พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460


    ตอนที่ ๔๖๐

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


    ผู้ฟัง พอฟังแล้วก็เลยเข้าใจว่า การพยายาม การเฝ้า หรือการจ้องดูอะไรต่างๆ ไม่ใช่ทางเลย เพราะว่าส่วนที่ปรากฏก็ปรากฏ ส่วนที่รู้ ก็รู้ แต่ถ้าเกิดขึ้น แต่ไม่ปรากฏ โอกาสที่จะรู้ก็ไม่มี ตรงนี้ต้องอาศัยการฟังอย่างเดียว ใช่หรือไม่ หรืออย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย

    ท่านอาจารย์ กำลังเห็น มีอย่างอื่นไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ยังมีคุณวีระทั้งตัว หรือไม่

    ผู้ฟัง ก็ยังคิดต่อไปว่า มีแขน มีขา มีมือ มีท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ จำสิ่งที่เกิดแล้วดับแล้ว ว่ายังมีอยู่ รูปที่ตัวทั้งหมด เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปแล้วด้วย แล้วเกิดอีก แล้วก็ดับ ก็ไม่รู้แล้วไปจำว่ามี อันไหนที่จำว่ามี ในเมื่อ มีนิดเดียว แล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่า ไม่มีเรา แล้วก็เป็นธรรม แต่ละลักษณะ ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป นี่เป็นสัจจธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปัญญาของใครสามารถเริ่มเข้าใจถูก ค่อยๆ สะสม เพราะว่าการเกิดขึ้น แต่ละขณะ มาจากการสะสมแต่ละขณะด้วย เวลานี้ ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ใช่ไหม แต่มีจริงๆ คือ ความไม่รู้ ดับไปแล้ว สะสมอยู่ในจิตขณะต่อไปไหม ได้ยินอีก ก็ไม่รู้ลักษณะที่ได้ยิน มีความไม่รู้ เกิดแล้ว ไม่ไปไหนเลย ดับแล้วสืบต่อในจิตขณะต่อๆ ไป เพิ่มขึ้นไหม จากทางตาที่ไม่รู้ มาถึงทางหูที่ไม่รู้ แล้วก็ไม่รู้ตลอดชีวิต

    เพราะฉะนั้นนี่คือการสะสม อย่างละเอียดมาก เหมือนไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครสามารถรู้ลักษณะ ของสิ่งที่ปรากฏเพียงได้ฟัง ขณะนี้ไม่มีเรา แต่มีธาตุเห็น กำลังเห็น ธาตุได้ยิน เกิดขึ้นกำลังได้ยิน โดยไม่มีเราเลย มีแต่เฉพาะธาตุนั้นๆ ที่เกิดแล้วก็ดับไป ถ้ายังไม่มีการสะสมมาเพียงพอ สามารถขณะที่ฟังนี้ กำลังฟังอย่างนี้ ก็เห็นอย่างนี้ ตามความเป็นจริงด้วย ก็ต้องเป็นสิ่งที่เห็นได้ว่า กว่าจะเป็นอย่างนี้ได้ อาศัยการฟัง ทีละเล็กทีละน้อย แต่ละครั้ง ชาตินี้รู้สึกว่าจะได้ฟังกันมามาก แต่ไม่ทราบว่า ชาติก่อนได้ฟังกันแล้วเท่าไร แต่ก็มีศรัทธาที่ฟังในชาตินี้ แต่เมื่อฟังแล้ว จะเข้าใจเพิ่มขึ้น มากน้อยแค่ไหน แม้แต่ขณะที่กำลังฟัง ทราบไหมว่า ขณะที่กำลังฟัง เริ่มเข้าใจขึ้น แต่ก็ไม่สามารถละความเป็นเรา เพราะรู้ว่า ขณะนี้เป็นเพียงธาตุเห็น ที่เห็น แล้วก็ดับไป ยังไม่ถึงระดับนั้น แต่ปัญญาจริงๆ ต้องรู้ความจริงอย่างนี้ จึงจะหมดความสงสัยในธรรม ไม่เหลือความเป็นเรา

    เพราะฉะนั้นการสะสมของปัญญา ก็ต้องเป็นทีละเล็กทีละน้อย จนไม่สามารถรู้ได้ แม้ขณะที่กำลังฟัง ฟังมาแล้วกี่นาที ความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้น ก็ไม่รู้เลย ว่าแต่ละขณะกำลังเริ่มเข้าใจความต่าง ของนามธรรม และรูปธรรม และในโลกนี้ก็เป็นธรรมทั้งหมด ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม สิ่งใดไม่ปรากฏ ไปจำว่ามี ถูกหรือผิด ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นไปจำอันไหน เกิดแล้วดับแล้ว ไม่เหลือสักอันเดียว แต่ก็ยังรู้สึกว่า ยังคงมีอยู่ จนกว่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้น

