พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
ตอนที่ ๓๐๙
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ผู้ฟัง อย่างที่อาจารย์กล่าว ไม่น่าสงสัย แต่ก็ยังมีความสงสัยอยู่ในลักษณะของความนึกคิด
ท่านอาจารย์ นึกคิดมีจริงๆ ขณะนั้นเห็น หรือคิด ขณะที่กำลังคิด เห็น หรือคิด
ผู้ฟัง คิด
ท่านอาจารย์ คิดไม่ใช่เห็น สภาพที่รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่เห็นเป็นจิต ขณะที่กำลังคิด มีเรื่องราว หรือมีคำ หรือมีลักษณะของสิ่งที่ให้คิดที่ปรากฏ เพราะว่าไม่ต้องคิดเป็นคำก็ได้ ขณะนั้นเป็นจิต มีความจำในขณะที่คิดด้วย หรือเปล่า เรียกว่า “สัญญา” คือ ชื่อเป็นเพียงชื่อ แต่สภาพธรรมจริงๆ นี่มี ถ้าเราไปเอาคำมาก่อน แล้วเราก็หา แล้วก็สงสัยว่า มีลักษณะอย่างไร ซึ่งแท้ที่จริงก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะในชีวิตประจำวัน เมื่อทรงตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมอย่างไร ก็ทรงแสดงความจริงนั้นๆ ให้เข้าใจว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นธรรมแต่ละลักษณะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง เช่นนี้ลักษณะธรรมมีอยู่จริงๆ เพียงแต่ว่าจะสามารถพิจารณาได้ หรือไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่รู้เลยก็ได้ ถ้าไม่ได้ฟัง ใช่ไหม ถ้าฟังแล้ว
ผู้ฟัง ถ้าฟังแล้ว บางขณะก็พิจารณาได้ แต่บางขณะก็ไม่สามารถจะพิจารณาได้
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังเข้าใจ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มองไม่เห็นเลยว่า สัญญาที่เกิดจากจิตทุกดวง
ท่านอาจารย์ ที่ว่าเข้าใจพิจารณาแล้ว หรือไม่ จึงเข้าใจ
ผู้ฟัง น่าจะพิจารณาแล้ว
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมแต่ละลักษณะเกิดขึ้นรวดเร็ว ทำกิจของสภาพธรรมนั้นๆ โดยไม่ต้องมีเราพิจารณา เราอาจจะคิดว่าเป็นเราที่พิจารณา แต่ขณะนี้ไม่มีเราเลย มีสภาพธรรมทั้งนั้น คือ เป็นจิต และเจตสิกซึ่งเกิดสืบต่อเร็วมาก เหมือนไม่ดับเลย และแต่ละขณะก็เป็นจิตประเภทต่างๆ ซึ่งมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทำกิจนั้นๆ มีเจตสิกที่พิจารณา ไม่ใช่เรา การฟังธรรม คือ ฟังจนกว่าจะประจักษ์แจ้งว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มิฉะนั้นไม่มีหนทางที่จะดับความไม่รู้ และการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นเราไปหมดเลย ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นธรรมโดยขั้นการฟัง แต่ก็ยังไม่หมดความเป็นเรา เพราะว่ายังไม่ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ
ผู้ฟัง ลักษณะของการตรึก หรือการนึกในสิ่งใดนานๆ ซึ่งความจริงแล้วบางครั้ง คำนั้นก็เป็นคำภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ คือ ความจำ หรือระลึกถึงความจำในอดีตอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เป็นความจำ ก็เป็นความจำ แล้วสงสัยอะไร
ผู้ฟัง สงสัยเวลาเรานึกถึง
ท่านอาจารย์ มีเรานึก หรือจิตเกิดพร้อมเจตสิกคิด นี่คือฟังพื้นฐานให้มีความเข้าใจที่มั่นคง เพื่อที่ปัญญาจะได้เจริญขึ้นจนสามารถประจักษ์ความจริงตรงกับที่ได้ฟัง ไม่ผิดกันเลย ขณะนี้เป็นอย่างนี้ คือ คิด อาจจะคิดถึงเรื่องในอดีตที่ยาวนาน แต่ไม่ใช่เราเลย ก็เป็นจิตแต่ละขณะซึ่งเกิดขึ้นพร้อมเจตสิกซึ่งทำกิจนั้นๆ ของเจตสิก
ผู้ฟัง อย่างในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าสภาพสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นั่นก็คือเป็นลักษณะของธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมปรากฏ จะทราบ หรือไม่ทราบ จะพิจารณา หรือไม่พิจารณา ก็คือสิ่งนั้นปรากฏ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ไม่รู้กับ แต่รู้ นี่คือความต่างกัน ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลย ไม่มีทางที่จะรู้ เพราะสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก จำเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏไว้ทั้งหมด แต่ไม่รู้ตัวจริงซึ่งเป็นธรรม คิดถึงสิ่งที่เกิดดับสืบต่อเหมือนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง อย่างขณะนี้เที่ยงหมดเลย ไม่เห็นมีอะไรดับ จนกว่าจะฟังเข้าใจก่อน เพียงขั้นเข้าใจ ไม่ใช่ขั้นประจักษ์แจ้ง
