พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
ตอนที่ ๓๔๓
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว แต่ละขณะผ่านไปหมดเลย ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ แม้คิด กำลังคิดอยู่ ขณะนั้นก็ไม่รู้ว่า กำลังคิด เป็นธรรมที่เกิดขึ้นสืบต่อ ธรรมเกิดขึ้น ธรรมทำหน้าที่ของธรรมนั้น ไม่มีใครจะไปจัดการได้เลย แต่จากการฟัง และเริ่มที่จะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีอยู่ ก็จะทำให้สามารถรู้ได้ว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมจริงๆ ที่ กำลังปรากฏ แม้พูดคำว่า “ขันธ์” แม้พูดคำว่า “อายตนะ” แม้พูดคำว่า “ธาตุ” แม้คำพูดว่า “อริยสัจ” ก็ไม่เข้าใจ เพียงแต่ได้ยินชื่อ และคิดว่า เป็นเหตุเป็นผล แต่ไม่รู้จักธรรมที่ กำลังปรากฏในขณะนั้น
ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรม ก็ทิ้งไม่ได้เลยที่จะรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม และเป็นผู้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้นว่า จากการฟัง เข้าใจระดับไหน เข้าใจเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่ลักษณะจริงๆ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่กำลังรู้ลักษณะนั้น จะชื่อว่า กำลังเข้าใจธรรม หรือเปล่า ตัวธรรมจริงๆ ซึ่งมีให้เข้าใจ ก็เป็นเรื่องซึ่งไม่ใช่เรา เป็นผู้ที่คิดว่า เราเข้าใจธรรมแล้ว แต่ฟังเพื่อจะเข้าใจธรรมจริงๆ ตามลำดับขั้น และถ้ามีความเข้าใจธรรมทีละเล็กทีละน้อย จะเข้าใจคำที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกจริงๆ ด้วย หรือเปล่า เช่น คำว่า “ขันธ์” ทุกคนก็กล่าวถึงชื่อได้ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ แค่ชื่อเป็นประโยชน์ หรือเปล่า เข้าใจ หรือเปล่า ถ้าไม่เข้าใจก็จำคำนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่า “ขันธ์ คืออะไร เป็นธรรม หรือเปล่า เป็นธรรมที่มีลักษณะต่างกันอย่างไร จึงเป็นขันธ์ทั้ง ๕
คงไม่ต้องไปคิดถึงว่า ข้อความนั้นข้อความนี้ในพระไตรปิฎกมีความละเอียดลึกซึ้งแค่ไหน แต่ฟังให้เข้าใจแม้แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงอรรถ หรือความหมาย ความจริงของลักษณะของธรรมยิ่งขึ้น นี่คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน ชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งหมดไม่พ้นจากธรรมเลย ถ้ามีความเข้าใจ ก็สามารถเข้าใจข้อความต่างๆ ได้ตรง แม้แต่คำว่า “ประโยชน์” ก็เข้าใจได้ว่า ต้องเป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูกจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง วิถีจิตต่างๆ ไม่ทราบเป็นอย่างไร ปัญญาเรียบเรียงไม่ได้เลย ต้องศึกษาวิถีจิตให้ละเอียด และเข้าใจหมดเลย ใช่หรือไม่ว่าวิถีจิตต่อๆ ไป เกิดได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ในความเป็นจริง เวลาที่เราเข้าใจแล้ว ก็คือไม่เปลี่ยนแปลง เพราะว่าเข้าใจ แต่ความเข้าใจของเราในสิ่งอื่นยังไม่มี