พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
ตอนที่ ๔๑๔
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้ฟัง คือ ปัญหาอยู่ที่ว่า เรามีโลภะเป็นเพื่อนสอง เมื่อสักครู่อาจารย์ถามว่าหาเราเจอแล้ว หรือยัง ผมคิดว่าผมหาเจอแล้ว คือโลภะนี่เอง
ท่านอาจารย์ แล้วโลภะดับไปแล้ว เวลานี้เห็นเป็นเรา หรือไม่ เมื่อกี้โลภะเป็นเราใช่ไหม หมดแล้ว เราอยู่ไหน
ผู้ฟัง มันก็เกิดขึ้นอีก โลภะเกิดขึ้นอีก
ท่านอาจารย์ โลภะยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นถ้าว่าโลภะเป็นเรา โลภะดับแล้วยังไม่เกิดอีก แล้วเราอยู่ไหน
ผู้ฟัง เราก็ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นแล้วไม่รู้ เพราะไม่รู้จึงยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นเรา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ที่ฟังปัญญาที่จะจำได้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เกิดดับตามเหตุปัจจัย แล้วก็ไม่ใช่เราจริงๆ หมายว่าต้องฟังให้มากพอเท่าไรถึงจะจำได้
ท่านอาจารย์ กฎเกณฑ์ ทำอย่างไร หวัง หรือไม่
ผู้ฟัง สงสัยความจำผิด ไม่จำว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณจำอะไรได้มาก
ผู้ฟัง จำเรื่องไร้สาระได้เยอะ อาหารอร่อย แต่งตัวสวยๆ
ท่านอาจารย์ ทั้งๆ รู้ว่าไร้สาระ ก็จะไม่จำไม่ได้ คุ้นเคยกับการที่จะจำอย่างนั้น จะให้ไปจำอย่างอื่นมากกว่าความคุ้นเคยที่เคยจำอย่างนั้นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นจึงซ้ำ เพราะว่ากว่าคุณอรวรรณจะคุ้นเคยกับเรื่องไรสาระ ก็ต้องซ้ำในเรื่องไร้สาระนั่นเอง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ทีนี้ช่วงหลังท่านอาจารย์ก็จะย้ำว่า ภาวนาธิษฐานชีวิตตัง หมายความว่าให้ชีวิตที่มั่นคงในการที่จะอบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง ซึ่งตรงนี้ก็คือการที่ได้มาฟังธรรม จริงๆ ก็ในขั้นฟังก็ทำให้ค่อยๆ เข้าใจมากขึ้น จากที่ไม่เคยรู้เลย ก็ค่อยๆ รู้ที่ละนิด ทีละนิด แต่ที่นี้ในขั้นที่ว่า ท่านอาจารย์ก็บอกว่า จะลืมเสมอว่า บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอนัตตา เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดแล้ว ดับแล้ว แล้วมีเหตุปัจจัยใหม่ก็เกิดใหม่ เป็นธรรมอย่างนี้จริงๆ ถึงแม้ขั้นฟังก็ดูเหมือนจะลืม ไม่จำ
ท่านอาจารย์ ท่านพระสารีบุตรก่อนที่จะเป็นพระโสดาบัน ท่านอบรมปัญญานานเท่าไร
ผู้ฟัง ๑ อสงไขยแสนกัป
ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าธรรมลึกซึ้ง แต่ผู้ที่มีปัญญาสามารถที่จะเข้าใจ เริ่มจากการเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยแล้วก็เป็นผู้ที่อดทน ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง ไม่มีอะไรที่จะเผาอวิชชาให้หมดสิ้นไปได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
เวลาที่ศึกษาธรรม หรือฟังธรรม ทุกคนข้าม พอใจที่จะรู้เพียงคำ พอได้ยินคำว่าสติปัฏฐาน สนใจสติปัฏฐาน อยากรู้ว่าแปลว่าอะไร หมายความว่าอะไร อะไรเป็นปัฏฐาน อะไรเป็นสติ แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ซึ่งเกิดไม่ได้เลย ถ้าไม่มีความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏว่า เป็นธรรม ถ้าขณะนี้ไม่รู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แล้วสติปัฏฐานจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะว่าเป็นเรื่องของการที่อบรมเจริญปัญญา ที่จะมีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ไม่ใช่ขั้นฟัง