พระธรรมที่ทรงแสดง ปริยัติศาสนา หมายถึงทรงแสดงเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงให้เข้าใจ เข้าใจแล้วก็ไม่พอเลย วันนี้เราคิดเรื่องอื่นมากมาย แต่คิดเรื่องธรรมชั่วขณะที่ฟัง พอไม่ฟังก็คิดเรื่องอื่นแล้ว
แสดงให้เห็นว่า แม้แต่การที่จิตของเราจะสะสมการที่จะมีอุปนิสัยไตร่ตรองธรรม แม้ในขณะที่ไม่ได้ฟัง เป็นจินตามยปัญญา ก็น้อยมาก กว่าจะถึงขณะที่เป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่สำเร็จจากการอบรมความเห็นถูกในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เรา แต่เพราะสติสัมปชัญญะอีกระดับหนึ่งที่เกิดจากการเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่ยังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง และจะประจักษ์แจ้งไม่ได้เลย ถ้ามีความยึดถือว่าเป็นเรา แต่เพราะเหตุว่าฟังจนกระทั่งมีสัญญา ความจำที่มั่นคงว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะ ก็จะทำให้สติสัมปชัญญะเริ่มที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ จนกว่าจะรู้จริง เป็นสัจธรรม และก็แทงตลอดความจริงของสภาพธรรม
ผู้ฟัง บุคคลที่สามารถรู้วันตายเป็นคุณธรรมของอรหัตตผล หรือจะเป็นที่ญาณ
ท่านอาจารย์ เท่าที่ทราบ จิตทุกคนขณะนี้ต่างกัน หลากหลายไม่เหมือนกันเลย จิตของคนทุกวันนี้ ขณะนี้ เป็นระดับของบุคคลในครั้งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงดับขันธปรินิพพาน หรือเปล่า หรือว่าไกลกันมาก มีจิตหลายระดับ แต่ผู้ที่จิตนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ก็ไม่มีทางจะรู้ได้เลย แทนที่จะคิดถึงว่า มีไหม เป็นใคร เพราะอะไร ถ้าสิ่งใดมีจริงเกิดขึ้น จะต้องมีเหตุที่ทำให้เป็นอย่างนั้น ผู้ที่ไม่มีบุคคลใดเปรียบปานได้เลยในจักรวาลทั้งหมดเลย จะกี่จักรวาลก็ตามแต่ คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ไม่มีใครสามารถจะคาดคะเนถึงปัญญาของพระองค์ได้ เราก็ไม่ต้องไปนึกถึง แต่เราก็มานึกถึงคนที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีใคร สามารถจะรู้ได้ไหม เป็นอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าสนใจเลย เพราะเป็นเพียงความคาดคะเน แต่ทรงแสดงให้เห็นว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง
เป็นพุทธโอวาทซึ่งเตือนว่า ขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ แล้วยังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้นฟังเรื่องสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี ทุกขณะที่ได้ฟัง เริ่มที่จะมีปัจจัยเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้คล้อยตามที่ลักษณะของสภาพธรรม ที่จะรู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏ มีจริงๆ เป็นธรรมชนิดหนึ่งที่เพียงปรากฏ ไม่ใช่ความคิดนึกเรื่องใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะถึงแม้ว่ากำลังนั่งที่นี่ มีสิ่งที่ปรากฏขณะนี้ คิดเรื่องอื่นได้ไหม ได้
แสดงให้เห็นว่า ความคิดเป็นเรื่องหนึ่ง และสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่เพราะไม่รู้ความจริง และคุ้นเคยต่อการคิดเรื่องอื่น พอเห็นก็ไม่ได้สนใจที่จะเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏแล้วหมดไปก่อนที่จะมีการคิดเรื่องอื่น และก็จะมีการเห็นอีก สภาพธรรมนี้ก็ปรากฏเช่นนี้เอง ไม่เป็นอื่น และก็ไปคิดเรื่องอื่นอีก หรืออาจจะกำลังคิดถึงเรื่องรูปร่างของสิ่งที่กำลังปรากฏก็ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจที่ละเอียด ที่ถูกต้องว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ถ้าจะรู้ความจริงที่จะดับความเห็นผิด เพราะไม่รู้ จึงยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็คือว่า ตราบใดที่ยังไม่มีการค่อยๆ เข้าใจ ว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นธรรมจริงๆ อย่างหนึ่ง แล้วที่คิดเรื่องราวต่างๆ พูดต่างๆ หรืออะไรต่างๆ นั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา และไม่ใช่จิตเห็น อย่างนี้คงจะเป็นประโยชน์กว่า เพราะเรื่องที่จะคิดมีมากมายหลายเรื่อง แต่ละคนก็สะสมมาที่จะคิดเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง แต่เรื่องที่เป็นประโยชน์สูงสุด ที่จะทำให้ไม่ลืมว่า มีลักษณะของธรรมปรากฏ จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่สำหรับขณะนี้ถ้าศึกษาธรรมก็จะรู้ได้ว่า เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เราก็สามารถจะประมาณความเข้าใจธรรมของเราได้ ว่าที่ฟังมาทั้งหมดมีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏทุกวันแค่ไหน
เพราะฉะนั้นเมื่อเทียบแล้ว ปัญญาน้อยแค่ไหน กว่าจะประจักษ์ความจริงว่า สภาพธรรมขณะนี้เป็นอย่างนี้ เกิดดับ
ผู้ฟัง เนื่องจากในเรื่องของคุณธรรมที่ต่างกัน ตามการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจด้วยว่า มันมาจากอย่างไรบ้าง มาจากอรหัตตผลจิตใช่ไหม เพราะว่าถ้าบางคนก็จะบอกว่า เป็นพระอรหันต์ เราก็สามารถรู้ได้ว่า เป็นได้อย่างไร ถ้าเป็นสามารถจะรู้อะไรได้มากกว่าปกติ
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์ก็ได้กล่าวโดยประเภทใหญ่ๆ ก็แยกเป็น ๒ ประเภท คือ พระอรหันต์ที่เป็นปัญญาวิมุตติ สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมโดยไม่ได้อบรมความสงบที่เป็นสมถภาวนาถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ที่เป็นฌานจิตขั้นต่างๆ
ก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ในครั้งพุทธกาล แต่ละท่านที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมก็ต่างกันไป ในบรรดาผู้ที่เป็นพระอรหันต์ และรู้แจ้งอริยสัจธรรมพร้อมด้วยองค์ของฌานขั้นต่างๆ มีน้อยกว่าผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม โดยที่ไม่ได้อบรมเจริญสมถภาวนา แสดงให้เห็นถึงความจริงอย่างหนึ่ง ถึงความต่าง ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ได้มีความสงบระดับขั้นของสมถะ สามารถมีอิทธิ ความสำเร็จในทางหนึ่งทางใด ต่างจากผู้เป็นปัญญาวิมุตติ หรือเปล่า
นี่ก็แสดงความต่างกัน และสำหรับผู้ที่แม้ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น เป็นปุถุชนธรรมดาอย่างนี้เอง แต่ก็อาจจะมีความคิดที่ละเอียด และอาจมีความคิดซึ่งบางครั้งก็จะตรง บางครั้งก็ไม่ตรง เราจะมานั่งสงสัยว่า ทำไมเป็นอย่างนี้ อย่างบางคนบอกว่าฝันแม่น บางคนฝันเลอะเทอะ ก็เป็นแต่เพียงความฝัน
นี่ก็เป็นการสะสมของแต่ละภพแต่ละชาติซึ่งต่างกันไป เพราะฉะนั้นความละเอียดปลีกย่อยมีมาก ที่จะรู้ว่า บุคคลนั้นเป็นใคร และมีความสามารถระดับไหน หรือเป็นเพียงการสะสมของอดีตชาติที่แต่ละขณะของกุศลจิต และอกุศลจิตที่เกิดขึ้น และดับไป จะสะสมสืบต่ออยู่ในจิตขณะต่อๆ ไป ซึ่งมองไม่เห็นจิตเลย นามธรรมล้วนๆ ไม่มีรูปธรรมเจือปนเลย แต่หลากหลายด้วยการสะสมสิ่งที่เกิดแล้ว ทั้งที่เป็นกุศล และอกุศล และความสามารถต่างๆ ในแต่ละชาติซึ่งต่างกันไปด้วย
นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายซึ่งทำให้บุคคลแต่ละบุคคล จะเป็นพระอรหันต์ หรือไม่เป็น จะเป็นผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล หรือไม่เป็น จะเป็นปุถุชนธรรมดาไม่เข้าใจธรรมเลย แต่ก็มีการสะสมมาจากที่ต่างๆ กัน ตามเหตุตามปัจจัย
ผู้ฟัง บางท่านที่บอกว่าเป็นพระอรหันต์ ก็จะได้ทราบว่า ถ้าสามารถรู้วันตาย คงจะเป็นพระอรหันต์ แต่เท่าที่รู้ๆ มา ก็มีผู้บอกว่า ไม่มีใครรู้วันเกิดวันตายทั้งสิ้น แต่พอมาเรียนมาศึกษาแล้วถึงได้ทราบว่า พระอรหันต์สามารถรู้วันที่จะปรินิพพานได้
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์ บุคคลประเภทไหน ที่ประกอบด้วยฌาน หรือไม่ประกอบด้วยฌาน และการที่จะมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ ต้องเป็นผู้มีวสี ความชำนาญอย่างมาก มีการฝึกหัดอบรม ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราจะสามารถรู้ได้ไหม ถ้าเรายังไม่สามารถจะรู้ได้ แต่เหตุกับผลมี แล้วก็ศึกษาในเหตุผลให้ละเอียดขึ้น
