พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
ตอนที่ ๓๗๙
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ถึงธาตุรู้
ท่านอาจารย์ เห็น หรือไม่
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ คิด หรือไม่
ผู้ฟัง คิด
ท่านอาจารย์ จำ หรือไม่
ผู้ฟัง จำ
ท่านอาจารย์ จำรูปร่างเป็นอย่างไร ลักษณะของจำ จำมีสี มีกลิ่น อะไรไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ แต่จำมีใช่ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วมองเห็น "จำ" ไหม
ผู้ฟัง ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ มีรูปใดๆ ในลักษณะที่จำ หรือไม่ มีรูปใดๆ เจืออยู่ในลักษณะซึ่งจำ หรือไม่ หรือจำก็คือเกิดขึ้นจำ ไม่เป็นอย่างอื่น เพียงจำ ทำหน้าที่จำ เกิดขึ้นจำเท่านั้นเอง แล้วจะไปหาจำที่ไหนที่เป็นรูปร่างนี่ไม่มีเลย แต่ไม่รู้ว่า ขณะนี้จำทุกขณะ นี่คือความไม่รู้ แต่คงไม่ได้หมายความว่า ไม่รู้ว่า จำเป็นอย่างไร เพราะว่าทุกคนจำได้ แต่เข้าใจว่าขณะที่จำนั้นเป็นเราจำ เพราะฉะนั้นแยกลักษณะของธรรมแต่ละลักษณะโดยละเอียดยิบ ตามความเป็นจริงซึ่งไม่ปะปนกันเลย อย่างจำกับคิดเป็นสภาพธรรมคนละอย่าง จำก็จำ สภาพคิดก็มีเจตสิกซึ่งทำกิจนั้น แต่ไม่ใช่เจตสิกที่จำมาคิด แต่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น กำลังพูดถึงสิ่งที่มี แต่ไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ด้วยทั้งๆ ที่มี
เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยการฟัง และเห็นความต่างสุดที่จะประมาณถึงปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับปัญญาของผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมเลย และเมื่อเริ่มฟังก็ใช่ว่าจะเข้าใจ แม้ว่าพระธรรมที่ทรงแสดงก็เป็นเรื่องของสิ่งที่มีจริงทั้งนั้น เป็นความจริงทั้งหมด แต่ความไม่รู้มากมาย จนกระทั่งฟังแล้วก็ยังไม่สามารถเข้าถึงความจริงนั้นได้ เพราะว่าความจริงขณะนี้ ทุกคนหลงอยู่ในเรื่องราว หลง หรือไม่ เกิดมาเป็นใคร ทำอะไร มีญาติพี่น้อง สมบัติ มีอะไรๆ มากมาย เรื่องราวทั้งหมด แต่ว่าธาตุที่เกิด ไม่มีชื่อ ยังไม่ได้เรียกชื่อเลย ไม่ได้เรียกชื่อบุษกร หรือไม่ได้ชื่ออะไรทั้งสิ้น แต่เมื่อเป็นสัตว์ บุคคล ต้องมีนามธาตุ ธาตุรู้เกิด จึงจะเป็นสัตว์บุคคลได้ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ความละเอียดของธรรมจะละเอียดขึ้น
ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องมีนามธรรม และรูปธรรมเกิดขึ้น เราไม่ใช่ไม่มีรูปเลยใช่ไหม ขณะนี้ ไม่ใช่มีแต่นาม ไม่มีรูปใดๆ เลย แต่มีทั้งนามธรรม และ รูปธรรม โดยไม่เคยรู้ลักษณะของรูปธรรม แม้เป็นรูปก็ไม่รู้ว่าเป็นรูป แต่เป็นเรา แม้นามธรรมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เกิดแล้วก็ดับไปก็ไม่รู้เลย ก็เป็นเรา เพราะฉะนั้นก็ยึดถือนามธรรม และรูปธรรมว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เป็นเรื่องราวของเราตั้งแต่เกิดจนตาย วันนี้เป็นเราวันนี้ พรุ่งนี้ก็เป็นเราอีก มากเรื่อง ไม่จบ โดยไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วไม่มีเรื่องราวใดๆ ตามที่เราคิดว่าจริง ทั้งหมดที่คิดว่าจริง คือเท็จ เพราะเหตุว่าจริงๆ คือสภาพธรรมซึ่งเป็นนามธรรม และรูปธรรม เกิด และดับเร็วมากสืบต่อ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ จะไม่เข้าใจคำว่า “สังขารนิมิต” ที่ปรากฏนี่เป็นนิมิตทั้งหมด เป็นนิมิตของสังขาร ไม่ว่าจะเป็นรูป การเกิดดับสืบต่อ สีสันวัณณะทางตา ทำให้หลงยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้นก็ยากที่จะสละ ละการที่หลงยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้นจนสามารถแทงตลอดความจริงของสภาพธรรม ซึ่งไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย เพียงแต่มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งนามธรรม และรูปธรรม นี่คือการฟังพระธรรม การที่จะสะสมความเข้าใจเพื่อละโลภะ เพื่อละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ซึ่งไม่มีทางจะละได้เลย ถ้าปัญญาไม่เกิดขึ้น และปัญญาที่ไม่ใช่ปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่มีทางที่ใครจะไปคิดเอง นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การอบรมเจริญปัญญา วันหนึ่งถึงความสมบูรณ์ ทำไมปัญญาที่เริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะไม่เจริญจนกระทั่งค่อยๆ คลายความไม่รู้ และการยึดถือลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นอย่างนั้น แต่เมื่อเป็นปัญญาที่เจริญขึ้นแล้ว ก็สามารถที่ประจักษ์ความจริงได้ ถ้าไม่เป็นสาวก ก็เป็นปัจเจกพุทธะ อย่างสุมนมาลาการ หลายท่านในครั้งที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมในชาตินั้นเลย แต่จากการที่เริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น ใครก็เลือกไม่ได้ว่าจะเป็นอะไร จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมในชาติไหน
ขณะนี้ทุกคนเป็นคนนี้ในชาตินี้ จากโลกนี้ไปแล้ว ไปเกิดที่ไหนก็ไม่รู้ ประเทศไหนก็ไม่รู้ ภูมิไหนก็ไม่รู้ นั่นคือความเป็นจริง เพราะฉะนั้นขณะที่มีโอกาสฟัง สะสมความเข้าใจเพื่อละการยึดถือ และความไม่รู้ อย่าไปคิดว่า เพื่อประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ถ้ารู้ว่าธรรมขณะนี้รู้แจ้งได้ยากแค่ไหน ลึกซึ้งแค่ไหน ก็จะมีการอบรมความเข้าใจแล้วก็เป็นเรื่องของการละ เพราะรู้ แต่ถ้าตราบใดยังมีความเป็นเรา และคิดว่าจะละความเป็นเราด้วยความเป็นเรา ด้วยความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมก็ไม่ถูกทาง เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน ความจริงกับความไม่จริงก็ปะปนกันอยู่ตลอดเวลา
ท่านอาจารย์ รู้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง จากที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อสักครู่
ท่านอาจารย์ เพราะได้ฟังพระธรรม เห็นพระคุณไหม แม้เล็กน้อยเท่าไร เริ่มที่จะรู้ว่า จริงคืออะไร ที่เป็นปรมัตถ ที่ไม่มีชื่อ ไม่ต้องสมมติ ไม่ต้องเรียกอะไรเลย ก็เป็นสภาพธรรมที่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ กับสมมติว่าจริง ถ้าสามารถเข้าใจความต่าง และแยกได้ ก็จะรู้ว่า เป็นผู้ได้ฟังพระธรรม ได้เข้าใจพระธรรม
