พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
ตอนที่ ๔๑๕
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้ไปนั่งคิดสงสัย แล้วทางไหนเป็นอย่างไร ทางกาย ทางใจ จะรู้ได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อกำลังมีลักษณะที่ปรากฏให้เข้าใจถูกต้องในลักษณะที่มีจริงนั้นว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ต้องเรียกว่านาม ไม่ต้องเรียกว่ารูป ไม่ต้องไปนั่งคิดว่ารูปไม่ใช่สภาพที่รู้อะไรได้ แล้วก็นามกำลังเป็นสภาพรู้ ไม่ใช่ให้ไปนั่งคิดอย่างนั้น ช้าไปหมดเลย เพราะว่านามธรรมก็ดับไปแล้ว รูปธรรมก็ดับไปแล้ว โดยที่ว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นเลย
เพราะฉะนั้นขณะนี้เดี๋ยวนี้มีธรรมปรากฏเกิดดับ ไม่ต้องเป็นห่วง ใครไปยับยั้งไม่ให้ดับอย่างเร็วก็ไม่ได้ ดับไปหมดแล้วอย่างเร็ว แต่ว่าเริ่มที่จะเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ แต่ละลักษณะว่าเป็นธรรม แล้วอันไหนจะเป็นเรา ในเมื่อมีความเข้าใจถูกต้องว่า เป็นธรรมก็จะมีความเข้าใจว่าไม่มีตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ของใคร เข้าใจในความหมายของคำว่าอนัตตา
อ.วิชัย พี่สุกัญญากล่าวถึงจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร จริงๆ แล้วโดยปกติที่เป็นอารมณ์แล้ว เราก็เคยสนทนาเรื่องของรูป ๗ รูป ที่เป็นวิสยรูป และขณะที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อวิถีจิตทางตาดับแล้ว มีภวังคจิตคั่นแล้ว มโนทวารก็สืบต่อทันที คือ ทางมโนทวารสามารถที่จะรู้รูปได้ทั้งหมด และได้กล่าวถึงเรื่องของเจ็บ ใช่ไหมครับ ทุกขเวทนารู้ได้ทางไหน จริงๆ ทุกขเวทนาเป็นนามธรรม จะรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้รูปที่เป็นวิสัยของตน อย่างเช่นทางตาก็รู้ได้รูปเดียว คือ วัณณรูปที่เป็นรูปารมณ์ ทางหูก็สัททารมณ์ ทางจมูกก็รู้คันธารมณ์ ทางลิ้นก็รู้รสารมณ์ ทางกายก็รู้โผฏฐัพพารมณ์ แต่ขณะใดก็ตามที่ทุกขเวทนาทางกายปรากฏ ก็ต้องหมายความว่า ขณะนั้นจิตที่เกิดขึ้นทางมโนทวารรู้ทุกขเวทนานั้น และโดยสภาพธรรมจิตก็เกิดดับอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นความเข้าใจถูกก็หมายความว่าขณะใดก็ตามที่สภาพธรรมใดปรากฏ ขณะนั้นก็สามารถจะเข้าใจถูกในสภาพธรรมนั้นๆ ได้ แต่ว่าการฟังก็เป็นการเริ่มที่จะเข้าใจถูกว่า มีสภาพธรรมซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ทางตาที่ปรากฏก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฏได้ทางตา ทางหู ก็เป็นสภาพธรรมอย่าง หนึ่งซึ่งก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน ทางตาก็เป็นรูปอย่างหนึ่ง ทางหูที่ปรากฏก็เป็นรูปอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นขณะที่เริ่มเข้าใจขณะนี้จะเป็นลักษณะของรูปธรรมก็ตาม หรือนามธรรมก็ตาม ขณะนั้นก็รู้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่โดยสภาพธรรมเขามีลักษณะแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ว่าเริ่มที่จะเข้าใจถูกว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง อาจารย์วิชัย ถ้าอย่างนั้นลักษณะของความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับกายวิญญาณจะต้องเป็นขณะเดียวกันกับลักษณะของจิตนั้นที่กระทบ รูปหนึ่งรูปใด ใช่ไหม
อ.วิชัย จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ทางกาย จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางกายก็ต้องรู้โผฏฐัพพารมณ์เท่านั้น จะรู้อย่างอื่นไม่ได้เลย แต่ขณะใดก็ตามที่ทุกขเวทนาปรากฏ ขณะนั้นก็ต้องปรากฏทางมโนทวาร เพราะมโนทวารจึงจะสามารถรู้ลักษณะของนามธรรมได้
ผู้ฟัง แต่ว่าทางตาลักษณะของความรู้สึกเป็นอุเบกขา ใช่ไหม
