป็นเรื่องละเอียด ที่ไม่เพียงแต่ได้ยินคำ แล้วก็คิดว่าเข้าใจแล้ว และก็จะทำตาม โดยที่ว่ายังไม่เข้าใจ แม้แต่ความต่างกันของภาวนา ๒ อย่าง คือ สมถะ และวิปัสสนา ก็จะต้องรู้ด้วยว่า ทำไมเป็น ๒ เพราะกว่าก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาในยุคนั้น อบรมเจริญสมถภาวนา ความสงบของจิตมั่นคงถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ไม่มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะจิตกำลังมั่นคงด้วยความสงบที่อารมณ์ที่กำลังตรึกถึง เป็นฌานจิตที่เป็นปฐมฌานที่ ๑ ทุติยฌานที่ ๒ ตติยฌานที่ ๓ จตุตถฌานที่ ๔ ปัญจมฌานที่ ๕ ก็มีบุคคลที่บรรลุถึง แม้รูปฌาน และอรูปฌาน แต่ไม่สามารถที่จะเห็นถูก เข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้ภาวนาจึงมี ๒ อย่าง สมถภาวนาอย่างหนึ่ง และวิปัสสนาอย่างหนึ่ง และสำหรับผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน และสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรม โดยไม่ได้อบรมเจริญสมถภาวนามาก่อน จนถึงฌานจิตขั้นต่างๆ ก็มี ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ จะต้องไปเจริญสมถภาวนาก่อน ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องของปัญญาที่ต่างระดับขั้น
ผู้ฟัง กระผมชื่อสุรัตน์ เพิ่งมาที่นี่เป็นอาทิตย์ที่ ๒ ผมอยากรู้ว่า รูปคืออิริยาบถทั้ง ๔ รูปยืน แล้วก็เดิน แล้วก็นอน แล้วก็นั่ง แต่พอมาเกิดกับอายตนะทั้ง ๖ ทำไมบอกว่ารูปเหมือนกัน คือ ที่ว่ารูปเสียง รูปเห็นทางตา ลักษณะนี้ รูป ๒ รูปนี้คนละแบบกัน คือ รูปทางเสียงก็อย่างหนึ่ง รูปในอิริยาบถทั้ง ๔ ก็อีกอย่างหนึ่ง แต่ทำไมเป็นรูปเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ารูปทุกรูป ไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ก็ตาม เป็นสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย นี่คือความหมายของรูป แม้มองไม่เห็น อย่างกลิ่น ไม่มีใครมองเห็นเลย แต่กลิ่นไม่สามารถจะรู้ ไม่สามารถที่จะคิด ไม่สามารถที่จะจำ ลักษณะของกลิ่นก็เป็นสภาพของกลิ่น เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง เป็นบัญญัติขึ้นมาเฉยๆ ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ บัญญัติหมายความว่าอะไร
ผู้ฟัง บัญญัติให้รู้ว่ากลิ่น นี่รูป
ท่านอาจารย์ โดยมีกลิ่น หรือไม่มีกลิ่น
ผู้ฟัง โดยมีกลิ่น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง แม้ไม่ต้องเรียกว่ากลิ่น แต่เมื่อไรที่ได้กลิ่น เพราะกลิ่นกระทบจมูก ฆานปสาทรูป เมื่อนั้นกลิ่นจึงปรากฏว่า มีกลิ่น เป็นลักษณะที่เปลี่ยนจากกลิ่นให้เป็นอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นกลิ่นเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง มีจริงๆ จะเรียกว่ากลิ่น หรือไม่เรียกว่ากลิ่น ก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของกลิ่นไม่ได้ แต่เราใช้คำว่า “กลิ่น” เพื่อให้รู้ว่า หมายความถึงรูปอะไร คือ รูปที่ปรากฏเมื่อกระทบกับจมูก คือ ฆานปสาท ต่างกับเสียง
