พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
ตอนที่ ๓๐๖
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ท่านอาจารย์ แต่ผู้ที่ยังไม่รู้ก็จำเรื่องราวของคำจริงนั้นมาพิจารณาว่า จริงแน่นอน แต่ก็ต้องรู้ด้วยว่า ยังไม่ได้ประจักษ์ความจริงนั้นเลย เพียงแต่เริ่มที่จะรู้ว่า มีจริงๆ แต่ยังไม่ถึงการที่จะประจักษ์แจ้งสภาพที่จริงนั้น เพราะว่าปัญญามีหลายระดับ ถ้าไม่อาศัยการฟัง ค่อยๆ เข้าใจก่อน ก็จะไม่มีการที่จะประจักษ์ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมซึ่งเป็นธรรม
ผู้ฟัง เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้ ดิฉันมีความคิดว่า ศึกษามานานแล้ว รู้ว่า ปัญญาของเรายังไม่มั่นคงที่จะเชื่อว่า ขณะนี้ต้องมั่นคงตรงสัจจะ คือ สภาพธรรม ๖ ทวาร คิดว่ายังไม่มั่นคงตรงนี้ที่ว่า เป็นทางที่จะเดิน ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ศึกษามามาก แต่ก็ทราบว่าวันๆ หนึ่งก็ไม่ได้มาพิจารณาว่า อะไรปรากฏในขณะนี้เลย ดิฉันคิดว่า ปัญญายังไม่ถึงที่จะให้เข้าใจตรงนี้
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่ถึงระดับขั้นที่จะสามารถประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม การฟังเข้าใจมีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ เพราะเหตุว่ารู้ว่า ธรรมอยู่ที่ไหน และคืออะไร เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เพียงชื่อ จิต ๘๙ ไม่ใช่แค่นั้น เป็นเพียงแค่จำชื่อ โดยที่ไม่รู้ลักษณะของจิตประเภทหนึ่งประเภทใดเลยทั้งสิ้น แต่อาศัยการฟังเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงขณะนี้เป็นสัจจะ คือ ต่างกันที่ภาษา สัจจะ คือ จริง ในภาษาบาลี ภาษาไทยก็เป็นสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงขณะนี้ รู้ความจริงของสิ่งนั้น หรือยัง เมื่อยังไม่รู้ จะรู้ได้อย่างไร หรือเมื่อไม่รู้ ก็ยากนัก ไม่สนใจดีกว่า ก็คือไม่รู้ดีกว่า ไปกี่ภพกี่ชาติในแสนโกฏิกัปป์ ก็คือไม่รู้ดีกว่าอยู่นั่นเอง แต่ผู้ที่เห็นประโยชน์ และรู้ว่า เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง ควรรู้ หรือไม่ควรรู้ และถ้าไม่รู้ มีความเห็นผิดว่าเป็นเรา เมื่อมีความเป็นเราแล้ว กิเลสทั้งหลายจะไม่เจริญหรือ ในเมื่อมีเรา ก็มีความรักตัวเรา มีความต้องการทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเรา อกุศลทั้งหลายก็เจริญขึ้น เพราะความไม่รู้
ผู้ฟัง ดิฉันก็กราบท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์ก็กรุณาพูดตอกย้ำถึงสภาพธรรมที่ปรากฏ แม้จะเข้าใจแล้ว แต่ก็อย่างที่กล่าวว่า ไม่มีเหตุปัจจัยทำให้ระลึกถึงตรงนี้ แต่ท่านที่ฟังต้องมั่นใจว่า ต้องระลึกว่าอะไรปรากฏ ก็มีอะไรต่างๆ มากมาย
ท่านอาจารย์ แล้วก็อยู่ที่ศรัทธา ในขั้นการฟังเห็นประโยชน์ไหม ว่าทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งซึ่งคนอื่นไม่สามารถทำให้ความเข้าใจอย่างนี้เกิดขึ้นได้เลย และศรัทธาที่จะฟังต่อไปก็มีไม่ได้ ถ้าไม่เห็นประโยชน์ ศรัทธาที่เพิ่มขึ้น เจริญขึ้นมาจากไหน ก็มาจากความเข้าใจสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุด คือ ความเห็นที่ถูกต้องในสภาพธรรมที่มี จนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งความจริงได้ ศรัทธาก็จะเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือการที่จะเข้าใจว่า ไม่มีเรา เนื่องจากเรียนแล้วก็ทราบว่า เป็นจิตที่เกิดดับแต่ละขณะ ถ้าเรายังไม่มีปัญญาพอที่จะรู้ว่า จิตขณะไหนเป็นลักษณะใด ก็ยังเป็นตัวเราอยู่นั่นเอง
