พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
ตอนที่ ๓๔๔
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ ขณะที่มีรูปกระทบภวังค์ ภวังค์ดับแล้ว ขณะที่กระทบ ภวังค์นั้นก็ดับ แล้วขณะต่อไป ก็จะเห็นทันทีไม่ได้ เป็นภวังคจลนะ เริ่มที่จะไม่มีอารมณ์ของภวังค์ เพราะมีอารมณ์ใหม่กระทบทางตา ถ้าจะกล่าวถึงจักขุทวาร ขณะที่ภวังค์ที่กระทบ ซึ่งใช้คำว่า อตีตภวังค์ดับไป ภวังค์ที่เกิดต่อไม่ใช่วิถีจิต ยังไม่ใช่วิถีจิต ยังเป็นวิถีจิตไม่ได้ แต่เป็นภวังคจลนะ ยังคงเป็นภวังค์
ภวังค์เห็นสิ่งที่ปรากฏหรือเปล่า ไม่ ตราบใดที่เป็นภวังค์ จะไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางเลย ภวังคจลนะก็ไม่ได้รู้สิ่งที่ปรากฏ คือไม่ได้เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อภวังคจลนะเกิดแล้วดับ เพราะว่าจิตเกิดดับเร็วมาก สั้นมาก ภวังค์ขณะสุดท้ายจะไม่เป็นภวังค์อีกต่อไป เพราะว่าเป็นภวังค์ขณะสุดท้ายเกิดขึ้น จะมีอารมณ์ของภวังค์อีกต่อไปไม่ได้ ภวังค์สุดท้ายที่มีอารมณ์ของภวังค์ก็คือ ภวังคุปัจเฉทะ ต่อจากนั้นเป็นวิถีจิต
เราก็เริ่มที่จะค่อยๆ เข้าใจความรวดเร็วว่า ได้ยินชื่อ วิถีจิตๆ แต่จะมีชื่อใหม่ๆ ที่เป็นวิถีจิต เพราะว่าขณะนี้เราได้ยินปฏิสนธิจิต แล้วก็ภวังคจิต เพราะฉะนั้นชื่อของวิถีจิตก็จะต่างกันไปตามกิจหน้าที่ของจิตนั้นๆ เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับแล้ว ภวังค์เกิดสืบต่อได้หรือไม่ ไม่ได้ พอมีคำว่า ภวังคุปัจเฉทะ ความหมายคือ เป็นภวังค์ขณะสุดท้าย สิ้นสุดกระแสของภวังค์ จะเป็นภวังค์อีกต่อไปไม่ได้เลย แต่ภวังคุปัจเฉทะก็เป็นอนันตรปัจจัย จิตทุกขณะเป็นอนันตรปัจจัย คือ ทันทีที่ดับไป หมดไป ปราดไป ไม่เหลือเลย จิตขณะอื่นต้องเกิดสืบต่อ โดยจิตก่อนเป็นอนันตรปัจจัย ทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น จิตขณะต่อไปเป็นภวังคจิต หรือเป็นวิถีจิต ยังไม่มีชื่อ แค่จิตที่เกิดต่อจากภวังคุปัจเฉทะ เป็นวิถีจิต หรือเป็นภวังคจิต
ผู้ฟัง วิถีจิต
ท่านอาจารย์ ไม่ลืมแล้วใช่ หรือไม่ พรุ่งนี้ก็ไม่ลืม เพราะว่าพอภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว ภวังค์เกิดต่ออีกไม่ได้เลย จิตที่เกิดต่อต้องเป็นวิถีจิต แต่ยังไม่มีชื่อ วิถีจิตที่เกิดเพราะรูปกระทบกับจักขุปสาททางจักขุทวาร วิถีนั้นทั้งหมดที่จะเกิดสืบต่อกัน ที่จะรู้รูปที่กระทบ เป็นจักขุทวารวิถี ทีละ ๑ ขณะ ขณะแรกยังไม่สามารถจะเห็นได้ เพราะเพิ่งเป็นวิถีจิตแรก จากการที่ไม่รู้เลย ภวังคจิต ไม่มีอะไรปรากฏเลยทั้งสิ้น แต่เมื่อมีอารมณ์กระทบ เริ่มรู้สึกว่า มีอารมณ์กระทบ แต่ยังไม่เห็น จิตที่เป็นวิถีจิตแรกทางปัญจทวาร ก็มีชื่อรวมกันว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต อาวัชชนจิต คือ เพราะจิตนี้ทำอาวัชชนกิจ ต่อไปจะทราบว่า จิตทุกขณะทุกประเภทมีกิจ จิตไม่ได้เกิดขึ้นแล้วไม่ทำอะไรเลย แล้วก็ดับไป แต่จิตทุกขณะทุกประเภทเกิดขึ้นทำกิจหนึ่งกิจใด ตามหน้าที่ของจิตนั้นๆ แล้วดับ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่แล้วดับ จิตที่เกิดสืบต่อจากภวังคุปัจเฉทะ ทำอาวัชชนกิจ คือ นึกถึง หรือรู้ว่า มีอารมณ์กระทบที่ทวาร แต่ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ได้ลิ้มรส ยังไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่รู้ว่าอารมณ์กระทบ
นี่คือการรู้สึกตัวจากการที่อารมณ์ใดๆ ก็ไม่ปรากฏเลย จิตที่ทำอาวัชชนกิจ เมื่อทวารมี ๖ ทวาร ก็มีจิตที่ทำอาวัชชนกิจ ๒ ประเภท คือ ประเภทหนึ่งทำอาวัชชนกิจทาง ๕ ทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดต่อจากภวังคุปัจเฉทะ จิตนี้จึงชื่อว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่สามารถจะรู้อารมณ์อื่นได้เลย นอกจากอารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทาง จิตนี้รู้อารมณ์ได้ ๕ อารมณ์ แต่คิดนึกไม่ได้ รู้อารมณ์ทางมโนทวารไม่ได้ มีหน้าที่เพียงสามารถที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทวารนี้ เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต แต่เมื่ออารมณ์มี ๖ เวลาที่ไม่มีอารมณ์กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่คิดได้ หรือไม่ ขณะนั้นไม่ใช่ปัญจทวาราวัชชนจิต แต่ก็ต้องเป็นภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ กระแสของภวังค์สิ้นสุดลง ต่อจากนั้นมโนทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่ปัญจทวาราวัชชนจิต เกิดขึ้นคิด จึงชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิต
มีใครไปเปลี่ยนแปลงจิต ๒ อย่างนี้ ให้เป็นจิตประเภทเดียวกันได้ หรือไม่ นี่คือธรรม เพราะฉะนั้นถ้าฟังธรรม ก็คือธรรมต้องเป็นธรรมที่ใครจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย แค่วิถีจิตแรก เข้าใจหรือยัง ว่าไม่ใช่ภวังค์ เป็นวิถีจิต หลังจากที่ ภวังคุปัจเฉทะดับไป แล้วต่อจากนั้นถึงจะถึงชื่อเยอะๆ อีก ที่กล่าวกันไปเมื่อสักครู่นี้ ถึงชวนะ ตทาลัมพนะ แต่ต้องเป็นความเข้าใจที่ละเอียดว่า แม้ในขณะนี้ใครสามารถรู้ ปัญจทวาราวัชชนจิตได้
ผู้ฟัง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่ว่าคนอื่น แล้วแต่กำลังของปัญญา ไม่ใช่ทุกคนจะมีกำลังเท่ากัน ปัญญาสะสมมาเท่ากัน ที่จะรู้ได้อย่างเดียวกัน แม้แต่ในขั้นฟัง ก็ต้องฟังด้วยการรู้ว่า กำลังฟังธรรม สิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ และเข้าใจความเป็นธรรมขึ้น
เวลาที่พูดถึงวิถีจิต นึกถึงวิถีจิตแรก หรือเปล่า หรือไปนึกถึงอื่น ถ้านึกถึงอื่น ลืมวิถีจิตแรกว่ามี ใช่ หรือไม่ และเป็นวิถีจิตแรกด้วย ถ้าวันนี้จะไม่ลืมวิถีจิตแรก และรู้ว่า วิถีจิตแรกมี ๒ ประเภท ที่สามารถที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร ทั้ง ๕ ทวารได้ ก็เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต รำพึงถึง นึกถึง ใช้คำอะไรก็ได้ แต่หมายความว่า รู้ว่า อารมณ์กระทบทางทวารนั้น แต่ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน นี่เป็นวิถีจิตแรก ไม่มีได้ หรือไม่ พอภวังคุปัจเฉทะดับ ก็เป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เห็น ได้ยินเลย ได้ หรือไม่ ไม่ได้ นี่คือจิตต้องเกิดขึ้นตามลำดับ ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะรู้ หรือไม่รู้ ก็คือผู้ที่ตรัสรู้ได้ทรงแสดงความจริงนี้ไว้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า ๑ รูป มีอายุ ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์ รูปที่เป็นสภาวรูปที่มีจริงๆ มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง พอได้ยินคำบรรยายเกี่ยวกับเรื่องวาระว่า มีวาระสั้นยาว และเมื่อสักครู่ที่ว่า วาระที่ยาวที่สุด ที่ตทาลัมพนวาระ และที่ ๑๗ ขณะพอดี ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า รูปที่สั้นกว่า ๑๗ ขณะก็มีด้วย
