พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
ตอนที่ ๔๐๖
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่านอาจารย์ ถ้าใครคิดว่าจะทำสติ จะเจริญวิปัสสนา รู้ลักษณะของสติ หรือไม่ เพราะจะทำ ทำได้อย่างไร ขณะนั้นๆ ไม่เป็นช่องทาง ไม่เป็นปัจจัยที่จะให้สัมมาสติเกิดเลย เพราะความไม่รู้ และความเป็นเราจัดการทุกอย่าง จะทำตรงนี้ จะนั่งตรงนั้น อยู่นานเท่านี้ เพราะฉะนั้นสัมมาสติจริงๆ มีโอกาสจะเกิดไหม แม้ในขณะนี้ที่กำลังฟัง แล้วก็อยากจะให้มีปัญญามากๆ ให้โลภะอกุศลทั้งหลายลดลง แต่สัมมาสติก็ไม่ได้เกิดเลย เพราะไม่มีความเห็นถูก ไม่มีความเข้าใจถูก
เพราะฉะนั้นประการแรกที่จะละโลภะตามลำดับ ก็คือ ความรู้ความเข้าใจถูก แล้วไม่หวัง ลองคิดดู สงครามที่ว่า สงครามอะไร เคยมีกำลังพลมากมาย โลภะ และอวิชชาพร้อมที่จะเคลื่อนพลไป ขยับไป ตลอดเวลา แล้วใครจะชนะ ถ้าไม่ใช่เป็นปัญญาที่เป็นความเห็นถูกจริงๆ ที่ค่อยๆ สะสม จะรู้ได้เลยว่า ความไม่รู้ก็จะทำให้เกิดความไม่รู้เพิ่มขึ้น ไม่มีทางที่จะเป็นความรู้ได้ นอกจากการที่ฟังสิ่งที่คิดเองไม่ได้ แล้วอย่าไปคิดเองด้วย เพราะคิดเองก็ต้องผิด แต่พระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา โดยประการทั้งปวงที่จะกันความเห็นผิด ถ้าคนนั้นเป็นผู้ที่ไตร่ตรอง แล้วก็เป็นผู้ที่ละเอียดก็จะพ้นจากความเห็นผิดได้ เพราะว่ารู้เลยว่า ธรรมทั้งหมดนี้เพื่อละ ไม่ใช่เพื่อติดข้อง เพราะฉะนั้น ถ้ากำลังติดข้องให้รู้เลยว่าผิดแล้ว ไม่ใช่ธรรม หาวิธีเมื่อไรก็คือผิดอีก เพราะว่าไม่ใช่การที่จะรู้ว่าเป็นธรรมซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นสรุปแล้ว ฟัง แล้วก็คือไม่มีอะไรเลยนอกจากฟังให้เข้าใจสิ่งที่ฟังขณะนี้
ท่านอาจารย์ ตรงกับการเข้าใจว่าสังขารขันธ์ปรุงแต่งไหม ไม่ใช่เรา แล้วจะไปทำอะไร นอกจากขณะนี้ ใครจะรู้บ้างว่า เจตสิกเกิดทำหน้าที่ของเจตสิก ปรุงแต่งจากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง จากการที่ไม่เข้าใจเป็นค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่มีใครต้องไปทำอะไรเลย มิฉะนั้นเราจะศึกษาเรื่องปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป ทำไม แต่ศึกษาเพื่อให้รู้ว่า ขณะนี้สภาพธรรมเกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครไปทำอะไรได้เลย กำลังหวังจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เพราะไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วทุกอย่างเกิดเพราะปัจจัย คือสภาพธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น จิตต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็เลือกไม่ได้ด้วย ขณะนี้กำลังทำหน้าอย่างนั้นอยู่แล้ว
ผู้ฟัง ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เมื่อฟังเข้าใจ สังขารขันธ์ที่เข้าใจก็จะค่อยๆ ละความไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงอยู่แล้ว ไม่มีตัวตนที่จะไปอะไรทั้งนั้นจริงๆ ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็สะสมความเข้าใจไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ และความต้องการที่จะทำให้เป็นเครื่องกั้นความไม่รู้
