พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
ตอนที่ ๔๐๒
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เห็นความต่างกันของปัจจัยที่ทำให้จิตประเภทนี้เกิดขึ้น โดยอาศัยอะไรบ้างเป็นอุปัตติ การเกิดขึ้นของการกระทบกัน ถึงกาละที่จิตเห็นจะเกิดขึ้นก็ต้องเห็น แล้วก็ดับไป ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วก็ต้องมีการเห็น การได้ยิน ซึ่งก็ต้องเป็นวิบาก เป็นผลของกรรมที่ได้กระทำไว้ เป็นกาละที่จะให้เห็นอะไร สิ่งที่ปรากฏให้เห็นขณะนี้จะต่างกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็นต่อไปไหม
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตาเมื่อไรก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา
ท่านอาจารย์ แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ หรือเสียงที่ปรากฏทางหูขณะนี้ที่กำลังปรากฏ จะต่างกับสิ่งที่ปรากฏทางตา และทางหูขณะต่อๆ ไปไหม
ผู้ฟัง คือเป็นลักษณะของเสียงกับสิ่งที่ปรากฏทางตา เหมือนกัน แต่ว่าไม่ใช่อันเดิม คือสิ่งที่ปรากฏทางตาเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ แต่ว่าสภาพธรรมเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่อันเดียวกัน ที่ว่าจะเป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นอะไร ใหม่ทั้งหมด คาดคะเนได้ไหมว่า กลิ่นไหนจะกระทบจมูก
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เสียงไหนจะกระทบจมูก แสดงความเป็นวิบาก หรือผลของกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไป เพราะมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย แต่หลังจากนั้นแล้วจะเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ไม่ใช่วิบาก เป็นการสะสมของจิตซึ่งพอใจ ไม่พอใจ หรือว่าเป็นความรู้ ความไม่รู้ในสภาพธรรมที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้เมื่อจิตมีความหลากหลาย ด้วยการที่ทรงตรัสรู้ก็แสดงความชัดเจนว่า จิตขณะไหนเป็นชาติอะไร เปลี่ยนไม่ได้เลย และจิตขณะไหน ไม่ใช่วิบาก จิตขณะไหนเป็นอกุศล จิตขณะไหนเป็นกิริยา
ผู้ฟัง ในปัญญาขั้นฟัง เมื่อเห็นได้ยินแล้ว สะสมที่จะเป็นกุศล หรืออกุศล ในปัญญาขั้นฟังนี้ไม่สามารถที่จะสะสมจากเดิมที่เป็นอกุศลมาก แล้วเปลี่ยนเป็นสะสมกุศลยังไม่ได้ ต้องให้เข้าถึงลักษณะสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ จะมีเราไปทำอะไร แค่ฟังเข้าใจขึ้นเท่านั้น จะหวังอะไร จะทำอะไร ไม่ได้ เพราะว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นขณะที่ไม่ได้ฟังก็ไม่เข้าใจ ขณะที่ฟังก็เข้าใจ พอหมดการเข้าใจแล้วก็เป็นโลภะ โทสะ หรือว่าจะเป็นกุศล อกุศลตามการสะสมที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นไป จึงเป็นธรรมที่บังคับบัญชาไม่ได้ ฟังแล้วจะไปคิดทำอะไร ไม่ต้องคิด เสียเวลา คิดแล้วทำให้เกิดขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าจะไม่ให้เสียเวลาก็คือฟังให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง
ท่านอาจารย์ ขณะที่เข้าใจคือเข้าใจ ดับแล้วก็เป็นขณะอื่นต่อไป กังวลเดือดร้อนด้วยความเป็นเรา แต่ถ้ารู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ สภาพธรรมใดเกิดก็เป็นสภาพธรรมทั้งนั้น ผิด หรือถูก ฟังแล้วต้องคิดไตร่ตรองพิจารณา ถ้าถูกก็คือว่าเปลี่ยนไม่ได้