    เพราะฉะนั้นมรรคมีองค์ ๘ หรือการอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่ใช่หนทางอื่นเลย นอกจากทุกขณะ ที่กำลังเริ่มเข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถ รู้ความจริง ของสิ่งที่กำลังปรากฏ เมื่อไรก็เมื่อนั้น เพราะฉะนั้นไม่มีหนทางอื่นเลย จึงกล่าวว่า เป็นหนทางเดียว ที่ทำให้สามารถรู้ความจริง เพราะว่ารู้คือปัญญา ปัญญาคือเข้าใจ

    เพราะฉะนั้นขณะฟัง มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ กำลังฟังเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เพิ่มขึ้น หรือยัง ไม่ใช่ฟังแต่เพียงเรื่องราว แต่ขณะที่มีแข็ง ก็แข็ง แล้วก็มีสภาพรู้แข็ง ชั่วขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นจะเล็กน้อย จะละเอียด จะบางเบาสักแค่ไหน ก็เหมือนขณะที่เห็น แล้วก็ไม่รู้ ได้ยิน แล้วก็ไม่รู้ คิดนึกแล้วก็ไม่รู้ ก็เหมือนอย่างนี้ แต่เปลี่ยนเป็นค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะมีกำลัง และจะรู้กำลังของปัญญาว่า ปัญญาสามารถรู้ความจริงได้เพราะเป็นปัญญา แต่ต้องเริ่มจากการฟังเข้าใจจริงๆ ก่อน

    อ.กุลวิไล สืบเนื่องจากการสนทนากับท่านอาจารย์กับคุณวีระถึงเรื่อง จิต เจต สิก และรูป เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เพราะต้องมีปัจจัย แต่ก็มีบางท่านที่เคยสนทนาด้วย คือ สังขารธรรมคือธรรมที่เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัย อย่างจิต เจตสิก และรูป และธรรมที่เป็นนิพพาน ก็เป็นวิสังขารธรรม ไม่มีปัจจัยให้เกิดขึ้น ขอเรียนถามว่า ทำไมนิพพานจึงเป็นธรรมที่ไม่เกิดเพราะปัจจัย

    ท่านอาจารย์ นี่คือทำไม ทำไม เพราะไม่รู้ ทำไมมีแข็ง ทำไมมีเสียง เสียงมีแล้ว ควรจะรู้ว่า เสียงเกิดเพราะอะไร มากกว่าทำไมมี

    อ.กุลวิไล อย่างธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง อย่างจิต เจตสิก รูป แน่นอนว่า เพราะมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น แต่ธรรมที่ตรงข้ามกับสังขารธรรม จิต เจตสิก รูป ก็คือนิพพาน เพราะว่าไม่มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ แต่กล่าวคำว่า “นิพพาน” เหมือนรู้ว่า นิพพานคืออะไร กล่าวถึง “จิต” เหมือนกับรู้ว่า ขณะนี้เป็นจิต ไม่ใช่เรา แต่ว่าตามความเป็นจริง สภาพธรรม แม้แต่คำที่ได้ยิน เข้าใจแค่ไหน เช่น คำว่า “ธรรม” ลืมอีกแล้ว ใช่หรือไม่ ทุกอย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้นเห็นขณะนี้ เป็นเรา หรือเป็นธรรม ก็ลืมอีก เพราะฉะนั้นยังไม่เข้าใจจริงๆ ในแม้แต่คำเดียว คือ “ธรรม” ทุกอย่างในขณะนี้ ยังไม่ใช่ธรรมเลย แล้วจะไปถึงนิพพาน ก็แสดงว่าไม่ได้รู้อะไรเลย ในสิ่งที่กำลังมี แต่ไปสนใจในสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ แต่ควรจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ควรจะรู้ยิ่ง ไม่ใช่ไม่ควรรู้ยิ่ง หรือรู้เพียงผิวเผิน ในพระธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงถึงสิ่งที่ ควรรู้ยิ่ง เพียงแค่นี้ คำแค่นี้ แล้วเราลองคิด ควรจะรู้ยิ่ง หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัส อะไรเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง สิ่งที่มี ปรากฏควรรู้ยิ่ง หรือสิ่งที่ไม่ปรากฏ ไปควรรู้ยิ่งในสิ่งที่ไม่ปรากฏ

