พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
ตอนที่ ๔๑๒
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาศึกษาธรรมมักจะลืม กลายเป็นเรื่องเรา เมื่อวานนี้เจอคนนั้น เขาทำสิ่งที่ไม่ดีเลย แล้วเราจะทำอย่างไรกับเขา กลายเป็นอย่างนั้น ยังคงมีเรา ยังมีเรื่องต่างๆ แต่ว่าความจริงขณะที่ฟังธรรม ก็เริ่มที่จะเข้าใจคำว่า “ธรรม” หมายความว่าทุกอย่างที่มีจริง ไม่รู้การเกิด และดับไปของสภาพธรรมนั้นๆ จึงเข้าใจว่าเป็นเรา แม้ขณะที่กำลังฟัง ก็ไม่ได้ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป แต่ฟังสังขารธรรม ธรรมที่เกิดปรากฏเพราะมีเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป มีลักษณะเฉพาะสภาพธรรมแต่ละอย่าง ฟังมานานมาก แต่ขณะที่เห็นก็ยังไม่รู้ว่า เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา เพราะว่าเป็นธาตุที่สามารถเห็น แค่นี้ ฟังจนกว่าสามารถที่จะเข้าใจในขณะนี้ที่กำลังเห็น เริ่ม ไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น แต่ว่ามีความรู้ว่า สิ่งที่ปัญญาจะรู้แจ้งแทงตลอด คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ว่าที่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะอวิชชา ความไม่รู้ ใครจะมาคิดได้ว่า ขณะนี้เห็นที่กำลังเห็นขณะนี้เกิดแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้อย่างนี้จริงๆ ถึงแม้ว่าเราจะมีความรู้เรื่องชื่อต่างๆ มากมายก็ยังไม่สามารถจะรู้ว่า กำลังเห็นขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริง เกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นปริยัติ การฟังธรรม การศึกษาธรรมโดยรอบ โดยถี่ถ้วน โดยตลอด ก็เพื่อให้มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่มีใครสามารถที่จะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม โดยไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมที่เกิด แล้วเป็นธาตุซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าเกิดแล้วทำหน้าที่ แล้วแต่ว่าธาตุนั้นเป็นธาตุอะไร เช่นขณะนี้ ถ้ากล่าวว่าเห็นมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ฟังต่อไปอีกนิดหนึ่ง มี เป็นธาตุเห็น เปลี่ยนลักษณะของเห็นให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นี่คือสิ่งที่จะต้องสะสมความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่มี ทุกชาติก็ต้องมีการเห็น แต่ว่าความรู้เรื่องเห็นน้อยมาก แล้วก็ไปสนใจเรื่องอื่นมาก อาจจะสนใจเรื่องปัจจัยต่างๆ ๒๔ ปัจจัย หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ขณะนี้กำลังเห็น แล้วเมื่อไรฟังแล้ว แล้วมีความเข้าใจเรื่องปัจจัยมากที่ได้ฟังแล้ว จะทำให้สามารถรู้ว่า ขณะนี้เป็นเพียงธรรมอย่าง หนึ่ง เพื่อที่จะคลายการที่เคยยึดถือเห็นว่าเป็นเรา
นี่คือจุดประสงค์ของการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังชาติไหนก็ตาม เพื่อเริ่มเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่มีในชีวิตทั้งวัน ฟังเรื่องไหนก็เริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เพื่อคลายความไม่รู้ จนกว่าจะรู้ลักษณะตรงตามที่ได้ฟัง
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องของการอบรม หมายความว่าสิ่งนั้นไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นทันที แต่ว่าอาศัยความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น จนถึงความเข้าใจที่คลายความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ แล้วก็สามารถที่จะรู้ความจริงในธาตุ เพราะเหตุว่าบางคนก็สามารถที่จะเข้าใจความหมายของธาตุว่า ถ้ากล่าวถึงธาตุ แล้วก็เป็นธาตุแต่ละอย่าง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แข็งเป็นแข็ง เย็นเป็นเย็น กลิ่นเป็นกลิ่น เสียงเป็นเสียง