เพราะฉะนั้นความรู้ก็จะเจริญขึ้นตามลำดับ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา ข้ามขั้นไม่ได้เลย ไม่มีความเข้าใจขั้นฟัง ว่าขณะนี้เป็นธรรมที่ปรากฏเพราะเกิด แต่ละลักษณะด้วย สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางหู พร้อมกันไม่ได้ จะพร้อมกันได้อย่างไร ในเมื่อจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ สภาพรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ สามารถจะเกิดเพียง ๑ ขณะ แล้วก็ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรเลย ไม่ได้จำ ไม่ได้โกรธ ไม่ได้รัก ไม่ได้ชังสิ่งที่ปรากฏ เพราะจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะที่กำลังปรากฏ เช่น ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาอย่างนี้ แค่หลับตา จะให้ปรากฏ หรือว่าจะจำให้เหมือนอย่างที่ปรากฏ ก็ไม่ได้แล้ว เพราะเหตุว่าไม่ใช่มีลักษณะจริงๆ ที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้การฟัง จึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียดแล้วก็มีการรู้ว่า สภาพธรรมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ขั้นฟังเข้าใจ แต่ไม่ใช่สติสัมปชัญญะที่เป็นสติปัฏฐาน ถ้าความเข้าใจนั้นไม่มากพอที่จะปรุงแต่งให้แทนที่จะเพียงฟัง แต่ก็สามารถเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ แม้ในขณะที่กำลังฟังนี้เอง ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมเมื่อทรงแสดงธรรมจบ ไม่ใช่ว่าฟังแล้วก็รู้เรื่อง แล้วก็เป็นพระอริยบุคคล แต่ว่าฟังเพราะสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นจะมีคำที่หลากหลายที่ทรงแสดง “สติ” คำเดียว เป็นสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดี โสภณ ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ในขณะนี้ ขณะใดที่กุศลจิตเกิดขึ้นเข้าใจธรรม ขณะนั้นมีสติไหม
ผู้ฟัง สติขั้นฟังเข้าใจ
ท่านอาจารย์ มี ลักษณะของสติปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นเป็นสติปัฏฐาน หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่เป็น แต่ว่าเข้าใจเพิ่มขึ้น ใครจะยับยั้งไม่ให้มีการรู้ลักษณะจริงๆ ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ ก็ไม่มีใครสามารถที่ยับยั้งได้
เพราะฉะนั้นก่อนอื่นมีความรู้ขั้นฟังซึ่งจะนำไปสู่ปฏิปัตติ การถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏด้วยความเข้าใจ เริ่มที่สติสัมปชัญญะจะเกิดเป็นสติปัฏฐาน แต่ไม่ใช่การรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมนั้นจนแทงตลอด
นี่คือความต่างกันของการอบรม คือเรื่องของปัญญาทั้งหมด แต่คนยุคนี้ฟังธรรม ลืมเรื่องปัญญา อยากจะรู้ อยากจะทำ อยากจะประจักษ์แจ้ง แล้วคิดว่า นั่นเป็นหนทางที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม โดยไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้เข้าใจคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้ อดทนแล้วก็รู้ว่าเข้าใจขึ้น แล้วก็เวลาไหนที่สติสัมปชัญญะกำลังรู้ลักษณะที่มีจริงๆ แม้ไม่ต้องเรียกชื่อว่าเป็นสติปัฏฐาน แต่ขณะนั้นไม่ใช่เพียงฟังว่าแข็งเป็นธรรม แต่ลักษณะที่แข็งที่เป็นธรรมปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้ามั่นคงว่าฟังให้เข้าใจแล้ว จนเป็นสัญญาที่มั่นคงก็จะสามารถรู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ เพราะว่าทั้งความเข้าใจ แล้วก็สภาพธรรมก็กำลังปรากฏให้พิสูจน์ ก็จะเป็นปัจจัยที่ให้รู้ความจริง ตามที่ผู้รู้ รู้ไปแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องไม่ลืมด้วย ฟังธรรมเพื่อละ ดีไหม
ผู้ฟัง ดี
