พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
ตอนที่ ๔๐๔
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังฟัง แม้เข้าใจก็ไม่ใช่เรา เพราะสภาพธรรมที่เป็นสังขารขันธ์เกิดขึ้นปรุงแต่งจากวันก่อนๆ ขณะก่อนๆ ชาติก่อนๆ จนกระทั่งถึงได้ยินได้ฟังขณะนี้ปรุงแต่งให้มีความแยบคาย ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าไม่เป็นอย่างนี้มาก่อน เฉพาะใครก็ตามที่มาฟังวันนี้ จะเข้าใจว่าเป็นธรรมไหม เหมือนกับอีกโลกหนึ่งซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังเลย จากการที่เป็นคนเป็นวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างนานแสนนานมั่นคงเหลือเกิน เที่ยงเหลือเกิน ในแต่ละภพแต่ละชาติ มาเป็นการที่เข้าใจถูก เห็นถูกว่า มีสิ่งที่เพียงปรากฏแล้วหมดไป จะเร็วจะสั้นสักแค่ไหน ในความรวดเร็ว ซึ่งกว่าจะเข้าใจตามเห็นความความเป็นจริงได้ เป็นการอบรมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก อริยสัจ ๔ และพระธรรมคำสอนทั้งหมดเป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา ไม่ใช่ไปบังคับให้เกิด แต่ว่าเมื่อได้ยินได้ฟังแล้วสังขารขันธ์ก็จะค่อยๆ ปรุงแต่งพิจารณาไตร่ตรอง แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะมีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมากน้อยแค่ไหน อบรมสะสมไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่า พอได้ยินแล้วเหมือนบอกให้ทำ แต่ความจริงจะเข้าใจอย่างนั้นไม่ได้ เหมือนกับเห็นแล้วโลภะเกิด ไม่ได้บอกให้โลภะเกิด เห็นแล้วระลึก ก็ไม่ได้บอกให้ระลึก แล้วแต่เหตุปัจจัย
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นไม่ว่าจะศึกษาในพระสูตร ยกตัวอย่างว่า ที่บอกให้ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้สงบ ก็เหมือนว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า ถ้าอบรมปัญญาถึงขั้นให้เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ สิ่งเหล่านั้นก็จะเกิดตามกำลังของปัญญา ไม่สามารถมีตัวตนไปทำอะไรได้ทั้งนั้น ถึงแม้ว่าอ่านแล้วเหมือนกับว่าให้ทำอย่างนี้สิ ไม่ยกเว้นแม้แต่การที่ว่าระลึกเดี๋ยวนี้ คำว่า “ระลึกเดี๋ยวนี้” หมายความว่าเมื่อมีเหตุปัจจัยของปัญญาให้เกิดพร้อม แล้วสังขารขันธ์ก็จะปรุงแต่งให้สามารถระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ตามที่เราศึกษาในทางปริยัติ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นธรรม ฟังเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรม แล้วรู้จักธรรมทั้งหมดตามกำลังของปัญญา แต่ไม่ใช่หมายความว่า ฟังแล้วเป็นเราฟัง เป็นเราทำ ฟังธรรมต้องเป็นผู้ที่ละเอียด แม้แต่คำว่าธรรมก็ลืมไม่ได้ว่า เป็นธรรม ถ้าอย่างคำว่า “ละชั่ว” ใครละได้เพียงได้ยินคำนี้ว่า “ละชั่ว” เห็นไหม ถ้าไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่าอะไรชั่ว ละได้ไหม เพราะฉะนั้นเพียงได้ยินคำว่า “ละชั่ว” ใครที่ไหนจะละชั่ว ยังไม่รู้เลยว่าชั่วคือเมื่อไร ขณะไหน
