พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
ตอนที่ ๓๙๒
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ ยังมีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดโทสะได้ จะเปลี่ยนสภาพธรรมให้พระโสดาบันเป็นพระอนาคามีบุคคล หรือเป็นพระอรหันต์ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่ความเข้าใจที่ท่านเสียใจ
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจของผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลไม่กลับไปเป็นไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ซึ่งปุถุชนเราดูแล้วก็ยังงงอยู่ ใช่ไหมถ้าเกิดว่า..
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ดับความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะยังมีอนุสัยกิเลสอยู่
ผู้ฟัง อาศัยเรื่องราวแล้วยังคิดว่า ยังเข้าใจยาก
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นแล้วปุถุชนก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าไม่ต่างกัน
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ว่า ขณะที่โกรธ เรารู้ว่าเป็นสภาพธรรมก็คือโกรธ แล้วจะศึกษาลักษณะตอนนั้นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เรารู้ เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็คือรู้ลักษณะที่ต่างกันของขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดกับขณะที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด มิฉะนั้นจะไม่รู้จักสภาพที่เป็นสติปัฏฐาน ถ้ายังไม่เกิดก็รู้ไม่ได้ แต่เมื่อเกิดก็รู้ว่า ขณะนั้นกำลังรู้ตรงลักษณะที่มีนั่นเอง ไม่ใช่ไปคิดโกรธ หรือไม่ใช่เป็นเราจะไม่โกรธ แต่ว่าลักษณะใดก็ตามปรากฏ ดับแล้วด้วย ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด สิ่งนั้นหมดแล้ว ไม่สามารถจะไปรู้ความจริงได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อสติปัฏฐานเกิดจึงรู้ เพราะว่ามีสภาพที่สติกำลังรู้ตรงลักษณะนั้น ที่ยังปรากฏให้รู้ว่า เป็นสภาพธรรมนั้นอยู่
ผู้ฟัง บางครั้งถูบ้านก็โกรธ คิดว่าทำไมเราต้องมาทำนะ เหนื่อยก็เหนื่อย ยิ่งทำยิ่งเหนื่อย ยิ่งเหนื่อยยิ่งทำ บ่นไปด้วย ก็ฟังเทปท่านอาจารย์ คือท่านอาจารย์ก็บอกว่า ธรรมกำลังปรากฏ แต่ทำไมไม่ศึกษา ก็นึกขึ้นมาได้ แข็งปรากฏ ก็ทราบแค่นั้น ก็ไม่ทราบว่า แข็งตอนนั้นมันเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ สติเจริญขึ้น หรือไม่ หรือว่ามีแค่นั้น ถ้าปัญญามีความเข้าใจลักษณะนั้นเพิ่มขึ้น สติจะเกิดพร้อมปัญญาที่เข้าใจขึ้น หรือไม่ เพราะฉะนั้นที่ว่าสติเจริญ ไม่มีใครไปเจริญ แต่การที่เกิด แล้วก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง ซึ่งลักษณะของสภาพธรรมต่างกันจริงๆ แต่ละขณะ แต่เราไม่ชินกับการรู้ลักษณะ เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดนิดหนึ่งก็ไม่รู้ไปอีกนานมาก จนกว่าสติเกิดอีกเมื่อไร ก็รู้ลักษณะนั้น ก็เห็นความเป็นอนัตตาว่า บังคับบัญชาไม่ได้ สภาพธรรมปรากฏความเป็นอนัตตา แต่ปัญญาที่ยังไม่ได้อบรมพอไม่สามารถจะเห็นว่าเป็นธรรมที่เป็นอนัตตา แต่ใครก็เปลี่ยนความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมไม่ได้
