พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
ตอนที่ ๔๓๗
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รูปที่มีจริงๆ ใช้คำภาษาไทย รูปที่มีจริงๆ เข้าใจได้ใช่ หรือไม่ ภาษาบาลี ก็สภาวรูป คือให้เข้าใจว่าสิ่งที่มีจริงใช้ภาษาอะไรก็ได้ พอได้ยินคำว่า “สภาวรูป” ตอนนี้งง หรือไม่
ผู้ฟัง สภาวรูปเป็นรูปที่มีจริงๆ แล้วอสภาวรูปอีก
ท่านอาจารย์ ไปคิดถึงอะไร ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง ถ้าไม่เข้าใจสภาวรูป แล้วจะไปเข้าใจอสภาวรูปได้อย่างไร ในเมื่อกำลังกล่าวถึงสภาวรูป แล้วไม่เข้าใจสภาวรูป เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เรื่องข้ามเลย ความละเอียดของธรรม ความเข้าใจที่ละเอียดขึ้น คือเข้าใจถึงลักษณะที่แท้จริงของธรรม จะทำให้ไม่สับสน แล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลง อย่างคำถามที่ถามเมื่อครู่นี้ถามว่า สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เพราะกำลังปรากฏเมื่อเห็น ไม่ได้ปรากฏในขณะอื่น แล้วสิ่งที่มีจริง ภาษาไทย ถูก หรือไม่ เราใช้ภาษาไทย สิ่งที่มีจริง ภาษาบาลีก็คือ “สภาวรูป” รูปที่มีจริงๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย มีตามความเป็นจริงของรูปนั้น
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจ “เห็น” ขณะนี้มีแน่นอน และก็มีสิ่งที่ปรากฏขณะที่กำลังเห็นด้วย สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แต่มี และกำลังปรากฏด้วย แต่ปรากฏให้เข้าใจจริงๆ ถ้าปัญญาเกิด แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด ไม่มีทางเข้าใจความจริงของรูปที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้เลย ทั้งๆ ที่กำลังปรากฏ
ด้วยเหตุนี้การฟังเพื่อให้เข้าถึงความจริง รู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ตลอดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ๔๕ พรรษา ไม่พ้นจากความจริงที่สามารถรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
นี่แสดงให้เห็นว่า การฟังธรรมต้องละเอียด และต้องรู้ว่า พระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจจริงๆ ในลักษณะของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ เมื่อสิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง ภาษาบาลีใช้คำว่า “สภาวรูป” รูปที่มีภาวะของตน มีอยู่ ขณะนี้เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้นขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง เป็นสภาวรูป หรือไม่
ผู้ฟัง ครั้งแรก ยังไม่เข้าใจ ก็คิดว่า สภาวรูปก็คืออยู่ในร่างกายเรา
ท่านอาจารย์ นั่นคือไปคิดเองหมด แสดงว่าที่เราเคยคิดเคยเข้าใจมาทั้งหมดถูก หรือผิด ถ้าเราไม่ได้ฟังธรรม ธรรมคิดเองได้ หรือ ใครเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สามารถคิดเรื่องรูปที่กำลังปรากฏ และธรรมทั้งหมดได้
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าที่เข้าใจผิด ไม่เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เพราะไม่ศึกษาโดยละเอียด โดยรอบคอบ โดยความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นก็เข้าใจผิดตามเดิม เมื่อพูดเรื่องสภาวรูป ไปคิดว่าเพราะเป็นอย่างนั้น เคยเข้าใจอย่างนี้ ก็ไม่ได้ฟังสิ่งที่กำลังฟังให้เข้าใจ เสียงเป็นสภาวรูป หรือไม่
ผู้ฟัง เสียงเป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ เมื่อไร
ผู้ฟัง เมื่อมีเสียงปรากฏ
ท่านอาจารย์ ขณะที่มีจิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียงนั้น เพราะเสียงก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปด้วย ไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งเกิดแล้วไม่ดับ ขณะนี้เป็นธรรม ฟังจนกว่าจะถึงกาลที่เริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีปรากฏ เสียงมีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เป็นสภาวรูป หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ กลิ่น