เพราะฉะนั้นลักษณะที่มีจริงทั้งหมดเกิดแล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีก นี่คือสิ่งที่จะค่อยๆ น้อมนำไปสู่การที่จะเริ่มคลายการที่เคยติดข้องในแต่ละอย่าง ที่ปรากฏสืบต่อ จนกระทั่งไม่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป
การฟังธรรมก็คงจะไม่พ้นจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในพระไตรปิฎกทั้งหมด ไม่ว่าจะแสดงโดยนัยอะไรก็ตาม ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ แล้วความเข้าใจของคนฟังคล้อยไปบ้าง หรือยังว่า เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เพราะว่ามักจะหลงลืม
ผู้ฟัง ขณะที่ฟังท่านอาจารย์กำลังกล่าวอยู่ ก็คล้อยตาม ขณะนี้ก็ยังมีตัวตนคล้อยอยู่
ท่านอาจารย์ คิดว่าคล้อย แต่เป็นเราคล้อย หรือขณะที่ฟัง การเริ่มเข้าใจนั่นแหละกำลังจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นไปทางไหน ไปทางตรงกันข้ามกับที่เคยเห็นว่า เป็นเรา
เพราะฉะนั้นความที่เคยยึดถือว่าเป็นเรามากมายระดับไหน ฟังกี่ครั้งกี่ครั้งกว่าจะเริ่มค่อยๆ เข้าใจทีละน้อย เพื่อที่จะคล้อยตามความเห็นถูก ไม่ใช่โดยรวดเร็วเลย แต่อาศัยการฟัง เพราะถ้าขณะนี้คุณบุษกรไม่ฟังเรื่องนี้ คุณบุษกรฟังเรื่องอื่น คิดเรื่องอื่น เป็นเรื่องยาวมาก แล้วแต่ว่าเรื่องที่คิดเป็นเรื่องอะไร โดยไม่เข้าใจลักษณะของธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งเกิดดับสืบต่อ
เพราะฉะนั้นวันนี้ก็จะผ่านการเกิดดับของธรรมมากมาย โดยที่ว่าไม่ได้รู้ความจริงของธรรมนั้นๆ เลย เพราะว่าธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ไม่ใช่ธรรมก่อนนี้ซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้นธรรมที่เกิดก่อนนี้แล้วดับแล้ว ไม่ได้รู้ความจริง และแม้แต่ขณะนี้ก็เป็นธรรมซึ่งกำลังปรากฏ ถ้ายังไม่เข้าใจความจริงของลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็จะเหมือนเมื่อกี้นี้ และก็เหมือนทั้งวัน แล้วก็กี่วันมาแล้ว ซึ่งธรรมก็เกิดดับโดยที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น
ด้วยเหตุนี้ประโยชน์ของการฟัง บางคนอาจจะเบื่อ ซ้ำจริงๆ เหมือนเมื่อวันเสาร์ แล้วก็เหมือนเมื่อเสาร์ อาทิตย์ก่อน แล้วก็เหมือนเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งจะต่างได้ไหม ในเมื่อตลอดชีวิตก็มีแต่ธรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จะไปหาอื่นอีกไม่ได้แน่นอน แต่เพราะไม่รู้จึงฟัง และรู้ว่าจากการฟังเริ่มเข้าใจเพียงเล็กน้อย ยังไม่ได้ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งเกิดจริงๆ ดับจริงๆ ไม่ได้กลับมาอีกเลยจริงๆ
เพราะฉะนั้นก็ฟังจนกว่าจะมีความเห็นถูกระดับนี้ แต่ต้องอาศัยการอบรม คือทุกครั้งที่ฟัง ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ แม้เพียงในขั้นฟังก็เก็บสะสม ไม่ได้สูญหายไปไหนเลย แต่ว่าการสะสมเรื่องราวอื่นๆ มากกว่าเรื่องของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นคิดทีไรก็คิดแต่เรื่องอื่น ซึ่งไม่ใช่เรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ด้วยเหตุนี้วันหนึ่งวันใดคิดเรื่องสภาพธรรม ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย ไม่เกิดขณะที่แม้จะคิดว่าเป็นธรรม ที่กำลังปรากฏด้วย เพียงแค่นี้ก็เป็นการเริ่มของการอบรม ที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏในขณะที่สิ่งนั้นยังปรากฏ นี่คือการที่จะรู้ประโยชน์ของการฟัง เพราะฉะนั้น ก็รู้จักตัวเอง ฟังเพื่ออย่างนี้ หรือไม่ หรือฟังเพื่ออะไร
