พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
ตอนที่ ๓๐๕
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ท่านอาจารย์ นี่ก็คือการเริ่มเข้าใจเรื่องจิต และกิจของจิตว่า เป็นจิตประเภทเดียวกัน เป็นผลของกรรมที่ทำให้เกิดเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ แล้วแต่ว่าใครจะเกิดเป็นอะไรก็ตามแต่ เกิดเป็นนก เกิดเป็นช้าง เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นมนุษย์ ก็แล้วแต่ว่าเป็นวิบากจิตที่ทำปฏิสนธิกิจแล้วดับไป
หลังจากนั้นแล้ว จิตหยุด ไม่เกิดได้ไหม ไม่มีทางเลย ต้องเกิด และจิตอื่นจะเกิดต่อก็ไม่ได้ นอกจากวิบากจิตที่เป็นผลของกรรมเดียวกันที่ยังไม่สิ้นสุด ก็ทำให้จิตที่เป็นวิบากประเภทเดียวกันนั้นเกิดสืบต่อ ทำภวังคกิจดำรงภพชาติ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยินเลย ยังไม่เป็นกิริยาจิตด้วย เป็นวิบากจิตดำรงภพชาติไปตลอด จนกว่าถึงกาลที่จะไม่เป็นวิบากจิต
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า เมื่อเข้าใจว่าอกุศลเป็นธรรมแล้ว ทีนี้อยากให้ท่านอาจารย์อธิบายถึงต่อไปที่จะถึงจุดของสัมมัปธานข้อ ๑ กับ ข้อ ๒ ที่ว่า มีวิริยะที่ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป และถ้ายังไม่เกิด ก็เพียรไม่ให้เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา ขณะนั้นเป็นหน้าที่ของวิริยเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับจิตที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งต่างกับวิริยะขณะอื่น จึงใช้คำว่า สัมมัปปธาน
ผู้ฟัง และที่ใช้ความเพียรว่า ถ้าอกุศลเกิดขึ้นแล้ว
ท่านอาจารย์ มีตัวเราใช่ไหมที่จะไปทำอะไร หรือมีความเห็นถูกว่า ขณะนั้นก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนี้มีวิริยเจตสิก หรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี รู้ หรือเปล่า ไม่รู้ เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็ต้องมีวิริยเจตสิก ไม่ใช่เราไปทำความเพียร ไม่มีใครทำเจตสิก หรือสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดได้เลย แต่ให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า ขณะนั้นต้องมีวิริยเจตสิกแล้วแน่นอน แล้วกำลังทำหน้าที่ของวิริยเจตสิกที่เป็นไปกับสติสัมปชัญญะ
อ.วิชัย การศึกษาธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เราคงไม่ลืมว่า ขณะนี้สภาพธรรมก็กำลังเป็นไปอยู่ ที่กล่าวว่า เป็นบุคคลนั้น เป็นบุคคลนี้ มีสิ่งของต่างๆ แต่ตามความเป็นจริง ธรรมคือได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การดับไป ก็คือ ไม่กลับมาอีกเลย อย่างเช่นขณะนี้มีจิตเกิดขึ้นเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ จิตที่เกิด หมายถึงว่าพร้อมด้วยปัจจัยแล้วจึงเกิด
เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาเรื่องปัจจัยต่างๆ ของสภาพธรรม ก็สามารถเข้าใจความเป็นอนัตตาจริงๆ ว่า ไม่มีบุคคลใดเลยที่จะบังคับ สร้าง หรือให้มีได้ แม้ความคิดในขณะนี้ แต่ละท่านก็มีความคิดแตกต่างกัน แต่ความคิดที่เป็นจิต เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ขณะนั้นได้เหตุปัจจัยก็เกิด ปัจจัยต่างๆ เช่น การสั่งสมมาให้มีความคิดต่างๆ หรือการฟัง การพิจารณา การไตร่ตรองธรรม เพราะเหตุว่าได้เหตุปัจจัยแล้ว อย่างเช่นแสดงเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นพิจารณา ไตร่ตรองในเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้ก็คือได้เหตุปัจจัยแล้ว สภาพธรรมนั้นจึงเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นการฟัง การพิจารณา เพื่อเข้าใจจริงๆ ว่า ขณะนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นเพียงธรรมที่ได้เหตุปัจจัยแล้วก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาเกิดอีก ดังนั้นดูเหมือนเราอยู่อายุยืนนาน มีเราตลอดเวลา แต่ตามความเป็นจริงสติเกิดรู้ว่า มีสภาพธรรมจริงๆ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไป ดังนั้นความเข้าใจธรรม อาจจะศึกษาแล้วเข้าใจ มีปัจจัยให้เกิดความคิดเรื่องราวต่างๆ แต่ก็รู้ความจริงว่า ขณะนั้นเพราะมีปัจจัย ความคิดนั้นๆ จึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ก็ได้มาจากการฟัง การพิจารณา การไตร่ตรอง แล้วปัญญาค่อยๆ รู้ขึ้นจากการได้ยินได้ฟัง
ผู้ฟัง ความเป็นตัวตน หรือมีตัวเรา จริงๆ แล้วจากการฟังธรรม รู้ได้บ้าง ไม่รู้บ้าง และในขณะที่บางทีเราคิดว่าเรารู้ว่า มีความเป็นตัวตน หรือตัวเรา ก็คือยังไม่ใช่ ก็ยังเป็นเราที่จะรู้ อยากจะกราบเรียนถาม ตัวตนอยู่ตรงไหน และเราอยู่ตรงไหน
ท่านอาจารย์ หลับสนิทมีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง หลับสนิทไม่ปรากฏ แต่บางคนแค่คำว่า หลับสนิท แล้วไม่ฝัน ก็ยังไม่เคยปรากฏ ก็ยังฝันตลอด มีบางคน
ท่านอาจารย์ ไม่เคยหลับสนิท หรือ หมายความว่าทั้งคืนฝัน ไม่มีสักช่วงหนึ่ง หรือที่หลับสนิท หรือว่าไม่รู้ว่า ขณะนั้นหลับสนิทแล้ว เพราะว่าฝันต่อกันอย่างรวดเร็ว ขณะนั้นมีความรู้อะไรหรือเปล่า เวลาที่ตื่นขึ้น
ผู้ฟัง ตื่นขึ้นก็ทราบว่าฝัน
ท่านอาจารย์ แล้วขณะนี้ที่หมายความว่า มีการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย ทางใจ แม้แต่การคิดนึกก็ตื่นแล้ว ขณะที่เพียงเห็น เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ยังไม่ทราบว่า ไม่เป็นเราเห็น มันเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรมที่เป็นสภาพรู้ ถ้าพูดถึงเห็น เอารูปร่างออกหมดเลย นก เราใช้คำว่า “นก” เพราะรูปร่างเป็นนก แต่ถ้าพูดถึงเห็น ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งหมด จะเป็นนก เป็นงู อะไรก็ตามแต่ เป็นคน เป็นเทพ เป็นเทวดา เห็นเป็นเห็น เห็นมีจริงๆ แต่ไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นด้วยความไม่รู้ จึงยึดถือสภาพธรรมทั้งหมดด้วยความไม่รู้ว่าเป็นเรา อุปาทานขันธ์ทั้งหมด ทั้งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ หมายความว่าเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ ก็ยึดถือสิ่งนั้น แล้วแต่ว่าขณะนั้นยึดถือด้วยโลภะ ยึดถือด้วยมานะ หรือยึดถือด้วยทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เพราะไม่รู้
