พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
ตอนที่ ๔๕๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องละเอียด แล้วจะทำให้เข้าใจตรงขึ้น ก็จะเลิกความคิดว่า จะนำไปปฏิบัติ
อ.กุลวิไล พระอภิธรรมก็เป็นธรรมที่ละเอียดยิ่ง เพราะแสดงถึงความเป็นอนัตตา และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ซึ่งก็คือธรรมทั้งหมดนั่นเอง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ถามว่า พี่น้องมีหรือไม่ ที่ผมเข้าใจ คือ พี่น้องโดยนัยของบัญญัติ ผมเข้าใจว่ามี แต่เป็นปรมัตถธรรมไม่มี ไม่ทราบจะเข้าใจถูกหรือไม่
อ.ธิดารัตน์ ถ้ากล่าวถึงคำว่า “พี่น้อง” ก็เป็นบัญญัติ แต่มีลักษณะอย่างเช่นมีพี่ พี่เขามีคุณที่คอยดูแล เขามีบุญคุณกับเรา หรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่ ที่ท่านแสดงว่า พ่อแม่มี บิดามารดามี เพราะมีคุณอุปการะเลี้ยงดู สิ่งที่มีจริงคือคุณ และสภาพธรรมก็คือขันธ์ ๕ มีจริง และคุณความดีของผู้นั้น หรือแม้กระทั่งมิตรสหายก็ตาม มิตรที่ดีที่ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน ขณะที่เขามีเมตตาช่วยเหลือเรา ขณะนั้นสิ่งเหล่านั้นที่เป็นกุศลจิตมีจริงๆ การช่วยเหลือ หรือการดูแลกันต่างๆ และปรมัตถธรรมมีจริง แต่เรื่องชื่อ เรื่องบัญญัติเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ท่านอาจารย์ คุณสุรพงศ์แน่ใจ หรือยังว่ามีพี่มีน้อง หรือไม่
ผู้ฟัง โดยนัยของบัญญัติก็มีครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจ ถามว่า พี่คือใคร
ผู้ฟัง คือ คนที่เกิดก่อนเรา
ท่านอาจารย์ แล้วน้องคือใคร
ผู้ฟัง คือ ผู้ที่เกิดทีหลัง
ท่านอาจารย์ เกิดทีหลังเรา พ่อแม่เดียวกัน เป็นพี่ เป็นน้อง นี่คือทุกคนรู้ ทุกคนเข้าใจ แต่ลึกลงไปกว่านั้น ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป จะมีพี่หรือไม่ ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป จะมีน้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นความจริงที่ลึกกว่านั้นก็คือ เป็นจิต เป็นเจตสิก รูป แต่เป็นพี่เพราะเกิดก่อน เป็นน้องเพราะเกิดทีหลัง เป็นมารดาบิดาเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้มีคุณ มิตรสหายมีทั้งนั้น ไม่ใช่ไม่มี แต่ความจริงก็คือเป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ซึ่งเกิดดับ
ผู้ฟัง ผมก็มีเรื่องหนึ่งจะถามคุณป้าสุรีย์ว่า ที่ท่านคอย คอยอะไร เป็นองค์ธรรมของขันติ และที่ว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก ขอให้ท่านอาจารย์สุจินต์ช่วยอธิบาย
ท่านอาจารย์ ก็ให้รู้ว่า ไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม จากการฟังเข้าใจ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นปริยัติ ปฏิปัตติต้องหมายความถึงการที่สามารถรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ และปฏิเวธก็คือการแทงตลอดความจริงของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้นก็เกื้อกูลกันตั้งแต่ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
