พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
ตอนที่ ๔๔๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ ซึ่งเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จะมีเราได้อย่างไร เพราะไม่ว่าอะไรก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะทั้งนั้น เพราะฉะนั้นแม้แต่เพียงคำถามให้คิด ตอบได้ทุกคน ถามว่าขณะนี้กำลัง"เห็น" หรือกำลัง"คิด"
ผู้ฟัง ก็สลับกัน
ท่านอาจารย์ ตอบได้ แต่ไม่รู้ลักษณะที่"เห็น" และลักษณะที่"คิด"อย่างที่ตอบ เพราะฉะนั้นมีหนทางอะไรหรือไม่ที่จะทำให้สามารถรู้จริงอย่างที่ตอบได้ ถ้าไม่มี พระธรรมก็เป็นโมฆะ ไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย แต่ทรงแสดงธรรมทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด คือไม่ใช่เพียงบอกว่า เป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แต่ทรงแสดงหนทางที่จะให้ปัญญาเข้าใจขึ้น เจริญขึ้น จนสามารถคลายความไม่รู้ แล้วก็รู้ความจริงของสภาพธรรมตามลำดับขั้นของปัญญา
นี่คือพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หนทาง ฟังได้ เข้าใจ แต่ไม่มีเราที่สามารถจะไปบังคับบงการให้เกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้น เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าปัญญาเกิดขึ้นจากการฟังเข้าใจ ค่อยๆ เจริญขึ้น อบรมไป ไม่ใช่มีใครไปทำอะไรได้ แต่ปัญญาที่เกิดขึ้นนั่นเอง เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เรื่องที่เราจะฟังเพื่อจะตอบ หรือสนทนากับใครๆ เรื่องราวของธรรมเท่านั้น แต่เป็นการที่ค่อยๆ ให้แต่ละคนมีความเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้สามารถรู้ และเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะที่ฟังนี้เองได้
เวลานี้มีสิ่งที่ปรากฏ และก็ฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏ เริ่มเข้าใจเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ แล้วหวัง หรือไม่?ว่าถ้าไม่ใช่ขณะนี้แล้วจะไปรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ทั้งๆ ที่กำลังฟังอยู่ และมีสิ่งที่ปรากฏ น่าจะสามารถรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่กระนั้นความที่สะสมอวิชชามามากก็เพียงแต่ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏจริง มีเรื่องราวตรงตามความเป็นจริง แต่ก็ยังไม่ได้รู้จริงๆ ในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
เริ่มเห็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าต่างกับบุคคลอื่น ไม่ใช่เพียงแต่กล่าวเรื่องราว แต่เพราะตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรม ก็ทรงแสดงความจริงของธรรม เมื่อทรงตรัสรู้ ไม่น้อมพระทัยที่จะทรงแสดง เพราะความลึกซึ้งของธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับชีวิตประจำวันชีวิตประจำวัน มีแต่ความติดข้องต้องการด้วยความไม่รู้ ยากที่จะสละ แม้ความไม่รู้ บางคนก็ไม่เห็นความสำคัญว่าต้องรู้ทำไม เกิดมาก็สบายดีทุกอย่าง ไม่เห็นจะต้องเดือดร้อน และจะต้องรู้ทำไม
ก็ลืมความจริงว่า แท้ที่จริงแล้วเกิดแล้วตายแน่ๆ ก่อนตายทำอะไรบ้าง แล้วมีอะไรเหลือบ้าง และไม่รู้หมดสิ่งที่มีจริงตั้งแต่เกิดจนตาย เกิดอีกก็ไม่รู้อีก ถ้าพอใจที่จะเป็นอย่างนั้น ก็ไม่มีใครสามารถที่จะช่วยได้ที่จะให้เห็นประโยชน์ของการเข้าใจธรรม ซึ่งความเข้าใจธรรมไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนเลย ถูกต้องหรือไม่