ท่านอาจารย์ นี่คือความอดทนอย่างยิ่ง
ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์สุจินต์ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็มีการระลึกสภาพธรรมเหล่านั้น แล้วสภาพธรรมเหล่านั้นก็จะดับไปอย่างรวดเร็ว แล้วก็กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม คือการระลึกไม่เกิด แล้วก็สภาพธรรม เพราะว่าสภาพธรรมใหม่เกิดขึ้น ในลักษณะอย่างนี้ ปัญญาเขาจะเจริญขึ้นได้ในลักษณะใด กราบเรียนอาจารย์
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรม ปัญญาสามารถรู้ได้ไหม
ผู้ฟัง รู้ได้ แต่ว่ามันยังไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทำอย่างไร หรือเปล่าที่จะรู้ขึ้น ต้องไปทำอะไร หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ต้องทำอะไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะรู้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง ถ้ามีการระลึกไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ จะระลึกได้อย่างไร
ผู้ฟัง การระลึกจะเกิดขึ้นเอง
ท่านอาจารย์ อนัตตา ลืมไม่ได้เลย อย่างที่บอก ตอนนี้อยากจะไม่มีโลภะ อวิชชา เพียงแค่เดินออกไป บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ปัญญาสามารถรู้ได้ไหม ไม่เข้าใจลักษณะของปัญญา ก็คิดว่าปัญญาจะรู้ได้ หรือ ปัญญาคืออะไร ขณะไหนปัญญาจะรู้ได้ ขณะนั้นปัญญารู้ได้ หรือไม่ ปัญญาเป็นสภาพที่เห็นถูกต้อง แม้ในขั้นการฟัง ฟังแล้วมีความเข้าใจ มั่นคงขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเปลี่ยนขณะใด ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา เป็นความเห็นผิดว่า จะทำ หรือจะบังคับได้ หรือว่าจะมีวิธีอื่น
เพราะฉะนั้นถ้ารู้ว่าปัญญาแม้ขณะไหนๆ ก็ตามสามารถที่จะเกิดขึ้นประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้ เพราะว่ามีผู้ที่ประจักษ์แล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังไม่มีปัญญาระดับนั้น ก็จะให้มีปัญญาระดับนั้นไม่ได้ แต่ปัญญาระดับนั้นมี จะเกิดได้เมื่ออบรม อบรมอะไร ความเข้าใจ ไม่ต้องไปคิดถึงสติปัฏฐาน ไม่ต้องไปคิดว่าตอนนี้สติปัฏฐานเกิด ตอนนั้นไม่เกิด แล้วปัญญาจะเป็นอย่างไร นั่นคือไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมตามลำดับขั้น
เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจเมื่อเป็นปัญญาแล้ว สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ก็ได้ มีความมั่นคง มีความมั่นใจ ก็อบรมความเห็นถูก เพราะว่าขณะใดก็ตามที่มีความเห็นถูก ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วย แล้วแต่ว่าจะเป็นสติระดับไหน จะเรียกชื่อ หรือไม่เรียกชื่อก็ตามแต่ ขณะที่กำลังฟังเข้าใจ เป็นเรา หรือว่าเป็นธรรม เห็นไหม ถ้าเป็นธรรม เวลาเข้าใจมีสติเกิดร่วมด้วยไหม แต่ว่าเป็นสติระดับไหน ระดับขั้นฟังเข้าใจ แต่ก็ยังมีการเจริญขึ้นเมื่อสามารถที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อย และปัญญาก็เจริญโดยที่ว่า ไม่สามารถที่จะปรากฏว่าเป็นปัญญาที่จะประจักษ์แจ้งแทงตลอดได้ทันที เ