ท่านอาจารย์ ก็รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ไม่หลอกตัวเอง คือ ปัญญาระดับไหน ก็สามารถเป็นปัจจัย เป็นสังขารขันธ์ทำให้เกิดตรึกไตร่ตรอง ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ รู้ความต่างกันว่า นี่คือปัญญาขั้นฟัง ยังไม่ใช่ขั้นที่จะละการยึดถือสภาพธรรม เพราะรู้ชัดแทงตลอด สัจธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ฟังแล้วก็ประทับตรงที่ท่านอาจารย์ถามย้ำว่า คุณเข็มมีไหม คุณเข็มก็ไม่มี มีแต่สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วสัญญาที่จำเอาไว้ และเป็นสภาพคิดนึก มันเป็นอย่างนี้ ถ้าท่านอาจารย์ถามดิฉัน ดิฉันก็จะตอบลักษณะนี้ เป็นความจำ และเป็นสภาพคิดนึก นี่ทำให้เห็นสภาพที่ไม่มีตัวตน
ท่านอาจารย์ อันนี้กำลังปรุงแต่งเป็นสังขารขันธ์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ การฟังต้องรู้ ประโยชน์คือความเข้าใจถูกว่า อะไรเป็นธรรม ไม่ใช่ตัวหนังสือ เรื่องราว แต่ตัวจริงๆ ของธรรมมี และก็เกิดดับสืบต่อ
อ.ธิดารัตน์ ถ้าหากว่า บุคคลที่สติปัฏฐานก็ยังไม่เคยเกิดเลยแม้กระทั่งในขณะปกติ แล้วในขณะที่ฝันซึ่งเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร สติจะไประลึกรู้สภาพที่คิดได้ก่อนหรือ
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครบอกว่า ได้ก่อนเลย
อ.ธิดารัตน์ ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า ถ้าหากว่าเวลาปกติจะต้องมีสติปัฏฐาน ที่รู้แม้กระทั่งขณะที่มีสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นปกติแล้ว
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานเป็นเรื่องละ เป็นปัญญาที่สามารถที่จะเห็นถูกแล้วละ เพราะฉะนั้นจะไม่มีการว่าเมื่อไร จะหลับ จะตื่น จะฝัน จะก่อน จะหลัง เพราะเหตุว่าแต่ละคนสะสมสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่า ระดับของปัญญาที่ได้สะสมมาแล้ว พร้อมที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดเมื่อไร ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย แต่ว่าปกติธรรมดา อย่างนี้ๆ ก็ยังไม่รู้เลย ก็ลองคิดดูก็แล้วกันว่า จะมีกำลังจนกระทั่งสามารถเข้าใจสภาพคิด หรือเปล่า เพราะว่าจะเป็นปัญหาอยู่เสมอในเรื่องคิด เป็นเรื่องที่ชินต่อเรื่องราว ไม่รู้เลยว่า แม้แต่สักคำหนึ่งที่เกิดคิดเป็นคำๆ ก็เพราะจิตในขณะนั้นคิด จึงได้ปรากฏเป็นเรื่องราวยาวมาก ไม่รู้จบ เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมีความหวัง หรือเป็นเรา หรือเป็นตัวตน แต่ทั้งหมดคือเรื่องละ แม้แต่ขณะนั้นจะรู้ ก็คือละ เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง การที่จิตเห็นแล้วคิดนึก จะเป็นทั้งกุศล และอกุศลได้ทั้ง ๒ อย่าง ใช่ไหม ในขณะที่เกิดปัญญาก็ควรจะเป็นกุศล แต่ถ้าสังขารธรรมปรุงแต่งแล้ว ไม่เกิดปัญญา เกิดเห็นว่าสนุกรื่นเริง ก็ควรจะเป็นอกุศล ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่ต้องเข้าใจความต่างของกุศลจิต และอกุศลจิต มิฉะนั้นเราก็อาจจะไปเข้าใจว่า อกุศลเป็นกุศลได้ ต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะรู้ว่า อกุศลจิตต่างกับกุศลจิต เพราะว่าเป็นโลภะ ก็เป็นอกุศล บางคนคิดว่า โทสะเท่านั้นที่เป็นอกุศล ความจริงขณะที่มีความติดข้องในสิ่งใดๆ ก็ตาม เพราะว่าทุกอย่างสามารถเป็นที่ตั้งของความยินดี คือ โลภะได้ เว้นโลกุตตรธรรมเท่านั้น