เพราะฉะนั้นพระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อความเข้าใจถูก ความรู้ถูก ความเข้าใจความจริง โดยการที่ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นปัญญา เพราะฉะนั้นสำหรับพระพุทธศาสนาขาดปัญญาไม่ได้เลย เพราะไม่มีปัญญาเมื่อไร ไม่รู้เมื่อนั้น เป็นอวิชชาเมื่อนั้น หลงทางเมื่อนั้น เข้าใจผิดเมื่อนั้น
เพราะฉะนั้นทุกคำที่ได้ยินได้ฟังไม่ใช่ว่ารู้แล้ว แต่ยังไม่เข้าถึงความเป็นธรรมของสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จึงฟังธรรมให้รู้ว่าเป็นธรรม แม้แต่ละชั่ว ถ้าไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ความเห็นถูก จะรู้ไหมว่า ขณะนี้ชั่ว หรือไม่ แล้วจะละอย่างไร ชั่วอยู่ที่ไหน ก็ไม่รู้
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีปัญญาก็จะไม่ทราบเลยว่า ชั่วเป็นอย่างไร แล้วจะละอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่ฟังคำว่า “ละชั่ว” ไม่ได้หมายความว่าให้ไปละ แล้วทำได้ แต่ต้องเป็นการเข้าใจถูกเห็นถูกว่า อะไรชั่ว ชั่วจริง หรือไม่ ดีต่างกับชั่วอย่างไร ขณะที่รู้อย่างนั้นไม่ใช่เราเลย แต่เป็นปัญญาซึ่งทำหน้าที่ละความไม่รู้ในขณะนั้นเอง
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นหนทางเดียวก็คืออบรมเจริญปัญญา
ท่านอาจารย์ แน่นอน ภาวนาธิษฐานชีวิตัง มาจากคำว่า ภาวนา อบรม อธิษฐาน คือ มั่นคง ชีวิตัง คือ ชีวิตซึ่งเกิดมาแล้ว ถ้าไม่ได้มีการอบรมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกอย่างมั่นคงก็ไม่สามารถเข้าถึงธรรมที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ได้
เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม กำลังฟังเรื่องธรรม แล้วเข้าถึงลักษณะที่เป็นธรรม หรือยัง ต้องเป็นผู้ที่ตรง ฟัง ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย ไม่มีทางที่จะเข้าถึงสภาพที่เป็นธรรมในขณะนี้ซึ่งเป็นธรรม แต่เพราะความเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย มั่นคง ก็จะทำให้รู้ว่าอะไรดี หรืออะไรชั่ว ชีวิตที่เกิดมาก็จะดำเนินไปในทางธรรม แม้แต่การแสวงหาปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิติอยู่ก็ในทางธรรม ซึ่งไม่เป็นไปในทางที่จะเป็นอกุศลธรรม อย่างมั่นคงขึ้นๆ เพราะปัญญาจนกว่าจะมีการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ถ้าเว้นชั่วจะอาจหาญร่าเริง แล้วก็ยังรู้ด้วยว่าการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมต้องอบรม แล้วก็เข้าใจถูกต้องว่าอย่างมั่นคงที่จะไม่ไปทำอื่น เพราะเหตุว่าขณะนั้นถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้ ก็คือเป็นเราไปทำด้วยกำลังของโลภะ
ผู้ฟัง จากการที่ได้ฟังอาจารย์นำสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาสอนให้พวกเราฟัง ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็จะทราบว่า เมื่อไรที่มีตัวตนไปทำ ก็คือผิด เพราะว่าจริงๆ แล้ว ปัญญาที่เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง เช่นคำว่าละชั่ว เป็นตัวอย่างที่ดี ก็ต้องปัญญาเท่านั้นจะรู้ว่าชั่วเป็นอย่างไร และจะละได้อย่างไร ถ้าเป็นตัวเราเมื่อไร ผิดทางแล้ว
ท่านอาจารย์ กำลังชั่ว เพราะเห็นผิด เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเรา
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นไม่รู้ตัวเลย ว่ากำลังชั่วอยู่
ท่านอาจารย์ เหมือนคนที่หลับไม่ตื่น ถ้าไม่มีการได้ฟังพระธรรม ไม่รู้เลยว่า จริงๆ นั้นคืออะไร
ผู้ฟัง ขอพูดนิดหนึ่ง เรามั่นระลึกสภาพธรรม มั่นที่จะคุ้นเคยกับเขาไปเรื่อยๆ เมื่อปัญญาสมบูรณ์เมื่อไรเป็นเหตุปัจจัยให้ระลึกได้ทันที มั่นอบรมไปเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่ไม่มี จนกระทั่งสมบูรณ์เมื่อไร เมื่อนั้นนั่นแหละเราจะถึงจะที่เราเข้าใจ ไม่นั้นไม่มีทางถึง ถ้าเราไม่หมั่นระลึก
ท่านอาจารย์ ก็ขอพูดถึง ย้ำแล้วย้ำอีก ความละเอียดของการเข้าใจธรรม วิริยะไม่ใช่ปัญญา ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ความเพียร หลายคนก็สนใจมากที่จะเพียร แต่ถูก หรือผิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความเพียร เพราะเพียรเกิดกับกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ แต่ต้องมีความเห็นถูก
เพราะฉะนั้นสำหรับพระพุทธศาสนาละได้ด้วยปัญญาอย่างเดียว ถ้าเป็นหนทางอื่น บางคนก็อาจจะคิดว่าชีวิตนี้ก็ไม่ได้ทำอกุศลใดๆ แล้วก็ทำกุศลตั้งหลายอย่าง ก็น่าจะเพียงพอแก่การเป็นผู้ที่เพียร หรือว่าบางคนที่เห็นว่าวันหนึ่งๆ ก็มีอกุศลมาก ถ้าจิตสามารถที่จะสงบระงับจากอกุศล ซึ่งทันทีที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ถูกประทุษร้ายด้วยกิเลสที่สะสมมาในจิต เป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ มากมาย ลองคิดดูจากเห็นชั่ว ๑ ขณะ กลายเป็นความไม่ชอบ เป็นคน เป็นเรื่องราว เป็นต่างๆ มากมายเหลือเกิน ขณะนั้นอกุศลก็มากมาย
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้จริงๆ ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกจริงๆ อย่างอื่นไม่สามารถที่จะละได้ ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องกังวล สภาพธรรมแม้วิริยเจตสิกก็เกิดกับจิตเกือบทุกขณะ แม้แต่ขณะนี้เวลาที่เกิดความติดข้องขึ้น เร็วเท่าไร สั้นเท่าไร น้อยเท่าไร ก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นี่คือประโยชน์ของการได้ยินได้ฟังธรรมที่ละเอียดขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่เข้าใจผิด เพราะเหตุว่าด้วยความเป็นตัวตนทุกคนอยากเพียร บอกให้เพียรพอใจมาก แต่ไม่คิดถึงความเห็นถูก หรือความเข้าใจถูกเลย
เพราะฉะนั้นถ้ารู้ว่า วิริยเจตสิกก็เกิดกับจิตเกือบทุกประเภทอยู่แล้ว แต่ปัญญาไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย แม้กุศลเกิดขึ้นเป็นไปในทาน ในศีล ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็มากมาย เพราะฉะนั้นสำหรับพระพุทธศาสนาเมื่อมีปัญญากุศลทั้งหลายเจริญขึ้น แล้วก็โสภณเจตสิกทั้งหลายก็เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ตามปัญญาที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ขณะนั้นก็เป็นความเพียรที่ถูก
ด้วยเหตุนี้หลายคนก็ยังเห็นหนทางที่จะละกิเลสคลาดเคลื่อน ด้วยการเป็นตัวเราที่ทำ ที่เพียร แล้วเมื่อไรจะรู้ว่า ไม่ใช่เราที่เพียร ก็ต่อเมื่อฟังธรรม เข้าใจเดี๋ยวนี้ ขณะนั้นเป็นหนทางที่เพียรนั้นเกิดร่วมกับปัญญาแต่ละขณะที่เข้าใจ ไม่ต้องมีเราไปเพียรอีกต่างหาก