ผู้ฟัง เพียงแต่ถามเพื่อความเข้าใจเท่านั้น คงไม่ได้ไปมองใคร แต่เมื่อคนพูดอะไร เราจะได้เข้าใจเองได้ว่า อยู่ตรงไหนบ้าง เขาพูดด้วยอะไร
ท่านอาจารย์ หนทางที่ดีที่สุด คือ ขอทราบหลักฐานมาจากไหนที่กล่าวว่าอย่างนั้น เราจะได้ความเข้าใจแน่ใจว่าถูกต้องตามหลักฐานที่ได้ทรงแสดงไว้ มิฉะนั้นก็เพียงอ่านพระไตรปิฎกข้อความสั้นๆ หรือว่าฟังธรรมเล็กๆ น้อยๆ ต่อจากนั้นคิดเองหมด ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษา เราก็ค่อยๆ พิจารณาเข้าใจได้ว่า เราสามารถเข้าใจได้ระดับไหน มากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนบุคคลอื่นพูด ก็ต้องมีเหตุผล และต้องมีที่มาที่จะให้เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง เราจะเป็นกัลยาณมิตร หรือเป็นเหตุปัจจัยอะไรที่สามารถทำให้เขาได้รับฟังสิ่งเหล่านี้ได้บ้าง
ท่านอาจารย์ คำพูดที่ดีเป็นคำพูดที่ชั่ว เมื่อไม่เหมาะกับกาลเวลา และบุคคล ถ้าเขากำลังสนุกจะไปเที่ยวกัน จะทำกิจกรรมต่างๆ แล้วเราก็เปิดธรรมให้เขาฟัง เขาก็คงไม่สนใจเลย และอีกประการหนึ่งเรารู้อัธยาศัยของบุคคลที่เราใคร่จะสงเคราะห์ หรือเปล่า นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก มิฉะนั้นก็จะเป็นการเสียเวลา เพราะว่ายังไม่ถึงเวลาที่เขาสนใจธรรม และอีกประการหนึ่ง บุคคลที่เกี่ยวข้อง คุณอรวรรณคิดอย่างนี้ใช่ไหม ญาติสนิทมิตรสหาย สามี บุตร คนในครอบครัว วงศาคณาญาติ มีใครบ้างที่ไม่เคยเป็นวงศาคณาญาติกับเรา เราจะไม่เจาะจงบุคคลหนึ่งบุคคลใดเลยทั้งสิ้น แต่บุคคลใดก็ตามที่สะสมอัธยาศัยที่จะฟัง และเข้าใจ เราจึงสามารถสงเคราะห์บุคคลนั้นได้ คิดเช่นนี้ก็จะทำให้เราเบาสบายใจ เพราะว่าถ้าทำไม่ได้ เราก็จะเกิดทุกข์ร้อน เพราะว่าหวังที่จะให้เขาเป็นอย่างนั้น แต่ไม่เป็น และจริงๆ แล้ว เราอยู่ในยุคนี้ เราผ่านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วกี่พระองค์ แม้พระองค์นี้พระธรรมก็ใกล้ที่จะอันตรธาน เราก็จะผ่านไปอีก ถ้าเรามีความเข้าใจไม่พอ แต่ว่าบุคคลที่เป็นตัวเราในวันนี้ ชาตินี้ ผ่านมาแล้วมาก ฉันใด คนที่ยังไม่ได้สนใจธรรมเลย เขาก็จำเป็นที่จะต้องมีการเกิดดับสืบต่อในสังสารวัฏฏ์ ตามกรรม ตามการสะสมของเขา จนกว่าจะมีศรัทธาเหมือนเรา ที่สนใจแล้วฟัง แล้วอบรมไป จนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
ถ้าเห็นธรรมเป็นธรรม ก็ไม่เป็นของใคร แต่ว่าเป็นมิตรดี สำหรับทุกคน และก็ทำประโยชน์ คือ ศึกษาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้เกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีความเห็นถูกเท่าที่จะทำได้
นี่เป็นสาระที่สุด สำหรับเมื่อวานนี้หมดแล้ว หลับเมื่อไรก็หมดเมื่อนั้น จำอะไรก็ไม่ได้ในขณะนั้น แต่ว่าเมื่อวานนี้มีสาระอะไรแค่ไหน ฉันใด วันนี้ก็ฉันนั้น ตื่นมาอีกแล้ว ก็จะเป็นเหมือนอย่างเมื่อวานนี้ เราจะมีสาระมากน้อยแค่ไหน แล้วเราก็หลับสนิท แล้วเราก็ลืม แล้วเราจะตื่นอีก หรือไม่ตื่น เป็นบุคคลในชาตินี้ แต่เป็นบุคคลอื่น นาทีที่ ๑๗.๔๐ (หรือจะเป็นบุคคลอื่น) ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นก็มีความเข้าใจธรรมมากขึ้น ก็จะไม่ยึดถือด้วยความเป็นตัวตนที่จะทำให้เกิดความทุกข์ เพราะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง ถ้าเช่นนั้นที่ท่านอาจารย์พูดถึงบุคคลที่พระพุทธเจ้าแบ่งเป็น ๔ ประเภท ที่ฟังแล้วบรรลุเลย จำภาษาบาลีไม่ได้ แล้วก็เวไนยบุคคล และปทปรมะ ที่ฟังแล้ว กว่าจะบรรลุต้องอีกหลายชาติ ก็สงสัยต่อไปอีกว่า แล้วคนที่ไม่อยู่ใน ๔ ประเภทมีไหม คือ ไม่มีทางที่จะมาเข้ามาฟังพระธรรม ก็อยู่ในวัฏฏะไปตลอด มีไหม
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย เหมือนบุคคลในครั้งพุทธกาล อยู่ใกล้ ก็ไม่เคยไปเฝ้า ถึงแม้ติดตามหลังพระองค์ไป ก็ไม่ได้เข้าใจธรรม คิดว่าธรรมที่ทรงแสดงเกิดจากการตรึก หรือคิด เท่านั้นเอง หมายความว่าเป็นผู้เก่ง สามารถในเหตุผลอย่างละเอียด ก็แสดงธรรมไปตามนั้น แม้เป็นพระภิกษุที่ติดตามพระองค์ไปข้างหลัง ก็ยังคิดอย่างนี้ได้