ผู้ฟัง ยิ่งฟังก็เป็นความไพเราะ และลึกซึ้ง แต่ก็เนื่องจากอวิชชากับ โลภะเยอะก็ยากจริงๆ
ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าจะสอนสิ่งที่ง่ายๆ หรือ
ผู้ฟัง แล้วก็ท่านต้องบำเพ็ญบารมีตั้ง ๔ อสงไขยแสนกัป เพราะฉะนั้นมีบุญที่ได้มาฟัง แล้วก็มั่นคงว่าสักวันหนึ่งก็ต้องเข้าใจเข้าถึงความจริงได้ ก็กราบอนุโมทนา
ท่านอาจารย์ ที่จริงไม่น่าเดือดร้อน เพราะอวิชชาก็เป็นธรรม ไม่รู้ก็เป็นธรรม โกรธก็เป็นธรรม ชอบก็เป็นธรรม ปัญญาก็เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ควรเดือดร้อนเลย ถ้ารู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม แต่เดือดร้อนเพราะไม่รู้
ผู้ฟัง เพราะไม่รู้ และเพราะกิเลส
ท่านอาจารย์ และเพราะต้องการ
ผู้ฟัง การประพฤติออกทางกายวาจา แล้วทางใจ มันจะเป็นศีลด้วย หรือไม่ เพราะว่าเราไม่ได้พูดถึงการนึกคิดทางใจอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ คุณณรงค์หมายความว่า มีจิตเห็น จิตได้ยิน แล้วไม่มีจิตคิดนึก หรือ
ผู้ฟัง มีจิตคิดนึก แต่ว่าศีลหมายถึงการประพฤติออกทางกายวาจาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต ประพฤติได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าอกุศลศีล กุศลศีล หรืออัพยากตศีล ก็เพราะจิตขณะนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง เพราะมีจิตคิดนึก
ท่านอาจารย์ จิตเห็นเป็นศีล หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นศีล
ท่านอาจารย์ เป็นอย่างไรศีล
ผู้ฟัง ไม่ทราบเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ จิตเห็นเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม เพียงเห็น แล้วก็หมดไป แต่หลังจากเห็นแล้ว ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต เวลาที่มีอกุศลจิตเกิดขึ้น มีกาย วาจาเป็นไปตามอกุศลนั้น หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นเช่นนั้น
ท่านอาจารย์ เมื่อจิตเป็นอกุศล กายวาจาที่เป็นไปตามอกุศล จะเป็นกุศลศีลได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ แต่เวลาใดที่จิตเป็นกุศล กายเป็นกุศลด้วย หรือไม่
ผู้ถามเป็นกุศลด้วย
ท่านอาจารย์ วาจาเป็นกุศลด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นกุศลด้วย
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นกุศลศีล
ผู้ฟัง แสดงว่า คือเรื่องของศีลเป็นการประพฤติออกทางกายวาจา แต่ว่าใจเป็นตัวที่สั่งให้กาย และวาจาทำไป
ท่านอาจารย์ รูปทำอะไรไม่ได้เลย รูปไม่ใช่สภาพรู้ แม้กำลังเหมือนอาการที่กำลังเป็นอกุศล เบียดเบียนบุคคลอื่น ขณะนั้นรูปก็ไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้นรูปเป็นศีลไม่ได้ แต่มีกุศลจิต และอกุศลจิต ก็รู้ไม่ได้ ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางวาจา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แล้วก็มีอีกประโยคหนึ่ง ความหมายของคำว่าเป็นผู้ตรง ตรงทั้งที่เราไม่โกหกคนอื่นกับตรงทั้งสภาพธรรมที่ปรากฏแก่เรา ณ ขณะนั้น ใช่ หรือเปล่าไม่
ท่านอาจารย์ ที่บอกว่าทุกอย่างเป็นธรรม ตรงไหม