ผู้ฟัง กลิ่นก็เป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ รส
ผู้ฟัง รสก็เป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ เย็น
ผู้ฟัง เย็นก็เป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ ร้อน
ผู้ฟัง ร้อนก็เป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ อ่อน แข็ง ตึง ไหว
ผู้ฟัง เป็นสภาวรูป
ท่านอาจารย์ มีรูป ๗ รูปที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ปรากฏทางตา ๑ เสียง กลิ่น รส และเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว รู้ได้ทางกาย เป็นอาการของมหาภูตรูป ๓ คือ ธาตุดิน อ่อนแข็ง ธาตุไฟ เย็นร้อน และธาตุลม ตึงไหว รูปที่เกิดแล้วดับไป ขณะที่เกิดยังไม่ดับ เพราะว่ารูปจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะเร็วมาก รูปขณะเกิดกับรูปดับพร้อมกัน เป็นรูปเดียวกัน หรือค่อยๆ เจริญขึ้น และเสื่อมไป จนกระทั่งถึงดับไป เพราะมีอายุถึง ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง รูปเกิดแล้วค่อยๆ เจริญขึ้น แล้วก็เสื่อมไป
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลักษณะของรูป ๔ ก็คือ อุปจยะ ขณะเกิดขึ้น และสันตติ ก็คือในขณะที่เกิดนั่นแหละ เกิดแล้วไม่ใช่ไม่มีอะไรที่จะสืบต่อไป อาการสภาพที่เกิดนั้นสืบต่อ และเมื่อใกล้จะดับ ก่อนจะดับ ก็เป็นชรตา เพราะฉะนั้นรูปก็มีสภาพที่เกิดดับ ได้แก่รูปหนึ่งรูปใดก็ตามที่เกิดเป็นอุปจยะ เป็นสันตติ เป็นชรตา เป็นอนิจจตา อีก ๔ อย่างแต่ไม่ต่างไปจากรูป ไม่แยกต่างหาก เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้น และดับไปของรูปก็ต้องเป็นรูป เพราะเมื่อเกิดขึ้นเป็นรูป สืบต่อก็เป็นรูป ชรตา เสื่อมไป ก็เป็นรูป ดับไปก็เป็นรูป อีก ๔ รูป ไม่ใช่สภาวรูป ไม่มีลักษณะที่แยกออกไปต่างหากจากรูป
เพราะฉะนั้น ที่จะเริ่มเข้าใจสภาวรูป และอสภาวรูป ก็คือรูปใดๆ ที่มีลักษณะของตน เฉพาะตน เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นจริงๆ เปลี่ยนลักษณะไม่ได้ เป็นรูปที่เป็น “สภาวรูป” แต่การเกิดขึ้น และการสืบต่อ และการเสื่อมไป และการดับไปเป็นลักษณะของรูปอีก ๔ รูป รวมเป็นเท่าไร
ผู้ฟัง ๗ กับ ๔ เป็น ๑๑
ท่านอาจารย์ สามารถเห็นความต่างของสภาวรูปกับ อสภาวรูป หรือไม่
ผู้ฟัง สามารถเห็นได้
ท่านอาจารย์ เท่าที่จะรู้ได้
อ.กุลวิไล มีผู้เรียนถามท่านอาจารย์ว่า สภาวรูปเป็นชื่อธรรม หรือเป็นธรรมที่ไม่มีชื่อ อย่างไร
ท่านอาจารย์ รูปมีจริง หรือไม่ ต้องใช้คำอะไร หรือไม่ หรือว่าแม้ไม่ใช้ ลักษณะของรูปนั้นก็เป็นอย่างนั้นซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ต้องใช้คำ เพราะเหตุว่ามิฉะนั้นจะไม่รู้ว่าหมายความถึงรูปอะไร เพราะว่ารูปมีต่างๆ หลากหลาย ต้องเข้าใจด้วยว่า ลักษณะของรูปจริงๆ ไม่จำเป็นต้องมีใครไปเรียกอะไรเลยก็ได้ เพราะเหตุว่าจะใช้ภาษาอะไรดี ใครจะเป็นคนตัดสินว่า รูปนี้เอาภาษาอะไร จะเอาภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย หรือภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน แต่ภาษาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมกับชาวมคธ เป็นภาษามคธี เพราะฉะนั้นจึงใช้ภาษานั้นสำหรับคนที่เข้าใจภาษานั้น ถ้าใช้ภาษานั้นกับคนที่ไม่รู้ภาษานั้น ก็ไม่สามารถเข้าใจได้ เหมือนเมื่อครู่นี้ได้ยินหลายคำ วิสยรูป แปลว่าอะไร
ผู้ฟัง วิสยรูป หมายถึงรูปที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ท่านอาจารย์ สามารถรู้เมื่อได้ฟัง แต่ต้องมีลักษณะของธรรมที่ปรากฏให้รู้ ไม่ใช่มีแต่ชื่อ เพราะฉะนั้นคำถามนี้หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงชื่อธรรมใด แล้วทุกครั้งควรเข้าใจถึงสภาวรูปที่มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ คือรูปที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง ในขณะที่ฟังเรื่องใด ผมมักชอบคิดไปล่วงหน้าว่า ...