ก็ฟังต่อไปให้เข้าใจขึ้น เพื่อที่จะรู้ว่าเป็นธรรม เพราะว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไม่ไร้ประโยชน์เลย เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด สามารถที่จะทำให้ละคลายความเป็นตัวตน เพราะว่าเคยเข้าใจในสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟัง และกำลังปรากฏในขณะนี้ แต่ไม่ใช่เป็นการมุ่งหวัง ทุกอย่างเป็นสังขารขันธ์ที่ ก็ไม่มีใครรู้ว่าขณะนี้ แต่ละจิตของแต่ละคน และเจตสิกที่เกิดที่เป็นสังขารขันธ์จะปรุงแต่งให้คิดอย่างไร ให้เข้าใจมากน้อยแค่ไหน แต่จะรู้ได้เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น
ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวเกี่ยวกับเรื่องปฏิสนธิจิต ความจริงหนูมีความรู้เก่าๆ
ท่านอาจารย์ ความรู้เก่าๆ มาจากไหน คิดเอง หรือได้ยินได้ฟัง
ผู้ฟัง เขาพูด ได้ยินได้ฟังมา ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ปฏิสนธิจิตเกิดจากการประมวลมาด้วยกรรมทั้งหมดในสังสารวัฏฏ์
ท่านอาจารย์ จิตทีละ ๑ ขณะจริงๆ เกิดแล้วดับ ไม่ใช่ทีละ ๒ ขณะ ๓ ขณะ ตั้งแต่เช้ามาจำอะไรได้บ้าง
ผู้ฟัง จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เช้ามา แล้วแต่ว่า จะเห็นอะไร คิดอะไร ไม่ได้หายไปไหนเลย สะสมสืบต่อเป็นปัจจัยพร้อมที่ว่าจะปรุงแต่งให้เป็นอย่างไร ขณะนี้ทุกคนกำลังนั่งที่นี่ ก็มีกุศลจิต ในขณะที่มีศรัทธาที่จะฟังให้เข้าใจธรรมที่ทรงแสดง เรื่องสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ให้เข้าใจถูกต้อง แต่ละคนสะสมอะไรมามากน้อยเท่าไร ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ แต่ก็สะสมสืบต่อไปอย่างละเอียดทีละ ๑ ขณะ และทั้งหมดก็ประมวลมา เมื่อถึงกาลซึ่งจะให้ปฏิสนธิจิตเกิด มีกรรมที่ได้กระทำ คือ กำลังฟังธรรมด้วยกันอย่างนี้เอง และจะมีความเข้าใจมากน้อยเท่าไรก็แล้วแต่ แต่ก็เป็นกุศลกรรม ปัญญาจะมากน้อยแค่ไหน เอาของคนนี้ไปใส่คนโน้นได้หรือไม่ ของที่ไม่มีเลย ให้เอามาใส่ไว้ในจิตนี้ก็ไม่ได้ แต่เป็นไปตามการสะสมอย่างละเอียดมาก ใน ๑ ขณะในแสนโกฏิกัปป์ มิฉะนั้นคนเราแต่ละคนก็จะไม่ต่างกันในความคิด ในรูปร่าง ผิวพรรณหน้าตา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มาจากไหน ในเมื่อกรรมก็เหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน แต่เวลาที่เป็นอกุศลกรรมเกิดขึ้น ก็ฆ่าสัตว์ ยุง มด หรืออะไรก็แล้วแต่ เจตนาต่างๆ ก็เป็นอกุศลเจตนาเหมือนๆ กัน แต่เวลาที่ให้ผล ทำไมถึงได้วิจิตรต่างกันอย่างนั้น ถ้าไม่มีการประมวลมาซึ่งกรรมที่ได้กระทำแล้ว อายูหนา คือ การประมวลมาของกรรมในขณะปฏิสนธิ ที่จะทำให้แม้เป็นจิตซึ่งเป็นอกุศลวิบาก จิตของมด ก็เป็นอกุศลวิบาก ทำกิจปฏิสนธิ จิตของช้าง แมลงป่อง งู ปลา ทั้งหมดก็เป็นผลของอกุศลกรรม แต่ความวิจิตรที่ต่างกัน ก็ต้องประมวลมาซึ่งสิ่งที่ได้สะสมมาแล้วทั้งหมด
ผู้ฟัง เดิมไปเข้าใจว่า เมื่อเกิดจุติจิต ก็หมดความเป็นคนนั้น ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ จุติจิตดับเมื่อไร สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้เมื่อนั้น