ผู้ฟัง เกี่ยวกับเรื่องครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องของบัญญัติ กับลักษณะของปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป มันจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนกระทั่งเราไม่ได้เข้าใจสภาพจริงๆ ที่ปรากฏ และวันๆ หนึ่งก็จะหลงลืมอยู่กับบัญญัติ ครอบครัว ญาติมิตรตลอด ถ้าสติไม่ได้เกิดให้รู้ว่า เป็นรูป หรือว่าเป็นนาม
ท่านอาจารย์ กำลังเห็น ครอบครัวอยู่ที่ไหน แยก หรือไม่ ตาเป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้นเพียงเห็นแล้วดับไป
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจอย่างนี้ เข้าใจว่าเห็นครอบครัว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นความละเอียดที่จะรู้สภาพธรรมจริงๆ ไม่ใช่อย่างที่ใครๆ คิดเอง แต่ว่าธรรมเป็นของที่ละเอียด และลึกซึ้ง และต้องค่อยๆ อบรมความเห็นถูกแม้ขั้นการฟัง กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ ยังไม่ต้องเป็นครอบครัว เป็นอะไรก็แล้วแต่ขณะนั้นแยกแล้วจากเห็น เพราะว่าครอบครัวจะไปอยู่ที่ตรงเห็นไม่ได้ ต้นไม้ หรือคน สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะไปอยู่กับสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ได้เลย เป็น ๑ ขณะที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นจริงๆ เท่านั้นเอง หลังจากนั้นคิด
เพราะฉะนั้นแยกเมื่อคิด ซึ่งคิดไม่ใช่เห็นแน่นอนค่ะ แต่ว่าสืบต่ออย่างเร็วมาก จนกระทั่งการไม่รู้ความจริงจะทำให้พยายามแยก การศึกษาธรรมไม่ใช่ตัวตนไปพยายาม เข้าใจจนกระทั่งไม่มีเราทำ แม้แต่ที่ขณะนั้นที่กำลังพอใจ หรือไม่พอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็มีวิริยเจตสิกเกิดแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรอีกเลยทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถไปทำอะไรได้ นอกจากเข้าใจความละเอียดของธรรม แล้วก็รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับสืบต่ออย่างเร็ว เหมือนอยู่ในโลกของความคิดนึกจากสิ่งที่ปรากฏที่สั้นมากแต่ละทาง แล้วก็อยู่ในโลกของความจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด คือ เป็นอัตตา จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าไปพยายามแยกด้วยความเป็นตัวตน เหน็ดเหนื่อย แยกไม่ออก เพราะเป็นเรา ไม่ใช่เป็นปัญญา ไม่ใช่เป็นความเข้าใจถูก ถ้าเป็นความเข้าใจถูก อะไรจะเกิดก็คือธรรม นี่เรียกว่ามีกำลังแล้ว พอที่จะไม่เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิด เพราะสามารถมีสติเกิด ในขณะนั้นรู้ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึงตรงนี้ กลับรู้สึกว่าง่าย เพราะว่าถ้าจะคิดถึงครอบครัว ก็เป็นทางใจที่คิดนึกที่ต่างกับเห็นทางตา
ท่านอาจารย์ เราใช้คำว่า คิดนึกทางใจก็ง่าย ใช้คำว่า ทางตาก็ง่าย แต่เดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ จะรู้ลักษณะ หรือจะไปนึกถึงทางกาย ทางใจ