ผู้ฟัง เป็นความจริง
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เห็นเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เห็นเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ คิดนึกเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรมแน่ๆ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ โกรธเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง ก็เป็น
ท่านอาจารย์ ไม่ลืม นี่คือตรง ที่รู้ว่าเป็นธรรม แต่เวลาที่เกิดชอบไม่ชอบ เป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง ก็เป็น
ท่านอาจารย์ เมื่อไรที่เป็น
ผู้ฟัง ก็เป็นชอบ หรือไม่ชอบ
ท่านอาจารย์ แล้วรู้ไหมว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง แต่ว่า ณ ตอนนั้นไม่รู้ เพราะว่าไม่มีสติ
ท่านอาจารย์ นี่คือความเป็นผู้ตรง หมายความว่าพูดได้ แต่รู้จริงๆ หรือไม่ว่า เป็นธรรม เพราะฉะนั้นตรงระดับขั้นที่ฟังแล้วก็ไม่เปลี่ยน ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น ถ้ารู้ว่าสิ่งที่มีจริง มีจริงๆ ก็เป็นผู้ตรง เพราะว่ากำลังเห็น เห็นมีจริงแน่ๆ แล้วถ้ารู้ว่าเห็นที่มีจริง ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชา มีปัจจัยก็เกิดขึ้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ในขณะนี้ ก็เป็นผู้ตรง แล้วเวลาที่เกิดชอบไม่ชอบ ก็รู้ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะว่ามีปัจจัยก็เกิดขึ้น ถ้ารู้อย่างนั้น ขณะนั้นคือเป็นผู้ตรง อยากจะมีปัญญามากๆ ไหม
ผู้ฟัง คือมันอยาก แต่ไม่ใช่ว่ามันยากแล้วก็จะมีได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแล้วอยากมีไหม
ผู้ฟัง อยากมี
ท่านอาจารย์ อยากมีแล้วจะมีได้ไหม โดยความอยาก
ผู้ฟัง มีไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็คือเป็นผู้ตรง ถ้าตรงแล้วก็คือตรง จะไปทำอย่างอื่นเพื่อให้ที่จะให้ปัญญาเกิดรู้มากๆ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ ต้องตรง
ท่านอาจารย์ นี่ก็คือเป็นผู้ที่ตรง ขณะนี้ถ้ามีโลภะ จะละโลภะเพราะอะไร
ผู้ฟัง ละเพราะปัญญา เป็นผู้ที่ตรงรู้สภาพธรรมของโลภะ
ท่านอาจารย์ ก็ไม่สงสัยแล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง ฟังปกิณณกธรรม แผ่นที่ ๑๒ ประมาณแทรคที่ ๔๒ มีคนสนนากับอาจารย์เรื่องของ ทุกข์คือสภาพธรรมที่เกิดดับ ก็คิดตาม ลองคิดทวน สภาพธรรมที่เกิดดับเป็นความทุกข์ ทีนี้ก็มาคิดในชีวิตประจำวัน ก็มีเห็น มีได้ยิน เดี๋ยวก็เกิด เดี๋ยวก็ดับ แต่ก็ไม่ยักจะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ตรงไหน ขอให้อาจารย์ช่วยอธิบายเหตุผลด้วยว่า สภาพธรรมที่เกิดดับเป็นทุกข์อย่างไร
ท่านอาจารย์ มีคุณณรงค์เห็น จะเป็นทุกข์ไม่ได้ เพราะมีคุณณรงค์
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจตรงนี้
ท่านอาจารย์ มีคุณณรงค์ไหม
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วไม่มี
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อสักครู่คุณณรงค์เห็นว่าไม่ยักเป็นทุกข์ นั่นเป็นความเห็นของคุณณรงค์ หรือไม่ ที่ว่าไม่เป็นทุกข์
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังเป็นคุณณรงค์ ไม่เป็นทุกข์แน่ เพราะมีคุณณรงค์ เหมือนเที่ยง เหมือนมีตัวจริงๆ จะเป็นทุกข์ได้อย่างไร ไม่เห็นดับไปเลย แต่เมื่อเป็นธรรมที่เพียงเกิดแล้วดับ ไม่เหลือเลย ดีไหม ชั่วขณะเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็หมดไปเลย ไม่กลับมาอีกด้วย แล้วสิ่งที่จะพบจะเห็นต่อไปก็ไม่ใช่สิ่งเดิม อย่างผู้ที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรม จะคะเนได้ไหมว่า จะรู้แจ้งรูปไหนนามไหน เป็นไปไม่ได้เลย เพราะยังไม่เกิด ไม่มีใครสามารถที่จะไปคะเนได้ว่า สิ่งที่จะเกิดต่อไปจะเป็นอะไร อย่างเสียง ได้ยินไหม
ผู้ฟัง ได้ยินครับ
ท่านอาจารย์ รู้ไหมว่าต่อไปจะได้ยินเสียงอะไร
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ รู้เฉพาะเสียงที่ปรากฏเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นนี่ก็แสดงให้เห็นว่า สิ่งใดก็ตามที่เกิด ไม่รู้การเกิดขึ้น เพราะขณะนี้สิ่งใดก็ตามที่ปรากฏ หมายความว่าเกิดขึ้นแล้วจึงปรากฏได้ ถ้าไม่เกิดขึ้นเลย จะปรากฏไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม เหมือนกับมีแล้ว แต่ความจริงสิ่งนั้นต้องเกิด และเกิดแล้วต้องดับ ไม่ได้มีอะไรเลย ดับแล้วก็ไม่กลับมาอีก เป็นอย่างนี้ตลอด
ผู้ฟัง ก็นั่นสิ
ท่านอาจารย์ เป็นทุกข์ไหม สภาพเกิดดับเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่าความทุกข์ หรือมีความทุกข์ แต่ลักษณะที่ไม่เที่ยงนั่นแหละเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนบังคับให้ยั่งยืน ให้คงทนได้ จะไปเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมใดๆ ไม่ได้เลยทั้งสิ้น สภาพธรรมใดจะเกิดมีเหตุปัจจัย เกิดแล้วดับไป เกิดมาทำไม เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ทุกอย่าง โลภะก็เพียงเกิดมาติดข้อง โทสะก็เพียงเกิดมาขุ่นเคือง ทุกสิ่งทุกอย่างเพียงเกิดเพราะมีเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไม่เหลือเลย แต่ก็สะสมอยู่ในจิต คือ ความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นสภาพธรรมจริงๆ ที่ประจักษ์ว่า เกิดแล้วดับแล้วไม่เหลือเลย ไม่กลับมาอีก เป็นทุกข์ หรือไม่
ผู้ฟัง ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ต้องใช้คำนี้
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไตรลักษณะ ๓ อย่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแหละเป็นทุกข์ ไม่ใช่สิ่งอื่น สุขก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าเกิดแล้วก็ไม่เที่ยง
ผู้ฟัง บางครั้งความคิดก็ปะปนกันระหว่างความหมายของคำว่าทุกข์ ในปัจจุบัน ก็จะคิดว่าทุกข์แล้วก็ต้องทรมานทรกรรมอะไรต่างๆ มีความไม่สบายใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด คิดเองไม่ได้ ต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจ จนกระทั่งพิจารณาว่า สิ่งใดก็ตามเพียงเกิดแล้วดับ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดว่าจะตอกย้ำความเข้าใจอีกหน่อย ก็คือให้เพิ่มความละเอียดรอบคอบเวลาพูดถึงคำว่า “ทุกข์” ในธรรม ต้องพูดว่า ทุกข์เพราะไม่เที่ยงอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เขาพูดกันอยู่แล้ว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณะ สภาพที่ไม่เที่ยงนั่นแหละเป็นทุกข์ สภาพที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์นั่นแหละเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ให้เราไปจับคำเดียวว่าทุกข์ แต่ไม่รู้ว่าอนิจจัง และอนัตตา
