พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
ตอนที่ ๔๓๘
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่ศึกษาธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรม ไม่ว่าโดยการฟัง หรือโดยการอ่าน โดยการคิดไตร่ตรอง โดยการพิจารณา ไม่ใช่เมื่อได้ยินธรรมแล้วไปคิดเรื่องอื่นทันทีเลย ทั้งวันฟังธรรมเข้าใจธรรม แต่แม้จะคิดว่าขณะนี้เป็นธรรม มี หรือไม่ ทั้งๆ ที่เป็นธรรม และได้ฟังว่า ขณะนี้เป็นธรรม ฟังแล้ว แต่ที่จะคิด แค่คิดก่อนว่า ขณะนี้เป็นธรรม หมายความว่า มี ปรากฏลักษณะที่เป็นอย่างนี้แน่นอน ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น "เห็น"เป็นธรรม เพราะมีจริงๆ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีจริง "เห็น" ก็กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา มิฉะนั้นจะไปหาธรรมที่ไหน ถ้าขณะนี้ไม่ใช่ธรรม จะไปหาธรรมที่ไหน จะไปฟังเรื่องธรรมอะไร แต่กำลังมี"เห็น" ใช่ หรือไม่ แล้วกำลังเข้าใจ"เห็น" ถ้าเข้าใจ"เห็น" ก็ต้องรู้ว่า "เห็น"มีจริงๆ แล้วฟังแล้วก็รู้ด้วยว่า "เห็น"เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมซึ่งสามารถ"เห็น" แต่ต้องมีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นเห็นด้วย อยู่ดีๆ จะให้เกิด"เห็น"ขึ้นมาเป็นไปไม่ได้เลย
นี่คือการฟังธรรม และเริ่มเห็นความเป็นธรรม ต้องเป็นคนละเอียด และมีความเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า ธรรมคืออะไร ถ้าจะศึกษาธรรม โดยไม่รู้ว่า เดี๋ยวนี้มีธรรม หรือไม่ ก็ไม่สามารถเข้าใจธรรมได้ แต่ถ้ารู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แต่ยังไม่เคยรู้ความจริงของธรรม ยังไม่เคยเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏ จึงฟังเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง อันนั้นก็คือเข้าใจขึ้น โดยที่ขณะใดก็ตามที่ไม่คิดถึงเรื่องราว แต่กำลังเริ่มเข้าใจธรรมที่ปรากฏ จากการฟังแล้วเข้าใจนั่นเอง
อรวรรณ ถ้าอย่างนั้นยกตัวอย่าง ตอนนี้กำลังทวนเรื่องรูปในบ่ายวันเสาร์ ในการศึกษาก็ไปท่องว่า รูป ๒๘ มีอะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ใครท่อง ขอความกรุณายกมือคงจะมาก หรือไม่มีเลย คุณชุณห์ท่อง ก็หลายคน คนอื่นไม่ท่อง ถูก หรือไม่ ท่อง หรือไม่
ท่อง หรือเข้าใจ อย่าง "แข็ง" ท่อง หรือเข้าใจ
ผู้ฟัง เข้าใจว่า แข็งมีจริง
ท่านอาจารย์ ถ้าท่องว่า มหาภูตรูปมี ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม "แข็ง" เดี๋ยวนี้เป็นอะไร เห็น หรือไม่ นี่ก็คือว่า ขณะที่กำลังฟังธรรม ต้องรู้ว่ากล่าวถึงสภาพที่มีจริงๆ ให้เข้าใจถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้ชื่อภาษาไหนก็ตาม
กำลังพูดเรื่อง “แข็ง” ให้รู้ว่า สภาพที่รู้แข็งมี แข็งจึงปรากฏได้ ความรู้ใหม่ ใช่ หรือไม่ เพราะว่าแต่ก่อนแต่ไร แข็งก็คือแข็ง ใครถามก็บอกว่าแข็ง แต่ไม่รู้เลยว่า ที่แข็งปรากฏได้ ก็เพราะมีสภาพที่กำลังรู้ลักษณะที่แข็งในขณะที่แข็งกำลังปรากฏ