พราะว่าจากการฟัง แล้วก็จะให้เป็นปัญญาระดับนั้นทันทีไม่ได้ แต่เริ่มรู้ว่า มีการระลึกได้ ต่างกับที่ขณะหลงลืมสติ แล้วปัญญาก็คงเป็นความจริงว่าระดับไหน จนกว่ามีปัญญาเพิ่มขึ้น ก็จะเข้าใจความหมายที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกตรง ถ้าไม่มีปัญญาการที่จะคลายการยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเป็นปกติ ปัญญาต้องเป็นปกติ ปัญญาสามารถที่จะรู้สิ่งที่เป็นปกติ ไม่ใช่ไปทำขึ้นมาให้ปัญญารู้ อันนั้นไม่ใช่ปัญญาแน่นอน
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ
อ.วิชัย เรียนถามอาจารย์อรรณพ มีท่านผู้ร่วมสนทนาเขียนมาว่า หนทางคือมรรค ๘ ก็คงอาจจะเคยได้ยินได้ฟัง แต่ถ้าพูดถึงว่าหนทางนี้คืออะไร และก็ไปสู่อะไร และก็จะเข้าใจว่าขณะที่ฟัง เป็นหนทาง หรือไม่
อ.อรรณพ เมื่อสักครู่ราก็สนทนากันถึงสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง คือ เจตสิกที่ปรุงแต่ง ถ้าเป็นเจตสิกที่ไม่ดี อย่างเช่นความเห็นผิด ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ แต่ความเป็นผิดก็เป็นเจตสิกอย่างหนึ่ง คือ ทิฏฐิเจตสิก ถ้าเกิดขึ้นก็ปรุงแต่งจิตนั้น แล้วก็สะสมอุปนิสัยที่จะมีความเห็นผิดคล้อยตามไปตามความเห็นผิดอยู่ตลอด
เพราะฉะนั้นถ้าความเห็นผิดเกิดขึ้น ความเห็นผิดเป็นทางนำไปสู่ข้อปฏิบัติที่ผิด เพราะฉะนั้นเจตสิกฝ่ายไม่ดีก็นำไปสู่ความไม่ดี โทสะก็นำไปสู่อะไร การประทุษร้าย ปานาติบาต การฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเจตสิกฝ่ายไม่ดีก็เป็นทางที่ไปสู่ความไม่ดี เป็นทางไปสู่อบาย อันนี้ก็คือโดยชัดเจน ถ้าเป็นเจตสิกฝ่ายดี ศรัทธาก็ปรุงแต่งไปในทางดีที่จะเป็นกุศล แต่ว่าหนทางที่จะปรุงแต่งเพื่อจะออกจากความติดข้อง ออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็แน่นอนจะต้องเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี คือเป็นเจตสิกฝ่ายดี ซึ่งพระองค์ท่านทรงแสดงไว้ ๘ ประเภท อย่างความเห็นถูก สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก เมื่อปัญญาเจตสิกเกิดขึ้นแล้วปรุงแต่ ก็นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ถูก
อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับก็ทรงแสดงในพระสูตรก็มี ทั้งสัมมามรรค และมิจฉามรรค ก็หมายความว่าขณะที่ท่านอาจารย์ก็กล่าว คือฟังแล้วก็อบรมความเข้าใจให้เจริญขึ้น ขณะนั้นดูเหมือนไม่ได้แสดงเรื่องเกี่ยวกับมรรคเลย
ท่านอาจารย์ ต้องแปลก่อนใช่ไหม ว่ามรรคคืออะไร
อ.วิชัย คือหนทาง
ท่านอาจารย์ หนทางไปไหน
อ.วิชัย ไปสู่พระนิพพาน หรือว่าดับกิเลสเป็นสู่สมุจเฉท
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสัมมามรรคไปทางถูก หรือไปทางผิด
อ.วิชัย ไปทางถูก
ท่านอาจารย์ ทางถูกคือ
อ.วิชัย เริ่มมีความเห็นถูก ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ คือความเข้าใจถูกในความจริงของลักษณะของสภาพธรรม ขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความเข้าใจขั้นฟัง สามารถที่จะรู้จักทุกขลักษณะ ซึ่งได้ยินบ่อยๆ ใช่ไหม อริยสัจ ๔ ทุกขอริยสัจจะ อะไรเป็นทุกข์ ขณะนี้เป็นทุกข์ หรือไม่ ก็ไม่รู้ ถ้าไม่ฟัง แต่ถ้าฟัง ทุกขลักษณะก็คือสภาพธรรมใดก็ตามเกิดแล้วเพราะปัจจัย สภาพธรรมนั้นดับ
