พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
ตอนที่ ๔๓๖
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ความจริงก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า “ธรรม” ธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน แต่เมื่อมีธรรมต่างๆ ก็บัญญัติเรียกเป็นหญิง เป็นชาย เป็นเทพ เป็นอะไรต่างๆ แต่ความจริงทั้งหมดต้องเป็นธรรม ซึ่งเมื่อเป็นธรรมแล้ว ก็จะไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป
ผู้ฟัง ขณะนี้มีเสียง แต่ที่ได้ยินเสียง ตรงนั้นเป็นคำ ไม่ใช่เสียง สิ่งนี้ถูกต้อง หรือไม่
ท่านอาจารย์ เสียงที่ไม่ได้คิดถึงคำ มี หรือไม่ มี เพราะฉะนั้นขณะได้ยินเสียงขณะหนึ่ง ขณะที่คิดถึงความหมายของเสียงก็อีกขณะหนึ่ง ลมพัด พัดลม มีเสียง คำอะไร พูดเรื่องอะไร หรือไม่ พัดลมพูดเรื่องอะไร หรือไม่
ผู้ฟัง เพียงแค่ดัง
ท่านอาจารย์ ก็ปรากฏเป็นแต่เพียงเสียงที่จิตกำลังรู้แจ้ง คือได้ยินจริงๆ ในเสียงที่กำลังปรากฏ แต่ไม่มีความหมาย เพราะไม่ได้คิดถึงคำใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก็ต่างขณะกัน แต่ติดกันใช่ หรือไม่ เหมือนพอได้ยินก็รู้เลยว่า เสียงนั้นหมายความว่าอะไร
ผู้ฟัง ถ้าเปรียบเทียบกับเสียงที่ดังๆ อย่างนี้ พอจะเข้าใจ แต่พอมาพูดแบบนี้แล้วเป็นคำๆ ความเข้าใจ หรือปัญญาตรงนั้นยังไม่ถึง ก็จึงต้องกราบเรียนถามว่า ลักษณะจริงๆ ตรงนี้ หรือการเข้าใจลักษณะของเสียง หรือคำพูดต่างๆ ที่เป็นเสียงว่า จะเริ่มต้นอย่างไร
ท่านอาจารย์ กำลังเห็นนี่ เห็นอะไร
ผู้ฟัง ตอบทั้ง ๒ อย่าง อย่างแรก สิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ แล้วก็คิดนึกว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร เวลาได้ยินเสียงเป็นคำๆ เหมือนกัน หรือไม่ หรือต้องได้ยินก่อน
ผู้ฟัง ได้ยินก่อน
ท่านอาจารย์ แล้วก็คิดถึงความหมาย
ผู้ฟัง ถ้ามีเสียง หมายความว่าต้องได้ยิน ถึงตอบได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ทราบว่า ลักษณะของการได้ยินเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ แต่ว่าได้ยินมีจริงๆ
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริง ได้ยินมีรูปร่างอะไรปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง จิตได้ยินไม่มีรูปร่าง
ท่านอาจารย์ ได้ยินหอม หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่หอม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลักษณะได้ยินเป็นธาตุที่สามารถได้ยินเสียง สิ่งใดที่มีจริง สิ่งนั้นก็จริง ตรงตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น เมื่อเป็นสภาพธรรมที่ได้ยิน จะเปลี่ยนลักษณะที่ได้ยินเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากกำลังมีเสียงปรากฏ โดยกำลังได้ยินเสียงนั้น มีธาตุที่ได้ยินเสียงนั้น เสียงนั้นจึงปรากฏได้
นี่คือการที่จะเข้าใจว่า ไม่มีเรา แต่ว่าได้ยินมีจริงๆ เพราะฉะนั้นได้ยินก็เป็นธรรมที่เป็นนามธรรม เมื่อเกิดขึ้นต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ทั้งวันเลย
ผู้ฟัง ทั้งวันก็ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ก็ค่อยๆ ฟังจนกระทั่งเข้าใจว่า มีเห็น มีได้ยิน มีคิดนึก มีสุข มีทุกข์ เป็นธรรมทั้งหมด แต่ว่าต่างลักษณะ เพราะไม่สามารถปรากฏเหมือนสี เสียง กลิ่น รสได้ แต่ลักษณะนั้นมี เป็นสภาพรู้ สามารถจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏด้วยความรู้สึก ด้วยความจำ หรือด้วยการเห็น หรือด้วยการได้ยิน ก็แล้วแต่ ลักษณะของสภาพนั้นๆ