นี่คือความรู้เพิ่มขึ้นจากการฟัง เพราะอะไร เพราะว่าแข็งมีจริง ใครไปทำให้แข็งเกิดขึ้น เริ่มเห็นแล้วว่า ธรรมทั้งหลายไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย แต่แข็งต้องเกิดขึ้น จึงได้ปรากฏ โดยที่ไม่มีใครคนหนึ่งคนใดทำ แต่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้แข็งเกิดเป็นแข็งปรากฏได้ เมื่อกระทบสัมผัสกายเท่านั้นแล้วก็หมดไป เพราะขณะเห็นไม่ใช่แข็ง ความรวดเร็วของสภาพธรรมที่เกิดดับ และก็รู้สภาพที่ปรากฏทีละอย่างสืบต่อกันเร็วมาก ไม่ได้แยกออกไปเป็นแต่ละลักษณะ ก็ทำให้ไม่รู้ความจริงของแต่ละลักษณะว่าเกิดแล้วดับ แต่เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง และเป็นเรา หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วท่านอาจารย์ก็จะเน้นย้ำตลอดเวลา ไม่ได้กล่าวอย่างอื่นเลย นอกจากกล่าวธรรมที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ ในการศึกษา ไม่ไปติดชื่อ ติดเรื่อง ติดจำนวน แต่ให้เข้าใจธรรมที่มีจริงๆ แม้ท่านอาจารย์จะย้ำแล้ว แต่สะสมความไม่รู้มามากมาย ก็ทำให้เหมือนตอนก่อนศึกษาธรรมก็ไปติดข้องอย่างอื่น แต่พอศึกษาธรรม ก็เข้าใจว่า ศึกษาธรรม แต่จริงๆ ก็ไปสนใจชื่อ เรื่อง จำนวน โดยไม่สนใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ฟังธรรมละเอียดขึ้น ก็รู้เลยว่ากำลังศึกษา หรือเริ่มเข้าใจพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงรู้ละเอียดลึกซึ้ง โดยประการทั้งปวง แล้วก็ทรงแสดงเพื่อให้บุคคลทั้งหลายได้เริ่มพิจารณา เห็นความเป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา แต่บุคคลนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรงที่จะรู้ว่า ที่ได้ฟัง หรือที่ได้อ่านความละเอียดลึกซึ้ง ปัญญาของเราสามารถที่จะรู้ได้แค่ไหน เพราะแม้แต่เพียงสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา น้อยมาก หรือไม่ จากพระไตรปิฎก แค่คำเดียว "รูปารมณ์" หรือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็ยังไม่รู้ แล้วก็มีให้รู้ ไม่ขาดไปเลย ลืมตาเมื่อไร ก็เจอแล้ว หมายความว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนีไม่ได้เลย พ้นไปจากสภาพธรรมที่จิตเห็นเกิดขึ้น และกำลังเห็นไม่ได้เลย แต่ความไม่รู้มากมายสักแค่ไหน
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลยว่า ศึกษาธรรมเพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่มี และไม่เคยรู้ แล้วยังยึดถือว่าเป็นเรา หรือของเรา ศึกษามาก ฟังมากจริง เห็นความละเอียด เห็นความลึกซึ้งของธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงด้วยพระปัญญาของพระองค์ แต่ใครสามารถรู้ได้ละเอียดลึกซึ้งอย่างนั้น เพราะแม้เพียงสิ่งที่กำลังปรากฏรู้ หรือยัง แต่ต้องเป็นความรู้จริงๆ ไม่ใช่เริ่มจากความไม่รู้เลย แล้วก็ไปรู้สิ่งที่ไม่สามารถจะรู้ได้
ผู้ฟัง กราบเรียนถามถึงกายวิญญาณรู้แข็ง กับลักษณะของสติ หรือปัญญารู้ลักษณะแข็ง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีอะไรแข็งบ้าง หรือไม่ ทำไมรู้ว่าแข็ง
ผู้ฟัง ก็มีแข็งจริงๆ
ท่านอาจารย์ นั่นซิ ทำไมรู้ว่าแข็ง มี
ผู้ฟัง ก็คิดว่าแข็ง