เพราะฉะนั้นสัมมามรรคเป็นหนทางพาไปไหน พาไปสู่ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ จนกระทั่งประจักษ์ความจริงนั้นๆ แต่ถ้าเป็นมิจฉามรรค ขณะนี้สภาพธรรมก็มี แต่ไม่สามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงได้ เข้าใจว่าต้องไม่รู้สิ่งที่ปรากฏ ใช่ไหม จึงทำอย่างอื่น แต่สิ่งที่เกิดแล้ว จะไม่มีการรู้เลยว่า เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัยแสดง ความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นธรรมจึงต้องสอดคล้องกันทั้งหมดที่จะไม่คัดค้านกันเลย เพราะเหตุว่าความจริงต้องเป็นความจริง
เพราะฉะนั้นสัมมามรรค หนทางที่จะนำไปสู่การรู้อริยสัจจะ ความจริงที่ทำให้ผู้รู้สามารถที่จะดับกิเลสได้ ซึ่งยากไหม กิเลสนี่ ไม่มีใครไปทำอะไรเลยก็เกิด มีปัจจัยก็เกิด เกิดบ่อยๆ เกิดมากๆ เกิดไปเรื่อยๆ แต่ว่าปัญญาก็ยังสามารถที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท โดยหนทางนี้หนทางเดียว มรรคมีองค์ ๘
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรม นี่รวมทั้งกิเลสของบุคคลอื่นด้วย หรือไม่
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้พูดว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ทุกอย่างเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่เปลี่ยน นี้คือต้องเข้าใจจริงๆ จนจรดกระดูก คือไม่เปลี่ยน
ผู้ฟัง แต่ว่าเวลาเราพิจารณาในอกุศลของผู้อื่น หรือว่าสิ่งที่ผู้อื่นทำไม่ดี เรามักจะไม่ได้คิดว่าสิ่งนั้นคือสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ลืมว่า ใครพิจารณา
ผู้ฟัง ก็เป็นตัวเรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นยังไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง ทุกสิ่งเป็นธรรมก็คือ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา เป็นธรรม
ผู้ฟัง แล้วก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม
ผู้ฟัง ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นอย่างไรๆ
ท่านอาจารย์ คนนั้นน่ะไหน
ผู้ฟัง ก็ไม่มี ก็คืออกุศลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญ จิตอะไรกำลังคิดถึงอกุศลของคนอื่น
ผู้ฟัง ก็จิตที่เป็นอกุศล แล้วก็เดือดร้อน
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าไม่มีปัญญาแล้วก็ไม่รู้ด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่ประจักษ์แจ้งยังไม่รู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม เป็นปัญญาเพียงขั้นฟัง
อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงคือกำลังปรากฏอยู่ บางครั้งก็ฟังแล้วก็เข้าใจ จะทราบสิ่งที่มีจริงคือก็กำลังปรากฏอยู่ ก็คิดในใจว่า แม้ไม่ปรากฏก็รู้สึกว่ามีจริงด้วย
ท่านอาจารย์ รู้สึกอย่างไร
อ.วิชัย อย่างเช่นที่บ้านก็มีอยู่ แต่ว่าตอนนี้ไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ที่บ้านมีอะไร เป็นคำว่า “ที่บ้าน” หรือเป็นเรื่องราว หรือเป็นรูปร่าง หรือเป็นอะไร