ผู้ฟัง ในสมัยพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงพระไตรปิฎก ท่านมีปริยัติ ปฏิบัติ แยกกัน หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ปัญญามีหลายระดับ ปัญญาเป็นปัญญา แยกกัน หรือไม่ ปัญญาจะเป็นอื่นหรือไม่ ไม่ได้ สภาพธรรมมี กำลังปรากฏ ถ้าไม่ฟัง จะเข้าใจว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะที่มีปัจจัยเกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งไม่ปรากฏการเกิดดับ ถ้าไม่มีการฟัง จะเข้าใจอย่างนี้หรือไม่ ไม่เข้าใจ และถ้าเข้าใจแล้วก็มีการเข้าใจให้ยิ่งขึ้น หรือว่าพอแล้ว แค่นี้พอแล้ว
เพราะฉะนั้นการที่ฟังมาก เมื่อเข้าใจมาก ก็มีปัจจัยที่จะทำให้ไม่เพียงแต่เข้าใจเรื่องราวของธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แต่เป็นผู้ที่อบรมความเห็นถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนขณะนั้นรู้ลักษณะที่เป็นธรรมของสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง ขณะนั้นสติ ปัญญา ทั้งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ๕ องค์เกิด ไม่มีใครไปบังคับ เหมือนขณะนี้สภาพธรรมที่เกิด ก็ไม่มีใครไปบังคับเลย แต่เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย ขณะใดก็ตามที่ไม่เพียงเข้าใจเรื่องราว แต่กำลังรู้ และเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง ขณะนั้นปฏิปัตติ ถึงเฉพาะลักษณะแต่ละลักษณะที่สติกำลังรู้ตรงนั้น นี่คือปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีปริยัติ ปฏิบัติมีไม่ได้ ปริยัติ ปฏิบัติไม่มี ปฏิเวธการรู้แจ้งสภาพธรรมตามที่กล่าวแม้แต่คำแรกว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำไม่ใช่คำที่เลื่อนลอย แต่เป็นคำที่กล่าวแล้วแต่ผู้ฟังขณะนั้นมีความเข้าใจในสิ่งที่กล่าวแค่ไหน เช่น กล่าวคำว่า “ธรรม” ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม ขั้นฟังนี่ไม่สงสัยเลย สามารถยกตัวอย่างแล้วบอกได้ เสียงเป็นธรรม หรือไม่ เป็น คิดนึกเป็นธรรม หรือไม่ เป็น ก็กล่าวได้หมดเลยว่า เป็น
นี่คือปริยัติ มีความเข้าใจถูก แต่ไม่ได้รู้ในขณะที่กำลังเห็นว่า เห็นขณะนี้เป็นธาตุซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เลย ไม่มีสีสัน ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ใช่รูปใดๆ ไม่มีรูปใดๆ เจือปนในธาตุนี้ เพราะฉะนั้นธาตุนี้มืดสนิทไหม แต่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ เช่นในขณะที่กำลังเห็น จะไม่รู้อย่างอื่นเลย ธาตุนี้รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ไม่ต้องใช้คำอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนกับเวลารับประทานอาหาร รสเป็นอย่างไร กับขณะที่กำลังลิ้ม คือ รู้รสนั้นจริงๆ แล้วใช้คำบอกเล่าว่า รสนั้นเป็นอย่างไร ก็ไม่เหมือนขณะที่กำลังลิ้มรส
เพราะฉะนั้นธาตุนี้มีปัจจัยเกิดขณะแรกที่สุด เป็นปฏิสนธิจิต สืบต่อจากจิตสุดท้ายของชาติก่อน ก็ต้องดับไป มีปฏิสนธิจิตของใครเหลืออยู่บ้าง ไม่มี ดับแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด จิตที่เกิด ดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ จนถึงเดี๋ยวนี้ นี่คือปริยัติ แต่ไม่ใช่เพียงแค่นี้ ให้เข้าใจเท่านี้ ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ทรงแสดงหนทางที่ทำให้สามารถรู้จริงๆ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็กำลังฟังเข้าใจว่า สามารถที่จะประจักษ์แจ้งความจริงนี้ได้