ท่านอาจารย์ หมายความว่าแข็งไม่มีลักษณะแข็ง หรือ ชื่อของธรรมนั้น เวลาที่แข็งไม่ปรากฏ แต่กล่าวถึงแข็ง กับเวลาที่แข็งกำลังปรากฏจริงๆ ต่างกันใช่ หรือไม่ ลักษณะที่แข็งมีให้รู้ความแข็ง ซึ่งไม่ต้องใช้คำอธิบายใดๆ เลย เพราะลักษณะนั้นปรากฏแข็งตามความเป็นจริง แล้วมีสภาพที่กำลังรู้แข็ง เข้าใจถูกอย่างนี้ หรือไม่
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ เมื่อวานกล่าวถึงเรื่องรูปก็นึกได้ว่า รูปหยาบกับรูปละเอียด ใช้อะไรเป็นเครื่องตัดสิน
ท่านอาจารย์ สิ่งที่หยาบ จะเห็นได้ เข้าใจได้ใช่ หรือไม่ เพราะหยาบพอที่จะเห็น หยาบพอที่จะเข้าใจ ถูกต้อง หรือไม่ ถ้าจะเห็น จะเข้าใจ จะเข้าใจสิ่งที่หยาบซึ่งพอจะเห็นได้ จะเข้าใจได้ ไม่ใช่ไปเข้าใจสิ่งที่ละเอียด ไม่สามารถที่จะเห็น หรือปรากฏให้เห็นได้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีทั้งหยาบ และละเอียดด้วย ถูกต้อง หรือไม่ ไม่ใช่มีแต่หยาบอย่างเดียว หรือละเอียดอย่างเดียว สิ่งที่หยาบก็มี สิ่งที่ละเอียดก็มี ทำไมใช้คำว่า “หยาบ” เพราะพอจะรู้ได้ เห็นได้ ปรากฏได้ แต่สิ่งที่ละเอียด ก็ต้องยากกว่าการที่จะรู้ได้ เห็นได้ เข้าใจได้ ถูกต้อง หรือไม่ สำหรับความหมายของคำว่า “หยาบ” กับ “ละเอียด”
เพราะฉะนั้นขณะนี้มีรูปที่ปรากฏที่จะให้สามารถเข้าใจได้ หรือไม่ มี เพราะฉะนั้นรูปนั้นเป็นประเภทไหน หยาบพอที่ให้เข้าใจได้ เพราะปรากฏให้เห็น
ด้วยเหตุนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้มีจริงๆ เกิดดับด้วย ไม่มีปัญญาที่จะประจักษ์ความจริงนั้น แต่ถ้าประจักษ์ ก็คือสามารถที่จะเห็นการเกิดขึ้น และดับไปของสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็นได้ เพราะว่ากำลังเห็นอยู่
ด้วยเหตุนี้สิ่งใดก็ตามที่ปรากฏ พอที่จะเข้าใจ รู้ได้ เห็นได้ เข้าใจได้ ก็เป็นรูปที่หยาบกว่ารูปอื่น เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวัน รูปหยาบก็คือ รูปที่กำลังปรากฏให้เห็นทางตา เสียงก็หยาบ ปรากฏจริงๆ กลิ่นก็หยาบ รสก็หยาบ เพราะเหตุว่ารสก็มีหลายรส เวลารับประทานอาหารก็มีรสนั้นรสนี้ให้รู้ในสภาพที่เป็นธรรม คือ รสต่างๆ แม้แต่กลิ่นก็มีลักษณะต่างๆ แล้วสิ่งที่กระทบสัมผัส บางครั้งก็แข็ง บางครั้งก็อ่อน นุ่มเลย บางครั้งก็เย็น บางครั้งก็ร้อน บางครั้งก็ตึง บางครั้งก็ไหว
เพราะฉะนั้นรูปที่ปรากฏทางตา ๑ รูป ทางหู ๑ รูป ทางจมูก ๑ รูป ทางลิ้น ๑ รูป ทางกาย ๓ รูป รวม ๗ รูป เป็นรูปที่สามารถปรากฏให้เข้าใจได้ จะใช้คำว่า “หยาบ” หรือจะใช้คำว่า “ละเอียด” สำหรับรูป ๗ รูปนี้
ผู้ฟัง เป็นรูปหยาบ
ท่านอาจารย์ หยาบเพราะปรากฏ และถ้าไม่มีจักขุปสาท สิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้จะปรากฏได้ หรือไม่ ไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีจักขุปสาท แต่จักขุปสาทก็ไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ก็ยังสามารถให้เข้าใจได้ว่ามี เห็น หรือไม่ สามารถจะเข้าใจได้ว่ามี แล้วโสตปสาทที่กระทบกับเสียง แม้ไม่ปรากฏอย่างเสียง แต่ก็เป็นรูปที่รู้ได้ว่าต้องมีแน่นอน ถ้าไม่มีโสตปสาท เสียงก็ปรากฏไม่ได้