อ.กุลวิไล ที่กล่าวว่า การศึกษาพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ทั้งหมดก็ไม่พ้นสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเรียนให้ท่านอาจารย์ช่วยขยายความอีกสักครั้ง เพราะว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เพราะว่าสภาพธรรมมีลักษณะเป็นปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีธรรม จะมีอะไรไหม
อ.กุลวิไล ไม่มี
ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี แต่เมื่อมีแล้ว ก็มีทั้งกุศลธรรม และอกุศลธรรม เพราะฉะนั้นสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกำจัดให้หมดสิ้นไป ก็ต้องทรงแสดงไว้โดยประการทั้งปวง ทั้งโดยนัยของพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระวินัยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจาสำหรับเพศบรรพชิต ซึ่งต่างกับคฤหัสถ์ นี่เป็นความต่างกัน ไม่ใช่ต่างกันโดยจีวร แต่ว่าต่างกันโดยความประพฤติทางกาย ทางวาจา ซึ่งก็ต้องเกิดมาจากจิตนั่นเอง ถ้าจิตที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น กายวาจาที่ไหวไปก็เป็นอกุศล และสำหรับผู้ที่มีเจตนาสะสมมาที่จะอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต ก็เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยใหญ่ ที่จะสามารถจะดำเนินชีวิตไม่ใช่เพียงการขัดเกลาอกุศลโดยการอบรมเจริญปัญญาในเพศคฤหัสถ์ แต่ยังขัดเกลาในการให้ชีวิตในวันหนึ่งๆ เป็นไปทั้งกาย วาจา ตามพระวินัยด้วย
แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีอัธยาศัยอย่างนั้นจึงมีความประพฤติเป็นไปตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า สิ่งใดเหมาะควรกับเพศบรรพชิต ก็ต้องประพฤติปฏิบัติตามสมควร นั่นก็เป็นส่วนของพระวินัย แต่คฤหัสถ์ก็สามารถที่จะศึกษาพระวินัยส่วนใดซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงาม ก็คงไม่จำกัดเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น ใครก็ตามก็สามารถเห็นว่า เป็นความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่เหมาะสม แม้เป็นคฤหัสถ์ก็ควรจะประพฤติปฏิบัติตามด้วย โดยไม่จำกัด แต่ไม่ต้องไปนับกี่ข้อ เพราะว่าบางคนคิดว่าสำหรับอุบาสกอุบาสิกาก็เป็นนิจศีล ๕ ข้อ หรือถ้ามีศรัทธามากกว่านั้น ก็เป็น ๘ ข้อ คือ ศีลอุโบสถ หรือศีล ๘ หรือว่าบางคนก็อาจจะคิดว่า รักษาศีล ๑๐ อย่างสามเณร แต่จะให้ถึงศีล ๒๒๗ อย่างพระภิกษุ สำหรับคฤหัสถ์เป็นไปไม่ได้ หรือแม้แต่ศีล ๑๐ ก็ยาก ต้องเป็นผู้ที่คุณธรรมถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล ก็เป็นไปตามกำลังของปัญญา
ด้วยเหตุนี้แม้พระวินัยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่เห็นประโยชน์ สามารถประพฤติปฏิบัติตาม ขัดเกลา เพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นไปตามกำลังของอกุศลซึ่งมีกำลัง มิฉะนั้นไม่ทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทสำหรับให้พระภิกษุงดเว้น
สำหรับพระสูตร ก็แสดงให้เห็นถึงความหลากหลาย ให้เห็นชีวิตตามความเป็นจริงว่า แม้วันนี้ความหลากหลายของจิต เจตสิก มากมายนับไม่ถ้วน แม้แต่บุคคลหนึ่ง จิตที่หลากหลายตั้งแต่เช้าจนถึง ณ บัดนี้ก็เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ความคิดต่างกันไป บางคนคิดเรื่องการเกษตร การปลูกข้าว บางคนคิดเรื่องอื่น ก็เป็นความหลากหลายที่มากมาย ณ วันนี้ แต่ถอยไปแสนโกฏิกัปป์ ก็ทรงแสดงชีวิตตามความเป็นจริง ตั้งแต่ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ หรือตั้งแต่ครั้งที่บุคคลนั้นก่อนจะได้เป็นพระอริยบุคคล ท่านเกิดเป็นใคร และกว่าจะได้สะสมความรู้ถูก ความเห็นถูกที่จะเข้าใจสภาพธรรม ก็ผ่านชีวิตที่มีทั้งกุศล และอกุศลมากมาย โดยที่เราไม่สามารถที่จะคิดถึงว่า จะเป็นได้อย่างนั้นเลย เป็นความวิจิตรมากของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นกาลข้างหน้าจะยิ่งวิจิตรกว่านี้สักแค่ไหน