ผู้ฟัง แต่ว่าในชีวิตประจำวัน ทุกอย่างเป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นอะไร เลือกไม่ได้
ผู้ฟัง เกิดขึ้นตามเหตุ และปัจจัย
ท่านอาจารย์ เมื่อเลือกไม่ได้แล้วเป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร ถ้าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ผู้ฟัง เพื่อนๆ บอกเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วจริง หรือไม่ แม้แต่คำว่า “ธรรม” พอถึงเวลาจริงๆ แล้วเราก็ลืม แล้วเราก็ไปหา แล้วเราก็ไม่รู้ จนกว่าจะมีความมั่นคงว่าเป็นธรรม เพื่อที่เราจะได้ฟังอีก เข้าใจอีก เห็นความเป็นธรรมอีก แม้แต่เรื่องที่ยกมากล่าวก็เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ก็แสดงความเป็นธรรม เพราะว่าใครจะไปบังคับธรรมได้
ผู้ฟัง ทำไมถึงไม่สามารถตอบท่านอาจารย์ได้ทันทีเลยว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ถ้าไม่โกหกตัวเอง
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาคิดว่าต้องฟังอีกมากไหม กว่าจะเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นธรรม หรือเพียงแค่ฟัง พูดตาม ก็สามารถจะเข้าใจได้
ผู้ฟัง ต้องฟังอีกมาก คือเมื่อทุกอย่างเป็นธรรมแล้ว ในสภาพของชีวิตประจำวันมีทั้งสิ่งที่มีจริง และไม่มีจริง
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง และอะไรเป็นสิ่งที่มีจริง
ผู้ฟัง สิ่งที่ไม่มีจริงก็คือเรื่องราวที่อยู่ในชีวิตประจำวันทั้งหมด
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญานั่นแหละไม่มีจริง มีธรรม เริ่มจากคุณสุกัญญาไม่มีจริงๆ มีธรรมซึ่งเกิดดับในแสนโกฏิกัปป์มาจนกระทั่งถึงขณะนี้ แล้วต่อไปอีกนานนับไม่ถ้วน ก็ไม่มีคุณสุกัญญา มีแต่ธรรม เพราะฉะนั้นที่ไม่มีจริง คือไม่มีคุณสุกัญญา แต่มีธรรม เพราะฉะนั้นจากคุณสุกัญญาเป็นเรื่องราวต่างๆ ก็คือสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่มีจริง แต่สิ่งที่มีจริง มี เกิดแล้วดับ จนกว่าจะรู้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่มีจริง จึงจะกล่าวได้สมบูรณ์ว่า อะไรมีจริงๆ และอะไรไม่มีจริงๆ ถ้ามีคุณสุกัญญาก็มีอย่างอื่นด้วยใช่ไหม
ผู้ฟัง แต่ว่ามันยังไม่เชื่อ
ท่านอาจารย์ จริงใช่ไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ "เชื่อ" จริงไหม ไม่เชื่อก็จริง แล้วเชื่อล่ะ จริงไหม
ผู้ฟัง เชื่อก็จริง
ท่านอาจารย์ เห็นถูกมีจริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เห็นผิดมีจริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เชื่อผิดมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เชื่อถูกมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่ว่าไม่เชื่อ ไม่เชื่ออะไร
ผู้ฟัง ไม่เชื่อว่าไม่มี
ท่านอาจารย์ แล้วมี หรือ
ผู้ฟัง ก็ไม่มี
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร
ผู้ฟัง ก็อย่างนี้ แล้วในชีวิตก็ย้อนไปย้อนมา ย้อนมาย้อนไป