ผู้ฟัง แล้วก็มีการส่งต่อ
ท่านอาจารย์ ใครส่ง
ผู้ฟัง จิตนั้น ไม่มีหรือ
ท่านอาจารย์ จิตแต่ละจิตเป็นอนันตรปัจจัย เว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่ว่าขณะไหนทั้งสิ้น เกิดแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด แล้วแต่จะเป็นจิตประเภทไหน แต่ไม่ได้ส่ง
ผู้ฟัง เป็นปัจจัยให้เกิดต่อเป็นปฏิสนธิจิต
ท่านอาจารย์ เป็นปัจจัยให้นามธรรม คือ จิต และเจตสิกต่อไปเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ความเข้าใจเดิมตอนนั้นที่มีคนพูดว่า จะต้องพยายามฝึกจิต นั่งสมาธิ เพื่อให้ตอนจุติจิตจะดับ เกิดจิตที่ดี ส่งไปเกิดที่ดี
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเข้าใจธรรม หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ได้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ แล้วมีประโยชน์ที่จะทำสิ่งที่ไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ตอนนี้หนูเข้าใจแล้วว่า ไม่มีประโยชน์
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องไปสนใจสิ่งที่ไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง อย่างนั้นพอจุติจิตดับ จะเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิจิต ในขณะที่ ปฏิสนธิจิตเกิดแม้ขณะเดียว สามารถประมวลทั้งหมด ซึ่งประมวลอย่างไรก็ไม่ทราบ ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ เวลานี้ประมวลอยู่ หรือเปล่าที่กำลังคิด
ผู้ฟัง ประมวล
ท่านอาจารย์ ทำไมคิดไม่เหมือนกัน ปัญญาเหมือนกันหรือเปล่า ถ้าไม่ประมวลมา ปัญญาของผู้ที่สะสมมาในอดีต จะเป็นพระอัครสาวกได้หรือไม่ จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม สิ่งที่เกิดแล้วดับไปจริง แต่ว่าสะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไปซึ่งเกิดสืบต่อ จะเอาไปทิ้งไว้ที่ไหน หรือมีแล้ว
ผู้ฟัง เวลาที่หนูฟังชาดก จะสับสนว่า ผู้นี้ทำกรรมชั่ว แต่ ณ ขณะที่จะถูกประหารชีวิต ได้ทำกรรมดีให้กับพระอริยบุคคล และปฏิสนธิจิตก็ไปเกิดในที่ที่ไม่เป็นอบาย พอท่านอาจารย์บอกว่าประมวลมา หนูเลยไม่เข้าใจว่า อย่างไร
ท่านอาจารย์ ประมวลมา ไม่ได้หมายความว่า มารวมกันให้เป็นอื่น แต่หมายความว่า เมื่อเป็นผลของอกุศลกรรมหนึ่ง อกุศลกรรมนั้นทำกิจปฏิสนธิ แต่ไม่ใช่มีแต่เฉพาะกรรมนั้นเท่านั้น ยังมีการสะสมของกรรมที่ได้กระทำแล้วทั้งหมด พร้อมที่จะให้ผล ไม่อย่างนั้นคนเราก็หน้าตาเหมือนกัน ถ้าเป็นผลของกุศล ทำให้เกิดที่ไหน
ผู้ฟัง ไม่เกิดในอบาย
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าเป็นผลของอกุศล
ผู้ฟัง ก็เกิดในอบาย
ท่านอาจารย์ ขณะที่ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ เป็นผลของอะไร
ผู้ฟัง เป็นผลของกุศลกรรม
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผลของกรรมที่เป็นกุศล
ผู้ฟัง แต่เผอิญที่เล่า ณ จุดตอนนั้น หนูคิดว่า ...