ท่านอาจารย์ หรือว่าใครจะให้ละ อยากจะได้ แล้วบอกให้ละ ถูกไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าต้องมีความเข้าใจประโยชน์ว่าละความไม่รู้ ละอกุศลทั้งหมด จนกระทั่งละถึงแม้กุศล
ผู้ฟัง จะถามถึงลักษณะของความรู้สึกเป็นสภาพของเจตสิก ซึ่งจะต้องเกิดร่วมกับจิต ทีนี้กายวิญญาณที่จะรู้อารมณ์ได้ก็เพียงแค่ลักษณะของรูป ๓ รูป ก็เลยจะกราบเรียนถามในประเด็นนี้
ท่านอาจารย์ กรรมมีไหม
ผู้ฟัง กรรมมี
ท่านอาจารย์ กรรมเป็นเหตุ หรือเป็นผล
ผู้ฟัง กรรมเป็นเหตุ
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วดับแล้ว ทำให้เกิดผล หรือไม่
ผู้ฟัง ทำให้เกิดผล
ท่านอาจารย์ แล้วผลในขณะแรกที่เกิดในชาตินี้ มีไหม
ผู้ฟัง ผลที่เกิดในขณะแรก มี
ท่านอาจารย์ คือเมื่อไหร่
ผู้ฟัง คือปฏิสนธิ
ท่านอาจารย์ จิตขณะแรกที่เกิด มีกายเกิดเพราะกรรมด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง กายเกิดเพราะกรรม มี
ท่านอาจารย์ มีเพื่ออะไร
ผู้ฟัง มีเพื่อได้รับผลของกรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นยังจะสงสัยไหมว่าเวลาเจ็บ สภาพความรู้สึกเจ็บ ต้องอาศัยกาย ถ้าไม่มีกายจะรู้สึกเจ็บได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีกายเพื่อจะรับผลของกรรม ในขณะที่เป็นผลของกรรมก็คือว่าเมื่อสภาพที่เป็นกรรม เป็นนามธรรม สภาพที่เป็นผลของกรรมก็เป็นนามธรรมด้วย จากการที่มีอกุศลเจตนา ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บทางกาย เมื่อถึงกาละที่กรรมนั้นจะให้ผล จะไม่ให้เกิดความรู้สึกที่สบาย แต่ว่าจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ เพราะว่าเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว ยังสงสัยไหมว่าทำไมถึงจะเป็นผลของกรรม
ผู้ฟัง สงสัย ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ยังสงสัยอีก หรือ
ผู้ฟัง คือที่สงสัยคือสงสัยว่า อย่างกายวิญญาณคือจิตเกิดขึ้นจะต้องรู้อารมณ์
ท่านอาจารย์ ต้องให้หายสงสัยไปเป็นตอนๆ กรรมได้กระทำแล้ว แล้วก็ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ก็มีรูปซึ่งเป็นกาย หมายความว่าเย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง มหาภูตรูป และรูปอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้น แต่ก็เป็นกายที่เจริญเติบโตมา เพื่ออะไร เพราะว่ารูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย
เพราะฉะนั้นผลของกรรมซึ่งเป็นนามก็ต้องเป็นนามธรรม เมื่อเป็นอกุศลกรรมที่จะให้ผลเกิดขึ้นทางตา หรือ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะว่าการที่จะรับผลของกรรมมี ๕ ทาง ทางตา ๑ หู ๑ จมูก ๑ ลิ้น ๑ กาย ๑ ขณะนี้ยังไม่เจ็บ ใช่ไหม อกุศลกรรมที่ทำแล้วยังไม่ให้ผลทำให้ความรู้สึกเจ็บเกิดขึ้น เพราะว่าความรู้สึกเจ็บต้องอาศัยกาย และกายปสาทก็มีตั้งแต่เกิด แต่ไม่ใช่อันเก่า เกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วแล้วก็กรรมก็เป็นปัจจัยทำให้กายปสาทรูปเกิดดับสืบต่อ จนถึงกาละที่อกุศลกรรมจะให้ผล ก็ทำให้จิตที่อาศัยกายเกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังกระทบกาย นั่นคือกายวิญญาณ กายวิญญาณเป็นความรู้สึก หรือว่าเป็นจิต
ผู้ฟัง กายวิญญาณเป็นจิต
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตไม่ใช่เจตสิก ความรู้สึกเจ็บไม่ใช่กายวิญญาณ เพราะฉะนั้นเวลาที่กายวิญญาณเกิดขึ้นเป็นผลของอกุศลกรรม จะมีความรู้สึกซึ่งเป็นเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม
ผู้ฟัง ต้องมี
ท่านอาจารย์ ต้องมี เพราะฉะนั้นขณะที่อกุศลกรรมให้ผลทำให้จิตเกิดขึ้นรู้สิ่งที่กระทบกาย จะต้องมีความรู้สึกที่เกิดพร้อมกับกายวิญญาณ คือ จิตที่กำลังรู้ในขณะนั้นด้วย