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ หมายความว่ารูปกระทบแล้ว วิถีจิตยังไม่เกิด อายุของรูปก็หมดไปๆ ทีละขณะ
ผู้ฟัง และที่ว่าเกิดไม่ถึงตทาลัมพนะก็จะสั้นกว่า ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์ หมายความว่า จิตไม่ได้เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นครบทั้งหมด ตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนะ จนถึงตทาลัมพนะ เพราะว่ารูปดับไปก่อนแล้ว
ผู้ฟัง ดับก่อน ๑๗
ท่านอาจารย์ รูปต้องมีอายุ ๑๗ ขณะ จะนับตรงไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปนับตั้งแต่อตีตภวังค์ ตรงไหนได้หมด
ผู้ฟัง และวิถีก็ส่งต่อกัน
ท่านอาจารย์ วิถีจิตเกิดตามลำดับ เพราะปัจจัย
ผู้ฟัง เผอิญตอนนั้นรูปดับไปแล้ว ณ วาระที่ ...
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตจะไปรู้อารมณ์นั้นต่อไม่ได้ แต่รูปทุกรูปที่เป็นสภาวรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง คือต้อง ๑๗ แล้ว ถึงจะหมด
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นรูปไหน ที่ไหน
ผู้ฟัง ตรงตทาลัมพนวาระกับชวนวาระ จะสามารถสังเกต ว่ามีความต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ที่เห็น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง มีทั้งนามธรรม และรูปธรรม
ท่านอาจารย์ เฉพาะเห็น
ผู้ฟัง เห็นเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นจิตอะไร
ผู้ฟัง เป็นจักขุวิญญาณ
ท่านอาจารย์ ก่อนนั้นมีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม วิถีจิตแรกต้องมี ใช่หรือไม่ รู้ไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ แล้วตอนที่จะเป็นชวนะกับตทาลัมพนะ จะรู้ไหม
ผู้ฟัง อย่างเวลาเราละเมอ เรายังพอบอกคร่าวๆ ได้ใช่ไหมว่า ...
ท่านอาจารย์ เราพูดถึงเรื่อง แต่ไม่ได้พูดถึงจิตแต่ละขณะ ถ้าพูดถึงจิตแต่ละขณะ จะรู้จิตขณะไหนในขณะที่กำลังเห็น
ผู้ฟัง คือบอกไม่ได้เลยใช่หรือไม่ ก็ศึกษาตามที่ทรงแสดงไว้เท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง คำว่า “ภวังค์” และขณะที่หลับอยู่ก็สืบต่อตลอดใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นเป็นภวังคจิต ระหว่างที่จุติจิตยังไม่เกิด
ผู้ฟัง ถามในเรื่องวิถีจิต อย่างจักขุวิญญาณ เราทราบว่าเป็นวิบากจิต ซึ่งเกิดจากผลของกรรม อารมณ์ที่มากระทบ ก็จะมีอารมณ์ที่ดี และไม่ดี อยู่ที่ว่าเป็นกุศล หรืออกุศล เนื่องจากอารมณ์เป็นปรมัตถ์ ก็เลยสงสัยว่า ทำอย่างไรจะรู้ว่าสีนั้นดี หรือไม่ดี เช่น ทางตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้คุณณรงค์รู้ แต่ความจริง รูปมีทั้งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ หรือเปล่า
ผู้ฟัง หมายถึงรูปที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่รูปที่เกิดตรงมโนทวารที่คิดนึก ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เปลี่ยนสภาวะของรูปไม่ได้
ผู้ฟัง อย่างในชีวิตประจำวัน เวลาคุยกัน พอเราไปเจอเรื่องไม่ดี เขาบอกว่าเป็นผลของกรรม ซึ่งจริงๆ ตรงนี้เป็นคิดนึก ไม่ใช่ตรงปัญจทวาร