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะเข้าใจขึ้น ไม่ใช่เรื่องเราไปทำ หรือเราพยายามเลย อยู่ที่ความเข้าใจถูกต้องเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง เหมือนว่า จากการศึกษามีการจำผิด การเข้าใจผิด แล้วปัญญาไม่เกิด สติไม่เกิด ก็ยังมีสังขารนิมิตมาหลอกเหมือนมายากลที่ว่า จิตเป็นมายากลเกิดดับเร็ว ทำให้เราไม่สามารถรู้ว่า จริงๆ เขาเป็นอย่างไร แล้วปัญญาที่จะรู้ความจริงได้ ต้องฟังขนาดไหน ต้องศึกษาขนาดไหนถึงจะเท่าทันกับอวิชชาที่มีมาก
ท่านอาจารย์ จะวัดด้วยอะไร ขนาดไหน ตั้งแต่ ๙ โมงเช้าจนถึงเดี๋ยวนี้ ความเข้าใจของคุณอรวรรณเพิ่มขึ้นขนาดไหน
ผู้ฟัง ตั้งแต่เช้าจนถึงตอนนี้วัดไม่ได้ แต่ตั้งแต่เริ่มฟังถึงขณะนี้วัดได้ว่า มีความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมที่ปรากฏที่เราเคยเข้าใจผิด
ท่านอาจารย์ โดยไม่รู้เลย ว่าไม่ใช่คุณอรวรรณ แต่เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งจากการได้ยินได้ฟัง และเริ่มเข้าใจทีละขณะ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่บางเบาน้อยมากจนไม่รู้เลยว่า ขณะนี้แต่ละขณะสังขารขันธ์ทำหน้าที่อยู่แล้ว ไม่มีใครไปทำหน้าที่ของสังขารธรรมได้เลย เพราะฉะนั้นจะเมื่อไร เมื่อมีความรู้ขึ้น ไม่ใช่เพราะเราทำ แต่เพราะเหตุว่าสังขารขันธ์มี จากการได้ยินได้ฟัง ไตร่ตรอง กุศลเพิ่มขึ้น ปัญญาค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เหมือนกับเราเริ่มเรียนหนังสือแล้วเราอ่านออกเมื่อไร แต่นี่หนังสือในสังสารวัฏฏ์ เล่มจะใหญ่สักแค่ไหน
ผู้ฟัง เห็นก็มีอยู่แล้ว ได้ยินก็มีอยู่แล้ว เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เราก็เข้าใจผิดไม่ตรงตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะซาบซึ้งในคำว่า “คัมภีร” ไหม "ลึกซึ้ง" ไม่ใช่สิ่งที่จะเข้าใจได้โดยง่าย
ผู้ฟัง คือต้องฟังบ่อยๆ เนืองๆ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมดเลย ทิ้งปัญญาไม่ได้เลย ใครจะละอกุศลทั้งหลาย ละความเป็นตัวตน ละความติดข้อง ละไม่ได้ ถ้าปัญญาไม่เกิด เป็นหน้าที่ของปัญญาตามระดับขั้นของปัญญาด้วย
ผู้ฟัง อย่างความเหนียวแน่น ท่านอาจารย์ก็ยกตัวอย่างว่า อย่างการส่องกระจก ก็รู้ได้ว่า จริงๆ แล้วไม่มีเราในกระจกเลย แต่เราก็ยังหลงว่ามีเราในกระจก ซึ่งจริงๆ แล้วแค่ตรงนี้ก็ยังเข้าใจง่ายกว่า ในขณะที่สังขารนิมิตของสภาพธรรมเป็นอะไรยิ่งกว่าในกระจกอีก แค่ในกระจกเราก็ยังไม่ยอม ส่องทีไรก็เป็นเรา ก็ต้องดูดีก่อนจะมา ซึ่งสังขารนิมิตคิดว่าทำให้เข้าใจยากยิ่งกว่าการเห็นในกระจกอีก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการเกิดดับสืบต่อของสภาพธรรมกำลังเป็นไป โดยกำลังฟังเรื่องราวของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ แม้สิ่งที่ปรากฏขณะนี้ก็ไม่ใช่สภาพเมื่อสักครู่นี้ เป็นเพียงนิมิตของสังขารซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน ทำให้ปรากฏเหมือนมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด การฟังก็ต้องเข้าใจขึ้นๆ แล้วเป็นการละความต้องการว่า แล้วเมื่อไรจะรู้ รู้คือรู้ ไม่รู้คือไม่รู้ รู้มาแค่นี้ได้เป็นบุญ หรือยัง