ท่านอาจารย์ นั่นถูกต้อง หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ถูกครับ เพราะคิดว่า สภาวรูปเมื่อเกิดทางตาก็ทางตา
ท่านอาจารย์ ก็รูปที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง แต่เป็นรูปที่ต่างๆ กัน และลักษณะแม้ว่าจะมีจริง แต่ก็ไม่สามารถกล่าวออกมาได้
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องพูด แต่ว่ามีจริง ปรากฏให้เห็นด้วย แล้วแต่ว่าจะใช้ภาษาอะไร เพื่อให้เข้าใจว่า หมายความถึงรูปอะไร เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง แล้วรูปเป็นอารมณ์ของจิตได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ รูปรู้อะไร หรือไม่
ผู้ฟัง รูปไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ แล้วขณะนี้รูปปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง รูปปรากฏได้
ท่านอาจารย์ รูปอะไรกำลังปรากฏ
ผู้ฟัง สี
ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นทางตาเป็นรูป เพราะฉะนั้นตอบคำถามแล้วใช่ หรือไม่
ผู้ฟัง แต่ก็มีรูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจิต
ท่านอาจารย์ ก็มี
ผู้ฟัง แล้วทำไมรูปถึงมาเป็นอารมณ์ของจิตได้
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต รูปจะปรากฏได้ หรือไม่ สีสันวัณณะมีแน่นอน เสียงมีแน่นอน กลิ่นมีแน่นอน รสมีแน่นอน เย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหว มีแน่นอน ปรากฏขณะนี้ หรือไม่ ถ้าปรากฏ ปรากฏได้อย่างไร ถ้าไม่มีจิต ซึ่งเป็นสภาพรู้ที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้นใช้คำว่า “จิตเห็น” เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่เห็นอะไร แต่จิตไม่ใช่รูปอะไร เพราะฉะนั้น ๒ ธาตุต่างกัน ธาตุหนึ่งไม่มีรูปร่างเลย แต่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา ส่วนสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น แต่รูปนี้มีจริงๆ และปรากฏได้เมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ถ้าจิตเห็นไม่เกิดขึ้น แม้รูปนี้มีก็ไม่สามารถปรากฏได้ เพราะเหตุว่าความจริงของรูปนี้ก็คือ ที่ใดก็ตามที่มีลักษณะที่อ่อน หรือแข็ง ภาษาบาลีใช้คำว่า “ธาตุ” ธา– ตุ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน อ่อน หรือแข็ง มีธาตุไฟ เย็น หรือร้อน มีธาตุลม ตึง หรือไหว มีธาตุน้ำซึ่งเอิบอาบ หรือเกาะกุม ๔ ธาตุเป็นมหาภูตรูป รูปใหญ่ รูปที่เป็นประธาน ภูต ปรากฏ เป็นใหญ่เป็นประธาน ถ้าไม่มี ๔ รูปนี้ รูปใดๆ ก็มีไม่ได้เลยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น รูปอื่นที่ไม่ใช่รูป ๔ รูปนี้ ต้องอาศัยเกิดกับรูป ๔ รูปนี้ ซึ่งใช้คำว่า “มหาภูตรูป” ก็ไม่ยาก คนไทยก็ได้ยินมาบ่อยๆ มหาภูตรูป ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ให้รู้ว่า ที่ใดที่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ที่นั่นมีรูปที่สามารถกระทบจักขุปสาท แล้วปรากฏให้เห็นได้
นี่คือความอัศจรรย์ของธรรม แต่ถ้าจิตเห็นไม่เกิดขึ้น แม้รูปนั้นมี เพราะต้องอยู่รวมกันกับธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แต่ก็ไม่สามารถปรากฏให้เห็นได้เลย นี่คือธรรม เหมือนเสียง เสียงก็ต้องมีที่ตั้งของเสียง ซึ่งได้แก่ มหาภูตรูป ๔ นั่นเอง ถ้าใช้คำว่า “มหาภูตรูป ๔” หมายความว่า รูป ๔ รูปนี้ไม่แยกจากกัน อาศัยกัน และกันเกิดขึ้นพร้อมกัน แล้วยังเป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของรูปอื่นๆ ด้วย