อ.วิชัย ถูกต้อง
ผู้ฟัง ก็เลยไม่ปรากฏ หรือว่าปรากฏก็ไม่รู้ ถูกไหม
วิชัย คือจะปรากฏ แล้วแต่ว่าจิตจะเกิดขึ้นน้อมไปแล้วจะรู้อารมณ์ใด ซึ่งบังคับบัญชาไม่ได้เลย ขณะนี้บังคับไม่ได้ที่จะให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์อะไร แต่ก็มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นแล้ว ขณะที่เห็นก็มีปัจจัยให้เกิดรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะที่ได้ยินก็มีเหตุปัจจัยให้รู้สิ่งที่ปรากฏทางหู แต่ความรู้สึกบังคับไม่ได้ที่จะให้จิตเกิดขึ้นรู้ แต่ว่าขณะใดก็ตามที่เวทนาปรากฏ ขณะนั้นจิตเกิดขึ้นรู้เวทนาที่กำลังปรากฏในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเราไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม เราชินกับเรื่องเยอะๆ มากๆ ยาวๆ แต่ว่าลักษณะของธรรมกำลังมี เพราะฉะนั้นเวลาที่ฟังธรรมก็คือว่าเราจะสามารถรู้ได้ว่า เราเข้าใจได้แค่ไหน อย่างขณะนี้กำลังเห็น การเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็ว อย่างที่เราเคยฟังมาว่าหลังเห็นแล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตา แม้ว่าภวังค์จะเกิดสืบต่อ เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาดับแล้ว ภวังค์เกิดคั่นแล้ว แต่จากการเห็นนั่นแหละก็ทำให้มโนทวารวิถีจิตนึกถึงสิ่งที่เพิ่งเห็น แล้วก็มีการที่จะเกิดดับสืบต่อหลายวาระ เราไม่จำเป็นต้องไปคิดถึงว่า ขณะนี้เป็นอย่างนั้น แต่ให้เข้าใจถูกต้องว่า ความไม่รู้มากสักแค่ไหน แม้แต่เรื่องฟัง มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตากับจิตเห็น แล้วก็ฟังว่า จิตเห็นจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็มีปัจจัยหลายอย่าง ก็ยังไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงในขณะที่เห็นปรากฏแล้วยังไม่รู้ ว่าสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ทางตากับสภาพที่กำลังเห็นจริงๆ มีชั่วขณะที่สั้นมาก แล้วก็ดับไป ก็ทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องราว ว่าแล้วมโนทวารขณะไหน แต่ความจริงยังไม่ต้องคิดถึงคำว่า “มโนทวาร” แต่ให้รู้ว่าหลังเห็นแล้ว มีชอบไม่ชอบในสิ่งที่ปรากฏซึ่งยังไม่ได้ดับไป ซึ่งสั้นมาก นี่ก็คือเพื่อให้เห็นว่า ความไม่รู้ของเรามากมาย
เพราะฉะนั้นเรื่องราวต่างๆ เพียงให้เห็นความจริงว่า จะต้องมีการฟังโดยละเอียด แล้วการที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่โดยไปคิดเรื่องของสภาพธรรม อย่างพอเจ็บก็ไปคิดเรื่องเจ็บ เรื่องปัจจัย เรื่องปสาท เรื่องผลของกรรม ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะที่เจ็บจริงๆ ซึ่งเจ็บในขณะนั้นก็เกิดดับสืบต่อ โดยที่มีจิตอื่นเกิดคั่นมากมาย
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า กว่าเราจะรู้ความจริงได้ เราต้องเริ่มเข้าใจความเป็นอนัตตา เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดง แสดงความจริงของธรรมว่า เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มี แต่สิ่งที่มีนั้นว่างจากการที่จะไปยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง หรือว่าเป็นใคร หรือว่าเป็นของเรา หรือว่าอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา นี่คือสัจญาณ เราไม่ต้องไปมุ่งหวังว่าจะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม หรือแม้เห็นขณะนี้กว่าจะค่อยๆ ชินกับการที่จะรู้ว่าลักษณะจริงๆ ก็คือเพียงปรากฏ หลังจากนั้นเป็นเรื่องคิดตลอด ไม่ว่าสิ่งใดจะปรากฏก็ปรากฏเพียงเล็กน้อยแล้วก็คิดเป็นเรื่องเป็นราว จนกว่าเมื่อไรไม่คิด แต่มีลักษณะปรากฏ ก็จะเห็นความต่างได้ว่า อยู่ในโลกของความคิดตลอดเวลาแล้วมากมายด้วยค่อยๆ เข้าใจความจริงเท่าที่จะเข้าใจได้ แต่ทั้งหมดที่ศึกษาเพื่อเข้าใจตัวธรรม สภาพจริงๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องราวที่เราได้ยินได้ฟังมากมาย แล้วก็จำไว้โดยไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นธรรม ถ้าเป็นโดยลักษณะที่เพียงจำ ตลอดชีวิตเราจะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเราจะไปจำคำที่เป็นภาษาไทย เมื่อเราเกิดเป็นคนไทย ชาติก่อนเกิดเป็นใคร พูดภาษาอะไร ก็ไม่รู้ คงจะเคยได้ยินคำว่า “กายวิญญาณ” ถ้าเกิดที่เมืองที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง แต่พอถึงขณะนี้เป็นอีกภาษาหนึ่ง ไม่รู้ว่ากายวิญญาณ แค่ไหน เพียงแค่ขณะที่กำลังรู้สิ่งที่อ่อน หรือแข็ง เย็น หรือร้อน ตึง หรือไหว นอกจากนั้นไม่ใช่กายวิญญาณ กายวิญญาณเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะแล้วดับ แต่ก็มีกรรมที่ทำให้ผลของกรรมนั้นรู้อารมณ์นั้นต่อ แต่ว่าเป็นจิตต่างขณะ ต่างประเภท นี่ก็แสดงให้เห็นพระมหากรุณาที่ทรงแสดงความจริงจากการที่ทรงตรัสรู้โดยละเอียดเพื่ออนุเคราะห์ให้คนที่ยังไม่รู้ความจริงได้ฟังด้วยการไตร่ตรอง จนกระทั่งเข้าใจสิ่งที่ปรากฏตั้งแต่ต้น คือเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า “ธรรม และอนัตตา” แต่ไม่ใช่ให้เราไปคิด ไปอะไรที่จะประจักษ์การเกิดดับ เพราะว่าการประจักษ์การเกิดดับเป็นปัญญา เป็นความเห็นถูก เป็นความเข้าใจถูกยิ่งขึ้น ถ้าขณะนี้ไม่มีความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็คิดว่าจะไปทำเพื่อประจักษ์การเกิดดับ อวิชชาไม่สามารถที่จะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมได้ แต่ปัญญาแม้เข้าใจ ประมาทไม่ได้เลย ขณะนี้มีแข็ง ทุกคนมีแข็งปรากฏ เข้าใจแค่ไหน หรือไปนึกถึงกายวิญญาณ แต่ว่าไม่เข้าใจลักษณะที่แข็ง เหมือนกับไม่เข้าใจลักษณะสิ่งที่ปรากฏทางตา เหมือนกับไม่เข้าใจลักษณะของเสียงที่ปรากฏแล้วหมดไป
เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ว่า ความเข้าใจเป็นสิ่งที่ละเอียด แล้วก็ไม่ใช่เรา โดยเฉพาะเมื่อเป็นนามธรรม ก็ “ลองคิดดู” เข้าใจไหม คำว่า “ลอง” ทำไมแค่คำว่า “ลอง” เข้าใจได้ ทั้งๆ ที่สั้นอย่างนี้ แค่คำว่า “ลอง” ก็เข้าใจ “คิด” พูดออกมาคำหนึ่งว่า “คิด” ก็เข้าใจ แต่ว่าความจริงเสียงไม่ใช่ความหมายว่า “คิด” แต่ต้องมีเสียงกระทบโสตปสาท ได้ยิน ถ้าไม่มีการได้ยินจะไม่เข้าใจว่า “คิด” หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาไม่ใช่ความคิดนึก เช่นเดียวกับเสียง เสียงก็เป็นเสียง สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ส่วนคิด พอพูดคำว่า “คิด” ก็รู้ว่าหมายความว่าอะไร
เพราะฉะนั้นเวลาที่เห็นแล้วรู้ว่าเป็นอะไร ก็ต้องติดกัน ใช่ไหมคะ เหมือนกับได้ยินคำแล้วก็รู้ความหมายทันที แต่การที่รู้ความหมายทันที ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลยจะรู้ไหมว่า “คิด” หมายความว่าอะไร “คิด” ภาษาอังกฤษ ความหมายอย่างหนึ่ง “คิด” ภาษาไทยความหมายก็อีกอย่างหนึ่ง แต่เสียง “คิด” ไม่ได้เปลี่ยน แต่ความนึกคิด ของความหมายของเสียงที่ได้ยินต่างกัน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเราไม่คุ้นแล้วเราไม่ชิน ก็จะไม่รู้เลยว่า ขณะที่กำลังเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏเท่านั้น แต่ว่าต้องมีการจำว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เพราะว่าต่อกันเลย แต่ว่าเร็ว แต่ว่าแยกโดยขณะจิต ทรงแสดงความละเอียดยิ่ง
ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์สุจินต์ เมื่อมโนทวารไม่ปรากฏ ขณะที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่รู้อารมณ์ทางมโนทวาร ไม่ใช่ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเข้าใจความละเอียด ความรู้สึกเป็นทุกข์มีจริงๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ผู้ฟัง เกิดขึ้นเพราะว่าอกุศลกรรมที่เคยกระทำ
ท่านอาจารย์ นั่นสิ อกุศลกรรมก็มีกันทุกคน เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน แล้วทำไมทุกข์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ผู้ฟัง เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร เห็นก็เป็นวิบาก เป็นผลกรรมเหมือนกัน เพราะฉะนั้นความรู้สึกเป็นทุกข์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ผู้ฟัง มีเหตุปัจจัยให้เกิด
ท่านอาจารย์ แล้วอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนา
ผู้ฟัง กรรม
ท่านอาจารย์ กรรมก็ทำให้เห็นก็ได้ ทำให้รู้สึกเฉยๆ ก็ได้
ผู้ฟัง อกุศลกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว
ท่านอาจารย์ อกุศลกรรมที่ทำมาให้เห็นสิ่งที่ไม่ดีก็ได้ ให้ได้ยินเสียงที่ไม่ดีก็ได้ เพราะฉะนั้นความรู้สึกเป็นทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้ฟัง เกิดขึ้นเพราะมีเวทนา
ท่านอาจารย์ เวทนาเป็นทุกข์ค่ะ ความรู้สึก ใช้ภาษาไทยจะชัดเจนว่า ความรู้สึก เจ็บ ปวด เมื่อย เป็นทุกข์
ผู้ฟัง เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ผู้ฟัง เพราะมีรูป
ท่านอาจารย์ รูปอะไร เสียงก็เป็นรูป กลิ่นก็เป็นรูป โต๊ะก็เป็นรูป
ผู้ฟัง ถ้าทางกายก็คงเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เป็นรูปที่ทำให้เกิดทุกข์
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีกายปสาทจะรู้สึกเย็นไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยกาย กายปสาท เป็นทางไหน ทางใจ หรือทางกาย
ผู้ฟัง ทางกาย
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกที่เกิดกับจิต ที่กำลังรู้ลักษณะที่เย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ต้องอาศัยกายจึงเกิดรู้สึกเย็นได้ ร้อนได้
ผู้ฟัง พอความทุกข์เกิดขึ้น แล้วเราก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ จริงๆ รู้ หรือเปล่าว่าเป็นธรรม หรือว่าเจ็บก็เจ็บ แล้วเจ็บนั่นก็เป็นเราเจ็บ เกิดก็ไม่รู้ ดับก็ไม่รู้ ไม่ใช่เราก็ไม่รู้ จึงต้องฟัง เพื่อที่ให้เข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ เป็นธรรมแต่ละอย่าง ศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรม ถ้าไม่รู้จักธรรมจะชื่อว่าศึกษาธรรมไม่ได้
ผู้ฟัง ทีนี้ทุกคนในที่นี้ก็จะมีความรู้สึกว่า เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขอยู่ในขณะนี้ ไม่ทราบว่าจะทราบ หรือไม่ก็ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เฉยๆ มีไหม
ผู้ฟัง เฉยๆ ก็คงจะไม่มี
ท่านอาจารย์ บอกได้ไหมคะว่าใครรู้สึกอย่างไร
ผู้ฟัง บอกไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่พูดถึงคนเลย แต่พูดถึงธรรม เพื่อที่จะได้เห็นจริงๆ ว่าธรรมเป็นธรรม
ผู้ฟัง คือเมื่อมีทุกข์ แล้วก็อยากจะให้ทุกข์นั้นเบาบางไป
ท่านอาจารย์ นั่นสิ ก็อยาก ไม่ใช่เข้าใจว่า ทุกข์เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดเพราะมีเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป จะไปเรียกร้องกลับมาก็ไม่ได้ จะให้เป็นของใครก็ไม่ได้
ผู้ฟัง ในขณะที่รู้ว่าเป็นธรรมก็ช่วยได้แล้ว
ท่านอาจารย์ จะช่วยอีกแล้ว ช่วยใคร ช่วยเรา ไม่ได้เข้าใจความเป็นอนัตตาเลย เพราะฉะนั้นต้องฟังจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจถูกต้องว่า ธรรมเป็นธรรม
ผู้ฟัง เข้าใจ เพราะว่ามันก็ยังมีความรู้สึกเป็นทุกข์ หรือสุขอยู่