ความไม่รู้กับความรู้ ไม่ว่าวิชาการใดๆ ทั้งสิ้น รู้ไม่ได้ทำให้เดือดร้อน โดยเฉพาะถ้าเป็นการรู้ความจริงที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ เป็นความเห็นถูกจนกระทั่งถึงการที่จะรู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏเกิดมาได้อย่างไร?ถ้ารู้เหตุ ก็จะเห็นได้ว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นฝ่ายอกุศลต้องมีเหตุที่เป็นอกุศลธรรม เพราะความไม่รู้
เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนรักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะทำให้รู้เหตุของทุกข์ และรู้เหตุของสุข จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ความจริงยิ่งขึ้น สุขแท้ๆ จริงๆ คือเมื่อไร
อ.กุลวิไล ก็ต้องขณะที่ไม่มีกิเลสแล้ว เพราะถ้ายังมีกิเลสอยู่ ถึงสุขก็สุขไม่แท้
ท่านอาจารย์ แล้วถึงยังมีกิเลส ถึงดับกิเลสแล้ว สุขแท้ๆ คืออะไร เมื่อดับกิเลสแล้ว จะรู้สึกสุขแท้ๆ นั้นว่าคืออะไร ไม่ต้องมีการเห็น ไม่ต้องมีการได้ยินใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะไม่มีใครสักคน นอกจากเป็นธาตุแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไปตลอดเวลา
ผู้ฟัง เมื่อศึกษาเข้าใจเรื่องรูป แล้วร่างกายเราเมื่อไม่มีจิตแล้วเป็นรูปอย่างไร ไม่เข้าใจตรงนี้ว่า ความเป็นรูปขณะที่มีชีวิตอยู่คืออย่างไร
ท่านอาจารย์ รูปเป็นรูป ไม่เปลี่ยน เปลี่ยนไม่ได้เลย รูปธรรมหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าถ้ากระทบสัมผัส อะไรปรากฏ
ผู้ฟัง แข็ง
ท่านอาจารย์ แข็งรู้อะไรได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แข็งเห็น แข็งคิด แข็งโกรธ แข็งชอบ แข็งไม่ชอบไม่ได้เลย แข็งเป็นแข็ง เพราะฉะนั้นถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะอย่างนั้น มองเห็น หรือมองไม่เห็น ก็เป็นธาตุที่มีจริงในประเภทของธาตุที่ไม่สามารถรู้อะไรได้
รูปสำคัญ หรือไม่
ผู้ฟัง สำคัญ เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริงที่ต้องรู้
ท่านอาจารย์ เพราะยึดถือ ถ้าไม่ยึดถือจะสำคัญ หรือไม่ รูปก็เป็นรูป
ผู้ฟัง ถ้าไม่ยึดถือ ก็เป็นธรรมที่เป็นธาตุแต่ละอย่างเกิดแล้วก็ดับไป ตามเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์ โต๊ะ เก้าอี้เป็นเรา หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ยึดถือโต๊ะ เก้าอี้ว่าเป็นเรา แต่ชอบโต๊ะนั้น โต๊ะนี้ เก้าอี้นั้น เก้าอี้นี้ หรือไม่
ผู้ฟัง ถ้านั่งสบายก็ชอบ ถ้านั่งไม่สบายก็ไม่ชอบ
ท่านอาจารย์ สำคัญ หรือไม่ เกิดมาในภพภูมิซึ่งมีรูปปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้นจะติดข้อง จะพอใจในอะไร ในเมื่อเห็น ก็ต้องติดข้องชอบในสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
เวลาที่เสียงปรากฏ เสียงสำคัญ หรือไม่
ผู้ฟัง สำคัญ
ท่านอาจารย์ เพราะปรากฏให้พอใจ ให้ต้องการ ให้ติดข้อง เพราะฉะนั้นความสำคัญของรูป ทั้งๆ ที่รูปไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น ใครจะรัก ใครจะชัง ใครจะอยากได้ ใครจะไม่ชอบสีนั้น สีนี้ ก็ตามแต่ รูปก็ไม่ใช่สภาพรู้ แต่เพราะรูปเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็ปรากฏ เพราะฉะนั้นความไม่รู้ในความเป็นจริงของรูปซึ่งเกิดดับด้วย เพราะไม่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม ก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างยั่งยืน เมื่อยั่งยืนก็เป็นที่พอใจ