ผู้ฟัง อย่างนั้นถ้าไม่ได้ฟังธรรม และไม่ได้ศึกษาจริงๆ ก็ยากมาก ถ้าจะกล่าวเพียง ทุกสิ่งเป็นธรรม ทุกคนกล่าวได้ แต่จริงๆ แล้วจะเข้าถึงสภาพที่ทุกสิ่งเป็นธรรม เป็นไปไม่ได้ถ้าไม่ได้ศึกษา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ที่ตรง เพียงได้ยินคำว่า “ธรรม” ไม่ได้หมายความว่าเรารู้แล้ว แต่ต้องศึกษาจริงๆ ว่าธรรมอยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้เป็นธรรม หรือเปล่า และปัญญารู้ธรรม หรือเข้าใจธรรม คือ รู้อะไร
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ท่านวิทยากรทุกท่านก็กรุณาบอกเรา สอนเรา ว่าในตำรา ในเป็นพระไตรปิฎกก็บอกให้ถอนตัวเราออก ให้ถอนชื่อเราออก คือ มันเข้าใจครับ แต่ยังแยกไม่ออก ไม่รู้จะถามอย่างไรจึงจะได้วิธีที่ดีที่สุด หรือได้แนวที่ดีที่สุด นอกจากให้ฟังจนเข้าใจ ก็ฟัง ฟังทุกวันๆ จนเหนื่อย
ท่านอาจารย์ แนวที่จะละความต้องการ หรือวิธีที่จะให้สมประสงค์ หรือความหวัง นี่หวัง หรือเปล่า หาวิธีนี่หวัง หรือเปล่า
ผู้ฟัง ผมก็ทำไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ให้ทำ
ผู้ฟัง แล้วเมื่อไรมันจะได้
ท่านอาจารย์ นั่นไง แสวงหาวิธีได้ หรือจะละความต้องการ จริงๆ แม้แต่คำว่า “สัจจะ” คำเดียว รู้ซึ้งแค่ไหน สัจจะ คือ จริง สิ่งที่มีจริงขณะนี้ ใครไปทำอะไรให้เกิดขึ้น หรือเปล่า หรือว่าสิ่งโดยสภาพที่เกิดแล้วเป็นอย่างนี้ เป็นอื่นไม่ได้ นี่คือสัจจะ
มีใครจะไปบิดเบือน จะไปทำอะไรอีกต่อไป ฟังจนอย่างนี้ว่า สัจจะ คือ สิ่งที่จริง เกิดแล้วเป็นอย่างนี้ เป็นอื่นไม่ได้ แค่นี้ยังจะไปทำอะไรอีก หรือเปล่า จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรอีก หรือเปล่า ถ้าเข้าใจจริงๆ ในความหมายของคำว่า “สัจจะ”
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ด้วยความเคารพ เข้าใจว่าเป็นสัจธรรมจริงๆ
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนไม่ได้
ผู้ฟัง เราก็รู้ เราถึงมาที่นี่
ท่านอาจารย์ แล้วจะไปทำอะไร
ผู้ฟัง ก็หาวิธีทาง
ท่านอาจารย์ นั่นผิดแล้ว เพราะไม่รู้ว่า สัจจะ คือ ความจริง สภาพจริงๆ ความลึกซึ้งของอรรถนี้ก็คือ สัจจะเป็นธรรม ซึ่งใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะนี้เป็นจริง เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ก็เป็นอย่างนี้ เป็นอื่นไม่ได้เลย ค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แต่ละสภาพที่เกิดขึ้นเป็นสัจจะทั้งหมด เป็นความจริงซึ่งใครก็เปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีใครที่หวัง หรือคิด หรือหาวิธี จะไปเปลี่ยนไปทำ นั่นคือไม่เข้าใจความหมายของสัจจะ ไม่เข้าใจความหมายของธรรมด้วย ก็มีผมหวัง ผมอย่างนั้น ผมอย่างนี้ แต่ลองหาจริงๆ ตรงไหนเป็นผู้ถาม
ผู้ฟัง คิดว่า ถ้าท่านอาจารย์ถามตรงไปตรงมากับทุกคน ใน ๑๐๐ คนในห้อง คิดว่า คำถามคงเหมือนผม คงอยากหาวิธีอย่างไรสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่กล้าพูด