ท่านอาจารย์ ก็เราคิดเองไม่ใช่หรือ ว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จุดนั้นจุดนี้ แต่ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า กุศลกรรมให้ผลเป็นกุศลวิบาก จิตที่เป็นผลของกุศลกรรม จะเป็นอกุศลวิบากไม่ได้ ก็ต้องแยกขณะจิต ขณะไหนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล
ผู้ฟัง ซึ่งปัจจัยมากน้อย ก็ไม่มีใครทราบ
ท่านอาจารย์ แล้วตัวอย่างอื่นมีหรือไม่ พออกุศลจิตเกิดก่อนตาย ก็ไปเกิดในอบายภูมิ ก่อนที่ใกล้จะตายจริงๆ ใครรู้ว่าอะไรจะเกิด
ผู้ฟัง ไม่มีใครรู้
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่กรรมใดจะให้ผล ไม่ใช่ต้องให้ผล
ผู้ฟัง ชาตินี้เราเข้าใจธรรมได้ขึ้นไปอีกมาก ก็ไม่ได้ไปหวังผลว่า ณ ที่จุติจิตดับแล้ว กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมให้ผล ถูก หรือไม่
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นอย่างนั้น ไม่เข้าใจคำว่า “อนัตตา” ไม่เข้าใจคำว่า “ธรรม” มีเครื่องที่จะเตือนตลอดเวลาว่า เราเข้าใจคำว่า “อนัตตา” หรือเปล่า และเราเข้าใจคำว่า “ธรรม” หรือเปล่า รู้จักม้ากัณฐกะ หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นม้าที่พระพุทธเจ้าท่านทรงขี่ไป
ท่านอาจารย์ เป็นม้า ใช่หรือไม่ ตาย เกิดในสวรรค์ ลงมาเฝ้าฟังธรรม เป็นพระโสดาบัน เราจะคิดแคบๆ อย่างนี้ หรือ เป็นไปได้อย่างไร เป็นม้า แล้วทำไมเกิดบนสวรรค์ เมื่อเกิดบนสวรรค์ ลงมาฟังธรรม เป็นพระโสดาบัน เป็นได้อย่างไร เราอาจจะคิดสั้นๆ แคบๆ แค่นี้ แต่ธรรมไม่ได้สั้น หรือแคบแค่ขณะจิตเดียว หรือเพียงชาติเดียว
ผู้ฟัง คำถามสุดท้าย ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า จิตมี ๒ ประเภทใหญ่ คือ จิตที่เป็นวิถีจิต กับจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต
ท่านอาจารย์ เราสามารถจำแนกจิตได้โดยหลายนัย นัยหนึ่งที่จะเข้าใจ คือ จิตที่เป็นวิถี หมายถึงต้องอาศัยตา หรือหู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงสามารถรู้อารมณ์ที่กระทบทวารนั้นๆ ประเภทหนึ่ง และจิตซึ่งสามารถที่จะรู้อารมณ์ โดยไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใดเลย ก็ไม่ใช่วิถีจิต เพราะว่าไม่ได้อาศัยทวารหนึ่งทวารใด ถ้าเป็นวิถีจิต ก็ต้องรู้อารมณ์ ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ ไม่ใช่อารมณ์ของปฏิสนธิ
ผู้ฟัง ไม่ใช่วิถีจิต เป็นภวังค์ หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้นทำกิจแล้วก็ดับไป ภวังคกิจ หมายความว่า จิตเกิดขึ้นดำรงภพชาติ แม้ขณะไม่เห็น ไม่ได้ยินเลย เมื่อจุติจิตยังไม่เกิด ภวังคจิตต้องเกิดดำรงภพชาติ
ผู้ฟัง เวลาศึกษา มีเรื่องวิถีจิตที่เราเรียนไป จริงๆ พอศึกษาแล้วก็เห็นความเป็นอนัตตาตามที่รู้เรื่องราว แต่ก็ยังเป็นเราที่ไปรู้เรื่องราว
ท่านอาจารย์ พระโสดาบันหรือเปล่า ก็รู้กันอยู่แล้ว ใครไม่มีความเป็นเราด้วยความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน
ผู้ฟัง แต่ความรู้เรื่องราวเหล่านี้ จะเป็นเหตุให้เข้าใจได้ว่า สักวันหนึ่งจะต้องเป็นอนัตตา และเป็นธรรมจริงๆ
ท่านอาจารย์ เข้าใจขึ้นได้หรือไม่
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ พระโสดาบันเข้าใจ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อย่างอื่น ไปเป็นพระโสดาบัน แต่ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏโดยประจักษ์จริงๆ ในสิ่งที่ได้ฟังมาแล้วทั้งหมดว่าเป็นความจริง เป็นธรรมแต่ละลักษณะ เกิดขึ้นแล้วดับไป นี่คือความจริงที่กล่าว ที่ฟัง ที่ได้ยิน แต่เมื่อยังไม่ได้ประจักษ์ แล้วจะไปเป็นพระโสดาบัน และหมดความสงสัย หมดความเป็นตัวตนได้อย่างไร
ผู้ฟัง เมื่อเราฟังเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นวิถีจิต จะเป็นสังขารขันธ์ เป็นปัญญาให้เราเข้าใจแล้วจะน้อมไปที่จะเห็นความจริงอย่างนั้นจริงๆ
ท่านอาจารย์ จริง หรือเปล่าที่ได้ฟัง
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ อะไรรู้ว่าจริง
ผู้ฟัง ปัญญา
ท่านอาจารย์ แล้วปัญญารู้แค่ไหน
ผู้ฟัง ก็รู้เท่าที่รู้
ท่านอาจารย์ ถ้าฟังต่อไปอีก ปัญญาเจริญขึ้น หรือเปล่า สามารถจะแทงตลอดความจริงของสภาพธรรม ได้หรือไม่
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณเข้าใจหมดแล้วใช่หรือไม่ ที่ได้ฟังเมื่อสักครู่นี้
ผู้ฟัง ถ้าตอนนี้ก็คือไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจถูกต้อง อย่าใช้คำที่ยังไม่รู้ เพราะถ้าใช้ไป ก็ใช้อย่างไม่รู้ๆ เพราะฉะนั้นผิดหรือถูก แต่ละคำที่ใช้ละเอียดที่จะต้องเข้าใจจริงๆ ว่า หมายความว่าอะไร ต่างกัน หรือเหมือนกันอย่างไร เพราะว่าคุณอรวรรณพูดแน่นอน โมฆวาระ แต่อธิบายคำว่า “วาระ” อธิบายคำว่า “โมฆะ” แล้วจะได้เข้าใจว่า “โมฆวาระ” คืออะไร แต่ถ้าเราพูดแล้วก็ยังไม่รู้ว่า วาระคืออะไร รู้แต่ว่า จิตรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด นั่นคือวิถีจิตที่จะเกิดสืบต่อ เพราะเหตุว่าจะไม่มีวิถีจิตเกิดเพียงขณะเดียว จะเป็นปัจจัยให้จิตรู้อารมณ์ ซึ่งเป็นวิถีเดียวกัน รู้อารมณ์เดียวกันสืบต่อไป แล้วแต่ว่าจะมาก หรือจะน้อย ก็เป็นวาระต่างกันแต่ละครั้ง เพราะว่าจิตเกิดดับ บางกาลก็ไม่มาก บางกาลก็มาก รู้อารมณ์เดียวกันนั่นเอง เพราะว่าอารมณ์ดับไปก่อนก็ได้ ใช่หรือไม่ แล้วจะไปรู้อารมณ์ที่ดับไปแล้วได้อย่างไร จะเป็นวิถีจิตได้อย่างไร
การฟังต้องละเอียด และต้องเข้าใจ พอจะตอบได้หรือไม่ว่า วิถีจิตกับวาระคืออะไร
ผู้ฟัง คือในวิถีจิตแต่ละวิถีจิตอาจจะไม่มีวาระเลย
ท่านอาจารย์ วาระแปลว่าอะไร ไม่มีเลย แล้วก็พูดเรื่องวิถีจิต เวลาที่เป็นภวังคจิต เราจะใช้คำว่า “วาระ” หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช้ แล้วใช้วาระเมื่อไร
ผู้ฟัง เมื่อเป็นวิถีจิต