ด้วยเหตุนี้ไม่ใช่เป็นเพียงปริยัติ แต่เพราะปริยัตินั่นเองจะเป็นปัจจัยให้ปฏิปัตติ และเมื่อปฏิปัตติมาก มั่นคง ละคลายความไม่รู้ ก็ปฏิเวธ สภาพธรรมขณะนี้ตามที่กล่าวว่า เกิดดับ สืบต่อ รู้อารมณ์ปรากฏทีละ ๑ ขณะ ก็จะปรากฏตามความเป็นจริงซึ่งเป็นปฏิเวธ ไม่ใช่กับใครสักคนเดียว นอกจากปัญญาที่สามารถเห็นถูก เข้าใจถูกในขณะนั้นเลย ไม่ใช่ในขณะอื่น
ผู้ฟัง หมายความว่า ฟังธรรมเข้าใจ ในขณะนั้นเป็นปริยัติ ถ้าเข้าใจแล้วเราก็รู้แจ้งสภาพธรรมในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ กำลังมีสติเกิดรู้เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมทีละ ๑ ขณะ
ผู้ฟัง ตรงนี้ปฏิเวธก็รู้ความจริง
ท่านอาจารย์ ประจักษ์แจ้ง เป็นวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง ถึงขั้นวิปัสสนาญาณ
ท่านอาจารย์ ขั้นประจักษ์แจ้งก็คือ ถ้าไม่มีวิปัสสนาญาณ จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมไม่ได้ สภาพธรรมเป็นจริง รู้แจ้งหมายความว่า ต้องจริงอย่างที่ได้ฟัง
ผู้ฟัง คำถามนี้อ้างอิงจากหนังสือ “ปรมัตถธรรมสังเขป” หน้า ๖๔ อธิบายลักษณะของจิตว่า เป็นสภาพที่วิจิตร และในย่อหน้านี้กล่าวว่า “จิตเป็นสภาพที่คิด จะเห็นได้ว่า การกระทำทั้งหมดย่อมเป็นไปตามความวิจิตรของจิตของแต่ละคน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการกระทำทั้งทางกาย ทางวาจาต่างๆ กันในชีวิตประจำวันจิตเป็นสภาพที่คิด ซึ่งคิดมากเหลือเกิน แต่ละคนก็คิดต่างๆ กันไป”
ซึ่งเมื่อมาสนทนาธรรมกัน ก็มีความเห็นไม่ตรงกันว่า สภาพคิดนัยนี้ ฝ่ายหนึ่งว่าเป็นจิตทางมโนทวาร แต่อีกฝ่ายว่าเป็น วิตกเจตสิก
ในความเข้าใจคิดว่า วิตกเจตสิกก็เกิดกับจิตเกือบทุกประเภท เขาก็ทำหน้าที่ตรึก หรือจรดในอารมณ์ แต่คิดนี่ เข้าใจว่าเป็นจิตทางมโนทวาร ไม่ทราบว่า คิด หมายถึงวิตกเจตสิก หรือหมายถึงจิต
ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณกำลังคิด หรือไม่ เป็นจิตที่คิด หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นจิตที่คิด
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จิตที่เห็น ไม่ใช่จิตที่ได้ยิน แล้วมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เวลาที่จักขุวิญญาณดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ คิด หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้คิด
ท่านอาจารย์ และขณะนี้กำลังคิด พอจะรู้หรือไม่ ถ้าไม่มีจิตก็ไม่คิด จิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน ไม่ว่าจะมีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย ก็เรียกชื่อของจิตทั้งนั้นเลย ถ้าอย่างนั้นคุณอรวรรณจะว่าอย่างไร สำหรับสภาพของจิตที่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะนั้นพอจะรู้หรือไม่ ถ้ากล่าวถึงเห็น ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่สัมปฏิจฉันนะมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วจะเข้าใจว่าอย่างไร เวลากล่าวถึงคิด