ผู้ฟัง ทุกข์เพราะไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ ตอนนี้เห็นด้วยไหม
ผู้ฟัง ก็เห็นด้วยเพราะว่าทุกข์เพราะไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ จะประจักษ์แจ้งได้ไหม
ผู้ฟัง ประจักษ์แจ้งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร
ท่านอาจารย์ ได้ไหม ในเมื่อเป็นสิ่งที่มีจริงแล้วกำลังเกิดดับด้วย
ผู้ฟัง ได้ ถ้ามีปัญญา ในเรื่องของขันธ์ ๕ เข้าใจว่า ขันธ์ ๕ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือรู้เพราะว่าเรียนมาอย่างนี้ หลังจากนั้นก็มาเรียนเรื่องปรมัตถธรรม มีรูป จิต เจตสิก
ท่านอาจารย์ คุณณรงค์ได้ยินอะไรก่อน ขันธ์ ๕ ก่อน หรือปรมัตถธรรมก่อน
ผู้ฟัง ขันธ์ ๕ ก่อน
ท่านอาจารย์ แล้วรู้ไหมว่ารูปขันธ์เป็นอะไร
ผู้ฟัง เพิ่งรู้จากที่นี่ว่า รูปขันธ์คือสภาพที่ไม่รู้ เป็นธาตุที่ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก่อนศึกษาจะได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เข้าใจความจริงของสิ่งที่ได้ยิน
ผู้ฟัง แล้วที่นี้อยากจะได้เหตุ คือ ถ้าเกิดว่าเขาสอนว่า ขันธ์ ๓ คือ มีรูป มีจิต เจตสิก มาถึงวันนี้ก็ยังพอเข้าใจได้ แต่พอเขาแตกเป็นขันธ์ ๕ แยกเอาสัญญากับเวทนาออกมา แต่ก่อนหน้านั้นผมก็เข้าใจแหละว่าเป็นขันธ์ ๕ แต่ก็ยังไม่ลึกซึ้งอะไร แต่พอผมมาลึกซึ้งในเรื่องจิต เจตสิก รูปแล้ว ถ้าเกิดพูดว่าขันธ์ ๓ โอเค ผมพอเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ขันธ์ ๓ อะไรบ้าง
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป
ท่านอาจารย์ แล้วความหมายของขันธ์คืออะไร
ผู้ฟัง ขันธ์คือสภาพธรรมที่แบ่งออกเป็นกองๆ
ท่านอาจารย์ แบ่งด้วย หรือ
ผู้ฟัง ที่มันมีออกเป็นกอง เป็นกอง
ท่านอาจารย์ จริงๆ เป็นอย่างนั้น หรือเปล่า หรือว่าเพียงได้ยินคำว่าขันธ์ ก็นึกแปลออกมาเลยว่าเป็นกอง เป็นกอง
ผู้ฟัง อันนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษา ถ้าศึกษาไปด้วยความไม่เข้าใจ อย่างไรๆ ก็ไม่เข้าใจ ไม่ใช่ให้เราไปจำชื่อ แล้วไปคิดเอง หรือเข้าใจว่ารู้แล้ว แต่จริงๆ แล้วต้องเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า เป็นสิ่งที่มีจริง ก่อนฟังไม่เข้าใจเลย แล้วเวลาที่ฟังก็คือว่าไม่ได้ฟังเรื่องอื่น แต่ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง และค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ใช่ไปจำหน้า จำข้อ จำชื่อ
อ.กุลวิไล กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า การศึกษาพระอภิธรรมอย่างละเอียด จะเกื้อกูลต่อการเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอย่างไร