เพราะฉะนั้นนอกจากรูป ๗ รูป ก็ยังมีจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท อีก ๕ รูป พอจะรู้ได้ เข้าใจได้ เพราะฉะนั้นจะเรียก ๑๒ รูปนี้ว่าอะไร รูปหยาบ ที่เหลือไม่ใช่อย่างนี้ก็เป็นรูปละเอียด อยู่ตรงไหน ละเอียดกว่า หรือไม่ เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่รูปหยาบ ๑๒ รูป รูปอื่นนอกจากนี้ก็เป็นรูปละเอียด
ผู้ฟัง กราบเรียนให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายคำว่า “อนัตตา” เพราะจริงๆ แล้วดูเหมือนเข้าใจ แต่พอศึกษาไปๆ ก็ไม่ชัดเจน อยากจะถามว่า จริงๆ แล้วส่วนไหนที่เป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ อนัตตาคืออะไร แปลว่าอะไร หมายความถึงอะไร ก่อน จะพูดถึงอะไรก็ต้องเข้าใจความหมายของคำนั้น เพราะฉะนั้นอนัตตาหมายความว่าอะไร
ผู้ฟัง อนัตตาก็หมายความว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ท่านอาจารย์ อย่าลืม เห็น เป็นสัตว์ บุคคล หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นสภาพเห็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเป็นอะไร เมื่อไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟังเมื่อไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็ต้องเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ แล้วจะไม่เข้าใจอนัตตาได้ หรือไม่
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วถ้าจะกล่าวว่า เข้าใจโดยฟัง ได้ยิน และคิดก็คือได้ แต่ว่าสภาพเห็นจริงๆ ก็ไม่ได้ปรากฏที่จะไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ท่านอาจารย์ แล้วมี หรือไม่
ผู้ฟัง สภาพเห็นมีจริง
ท่านอาจารย์ เกิดขึ้น หรือไม่
ผู้ฟัง เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ดับไป หรือไม่
ผู้ฟัง ก็มีไม่เห็นเหมือนกัน แต่ว่าตอบท่านอาจารย์ว่า ดับไป แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ประจักษ์สภาพของการดับไป
ท่านอาจารย์ ถ้าเมื่อไรรู้ความเป็นอนัตตา จะถึงการดับกิเลสถึงความเป็นพระอรหันต์ได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นแสดงว่า ที่กล่าวกันว่าอนัตตา ก็ยังไม่รู้จัก ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ เริ่มเข้าใจถูกต้องขั้นฟัง
ผู้ฟัง อนัตตาเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง หรือไม่
ท่านอาจารย์ เห็นมี หรือไม่
ผู้ฟัง เห็นมี
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ตอบคำถามแล้วใช่ หรือไม่
ผู้ฟัง อย่างเห็นก็คือจิตเห็น ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่ความเป็นอนัตตาไม่ได้ปรากฏออกมาว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เมื่อไรเป็นอนัตตา ไม่ใช่คุณสุกัญญาเห็น แต่เป็นธรรม ถ้าทุกอย่างที่กล่าวที่มี คิดนึกเป็นธรรม ชอบ ไม่ชอบ สุข ทุกข์ เป็นธรรม ถ้าเข้าใจอย่างนี้ทั้งหมด ดับกิเลสได้ เพราะรู้ความจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แต่เพราะไม่รู้จึงยึดถือว่าเป็นเรา ถ้าเป็นเราก็ต้องมีความติดข้องในเรา เมื่อมีความติดข้อง และไม่เป็นตามที่ต้องการก็เป็นโทสะ อกุศลทั้งหลายก็มาตามเป็นแถวเลย
ผู้ฟัง อย่างจิตเห็น จิตได้ยิน เหมือนกับในชีวิตหนึ่งเกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง และก็บ่อยครั้ง ซึ่งถ้าจะกล่าวว่า ...