ท่านอาจารย์ ก็ต้องบอกเขาว่า ผลของกรรม คือ จิตได้ยิน แล้วสัมปฏิจฉันนะ แล้วสันตีรณะ ถ้าอยากจะคุยกันแบบนี้ ก็แบบนี้ ถ้าไม่อยากคุยกันแบบนี้ ก็คือว่า เรื่องที่ไม่ดีทั้งหลายที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ขณะนั้นเป็นการรับผลของกรรม แต่โดยการที่ได้ยินก่อน แล้วคิดนึก ถ้าได้ยินเรื่องดีๆ ให้ไปคิดนึกเรื่องไม่ดีได้ หรือไม่? ให้ไปโศกเศร้า กำลังได้ยินเรื่องไม่ดี ก็โศกเศร้า ได้ไหม หรือเพราะเรื่องนั้น เสียงนั้น จริงๆ แล้วต้องละเอียดกว่านั้นอีกว่า แม้เสียงที่ได้ยิน เฉพาะเสียงเป็นอิฏฐารมณ์ น่าพอใจ หรือเป็นอนิฏฐารมณ์ แต่หลังจากนั้นแล้วเป็นปัจจัยให้คิดอะไร ขณะที่คิดเป็นกุศล อกุศล จะดีใจ เสียใจ นั่นไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่ผลของกรรม แต่เมื่อประมวลว่า เหตุนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ที่ทำให้เกิดการเห็น การได้ยินต่อไป ในลักษณะไหน ก็ประมวลว่าเป็นผลของกรรม ถ้าขณะนั้นทำให้จิตใจเศร้าหมอง แต่ถ้าจะสนทนาแบบละเอียด ก็ต้องบอกว่า ขณะเห็นสิ่งที่ปรากฏเป็นอิฏฐารมณ์ จึงเป็นกุศลวิบาก ไม่ต้องเป็นเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก จบเรื่องวิบากไป ก็ต้องพูดถึงขณะจิต ถ้าจะสนทนาแบบนั้น
ผู้ฟัง เช่นเราได้กลิ่นหอมๆ ทางจมูก แต่กลิ่นหอมๆ ก็เป็นบัญญัติแล้ว ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ กลิ่นหอม ยังไม่ทันบัญญัติว่าอะไรเลย เปลี่ยนลักษณะของกลิ่นหอม ให้เป็นกลิ่นอื่นได้หรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าบอกว่า เป็นกลิ่นกุหลาบอย่างนี้ เป็นบัญญัติ
ท่านอาจารย์ ตัวกลิ่นจริงๆ ลักษณะจริงๆ ของรูปก็มี ๒ อย่าง อิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์
ผู้ฟัง จริงๆ แล้ว การศึกษาว่า วิถีจิตมีอย่างไร และมีกี่ประเภท จะเกื้อหนุนปัญญาอย่างไร
ท่านอาจารย์ รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง แต่จริงๆ แล้ว ส่วนละเอียดของวิถีจิต ไม่ว่าทางปัญจทวาร หรือ หรือทางมโนทวาร ก็เป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ฟังได้หรือไม่
ผู้ฟัง ฟังได้
ท่านอาจารย์ เข้าใจได้หรือไม่
ผู้ฟัง เข้าใจได้ แต่โดยจริงๆ แล้ว รู้สึกว่า วิถีจิตเป็นเรื่องที่ยาก และถ้าเกี่ยวกับสภาพธรรมแล้ว ไม่สามารถพิจารณาได้
ท่านอาจารย์ อะไรง่าย ถ้าวิถีจิตยาก อะไรง่าย
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี แต่ละคำควรจะได้พิจารณาเป็นความเข้าใจจริงๆ เพราะว่าถ้าเราเผิน เราก็ฟังเหมือนกับเราฟังธรรม เราเข้าใจธรรม แต่จริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เพราะว่าธรรมลึกซึ้ง แม้กำลังมี ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเข้าใจถูก เห็นถูก ถ้าไม่มีการฟัง และเข้าใจเป็นพื้นฐานตามลำดับขั้น ที่จะไปถึงการดับกิเลส หรือหมดกิเลส ถ้าไม่มีความเข้าใจจริงๆ ในความเป็นอนัตตา ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ ด้วยความไม่รู้
ธรรมเป็นเรื่องละเอียด เวลาฟังอยากจะฟังอย่างละเอียด หรืออยากจะฟังเพียงชื่อ หรือหัวข้อ หรือคำแปล โดยที่แม้สภาพธรรมขณะนี้ก็มีจริง ถ้าได้ฟังละเอียดขึ้น สามารถเห็นความเป็นอนัตตา ยิ่งขึ้นหรือเปล่า เพราะว่าเป็นสิ่งที่ยาก และละเอียด ไม่ควรประมาทเลย