ท่านอาจารย์ เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ซึ่งไม่ใช่ขณะเดียว จึงเป็นวาระว่า จิตที่เกิดต่อที่รู้อารมณ์เดียวกัน มากหรือน้อย จึงต่างกันเป็นวาระต่างๆ บางวาระก็รู้อารมณ์เดียวกันน้อย ขณะไม่มาก บางวาระก็มาก จึงต่างกันเป็นวาระต่างๆ แต่ถ้าเป็นวิถีจิต หมายความถึง จิตที่ไม่ใช่ภวังคจิต ในวาระหนึ่งจะมีกี่วิถีจิต เพราะว่าต้องเป็นวิถีจิตเท่านั้นที่จะเป็นวาระ ภวังคจิตไม่เป็น ไม่ต้องไปนับวาระเวลาที่จิตเกิดดับดำรงภพชาติว่าจะเป็นวาระอะไร ใช่ หรือไม่ ก็ต้องมีความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่มั่นคงที่จะเข้าใจความเป็นธรรม
ธรรมไม่ใช่เรื่องที่รีบร้อน โดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย แล้วก็ไปจำชื่อ ไปคิดว่าเข้าใจแล้ว นั่นคือไม่เข้าใจ แต่ถ้าจะเข้าใจ ก็คือเข้าใจจริงๆ เพราะว่าแต่ละคำ หมายความถึงสภาพธรรมที่มีจริง เป็นจริงในชีวิตประจำวัน แม้แต่วิถีจิตก็เป็นจริง มีจริงในชีวิตประจำวัน แต่ว่าวาระก็มีจริง เป็นจริงในชีวิตประจำวัน แต่ละคำก็หมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นจริงให้เข้าใจให้ถูกต้อง ตอนนี้ไม่สงสัยแล้วใช่ หรือไม่ หรือยังสงสัยเรื่องวิถีจิตกับวาระ
ผู้ฟัง วาระก็หมายถึงว่า มากหรือน้อย
ท่านอาจารย์ วิถีจิตเกิดดับสืบต่อรู้อารมณ์เดียวกัน กี่ขณะก็แล้วแต่ จึงเป็นวาระสั้นบ้าง ยาวบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง
ผู้ฟัง การที่เราคิด เห็นเป็นคน เป็นโต๊ะ ทำให้ชีวิตเราดำเนินไปได้ในโลกนี้ ใช่หรือไม่ แต่ก็ไม่ใช่ของจริง เพราะเป็นคิด ตรงนี้ยังเข้าไม่ถึง
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วต้องเข้าใจธรรม เป็นอนัตตา ถ้าคิดที่จะหยุดคิดที่จะทำอะไร ก็คือไม่เข้าใจธรรมว่าเป็นอนัตตา ถูกต้อง หรือไม่
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เกิดมาไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยิน ไม่ต้องได้กลิ่น ไม่ต้องลิ้มรส ไม่ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ต้องคิดนึกเลยมี หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ ปกติธรรมดาทุกวัน เห็น บังคับได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นี่คือธรรม แต่ละวันผ่านไปโดยเราไม่รู้ความจริงว่า จิตเกิดขึ้น และรวดเร็วแค่ไหน จนกว่าจะได้ฟังความละเอียดว่า แม้ในขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ ไม่รู้อะไรเลยว่าแท้ที่จริงแล้ว ก่อนเห็นก็มีจิตเกิดแล้ว ที่เป็นวิถีจิต ก็ละเอียดต่อไปอีก แต่จริงๆ การฟังธรรม ไม่อยากจะให้ข้ามไปเร็วๆ ๆ ๆ แล้วก็ไปจำชื่อทั้งหลายไว้ แต่มีความเข้าใจความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ให้เห็นความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น อันนั้นจึงจะเป็นการฟังธรรมเพื่อรู้ความจริงของธรรม ไม่ใช่เพียงแต่รู้ชื่อ