ท่านอาจารย์ ที่บอกว่าเกิดขึ้น ทำให้เกิดขึ้น หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอนัตตา หรือไม่
ผู้ฟัง อนัตตา
ท่านอาจารย์ แต่ไม่ได้รู้ความเป็นอนัตตา เพียงแต่กำลังฟังว่า ทุกอย่างที่มีจริงเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง แต่เกิดชีวิตหนึ่ง
ท่านอาจารย์ อะไรเกิด
ผู้ฟัง ก็คือจิตเกิด กล่าวถึงปฏิสนธิจิต
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ บังคับให้เกิดได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ก็ต้องมีเหตุปัจจัยแล้วทำให้เกิด
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วดับ หรือไม่
ผู้ฟัง เกิดแล้วก็ดับ
ท่านอาจารย์ นี่คือความหมายของอนัตตา
ผู้ฟัง แต่ว่าสงสัยนิดหนึ่งว่า เกิดหนเดียวเองค่ะ แล้วก็ดับไป
ท่านอาจารย์ หนเดียวหมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ในชีวิตหนึ่งก็จะมีปฏิสนธิจิตเกิด ๑ ขณะเท่านั้นแล้วก็ดับไป
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ต้องมีเหตุผล
ผู้ฟัง ที่ศึกษามา ก็ไม่มีอีก มีหนเดียว
ท่านอาจารย์ ฟังมาแล้วก็เชื่อ หรือเพราะอะไร จึงเป็นปฏิสนธิจิต แล้วเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวในชาติหนึ่ง ต้องมีเหตุผล
ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ปฏิสนธิจิตคืออะไร เห็น หรือไม่ ถ้าเราไม่รู้ว่าคืออะไร เราก็ไม่สามารถเข้าใจความละเอียดยิ่งขึ้นได้ เพราะฉะนั้นได้ยินคำว่า “ปฏิสนธิจิต” เป็นเจตสิก หรือไม่ ไม่ใช่ เป็นรูป หรือไม่ ไม่ใช่ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นจิต
ท่านอาจารย์ และชื่อปฏิสนธิ ไม่ใช่ชื่ออื่น เพราะอะไร หรือว่าอยากเรียกชื่อนี้ ก็เรียกขึ้นมาเฉยๆ หรือว่ามีเหตุผลค่ะ
ผู้ฟัง คือเกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะมีหลายขณะได้ หรือไม่ ในชาติหนึ่ง
ผู้ฟัง มีครั้งเดียว จุติจิตก็มีครั้งเดียว
ท่านอาจารย์ ก็ถูกแล้ว
ผู้ฟัง แล้ว ๒ จิตนี่เป็นอนัตตาอย่างไร
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาจะตายเมื่อไร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ นั่นคือมีปัจจัยทำให้จิตนี้เกิดขึ้นแล้วดับไปเมื่อไรก็ตายเมื่อนั้น ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ แต่เพราะการสิ้นสุดของกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลนี้ ไม่สามารถเป็นบุคคลนี้ได้อีกต่อไป เพราะสิ้นสุดกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลนี้ ก็เป็นปัจจัยทำให้จิตเกิดขึ้นเป็นขณะสุดท้ายของชาตินี้ ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ กลับมาเป็นบุคคลนี้อีกไม่ได้เลย เพราะจุติจิตเกิดแล้วดับไป
ผู้ฟัง แต่ก็เกิดขึ้นโดยเหตุ และปัจจัย
ท่านอาจารย์ แน่นอน บังคับให้จิตเกิดได้ หรือไม่ ไม่ว่าจิตอะไรทั้งหมด
ผู้ฟัง เหมือนกับว่า เมื่อเกิดมาชาติหนึ่งจะต้องตายแน่นอน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นเหมือนกับว่า มีสิ่งที่เกิดก็ต้องมีสิ่งที่ตาย ก็เลยไม่เข้าใจว่า เป็นอนัตตาอย่างไร