เพราะฉะนั้นในภพภูมิที่มีรูป ก็มีความติดข้องในรูป เป็นการยึดถือรูปตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าว่าเป็นเรา และถึงแม้ว่ารูปที่ไม่ใช่ภายใน คือไม่ใช่ที่ตัวเรา ก็ยึดถือด้วยความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะนั้นๆ
ผู้ฟัง คำถามที่ว่า ไม่เข้าใจรูปในร่างกาย ก็แสดงว่าเข้าใจผิด เห็นผิดไปแล้วว่า รูป ๒๘ เป็นตัวเรา ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว เมื่อจับก็แข็ง แล้วก็มีรูปที่เกิดจากกรรม จากจิต อะไรก็แล้วแต่ทยอยกันเกิดดับ แต่ไปเข้าใจผิด เห็นผิดว่า เป็นรูปร่างกายของคน หรือของแมว หรือของเทวดา แต่จริงๆ เป็นรูปต่างๆ ที่เกิดดับตามเหตุปัจจัยเท่านั้น ก็เลยทำให้เมื่อศึกษาเรื่องรูปก็ไม่เข้าใจว่า แล้วร่างกายของเราเป็นรูป ๒๘ อย่างไร
ท่านอาจารย์ ศึกษาเรื่องรูป หรือศึกษาเรื่องร่างกายของเรา
ผู้ฟัง ศึกษาเรื่องรูป
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นหรือไม่ ว่า ถ้าเห็นว่า ยังคงมีร่างกายของเรา ทฤษฎีต่างๆ ก็จะไม่เข้าใจแม้แต่รูปมีจริง และรูปแต่ละรูปก็มีลักษณะแต่ละอย่างด้วย มองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ตาม สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดแล้วปรากฏ แต่ไม่ใช่สภาพรู้ สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นรูป
นี่คือการฟังธรรม ไม่ใช่เอาร่างกายของเรามาคิดว่า ศึกษาเรื่องรูป ๒๘ รูป และร่างกายของเราเป็นอย่างไร มีอย่างไร นั่นคือไม่สามารถที่จะเข้าใจรูปได้ แต่ถ้าฟังเรื่องรูป และเริ่มรู้ว่า แต่ละรูปเป็นจริงอย่างไร เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตากำลังปรากฏ ใครจะคิดคะว่าเป็นรูปชนิดหนึ่ง เพราะไปเคยจำว่า รูปต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ รูปต้องมีสัณฐาน รูปต้องมีรูปร่าง รูปต้องกระทบแล้วแข็ง รูปต้องเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นต้นไม้ เป็นดอกไม้ เข้าใจว่าอย่างนั้น
ก็เลยไม่รู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตามีแน่นอน จะใช้คำว่า “รูป” ในภาษาไทย หรือ รู – ปะ รูปารมณ์ หรือวัณณะ หรือนิภา หรืออะไรก็แล้วแต่ไม่สำคัญเลย ถ้าไม่รู้ว่าหมายความถึงสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ เมื่อปรากฏแล้วจะว่าไม่จริงไม่ได้ แต่ไม่เคยรู้ความจริงของรูปหนึ่งชนิด ที่สามารถกระทบกับจักขุปสาท แล้วจิตเห็นเกิดเมื่อใด รูปนี้จึงปรากฏได้
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรมแต่ละธรรมว่า เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่ใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง แต่เริ่มที่จะเข้าใจธรรม แต่แล้วก็เอามาปนกับตัวเราอีกแล้ว ใช่ หรือไม่ แล้วเราเห็นแล้วเป็นอย่างไร เห็นแล้วเราโกรธบ้าง ชอบบ้าง อะไรอย่างนี้ ก็กลายเป็นว่ากำลังเข้าใจว่าศึกษาตัวเรา แต่ความจริงไม่มีเรา เป็นธรรม ฟังจนกว่าจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ศึกษาธรรมเพื่อรู้ว่า สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นในขณะนี้เพียงแต่มีความเข้าใจว่า มีสิ่งที่ปรากฏแน่นอน สิ่งนั้นใช้คำว่า “รูปธรรม” เพราะเหตุว่าไม่ใช่สภาพรู้ แต่ถึงไม่ใช้คำใดๆ รูปนั้นเพียงปรากฏแล้วหมดไป เสียงเป็นอีกรูปหนึ่ง เพียงปรากฏแล้วหมดไป