เพราะฉะนั้นรูปมีหลายรูป รูปที่ปรากฏทางตาขณะนี้กำลังปรากฏเป็นรูปสีสันวัณณะต่างๆ ก็รูปหนึ่ง รูปที่ปรากฏทางหู ไม่ใช่ที่กำลังปรากฏทางตา เสียงเป็นอีกรูปหนึ่ง รูปที่ปรากฏทางจมูก ก็เป็นกลิ่นต่างๆ ก็เป็นรูปอีกประเภทหนึ่ง เพราะฉะนั้นรูปก็หลากหลาย ไม่ใช่มีแต่รูปเดียว ส่วนใหญ่คนไทยคิดว่า พอพูดถึงรูป ก็คือรูปที่เรามองเห็น ใช่ หรือไม่ เป็นรูปภาพต่างๆ หรือแม้แต่คิดว่าขณะนี้ที่มองเห็นคนนั่ง คนนอน ยืน เดิน เหล่านี้ก็เข้าใจว่า นั่นเป็นรูป แต่ว่าตามความเป็นจริง ธรรมที่มีจริง แต่ไม่สามารถที่จะรู้ เป็นรูปธรรมทั้งหมด จะมองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ตาม เป็นรูปธรรม
ถ้าเข้าใจอย่างนี้ รสมีจริงๆ ไหม
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง มีใครสามารถสร้างให้รสเกิดขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นรสเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม
ผู้ฟัง เป็นนาม
ท่านอาจารย์ รส รสคิดได้ไหม รสจำได้ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นรูป
ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรม นี่คือเป็นสิ่งที่แม้แต่ชื่อ เราก็ยังต้องคิด เพราะเราไม่รู้ลักษณะของรูปอื่น นอกจากรูปที่เรามองเห็น แล้วเราบอกว่าเป็นรูป แต่ความจริงรูปก็คือ ธรรมที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย แล้วก็มีลักษณะเฉพาะสภาพธรรมนั้นๆ การศึกษาธรรม ไม่ใช่ไปศึกษารวดเร็วไปรู้ชื่อต่างๆ อย่างอายตนะที่กล่าวถึงเมื่อครู่นี้ ถ้ายังไม่รู้จักรูป จะเข้าใจอายตนะไม่ได้เลย
ผู้ฟัง อายตนะ นี่ก็คือตาเรา ที่เห็นรูป ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ ก่อนอื่น อายตนะคืออะไร ถ้ายังไม่รู้ว่าอายตนะคืออะไร ก็ยังกล่าวถึงอายตนะใดๆ ไม่ได้เลยทั้งสิ้น การศึกษาธรรมต้องเข้าใจตามลำดับ ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็เริ่มเข้าใจ แม้แต่คำที่ได้ยินคำเดียวนี้ ให้ถูกต้อง อย่างถ้ากล่าวถึงธรรม ก็ประกาศอยู่ว่า ไม่ใช่ใครเลย เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้นศึกษาธรรม ฟังธรรม ก็ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริงว่า มีลักษณะแต่ละอย่าง ไม่ปะปนกัน และก็ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
ที่ตัวมีธรรมไหม
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีธรรม จะมีเราไหม
ผู้ฟัง ไม่มีเลย
ท่านอาจารย์ ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้นที่เข้าใจว่าเป็นเรา ก็คือธรรม ซึ่งต่างกันเป็นรูปธรรมกับนามธรรมนั่นเอง ฟังจนกว่าจะไม่มีเรา เพราะว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา
คุณอุไรวรรณ มีคำถามจากท่านผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า บางครั้งหนูมีความสุข ความพอใจ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะจิตเดียวที่ไม่เที่ยง แต่พอทุกครั้งที่หนูป่วย ไม่สบาย รู้สึกว่าจิตตก กระวนกระวาย ฟังธรรมก็รู้สึกเบื่อ เซ็ง จนต้องปิดวิทยุ เหมือนคนพาลที่กำลังมีโทสะมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ ขอความกรุณาท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะทางให้ ได้ประการใดบ้าง กราบขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ ก็จะชี้แนะโดยการบอกว่า ลืมแล้วว่าเป็นธรรมทั้งหมด ฟังเข้าใจว่าเป็นธรรมเท่านั้น เสร็จแล้วก็ลืมอีกว่าเป็นธรรม ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ลืมว่าเป็นธรรม แม้ว่าฟังแล้วก็เข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นธรรม
ผู้ฟัง จะเรียนท่านอาจารย์ว่า เวลามีความทุกข์ใจ ก็เป็นธรรม เดี๋ยวก็ผ่าน แต่เวลามีทุกข์ใจจริงๆ ยิ่งลืมหนักว่าไม่ใช่เป็นธรรม มันเป็นทุกข์ และก็ผ่านยาก
ท่านอาจารย์ ตัวจริงปรากฏให้รู้อย่างที่เรียน ทุกข์มีไหม โทมนัสเวทนามีไหม เวลาไม่เกิด ก็รู้สึกว่า มี ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกิด ไม่ได้ปรากฏ แต่พอตัวจริงปรากฏ ไม่รู้ แล้วอย่างนี้จะชื่อว่า เข้าใจธรรม หรือไม่ ก็แสดงว่า เรายังไม่ได้เข้าใจธรรมโดยถ่องแท้ เข้าใจบางเรื่องบางคำ บางชื่อ บางตอน บางเหตุการณ์ แต่ไม่รู้ว่า ทั้งหมดเป็นธรรม
ผู้ฟัง เข้าใจขั้นฟัง แล้วนึกได้บ้างว่า จริงๆ ก็คือธรรม เกิดดับ แล้วเดี๋ยวก็ผ่านไป อย่างความทุกข์ใจจะชัดเลย เหมือนมีปัญญา แต่มีอวิชชาเรามาก ก็ทุกข์อยู่ตรงนั้น คิดอยู่ตรงนั้น
ท่านอาจารย์ แล้วทุกข์เป็นธรรม หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น เพราะเกิดดับ
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ตอบได้ แต่ตอนเป็นทุกข์ตอบไม่ได้ ตอนกำลังเป็นทุกข์ เป็นเรา ลืมแล้วว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง เป็นเราเป็นทุกข์ ไม่ยอมรับว่าทุกข์ก็คือธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจนกว่าจะไม่ลืม ฟังเพื่อที่จะไม่ลืม เราไม่ลืมตั้งหลายเรื่อง เรื่องบ้าน เราไม่ลืม เรื่องญาติ เราไม่ลืม เรื่องธุรกิจการงาน เราไม่ลืม คุ้นเคยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงขณะนี้ แต่ไม่คุ้นเคยว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นธรรม เพราะฉะนั้นกว่าจะคุ้นเคยด้วยการระลึกได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น จะเป็นได้อย่างไร
เพราะฉะนั้นบางครั้งทุกข์น้อย บางครั้งทุกข์มาก บางครั้งทุกข์กาย บางครั้งทุกข์ใจ ไม่มีใครบังคับได้เลย สมควรแก่เหตุที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ จะให้น้อยกว่านั้น จะให้มากกว่านั้นก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นเมื่อตัวจริงปรากฏ แล้วยังไง ที่ฟังไปก็ลืม ก็ต้องฟังบ่อยๆ จนคุ้นเคยมากๆ