ท่านอาจารย์ บังคับไม่ให้ตายได้ หรือ จะได้เป็นอัตตา
ผู้ฟัง เพราะจะต้องเป็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏเป็นสภาพธรรม แล้วสิ่งที่ปรากฏเป็นอนัตตาด้วย หรือไม่
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงทำให้เกิดขึ้นตามความต้องการได้ หรือไม่ ใครสามารถจะบันดาลได้
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เมื่อบันดาลไม่ได้ เพราะอะไรถึงบันดาลให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร สิ่งนั้นเป็นอะไรจึงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
ผู้ฟัง สิ่งนั้นต้องเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วธรรมคืออะไร
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้
ท่านอาจารย์ ที่บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอัตตา หรือไม่ หมายความว่าต้องเข้าใจสภาพธรรม ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อ ไม่ใช่ไปเรียกเอาเอง ถ้าจะเรียกกลับกันว่า สิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้เป็นอัตตา ถ้าเราใช้คำนี้ คนอื่นก็จะเข้าใจว่า สามารถบังคับบัญชาได้ เลือกได้ ใช่ หรือไม่ เพราะเป็นอัตตา เป็นตัวตน แต่ เมื่อสภาพธรรมไม่ได้เป็นอย่างนั้น จะใช้คำนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้
เพราะฉะนั้นคำนี้หมายความถึงสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เป็นสิ่งที่เกิดตามเหตุตามปัจจัย ความไม่รู้มากมายสะสมมาแล้ว เปลี่ยนเป็นให้รู้แจ้งแทงตลอดได้ หรือไม่ ไม่ได้ เพราะอะไร บังคับบัญชาไม่ได้ แม้แต่ความเข้าใจ จะเข้าใจมาก หรือน้อย ก็ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัย
เพราะฉะนั้นจึงแสดงความเป็นธรรมจริงๆ คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร สภาพธรรมใดที่เกิด ก็ต้องมีปัจจัยทำให้เกิด
เกิดเองก็ไม่ได้ ทุกขณะเกิดเป็นอย่างนั้นด้วยความเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้นไม่ใช่ให้เราไปเตรียมตัวที่จะเข้าใจเฉพาะเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่เมื่อไรก็ได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ไม่ต้องไปคอยเวลาไหนเลยว่า กำลังฟังคดีความ กำลังเป็นเรื่องเป็นราวแล้วเดี๋ยวจะเป็นอนัตตา ก็ไม่ได้ แต่สามารถที่จะฟังแล้วเข้าใจ ขึ้นอยู่กับว่า มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า ทุกขณะเป็นอนัตตา แต่ไม่รู้ในความเป็นอนัตตา เพราะขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เมื่อก่อนจะถึงขณะนี้เห็นเยอะแยะเลย ดับแล้ว ไม่รู้เลยว่าเป็นอนัตตา หรือใครรู้ เห็น หรือไม่ ก็เป็นสภาพธรรมทั้งหมด