เพราะฉะนั้น เมื่อรูป ๔ รูปนี้เกิดแล้ว ก็จะมีรูปอื่นแต่ละประเภทอาศัยรูปนี้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเสียงที่กำลังปรากฏขณะนี้ไม่ใช่อ่อนแข็ง เย็นร้อน ตึงไหว ไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ถ้าไม่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เสียงมีไม่ได้เลย เสียงไม่ใช่สิ่งที่มองเห็น แต่สามารถปรากฏลักษณะของเสียงเมื่อจิตได้ยินเกิดขึ้น ได้ยินเสียงนั้น จึงรู้แจ้งในลักษณะของเสียงที่กำลังได้ยิน
เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นความน่าอัศจรรย์ของธรรม แม้ว่าเสียง จะต้องมีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เสียงเกิดตามลำพังไม่ได้ แต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมก็ไม่ได้ปรากฏ เมื่อเสียงปรากฏ แล้วเสียงก็จะปรากฏไม่ได้เลยถ้าจิตได้ยินไม่เกิดขึ้นได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้น ที่ถามว่าเป็นรูป ก็คือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้อะไร แต่ปรากฏเมื่อจิตเกิดขึ้นแล้วรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นจึงปรากฏได้ ถ้าจิตคิดนึกเรื่องเสียง เสียงก็ปรากฏไม่ได้ เพราะไม่ใช่จิตที่กำลังรู้แจ้ง คือได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมจะปรากฏได้กับจิตแต่ละประเภท ซึ่งสามารถจะรู้สิ่งนั้นได้ในขณะที่สิ่งนั้นยังไม่ดับไป
ผู้ฟัง ขณะนอนหลับ ก็ต้องมีลักษณะของรูปที่เกิด แต่ไม่สามารถรู้รูปเหล่านั้นได้
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ต้องมีเหตุผล ขณะนอนหลับมีจิต หรือไม่
ผู้ฟัง มีจิต
ท่านอาจารย์ มีจิตเห็น หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสีสันวัณณะจะปรากฏได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ขณะนอนหลับมีจิตได้ยิน หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเสียงก็ปรากฏไม่ได้ ขณะนอนหลับกลิ่นปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะที่หลับ ก็คือจิตที่ได้กลิ่นไม่เกิดนั่นเอง จึงใช้คำว่า “หลับ” กำลังรับประทานอาหาร รสปรากฏ หลับ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้หลับ
ท่านอาจารย์ เพราะจิตกำลังเกิดขึ้นรู้รส ไม่ใช่ขณะที่ไม่รู้อะไรเลย เหมือนขณะที่หลับสนิท ไม่ได้อาศัยทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้นรู้รูปหนึ่งรูปใดเลย แม้ว่ารสก็มี อะไรก็มี แม้มี แต่ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ สิ่งนั้นก็ปรากฏไม่ได้
ผู้ฟัง สภาพแข็ง เมื่อปรากฏขึ้น กายวิญญาณถึงจะรู้ลักษณะแข็ง
ท่านอาจารย์ กายวิญญาณคืออะไร
ผู้ฟัง จิตที่รู้โผฏฐัพพารมณ์
ท่านอาจารย์ โผฏฐัพพารมณ์คืออะไร
ผู้ฟัง โผฏฐัพพารมณ์คือลักษณะที่รู้ทางกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เมื่อแข็งปรากฏ ก็ต้องมีลักษณะรู้แข็ง
ท่านอาจารย์ ต้องมีจิตที่กำลังรู้ลักษณะที่แข็ง มิฉะนั้นแข็งปรากฏไม่ได้เลย
ผู้ฟัง สิ่งนี้คือธรรมดาที่รู้ทั่วไป
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่ลักษณะแข็งที่เป็นปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ แข็งที่ไม่เป็นปรมัตถธรรมเมื่อไร
ผู้ฟัง คือแข็งที่รู้จักในชีวิตประจำวัน เป็นเราแข็ง
ท่านอาจารย์ แข็งมีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง แข็งมีจริง
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงเป็นปรมัตถธรรม ธรรมที่มีลักษณะซึ่งใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นได้ แข็งปรากฏเมื่อไร เปลี่ยนแข็งให้เป็นอื่นไม่ได้เลย เกิดขึ้นเป็นแข็ง ก็ต้องเป็นแข็ง