เพราะฉะนั้นมีอะไรที่เที่ยง มีอะไรที่เป็นของใครจริงๆ แต่เพราะไม่ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับ เมื่อรวมกันก็ยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง มั่นคง ไม่แตกสลาย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์อธิบายก็จะไม่ลืม ณ ขณะที่ฟังว่า จริงๆ แล้วไม่มีเรา มีแต่รูป ๒๘ และมีนามที่รู้ เพราะฉะนั้นการฟังต้องลึกซึ้งในพระธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ยังติดรูป ๒๘ ก็แสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้วไม่ได้สนใจ ใส่ใจลักษณะของรูปที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ที่บอกว่า ละคลายกิเลส ละคลายความไม่รู้ ซึ่งไม่รู้มากเหลือเกิน เห็นก็ไม่รู้ นับไม่ถ้วนแล้ว เพราะว่ามีทั้งคิดนึก มีทั้งชอบ ไม่ชอบ มีสารพัด มีทั้งโลภะ แล้วมีภวังค์คั่น มีอะไรทุกอย่างถ้าศึกษาโดยละเอียด จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่เรา แต่เวลาที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ ๑ รูป คิดถึงรูปอื่น
เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า กว่าเราจะเข้าใจตัวธรรมจริงๆ ซึ่งมีจริง และปรากฏ ใครจะรู้ หรือไม่รู้ สภาพธรรมเป็นอย่างนี้ มี ๗ รูป กล่าวถึงจำนวน ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าปรากฏจริงๆ คือ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็น ๑ ธรรมที่สามารถจะปรากฎความเป็นธรรม แต่ไม่ได้เข้าถึงความเป็นธรรมของสิ่งที่ปรากฏ
แต่ว่าตามความเป็นจริงรูปนี้อยู่ที่ไหน ปรากฏได้อย่างไร เห็น หรือไม่ ไม่รู้ทั้งหมดเลย เพียงแต่มีสิ่งที่ปรากฏ ก็ยังไม่รู้เลยว่า เป็นแต่เพียงสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็น สิ่งอื่นไม่สามารถจะปรากฏให้เห็นได้เลย อย่างแข็ง เสียง กลิ่น มีจริงๆ ไม่สามารถจะปรากฏให้เห็นได้ แต่ปรากฏ เช่น เสียง เมื่อสามารถกระทบกับโสตปสาทรูป รูปพิเศษที่สามารถกระทบเฉพาะเสียง
แล้วต้องมีจิตซึ่งเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นได้ยิน เสียงจึงปรากฏ เป็นอีกรูปหนึ่งแล้วในชีวิตประจำวัน มีใครไม่ได้ยินเสียงบ้าง หรือไม่ เสียงกำลังปรากฏ แต่กว่าจะรู้ความจริงของเสียงว่า เสียงเป็นธรรม แล้วใช้คำว่า “รูป” ไม่ต้องไปหาที่อื่นเลย "รูป"ในชีวิตประจำวันก็มี สิ่งที่ปรากฏทางตา สีสันวัณณะต่างๆ ๑ รูป เสียง ๑ รูป เกิดแล้วหมดแล้ว ดับไปแล้ว แต่ไม่รู้
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ที่จะรู้ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่มานั่งคิดถึงตัวเรา แต่เริ่มเข้าใจธรรม ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน ที่ไหน ธรรมไม่เปลี่ยนเลย" กลิ่น"เป็นอีกรูปหนึ่งที่ต้องกระทบกับจมูก "ฆานปสาท" ถ้าไม่กระทบ"ฆานปสาท" ฆานปสาทที่เกิดก็ดับ กลิ่นก็ดับ โดยจิตไม่เกิดขึ้นรู้กลิ่นที่กระทบ
หรือไม่กระทบในขณะนั้นก็แล้วแต่ ก็เป็นขณะที่ทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แต่กลิ่นมีจริง ขณะใดที่กลิ่นปรากฏ ธรรมปรากฏ กลิ่นเป็นรูปธรรม ไม่สามารถรู้อะไรได้ แต่สภาพที่รู้กลิ่นมี และไม่ใช่เราด้วย ขณะนั้นเป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้กลิ่น ไม่ใช่ธาตุเห็น ไม่ใช่ธาตุได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อรู้กลิ่นแล้วดับไป ไม่กลับมาอีกเลย
นี่คือความจริงของสภาพธรรม จนกว่าจะรู้อย่างนี้ จึงคลายความไม่รู้ และการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นเรา หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าว ๓ รูปแล้ว ส่วนทางลิ้น ก็มี"ลิ้น" ทุกคนมี"ลิ้น" กรรมทำให้เกิดรูปที่สามารถกระทบกับรสต่างๆ กลางลิ้น ตัวลิ้นทั้งหมดจะมีชิวหาปสาทรูปที่สามารถกระทบกับรส เมื่อกระทบรสแล้ว เพราะจิตเกิดขึ้น รสจึงปรากฏกับจิตที่กำลังลิ้ม คือรู้รสนั้น