แต่ละบุคคลก็เป็นธรรมจริงๆ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะมีปัจจัยอะไรเกิดขึ้นในแต่ละภพแต่ละชาติที่จะปรุงแต่งความคิด หรือสังขารธรรม หรือสังขารขันธ์ หรือจิตแต่ละขณะที่จะเกิดขึ้นต่อไปยาวนาน
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นก็ต้องไม่ลืมว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นยังเป็นตัวตนแน่ๆ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมเพื่อเห็นถูก เข้าใจถูกว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อฟังแล้ว ก็คือเข้าใจขึ้นในความเป็นธรรม
ผู้ฟัง จากที่คุณสุกัญญาถามเรื่องสัญญา ฟังมาว่า สัญญาวิปลาสก็มี ๔ คือ เห็นไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นทุกข์ว่าสุข จำว่าอนัตตาเป็นอัตตา และไม่งามว่างาม การจะละได้ ก็ด้วยปัญญาขั้นต่างๆ ถึงจะมีสัญญาที่ไม่วิปลาสได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าวิปลาสเกิดกับอกุศลจิต สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส เป็นอกุศลทั้งหมด
ผู้ฟัง การที่เราจะละได้ ก็ขึ้นอยู่กับปัญญาขั้นไหนก็ละได้ขั้นไหน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีปัญญาก็ยังคงไม่รู้ ซึ่งเป็นอวิชชา เมื่อมีความไม่รู้ ชีวิตก็ดำเนินไป แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ก็เป็นความไม่รู้ไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง อย่างที่อาจารย์บอกว่า เวลาที่เจ็บปวด เจ็บปวดที่ศรีษะเป็นความจำ หมายความว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ เป็นความคิดเรื่องศีรษะ เจ็บ คือ กำลังเจ็บ ลักษณะเจ็บมี คิดเรื่องศีรษะ เพราะเข้าใจว่ามีศีรษะไง แล้วจริงๆ แล้ว เวลานี้ศีรษะอยู่ที่ไหน ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่เรียนเรื่องจิตทีละ ๑ ขณะ นี่แสดงความชัดเจนว่า เมื่อเป็นสภาพธรรม ๑ ขณะ จะเป็นอะไร จะเป็นเราได้ไหม ไม่ได้เลย ก็เป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็ดับไป แต่เพราะการเกิดดับอย่างรวดเร็ว ก็จำตั้งแต่เกิดมา พอเห็นก็ศีรษะของเรา พอกระทบสัมผัสตรงนี้ ก็ศีรษะของเรา แต่แข็งคือแข็ง และขณะนั้นจิตไม่ได้รู้แข็ง แต่กำลังเจ็บ สภาพธรรมมีจริงๆ แต่ละขณะก็เป็นแต่ละขณะ แล้วก็ดับไปแล้วด้วย ฟังธรรมเพื่อที่จะรู้ว่า ไม่มีเรา มิฉะนั้นก็ยังมีศีรษะอยู่ ใช่ไหม
ผู้ฟัง คำว่า “สิ่งที่ปรากฏทางตา” มันลึกซึ้งเกินกว่าที่ปัญญาจะรู้ได้ แม้ในขั้นของการฟังว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาว่าเป็นอย่างไร ต้องกราบเรียนถามอีกครั้งหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ถ้าถามว่าเป็นอย่างไร จะใช้คำอธิบายว่าอย่างไร ในเมื่อสิ่งนี้กำลังมีลักษณะจริงๆ ถ้าพูดโดยที่ไม่กล่าวถึงสภาพที่กำลังปรากฏ อธิบายไปยาว แต่ไม่มีลักษณะของสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ให้เข้าใจ อย่างนั้นจะเข้าใจ หรือไม่ว่า คำอธิบายทั้งหมดไม่ว่าจะกล่าวว่าอย่างไรก็ตาม เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีจริง เป็นธาตุที่สามารถจะกระทบกับจักขุปสาท ไม่สามารถจะกระทบกับรูปอื่นใดได้ทั้งสิ้น นอกจากจักขุปสาท เพียงเท่านี้ แต่ว่าตัวรูปารมณ์ คือ รูปที่ปรากฏทางตา ไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้แม้ว่า ขณะนี้จิตกำลังเห็น
จะพูดอย่างไรสักเท่าไรก็ตาม ลักษณะแท้จริง คือ กำลังปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นก็ฟังให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าสิ่งนี้ คือ กำลังปรากฏเท่านั้น ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ขณะที่กำลังคิดเรื่องสิ่งที่ปรากฏ เป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว ปรมัตถธรรมที่ปรากฏเมื่อกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพียงปรากฏเล็กน้อยแล้วก็ดับไป แต่ใจคิดนึกถึงเรื่องสิ่งที่ปรากฏทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทั้งวันอย่างมั่นคงว่า เป็นสิ่งที่มีจริงๆ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 301
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 302
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 303
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 304
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 305
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 306
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 307
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 308
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 309
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 311
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 312
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 313
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 315
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 316
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 317
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 318
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 319
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 320
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 321
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 322
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 323
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 324
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 325
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 326
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 327
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 328
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 329
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 330
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 331
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 332
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 333
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 334
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 335
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 336
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 337
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 338
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 340
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 341
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 342
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 343
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 344
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 345
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 346
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 347
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 348
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 349
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 350
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 351
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 352
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 353
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 354
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 355
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 356
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 357
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 359
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 360