    อ.กุลวิไล ควรรู้ยิ่งในสิ่งที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร จะทำตาม ฟังด้วยความเคารพ ที่จะเข้าใจสิ่งที่ทรงแสดงตามลำดับ หรือไม่ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ถ้าจะกล่าว ถึงชื่อนิพพาน แล้วบอกว่า นิพพานเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตรงกันข้ามกับจิต เจตสิก รูป เพราะจิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรมที่เกิด เป็นสังขารธรรม ปรุงแต่งแล้วเกิด ขึ้นเป็นสังขตธรรม พูดชื่อมากมายเลย ก็ไม่ทำให้คนนั้นเข้าใจ จิต ในขณะนี้

    เพราะฉะนั้นจะมีประโยชน์ไหม ๑ ชาติที่ผ่านมา ชาติก่อน ชาตินี้ก็ผ่านไป โดยการได้ยินชื่อต่างๆ แต่ไม่รู้ลักษณะ ของสิ่งที่กล่าวถึงเลย เช่น จิต หรือเจตสิก หรือรูป ที่ใช้คำต่างๆ เหล่านั้น ความจริงเป็นสิ่งที่มี แล้วทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มี แต่เราข้ามไปหมดเลย ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ แต่ข้ามไปถึงนิพพาน

    เพราะฉะนั้นไม่มีวันที่จะรู้จริง ในสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ

    อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ควรรู้ในสิ่งที่มี ที่กำลังปรากฏ นั่นก็คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ที่เป็นจิต เจตสิก และรูป สำหรับการศึกษาก็ศึกษาในส่วนของพระธรรมที่ทรงแสดงนั่นเอง ถึงแม้ท่านจะทรงแสดง ปรมัตถธรรม มี ๔ มีจิต เจตสิก รูป และนิพพาน แต่การรู้ของเรา ก็ต้องรู้ตามที่กำลังมีจริง และกำลังปรากฏในขณะนี้

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ประมาทธรรม ก็คือรู้ตัวเองใช่หรือไม่ รู้จักธรรมที่กำลังปรากฏ หรือยัง กำลังปรากฏด้วย

    อ.กุลวิไล มีผู้เรียนถามว่า พระวินัยลึกซึ้งโดยกิจ พระสูตรลึกซึ้งโดยอรรถ และพระอภิธรรมลักษณะโดยสภาวะ วันนี้กำลังสนทนาธรรมในหัวข้อ “พื้นฐานอภิธรรม” ซึ่งลึกซึ้งโดยสภาวนั้น มีความละเอียดลึกซึ้งต่างกับพระวินัย และพระสูตรอย่างไร

    อ.อรรณพ พระอภิธรรม อภิ แปลว่า ยิ่ง ธรรมที่ละเอียดยิ่ง ลึกซึ้ง ถ้าไม่ลึกซึ้ง คงไม่ขยายด้วยคำว่า “อภิ” เป็นอภิธรรม เพราะว่าความไม่รู้ของสัตวโลก มีมากจริงๆ ที่จะไม่เข้าใจสภาพธรรม ก็พิสูจน์ได้ว่า มากมายขนาดไหน ขณะนี้มีจิต ก็ไม่รู้ว่าเป็นจิต นี่คือความหนาของอวิชชา จึงทรงมีพระมหากรุณาคุณ ที่จะแจกแจงธรรมอย่างละเอียด คือ ทรงแสดงอภิธรรมว่า สภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นจิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นความละเอียดของสภาวธรรม ที่ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎก เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสภาพธรรมที่ละเอียดนั้น แต่ว่ามีในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ธรรมนั้นละเอียด แล้วไม่มีปรากฏ มีปรากฏ แต่จะรู้ หรือไม่รู้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า มีเหตุปัจจัย ให้ปัญญาเกิดขึ้นรู้ตามความเป็นจริง ของสภาพธรรม ได้ไหม