ผู้ฟัง เข้าใจ แต่การที่เราปัญญายังไม่มั่นคงกับสิ่งที่ปรากฏขณะนี้ ก็ไปคิดถึงเรื่องราว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่า ขณะนั้นการที่ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจ ทิ้งเรื่องอื่นหมดเลย จะกล่าวถึงอายตนะ จะกล่าวถึงธาตุ จะกล่าวถึงปฏิจจสมุปปาท ปัจจัยต่างๆ อริยสัจ ไม่ใช่ขณะนี้ เพราะยังไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ทุกขลักษณะก็ยังไม่ได้ปรากฏเลย เพราะฉะนั้นการฟังธรรมที่เป็นผู้ละเอียด ก็คือฟัง และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ มีสิ่งที่ปรากฏ แม้ขณะที่กำลังฟังแล้วไม่เข้าใจ ลองคิดถึงขณะที่ไม่ได้ฟังว่าจะเข้าใจได้ไหม ก็ลืมไปมากเลย ทั้งๆ ที่ขณะนี้ก็มีธรรม และมีการได้ฟัง ไม่ลืม เพราะกำลังได้ยินอยู่ แต่จากการฟัง ปัญญาสามารถค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ปรากฏ ว่าเป็นสิ่งที่เพียงปรากฏจริงๆ ไหม เพราะว่าไม่เคยเข้าใจมานาน และจะให้เข้าใจจนกระทั่งหมดความสงสัยว่า เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับธรรมอื่นๆ เช่นเดียวกับเสียง เช่นเดียวกับกลิ่น เช่นเดียวกับแข็ง เช่นเดียวกับคิด เป็นธรรมทั้งหมดเลย นี่คือฟัง และเริ่มเข้าใจ และไม่ต้องไปกังวล ไปทำอะไรก็ไม่ได้ ถ้าทำเมื่อไหร่ก็ผิด กำลังแยกก็ผิด
ผู้ฟัง เข้าใจทุกอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวเดี๋ยวนี้เอง แต่ความเป็นไปก็ไม่ได้เป็นไปที่ท่านอาจารย์ว่าต้องเป็นอย่างนี้ มันไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะว่าฟังเข้าใจ เห็นปัญญาต่างขั้นไหม ฟังนี่ไม่ใช่ไม่เข้าใจ ทั้งๆ ที่มีสภาพธรรมปรากฏด้วย แข็งก็ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏ เสียงก็ปรากฏ คิดนึกก็ปรากฏ ชอบไม่ชอบก็ปรากฏ จิตที่กำลังรู้ก็มีจริงๆ ฟังเข้าใจ เพราะฉะนั้นรู้ว่า เพียงขั้นเข้าใจ ไม่ได้ประจักษ์ เพราะว่าสภาพธรรมต้องเกิดจึงปรากฏ นี่ก็ไม่รู้ความจริงขั้นนี้ เพราะฉะนั้นความจริงขั้นนี้จะมีได้ ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจถึงขณะที่สติสัมปชัญญะกำลังรู้ตรงลักษณะที่ได้ฟังมาแล้วนานมาก หรือไม่ ถ้ารู้ขณะนั้นก็เริ่มเป็นหนทางที่จะทำให้ชิน ใช้คำว่า “ชิน” ต่อลักษณะของสภาพธรรม ถ้าเห็นกันครั้งเดียว จำไม่ได้ เห็นบ่อยๆ ค่อยๆ รู้ เพราะฉะนั้นเพียงแค่แข็งปรากฏเหมือนเดิม แล้วปัญญาจะละกิเลสได้อย่างไร เพราะไม่ชินกับลักษณะที่เป็นธาตุ หรือเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จากแข็งมาเป็นเห็น เป็นได้ยิน เป็นคิดนึก ทั้งหมดต้องรู้ จึงจะสามารถคลายความเป็นตัวตน เป็นเราที่รู้ หรือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จำไว้ว่าเที่ยง
ผู้ฟัง ก็กราบขอบพระคุณจริงๆ ท่านอาจารย์ก็ได้แนะมาทางที่ถูกตรงนี้ แต่เข้าใจตัวเองเลยว่า หลงลืมเป็นประจำ แล้วจะไปยุ่งอยู่กับเรื่องครอบครัว
ท่านอาจารย์ เห็นไหมว่าเข้าใจแล้ว แล้วตอนนี้เดือดร้อน แปลว่าไม่ได้เข้าใจแล้ว
ผู้ฟัง ก็ยอมรับว่า ยังไม่เข้าใจถึงแก่น
ท่านอาจารย์ ไม่ไช่เข้าใจตอนฟัง ตอนเป็นเรื่องราว แต่พอสภาพธรรมเกิด ไม่ได้เป็นอย่างที่เข้าใจ