ผู้ฟัง เมื่อศึกษาเรื่องวิถีจิต ก็ทราบว่า มีทางปัญจทวารกับทางมโนทวาร พอในชีวิตประจำวัน ก็มีความเป็นตัวตนที่พยายามหาสภาพธรรมเหล่านั้น ทั้งทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร ก็เลยมีความรู้สึกว่า จริงๆ แล้วการศึกษาวิถีจิตที่ถูก ควรจะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ คือเข้าใจธรรมที่กำลังฟัง ไม่ใช่ให้ไปหาเอง แต่เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง กำลังมีจริงๆ ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเป็นเรื่องธรรมที่มีจริง สามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะว่าไม่ใช่ต้องไปหาที่ไหนเลย กำลังมี ทุกคำที่ทรงแสดงไว้ เป็นเรื่องของสภาพธรรมในชีวิตประจำวันที่กำลังมี ให้เข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น แต่เป็นธาตุ หรือเป็นเป็นธรรม ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้
อ.วิชัย สอบถามท่านผู้ฟัง ไม่ทราบว่า วิถีจิตคืออะไร
ผู้ฟัง รู้แต่ชื่อ แต่จริงๆ แล้วก็ยังไม่รู้ลึกซึ้งเลย
อ.วิชัย ขณะนี้มีจิตใช่หรือไม่
ผู้ฟัง มี
อ.วิชัย เป็นวิถีจิต หรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
อ.วิชัย ที่รู้ว่าเป็น ก็ต้องเข้าใจความหมายของวิถีจิต
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ รู้โดยชื่อ
อ.วิชัย ขณะนี้มีจิตอะไรเกิดขึ้น
ผู้ฟัง จิตเห็น
อ.วิชัย จิตเห็นเป็นวิถีจิต หรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
อ.วิชัย อะไรจึงเป็นวิถีจิต
ผู้ฟัง เพราะมีการเห็น
อ.วิชัย จิตเห็นรู้อะไร
ผู้ฟัง จิตเห็นรู้สี
อ.วิชัย รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา รู้รูปารมณ์ ถ้าใช้ภาษาบาลี ถ้าเข้าใจความหมายของคำว่า จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ ใช่หรือไม่
ผู้ฟัง ต้องรู้อารมณ์
อ.วิชัย จิตที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้อารมณ์ มีหรือไม่ ไม่มี ดังนั้นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ มีอารมณ์อะไรบ้างที่จิตรู้ อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ ก็มีแสดงหลายอย่าง เช่น อารมณ์มี ๖ อย่างก็มี ก็คือ รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ โผฏฐัพพารมณ์ ๑ และธัมมารมณ์ ๑ ถ้าเข้าใจคำว่า วิถีจิต วิถีคือทาง จิตเป็นสภาพรู้ วิถีจิต คือ สภาพรู้ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ
ทวารมีกี่ทาง ที่จะให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ มี ๖ ทาง คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ถ้าเข้าใจความหมายของจิตเห็น เป็นวิถีจิต เพราะรู้ใช่ไหมว่า เป็นเพราะอะไร
ผู้ฟัง วิถีจิตเห็น
อ.วิชัย จิตเห็นที่กล่าวว่าเป็นวิถีจิต ในตอนแรก อันนี้พอเข้าใจเหตุผล หรือไม่ ว่า เหตุใดจิตเห็นจึงเป็นวิถีจิต วิถีจิต คือ อะไร
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วยังไม่เข้าใจ
อ.วิชัย วิถีจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ ซึ่งทางที่เรากล่าวแล้วมี ๖ ทาง คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทั้ง ๖ ทาง เป็นวิถีจิต ดังนั้นถ้าเรากล่าวว่า จิตเห็นเป็นวิถีจิต หรือไม่
ผู้ฟัง จิตเห็นเป็นวิถีจิต
อ.วิชัย เพราะอะไร จึงเป็นวิถีจิต
ผู้ฟัง เพราะจิตรู้
อ.วิชัย รู้อารมณ์ทางไหน
ผู้ฟัง ทางตา