ผู้ฟัง สัมปฏิจฉันนจิตก็ไม่ใช่จิตคิด แต่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วจะกล่าวว่าอย่างไร เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย แล้วคิด หรือไม่ ขณะนี้กำลังคิด หรือไม่ จะต้องกล่าวถึงผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรียะ มนสิการ วิตก วิจาร หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ต้อง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเพียงแต่แยกให้รู้ว่า ทางตาเห็น หลังเห็นแล้วก็คิด จะมีอะไรเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีอะไรเกิดร่วมด้วย จิตก็เกิดไม่ได้ แต่แม้วิตกที่เกิดกับสัมปฏิจฉันนะจะกล่าวว่า คิด หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เรียกว่า คิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะฟังอย่างไรให้เข้าใจกันไปหมด ที่จะแยกให้รู้ว่า ขณะนี้เห็นแล้วคิด จะต้องบอกว่า เห็นแล้ววิตกเจตสิกเกิดกับสัมปฏิจฉันนจิต แต่ไม่รู้ความหมาย ไม่รู้อะไรเลย ก็เป็นเรื่องยาว แต่ว่าตามความเป็นจริงเรารู้แค่ไหน เราสามารถเข้าใจความต่างแค่ไหน
ขณะเห็น รู้ว่าเห็นเป็นอย่างนี้ แล้วคิดก็มี แค่จะรู้ว่า คิด ไม่ใช่เห็น ก็ยังไปคิดถึงวิตกเจตสิก ไปคิดถึงอะไรต่างๆ แล้วมีโอกาสจะเข้าใจคิดหรือไม่ โดยไม่ต้องเรียกชื่อ เพราะไม่มีใครสามารถรู้ลักษณะของวิตกเจตสิกแน่นอน เพียงแต่ขณะนี้คิด ไม่ใช่เห็น และคิดก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายเจตสิกมากมาย และจะไปเจาะจงรู้วิตกที่คิด หรือ ในเมื่อขณะนี้ที่คิด ลักษณะของจิตเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้นขณะกำลังฟังธรรม ฟังอะไร ฟังเพื่อไปเจาะจงรู้จักชื่อ ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ หรือว่าในขณะนี้มีธรรม ไม่ได้มีธรรมอย่างเดียวเลยที่มีในขณะนี้ จิตเห็นมีแน่นอน มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย หลังจากจิตเห็นดับไปอย่างรวดเร็ว ก็มีจิตที่มีเจตสิกอื่นๆ เพิ่มเกิดร่วมด้วย แล้วเราจะไปนั่งเข้าใจอะไร ในเมื่อพื้นฐานจริงๆ ยังไม่ได้รู้เลย แม้แต่ขณะนี้กำลังเห็น หรือกำลังคิด แล้วจะไปกล่าวถึงวิตกอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อประโยชน์อะไร
ผู้ฟัง การศึกษา เช่น คิด เป็นวิตกเจตสิก หรือเป็นจิต อย่าง จิตเห็น จิตได้ยิน ๕ ทวาร จะมีเจตสิก ๗ ประเภทเท่านั้นที่เกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ แทบจะต้องไม่กล่าวถึงด้วยซ้ำไป เห็นในขณะนี้ รู้ หรือยัง
ผู้ฟัง ยัง
ท่านอาจารย์ ที่กล่าวถึงเจตสิก ๗ ประเภท เพื่อให้รู้ว่า ไม่มีใครสามารถบันดาลได้เลย ศึกษาธรรมเพื่อฟัง และเข้าใจว่า ความละเอียดลึกซึ้งนั้นทำให้เห็นความเป็นอนัตตา จะต้องสะสมความเข้าใจถูกในความเป็นอนัตตาของธรรม ฟังเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แต่ขณะนี้ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็เข้าใจว่าเป็นเรา จนกว่าจะรู้ และค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเท่าที่จะรู้ได้ ไปรู้สิ่งที่รู้ไม่ได้ แล้วสามารถละการยึดถือว่าเป็นตัวตนได้หรือไม่