ท่านอาจารย์ คนที่เลิกหวังก็มีมาก ไม่ต้องไปหวังอะไรเลย ค่อยๆ เข้าใจความจริง สบายออก ไม่ต้องไปทำอะไรให้วุ่นวายเดือดร้อน มีสิ่งที่ปรากฏให้เข้าใจให้ถูกต้องเท่านั้นเอง หมดหวังดีไหม หรือไม่อยากจะหมดหวังเลย อยากหวังต่อไปเรื่อยๆ ด้วยความเป็นเรายังอยู่ เรายังมี เอาเราออกไปไม่ได้ เมื่อไรเราจะเป็นอย่างนั้น เมื่อไรเราจะรู้อย่างนี้
ผู้ฟัง ขณะที่เราไม่รู้นี่ก็มากมายมหาศาล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหวังอะไร
ผู้ฟัง หวังที่จะรู้
ท่านอาจารย์ หวังแล้วจะสมหวังไหม
ผู้ฟัง ไม่สมหวังแน่นอน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นเหตุเป็นผลที่จะหวังต่อไป หรือเปล่า
ผู้ฟัง แต่ทุกสิ่งก็ห้ามเหตุ และปัจจัยไม่ได้ แล้วบังคับบัญชาไม่ได้ด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ถึงการที่จะประจักษ์ว่า ขณะนั้นเป็นธรรม ปัญญามีเพียงแค่นึกขึ้นมาได้ว่า เป็นจิต เจตสิก รูป ที่ฟังมาทั้งหมดเป็นสังขารขันธ์ ซึ่งไม่ใช่เราพยายามไปสร้าง ไปทำ หวังจะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ตามกำลังของความเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นฟังธรรมหลายปี เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เกิดคิด เป็นจิต เจตสิก รูปเท่านั้น คือ ปัญญามีระดับที่จะระลึกได้เพียงเท่านั้น แต่จะให้เป็นปัญญาถึงขั้นที่จะประจักษ์ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน ยังไม่ถึงความเป็นปัจจัยที่จะทำให้ความรู้อย่างนั้นเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นยิ่งหวังยิ่งทุกข์ เพราะว่าอย่างไรๆ ก็ไม่ถึง เป็นการเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อย่าลืม มีสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลได้ ไม่ใช่เพราะหวัง เมื่อไรจะรู้อย่างนั้น แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นเครื่องยืนยันปัญญาที่ได้สะสมมา ระดับไหน ก็เป็นจริงระดับนั้น แล้วจะเห็นตามความเป็นจริงได้ การที่จะรู้ลักษณะของธาตุที่เป็นสภาพรู้ที่กำลังเห็น ไม่ใช่ง่าย มีจริง เกิดขึ้นทำกิจนี้ในขณะที่กำลังเห็น ความไม่รู้ก็ไม่สามารถที่จะประจักษ์ในความเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเห็นแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้นจะฟังอีกนานเท่าไร ไม่ใช่เรื่องของกาลเวลา เราฟังมาเท่านั้นเท่านี้ แต่เป็นเรื่องของความเข้าใจที่รู้ว่า ปัญญาจะเจริญ ไม่ใช่รู้อื่น แต่จะต้องสามารถประจักษ์ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้เอง และไม่ใช่ดังหวังด้วย แต่การที่จะเป็นผู้ตรงว่า ที่ได้ฟังมาแล้วทั้งหมดสามารถจะปรุงแต่งได้แค่ไหน ได้แค่ที่จะไม่คิดถึงอย่างอื่น แต่มีลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ให้เริ่มค่อยๆ เข้าใจสิ่งนั้น โดยที่ยังไม่เป็นสิ่งอื่น นั่นคือลักษณะของสติสัมปชัญญะ และปัญญา ซึ่งวันหนึ่งก็สามารถประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเห็นได้ และสภาพธรรมอื่นๆ โดยการละคลายความไม่รู้ ไม่ใช่โดยการหวังตลอดเวลา และไม่สามารถเป็นอย่างที่หวังได้ เพราะเป็นเรื่องของปัญญา ทุกคนลืมเรื่องปัญญาหมดเลย จะให้มีสติเยอะๆ จะให้เข้าใจทันที จะให้ประจักษ์แจ้ง แต่ว่าปัญญา คือ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ข้ามไปหมด เพราะฉะนั้นนั่นไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้ความจริงได้