ผู้ฟัง ทั้งนี้ถ้าเป็นสภาพที่เราติดข้อง ว่าเป็นญาติมิตร ครอบครัว ตรงนั้นสภาพธรรมเป็นคิดนึก จะอบรมอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ก็รู้ว่า แค่คิด นี่คือเห็น ไม่ใช่คิด ถ้าคุณบุษบงรำไพคิดเรื่องยาว แล้วสติสัมปชัญญะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพหนึ่งสภาพใด รู้เลยว่าเรื่องที่คิดนั้นไร้สาระ แค่คิดแล้วก็หมด แต่ลักษณะที่แข็งจริงๆ มีการเกิดจริงๆ มีการดับจริงๆ ตอนนี้จะรู้ว่า ปัญญาจะสามารถรู้อะไรได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง ค่อยๆ อบรมความเข้าใจสิ่งที่มีจริง และจะเห็นว่า ความคิด คิดไปเรื่อย
ผู้ฟัง เวลามีลักษณะโกรธเกิดขึ้น ถ้าจะไปตามหาว่า โกรธด้วยเรื่องอะไร มันเป็นเรื่องราว และไม่มีวันจบสิ้น ตรงนี้เข้าใจเพิ่งจะเกิดขึ้นมา แล้วก็รู้เลยว่า บัญญัติ หรืออะไร ไม่มีความหมาย แต่ลักษณะที่ปรากฏตรงนั้น คือ โกรธ ตรงนี้คือใช่ ก็เข้าใจตรงนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ชินต่อสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา คลายการยึดถือไหม แต่ถ้าชินเพียงปรากฏให้เห็น ลองคิดถึงคำนี้ลึกๆ ทุกอย่างที่ปรากฏทางตา เพียงปรากฏให้เห็น แต่ละชาติเท่านั้นเอง แค่เห็น แต่เพราะความไม่รู้ ก็ติดในสิ่งที่ปรากฏให้เห็นมาก เพราะฉะนั้นก็เห็นเลยใช่ไหมว่า ความติดข้องติดข้องในอะไร ในสิ่งที่ปรากฏ เพราะมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ก็ติดในสิ่งที่ปรากฏทางตา มีเสียงปรากฏให้ได้ยิน ก็ติดในเสียงที่ปรากฏให้ได้ยิน ติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ มิฉะนั้นไม่ทรงแสดง โลภมูลจิตที่เป็นไปกับกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แสดงให้เห็นตามความเป็นจริง ให้เข้าใจถูก แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เพียงแต่ไปคิด แต่สภาพธรรมนั้นๆ กำลังปรากฏจริงๆ ให้ถึงการที่จะสามารถเริ่มเข้าใจลักษณะนั้นจนกว่าจะชิน
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ได้กล่าวจากคำบรรยาย “ยินดีในสิ่งที่ปรากฏ” ก็เลยไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ว่าเป็นธรรม เพราะไปติดยินดีเสียแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะชินต่อการติด จนกว่าจะชินว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง คำว่า “เข้าใจ” หมายความถึงเข้าใจสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง คำว่า “เข้าใจ” ฟังเข้าใจนี่ ในขณะนั้นปัญญาเกิด หรือไม่
ท่านอาจารย์ จริงๆ ไม่ใช่ติดป้าย ไม่ใช่ติดป้ายปัญญา
ผู้ฟัง แต่เป็นปัญญา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถามใคร ขณะใดที่เข้าใจ ภาษาบาลีไม่มีคำว่าเข้าใจ เพราะฉะนั้นกำลังเข้าใจถูก เห็นถูกในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ และเป็นจริงอย่างที่กำลังได้ยินได้ฟังด้วย ไม่เป็นอย่างอื่น เรื่องของธรรมเป็นเรื่องซึ่งเข้าใจว่า น่าจะไม่มีข้อสงสัย เพราะอะไร เพราะธรรมเป็นธรรมที่ปรากฏแล้วไม่เปลี่ยนลักษณะ แต่พอได้ยินคำ จะเกิดความสงสัยว่า เป็นคำนั้น หรือไม่ หรือว่าคำนั้นมีลักษณะอย่างไร