ผู้ฟัง ก็บุญมากแล้ว สมัยก่อนก็มีความเข้าใจผิด เหมือนกับว่าจะไม่มีทางได้รู้เลยว่าอย่างน้อยตอนนี้ก็รู้ว่าจริงๆ แล้ว ธรรมเป็นอย่างไร แม้ในขั้นฟัง ในขณะที่สมัยก่อนก็คิดว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรื่องราวแต่ละวันๆ ก็อยู่กับนาย ก นาย ข มีเรื่องราวจนกระทั่งนอน แล้วก็ตื่นขึ้นมามีเรื่องราวใหม่ ซึ่งในปัจจุบันอย่างน้อยก็ได้ฟังธรรมมีความเข้าใจมากขึ้นว่า จริงๆ แล้วเราเข้าใจผิดว่า ธรรมไม่ได้เป็นอย่างที่เราเข้าใจ
ท่านอาจารย์ นี่เพียงเริ่มเห็นเผินๆ เห็นจริงๆ จะเป็นอย่างไร ความติดข้องที่แน่นหนามากจะเป็นอย่างไร และปัญญาจะต้องรู้จริงๆ ระดับไหน ไม่อย่างนั้นไม่มีทางที่จะ "ละ"
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นต้องฟังให้เข้าใจบ่อยๆ เนืองๆ โดยที่ไม่ต้องหวังว่า ปัญญาจะมากกว่าที่เป็น
ท่านอาจารย์ หนทางเดียว ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ไม่มีเราเลย ทั้งหมดเป็นธรรม
อ.อรรณพ เราก็ฟังธรรมกันบ่อยๆ ศึกษาธรรมกันอยู่เนืองๆ อย่างเช่นวิถีจิตที่เราศึกษากันทุกวันนี้ ก็จะเกื้อกูล หรือเป็นส่วนประกอบ เป็นความเข้าใจ ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ที่ไหน ความเข้าใจก็อยู่ที่จิต เพราะเป็นปัญญาที่เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นการฟังว่า เป็นจิตแต่ละขณะที่เกิดแล้วดับไป แล้วก็มีจิตขณะต่อไปเกิดขึ้นทันที ไม่มีระหว่างคั่น จะไปหาความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ตรงไหนก็ไม่ได้ แล้วจิต เจตสิกก็มีลักษณะที่เกิดแล้ว ก็ไม่คงอยู่ เมื่อเกิดแล้วตั้งอยู่นิดหนึ่ง แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว สภาพของจิต และเจตสิกนั้นก็เป็นสภาพที่บีบคั้น ที่เป็นทุกขลักษณะ ที่เป็นทุกข์ไม่ใช่เจ็บ ปวด เมื่อย อะไรอย่างนั้น แต่ว่าทนอยู่ไม่ได้ ก็ต้องดับไป เพราะฉะนั้นทั้งหมดเราก็ยังไม่ได้ซึมเข้าไปที่จะเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม เราจึงฟังอภิธรรมที่มีพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องของจิต เจตสิก ก็จะเป็นเครื่องประกอบให้เรามีความคุ้นเคยทีละนิด ทีละหน่อยกับสภาพธรรมว่าเป็นสภาพธรรม ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง การที่ได้เข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้บ้างว่า ธรรมคืออะไร รูปธรรมนามธรรมเป็นอย่างไร ก็รู้สึกว่าเป็นสาระของชีวิต แต่ท้ายที่สุดแล้ว สาระก็จะคือ ศีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ และวิมุติสาระ ขยายความว่าในชีวิตประจำวันจะให้มีสาระเหล่านี้ เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็คงไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม อย่างเวลาใช้คำว่า “ศีล” กับ “สาระ” สาระก็คือสิ่งที่มีประโยชน์ เมื่อวานนี้ทั้งวันมีประโยชน์อะไรบ้าง แค่ไหน หรือว่าไม่มีเลย หรือว่ามีบ้าง นี่คือการที่จะรู้จริงๆ ว่า สาระไม่ใช่สิ่งที่มีในหนังสือ แต่ว่าเป็นชีวิตจริงๆ ที่เราสามารถจะเข้าใจได้ว่าหมายความถึงประโยชน์ และประโยชน์แท้จริง และเกิดแล้วด้วย เมื่อวานนี้มี หรือไม่ และอะไรเป็นสาระ