ทั้งพระวินัย พระสูตรซึ่งเป็นตัวอย่างของปรมัตถธรรมนั่นเอง เห็นถึงการสะสมต่างๆ จนกระทั่งถึงสภาพธรรมซึ่งเป็นธรรมจริงๆ จึงสามารถที่จะทำให้บุคคลนั้นได้อบรมเจริญปัญญาดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท
แสดงให้เห็นว่า อกุศลมากแค่ไหน ตั้ง ๓ ปิฎก เพียงอภิธรรม ไม่มีตัวอย่างเลย จะเห็นโทษไหมว่า ความวิจิตรของความคิดของแต่ละยุคแต่ละสมัยของท่านพระอานนท์บ้าง ในสมัยที่ท่านเกิดเป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้ หรือแม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่า ก็เหมือนการค่อยๆ อบรมจนกว่าจะรู้แจ้งสภาพธรรมได้
ผู้ฟัง ขณะที่มีสติกับหลงลืมสติก็พอจะพิจารณาได้ ทีนี้ความแตกต่างระหว่างมีสติกับสติสัมปชัญญะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ สติเป็นโสภณเจตสิก เป็นธรรมฝ่ายดี เพราะฉะนั้นเราจะไม่ปะปนกับธรรมที่เป็นอกุศลธรรม เราจะพูดง่ายๆ ว่า เดินดีๆ นะ ถ้าไม่มีสติจะหกล้ม ถ้าศึกษาแล้วจะไม่พูดอย่างนั้น แต่จะเป็นเรื่องพิจารณาเข้าใจจิต เพราะว่าจิตมีอยู่ตลอดเวลา และไม่เคยหยุดพัก มีขณะไหนบ้างที่จิตหยุดพัก เราอาจจะคิดว่าเราพักผ่อน นอนหลับ จิตไม่ได้พักเลย จิตทำภวังคกิจ ดำรงภพชาติที่จะทำให้ต้องมีการเห็น มีการได้ยิน ตามเหตุตามปัจจัย แสดงให้เห็นว่า ถ้าเรามีความเข้าใจธรรม ก็จะรู้ได้ว่า ต้องเป็นผู้ละเอียด ไม่ใช่เอาความเห็นของเรา เพียงคำว่า “สติ” เราก็ใช้เองแล้ว แต่ต้องรู้ว่า สติเป็นโสภณ และสติจะเกิดกับโสภณจิต คือ จิตที่ดีงาม เราอาจจะได้ยินคำว่า “กุศลจิต” กุศลจิตต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เราไม่รู้ว่า สติเกิดกับวิบากจิตก็ได้ กิริยาจิตก็ได้ นอกจากเป็นผู้ละเอียดที่ฟังแล้วรู้ว่า เมื่อเป็นโสภณจิต แม้แต่ขณะที่เป็นวิบาก หรือกิริยา ก็มีสติเกิดร่วมด้วยจึงทำให้จิตนั้นๆ ต่างกันตามการปฏิสนธิ
ด้วยเหตุนี้ขณะใดก็ตามที่ไม่มีกุศล หรือกุศลจิตไม่เกิด ขณะนั้นไม่ใช่สติ แต่ขณะใดก็ตามที่มีกุศลเกิดขึ้น เป็นการกระทำทางกาย ทางวาจาก็ตาม ขณะนั้นเพราะสติเกิดขึ้น สติเป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล ในสภาพธรรมที่ดีงาม แต่ความไม่รู้ ทำให้คิดว่า เราจะต้องระลึกเป็นไปในกุศล ซึ่งความจริงไม่ใช่เลย ไม่ใช่การที่คนหนึ่งคนใดฟังธรรมแล้วจะทำ แต่ฟังให้เข้าใจว่า แม้ขณะนี้ที่เป็นกุศลจิต ก็มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย ระดับไหน ถ้าเป็นขณะที่ให้ทาน สติเจตสิกก็ระลึกเป็นไปในทาน จึงมีกุศลจิตในการที่จะเอื้อเฟื้อให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น ถ้าในขณะที่วิรัติกาย วาจาที่ไม่ดีงาม ขณะนั้นไม่ใช่เรา สติเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจการงาน ขณะที่จิตใจไม่สงบ โกรธ ระลึกได้ มีประโยชน์อะไร ขณะที่หวังร้ายต่อคนอื่น คนอื่นไม่เดือดร้อน ในเมื่อจิตของเขาเป็นกุศล แต่ทำไมต้องหวังร้ายกับคนร้ายๆ เพราะว่าคนร้ายๆ ทำสิ่งร้ายๆ เขาก็ต้องได้รับผลของกรรมอยู่แล้ว ทำไมให้อกุศลจิตของเราไปเกิด ไม่ได้เป็นประโยชน์ที่จะทำให้กรรมของเขาได้รับผลมากขึ้น หรือน้อยลง แต่ขณะนั้นจิตของผู้ที่เป็นอกุศลจิต ขณะนั้นไม่รู้ตัวเลยว่า ทำให้เกิดสภาพธรรมที่ไม่ดีงามเพิ่มขึ้นกับตนเอง