ผู้ฟัง เข้าใจ แต่ว่า
ท่านอาจารย์ แล้วรู้ หรือยัง คุณเข็มอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง คุณเข็มไม่มี
ท่านอาจารย์ แล้วทำไมพูดชื่อคุณเข็ม
ผู้ฟัง เพียงแค่สมมติ
ท่านอาจารย์ อยู่ที่คิด ถ้าไม่คิด จะมีอะไรไหมสักอย่างเดียว สิ่งที่ปรากฏก็เพียงปรากฏ จะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดได้อย่างไร ในเมื่อลักษณะจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถปรากฏเมื่อไร เมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้กระทบกับจักขุปสาท ถ้าไม่มีจักขุปสาท จิตเห็นเกิดขึ้นไม่ได้เลย สิ่งที่ปรากฏทางตา แม้มีจริง ก็ไม่ปรากฏ ถึงแม้ปรากฏ ไม่รู้ความจริง ก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยตลอด ด้วยความคิดนึก จะคิดว่าเป็นโต๊ะ จะคิดว่าเป็นคุณเข็ม จะคิดว่าเป็นดอกกุหลาบ จะคิดว่าอะไร ก็เพราะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วคิด เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า สัจจะ ธรรมที่มีจริง มีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าคุณเข็มอยู่ที่ไหน ใครควรจะตอบ คนที่เข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะตอบได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ก็ทราบแล้วใช่ไหมว่า คุณเข็มอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง อยู่ที่คิด
ท่านอาจารย์ อยู่ที่คิด
ผู้ฟัง ในขณะที่คิด ก็คิดอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่ได้รู้เลยว่า สภาพนั้นเป็นสภาพคิดนึก มันอยู่ในเรื่องราวบัญญัติ เรื่องราวทั้งหลายหมดเลย
ท่านอาจารย์ จะเปลี่ยนแปลงขณะนั้นให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม
ผู้ฟัง จริงๆ เปลี่ยนไม่ได้ แต่ว่าท่านอาจารย์ช่วยเกื้อกูลในสภาพความคิดนึกค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าขณะใดที่ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่ได้กลิ่น ไม่ใช่ลิ้มรส ไม่ใช่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ขณะนั้นคิด ทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้นเห็นนี่สั้นมาก เราไม่รู้เลย ไม่มีทางจะรู้ได้ ทั้งๆ ที่ความจริงเป็นอย่างนี้ เพราะต้องเป็นปัญญาที่ได้อบรมแล้ว สามารถแทงตลอดความจริงนี้ได้ เพราะละคลายความไม่รู้ แต่ถ้ายังเต็มไปด้วยความไม่รู้ แม้สภาพธรรมนี้ปรากฏ ก็ไม่เคยเข้าใจ นึกถึงเรื่องอื่นไปทันที ตลอด ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็ตามแต่ ไม่มีขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นก็เป็นโลกของความคิดนึก