มิฉะนั้นเราก็แค่จำชื่อ “ศีลสาระ” ก็ต้องมานั่งคิดว่า ศีลคืออะไร สมาธิคืออะไร ปัญญาคืออะไร แต่ชีวิตเมื่อวานนี้ก็คือขณะจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อผ่านไป แล้วสาระของเมื่อวานนี้กับสาระของวันนี้ ซึ่งจะเหมือนกับเมื่อวานนี้ หรือไม่ และอะไรที่แท้จริงคือสาระ ไม่อยากให้เป็นเพียงตัวหนังสือ แต่หมายความว่าให้เข้าใจสภาพธรรมด้วย ประโยชน์คือการเข้าใจธรรม เมื่อวานนี้หมดแล้ว ผ่านไปแล้ว แล้วเวลาเข้าใจสาระ ถ้ายังคงเพียงตัวหนังสือ เราก็ไม่รู้ว่า แล้วเป็นสาระเมื่อไร เมื่อวานนี้มีสาระบ้างไหม แต่ถ้ามีความเข้าใจแล้ว เมื่อวานนี้สาระคือขณะไหน และขณะไหนไม่เป็นสาระ
ผู้ฟัง ถ้าตามความเข้าใจ คือ ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมตลอด ไม่ใช่ขณะอื่น
ท่านอาจารย์ นี่คือสาระ และขณะที่ไม่ใช่สาระละ ขณะไหนเมื่อวานนี้
ผู้ฟัง ก็เยอะเลย อาหารอร่อย ดอกไม้สวย
ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แม้ขณะนี้เป็นสาระ หรือไม่เป็นสาระ เพราะมีความเข้าใจ หรือยังไม่ได้เข้าใจความจริงของสภาพธรรมนั้น แต่พูดเรื่องสาระ ก็ให้ทราบแต่เพียงว่า ประโยชน์สูงสุดก็คือว่า ถ้ามีปัญญา ความเห็นถูก กุศลทั้งหลายก็จะเจริญขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศีล ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ หรือไม่ว่าจะเป็นปัญญา เพราะเหตุว่าศีล คือ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ซึ่งใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ละคนจะพูด จะทำตามจิต ขณะนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ถ้าขณะนั้นเป็นกุศลก็เป็นกุศลศีล ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศลทั้งวันนั้นก็ไม่ได้เป็นสาระอะไร เพราะว่าสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดความติดข้องต้องการ และเมื่อมีความติดข้องต้องการ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ก็เป็นไปตามความต้องการทั้งวัน ขณะนั้นก็ไม่ใช่สาระ
เพราะฉะนั้นสาระจริงๆ ก็คือขณะที่สามารถเข้าใจถูกว่า ขณะไหนเป็นประโยชน์ และขณะไหนเป็นกุศล เดี๋ยวนี้วันนี้ขณะนี้เป็นสาระ หรือไม่ ความเข้าใจก็มีหลายขั้น ขั้นฟัง คิด ไตร่ตรอง และขั้นกำลังรู้สาระจริงๆ คือ สามารถจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ได้
อ.ธีรพันธ์ ที่จะรู้สาระตามความเป็นจริง จะต้องรู้ถูก เห็นถูก เข้าใจถูก คือมีสติ มีสัมปชัญญะที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ต้องอาศัยความอดทน และอาศัยกาลเวลาที่นานมาก ถึงจะเข้าใจสาระตามความเป็นจริงได้
อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ ขันธ์ ๕ ไม่มีสาระ แล้วขันธ์ ๕ เป็นของว่างเปล่า แล้วการอบรมเจริญปัญญา การอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพื่อรู้ในลักษณะของสภาพธรรมก็คือรู้ในลักษณะของขันธ์ที่กำลังปรากฏ ซึ่งขันธ์ก็เป็นสภาพที่ไม่มีสาระ ว่างเปล่า แต่การอบรมเจริญปัญญาที่รู้ในลักษณะของขันธ์ ทำไมจึงเป็นสาระ