สิ่งที่มีจริง จะบอกว่าไม่จริงไม่ได้ แต่มีจริงแล้วไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง จนกว่าจะค่อยๆ ฟังเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง ฟังอย่างเดียว ทำอย่างอื่นไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจว่า ทำไม่ได้ก็ถูก
ผู้ฟัง โลกสมมติบัญญัติจนมองไม่เห็นปรมัตถธรรมซึ่งเป็นของจริง และเมื่อไม่เห็นปรมัตถธรรม ก็ไม่มีทางเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่มีทางพบพระพุทธศาสนาได้ ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ
ท่านอาจารย์ ความเห็น มี ๒ อย่าง ความเห็นถูกกับความเห็นผิด ถ้าไม่ได้ยินได้ฟังธรรม ไม่ได้พิจารณา ก็ต้องมีความเห็นผิดต่างๆ แล้วแต่จะมาก หรือน้อย แต่ความเห็นผิดที่ทุกคนมีก็คือไม่รู้ว่า สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้เกิดขึ้นแล้วดับไป คือเห็นผิดว่าเที่ยง เมื่อเห็นผิดว่าเที่ยง ประกอบกับสิ่งนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ปรากฏการเกิดดับก็ยึดถือว่าเป็นเรา เมื่อเป็นเรา ก็ต้องมีเขา และมีคนอื่นด้วย
เพราะฉะนั้นทั้งหมดมาจากการไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม และไม่ใช่ว่าทุกคนสามารถจะรู้ได้ ถ้าไม่ได้สะสม ประโยชน์ที่สะสมมาแล้วว่าการรู้ดีกว่าแน่นอน เกิดมาแล้วไม่รู้อะไรไปจนตาย กับการที่เข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรม ซึ่งไม่ง่ายที่จะเข้าใจได้ และไม่ง่ายถ้าไม่ได้สะสมมาที่จะได้ยินได้ฟัง ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงความจริงของธรรมว่า เมื่อไม่ได้ฟังธรรม ไม่ได้รู้ความจริงของธรรม จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมไม่ได้ จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ เด็กอายุสัก ๕ – ๖ ขวบ กับคนอายุ ๑๐๐ ปี แต่ไม่ได้ยินได้ฟังธรรมเลย ก็ต้องไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมเหมือนกัน
ผู้ฟัง ดูเหมือนว่าในการศึกษาความจริงที่ปรากฏแล้วไม่รู้ ในสิ่งที่เรารู้ไม่ได้นั้นคืออะไร แต่สิ่งที่เรารู้ได้ คือ การรู้อารมณ์ ๖ ทาง แล้วรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ น้อยลงไป หรืออาจจะมีเครื่องกั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรเข้าใจคืออะไร
ผู้ฟัง ก็คือเห็น ได้ยิน ในขณะนี้
ท่านอาจารย์ คือรู้ความจริงว่าเป็นธรรม นี่คือจุดประสงค์นี้เท่านั้นในการฟังธรรม ไม่ใช่จุดประสงค์อื่นเลย คือรู้ว่าเป็นธรรมที่เป็นอนัตตา ไม่มีเรา ไม่มีเจ้าของ แล้วไม่เป็นของใครด้วย ไม่ว่าจะฟังเมื่อไร ก็คือเพื่อให้รู้ความจริงจนสามารถละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะว่าความจริงไม่ได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ไม่สามารถคิดเองได้ ต้องอาศัยการฟัง การไตร่ตรอง ความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น เป็นผู้ที่ฟังมาก เข้าใจมาก ก็จะสะสมความเห็นถูก จนกระทั่งสามารถเข้าใจสิ่งที่ปรากฏถูกต้องตามความเป็นจริงตรงที่ได้เข้าใจ
อย่างเรื่องของ “เจ้าที่” ก็คงยังไม่จบ เพราะว่าฟังนิดหน่อย แต่การสะสมการยึดถือคน สัตว์ เทพต่างๆ ก็ยังมีอยู่ เหมือนกับเที่ยง ไม่ใช่สิ่งนั้นไม่มี มี แต่ว่าสั้นแสนสั้น เพราะเหตุว่าอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเร็วมาก จนทำให้เข้าใจว่า สิ่งนั้นยั่งยืน เป็นคนจริงๆ เป็นเทพจริงๆ เป็นสัตว์ บุคคลใดจริงๆ
เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังจนกว่าจะรู้ว่า สิ่งที่เคยเข้าใจว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แท้ที่จริงเป็นสภาพธรรมแต่ละลักษณะที่มีปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จนกว่าจะเข้าใจอย่างนี้จริงๆ มิฉะนั้นก็จะไถ่ถอนการที่เคยเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่ยั่งยืนไม่ได้
เรื่องของเจ้าที่เจ้าทาง ก็กล่าวไปแล้วว่า แม้แต่ขณะนี้ที่กำลังเห็น เห็นขณะนี้ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นจะเป็นใครไม่ได้เลยทั้งสิ้น นอกจากเป็นธาตุที่สามารถเกิดขึ้นเห็น อย่างเดียว คิดนึกไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้เลย แค่เห็นแล้วก็ดับไป แล้วยังต้องอาศัยปัจจัยที่จะทำให้จิตเห็นเกิดขึ้น ดูเหมือนว่าไม่มีใครรู้ว่า เห็นขณะนี้เกิดจากอะไร เหมือนเห็นเกิดแล้วก็หมดไป แล้วก็ไม่รู้ว่าหมดด้วย ก็ไม่รู้ความจริงอะไรเลยสักอย่างเดียว แต่ถ้าจะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ละเอียดขึ้น ที่กล่าวถึงเมื่อครู่นี้ว่า ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูป จิตเห็นขณะนี้จะเกิดไม่ได้เลย ก็น่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้น แล้วจักขุปสาทรูปเกิดมีขึ้นได้อย่างไร
ทุกอย่างก็ต้องฟังจนกระทั่งสามารถเห็นถูก เข้าใจถูกว่า แม้แต่เพียงรูปที่จะเกิดขึ้น และมีลักษณะพิเศษต่างจากรูปอื่นๆ รูปนั้นเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร เพราะว่าสมุฏฐานที่จะให้รูปนั้นเกิดขึ้นมี ๔ อย่าง รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานก่อตั้งให้รูปนั้นเกิดก็มี รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานทำให้รูปนั้นเกิดขึ้นก็มี รูปที่มีอุตุ ความเย็น ความร้อนที่สม่ำเสมอพอดีเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเกิดขึ้นก็มี และรูปที่เกิดจากอาหาร คือ โอชา ซึ่งมีอยู่ในรูปที่รับประทานเข้าไป กลืนกินเข้าไปก็มี
เพราะฉะนั้นสำหรับจักขุปสาทรูปมีเดี๋ยวนี้ เกิดเดี๋ยวนี้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย
นี่คือเริ่มจะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีเหตุ แล้วไม่มีใครสามารถเป็นตัวตนที่จะไปสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาได้เลย เพราะฉะนั้นถ้ากรรมไม่เป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด ตาบอดทันที เป็นไปได้ หรือไม่ ก็แสดงให้เห็นว่า รูปนี้เกิดขึ้นเพราะกรรม แม้ว่าเป็นรูปที่เกิดเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว แล้วกรรมได้แก่อะไรอีก ก็คือสภาพของความจงใจ ตั้งใจ เป็นกุศล หรืออกุศล ซึ่งไม่ต้องเท้าความไปถึงอดีตก็ได้ เดี๋ยวนี้มีไหม ลักษณะที่จงใจ ตั้งใจ เมื่อสภาพที่จงใจ ตั้งใจมี ก็เป็นเหตุให้กระทำตามลักษณะที่จงใจที่จะเป็นกุศล หรืออกุศลต่างๆ ก็มีขึ้น กระทำไป สำเร็จแล้ว แม้ในชาตินี้ก็มี แต่ไม่รู้ว่า เป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลข้างหน้าอย่างไร
ด้วยเหตุนี้กว่าจะรู้จริงๆ ว่า ที่เข้าใจว่า เป็นเจ้าที่เจ้าทาง เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทพต่างๆ คืออะไร ถ้าศึกษาแล้วก็เป็นธรรมทั้งหมด ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ว่าจะกล่าวถึงอะไร จะกล่าวถึงจักขุปสาท จะกล่าวถึงจักขุวิญญาณ จะกล่าวถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ละอย่างเกิดแล้วจึงปรากฏว่ามีในขณะที่ปรากฏ แต่ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นก็ทำให้คลายการหลงกลัวสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งถ้ายังไม่รู้ความจริง จะห้ามไม่ให้กลัวไม่ได้ ห้องมืดๆ ยังไม่ต้องถึงเจ้าที่เจ้าทาง กลัว หรือไม่ หรือต้องเปิดไฟ บางคนก็อยู่คนเดียวไม่ได้เลยในความมืด แล้วในความมืด ถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้น ตกใจ หรือไม่ สงสัยไหมว่า เสียงดังนั้นเสียงอะไร ใช่ หรือไม่ ถ้าไม่รู้ว่า เป็นเสียงอะไร กลัวไหม เพียงแค่เสียงดัง เห็น หรือ ถ้าเพียงรู้ว่า เป็นเสียงปืนไกลๆ ไม่อยู่ใกล้ ก็จะไม่กลัว แต่ไม่ชอบ แต่ถ้ายังไม่รู้เลยว่า เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร แล้วเป็นเสียงดัง ในความมืดไม่เห็นอะไรเลย ใครไม่กลัวบ้าง ไม่มีใช่ หรือไม่ เพราะแม้แต่กลัว ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่ใครก็บังคับบัญชาไม่ได้
เพราะฉะนั้น ก็จะเริ่มเห็นสภาพธรรมทั้งหมดแต่ละอย่าง ที่เคยเป็นเรา ที่เคยเข้าใจว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แท้ที่จริงสภาพธรรมนั้นเกิดเป็นสิ่งนั้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไป ถ้าเสียงเป็นสิ่งที่มีชีวิต ก็คงขำดี แค่เสียงก็กลัว ใครกลัว เราด้วยที่เป็นเสียง นี่ก็น่าแปลก แต่จะห้ามความกลัว ห้ามไม่ได้เลย เพราะเพราะเหตุว่าตราบใดที่ยังมีปัจจัยให้ความกลัว ความสะดุ้ง ความตกใจเกิดขึ้น ก็ต้องเป็น แต่เกิดแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้นก็อาศัยความเห็นถูก ความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมยิ่งขึ้น จึงสามารถดับอกุศลธรรมทั้งหมดได้ แต่ที่จะดับก่อน ละก่อน คือดับการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นความกลัวก็เกิดจากจิตที่คิดนั่นเอง และประกอบด้วยโทสมูลจิต เพราะว่าเมื่อกลัวเมื่อใด โทมนัสเวทนาเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่เสียงดัง เป็นเสียงกระซิบ กลัว หรือไม่ กลัวไปทั้งนั้นเลย เมื่อไม่รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร เพราะมีปัจจัยที่จะกลัว
ผู้ฟัง ที่ว่าฟังธรรมเข้าใจขั้นฟัง สิ่งแรกที่ต้องละ คือการยึดมั่นถือมั่นว่า ธรรมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล ขอให้ท่านอาจารย์ขยายความว่า ในขั้นการฟังว่าเป็นธรรม และไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ละการยึดถือ
ท่านอาจารย์ ฟังว่าเป็นธรรมแล้วก็ลืมว่าเป็นธรรม เพราะอกุศลมีมาก อวิชชามีมาก จนกว่าจะเข้าใจมั่นคงขึ้นจนไม่ลืม ห้ามไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าการได้ยินได้ฟังน้อยมาก ความเข้าใจก็น้อยมาก ลองคิดดู ความจริงของธรรมจากผู้ที่ทรงตรัสรู้แล้ว ขณะนี้มีเหตุปัจจัยทำให้สภาพธรรมขณะนี้เกิดแล้วดับ เท่านี้ จะเข้าถึงความจริงสิ่งนี้ด้วยปัญญาอย่างเดียว และปัญญาก็เป็นสภาพธรรมที่ละความไม่รู้ และละความติดข้อง ไม่มีใครสามารถละความไม่รู้ ทั้งๆ ที่สภาพธรรมขณะนี้ปรากฏก็ยังไม่รู้ เห็นความไม่รู้ หรือไม่ว่าใครจะละได้ จะไปนั่งทำอย่างอื่น ไปนั่งภาวนาที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็ไม่สามารถมีความเห็นถูก เข้าใจถูกตรงตามที่ได้ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงว่า ขณะนี้เป็นเพียงธาตุ หรือธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีจริง เปลี่ยนลักษณะไม่ได้เลย อย่างเห็นนี้ ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง แล้วถ้าไม่รู้อย่างนี้ จะไปรู้อะไร แล้วถ้าไม่รู้อย่างนี้ จะมีความเห็นถูกในอะไร
อ.กุลวิไล ขอทราบความต่างของสภาวะรูปกับอสภาวะรูป
ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรมต้องไม่ลืมว่า เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ไม่ว่าจะพูดถึงกี่รูป รูปที่ปรากฏให้เห็นได้ ได้ยินบ้าง เป็นกลิ่น เป็นรส พวกนี้ ก็เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แล้วเราฟังทำไม เรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ขณะนี้ก็เห็น แล้วฟังเรื่องนี้ทำไม เสียงก็ปรากฏ ก็ได้ยิน แล้วฟังเรื่องนี้ทำไม เพราะเหตุว่าตามความเป็นจริงไม่รู้ถูกต้องตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ เลย