นี่คือการที่จะค่อยๆ คลายการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นเรา ด้วยเหตุนี้ในพระพุทธศาสนา พุทธะ คือปัญญา ถ้าไม่สอนให้มีความเข้าใจที่เห็นถูก ไม่มีใครสามารถจะคิดเองถูกเองได้ แต่อาศัยการฟัง เข้าใจเมื่อไร เป็นสภาพธรรมที่เห็นถูกตามความเป็นจริงที่กำลังได้ยินได้ฟัง ถ้าต้องการอีกเมื่อไร โลภะมาอีกแล้ว ไม่เห็นโลภะอย่างละเอียดเลย แล้วจะละโลภะได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้การฟังธรรมต้องละเอียดจริงๆ ต้องไตร่ตรองจนกระทั่งไม่ใช่เรา เพราะมีความอยาก หรือความต้องการแม้เพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น เพราะความติดข้อง ติดข้องแม้ในกุศลได้ เฉพาะกุศลที่เป็นไปเพื่อออกจากสังสารวัฏฏ์ เท่านั้น ที่จะทำให้พ้นจากความติดข้องได้ แต่กุศลทุกระดับที่มีใช่กุศลที่เป็นปัญญาที่จะให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ก็ยังคงเป็นอารมณ์ของการติดข้องได้
มีใครไม่ต้องการปัญญาบ้าง ถ้ารู้ว่าปัญญาเป็นปัญญา ต้องการเป็นโลภะก็ต้องพิจารณาแล้ว ถึงไม่ต้องการเลย แต่มีเหตุที่ปัญญาจะเกิด ปัญญาก็ต้องเกิด เพราะฉะนั้นอยู่ที่ปัญญา แต่ถ้ายังไม่มีปัญญา จะไม่ให้ต้องการได้ไหม ไม่ให้ติดข้องได้ไหม เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่ามีเหตุที่จะให้ติดข้อง เพราะความไม่รู้เป็นเหตุ
ผู้ฟัง คือในขั้นฟัง เนื่องจากพระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงที่ปรากฏทางหู มันเหมือนกับเราไม่สามารถแยกชื่อ หรือว่าเรื่องฟังกับสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ สภาพธรรมที่เกิดในชีวิตประจำวันให้มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ท่านอาจารย์ พูดถึงเยื่อในกระดูก ลึกไหม
ผู้ฟัง ลึกมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นผิวไม่ใช่เยื่อในกระดูก ผ่านผิวลงไปเป็นเนื้อ เลือดอะไรตามแต่ ก็ไม่ใช่เยื่อในกระดูก เพราะฉะนั้นขณะนี้กำลังฟังเรื่องธรรม มีความเข้าใจระดับไหน จรดลักษณะที่เป็นธรรมที่เกิดดับ หรือไม่ วิตก สัมมาสังกัปปะ พร้อมด้วยสัมมาสติ ต้องมีสัมมาทิฏฐิ มิฉะนั้นจะเกิดไม่ได้เลย ขณะนั้นก็มีสัมมาสมาธิ สัมมาวายามะ เกิดร่วมด้วย ไม่มีใครไปทำเลย มาจากไหน ถ้าไม่มีการฟัง จนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นการฟังในระดับนี้ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ถูกต้องว่า จรดเยื่อในกระดูก หรือยัง หรือเพียงแต่ได้รับฟัง แล้วก็สภาพธรรมก็ปรากฏ มีจริงๆ แล้วความจริงก็เป็นอย่างที่ได้ยินได้ฟังนั้นแหละ แต่ว่าถึงระดับไหน ไม่ใช่เยื่อในกระดูกแน่
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นฟังให้เข้าใจจริงๆ แล้วก็เริ่มต้นมีความเห็นถูก เข้าใจถูกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แม้แต่คำว่าทุกอย่างเป็นธรรม จรดเยื่อในกระดูก หรือยัง