ถ้ารู้อย่างนี้ สติเกิด ไม่ใช่เรา ที่จะรู้ว่า ขณะนั้นไม่มีประโยชน์เลย แม้ขณะที่กำลังฟังเข้าใจ ก็เป็นสติที่ระลึกในเหตุในผล และมีความเข้าใจ เพื่อปัญญาจะได้เป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งให้เป็นทางฝ่ายกุศลยิ่งขึ้น เพราะว่าทุกคนอยากละอกุศล และอยากให้มีกุศลเพิ่มขึ้น แต่ด้วยความเป็นตัวตน ไม่มีทางจะสำเร็จเลย แต่ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรมทั้งหมด แม้แต่สติ หรือปัญญา หรือผัสสะ หรือเจตนาใดๆ ก็ตามที่เป็นเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ ทำกิจปรุงแต่งโดยไม่รู้ตัวเลย แต่ละขณะที่กำลังเพิ่มขึ้นจากที่ได้สะสมมาแล้ว วิจิตรมาก ไม่ต้องมีใครไปนั่งทำอะไรอีกเลย ถ้าไปทำอะไร ก็คือเข้าใจผิด เข้าใจว่า ธรรมสอนให้ทำ แต่ความจริงให้เข้าใจถูก ให้เกิดปัญญา ให้รู้ความจริง และสภาพธรรมก็จะทำกิจของสภาพธรรม โดยที่เราเลือกไม่ได้ว่า จะให้ปัญญามากๆ เกิดขึ้นเมื่อไร รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ประจักษ์การเกิดดับ เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นสติที่เป็นไปในทาน ในศีล ในความสงบ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ถ้าสติปัฏฐานหมายความว่า คนนั้นมีปัญญา รู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ถ้าไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมที่มีลักษณะต่างๆ อย่างขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง กำลังปรากฏ ปฏิเสธไม่ได้ เป็นธรรมลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น เสียงปรากฏ มีจริง กำลังปรากฏ ลักษณะที่ต่างกับสิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เรา ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างนี้ อย่างมั่นคง สติปัฏฐานเกิดไม่ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ขณะนี้เป็นธรรม เมื่อเข้าใจว่าเป็นธรรม ถ้าผิดก็คือแล้วอย่างไรจะรู้จักธรรม นี่ผิดแล้ว แค่เพียงรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แล้วเกิดความอยากรู้ อยากประจักษ์ธรรม ก็ผิด แต่ฟังแล้วเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่ปรากฏทางตา จนกว่าจะรู้ความจริงว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อปรากฏทางปัญจทวาร แล้วปรากฏต่อทางมโนทวาร เล็กน้อยมาก เมื่อนั้นก็จะปรากฏลักษณะที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่เพราะเหตุว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ขณะนี้ไม่รู้เลยว่า อยู่ในโลกของนิมิต สิ่งที่เกิดดับสืบต่อจนปรากฏว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีสัณฐานที่ทำให้ยึดมั่นว่า สิ่งนั้นเที่ยง ไม่ได้ดับเลย
สติปัฏฐานไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราจะบอกใครๆ ว่า สติปัฏฐาน คือ ระลึกที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม แล้วก็ไปนั่งระลึกกัน ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เป็นความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นแต่ละคนที่ฟังธรรม ประโยชน์คือเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังเพิ่มขึ้น และมั่นคงขึ้นในความเป็นธรรม คือ ไม่ใช่ตัวตน ถ้าจะใช้คำว่า “อนัตตา” ก็คือ ไม่ใช่เรา เป็นธรรมแต่ละอย่าง เมื่อไรที่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ไม่ต้องห่วงเรื่องสติปัฏฐาน แต่ไม่ใช่หมายความว่าเพียงฟัง แล้วสติปัฏฐานเป็นอย่างไร ก็อยากจะปฏิบัติ หรือทำสติปัฏฐาน ต้องเป็นความเข้าใจที่เจริญขึ้น เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้เห็นถูก เข้าใจถูกในอะไร ในสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ
ถ้ายังไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏเลย ก็มีแต่เพียงชื่อ จะกล่าวถึงสัมโพชฌงค์ จะกล่าวถึงอะไรอีกมากมายก็เป็นแต่เพียงชื่อ ในเมื่อขณะนี้ผู้ที่ฟังไม่ได้รู้ด้วยตัวเองว่า เป็นปัญญาที่เริ่มเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม เพียงเริ่มเข้าใจ แล้วก็รู้ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียด เพราะเหตุว่าขณะนี้ธรรมเกิดดับ ก็ไม่รู้ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความห่างไกลมากของปัญญาขั้นฟังกับขั้นที่จะประจักษ์แจ้งความจริง โดยที่ว่าเป็นการอบรมความรู้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่หนทางอื่น
ถ้าไม่เข้าใจว่า สติปัฏฐานคืออะไร อย่าคิดที่จะไประลึกที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม หรือจะไปทำเพื่อที่จะให้ประจักษ์การเกิดดับ เป็นเรื่องละคลายความไม่รู้ ซึ่งเป็นปกติ ขณะนี้สภาพธรรมเป็นปกติ ดับแล้ว กำลังฟังเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นปกติ ที่สืบต่อ จนกระทั่งเป็นจริงอย่างที่ได้กล่าวถึง คือ แม้ปรากฏ ก็สืบต่อจนกระทั่งเร็วมาก ด้วยเหตุนี้กว่าจะคลายความที่เคยยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นเรา เป็นตัวตน เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นอัตตา ก็ลองคิดดูว่า เคยไม่รู้ และเคยยึดถือมานานแสนนาน ตามปกติ เวลาที่เราจะเห็นผิด เราไม่ได้ไปเห็นผิด ผิดปกติ แต่เห็นผิดในสิ่งที่มีเป็นปกติ ด้วยความไม่รู้ กว่าจะสามารถรู้สิ่งที่ปรากฏตามปกติ ด้วยความรู้จริงๆ ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็ลองคิดดูว่า ต้องอาศัยกาลเวลา ซึ่งต้องเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น
ผู้ฟัง การเรียนเพื่อทำความเข้าใจสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ เรียนเพื่อเข้าใจ ใช่ไหม หรือต้องไปทำความเข้าใจ
ผู้ฟัง ใช่ เพื่อเข้าใจ เรียนเพื่อเข้าใจสติปัฏฐานในขณะที่ยังไม่เข้าใจพื้นฐานว่า ทุกสิ่งเป็นธรรม มันก็ไม่เกิดประโยชน์
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะเหตุว่าทุกอย่างเราเผินมาก เราคิดว่าเข้าใจ แต่ความจริงแต่ละคำที่ได้ยินต้องเข้าใจถูกต้องตรงยิ่งขึ้น อย่างคำว่า “ธรรม” เหมือนเข้าใจแล้ว ถูกต้องไหม แต่ว่าเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ทุกคำที่ได้ยิน ต้องคิดถึงว่า ความหมาย หมายความถึงสภาพธรรมอะไร และมีหลายระดับอย่างไร แม้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน ก็ต่างขั้นกัน แสดงความจริงว่า ไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชาได้ แม้แต่สติ ก็มีสติขั้นทาน สติขั้นศีล สติขั้นความสงบของจิต สติที่เกิดพร้อมกับการที่ค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ใช้ชื่อว่า “สติปัฏฐาน” แต่ถ้าเราเพียงใช้ชื่อว่า สติปัฏฐาน แล้วไม่รู้ว่า สติปัฏฐานคืออะไร ก็ไม่สา มารถจะเข้าใจได้ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรม ไม่ใช่เราศึกษา
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360