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมก็เกิดดับไปเรื่อยๆ โดยปัญญาที่ได้ฟังมายังไม่พอที่จะเข้าใจเฉพาะ หรือถึงลักษณะหนึ่งลักษณะใดว่าเป็นธรรม เพราะว่าปัญญาขั้นฟัง ไม่ใช่เกิดพร้อมสติสัมปชัญญะที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังฟัง มีจริงๆ กำลังปรากฏ แต่เมื่อใดขณะฟัง แล้วก็มีปัจจัยที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ฟัง ขณะนั้นจึงเห็นความเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น แม้ว่าสภาพธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่ใช่ว่าจะเห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมทุกอย่าง ที่เรากล่าวว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และเป็นอนัตตา ต่อเมื่อใดกำลังรู้เฉพาะลักษณะหนึ่งลักษณะใด จึงเห็นความเป็นอนัตตาของลักษณะนั้น เช่น ความคิด บังคับไม่ให้คิดไม่ได้ บังคับให้คิดดีๆ ก็ไม่ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยว่า ขณะนั้นจะคิดเรื่องอะไร
นี่คือเริ่มเข้าใจความเป็นอนัตตา แล้วมีอะไรอีกคะที่เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ทั้งหมดเลย
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าเห็น ไม่ว่าได้ยิน ไม่ว่าคิด ความรู้สึก ทั้งหมดเป็นอนัตตา แต่ไม่รู้ เพียงฟัง และจำ แล้วก็ลืม จนกว่าขณะใดที่กำลังรู้ลักษณะตรงตามที่ได้ฟัง เมื่อนั้นก็เริ่มเห็นตัวจริงของธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ตอนนี้ก็เป็นเพียงเรื่องราวของธรรมที่เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ถ้าเกิดเข้าใจว่า สิ่งที่ประสบคืออกุศลจิตของคนอื่น ก็เป็นธรรมแล้วก็เป็นอนัตตา หรือไม่
ท่านอาจารย์ ขณะไหน เป็นธรรม
ผู้ฟัง ขณะที่อกุศลของผู้อื่นปรากฏ คือ ในชีวิตประจำวันจะประสบกับอกุศลของผู้อื่น แล้วมาชักนำให้อกุศลของเราเกิด
ท่านอาจารย์ ประสบอกุศลของคนอื่นทางไหน
ผู้ฟัง ทางหู ทางตา ทางความคิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินเสียง คิดว่าเป็น คนอื่น ใช่ หรือไม่
ผู้ฟัง ใช่ คิดว่าเป็นเสียงที่ไม่น่าพอใจ ไม่น่าจะเปล่งออกมา
ท่านอาจารย์ ของใคร
ผู้ฟัง ของบุคคลอื่น
ท่านอาจารย์ เห็น หรือไม่ ที่คิดว่าเป็นบุคคลอื่น อะไรคิด
ผู้ฟัง คือคิดของเรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีคนอื่นเมื่อคิด ทำไมเพียงเสียง แล้วไปเป็นคนอื่น หรือเสียงของคนอื่น ถ้าไม่คิด
ผู้ฟัง แล้วทำไมถึงทำให้อกุศลเราเกิด
ท่านอาจารย์ หมายความว่า เราไม่มีอกุศลเลย
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี ก็ต้องเกิด ยังไม่หมดไป มีปัจจัยที่จะให้อกุศลเกิดเมื่อไร อกุศลก็เกิด
ผู้ฟัง อย่างนี้แสดงว่า เป็นความเห็นผิดใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ เห็นอะไรผิด
ผู้ฟัง เห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ท่านอาจารย์ ถ้ายึดถือว่า มีสัตว์ บุคคลจริงๆ เป็นความเห็นที่เข้าใจว่ามีคน เที่ยง ไม่ใช่ธรรม ขณะนั้นเห็นผิดแน่นอน
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480