ผู้ฟัง คงอีกนาน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เข้าใจความหมายว่า และต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ลึกจริงๆ ประจักษ์แจ้งจริงๆ เพราะสภาพธรรมกำลังปรากฏ ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น อาจหาญร่าเริงที่จะไม่หวังอย่างอื่น ไม่ต้องการอย่างอื่นเลย เพราะอะไร มีสภาพธรรมปรากฏแล้วก็เป็นผู้ตรงว่า แม้สภาพธรรมกำลังปรากฏในขณะนี้ ละสภาพธรรมที่กำลังปรากฏด้วยความไม่รู้ไปสู่สภาพธรรมอื่น หรือไม่ ไม่จรดเยื่อในกระดูกเลย
ผู้ฟัง แต่ว่าเหมือนกับเป็นความเป็นอนัตตา เราก็ห้ามไม่ได้ที่เขาจะเกิด หวังที่จะให้รู้มากกว่าที่ปัญญาอบรมแล้วรู้นี่ ตรงนี้เมื่อฟังมากๆ ก็รู้ว่าเป็นเครื่องกั้นแต่ก็ห้ามให้เขาเกิดไม่ได้ ทีนี้ในการศึกษาก็คือให้รู้เท่านั้น ว่าเขามาแล้ว อย่างนี้ หรือ
ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะ ขณะนี้เป็นลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมดเลย แต่ละลักษณะ ก็ข้ามๆ ๆ ลักษณะเหล่านี้ไปเป็นเรื่องเป็นราว เพราะความคุ้นเคยต่อการที่จะคิดนึกว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เทียง เพราะฉะนั้นการฟังก็ฟังแล้วฟังอีก ให้เข้าใจว่า สิ่งที่กำลังฟังมีจริงๆ กำลังปรากฏแล้วค่อยๆ เข้าใจถูก เห็นถูก ไม่ละสิ่งนี้ไปสู่สิ่งอื่น แต่กำลังเริ่มที่จะเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ในการศึกษาธรรม ธรรมจริงๆ เขาละเอียด ยกตัวอย่างว่าอย่างจิตเห็นจะเกิด เขามีปัจจัยอะไรบ้างมากมายที่ทำให้เกิดได้ ได้ยิน คิดนึก หรืออะไรก็แล้วแต่ รบกวนให้อาจารย์ขยายความว่าในการศึกษาให้ละเอียดแล้วไม่เผิน เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ธรรมคือสิ่งที่มีจริง เมื่อจริงต้องปรากฏ ขณะใดที่มีสภาพธรรมใดปรากฏ ให้ทราบว่ามีความรู้ มีความเข้าใจในสภาพนั้นมากน้อยแค่ไหน หรือว่าเพียงแต่ฟังเรื่องของสภาพธรรมนั้น นี่คือความละเอียด ไม่ใช่พอพูดถึงธรรม รู้แล้ว แต่เดี๋ยวนี้อะไรเป็นธรรมที่ปรากฏ และกำลังปรากฏ การได้ฟังเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏ ให้ทราบว่าเราคิดเองไม่ได้เลย ไม่มีทางที่จะเข้าใจโดยการคิดนึกเอง แต่ว่าจากการที่ได้ฟัง ก็เริ่มที่จะรู้ว่า มีความไม่รู้มากแค่ไหนในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะว่าตามความเป็นจริง เหมือนสิ่งนี้ไม่ได้เกิดดับ แต่ความจริงการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็ว จนกระทั่งที่เหลือ คือ นิมิตตะ การที่จำได้ในลักษณะที่สืบต่อว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด และเข้าใจว่ามีจริงๆ และเที่ยง แต่สภาพธรรมมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง เกิดปรากฏ สั้นมากแล้วก็ดับไป ให้ทราบว่าเพียงไม่คิด อะไรๆ ก็จะไม่มีเลย แต่ในความทรงจำเหมือนมีสิ่งนั้นเที่ยงอยู่ตลอดเวลา มีเรา มีเขา มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ เป็นความไม่รู้สิ่งที่ปรากฏมากแค่ไหน ไม่รู้แม้แต่เพียงว่าที่เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างมี ยั่งยืนในความทรงจำ ความจริงก็เพียงชั่วขณะจิตที่เกิดขึ้น และคิดถึงสิ่งนั้นในขณะนั้น สิ่งนั้นจึงเหมือนมีเพราะคิด แต่ว่าความจริงลักษณะที่มี ถ้าเป็นปรมัตถธรรมเกิดแล้วดับแล้ว เพียงแต่ความจำไปจำรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ
นี่เป็นสิ่งที่เป็นจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้นฟังอย่างไรที่จะให้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏให้ถูกต้อง คือฟังแล้วก็ไม่ใช่ว่า รู้แล้ว แต่ว่าความละเอียดก็คือพิจารณา ความจริงว่า อยู่ในโลกของความคิดนึก และความไม่รู้มากแค่ไหน แล้วก็เริ่มค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าปัญญาสามารถที่จะเห็นถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เวลาที่ใช้คำแปลไม่ยากเลย ใช่ไหม สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นถูก เห็นอะไรถูก สิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงเป็นอย่างไร เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏ แค่นี้ผู้ที่ละเอียดก็รู้แล้ว ว่าต้องเป็นเรื่องของการอบรมปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ไม่ใช่มีเราที่อยากจะรู้แล้วไปพยายามทำอย่างอื่น ซึ่งไม่มีทางที่เข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นไม่ต้องคำนึงถึงขณะที่ปัญญาเจริญสมบูรณ์จนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งความจริง แต่แม้ในขณะนี้เองก็เป็นการที่เริ่มที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่า มีสิ่งที่กำลังปรากฏ กำลังฟังเรื่องนี้ เลิกไปคิดเอง หน้านั้น หน้านี้ ชื่อนั้น ชื่อนี้ เพราะว่ากำลังฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
ผู้ฟัง ในขั้นฟังมานี่ ในขั้นเรื่องราวของสิ่งที่มีจริงขณะนี้ หรือว่าชื่อของสิ่งที่มีจริงขณะนี้ ก็พอจะเข้าใจได้บ้าง แต่การที่จะเข้าใจจริงๆ ตามที่สภาพธรรมเป็นจริงต้องอาศัยการเข้าใจขั้นฟังจริงๆ ถึงจะสามารถเข้าถึง หรือรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วไม่ลืมด้วย แม้แต่เข้าใจก็เป็นธรรม คือฟังจนกว่าจะมีความเข้าใจมั่นคงว่า ทุกอย่างเป็นธรรมจริงๆ มิฉะนั้นการที่จะอบรมปัญญาไม่สามารถที่จะรู้จริงได้ เพราะเป็นเราที่ไปทำอย่างอื่น เพราะฉะนั้นที่จะสะสมให้มั่นคง คือ ความเห็นถูกความเข้าใจถูกว่าไม่มีเรา เมื่อไม่มีเราก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งก็ต้องฟังจนกว่าจะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น และความเข้าใจนั้นก็เจริญขึ้น เมื่อความเข้าใจเจริญขึ้น สติสัมปชัญญะก็จะเจริญขึ้น ไม่ใช่ว่ามีใครจะไปทำได้ แต่ทั้งหมดเป็นการอบรม เป็นการสะสมการสืบต่อของสภาพธรรม
ผู้ฟัง กราบอนุโมทนา
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังละโลภะ หรือไม่ เมื่อฟังอย่างนี้ มิฉะนั้นไม่มีทางไหนเลยที่จะละโลภะ เพราะว่าแอบแฝงอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะรู้ความจริงว่า ไม่มีเรา ธรรมต้องเป็นไปตามปัจจัย ถ้ามีปัจจัยที่จะเข้าใจธรรมขั้นต้น คือ ขั้นฟัง แล้วก็จะพยายามไปให้เป็นขั้นอื่น ซึ่งเป็นการรู้แจ้งสภาพธรรม เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าถ้าเป็นปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จะคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน และต้องเป็นผู้ตรงด้วยว่า เพียงขั้นเข้าใจเรื่องราว แต่ยังไม่ได้ประจักษ์แจ้งลักษณะจริงๆ ที่เกิดดับของสภาพธรรม