อ.วิชัย ถ้าเรากล่าวว่า จิตใดก็ตามที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นวิถีจิต เพราะเหตุว่าเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ ซึ่งมี ๖ ทาง ขณะที่หลับสนิท รู้อารมณ์ทางทวารไหน ทางตาเห็นหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เห็น
อ.วิชัย ได้ยินหรือไม่
ผู้ฟัง หลับสนิทจะไม่ได้ยิน
อ.วิชัย ไม่รู้อะไรเลย โลกนี้จะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ แต่มีจิตหรือไม่
ผู้ฟัง มี
อ.วิชัย เป็นจิตอะไร
ผู้ฟัง ภวังคจิต
อ.วิชัย ภวังคจิตไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ภวังคจิตเป็นวิถีจิตหรือไม่
ผู้ฟัง ภวังคจิตไม่ใช่วิถีจิต
อ.วิชัย จิตที่เป็นภวังคจิตไม่ใช่วิถีจิต จิตที่ไม่ใช่วิถีจิตมี ๓ ขณะ คือ ขณะปฏิสนธิ ขณะที่เป็นภวังค์ และขณะที่จุติ ๓ ขณะนี้ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจเลย จึงไม่ใช่วิถีจิต
ผู้ฟัง อยากจะขอทราบโมฆวาระวิถีจิต
อ.วิชัย ก็หมายถึงว่า ขณะนั้นมีรูปมากระทบ แต่ไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นเลย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะกรุณาเพิ่มเติมตรงนี้
ท่านอาจารย์ ก็เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งยากที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะว่าต้องทราบว่าขณะนี้ สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรมทั้งหมด เมื่อคืนหลับสบาย หรือไม่ ใครหลับสบาย ใครหลับไม่สบายบ้าง คุณสุรีย์บอกว่า ร้อน ขณะนั้นหลับสนิท หรือเปล่า ตอนที่ร้อนนั้นไม่ใช่หลับสนิท
นี่คือความละเอียดของธรรมที่จะต้องเข้าใจตามความเป็นจริง ไม่ให้หลับได้ไหม คืนนี้จะไม่หลับ ได้หรือไม่ แสดงความเป็นอนัตตา ธรรมถ้าฟังแล้วเข้าใจในความเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราคงจะไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องชื่อมากมายในพระไตรปิฎก โดยที่ว่า ไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ก็ต้องมีความเข้าใจว่า ฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย เดี๋ยวนี้เอง กำลังมี แต่ไม่เคยรู้เลยว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย เป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะเท่านั้นจริงๆ
นี่คือประโยชน์ของชาตินี้ทั้งชาติ จะได้ฟังเรื่องธรรมมากมายสักเท่าไร จากพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ก็เพื่อให้มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า ไม่มีตัวตน แต่เป็นธรรม เพราะการละ การที่เคยยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด และเป็นเรา เป็นของเรา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ที่มั่นคง เป็นสัจจญาณ เป็นปัญญาที่รู้จริงๆ ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นว่า ขณะนี้เป็นธรรม แล้วก็รู้ได้ พูดแค่นี้ว่าเป็นธรรม ก็รับฟัง แต่เมื่อฟังแล้วค่อยๆ ฟังอีก พิจารณาอีก จนเห็นความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ว่าเราหวังอย่างหนึ่งอย่างใดเลย
ขอทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ฟังธรรมเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจ ทุกคนตอบได้ ขอถามต่อว่า ฟังธรรมเพื่อเข้าใจเท่านั้น หรือ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360