มีคนถามว่า โกรธ กับกลัว เหมือนกัน หรือไม่ ลักษณะโกรธต่างกับลักษณะกลัวอย่างไร เหมือนกับคนนั้นไม่เคยโกรธ ต้องให้คนอื่นมาบอกว่า โกรธเป็นอย่างนี้ๆ นะ หรือว่าไม่เคยกลัว จนกระทั่งต้องมีคนมาบอกว่า กลัวคืออย่างนั้น อย่างนี้นะ นี่ไม่ถูกต้อง จะเรียกอะไร หรือไม่เรียกอะไร เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้เลย ก็เลยบอกให้คนที่ถามลองชิมของที่มีอยู่บนโต๊ะ รูปร่างเหมือนช็อคโกแลต แล้วก็ถามเขาว่า รสเป็นอย่างไร บอกให้ละเอียดหน่อย จะบอกละเอียดได้ไหม ทุกคำที่รับประทานแล้วรสปรากฏ จะบอกละเอียดได้ไหม เค็มแค่ไหน เปรี้ยวแค่ไหน มีหวานเจือบ้าง หรือไม่ หรือเผ็ดอย่างไร หรือมีรสอื่น เช่น รสของเครื่องเทศบางอย่าง ซึ่งผสมแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี แม้จะน้อย จะมากอย่างไร ก็ต้องมี แล้วจะอธิบายให้ละเอียดออกมาได้ไหมว่า รสที่กำลังปรากฏในขณะที่ลิ้ม มีลักษณะอย่างไร
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมก็เหมือนกัน เราอาจจะพยายามใช้คำ แต่คนที่ฟังจะเข้าใจคำที่เราใช้ หรือไม่ อย่างบอกว่า “เหนอะหนะ” เป็นอย่างไร เหนียว แต่ไม่ใช่แข็ง แล้วจะต้องมีคำอธิบายแต่ละอย่างๆ ไม่เหมือนกับสภาพธรรมนั้นปรากฏจริงๆ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ก็จะรู้ว่า ธรรมเป็นธรรม มีจริงๆ ปรากฏทางตาลักษณะหนึ่ง ขณะนี้มีสีสันหลากหลายมาก ไม่ใช่สีเดียว ถ้าสีเดียวจะรู้ไหมว่า เป็นรูปร่างสัณฐานอย่างไร ถ้าขาวล้วนหมด เขียวล้วนหมด ก็ไม่มีรูปร่างสัณฐานที่จะไปจำว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ไปเปลี่ยนสิ่งที่ปรากฏ โดยคำพูด หรือโดยความคิด แต่สิ่งที่มีจริง เป็นจริงแล้วไม่ต้องอธิบาย เพราะปรากฏแล้ว เหมือนอย่างสิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส กระทบสัมผัสสิ่งที่นุ่มก็มี สิ่งที่ตึงก็มี สิ่งที่แข็งมากก็มี แสดงให้เห็นว่า ความหลากหลายของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป แม้จะใช้คำอธิบายเท่าไร ก็ไม่เหมือนกับสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ
เพราะฉะนั้นการอธิบาย หรือการใช้คำ เพื่อให้เข้าใจความหมายของสภาพธรรมที่มี เท่าที่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำหลายคำ ก็ส่องถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ละเอียด และแตกต่างหลากหลายกันไป จนกระทั่งแม้ระดับของปัญญา หรือความเห็นก็มีหลายระดับ จนกว่าจะเป็นการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ซึ่งขณะที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม สภาพธรรมที่ปรากฏ ใครเลือกได้ว่าจะให้เป็นขณะที่สภาพธรรมใดปรากฏ เพราะว่าสภาพธรรมที่จะเกิด แต่ยังไม่เกิด มีใครสามารถบอกได้ว่า ลักษณะนั้นเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้การอบรมเจริญปัญญา ก็คือให้เข้าถึงลักษณะที่เป็นธรรม ถ้ามีความเข้าถึงลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ เจอข้อความใดในพระไตรปิฎก สามารถที่จะรู้ไหม ในเมื่อสิ่งที่หลากหลาย ที่ใช้ชื่อต่างๆ กัน ก็ปรากฏแล้ว แต่ไม่ได้เรียกชื่อตามนั้นเท่านั้นเอง