ผู้ฟัง สภาพคิดนึกจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ถึงแม้จะรู้ว่า เห็นมีจริง ได้ยินมีจริง หรือว่ากลิ่นมีจริง
ท่านอาจารย์ แล้วคิดนึกมีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง คิดนึกก็มีจริง
ท่านอาจารย์ ไม่ให้เกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่ว่าจากการฟังธรรมมา เหมือนกับว่าถ้าไม่ได้ประจักษ์ว่า เห็น หรือไม่ได้ประจักษ์ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาได้ต่อไปในขั้นต่อไป ไม่ทราบว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือไม่
ท่านอาจารย์ จริง หรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ จริงแล้วถูกไหม ถ้าจริง
ผู้ฟัง ถูก แต่ว่าไม่ได้รู้ลักษณะของการเห็น
ท่านอาจารย์ การไม่รู้มีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง การไม่รู้ก็มีจริง
ท่านอาจารย์ เป็นเรา หรือไม่
ผู้ฟัง ก็เป็นเราที่รู้ เป็นเราที่เห็น
ท่านอาจารย์ แล้วฟังแล้วเห็นเป็นเรา หรือไม่ หรือว่าเป็นธรรม ที่ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ถ้าฟังแล้ว เห็นเป็นธรรมไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความเข้าใจอันนี้เปลี่ยนไม่ได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นสิ่งใดเกิดก็คือเป็นอย่างนั้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ตามเหตุตามปัจจัย เห็นมีจริงๆ ค่อยๆ พิจารณา ชีวิตประจำวัน เห็นมีจริงๆ เห็นเป็นธรรม หรือเป็นเรา
ผู้ฟัง เห็นเป็นธรรม นี่ตอบท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เป็นความเข้าใจขั้นคิด ก็ให้ทราบว่าอย่างไรๆ ทั้งวันก็เป็นความเข้าใจขั้นคิด กี่วันๆ ก็เป็นความเข้าใจขั้นคิด ถ้าปัญญาไม่ได้เจริญขึ้น
ผู้ฟัง แต่จริงๆ แล้ว ขณะที่ตอบท่านอาจารย์ว่า เห็นเป็นธรรม เห็นเป็นเห็น ก็คือตอบในห้องนี้เท่านั้น แต่ในวันหนึ่งๆ ที่จากห้องนี้ไป เห็นจะเห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเรื่องราว
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นดอกไม้จริง หรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง จริงๆ ตอบท่านอาจารย์ว่า เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรมตลอดชีวิต ทุกวัน
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กำลังจะชี้ให้เห็นว่า ความคิดนึกถึงธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องสะสมแล้วมีขึ้น หรือ
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจ อย่าไปตั้งกฎ หรือว่าอย่าไปทำอะไรเลย ฟังธรรมให้ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏจนกว่าปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
อ.วิชัย แล้วถ้าเราพิจารณาถึงสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ ศึกษาแล้วเข้าใจ ก็จะคลายความสงสัย เพราะเหตุว่าเมื่อคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว หรือว่าคิดถึงเรื่องอื่นๆ ก็ยังไม่เข้าใจจริงๆ กับขณะนี้ที่กำลังคิดอยู่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420