อ.นิภัทร ความหมายของศัพท์ คำว่า “จิต” ท่านวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่า จินฺเต ตีติ จิตฺตํ ธรรมชาตที่คิด ชื่อว่า จิต เพราะเป็นธรรมชาติที่คิด จิตธาตุ ไม่ใช่ตกธาตุ ไม่ใช่วิตก วิตก มีวิ อยู่หน้าตกธาตุ ตก แปลว่า ตรึก หรือจรดอารมณ์ เกิดพร้อมกัน ก็ประกอบกัน แล้วท่านกลัวเราจะเข้าใจผิด ท่านก็ขยายว่า อารัมมณัง วิชานัง ตาตีติ อธิบายว่า จิตคือรู้อารมณ์ คือ การเรียนธรรม ถ้าจะเรียนให้ละเอียด ลออหมดทุกตัวอักษร บางทีอาจจะพลาดได้ ต้องประกอบกับสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา วัตถุประสงค์หลักในการศึกษาธรรม ศึกษาเพื่อให้รู้ความจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ศึกษาเพลินไปตามเรื่องราว หรือตามตัวหนังสือมากมายเลย เพลินไปตามเรื่องราวของหนังสือ มีมากมายที่จะให้รู้ให้เข้าใจ แต่ไม่ได้ประโยชน์ที่จะเกื้อกูลแก่ตัวเอง ในการเข้าใจความจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
เพราะฉะนั้นตรงนี้เราต้องดึงมา เตลิดเปิดเปิงไปมากๆ ก็ต้องดึงมาว่า วัตถุประสงค์ที่ศึกษาธรรมของเราคืออะไร ศึกษาเพื่อจะให้รู้มากๆ ใครถามอะไรตอบได้หมด หรือเพื่อให้เข้าใจความจริงที่มีอยู่ ในชีวิตประจำวัน
ผู้ฟัง จริงๆ ที่พวกกลุ่มย่อยศึกษาก็จะเน้นว่า ให้เข้าใจเห็น ได้ยิน ได้กลิ่นขณะนี้ แต่ในบางครั้งก็ไปติด โดยไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจกันได้ ก็ตกลงกันว่าต้องมาถามในชั่วโมงสนทนาธรรม เพื่อว่าทุกคนจะได้ฟังให้ชัดเจนไปด้วยกัน ไม่ต้องไปสื่ออีกทีหนึ่ง คือ จริงๆ แล้วมีการเข้าใจผิด หรือว่าเข้าใจไม่ตรงสภาพธรรมอย่างไร แต่อาจจะบังเอิญไปติดในคำ เหมือนกับไปเรียนพยัญชนะ แต่บางครั้งก็เหมือนเป็นไป
อ.นิภัทร ก็เหมือนกับความว่า “จิต” ก็มีความหมายตั้งหลายอย่าง มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงใช้ในฐานะที่เหมาะสม อย่างจักขุวิญญาณ ท่านไม่เรียกว่า จักขุจิต ท่านใช้คำว่า “จักขุวิญญาณ” โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ วิญญาณในที่นั้นก็คือจิตนั่นเอง แต่จิตชนิดนี้รู้แจ้งอารมณ์ แปลตามตัวว่า วิญญาณคือ รู้แจ้งอารมณ์ ตรงนี้ คิด หรือไม่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ คิด หรือไม่ ไม่คิด รู้แจ้งอารมณ์ แต่พอมาถึงจิต ท่านใช้คำว่า “จิต” ทางมโนทวารท่านใช้คำว่า “จิต” ก็เป็นธรรมชาติที่คิดอารมณ์ คิดได้แล้วทางมโนทวาร
ผู้ฟัง จากการศึกษา ก็ได้ทราบว่า มีสิ่งที่รู้ได้ กับสิ่งที่รู้ไม่ได้ แต่ในขั้นเรื่องราวลักษณะของสภาพธรรม เช่น เมื่อศึกษาสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ประการ ผัสสะ เป็นต้น ก็ทราบว่า ยังรู้ไม่ได้ เฉพาะหน้าที่รู้ได้ คือ รูปที่รู้ในชีวิตประจำวัน คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว แล้วจิตที่รู้ก็คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น แล้วเป็นปัญญาที่ไม่สามารถรู้ได้ ต้องเป็นปัญญาที่มากๆ ขึ้นถึงจะรู้ได้ คำถามคือ บางครั้งเหมือนกับว่า ศึกษาแล้วก็ไม่ทราบว่า อะไรที่ต้องรู้ อะไรรู้ได้ อะไรรู้ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ศึกษาเพื่อเข้าใจอะไร
ผู้ฟัง เข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้