ผู้ฟัง ฟังเพื่อความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร
ผู้ฟัง เข้าใจในสิ่งที่มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ ไม่พ้นจากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซ้ำไหม
ผู้ฟัง ซ้ำ
ท่านอาจารย์ เบื่อไหม
ผู้ฟัง ไม่เบื่อ คือใคร่ต่อการฟังท่านอาจารย์กล่าว ซ้ำๆ ๆ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเห็นซ้ำๆ ๆ ใช่ไหม แล้วก็ยังไม่รู้ซ้ำๆ ๆ เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังจนกว่าจะรู้ ซ้ำๆ ๆ ๆ นั่นแหละ นั่นคือการเจริญขึ้นของปัญญา
ผู้ฟัง ขอบคุณท่านอาจารย์
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์สุจินต์ ฟังเพลงฟังซ้ำๆ บ่อยๆ ก็เบื่อ ฟังธรรมนี่ พอฟังก็รู้ว่า ตัวเราปัญญายังต่ำมากเลย
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ ก็มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งก็เริ่มฟังธรรม แล้วก็บอกว่า ขอปรึกษาหน่อย ก็บอกว่า เชิญค่ะ มีเรื่องอะไร หรือ บอกว่าผมติดเสียง ก็ธรรมดาที่สุดเลย มีใครบ้างที่ไม่ติดสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ก็ยังดีคือเริ่มรู้จักตัวเองว่า เป็นธรรม ข้อสำคัญที่สุด ขณะนั้นเป็นเราติดเสียง แต่ถ้าฟังต่อไปก็จะรู้ว่า ลักษณะของธาตุชนิดหนึ่ง มีจริงๆ พอใจ ติดข้อง เพลิดเพลิน แต่ขณะนั้นไม่ใช่เรา เกิดเมื่อไรก็ทำหน้าที่ของธาตุนั้น ตรงกันข้ามกับธาตุที่ตรงกันข้าม คือ ความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มีไหม ธาตุนี้
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นคุณสุพงศ์ หรือว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่า ตลอดชีวิตทั้งหมดเป็นธรรมลักษณะต่างๆ
ผู้ฟัง ฟังเพลงนี้จะเพลิดเพลิน แต่ฟังธรรมนี้ไม่ใช่ ฟังแล้วปัญญาจะละเอียดขึ้น
ท่านอาจารย์ พราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ถ้าเข้าใจจริงๆ อย่าลืมประโยคนี้นะคะ ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรม ไม่เดือดร้อน ธรรมตั้งแต่เกิดมา ใครจะไปบังคับให้คนนี้เป็นอย่างนั้น ให้คนนั้นเป็นอย่างนี้ ให้คิดอย่างนี้ ไม่ให้คิดอย่างนั้น แม้แต่ตัวเองก็ยังไม่รู้ว่า พรุ่งนี้เป็นอย่างไร เย็นนี้จะเป็นอย่างไร ขณะต่อจากนี้ไปเป็นอะไรก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะเป็นธรรมทั้งหมด ซึ่งมีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้นเป็นไป ถ้าอกุศลจิตเกิดขึ้นโทสะเกิดขึ้น ถ้ารู้ความจริง เป็นธรรม เวลาที่มีความติดข้องเพลิดเพลิน ควรรู้ หรือไม่ควรรู้ หรือควรทำอะไร บางคนก็พยายามที่จะหลีกเลี่ยง แม้แต่คิดที่หลีกเลี่ยงก็ช้าไปเสียแล้ว เพราะว่าความติดข้องเกิดแล้วดับแล้วด้วย ถ้าไม่รู้ความจริงว่าขณะนั้นเป็นธรรม ก็หลงว่าเป็นเราไปอีก แล้วไปหาทางอื่นวิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่การเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ด้วยเหตุนี้ถ้าใช้คำว่าความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในภาษาไทย หมายความถึงปัญญาในภาษาบาลีอีกภาษาหนึ่ง แต่ลักษณะของธรรมก็คืออย่างเดียวกัน