ด้วยเหตุนี้การฟังแล้วฟังอีก แม้สิ่งที่ได้ยินได้ฟังจะละเอียดขึ้น ทำให้เข้าใจจำนวนบ้าง เข้าใจลักษณะบ้าง ก็ไม่ใช่การรู้ลักษณะจริงๆ ที่กำลังปรากฏ นี่เป็นสิ่งที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องทราบว่า จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อเราจะไปประมวลต่างๆ ว่ามีชื่อต่างๆ มีจำนวนเท่าไร แต่เพื่อให้รู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ เป็นธรรม ก็จะเห็นได้ว่า กว่าจะรู้ และกว่าจะค่อยๆ เข้าใจความหมาย แม้คำว่า “ธรรม” คือสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ใครจะปฏิเสธว่า ขณะนี้ไม่จริง ไม่มีอะไรปรากฏให้เห็นเลยทางตา ปฏิเสธไม่ได้ แต่ทั้งๆ ที่เห็นแล้วเห็นเล่า เห็นอีกตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ไม่สามารถรู้ความจริงของสิ่งที่เห็น หรือ รูป และนามที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน
ด้วยเหตุนี้ที่ฟังธรรม คงจะไม่มุ่งไปที่จะจำจำนวน และคิดว่าควรจะเข้าใจตรงนั้นตรงนี้ แต่ว่าฟังไปเพื่อวันหนึ่งสามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามที่ได้เข้าใจแล้ว
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า แม้ว่าเราจะพูดเรื่องเสียง แม้เราจะพูดเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา เรื่องความคิดนึกในขณะนี้ก็มี ความจำขณะนี้ก็มี แต่ก็ไม่รู้จริงๆ ว่า ในลักษณะของสิ่งที่เราได้ฟังเข้าใจแล้ว เพราะเหตุว่าความเข้าใจยังไม่พอ ให้ทราบว่า เราไม่สามารถบังคับให้สติสัมปชัญญะเกิด แล้วรู้ลักษณะที่กำลังปรากฏในขณะที่ได้ยินได้ฟัง แล้วเข้าใจถูกต้องจนสามารถประจักษ์ความจริงตรงที่ได้ยินได้ฟังได้ แต่ว่าขณะนี้ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ความเข้าใจแต่ละขณะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง ทำงานเอง ไม่มีใครไปเพียร ไม่มีใครไปกระทบ ไม่มีใครไปจำ แต่สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นก็ทำหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าตราบใดที่ฟังแล้วก็คร่ำครวญ เมื่อไรจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็คือยังไม่ได้เข้าใจความเป็นธรรม ขณะที่ฟังแล้วจะใช้วิธีนั้นผสมกับวิธีนี้เพื่อให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็แสดงว่า ขณะนั้นก็ไม่ได้ถึงความหมายของธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ บางคนก็บอกว่าต้องสงบ จะได้รู้ธรรม ขณะนั้นไม่ได้คิดถึงปัญญาเลยว่า ปัญญารู้อะไร แล้วธรรมที่กำลังเข้าใจว่าสงบ มีเห็น มีได้ยิน เหมือนเห็น เหมือนได้ยินในขณะนี้ หรือไม่ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ปรากฏ แต่มีความเป็นตัวตนที่เลือก มีโลภะที่ต้องการจะไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่เกิดแล้วปรากฏ
เห็นความลึกซึ้งของธรรม หรือไม่ ขณะนี้มี และถ้าไม่มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ หวังว่าจะไปรู้ขณะอื่น แล้วจะเป็นขณะไหน ในเมื่อขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ขณะอื่นยังไม่ได้เกิดขึ้น ยังไม่ได้ปรากฏเลย แล้วไปหวังว่าจะไปรู้สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยที่ไม่ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังขณะนี้ ซึ่งก็เป็นเรื่องของสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นเอง