ก็ขอถามที่ได้ฟังมาเมื่อสักครู่นี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่า ฟังแล้วมีความเข้าใจมั่นคง ไม่คลอนแคลน และไม่ต้องไปท่องอะไรเลย เมื่อมีความเข้าใจแล้ว วิถีจิตเกิดขึ้นทำกิจต่างๆ ที่ไม่ใช่ภวังคกิจ ขณะที่ไม่รู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ไม่ได้คิดนึก ขณะนั้นเป็นจิตหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ มีจิตเกิด เป็นวิถีจิต หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ อันนี้แน่นอนแล้ว เวลาที่เป็นวิถีจิต หมายความว่า ต้องเป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง เวลาเกิดชอบ เป็นวิถีจิตหรือเปล่า เกิดติดข้องเป็นวิถีจิตหรือเปล่า พอใจเป็นวิถีจิตหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เวลาโกรธ ไม่ชอบ ขุ่นเคืองใจ เป็นวิถีจิต หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นวิถีจิต
ท่านอาจารย์ จิตอื่นทั้งหมดที่จะได้ยิน เป็นวิถีจิต เมื่อจิตนั้นไม่ได้ทำปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และจุติกิจแล้ว เป็นวิถีจิตทั้งหมดเมตตา เห็นคนอื่นแล้วก็หวังดี เกื้อกูล ขณะนั้นเป็นวิถีจิต ไม่ใช่ภวังคจิต ก็จะเห็นได้ว่า เพียงแค่ขณะปฏิสนธิ ๑ ขณะ และจุติจิต ๑ ขณะ และขณะที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเลยทั้งสิ้น ขณะนั้นเป็นภวังค์
ขณะนี้ถ้าไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดเลย มีภวังคจิต หรือไม่มี ทั้งๆ ที่ไม่ได้ปรากฏเลย ใช่ไหม แต่ก็ต้องมีภวังค์คั่นแต่ละวาระ นี่เริ่มมีคำว่า “วาระ” เพราะเหตุว่าวาระ คือ การเกิดดับสืบต่อของวิถีจิตที่รู้อารมณ์ที่ปรากฏอารมณ์เดียวกัน เมื่อหมดแล้ว จิตไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้ทำกิจดีใจที่จะเป็นกุศล อกุศลใดๆ ขณะนั้นต้องมีภวังค์เกิดคั่น จนกว่าวิถีจิตวาระต่อไปจะเกิด แต่เร็วมากเลยขณะนี้ ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นวาระไหน และมีภวังค์คั่น นี่คือการฟังธรรมแล้ว เราจะรู้จนกระทั่งหมดความสงสัยว่าเป็นเรา ได้ หรือยัง เพียงแค่ฟังอย่างนี้ ไม่ได้ ปัญญาก็ต้องอบรมจนกระทั่งมีความเข้าใจจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นธรรม
ตอนนี้วาระไหน
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นต้องเป็นจักขุทวารวิถี แล้วก็เร็วมากเลย มีตทาลัมพนะ หรือไม่มีตทาลัมพนะก็รู้ไม่ได้ เพราะว่านี่เป็นชื่อใหม่ๆ แต่สามารถที่จะเข้าใจแม้ชั่วขณะที่เห็นว่าก่อนเห็น จิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นภวังค์
ท่านอาจารย์ ก่อนเห็นจิตเป็นภวังค์ และเมื่อรูปกระทบกับจักขุปสาท ต้องเป็นวัณณธาตุ คือ ที่กำลังปรากฏซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับ การเกิดดับจะเร็วสักแค่ไหน เพียงเกิดแล้วกระทบจักขุปสาท รูปยังไม่ดับ แต่ว่าการที่จะรู้รูปที่กระทบ ภวังคจิตรู้ไม่ได้ ถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นภวังค์ต้องดับขณะที่มีรูปกระทบภวังค์ ภวังค์ดับแล้ว ขณะที่กระทบ ภวังค์นั้นก็ดับ แล้วขณะต่อไป ก็จะเห็นทันทีไม่ได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360