ท่านอาจารย์ ก็เป็นของธรรมดา แต่เริ่มฟัง เริ่มเข้าใจทีละน้อยตามความเป็นจริงว่าทุกข์มีแน่ เมื่อมีเหตุปัจจัย จึงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ทุกข์นั้นจะเป็นของใคร ในเมื่อเกิดแล้วดับไปหมดแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย
ผู้ฟัง แล้วก็ถ้ามีทุกข์ใหม่ ก็แสดงว่ามีอกุศลกรรมที่กระทำไว้
ท่านอาจารย์ ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างขณะนี้เกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น
ผู้ฟัง ผมก็เข้าใจอีกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เข้าใจแต่ไม่รู้ลักษณะ แล้วจะรู้ลักษณะที่เป็นธรรมเมื่อไร
ผู้ฟัง ก็ต้องศึกษาฟังไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ และวิทยากรทุกท่าน ดิฉันขอถามต่อเนื่องจากคุณสุกัญญา คำว่า “ความรู้สึก” ความรู้สึกต่างกับจิตอย่างไร
ท่านอาจารย์ คำว่า “รู้สึก” หมายความว่ามีสภาพที่รู้สึกจริงๆ หรือไม่ หรือมีแต่คำว่า “รู้สึก”
ผู้ฟัง ถ้าสังเกตแล้วมีจริงๆ คำว่า “รู้สึก”
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่สังเกต เจ็บไหม
ผู้ฟัง ก็รู้สึกได้
ท่านอาจารย์ เฉยๆ มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ใช้คำหลากหลายทั้งในภาษาไทยก็มี ภาษาบาลีก็มี แล้วแต่ว่าจะใช้คำไหน แต่ก็หมายความว่าสภาพที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ เพราะฉะนั้นที่ถาม ถามว่าอย่างไร คำว่า “ความรู้สึก” หรือว่าลักษณะที่รู้สึก สภาพที่รู้สึก คือ ความรู้สึก
ผู้ฟัง สภาพที่รู้สึก
ท่านอาจารย์ โต๊ะมีความรู้สึกไหม
ผู้ฟัง ไม่มี แล้วที่นี้ก็สงสัยว่า ลักษณะของความรู้สึก แล้วทีนี้ก็ต้องมีจิตไปรับรู้ถึงจะเรียกว่ารู้สึก
ท่านอาจารย์ รู้สึกมีแน่ๆ ถ้าไม่มีสภาพที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏจะรู้สึกในสิ่งนั้นไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ โดยจิตเป็นสภาพรู้ แต่จิตไม่ใช่สภาพที่รู้สึก มีสิ่งที่ปรากฏโดยจิตเป็นสภาพรู้สิ่งนั้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่กำลังปรากฏจะปรากฏไม่ได้เลย ถ้าไม่มีธาตุที่สามารถที่จะรู้สิ่งนั้น เช่นในขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่เห็น จะบอกได้ไหมว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏเพราะจิตเห็น ธาตุชนิดหนึ่ง ไมใช่สิ่งที่ปรากฏเลย คนละอย่าง แต่เป็นธาตุที่เกิดแล้วเห็น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นธรรมที่ใช้คำว่า “จิต” เพราะเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ยังไม่พูดถึงความรู้สึกเลย มีไหม จิต
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ กำลังคิดเรื่องต่างๆ มีในขณะที่คิด จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ได้จำ ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เป็นสภาพที่กำลังรู้ในขณะนี้ คือ กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก นั่นคือจิตแต่ละลักษณะ แต่ละประเภท ซึ่งเกิดเมื่อไรก็เป็นใหญ่เป็นประธาน เพียงรู้ ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย เป็นธรรมที่มีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ เป็นเรา หรือไม่
ผู้ฟัง ขณะนั้นยังไม่เป็นเรา
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังเห็นนี่ เป็นธรรม หรือเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นธรรมที่เห็นเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าเวลาที่เห็นมีความรู้สึก หรือไม่
ผู้ฟัง ขณะที่เห็นมี
ท่านอาจารย์ เป็นอย่างไร ความรู้สึกขณะที่เห็น
ผู้ฟัง รู้ว่าเป็นสี