ผู้ฟัง แต่แข็งที่รู้สึกอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่ใช่ลักษณะจริงๆ ของตัวปรมัตถธรรม ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ แล้วตัวปรมัตถธรรมเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่มี หรือ ก็สิ่งใดที่มีจริงเป็นปรมัตถธรรม แข็งมีจริง หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เป็นปรมัตถธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วอะไรตัวปรมัตถ์ไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง ก็ยังเรียกแข็ง
ท่านอาจารย์ เรียกแข็ง โดยไม่มีแข็ง หรือแข็งกำลังมี กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง แข็งมี ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแข็งที่มี ที่ปรากฏมีจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง แข็งมีจริง
ท่านอาจารย์ แล้วจะไม่เป็นปรมัตถธรรมได้ หรือไม่
ผู้ฟัง คือกำลังจะถามสิ่งที่อยู่ระหว่าง เราแข็ง ที่คิดว่าแข็ง กับลักษณะของจิตที่รู้แข็ง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังถืออะไร
ผู้ฟัง ถือไมโครโฟน
ท่านอาจารย์ แข็ง หรือไม่
ผู้ฟัง แข็ง ก็ตอบท่านอาจารย์ได้ว่า แข็ง
ท่านอาจารย์ ก็แข็งก็แข็ง ก็จริง แข็งเป็นคุณสุกัญญา หรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นแข็ง หรือเป็นคุณสุกัญญา
ผู้ฟัง แข็งเป็นแข็งจริงๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่คุณสุกัญญา ไม่ใช่ไมโครโฟน ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ แข็งเป็นแข็ง นี่คือการศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจว่า ธรรมเป็นธรรม ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นได้ ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น ไม่มีใครทำให้ดับไป นี่คือธรรม มิฉะนั้นจะไม่รู้เลยว่า ศึกษาอะไร ฟังอะไร เข้าใจอะไร ก็สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันทั้งหมด ซึ่งไม่รู้ความจริง ก็หลงยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดจึงปรากฏ ถ้าไม่เกิดจะปรากฏได้อย่างไร เมื่อเกิดแล้วก็ดับไปด้วย นี่คือความไม่เที่ยงของทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง อย่างแข็ง ก็เป็นไมโครโฟนแข็งไปเลย หรือว่าเราแข็ง
ท่านอาจารย์ ก่อนเป็นไมโครโฟนเป็นอะไร
ผู้ฟัง คือแข็งมีจริง แต่เป็นคิดว่าแข็ง
ท่านอาจารย์ คิดจริง หรือไม่
ผู้ฟัง จริง
ผู้ฟัง คิดก็จริง เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่แข็ง ทั้งวันทั้งชาติเป็นธรรมแต่ละอย่าง ละเอียดยิบ เกิดดับสืบต่อเร็วมาก จนไม่สามารถรู้ความจริงได้ว่า แท้ที่จริงสิ่งที่หลงคิดว่าเที่ยง ความจริงเกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะฉะนั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะไม่รู้ความจริงจึงเข้าใจผิดคิดว่าเที่ยง
ผู้ฟัง แล้วแข็งที่ว่ารู้ความจริงของแข็ง มันเป็นอย่างไร คือจริงๆ ถ้าท่านอาจารย์ถามว่าแข็งมี หรือไม่ ก็ตอบว่ามีจริง แต่พอศึกษาธรรม ทุกคนก็พูดกันหมดว่า เลยแล้วๆ ลักษณะจริงๆ ของแข็ง
ท่านอาจารย์ ก็ต้องไปฟังคนอื่น เลยทำไม
ผู้ฟัง ตัวเราก็เลยค่ะ
ท่านอาจารย์ ก็แปลว่า เราก็ไปคิดเกินกว่าที่เรากำลังพูดถึง เรากำลังพูดถึงแข็ง ไม่ได้พูดถึงอย่างอื่น แล้วก็พูดถึงแข็งเกิดแล้วดับด้วย แต่ยังไม่ได้ประจักษ์ความจริง แต่ผู้ที่ประจักษ์แล้ว ทรงแสดงความละเอียดยิ่ง ความลึกซึ้ง คัมภีระของธรรมว่า ธรรมที่เกิดดับเร็วมาก ต้องเป็นปัญญาเท่านั้น ที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงได้ ซึ่งปัญญาก็จะต้องเกิดจากเริ่มฟังเข้าใจ