จะอธิบายอย่างไร ก็ไม่สามารถให้ไปรู้รสที่จิตหนึ่งกำลังลิ้มรสคือรู้รสนั้นได้ นอกจากจิตในขณะนั้นเอง กำลังรู้แจ้งในรสที่ปรากฏ ซึ่งไม่สามารถให้คนอื่นมาร่วมรู้ได้เลยในขณะนั้น และจิตที่เกิดขึ้นลิ้มรส รู้รสแล้วก็ดับไป
ชีวิตทั้งหมดที่ว่าเกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ เมื่อแยกย่อยเป็นทีละ ๑ ขณะอย่างเร็ว อย่างละเอียด ก็คือสภาพของนามธรรม และรูปธรรมซึ่งเกิดดับ และมีลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นเพียงชั่ว ๑ ขณะ แล้วดับไป ไม่กลับมาอีกเลย
กี่รูปแล้วคะ สิ่งที่ปรากฏทางตา ๑ เป็นสีสันวัณณะต่างๆ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ รวมเป็น ๔ เหลืออีก ๓ รูปที่สามารถรู้ได้เมื่อกระทบกาย ถ้าตราบใดที่ยังไม่กระทบกาย รูปนั้นไม่ปรากฏ ขณะนี้มีรูปที่กระทบกาย หรือไม่ ปรากฏลักษณะของรูปนั้น แต่ไม่รู้ แล้วรูปนั้นก็ดับไป แล้วก็มีขณะจิตอื่นซึ่งเกิดขึ้นรู้อย่างอื่น สืบต่อไปแต่ละขณะอย่างรวดเร็ว
จนกว่าความเข้าใจเรื่องสภาพธรรมจะรู้ลักษณะที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่พอปรากฏ แล้วคิดเรื่องอื่นหมดเลย แล้วคิดเรื่องของสิ่งนั้น โดยไม่เข้าใจลักษณะจริงๆ ของสิ่งนั้น ซึ่งจะเรียกว่ารูปก็ได้ ไม่เรียกก็ได้ แต่แข็งมี เย็นมี ร้อนมี ตึงมี ไหวมี สามารถกระทบปรากฏทางกายได้ ๓ รูป คือ เย็น หรือร้อน ๑ รูป อ่อน หรือแข็ง ๑ รูป ตึง หรือไหว ๑ รูป รวมเป็น ๗ รูป
มีใครรู้รูปอื่นนอกจากนี้ หรือไม่ ในชีวิตประจำวัน แม้มีก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่รู้สิ่งที่มีจริงๆ จะละกิเลสได้ หรือไม่ แต่กำลังเข้าใจขึ้น ขณะที่กำลังเข้าใจเป็นสติ มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอน
เพราะฉะนั้นจากการเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ก็เป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งทำให้เมื่อไรที่เริ่มเข้าใจลักษณะที่กำลังมี ขณะนั้นจะใช้คำว่า สติปัฏฐาน หรือไม่ใช้ แต่ก็มีฐานที่ตั้งของการรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งไม่ใช่ไปรู้อื่น แต่กำลังรู้ลักษณะที่ปรากฏนั่นเอง
ผู้ฟัง ก็ต้องฟังให้บ่อยๆ เนืองๆ มากกว่าที่ผ่านๆ มา จึงจะไม่ลืมอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ ก็เริ่มเห็นความเป็นอนัตตา ไม่สามารถให้ปัญญาระดับนี้ไปเป็นปัญญาขั้นอื่นที่สูงกว่านี้ได้ แต่การที่จะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจะทำให้เข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏได้ในวันหนึ่ง
ผู้ฟัง ยังมีความจำในการเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนอย่างมั่นคงมาก
ท่านอาจารย์ สภาพที่จำเป็นคุณสุกัญญา หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความจำก็มี ๒ อย่าง "อัตตสัญญา" กับ "อนัตตสัญญา" ขณะใดที่จำว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ภาษาบาลีก็ใช้คำว่า “อัตตสัญญา” ถ้าขณะใดที่สภาพธรรมปรากฏ ไม่ใช่อัตตา แต่เป็นลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ปรากฏทีละลักษณะให้ปัญญารู้แจ้งชัด เมื่อนั้นก็จะไม่ลืมในสภาพที่เป็นอนัตตา ก็เริ่มสะสมอนัตตสัญญา