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ นี่พูดถึงธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความรู้สึก เห็นเป็นธาตุที่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ คือธรรมนี่ ไม่ใช่ฟังเฉยๆ แต่ว่ามีธรรมที่กำลังปรากฏให้เข้าใจในขณะที่กำลังฟัง เพราะฉะนั้นฟังเรื่องอะไรก็เข้าใจในเรื่องนั้น หรือในสิ่งนั้นที่กำลังกล่าวถึง เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงเห็นไม่ใช่ให้ไปนึกถึงเสียง ไม่ใช่ให้ไปนึกถึงมโนทวาร ไม่ใช่ให้ไปนึกถึงอายตน หรือธาตุ เวลาพูดถึงเห็น ต้องหมายความถึงขณะนี้มีเห็น จะเข้าใจเห็นได้ก็ต่อเมื่อกำลังฟัง แล้วก็พิจารณาถึงความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ เห็นนี้ต้องเรียกอะไร หรือไม่
ผู้ฟัง เห็นไม่ต้องเรียก
ท่านอาจารย์ เห็นไม่ต้องเรียก แต่มี หรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีเมื่อเกิดขึ้น ถ้าไม่เกิดขึ้น เช่นกำลังหลับสนิท มีเห็นไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะฉะนั้นเห็นเป็นธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็น พูดอย่างนี้ได้ไหม
ผู้ฟัง พูดได้
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็น เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะว่ากำลังเห็น นี่คือกำลังเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เพราะฉะนั้นเห็นมีจริงๆ กำลังเห็น เห็นไม่ใช่สภาพที่จำ เห็นไม่ใช่สภาพที่รู้สึกเจ็บปวด เห็นไม่ใช่โลภะ ความติดข้อง เห็นไม่ใช่โกรธ ความขุ่นใจ แต่มีธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏขณะนี้จึงปรากฏได้ รู้แจ้ง หมายความว่าเห็นในสิ่งที่ปรากฏไม่เป็นอื่น แต่เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏอย่างนี้แหละ เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้นกำลังเห็นกำลังรู้แจ้ง ใช้คำว่า “แจ้ง” หรือใช้คำว่า “เห็น” ก็ได้ สิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง แต่ธรรมมีหลากหลาย ตลอดชีวิตไม่ได้มีแต่เห็น มีธรรมอื่นทั้งหมด ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ซึ่งมีปัจจัยจึงเกิดได้ เกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างเร็วสุดที่จะประมาณได้ ไม่ต้องไปคำนึงถึง แต่ก็มีสภาพธรรมซึ่งกำลังปรากฏ เพราะว่าเกิดดับสืบต่อกัน เมื่อเป็นนามธรรม
เพราะฉะนั้นให้เข้าใจก่อนว่า เห็นไม่ใช่ความรู้สึกสบาย หรือเสียใจ เพราะขณะนี้ไม่ได้เสียใจแต่เห็น เพราะฉะนั้นเห็นเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังรู้แจ้งคือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะที่เสียงปรากฏเสียงก็มีหลายๆ เสียง เสียงต่างกันไหม
ผู้ฟัง ต่างกัน
ท่านอาจารย์ เพราะจิตเกิดขึ้นจึงรู้ลักษณะของเสียงซึ่งต่างๆ กันไป ทีละเสียง ไม่ใช่เสียงเดียวเลย เพราะฉะนั้นธาตุที่เกิดขึ้นได้ยินเสียงเป็นอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ธาตุที่เกิดขึ้นเห็น นี่คือความละเอียดของธรรม ซึ่งไม่มีใครจะบังคับบัญชาได้ และไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้งการเกิดดับสืบต่อของธาตุชนิดนี้ได้เลย เมื่อเป็นนามธาตุ หรือนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้คือจิต มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น คือ ต้องเกิดพร้อมเจตสิก ดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ โดยไม่มีระหว่างคั่นเลย อย่างรวดเร็ว ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 361
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 362
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 363
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 364
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 365
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 366
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 367
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 368
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 369
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 370
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 371
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 372
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 373
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 374
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 375
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 376
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 377
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 378
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 379
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 380
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 381
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 382
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 383
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 384
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 385
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 387
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 388
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 389
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 390
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 391
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 392
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 393
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 394
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 395
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 396
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 397
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 398
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 400
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 401
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 402
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 403
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 404
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 405
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 406
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 408
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 409
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 410
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 411
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 412
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 413
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 414
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 415
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 416
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 417
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 418
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 419
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 420