การฟังธรรมก็คือ เราไม่ไปติดที่คำ แต่รู้ว่า ลักษณะนั้นจริงๆ มีจริงๆ ปรากฏทางไหนก็ทางนั้น แล้วก็ค่อยๆ ชิน คุ้นเคยกับความเป็นธรรม เพราะว่าเพียงแข็ง วันนี้กระทบหลายครั้ง ก็ยังไม่ได้รู้ว่า แข็งเป็นธรรมชนิดหนึ่งเกิดดับ เพราะปรากฏว่าแข็ง ประเดี๋ยวก็เป็นโต๊ะ ประเดี๋ยวก็เป็นดอกไม้ ประเดี๋ยวก็เป็นแว่นตา ประเดี๋ยวก็เป็นปากกา ตามการคิดนึก เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าการศึกษาธรรม แม้มีสภาพธรรมปรากฏจริงๆ และพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ก็มากมาย เพื่ออุปการะให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงของสภาพธรรมนั้น แต่ความต่างของความเข้าใจขั้นฟัง หรือว่าไม่เข้าใจแต่จำ ก็มีใช่ไหม อย่างบางคนจำชื่อได้ แต่ถามว่า นี่เป็นนาม หรือเป็นรูป แสดงว่าเข้าใจ หรือไม่ ในความเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม
นี่แสดงให้เห็นว่า มีหลายระดับ ซึ่งต้องเป็นผู้ตรงจริงๆ และถ้าเข้าใจธรรมว่าเป็นธรรม เวลาที่สภาพธรรมใดเกิดขึ้นเดือดร้อนไหม เห็นความต่างแล้วใช่ไหม จำได้ว่าชื่ออะไร ได้ยินคำว่า “ธรรม” แต่พอสภาพธรรมเกิด ถ้าเป็นสภาพธรรมที่ไม่น่าพอใจ เป็นอกุศล เดือดร้อนทันที ก็แสดงว่า ไม่รู้ความจริงว่าเป็นธรรม ซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว และแม้ความเดือดร้อนขณะนั้นก็เป็นธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ทั่ว จนกระทั่งไม่หลงผิด เข้าใจผิดว่า เที่ยง ไม่เกิดดับ เป็นเรา หรือเป็นเขา วันหนึ่งปัญญาอบรมเจริญจนกว่าจะถึง แต่เป็นผู้ตรงที่ว่า ไม่มีการเข้าใจผิดว่ากำลังอยาก กำลังเป็นตัวตนที่แยก และสามารถจะรู้ธรรมตามความเป็นจริงได้ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะขณะนั้นไม่รู้ว่า เป็นธรรมซึ่งเป็นลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมหลากหลายที่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ในการศึกษาตามความเข้าใจ คิดว่าเมื่อเข้าใจจริงๆ ก็จะละคลายอะไรที่เป็นกิเลส โดยที่สังขารขันธ์ก็จะปรุงแต่งเป็นอัตโนมัติ โดยที่ไม่มีตัวเราทำให้ เมื่อโกรธแล้วจะละโกรธอย่างไร อย่างนี้ หรือ
ท่านอาจารย์ ก็มีอยู่คำเดียว ที่รู้สึกว่า อาจจะเผลอ คือ ทำความเข้าใจ
ผู้ฟัง จริงๆ สังขารขันธ์ปรุงแต่งเขาเข้าใจของเขา คือ เมื่อฟังเข้าใจ ก็เป็นธรรมที่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ กำลังฟังเข้าใจ คุณอรวรรณทำ หรือว่าเจตสิกทั้งหลายที่เกิดกับจิตทำหน้าที่นั้นๆ แล้วปัญญาก็เห็นถูก
ผู้ฟัง ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับความตระหนี่ พระโสดาบันละความตระหนี่ได้ แต่ไม่เข้าใจที่อาจารย์อธิบายว่า พระโสดาบันก็ยังมีโลภะ เวลาที่ไม่ให้ ไม่ให้เพราะโลภะ กับไม่ให้เพราะความตระหนี่
ท่านอาจารย์ ความตระหนี่มีจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ เป็นคุณแสงธรรม หรือว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ จะรู้จักความตระหนี่เมื่อไร
ผู้ฟัง เมื่อปรากฏ
ท่านอาจารย์ เมื่อสภาพนั้นเกิดขึ้น แต่ถ้าจะกล่าวถึงสภาพธรรมที่ไม่ปรากฏในขณะนี้ ก็เพียงแต่คิด และเข้าใจ เพราะฉะนั้นในขณะนี้จริงๆ พื้นฐานก็คือว่า เข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม ที่ยังไม่ได้รู้ความจริงว่าเป็นธรรม เพียงแต่ได้ยินชื่อ และเรื่องราว พอได้ยินเรื่องตระหนี่ ก็สงสัยเรื่องตระหนี่ แต่ตระหนี่กับโลภะ เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน หรือเหมือนกัน นี่แสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจของเรา ไม่ใช่เพียงแต่ไปจำชื่อ เรื่องราว แต่จะต้องรู้ลักษณะจริงๆ ด้วยการไตร่ตรอง ด้วยความละเอียดว่า เวลาที่ได้ยินคำว่า “ตระหนี่” กับ “โลภะ” เป็นสภาพที่มีจริงแน่นอน ทั้ง ๒ นี่เป็นธรรม เพราะเหตุว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ เพียงมีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไป แต่ว่าตระหนี่กับโลภะเป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน หรือต่างกัน