ท่านอาจารย์ ความจริงอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง กำลังปรากฏขณะนี้
ท่านอาจารย์ เข้าใจได้แค่ไหนว่าเป็นอนัตตา ต้องอาศัยการฟัง เพราะฉะนั้นถ้าฟังความละเอียดของธรรม โดยรู้ว่า ฟังเพื่อเข้าใจว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ให้เราไปนั่งวิพากษ์วิจารณ์ คิดศัพท์ คำ จะต้องกล่าวอย่างนั้น จะต้องใช้อย่างนี้ และก็เป็นอีกภาษาหนึ่งด้วย แม้แต่จิตเป็นธาตุที่คิดอย่างนี้ หรือเป็นสภาพที่คิด หมายความว่ารู้แจ้งอารมณ์ เห็นหรือไม่ ยังต้องอธิบายว่า คิดคือรู้แจ้งอารมณ์
เพราะฉะนั้นเราจะหยุดเพียงคำนี้แปลว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเป็นอย่างนี้แล้วไม่รู้ว่า หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่คิด เป็นจิต หรือไม่ ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ก็คือพิจารณาสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แล้วก็เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เพื่อเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ และจุดประสงค์ไม่ใช่ให้ไปรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏเลย รู้ได้อย่างไร สิ่งที่ไม่ปรากฏ แต่รู้ว่าเป็นอนัตตา ยิ่งละเอียดยิ่งเห็นความเป็นอนัตตา แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้เราไปรู้วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก อะไรอย่างนั้น แต่เข้าใจได้ยิ่งขึ้นว่า ขณะนี้กล่าวถึงธรรมที่มี และถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดง ใครจะรู้ว่า ขณะเห็นไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏก็คือรูป ๗ รูปในชีวิตประจำวัน และ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย คิดนึก ส่วนอย่างอื่น เช่น วิถีจิต ปัจจัย ตรงนี้ ศึกษาเพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา แล้วความเป็นปัจจัยของธรรมว่า เมื่อมีปัญญารู้ความจริง ความจริงก็เป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้นในขั้นการศึกษา อะไรปรากฏให้รู้ได้ก็รู้ แต่สิ่งที่ปรากฏให้รู้ไม่ได้ ก็ศึกษาให้เข้าใจความเป็นอนัตตา แล้วความเป็นเหตุปัจจัยของสภาพธรรม ซึ่งไม่มีใครไปทำอะไรได้เลยจริงๆ ถ้าเข้าใจแล้วไตร่ตรองตาม ตรงนี้จึงจะเป็นการศึกษาที่สามารถเข้าใจความจริงได้
ท่านอาจารย์ ค่ะ แล้วประโยชน์ก็คือความเห็นถูกต้องในธรรมว่า เป็นธรรม ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า เป็นธรรม เป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถูก หรือผิด
ผู้ฟัง ความจริงไม่ได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นเรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ฟังให้ถึงความเป็นอนัตตา คือไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างที่เคยเข้าใจ เป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งจะรู้ได้ก็เมื่อสภาพธรรมนั้นปรากฏ ทุกคำในพระไตรปิฎก ถ้าขณะนี้ไม่ปรากฏ จะรู้ได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้ แล้วจะไปรู้อะไร
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480