ผู้ฟัง เมื่อฟังศึกษาแล้วก็รู้ว่า ความทุกข์ก็เป็นธรรม เกิดดับ ไมใช่เรา เป็นอนัตตา แต่ลึกๆ ก็ยังเป็นเรา แล้วก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจนกว่าจะถึงความเป็นพระโสดาบัน จะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะไม่ว่าสภาพธรรมใดปรากฏ ไม่หลงลืม ซึ่งปกติหลงลืม ก็จะเกิดการไม่หลงลืมที่จะรู้ลักษณะซึ่งเป็นธรรมที่กำลังปรากฏ ทีละลักษณะ จนกว่าจะทั่ว ถ้าไม่ทั่ว บางอย่างก็ยังคงเป็นเราอยู่
ท่านอาจารย์ คุณสุรัตน์รู้สึกมีคำถามจะถามใช่ไหม
ผู้ฟัง สภาพธรรมทั้งหมดมีหลายแขนงหลายอย่างเหลือเกิน แล้วก็เอาจะเอาตัวไหนเป็นหลัก ตัวรู้ คือ รู้ว่าตาเห็นรูป ตัวรู้ว่า จมูกได้กลิ่น ตัวรู้ว่า หูได้ยิน ตัวรู้ว่า กายสัมผัส ทุกอย่าง หรือจะเอารูปเดิน จะเอาได้ยิน หรือว่าจะเอาตัวไหนเป็นหลัก
ท่านอาจารย์ จะเอา ใช่ไหม
ผู้ฟัง จะรู้
ท่านอาจารย์ จะรู้อะไร
ผู้ฟัง จะรู้ว่า เราควรจะ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เราควรจะ นั่นไม่ใช่รู้ ฟังธรรมให้เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร เดี๋ยวนี้มี หรือเปล่า และเป็นธรรมเพราะอะไร แต่ไม่ใช่ให้เราจะเอา หรือเราจะทำ แต่ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏให้ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่มีเรา เพราะความจริงไม่มีเรา มีธรรม ซึ่งมีลักษณะ ๒ อย่าง ธรรมอย่างหนึ่ง มีจริงๆ อย่างกลิ่น มีไหม กลิ่น
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ปรากฏเมื่อไร
ผู้ฟัง เมื่อตอนที่เราได้กลิ่น
ท่านอาจารย์ เมื่อมีสภาพที่รู้กลิ่น กลิ่นจึงปรากฏ ถ้าสภาพรู้กลิ่นไม่เกิด กลิ่นปรากฏไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นขณะใดที่มีสภาพที่เป็นรูปธรรม เช่น สี สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ไม่ได้เพียงมี ขณะใดที่ปรากฏ หมายความว่าต้องมีธาตุรู้ หรือสภาพรู้ เป็นเรา หรือไม่ ธาตุชนิดนั้นเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย และทำกิจเห็น ในขณะนี้เป็นเราหรือเปล่า นี่คือการที่จะรู้ว่า เห็นเป็นธรรม หรือเป็นเรา
ผู้ฟัง เห็นเฉยๆ
ท่านอาจารย์ เห็นเฉยๆ นั่นแหละ เห็นเป็นธรรม คือ สิ่งที่มีจริง หรือว่าเป็นเรา สิ่งที่มี ที่เห็น คือ เราเห็น เป็นเราเห็น หรือว่าเป็นธรรม คือ สภาพที่สามารถเห็น
ผู้ฟัง คือสภาพเห็น
ท่านอาจารย์ ต้องมั่นคง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าขณะใดก็ตามที่เห็น ก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง มีจริงๆ แต่เป็นสภาพรู้ จึงสามารถเห็น เดี๋ยวนี้กำลังเห็น เพราะธาตุชนิดนี้เกิดขึ้นเห็น ไม่ใช่เรา ถ้าไม่มีปัจจัยให้ธาตุเห็นเกิดขึ้น เห็นไม่ได้เลย แต่เมื่อมีปัจจัย เช่น มีจักขุปสาท คือ ตา มีสิ่งที่ปรากฏมากระทบ และมีจิตที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ สิ่งที่ปรากฏเป็นสีสันเดี๋ยวนี้ จึงปรากฏได้