คือเป็นธาตุที่สามารถเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏจากการฟัง แล้วจากการไตร่ตรอง และก็เริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจในเมื่อลักษณะนั้นปรากฏ ขณะนี้รู้สึกแข็งไหม แข็งมีจริงๆ หรือไม่ เป็นธรรม หรือเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ตอบได้ทุกคนเลย แต่วันนี้กระทบแข็งกี่ครั้ง ขณะแต่ละครั้งที่กระทบเป็นธรรม หรือเป็นอะไร เห็นไหม ขณะอื่นที่ไม่ได้ถาม และก็ไม่ได้คิดถึงธรรม ก็กระทบแข็งทั้งวัน แต่ไม่เคยรู้ว่า นั่นแหละเป็นธรรม นั่นแหละเป็นธาตุ นั่นแหละเป็นสิ่งที่มีจริง นั่นแหละเป็นเป็นสิ่งที่เกิดแล้ว แล้วก็ดับอยู่เรื่อยๆ ด้วย
เพราะฉะนั้นกว่าจะมีการที่จะไม่ลืม แล้วก็รู้ว่า ได้สะสมความเข้าใจที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้น ภาวนาธิษฐานชีวิตัง ควรจะเป็นชีวิตของทุกคนที่เข้าใจธรรม ภาวนาธิษฐาน ธิษฐานในที่นี้ไม่ไช่ ทิฏฐิ แต่มาจากคำว่า อธิษฐาน ความมั่นคง อธิษฐาน ความมั่นคง ภาวนาธิษฐานชีวิตตัง ชีวิตสุจริต เพราะเข้าใจธรรม จึงมั่นคง อธิษฐาน ที่จะอบรมปัญญา คือ ภาวนา เพื่อรู้แจ้งความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ ถ้าชีวิตนี้ไม่เป็นอย่างนี้ ไม่มีวันที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้ เพราะว่าแม้สภาพธรรมปรากฏกับทุกคน แต่ว่าไม่ได้มีความเห็นถูกว่าเป็นธรรม จนกว่าจะได้มีการฟัง แล้วก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็ไม่พ้นจากขณะนี้เลย พูดถึงสิ่งที่กำลังปรากฏทั้งนั้น
ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์สุจินต์ เกี่ยวกับการละกิเลส ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมมาเลย การละกิเลสคงจะใช้ระบบหักดิบ เช่น อย่างจะเลิกบุหรี่นี่ก็เลิกทันทีเลย แล้วก็เลิกบุหรี่เลิกเหล้าก็จะเลิกอย่างนี้ แต่ผมเข้าใจว่าเลิกแบบนี้คงไม่ใช่เลิกเด็ดขาด การละกิเลสในลักษณะของการฟังธรรม แล้วเข้าใจธรรม ก็จะละกิเลสในลักษณะอย่างไร กราบเรียนท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจ ต่างกับขณะที่ไม่เข้าใจ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะที่เข้าใจก็ละความไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง แค่นั้นเอง การละของเขาก็เป็นของเขาเอง
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เริ่มอย่างนี้ แล้วจะความเป็นปุถุชนได้อย่างไร ภูเขาสูง ใหญ่ อายุเท่าไร ลองประมาณ ภูเขาสูงใหญ่ ภูเขาหิมาลัย สูงใหญ่มาก อายุประมาณเท่าไร
ผู้ฟัง คิดเป็นปีแล้วก็หลายพันแสนปี
ท่านอาจารย์ แล้วก็อวิชชานานกว่านั้น หรือไม่
ผู้ฟัง นานกว่า
ท่านอาจารย์ แล้วก็จะทำลายภูเขาสูงๆ ใหญ่ๆ ใช้อะไรที่จะทำลายได้ แล้วอวิชชาที่มากทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แข็งปรากฏมาแล้วก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดตลอดอยู่ตลอดเวลา ไมได้รู้เลยว่า เป็นธรรม ทั้งๆ ที่ความจริงเป็นธรรม ก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม มานานมาก ประมาณไม่ได้เลย แต่ที่จะรู้ว่า มากแค่ไหน ก็คือขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏก็ยังไม่รู้ ซึ่งต่างกับพระอรหันต์ คนธรรมดาเห็น พระอรหันต์ก็เห็น ๒,๕๐๐ กว่าปี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จบิณฑบาตพร้อมพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ แล้วก็มีประชาชนมากมายในเมืองนั้น เห็นเหมือนกัน แต่ความต่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสาวก และผู้ที่เป็นปุถุชน เห็นด้วยกัน ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ไม่มีกิเลสใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ว่าคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่ใช่เป็นพระอริยบุคคล ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม รู้ไหมว่า เห็นสั้นแค่ไหน ชั่ว ๑ ขณะจิตที่แสนสั้น ดับแล้ว แล้วมีจิตเกิดดับสืบต่อ หลังจากนั้นก็เป็นความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง ในสิ่งที่เห็นเช่นขณะหนึ่งขณะใด ชีวิตประจำวันปกติ ก็จะมีการเห็น จะรู้ตัวต่อเมื่อชอบ หรือไม่ชอบในสิ่งที่ปรากกว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว แต่ความจริงความยินดีในสิ่งที่ยังไม่ทันรู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็เกิดก่อน แสดงความรวดเร็ว
เพราะฉะนั้นความต่างของผู้ไม่รู้ จึงรักบ้าง ชังบ้าง ในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ผู้ที่รู้ความจริง ไม่มีปัจจัยใดๆ ที่จะทำให้เกิดอกุศลใดๆ เลยทั้งสิ้น นี่คือความต่างกันของความรู้กับความไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็เห็นว่าจากการที่กำลังเห็น แล้วก็คนที่เห็นก็ต่างกันตามกำลังของปัญญา เพราะฉะนั้นการฟังในขณะนี้เริ่มรู้เริ่มเข้าใจความละเอียดของธรรมว่า แม้เพียงแค่เห็น แล้วไม่รู้ความจริงก็สะสมอกุศลมากมายทางตา ประมาณไม่ได้ แล้วยังทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ด้วยเหตุนี้เมื่อเห็นอกุศลมากมายอย่างนี้ ก็มีความอดทน ขันติบารมี ที่รู้ว่า การที่จะรู้ความจริง ไม่ใช่ไปนั่ง ไปจ้อง แล้วจะไปประจักษ์ความจริง โดยปัญญาไม่ได้คลายความไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าจริงๆ แล้วความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาไม่ว่าเมื่อไร ก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดแล้วสามารถกระทบกับจักขุปสาท เป็นรูปที่มีลักษณะที่กระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทั้งตัวจะมีรูป รูปนี้แหละที่สามารถกระทบกับธาตุที่กำลังปรากฏทางตา ทำให้มีธาตุอีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นกำลังเห็น เดี๋ยวนี้
นี่คือการที่จะรู้ว่า แต่ละขณะก็คือธรรมทั้งหมด ที่หู ไม่ใช่ธาตุที่กระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่รูปนี่ก็มองไม่เห็นเลย รูปที่สามารถกระทบเสียง มีจริงๆ ถ้ารูปนี้ไม่มีเสียงไม่ปรากฏ เป็นคนหูหนวก คือ จิตได้ยินเกิดไม่ได้เลย แต่ขณะใดที่จิตได้ยินเกิดขณะนี้ ก็มีธรรมซึ่งอาศัยกัน เช่น ต้องมีโสตปสาท รูปที่สามารถกระทบเสียงได้ กระทบอย่างอื่นไม่ได้เลย และเสียงที่เกิดกระทบ ถ้าถึงกาละที่กรรมให้ผลที่จะให้ได้ยินเสียงนั้น จิตได้ยินจึงเกิดขึ้น นี่ก็แสดงความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทุกๆ ขณะที่ฟังแล้วเข้าใจขึ้น คลายความไม่รู้ หรือไม่
ผู้ฟัง คลาย
ท่านอาจารย์ หมดความไม่รู้ หรือไม่
ผู้ฟัง ยังไม่หมด
ท่านอาจารย์ ยังไม่หมด เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ ความต่างของคนเริ่มต้นฟังกับคนที่อบรมจนกระทั่งสามารถเข้าใจขึ้น ต่างกันไหม
ผู้ฟัง ต่างกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เข้าใจว่า ขณะที่เข้าใจ ละความไม่รู้ ละความสงสัย ละความไม่เข้าใจ ตามระดับขั้นของความเข้าใจ
ผู้ฟัง ในขณะที่เข้าใจก็จะรู้จักกิเลสไปในตัว เมื่อรู้จักกิเลสไปในตัวแล้ว การละถึงจะเกิดขึ้นได้