ผู้ฟัง ต่างกัน
ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไร
ผู้ฟัง ที่เข้าใจคือ ตระหนี่ คือ หวงแหนสมบัติของตนเอง ไม่ให้เป็นสาธารณะกับคนอื่น
ท่านอาจารย์ วันนี้ตระหนี่ หรือยัง
ผู้ฟัง อาจจะมี แต่ไม่รู้
ท่านอาจารย์ วันนี้มีโลภะไหม
ผู้ฟัง วันนี้มี
ท่านอาจารย์ ตอบได้เลย เพราะฉะนั้นโลภะไม่ใช่ตระหนี่ เพราะเหตุว่าโลภะเป็นสภาพที่ติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยความไม่รู้ ก็มีความติดข้อง โดยไม่ทันรู้ตัวเลย เช่น ขณะที่กำลังเห็นขณะนี้ มีใครรู้ลักษณะที่ติดข้องบ้าง ทั้งๆ ที่ไม่มีลักษณะที่ตระหนี่ และลักษณะที่ติดข้อง เมื่อได้ฟังธรรมก็จะทราบว่า ถ้าไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นเมื่อเห็นแล้วก็เป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด ซึ่งก็ไม่พ้นจากโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ แต่แม้อย่างนั้นก็ยังยากที่จะรู้ และสำหรับความตระหนี่ก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิต รู้ไหมว่า จิตประเภทไหน นี่คือการไม่ข้าม ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา ไม่อย่างนั้นก็เพียงแต่จำชื่อกับเรื่องราว เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความตระหนี่ ไม่สามารถสละสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ ขณะนั้นจิตเป็นอกุศลประเภทไหน
ผู้ฟัง ประเภทโทสะ
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ตอบได้ แต่เวลาที่ยังไม่ตระหนี่ แล้วเวลาที่โทสะเกิดขึ้นจะรู้ไหมว่า โทสะขณะนั้นมีตระหนี่เกิดร่วมด้วย หรือไม่มีตระหนี่เกิดร่วมด้วย นี่เป็นเรื่องที่จะรู้จักสภาพธรรมจริงๆ ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจถูกต้องว่า สภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับไป เร็วมาก แม้ว่า ๑ ขณะจิตนานาประเภทต่างๆ กัน ไม่ได้เกิดพร้อมกันเลย แต่เกิดดับสืบต่อ โดยมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากน้อยต่างกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเพื่อที่จะให้เข้าใจ คือ สามารถค่อยๆ พิจารณาให้รู้ความจริงในขณะนั้น โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงคำใด เช่น ตระหนี่ไม่ใช่โลภะ แล้วตระหนี่ก็เกิดกับโทสะ เพราะอะไรถึงเกิดกับโทสะ ทำไมตระหนี่จึงเกิดกับโทสะ เห็นไหม ไม่ได้เข้าใจหาเหตุผล แต่อยากจะรู้เท่านั้นเองว่า สิ่งนั้นต่างกับสิ่งนั้น เพราะอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ว่าตามความเป็นจริงก็ต้องมีเหตุผลด้วย เวลาตระหนี่เกิดขึ้นรู้ไหมว่า ทำไมขณะนั้นเกิดกับจิตที่เป็นโทสมูลจิต
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420