ท่านอาจารย์ ก็รู้กับไม่รู้ ก็ค่อยๆ เทียบว่า ขณะนี้สภาพธรรมมีแล้วก็ไม่รู้ กับสภาพธรรมที่มีแล้วรู้จนกระทั่งสามารถประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ก็ต่างกัน
อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นสาระมีหลายระดับอย่างไร
ท่านอาจารย์ ศีลสาระ วิมุติสาระ นี่ก็ต่างกันแล้ว แต่สาระคือประโยชน์ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด ถ้าไม่มีประโยชน์ขั้นต้นจะมีขั้นสูงสุดได้อย่างไร เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะได้ยิน ได้ฟังเรื่องของสภาพธรรม ก็รู้ว่า ขณะนั้นเป็นสาระกว่าการได้ยินได้ฟังเรื่องอื่น แม้ว่ายังไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นนามธรรมที่เกิดแล้วก็ดับอย่างเร็วมากสืบต่อ นี่คือความจริง แต่ว่ามีโอกาสได้ยินได้ฟัง
เพราะฉะนั้นการฟัง และเข้าใจสิ่งที่มีจริง ย่อมเป็นสาระกว่าฟังเรื่องอื่น ฉะนั้นก็เห็นสาระประโยชน์ของการได้ยินได้ฟังสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้ว ความเข้าใจที่ถูกต้องเจริญขึ้นเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เป็นการคิดเอาเอง หลงไป เข้าใจนิดเดียว ก็ไปคิดอีก ผิดๆ ถูกๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องเป็นผู้ละเอียดรอบคอบ แล้วก็รู้ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจถูกในความละเอียด ก็เป็นสาระ คือ ทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ที่จะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรม เป็นสาระทั้งนั้น
อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นการที่ท่านแสดงว่า ขันธ์ไม่มีสาระ หมายถึงเป็นสภาพที่เกิดดับ คือ ท่านมุ่งถึงสิ่งที่เป็นสาระ คือ พระนิพพาน แต่สำหรับการเริ่มต้น การค่อยๆ เริ่มรู้ ก็รู้ในสิ่งที่มีจริง ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดแล้วดับ ไม่มีสาระสำหรับปัญญาของพระอรหันต์ ก็เป็นสาระขั้นต้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทุกคนได้ยินได้ฟังบ่อย สภาพธรรมไม่เที่ยง ใครจะคัดค้านบ้าง สภาพธรรมเกิดแล้วดับไป ได้ยินแล้วก็คล้อยตาม แต่ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ แม้เพียงขั้นได้ฟังแล้วไตร่ตรอง เพื่อจะถึงการประจักษ์จึงเป็นสาระ แต่มิฉะนั้นแล้ว ฟังแล้วก็ทิ้งไป ใช่ไหม ทุกคนได้ยินได้ฟังว่า ธรรมไม่เที่ยง เห็นด้วยก็จบ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่ความที่เป็นผู้ละเอียด และเห็นคุณค่าของคำที่ได้ยินได้ฟังว่า เป็นสัจจะ เป็นความจริง ในเมื่อสิ่งที่ปรากฏจริง หรือไม่ จริงเมื่อเห็นเท่านั้นเอง เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นให้เห็นแล้วหมดไป แต่เป็นที่ตั้งของความไม่รู้ และความยินดี และความติดข้อง เพราะฉะนั้นก็เข้าใจว่า นั่นคือสาระที่จะได้มามากๆ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420