ท่านอาจารย์ ความละเอียดของผู้ศึกษาต้องเริ่มตั้งแต่ต้น คือรู้ว่า อภิธรรมคืออะไร ไม่ว่าจะได้ยินคำไหน ไม่ใช่ฟังเผินๆ แล้วก็เหมือนกับเข้าใจแล้ว แต่ต้องรู้แม้แต่คำว่า “ธรรม” คือ สิ่งที่มีจริงๆ หรือไม่ จะหาได้ที่ไหน แล้วก็ศึกษาได้อย่างไร ไม่ใช่ว่าต้องไปซื้อตำรา แล้วก็ไปเข้าโรงเรียน หรืออะไรอย่างนั้นเลย เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าทุกขณะเป็นธรรม เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามจะโดยการฟัง โดยการอ่าน ก็คือให้รู้ว่าธรรมคืออะไรก่อน ถ้ารู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม เหมือนกับที่เคยเข้าใจ หรือไม่ เพราะแต่ก่อนไม่ได้เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏเป็นธรรม เข้าใจว่าธรรมเป็นอื่นจากสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แต่ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ฟังให้เข้าใจถูกต้องในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ และก็จะรู้ว่า ปัญญาที่เกิดจากการฟังสามารถที่จะมีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ตรงตามที่ได้ฟังมากน้อยแค่ไหน
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะได้ยินคำอะไร ถ้าเพิ่งตามไป โดยที่ไม่ได้เข้าใจความหมายเลย แต่ต้องรู้ว่า คำนั้นต้องแสดงความจริงของสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ โดยนัย โดยประการต่างๆ ที่จะทำให้เข้าใจถูกต้องว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วความละเอียดก็คือว่า สิ่งใดก็ตามมีจริงเมื่อปรากฏ และสิ่งที่จะปรากฏได้ สิ่งนั้นต้องเกิดขึ้นจึงปรากฏได้ แค่นี้คือการศึกษาธรรม ไม่ใช่หมายความว่า ไปเรียนมากๆ แล้วก็ไม่รู้เลยว่า ขณะนี้เป็นจริงอย่างนี้ คือว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งกำลังปรากฏให้ศึกษา ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกระทั่งประจักษ์ความจริงว่า สภาพธรรมไมใช่เรา ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ แล้วความจริงก็คือว่า สิ่งนี้เกิดแล้วจึงปรากฏ ก่อนที่ใครคิดจะทำให้เกิดขึ้นได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไร เรื่องอะไร ขณะไหนก็ตาม สิ่งใดก็ตามปรากฏในขณะนี้ จริง เพราะเกิดแล้ว แล้วก็เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัยด้วย เมื่อฟังแล้วมีความเข้าใจ ความเป็นจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นั่นคือศึกษาธรรมที่เป็นอภิธรรม อภิ คือ ละเอียด และก็ยิ่ง คือ ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงนั้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงใช้อีกคำหนึ่งว่า ปรม – อรรถ คือ ปรมัตถธรรม หมายความถึงธรรมซึ่งแม้ไม่เรียกชื่อใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ธรรมนั้นก็เป็นธรรมนั้น ซึ่งมีจริงๆ แล้วใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ด้วย ถ้ากล่าวว่า ขณะนี้เป็นธรรม ละการยึดถือว่าเป็นเราเห็น เราคิด หรือไม่คะ ยังไม่ได้ละเลย เพราะว่าสะสมความไม่รู้มานานมาก การฟังที่เริ่มฟังแล้วก็อาจจะฟังไปหลายปี แล้วก็อาจจะฟังมาแล้วก่อนๆ นี้หลายชาติ แต่ถ้าเทียบกับความไม่รู้ น้อยมาก เช่นขณะนี้ ฟังแค่นี้ แต่ว่าที่ไม่ได้ฟังเมื่อเช้านี้เท่าไร แล้วที่ยังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมเมื่อเช้านี้เท่าไร