ท่านอาจารย์ คงไม่ต้องหวังไกล
ผู้ฟัง คงไม่หวังไกล
ท่านอาจารย์ กำลังฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ทุกครั้งที่ฟัง ไม่ใช่ให้ไปเทียบเคียงกับอย่างอื่น แต่ฟังอะไรก็ให้เข้าใจสิ่งที่ฟัง เช่น ฟังว่ามีรูปที่สามารถกระทบเสียง แค่นี้ เป็นเรา หรือว่าเป็นธรรมซึ่งเป็นรูป ซึ่งเปลี่ยนลักษณะนั้นไม่ได้ รูปนี้เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเป็นรูปก็จะมาจากสมุฏฐานหนึ่งสมุฏฐานใด คือบางรูปเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน นักวิทยาศาสตร์ หรือใครก็ไม่สามารถจะทำให้รูปนั้นเกิดได้เลย เพราะว่าสมุฏฐานที่ทำให้รูปนี้เกิดต้องเป็นกรรม เจตนาที่เป็นกุศล และอกุศลที่ได้กระทำแล้วในอดีต ทำให้แต่ละคนก็จะพิจารณาได้ว่า รูปที่เกิดจากกรรมหลากหลายมาก รูปร่างสัณฐาน ผิวพรรณอะไรก็ต่างๆ กันไป แล้วก็รูปที่เกิดจากจิต คิด ทุกคนคิด มีเสียงออกมา หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี แต่ความคิดก็เป็นปัจจัยให้เกิดเสียงได้
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ ไม่อยู่เลย ถ้าขณะหนึ่งขณะใดที่เสียงไม่ได้เกิดขึ้นปรากฏให้รู้ว่ากำลังคิดเสียงนั้น จะไม่รู้ว่า ขณะนั้นเสียงนั้นเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่อย่างอื่นเป็นสมุฏฐาน เพราะว่าการเกิดดับของสภาพธรรมนี้เร็วมาก แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ความจริง ทรงแสดงว่าเป็นธรรมซึ่งเกิดแล้วดับเร็วมาก จนกระทั่งปรากฏเหมือนกับว่า ไม่ได้ดับเลย ด้วยเหตุนี้ขณะที่กำลังพูดมีจิตคิดไหม มี หรือไม่มี
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีเสียงไหม เสียงนั้นมาจากไหน
ผู้ฟัง มาจากจิต
ท่านอาจารย์ ซึ่งทำให้เกิดวิญญัติรูป รูปที่กระทบฐานของเสียง แล้วทำให้เสียงเกิดขึ้นตามความคิด เร็วแสนเร็วแค่ไหน ทุกคนก็พูดกันทุกวัน มีใครรู้ว่า ขณะนั้นมีจิตคิด จิตคิดต้องประกอบด้วยเจตสิกมากมาย วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก พูดสิ่งที่เป็นกุศลก็ต้องมีโสภณเจตสิก หิริเจตสิก โอตตัปปะเจตสิก ซึ่งมีปัจจัยจึงเกิดได้ เราจะไปบังคับคนที่ไม่ได้สะสมกุศลให้เขาคิดดีๆ ให้มีสภาพธรรมที่ดีเกิดขึ้น เป็นไปไม่ได้เลย หรือคนที่สะสมกุศลมาแล้วมากมาก จะให้เขาคิดไม่ดี ก็เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นก็เห็นความเป็นอนัตตา เห็นความเป็นธรรม ตลอดทั้งชีวิตเป็นธรรมทั้งหมด จะรู้ หรือไม่รู้ก็แล้วแต่บุคคล แต่ถ้ามีโอกาสที่จะได้เข้าใจ เพราะว่าเกิดมาไม่ได้หมายความว่า จะมีโอกาสได้ฟังธรรมบ่อยๆ บางคนได้ยินได้ฟังธรรมก็สนใจ แต่อยู่ต่างประเทศ ก็เลยขาดการสนทนาธรรมบ้าง อะไรบ้าง ก็มีธรรมที่ไม่เหมือนคนที่มีโอกาสมากๆ แต่แม้จะมีโอกาสแต่ไม่ได้สะสมมาที่จะฟัง ก็ไม่ฟังค่ะ ได้ยินเท่านั้นเอง ที่บ้านก็คงจะมีหลายคน วิทยุธรรม เทปธรรมก็มี แต่ใครจะฟัง หรือว่าใครจะได้ยิน ใครจะเข้าใจ ใครจะสนใจ หรือใครจะไม่เห็นประโยชน์เลย นั่นก็เป็นสิ่งซึ่งเป็นธรรมทั้งหมด
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริง แล้วก็ทรงแสดงบุคคลตามการสะสมของธรรมนั้นๆ ว่า เมื่อสะสมธรรมประเภทใด เป็นบุคคลประเภทใด สะสมการเป็นบุคคลที่ติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ใครไปห้ามได้ไหม เพราะฉะนั้นแต่ละคนไม่สามารถที่จะรู้ถึงการสะสมของตนเอง จนกว่ามีปัจจัยใดที่จะให้สภาพธรรมใดเกิดขึ้น จึงรู้ว่า สภาพธรรมนั้นยังมีเหตุที่จะให้เกิดขึ้น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420