จากชีวิตประจำวันที่ไม่เคยคิด ไม่เคยไตร่ตรอง เพราะว่าเป็นเราเห็นตลอดมา ก็จะได้รู้ว่า ที่แสดงธรรมว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ก็เพราะเหตุว่าเป็นธรรมที่ไม่มีใครสามารถที่จะบันดาลให้เกิดขึ้น เกิดแล้วที่จะไม่ให้ดับไปก็ไม่ได้ เป็นธรรมจริงๆ ให้เข้าถึงความเป็นธรรมเมื่อไร เมื่อนั้นก็คือไม่ใช่เราทั้งหมด ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งเป็นนามธรรมบ้าง เป็นรูปธรรมบ้าง
ดีใจ มีหรือไม่ ความรู้สึกดีใจ
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เกิดเมื่อเราต้องการให้เกิด หรือเกิดเมื่อ ได้เห็นสิ่งที่น่าพอใจก็เกิด
ผู้ฟัง เมื่อเห็นสิ่งที่น่าพอใจ เราถึงดีใจ
ท่านอาจารย์ และดีใจหมดไปไหม
ผู้ฟัง ดีใจแล้วก็หมด ไม่ได้อยู่ทั้งวัน
ท่านอาจารย์ และหมดแล้ว ไปอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ก็ไปเกิดที่จิตอื่น
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ไม่ใช่ไปเกิดที่จิตอื่น สภาพธรรมใดมีปัจจัยเกิด เกิดแล้วดับไป ไม่กลับมาอีก ไม่ไปอยู่ที่จิตอื่น ไม่ไปอยู่ที่ไหนเลย นี่คือความหมายของอนัตตา คือแสดงว่าไม่มีเราจริงๆ แต่มีธรรมซึ่งเกิดดับสืบต่อ จนไม่ปรากฏการเกิดดับ จึงยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเห็น จะได้ยิน จะคิดนึก เพราะฉะนั้นกว่าจะหมดการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราได้ ก็ต้องมีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย แต่ต้องมีความมั่นคง โดยการพิจารณาว่า มีเราจริงๆ หรือว่ามีธรรม แต่เพราะไม่รู้ แม้ว่าเป็นธรรม ก็เข้าใจว่าเป็นเรา
นี่เป็นความเห็นผิด เพราะฉะนั้นความเห็นผิดก็มีหลายอย่าง แต่เริ่มจากการยึดถือสภาพธรรม เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง การศึกษาพื้นฐานพระอภิธรรม แสดงว่าต้องเริ่มจาก ธรรมคืออะไร แล้วก็แตกเป็นจิต เจตสิก รูป แล้วเราก็เข้าใจแต่ละอย่าง จิต รายละเอียดของจิตว่า มีเหตุปัจจัยเกิดอย่างไร มีชาติอะไร และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย และรูป รายละเอียดของรูปเป็นอย่างไร ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ ก็จะทำให้ความเป็นเราน้อยลง เพราะจริงๆ แล้ว สิ่งเหล่านี้เท่านั้นเอง ต้องเริ่มต้นแบบนี้จนเข้าไปในกระดูกอย่างนี้เลย
ท่านอาจารย์ ใช่ มีจิตไหม รู้ตัวจริงของจิต หรือยัง ฟัง มีจิต มีเจตสิก มีรูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ต่างหากไปเลย แต่เพราะไม่รู้ เมื่อจิตเกิดก็ยึดถือว่าเป็นเรา เราเห็น ความจริงเป็นสภาพธรรม หรือธาตุที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ว่าสิ่งที่ปรากฏขณะนี้เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอื่น เพราะเห็นสิ่งนี้ ธาตุที่สามารถเห็นแจ้งในสิ่งที่กำลังปรากฏ มีจริงๆ ไม่ใช่เรา เวลาที่ได้ยิน ก็เป็นอีกขณะหนึ่ง ไม่ใช่ขณะที่เห็น เสียงมีหลายเสียง เสียงก็ต่างๆ กันไป เสียงของสิ่งมีชีวิต เสียงของสิ่งที่ไม่มีชีวิต แม้แต่คน เวลาได้ยิน รู้ได้เลยว่า เสียงใคร ถูกต้องไหม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360