อ.วิชัย ตอนนี้ก็เป็นเรื่องของคิดว่า มีโต๊ะเก้าอี้ต่างๆ อย่างนี้
ท่านอาจารย์ คิดเพราะจำ ถ้าไม่จำคิดไม่ได้แน่ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็มีเหตุปัจจัยทั้งนั้นเลยที่สภาพธรรมจะเกิดขึ้น คิดไม่ใช่ไม่มี คิดมี แต่คิดเพราะจำ แม้แต่ในขณะนี้ความละเอียดยังไม่ต้องไปคิดถึงบ้าน แต่เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วเป็นแต่เพียงนิมิตของปรมัตถธรรมซึ่งกระทบจักขุปสาทแล้วดับเร็วมาก สืบต่อ ที่เหลือคือสัณฐาน หรือนิมิตเท่านั้น ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้น กว่าจะเข้าใจจริงๆ ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่นิมิต แต่เป็นสภาพธรรมที่กระทบตา กระทบจักขุปสาทเกิดปรากฏแล้วดับ แต่เพราะเร็วมาก ก็จะทำให้มีรูปร่างสัณฐานคงเหลือ เหมือนเราแกว่งธูปที่มีไฟเป็นวงกลม ก็ปรากฏเหมือนว่ามีวงกลม แต่จริงๆ ไม่มี เพราะการเกิดดับสืบต่อเป็นนิมิต ทำให้ปรากฏเป็นอย่างนั้นฉันใด สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น จะรู้ได้จริงๆ ว่า ความไม่รู้มากมายแค่ไหน ก็ต่อเมื่อได้เข้าใจความหมายของพยัญชนะที่ทรงแสดง ซึ่งก็เป็นความจริง ทรงแสดงไว้ว่ารูปนิมิตหมายความว่านิมิตของรูปที่ปรากฏ เพราะว่าเห็นเลยว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าขณะนั้นคิดแล้ว ไม่ใช่เห็น นี่ก็คือความรวดเร็ว
เพราะฉะนั้น เพียงสิ่งที่ปรากฏอย่างนี้ ยังเป็นอย่างนี้ ยังจำอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ไม่เห็นไม่ปรากฏก็ยังจำว่ามี เพราะฉะนั้นสิ่งจริงๆ ขณะนี้ ท่านจะรู้ก็คือว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา มีจริงแน่นอน แต่ว่าความจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา และส่วนใหญ่จำอะไร สัญญาวิปลาส จำว่ามีในสิ่งที่ไม่มี เพราะฉะนั้นเมื่อจำว่าขณะนี้เป็นคน แน่นอนจำว่าบ้านมี ต้องมีแน่ๆ เพราะว่าแม้ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏก็ยังไม่ได้รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้อย่าไปคิดที่จะหมดกิเลสโดยไม่รู้ เพราะว่าความรู้ต้องรู้จริงๆ เป็นความรู้ทีละเล็กทีละน้อยที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพราะว่าขณะนี้จะพูดถึงคำใดในพระไตรปิฎก ก็มี อย่างสติเจตสิกก็มี วิริยเจตสิกก็มี แต่ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจะไปรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏไม่ได้ ต่อเมื่อใดปรากฏ เช่นโทสะ เกิดแล้วจะไปรู้สิ่งที่ไม่ใช่โทสะ ได้ไหมขณะนั้น
เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่าจิต ๑ ขณะ ความน่าอัศจรรย์ อย่างน้อยที่สุดมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภท แม้แต่เพียงธาตุรู้ซึ่งกำลังเห็นก็ยังไม่รู้ความจริง แล้วจะไปรู้ถึงเจตสิกซึ่งเกิดร่วมอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ที่ทรงแสดงพระธรรมโดยประการทั้งปวง เพื่ออนุเคราะห์ให้เริ่มเข้าใจถูกแม้ในขั้นการฟังว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมt เกิดโดยปัจจัยไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จนกว่าจะค่อยๆ คลายความไม่รู้ขั้นฟังให้มั่นคง เป็นสัญญาที่มั่นคงจากอัตตาเป็นอนัตตา เป็นปรมัตถธรรม แล้วก็ขณะนี้เลือกไม่ได้เลย ถ้ามีปัจจัยพร้อมที่สติสัมปชัญญะจะเกิดรู้ลักษณะตามปกติอย่างนี้ ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทำให้คลายการเห็นว่าเป็นเราที่ทำ หรือว่าเป็นเราที่มีสติ
อ.วิชัย ระหว่างนิมิตกับลักษณะ เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าเราพูดถึงลักษณะของธรรม ลักษณะของเห็น หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่ลักษณะของจิตที่ได้ยิน และเสียง นี่คือลักษณะของสภาพธรรม แต่ว่าการเกิดดับสืบต่อจนปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยที่เกิดมาก็เป็นแล้ว ไม่ต้องมีใครไปสอนเลย เพราะว่าสภาพธรรมจะต้องเกิดดับสืบต่ออย่างนี้ คือ จากทางตา แม้ดับไปแล้ว จิตก็เกิดสืบต่อทางใจที่จะรับรู้สิ่งนั้นต่อ เป็นปกติ จนกระทั่งมีการจำ เมื่อมีการจำก็ใช้คำบัญญัติเรียกให้รู้ว่า หมายความถึงสภาพธรรมใด แต่ตัวสภาพธรรมก็เป็นสภาพธรรม แต่ตัวบัญญัติก็คือคำที่ทำให้สามารถที่จะรู้ว่า หมายความถึงสภาพธรรมอะไร อย่างลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตากับนิมิต ต้องใช้คำเพื่อให้รู้ความต่างกัน
เพราะฉะนั้นเมื่อมีบัญญัติ ก็มีคำที่ทำให้รู้ว่าหมายความถึงอะไร แต่ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่มีจริงๆ เป็นปรมัตถธรรม แม้ไม่เรียกชื่อเลย หรือจะเปลี่ยนชื่อตามภาษาต่างๆ ก็ไม่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้น ด้วยเหตุนี้การศึกษา หรือการฟังธรรม ภาษาอะไรก็ได้ ที่ทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม
อ.วิชัย หมายถึงว่าขณะที่ เช่นกำลังเห็น ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา สติเกิดระลึกรู้ ขณะนั้นก็เป็นการรู้ในนิมิตของสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็นต้องเรียกอะไรเลย ตราบใดที่มีลักษณะนั้นปรากฏให้เริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง แค่ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ต้องอบรมนานกว่าจะคลายการที่เคยเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์พูด เห็นเป็นนิมิต เพราะว่าเขาเกิดดับเร็ว ก็เลยเหมือนทำให้ความลึกซึ้งของปรมัตถธรรมเหมือนยิ่งยากซ้อน ปัญญาก็เกิดยาก แล้วความจริงก็ยังเกิดดับเร็วแล้วทำให้เข้าใจว่านิมิต อะไร เหมือนเป็นว่า ไปรู้บัญญัติ ไปรู้นิมิต แล้วเข้าใจว่าอันนั้นเป็นความจริง ก็เลยทำให้ความยากในการที่จะอบรมปัญญา หรือการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ความยากของธรรมก็ให้เห็นว่า ยากจริงๆ เพราะฉะนั้น เราต้องมีขันติ ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาเหมือนเป็นจิรกาลภาวนา ค่อยๆ จับด้ามมีดจนสักวันหนึ่งเห็นว่าสึก ก็อย่างที่ต้องมาฟังแล้วก็ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจไป
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องก็คงจะไม่คิดหวัง ว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเมื่อไร เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยคือความเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างละเอียด ไม่สามารถที่จะละโลภะได้เลย เราก็เพียงกล่าวว่า หลังเห็นก็ติดแล้ว พูดอย่างนี้เข้าใจใช่ไหม ถูกต้องด้วย แต่ตัวจริง ถึงแม้สติสัมปชัญญะกำลังมี รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่ก็มีเสียง ถ้ามีความติดอยู่ตรงสิ่งที่ปรากฏ จะรู้ลักษณะของความติดไหม ไม่ได้คลายตรงนั้น เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้ว ก็ต้องมีการละ ไม่ติดในสภาพธรรมทั้งหมดที่เป็นแต่เพียงลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่างจึงจะแสดงถึงปัญญาที่ได้เจริญ ถึงการที่จะรู้แล้วเริ่มคลาย ขันติมีหลายระดับขั้น ขันติอย่างอ่อน ขันติอย่างกลาง ขันติอย่างยิ่งที่เป็นวิปัสสนาญาณ
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องของความเห็นถูก เป็นเรื่องของปัญญา ไม่ต้องไปกังวลว่าจะรู้เมื่อไรเลย เพราะขณะนั้นเป็นความไม่รู้ แล้วก็เป็นโลภะ ซึ่งไม่ยอมปล่อยให้ไปไหนเลย นอกจากให้ต้องการไปเรื่อยๆ แต่ว่าถ้าเป็นผู้เข้าใจจริงๆ ก็จะรู้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่ทาง ไม่ใช่การที่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้โดยเพียงอยาก นี่คือความละเอียดของธรรม เพราะว่าจะรู้ได้ อริยสัจ ๔ อริยสัจที่ ๒ คือสมุทัย ซึ่งต้องละ ถ้ายังไม่ละก็คือปัญญาไม่ถึงการที่สามารถจะรู้แล้วละตรงนั้นได้
อ.กุลวิไล กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงคำสอนในโอวาทปาติโมกข์ ท่านจะกล่าวถึงว่า ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส ท่านอาจารย์อย่างบุคคลที่อ่านจากพระสูตรแล้วจะเข้าถึงสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก และรูปได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ โดยมากก็ลืมคิด ว่าธรรมคืออะไร เดี๋ยวนี้มีธรรม หรือไม่ ถ้าจะศึกษาธรรมก็หมายความว่าเพื่อเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็ต้องรู้ว่า ธรรมอยู่ที่ไหนขณะนี้เป็นธรรม หรือไม่ แต่ถ้าเรามุ่งไปที่พระสูตร และอยากจะรู้ อยากจะเข้าใจ เรื่องราวในพระสูตร แสดงว่าเรารู้จักธรรม หรือไม่ หรือว่าต้องการเรื่อง ต้องการที่จะได้ว่าคนนั้นทำอย่างนั้น คนนี้ทำอย่างนี้ เป็นอย่างไร หรืออะไรต่างๆ แต่ว่าขณะนี้ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องว่า รู้จักธรรมจริงๆ หรือไม่ แม้แต่บางคนถามว่า ธรรมคืออะไร ก็จะตอบไปตามความคิดเอง แต่ถ้ามีการได้ฟังแล้ว จะตอบเหมือนกันไหม ธรรมคืออะไร คือสิ่งที่มีจริงขณะนี้ ยังไม่ต้องข้ามไปถึงพระไตรปิฎกส่วนหนึ่งส่วนใดทั้งสิ้นเพราะว่าต้องเป็นความเข้าใจของตัวเองจริงๆ แล้วจึงจะสามารถเข้าใจความหมายต่างๆ ในพระสูตร แล้วก็ในพระวินัย และในพระอภิธรรมได้ แต่ต้องรู้ว่าตัวจริงของธรรม มี
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420