ผู้ฟัง แสดงว่า ที่จำเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏให้รู้ลักษณะของความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน หรือ
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาลืมที่เคยพูดบ่อยๆ ใช่ หรือไม่ ทุกอย่างเป็นธรรม
ผู้ฟัง อัตตสัญญาเป็นสภาพธรรมอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าถามว่า อัตตสัญญาเป็นสภาพธรรมอย่างไร คุณสุกัญญาก็ลืมอีกว่า สัญญามีจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม หรือไม่ แล้วจะเปลี่ยนสัญญาที่จำให้เป็นอย่างอื่นได้ หรือไม่ เปลี่ยนสัญญาให้เป็นความโกรธได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ สัญญาก็เป็นสัญญานั้นเอง จึงเป็นธรรม เพราะใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสัญญาได้ จำคือจำ เกิดเมื่อไร ก็คือจำ
ผู้ฟัง แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพจำ แม้กระทั่งถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ฟังจนกว่าจะค่อยๆ รู้ขึ้น เข้าใจคำนี้หรือไม่ อวิชชาไม่รู้มานานแสนนานมาก อวิชชาเกิดเมื่อไร ก็คือไม่รู้เมื่อนั้น ไม่รู้เมื่อไรก็คือไม่ใช่ใครเลย แต่เป็นธรรมที่ไม่สามารถจะรู้ถูก เห็นถูกได้ มีขณะไหน ก็คือขณะนั้นแหละที่กล่าวว่าไม่รู้ มีจริงๆ ใช้ชื่อภาษาบาลีว่า “อวิชชา” หรือโมหะ หลง ไม่ได้เข้าใจความจริงซึ่งปรากฏให้รู้ ก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นมีจริง ก็เป็นธรรม ก็ไม่มีข้อสงสัยเลย ก็ต้องสอดคล้องว่า สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรมแต่ละอย่าง
ผู้ฟัง ขอคำอธิบาย ๒ คำ คือ "อัตตสัญญา" กับ "อนัตตสัญญา"
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาเห็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นได้ยินคำว่า "อัตตสัญญา" "อนัตตสัญญา" เพียงแค่จำคำ เพราะเหตุว่าตอบว่าเห็นอะไร บอกว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จำ แต่สามารถเข้าใจได้ หรือไม่?ว่า ขณะที่บอกว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนั้นคิด ไม่ใช่เห็น
ผู้ฟัง คิดเป็นคำ แล้วตอบท่านอาจารย์ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ แต่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ขณะที่ตอบ เป็นคิด ไม่ใช่เห็น
ผู้ฟัง อย่างนั้นแม้ตอบท่านอาจารย์ว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นการจำ
ท่านอาจารย์ จำคำ แล้วก็ตอบ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่คุณสุกัญญาที่กำลังคิด
ผู้ฟัง ก็เข้าใจระดับหนึ่ง แต่ทีนี้มีสัญญาเติมมา
ท่านอาจารย์ สัญญาก็คือจำ เกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภทเลย
ผู้ฟัง จะกล่าวได้ หรือไม่ ว่า ถ้าไม่ประจักษ์จริงๆ ถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ ก็จะไม่รู้จักว่า การจำอนัตตาเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะยังไม่เห็นเลย แล้วจะไปจำได้อย่างไร
ผู้ฟัง อย่างนั้นปัจจุบันนี้ถึงแม้จะพูด จะกล่าว แล้วก็เข้าใจตามที่ได้ศึกษามา ก็คือเป็นสัญญาที่อัตตา หรือ
ท่านอาจารย์ จำชื่อ จำคำ แต่ใครจำ
ผู้ฟัง สัญญาจำ แต่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่จำ
ท่านอาจารย์ แล้วกำลังตอบนี่เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นความคิดแล้วก็ตอบ
ท่านอาจารย์ เป็นเรา หรือเป็นสภาพธรรมที่คิด
ผู้ฟัง ยังเป็นเราที่ตอบอยู่
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480