ว่าสิ่งที่ปรากฏเกิดดับสืบต่อเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง แล้วก็จะมีความเข้าใจ หรือความเห็นอย่างนี้ สัญญาความจำอย่างนี้ ซึ่งเป็นอัตตสัญญา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดตลอด จนกว่าความเข้าใจจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่มีเราด้วย มีแต่ธรรม ต้องอาศัยการอบรมเป็นกาลเวลาที่ยาวนาน จิรกาลภาวนา เพราะเหตุว่าสะสมความไม่รู้มาจีรกาลเหมือนกัน นานแสนนานด้วย
ผู้ฟัง ดิฉันว่าเรื่องคิดนึกเป็นเรื่องที่เข้าใจยากจริงๆ ท่านอาจารย์ก็บอก ถ้าขณะที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ก็คิดนึกทั้งนั้น ก็คิด ขณะนี้นั่งอยู่ตรงนี้ แล้วเคยไปเชียงใหม่ และขณะนี้ไม่ได้เห็นลักษณะภูมิประเทศของเชียงใหม่ นั่นเป็นคิดนึก ก็ยังไม่เข้าใจลักษณะคิดนึก เลยมาเหมาเอาว่า เป็นมโนทวาร เป็นนามธรรมเท่านั้น มันติดอยู่ตรงนี้
ท่านอาจารย์ คิดแล้วก็บอก ไม่เข้าใจ ความจริงเพราะไม่รู้สภาพของนามธรรมทั้งหมด เห็นเป็นเรา หรือว่าเป็นธรรม ที่เป็นธาตุที่สามารถเกิดขึ้นเห็น แล้วถ้าธาตุคิดเกิดขึ้น นามธาตุเท่านั้นที่จะคิดได้ รูปธาตุคิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นสภาพรู้ หรือธาตุรู้มีจริงๆ และสามารถรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏให้รู้ในขณะนั้นแต่ละอย่าง เพราะเหตุว่าจริงๆ เราไม่ได้มีแต่เห็น เห็นนิดเดียว หลังจากนั้นคิดหมด แล้วจะบอก คิดไม่มีก็ไม่ได้ แต่เพราะไม่รู้ คิดเป็นธรรม เป็นนามธรรม ก็เลยหาไม่เจอ ก็เลยไม่รู้ว่าคิดเมื่อไร หรือไม่รู้ คิดมีลักษณะอย่างไร แต่ตามความจริง คิดก็เป็นธาตุ หรือธรรมที่เป็นนามธรรม ซึ่งใครก็บังคับไม่ให้คิดเกิดขึ้นไม่ได้
ผู้ฟัง คิดเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม
ท่านอาจารย์ มีจริงๆ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นที่บอกเป็นเรื่องราว ขณะนั้นต้องมีจิตที่คิด
ท่านอาจารย์ แน่นอน มีขณะนี้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกำลังปรากฏเพราะมีจิตเห็น เพราะฉะนั้นขณะนั้นที่มีเรื่อง ก็เพราะจิตคิดเฉพาะเรื่องนั้น
ผู้ฟัง ทีนี้ดิฉันจะเน้นตรงที่ ขณะที่กล่าว สภาพที่คิดไม่ใช่ธรรม จริงๆ ไม่ใช่ ต้องกลับมาคิด ขณะที่มีเรื่องราว มีจิตที่คิดแล้ว
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง เข้าใจให้มากกว่านี้ก็ไม่ได้ เข้าใจเป็นนามธรรมอีก ก็กลับมาตรงนี้อีก
ท่านอาจารย์ ไปติดที่ชื่อ นามธรรม แต่ตัวจริงเป็นนามธรรมที่คิด
ผู้ฟัง แต่ลักษณะของนามธรรมที่ท่านอาจารย์กล่าว เรายังไม่รู้ตรงนั้น เพราะฉะนั้นขั้นเข้าใจก็ต้องไปตรงนี้ก่อน
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว สัจจะ คำเดียว ก็คือความจริง เพราะฉะนั้นหาความจริงเดี๋ยวนี้ ต้องมีแน่นอน หาพบ ก็คือรู้ว่า สิ่งนั้นจริง เป็นสัจธรรม อะไรบ้าง ต้องละเอียดด้วย หาจริงแต่ไม่เจอสักอันหนึ่ง บอกไม่ได้ก็ไม่ถูก ใช่ไหม แต่ว่ามีจริงขณะนี้ อะไรที่จริง