เพราะฉะนั้นความรู้สึกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ขณะที่เป็นกายวิญญาณอกุศลวิบากต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ความรู้สึกที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณที่เป็นผลของอกุศลกรรม ความรู้สึกนั้นเป็นอะไรคะ เป็นความรู้สึกประเภทไหน
ผู้ฟัง อาจารย์ถามใหม่ได้ไหม
ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตเกิดขึ้นเป็นผลของอกุศลกรรม รู้สิ่งที่กระทบกาย จะต้องมีสภาพของเจตสิกซึ่งเป็นความรู้สึกเกิดกับจิตนั้นด้วย ในเมื่อเป็นผลของอกุศลกรรม ความรู้สึกซึ่งเป็นเจตสิกซึ่งเกิดกับจิต จะเป็นความรู้สึกประเภทไหน หรืออย่างไหน
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นทุกข์ แล้วสงสัยอะไร
ผู้ฟัง คือสงสัยว่า กายวิญญาณที่จะรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางกายวิญญาณได้ ก็คือ เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เปลี่ยนไม่ได้เลย ธรรมเปลี่ยนไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ว่าลักษณะของเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหวเป็นลักษณะของรูป
ท่านอาจารย์ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย
ผู้ฟัง ที่นี้ลักษณะความรู้สึกเป็นนามเกิดกับจิต
ท่านอาจารย์ เกิดกับจิตที่เป็นกายวิญญาณ
ผู้ฟัง แล้วทำไมเวลาปรากฏ จะปรากฏแต่ลักษณะของเวทนา ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วกายปสาทก็จะกระทบได้ ๓ รูปเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงเข้าใจไม่เปลี่ยน กายวิญญาณ คือสภาพรู้ที่อาศัยกายเกิดขึ้น จึงรู้ลักษณะที่เย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหว ขณะนั้นใครจะเปลี่ยนสภาพนั้นให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ สภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งเย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง เป็นจิต แต่ในขณะที่จิตนั้นเกิดต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เวทนาที่ต้องเกิดกับจิตทุกประเภท คือ ความรู้สึกต่างๆ เป็นเวทนาประเภทต่างๆ ในภาษาบาลี เป็นสุขเวทนาทางกาย ทุกขเวทนาทางกาย หรือว่าโสมนัสเวทนาทางใจ โทมนัสเวทนาทางใจ และความรู้สึกซึ่งไม่สุขไม่ทุกข์ ก็มีความรู้สึกอยู่ ๕ อย่าง เพราะฉะนั้นขณะที่กายวิญญาณ คือ ที่จิตรู้สิ่งที่กระทบกายเกิดขึ้น ต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย และถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม เวทนาที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณนั้นเป็นอะไร จะเป็นเวทนาประเภทไหน ลักษณะไหน
ผู้ฟัง อกุศลกรรมก็ต้องเป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ ก็เป็นทุกขเวทนา เพราะฉะนั้นทุกขเวทนาไม่ใช่จิต เวลาที่สุข ทุกข์ เสียใจดีใจเกิดขึ้นรู้ได้ ใช่ไหม ทำไมต้องไปหาอะไรอื่นอีก ในเมื่อสภาพนั้นก็ปรากฏให้รู้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนั้นเป็นความรู้สึก จึงไม่ใช่จิต จิตก็เป็นจิต เจตสิกก็เป็นเจตสิก
ผู้ฟัง อย่างนั้นแสดงว่าความรู้สึกทางกาย จะต้องเป็นกายวิญญาณที่เกิด