เพราะฉะนั้นเพียงฟังแล้วก็มีความเข้าใจว่า กำลังมีธรรมปรากฏ แค่นี้ เราก็เริ่มที่จะรู้ว่า สิ่งที่เคยปรากฏนั้น เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจริงๆ หรือไม่ หรือเป็นแต่เพียงสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ในขณะที่มีจิตเกิดขึ้นเห็นเท่านั้นเอง นี่คือค่อยๆ ฟังจนกว่าจะเข้าใจขึ้น
อยากจะถึงนิพพานไหม อยากจะหมดกิเลสไหม แค่อยาก อยาก อยาก ก็อยากอยู่ตลอด ก็เหมือนอยากอื่นๆ ที่ก็อยาก แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง พระธรรมทั้งหมดเพื่อละ เห็นไหม ไม่ใช่เพื่ออยาก เพราะฉะนั้นผิด หรือถูก เริ่มจะผิด หรือว่าเริ่มจะถูก แม้แต่การเริ่มต้น คือเริ่มต้นที่ถูกก็คือเริ่มละความไม่รู้ เพราะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะไปถึงไหนเลย ถ้าเทียบกับการสะสมของอกุศลซึ่งนานแสนนาน และความเข้าใจสามารถที่จะถึงกาลที่จะดับอกุศลทั้งหมด ไม่เกิดอีกเลย
เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ฟังนิดหน่อย แล้วก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แล้วก็อยากถึงนิพพาน หรือว่า อยากหมดกิเลส คือโลภะมาอีกแล้ว เป็นเรื่องติดโดยตลอด เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมจริงๆ จะตรงกับที่ทรงแสดงไว้ว่า ภาวนาธิษฐานชีวิตตัง ภาวนา คือ การอบรม ถ้าไม่มีปัญญาเลย แม้เพียงฟังก็ไม่ได้ฟัง จะอบรมอะไร เพราะว่าแต่ละคนเกิดมาแล้ว อวิชชาเป็นสภาพที่เหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด นึกถึงคนที่เกิดมาก็ตาบอดเลย จะเห็นอะไรไหม ไม่มีหนทางเลย ก็เปะๆ ปะๆ ไปตลอดชีวิต แต่ว่าเวลาที่ได้ฟังธรรมแล้ว มีความเข้าใจเห็นทางที่จะละความไม่รู้ไหม ยังไม่ต้องไปหมดกิเลสเลย เพราะว่ากิเลสสะสมมามหาศาลมากมาย แล้วส่วนธรรมที่ได้ฟังเพียงเล็กน้อย เหมือนสิ่งที่ฉาบทาบางๆ เดี๋ยวก็ลอก หมดแล้ว หรือไม่ก็เดี๋ยวก็หายไป แล้วก็มีสิ่งที่สะสมมา มีปัจจัยปรุงแต่งที่จะปิดบังเหมือนเดิม ที่จะไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม แม้ขณะที่กำลังฟัง เพียงเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ
เพราะฉะนั้นภาวนาก็คืออบรมความเข้าใจที่เกิดจากการฟังให้มั่นคงขึ้น อธิษฐานะ คือ มั่นคง ให้มีความเข้าใจจริงๆ แม้จะเพียงเล็กๆ น้อยๆ ในเบื้องต้น แต่ความเข้าใจไม่เปลี่ยน เหมือนว่าเริ่มเห็นหนทาง ก็ค่อยๆ เดินไปตามทางนั้น จนกว่าจะรู้ว่าเป็นทางพ้นจากความไม่รู้ เพราะเหตุว่าความมืดเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด แล้วไม่มีทางใดๆ เลย ก็จะต้องไม่รู้จะไปทางไหนในชีวิต แต่เมื่อเกิดมาแล้วได้ยินได้ฟัง ภาวนาธิษฐานะ การอบรมมั่นคง จนกระทั่งเป็น ภาวนาธิษฐานชีวิตตัง ชีวิตที่ได้ฟังธรรมแล้ว ก็จะเป็นไปตามกำลังของปัญญาที่จะละทุจริต แม้ว่าจะมีโลภะ ที่จะต้องเลี้ยงชีพ มีสิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อความดำรงอยู่ของชีวิต แต่ก็เป็นไปในทางที่ไม่ผิดทาง หรือว่าไม่เป็นไปในทางมิจฉาอาชีวะ แม้การแสวงหาก็แสวงหาในทางธรรม มั่นคงขึ้นอย่างนี้ตลอดไปเรื่อยๆ ปัญญาจึงจะค่อยๆ เจริญขึ้นได้ เพราะความเข้าใจธรรม แต่ไม่ใช่มีเพียงกุศลขั้นทาน ขั้นศีล แต่ว่าไม่มีการรู้จักธรรมที่กำลังปรากฏเลย แล้วหวังว่าจะละ เป็นสิ่งที่ละไม่ได้ แม้แต่ความอยากที่จะละกิเลส โดยไม่รู้อะไร ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420