เพราะฉะนั้นขณะนี้มีรูปซึ่งไม่ปรากฏด้วย และมีรูปซึ่งปรากฏได้ด้วย นี่เป็นความต่างกัน
เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดถึงความคิดเก่าๆ ก่อนที่จะได้ฟังธรรม เข้าใจว่ามีรูปอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก่อนที่จะได้ฟังธรรม ก็คิดว่า ตัวเองสำคัญว่าเป็นตัวของเรา เมื่อได้ฟังแล้วเข้าใจ ก็รู้ว่า ตัวเราก็ยังไม่ใช่ตัวเรา ก็ไม่มีเรา
ท่านอาจารย์ แล้วมีอะไร
ผู้ฟัง มีจิต เจตสิก
ท่านอาจารย์ เมื่อครู่นี้พูดถึงรูป ที่ว่ารูปสำคัญ สำคัญอย่างไร ธรรมนี่ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องเป็นไปตามความคิดความเข้าใจของใครคนหนึ่งคนใด แต่ว่าการฟัง และการพิจารณา ก็จะทำให้เข้าใจความคิดอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวว่ารูปสำคัญ ก็อยากจะทราบว่า รูปสำคัญอย่างไร
ผู้ฟัง รู้ได้ว่าเป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ รูปสำคัญ เพราะว่ารูปปรากฏให้พอใจในรูปนั้น มีใครไม่พอใจในรูปที่ปรากฏบ้าง
ผู้ฟัง ทุกวันนี้ก็ยังพอใจอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความสำคัญก็คือเป็นสิ่งที่ปรากฏ เป็นที่ตั้งของความพอใจ แล้วยังยึดมั่นว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในภพภูมิที่มีการเห็น อย่างขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏเป็นสีสันต่างๆ จะไม่เป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ หรือ
เพราะฉะนั้นความสำคัญของรูป ก็อยู่ที่แม้รูปไม่ได้มีความต้องการให้ใครยึดมั่น พอใจต้องการรูปเลย แต่รูปที่ปรากฏนั้นเมื่อปรากฏ มีจิตเห็นแล้ว ด้วยความไม่รู้ความจริงว่า รูปที่กำลังปรากฏทางตาเป็นแต่เพียงธาตุ หรือธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถปรากฏให้เห็น
ถ้ารู้เพียงเท่านี้ แล้วก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเร็วมาก บังคับบัญชาไม่ได้ด้วย แล้วไม่เหลือเลย ยังคงพอใจติดข้องในสิ่งนั้นไหม แต่ผู้ที่จะดับความยินดีพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะที่กระทบทางกาย เย็น หรือ ร้อน อ่อน หรือ แข็ง ตึง หรือไหว ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามีบุคคล
เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องตรงที่คนที่ฟังแล้วสามารถค่อยๆ เข้าใจตามความเป็นจริงได้ ไม่ใช่หลอกตัวเอง ไม่พอใจในรูปที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้ากล่าวอย่างนั้นเป็นใคร และไม่ได้ติดข้องพอใจในสิ่งที่ปรากฏจริง หรือ
ด้วยเหตุนี้การฟังธรรม แม้จะใช้คำอะไรก็ตาม เมื่อกล่าวแล้วต้องตรงที่จะรู้ว่า ถ้ากล่าวว่ารูปสำคัญนั้น สำคัญอย่างไร สำคัญเมื่อไร สำคัญเพราะอะไร
รูปที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน มีจริงๆ อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เคยเป็นคน เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ เพราะคิดนึกตามรูปร่างสัณฐานที่ปรากฏพร้อมรูป ใช้คำว่า “ปรากฏพร้อม” เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีรูปที่กระทบตาสามารถปรากฏได้ สัณฐานจะมาจากไหน จะเอาสัณฐานอะไรมา เพราะความรวดเร็ว รูปก็เป็นรูปนั่นแหละ แต่จากการที่รูปเกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งปรากฏพร้อมสัณฐาน พร้อมนิมิต ก็ทำให้มีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้นรูปที่มีจริงๆ ใช้คำภาษาไทย รูปที่มีจริงๆ เข้าใจได้ใช่ หรือไม่ ภาษาบาลี ก็สภาวรูป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480