ท่านอาจารย์ สภาพที่รู้สิ่งที่กระทบ เพระว่าเวลาที่มีอะไรกระทบกาย สิ่งที่กระทบที่จิตรู้ก็คือสิ่งนั้นอ่อน หรือแข็ง นั่นคือจิตที่กำลังรู้ ลักษณะที่อ่อน หรือแข็ง สิ่งนั้นที่กระทบเย็น หรือร้อน ขณะที่เย็น หรือร้อนปรากฏก็คือจิตที่กำลังรู้แจ้งลักษณะของเย็น หรือร้อนที่กำลังปรากฏอย่างนั้นเป็นอย่างนั้น เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ลักษณะของตึง หรือไหวปรากฏเมื่อไร ก็คือต้องมีจิตที่กำลังรู้ลักษณะนั้น เพราะฉะนั้นสภาพที่รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไร ขณะไหนก็ตาม ก็เป็นลักษณะของจิต ไม่ใช่เรา เป็นธาตุที่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แต่สงสัยตรงที่อย่างทวารอื่น อย่างเช่นลักษณะเห็นเกิดขึ้นก็ต้องมีคิดนึก
ท่านอาจารย์ คนละขณะ
ผู้ฟัง คนละขณะ แต่ว่าอย่างกายวิญญาณ สภาพที่กระทบแล้วรูปปรากฏ นี่ก็คนละขณะกับลักษณะของเวทนาปรากฏ หรือ
ท่านอาจารย์ แม้ว่าเวทนาจะเกิดกับจิต แม้ว่ารูปอื่นๆ ก็มีในขณะนั้น แล้วแต่ว่าขณะนั้นอะไรปรากฏ กำลังเสียใจ มีความรู้สึกเสียใจ มีจิตด้วย หรือไม่ขณะที่เสียใจ
ผู้ฟัง มีจิต
ท่านอาจารย์ แล้วจิตเสียใจ หรือว่าสภาพเสียใจไม่ใช่จิต
ผู้ฟัง สภาพเสียใจไม่ใช่จิต
ท่านอาจารย์ ก็ยังปรากฏได้ แต่ว่าไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นไม่มีจิต มีจิต แต่อะไรปรากฏ เสียใจ หรือดีใจปรากฏ
ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ต้องทราบเพียงแต่ว่า ลักษณะที่ปรากฏเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นเราจะเรียนเรื่องจิต เจตสิกทำไม
ผู้ฟัง คือจริงๆ แล้ว เมื่อเจ็บ เพราะเรารู้สึกว่า ขณะนั้นเป็นความรู้สึก แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ รู้ชื่อ
ผู้ฟัง รู้ชื่อจากความเข้าใจ ก็เลยมีความสงสัยว่า จริงๆ ต้องมีเหตุของความเจ็บที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังคิดไม่ได้รู้ความเป็นธรรมของความรู้สึกเจ็บ สภาพที่เจ็บเป็นธรรม ไม่ได้มีความเข้าใจลักษณะที่เจ็บที่ปรากฏว่า เป็นลักษณะของธรรมชนิดหนึ่งซึ่งไม่ใช่เรา แต่ก่อนนั้นเป็นเราเจ็บ แต่ว่าเวลาที่กำลังมีลักษณะเจ็บ ปรากฏ จะรู้ว่าเจ็บมีจริงๆ เมื่อขณะนั้นเจ็บเกิดปรากฏ จะรู้ว่า เจ็บที่มีจริงนั้นไม่ใช่เราเลย ก็เพราะเหตุว่าสามารถที่จะรู้ว่า สภาพที่เจ็บนั้นก็เป็นลักษณะอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง อย่างทางตา เมื่อเห็นสิ่งที่ปรากฏแล้วเดือดร้อน อันนี้ชัดว่าคือเกิดขึ้นทางใจ แล้วเป็นอกุศลที่เกิดตาม
ท่านอาจารย์ ขณะเดือดร้อนมีลักษณะของอะไรปรากฏ
ผู้ฟัง ทุกข์ทางใจ
ท่านอาจารย์ สภาพของความรู้สึก ใช่ไหม ที่ไม่ชอบ ไม่สบายใจ ก็เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง แต่ว่าทางอื่นทั้ง ๔ ทางจะต่างกับทางกายวิญญาณ ซึ่งทางกายวิญญาณ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะของความรู้สึกทางกายเกิดด้วย
ท่านอาจารย์ ในขณะที่รู้สึกเจ็บ ขณะนั้นเข้าใจคำ เป็นความรู้สึกทางกาย หรือว่าลักษณะที่เจ็บมีจริง
ผู้ฟัง ลักษณะที่เจ็บมีจริงๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดว่าทางไหน แล้วความจริงก็คือว่าสภาพนั้นเกิดเจ็บ ไม่เกิดเป็นอย่างอื่น แต่เกิดเป็นเจ็บ แล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง แต่ทางตาไม่เจ็บ
ท่านอาจารย์ ไม่เจ็บ มีจริงไหม
ผู้ฟัง ไม่เจ็บ มีจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดเป็นไม่เจ็บ
ผู้ฟัง แต่ว่าจะมีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือ พอใจ กับไม่พอใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพอใจไม่ใช่เจ็บ ไม่พอใจก็ไม่ใช่เจ็บ พอใจเป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง ไม่พอใจเป็นสภาพที่ไม่ติดข้อง แต่ไม่ใช่ความรู้สึกเจ็บ หรือไม่ใช่ความรู้สึกเฉยๆ แต่เป็นความติดข้อง หรือความขุ่นเคือง
เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ ธรรมทั้งหมดหลากหลาย มีอยู่ เกิดอยู่ เป็นไปตลอดเวลาแต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรมt จึงฟังเพื่อที่จะได้มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ว่ามีผู้ที่ตรัสรู้ความจริง และทรงแสดงความจริงให้มีความเห็นถูกว่า ทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อะไรเลยสักอย่างเดียว เป็นลักษณะแท้ๆ ของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งเพียงปรากฏแล้วก็หมดอย่างเร็วมาก ขณะนี้สภาพธรรมก็เกิดดับ ขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะหนึ่งลักษณะใดโดยความเป็นธรรม ก็หมดไปแล้ว ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่มีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วก็กำลังฟังเพื่อที่จะเข้าใจจริงๆ ในความเป็นธาตุ ในความเป็นธรรม ในความเป็นอนัตตา แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราจะต้องไปเรียกชื่อ หรือว่าไปสับสน แต่ลักษณะนั้นเป็นอย่างไร ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้เลย เกิดปรากฏนิดเดียวให้รู้ในความเป็นจริงว่า ลักษณะนั้นมีจริงๆ เกิดขึ้นแล้วดับไป
ผู้ฟัง ความรู้สึก อย่างเจ็บเกิดขึ้นก็ มีความเดือดร้อนใจติดตามมา ถ้าเป็นความคิดนึกสืบต่อ แต่ว่าจริงๆ แล้วที่กราบเรียนถามท่านอาจารย์ เพราะว่ามีความสงสัยในลักษณะของความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงๆ ว่า ทางกายมันมีความแตกต่างจากทางอื่น
ท่านอาจารย์ ก็ทำไมจะต้องไปสงสัย โดยที่ไม่รู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน สภาพนั้นเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นแล้วจะสงสัยอะไรในความเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่จากที่เราได้ฟังธรรม เวลาสภาพธรรมใดปรากฏเราก็มักจะหาชื่อใส่ก่อน แล้วก็หาทางของสภาพธรรมนั้นที่ปรากฏ เนื่องจากเรารู้ว่า สภาพที่รู้อารมณ์รู้ได้ ๖ ทาง เพราะฉะนั้น ๕ ทาง ก็คือสิ่งที่รูปปรากฏได้ แต่ทางที่ ๖ คือทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของนามธรรม ก็เลยทำให้เกิดความสับสนว่า ลักษณะของนามธรรมคือเจ็บ รู้ได้ทางใจ หรือว่ารู้ได้ทางกาย
ท่านอาจารย์ เจ็บมี ถ้าไม่มีกายเจ็บไหม
ผู้ฟัง ไม่เจ็บ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ได้ทางกาย
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วไม่ใช่เอาชื่อไปใส่ แล้วไปหาชื่อ หาเรื่องราว เวลาที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ เพราะว่าเป็นอย่างนี้มาแสนนาน คือ เป็นเรื่องราว ไปคิดเรื่องต่างๆ แต่ว่าลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ เมื่อไรจะรู้ความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น ฟังเพื่อที่จะให้เข้าใจถูก เห็นถูกในความเป็นจริง คือ เป็นธรรม มีลักษณะหลากหลายแต่ละอย่าง ที่เกิดโดยที่ว่า ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ จุดประสงค์คือให้เข้าใจ ถูกต้องอย่างนี้ ไม่ใช่ให้ไปนั่งคิดสงสัย แล้วทางไหนเป็นอย่างไร ทางกาย ทางใจ จะรู้ได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อกำลังมีลักษณะที่ปรากฏให้เข้าใจถูกต้องในลักษณะที่มีจริงนั้นว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ต้องเรียกว่านามไม่ต้องเรียกว่ารูป ไม่ต้องไปนั่งคิดว่า รูปไม่ใช่สภาพที่รู้อะไรได้ แล้วก็นามกำลังเป็นสภาพรู้ ไม่ใช่ให้ไปนั่งคิดอย่างนั้น ช้าไปหมดเลย เพราะว่านามธรรมก็ดับไปแล้ว รูปธรรมก็ดับไปแล้ว โดยที่ว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นเลย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420