เพราะฉะนั้น ฟังเข้าใจ สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพูดถึงเรื่องสิ่งที่มีจริง ซึ่งก่อนนี้ไม่มีใครสามารถเห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นได้ ต่อเมื่อใดได้ฟังธรรมแล้ว เริ่มเข้าใจเรื่องราวของสิ่งที่มีจริง แต่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ ความไม่รู้ และความยึดถือสภาพธรรมก็ลดลงไป จนกว่าทุกขณะเป็นธรรมแต่ละลักษณะจริงๆ เพราะไม่ใช่มีแต่แข็ง เห็นก็มี คิดก็มี ชอบก็มี ไม่ชอบก็มี ทั้งหมดเป็นธรรม เสียงก็มี กลิ่นก็มี รสก็มี ธรรมใดกำลังปรากฏ ปัญญาสามารถรู้แจ้ง เข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ ไม่ใช่ที่ไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏแล้วเป็นธรรม ฟังท่านอาจารย์กล่าวเหมือนสั้นแสนสั้น แต่ในสภาพความเป็นจริง สิ่งที่ปรากฏที่ท่านอาจารย์ถามว่า มี หรือไม่ มีจริง แต่ยังไม่สั้น
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วมีแข็งปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ปรากฏพร้อมกันได้ หรือไม่
ผู้ฟัง คือจริงๆ ไม่พร้อมกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็พูดจริงๆ ใช่ หรือไม่ ไม่พร้อมก็คือ สิ่งหนึ่งปรากฏแล้วดับไป อีกสิ่งหนึ่งจึงจะปรากฏได้ สั้นแค่ไหน
ผู้ฟัง แล้วทำไม จึงไม่รู้อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ อวิชชา มีจริง หรือไม่ อวิชชา กำลังเป็นความไม่รู้ จะไปหาอวิชชาที่ไหน พูดถึงอวิชชาก็แปลเสร็จ ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม และขณะที่กำลังไม่รู้นี่เอง อะไร มีจริงๆ ตรงกันข้ามกับความรู้ คือความเห็นถูกต้อง จะเปลี่ยนอวิชชาให้เป็นวิชชาได้ หรือไม่ เปลี่ยนวิชชาให้เป็นอวิชชาได้ หรือไม่ เกิดขึ้นเป็นอวิชชาก็ต้องไม่รู้ เกิดขึ้นเป็นวิชชาก็ต้องเข้าใจได้ เข้าใจถูก เห็นถูกเพิ่มขึ้น อบรมความเห็นถูก
ผู้ฟัง ในการศึกษา เท่าที่สนทนากันแล้ว โอกาสที่จะติดชื่อ หรือพยัญชนะ เป็นลักษณะที่ปิดบังลักษณะของสภาพธรรม เป็นไปได้มากเลย จำนวนบ้าง ชื่อบ้างมากมายไปหมดเลย ทำให้ไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม หรือสิ่งที่มีจริงที่ท่านอาจารย์กำลังกล่าวให้เราเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมแล้วเชื่อ ฟังธรรมแล้วไตร่ตรอง แล้วก็คิด แล้วก็รู้ว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังเป็นความจริง ขณะนั้นก็รู้ว่า กำลังฟังอะไร และเข้าใจอะไร เช่น ขณะนี้ถ้าบอกว่า ทุกคนฟังธรรม แต่ไม่รู้ว่า อะไรเป็นธรรม จะเข้าใจธรรมได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ นอกจากจำชื่อธรรม ไปไหน ไปฟังธรรม แต่ว่าธรรมคืออะไร ตอบไม่ได้ อย่างนั้นจะเป็นการเข้าใจ หรือไม่
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นวิชาใดๆ ทั้งสิ้น การศึกษาเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง ถ้าจะอ่านหนังสือสักเล่มหนึ่ง ก็หมายความว่า ไม่รู้จึงอ่าน รู้แล้วจะอ่าน หรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน เพราะอ่านไปก็รู้หมด เข้าใจหมด เหมือนเดิมที่เคยเข้าใจ
เพราะฉะนั้นเวลาที่ศึกษาธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรม ไม่ว่าโดยการฟัง หรือว่าโดยการอ่าน โดยการคิดไตร่ตรอง โดยการพิจารณา
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480