ผู้ฟัง ดิฉันเห็นความสำคัญ ถ้าเราฟังเรื่องราวไปเรื่อยๆ ตรงนี้ แต่ไม่เน้น หรือมาทำความเข้าใจกับสภาพธรรมที่ปรากฏตรงนี้ ก็ดูเหมือนเรื่องต่างๆ ไม่มีประโยชน์เลยที่ได้ศึกษามา เพราะฉะนั้นทุกคนที่ฟังตรงนี้ จะไปบังคับให้คิดตรงนี้ไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือต้องเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ต้องละเอียด ไม่ใช่การฟังธรรมไม่มีประโยชน์อะไรเหลือเลย ไม่ใช่อย่างนั้น ฟังแล้วเข้าใจถูกต้อง หรือเปล่า หรือ จำชื่อ เพราะอาจจะคิดว่ากำลังศึกษาธรรม หรือฟังธรรม แต่ไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่รู้อะไรเป็นธรรม แต่ว่ามีชื่อเยอะ ใช่ไหม อย่างสิ่งที่มีจริง ก็เป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ นี่คือจำชื่อสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ แต่ถ้าบอกว่าขณะนี้เห็น สงสัยใช่ไหม เห็นไหม เมื่อกี้นี้เราไปจำชื่อเท่านั้นเองว่า สิ่งที่มีจริง มีแน่นอน เป็นสภาพรู้ และไม่ใช่สภาพที่ไม่ใช่สภาพรู้ จำชื่อ แต่แทนที่จะไปจำชื่อ เดี๋ยวนี้เห็นมี จริง เป็นสัจจะ ความจริงก็คือ มีสิ่งที่ปรากฏ กำลังปรากฏด้วย เพราะจิตเห็น เพราะฉะนั้นเห็นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เคยรู้เลย ไม่รู้เลยว่า ลักษณะของธาตุชนิดนี้ซึ่งไม่มีรูปร่างเลย แต่สามารถที่จะเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ เพราะว่าจิตจะเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ และในขณะที่ไม่มีอย่างอื่นเลย มีเพียงจิตเกิดขึ้น ธาตุที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน ขณะนั้นปรากฏความเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าอย่างอื่นไม่มี
นี่คือความจริงของสภาพธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งต้องอาศัยการฟัง แม้ขณะนี้มีเห็น แต่ปัญญายังไม่ถึงระดับขั้นที่จะรู้ลักษณะของเห็น เพียงเริ่มฟังแล้วเข้าใจว่า มีเห็น และสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่เห็น สิ่งที่ปรากฏ ปรากฏเพราะจิตเห็น นามธรรมที่เห็นเกิดขึ้น สามารถเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จึงปรากฏได้ นี่ก็เป็นความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ แต่ยังไม่รู้ลักษณะของสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามที่กล่าวเลย แต่ถ้าเป็นในครั้งพุทธกาล ไม่มีตัวหนังสือ ยังไม่มีคำว่า “นามธรรม” ไม่มีคำว่า “รูปธรรม” แต่มีสั จธรรม คือ เห็น เพราะฉะนั้นเมื่อตรัสถามว่า สิ่งที่ปรากฏเที่ยงไหม ถ้าผู้นั้นมีปัญญาถึงระดับที่รู้ว่า เห็นไม่ใช่ได้ยิน และไม่ใช่เพียงขั้นฟังเข้าใจ แต่สะสมมาที่จะกล่าวด้วยปัญญาของตนเองว่า เห็นไม่เที่ยง สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่เที่ยง เป็นคำจริงของผู้ที่รู้จริง แต่ผู้ที่ยังไม่รู้ก็จำเรื่องราวของคำจริงนั้นมาพิจารณาว่า จริงแน่นอน แต่ก็ต้องรู้ด้วยว่า ยังไม่ได้ประจักษ์ความจริงนั้นเลย เพียงแต่เริ่มที่จะรู้ว่า มีจริงๆ แต่ยังไม่ถึงการที่จะประจักษ์แจ้งสภาพที่จริงนั้น เพราะว่าปัญญามีหลายระดับ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360