    เพราะฉะนั้นอภิธรรมที่ว่า ลึกซึ้งโดยสภาวะ ต่างกับความลึกซึ้งโดยกิจ ของพระวินัย และต่างจากความลึกซึ้งโดยอรรถของพระสูตรอย่างไร ถ้าไม่มีสภาพธรรม ก็ไม่ต้องบัญญัติสิกขาบท แต่เนื่องจากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสัพพัญญู ทรงมีพระปัญญายิ่งที่รู้ว่า ผู้ที่บวชเป็นภิกษุ จะมีการกระทำทางกาย วาจา ควร และไม่สมควรอย่างไร การ กระทำทางกาย ทางวาจาด้วยอกุศลจิตระดับไหน ที่จะถึงขั้นหมดความเป็นภิกษุ ก็คือปาราชิก ทรงทราบระดับของอกุศลจิต ระดับของ การกระทำทางกาย ทางวาจา จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อ ซึ่งมีความลึกซึ้งโดยกิจ ของแต่ละสิกขาบท ที่จะน้อมปฏิบัติตาม ของผู้บวชเป็นภิกษุ ที่จะไม่ล่วงสิกขาบท จึงสมควรเป็นภิกษุ นั่นคือ ความลึกซึ้งของสิกขาบท แต่ละประการๆ ซึ่งไม่มีใครสามารถบัญญัติพระวินัยได้ นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นพระองค์เดียวที่ทรงรู้ว่า ควรจะบัญญัติสิกขาบทใดบ้าง และอย่างไร เพื่อเป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นศีลของภิกษุ ที่เป็นปาติโมกขสังวรศีล เป็นข้อที่น้อมประพฤติตาม เพื่อไม่ให้ล่วง ออกทางกาย วาจา แค่ไหนเป็นเพียงทุกฎ ทุภาษิต พระผู้มีพระภาคทรงรู้ แค่ไหนถึงขั้นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส เป็นปาจิตตีย์ พระผู้มีพระภาคทรงรู้

    ส่วนความลึกซึ้งของพระสูตร ก็คือข้อความที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงกับบุคคลต่างๆ ในสถานที่ต่างๆ ก็เป็นข้อความที่ลึกซึ้ง ในอรรถ ในเนื้อความอย่างยิ่ง แม้ข้อความในพระสูตร บางอย่างถ้าพิมพ์ออกมา ก็เพียงหน้ากระดาษเดียว เช่นเมื่อวานนี้ โลกสูตร แสดงธรรมใดที่เกิดขึ้นในโลก แล้วไม่เป็นประโยชน์ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในโลก ฟังดูเหมือนเข้าใจง่ายๆ แต่ความลึกซึ้ง ลึกซึ้งขนาดไหน โลกคืออะไร โลกคือสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าโลภะเกิดขึ้นทางตา ไม่เป็นประโยชน์แล้ว ถ้าโลภะเกิดขึ้นทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่เป็นประโยชน์ ถ้าจะเข้าใจความลึกซึ้งของพระสูตร ตามตัวอย่างได้ ก็เพราะเข้าใจพระอภิธรรมว่า เป็นเพียงเรื่องราว ของสภาวธรรมของวิถีจิตต่างๆ และจิตที่เป็นอกุศล ที่เป็นชวนจิต จนกว่าจะรู้ลักษณะของจิต ที่เป็นอกุศลจิตจริงๆ ที่ปรากฏ ขณะที่โลภมูลจิตเกิด โทสมูลจิตเกิด หรือโมหมูลจิตเกิด และรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม จึงจะเข้าใจความลึกซึ้งของพระสูตร เพราะเข้าใจความลึกซึ้งโดยสภาวธรรม ของพระอภิธรรม และเช่นกัน เมื่อเข้าใจความลึกซึ้งโดยสภาวธรรมโดยอภิธรรม ก็จะเข้าใจความลึกซึ้งโดยกิจของพระวินัยในบางข้อ บางประการ

    เพราะฉะนั้นการเข้าใจความลึกซึ้งโดยกิจของพระวินัย โดยอรรถของพระสูตร ก็จะต้อง เข้าใจความลึกซึ้งโดยสภาวธรรม เพราะทั้งหมดเป็นธรรม ถ้าไม่มีธรรม ไม่มีการบัญญัติว่าเป็นภิกษุ ไม่มีการบัญญัติเป็นสิกขาบท ต้องมีจิต เจตสิก รูป และถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีการแสดงพระสูตรต่างๆ ที่สมมติว่าเป็นบุคคลต่างๆ มาเข้าเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาค ก็เป็นจิต เจตสิก รูป และทรงแสดงธรรม ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีการบัญญัติว่า เป็นสัตว์ บุคคล เรื่องราวต่างๆ ใครทำดี ทำชั่ว บุญ บาป โลกทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้นความลึกซึ้งโดยสภาวธรรม หรือโดยอภิธรรม เป็นความลึกซึ้งของสภาพธรรม หรือตัวธรรมที่มีจริงๆ จึงจะมีการบัญญัติ เป็นสิกขาบทของทั้งพระภิกษุ และของคฤหัสถ์ และความลึกซึ้งโดยโวหารเทศนาต่างๆ ในพระสูตร เพราะมีความลึกซึ้งโดยสภาวธรรมของอภิธรรมซึ่งมีอยู่จริงในขณะนี้

    ผู้ฟัง สืบเนื่องจากการสนทนาเมื่อสักครู่ว่า เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมแข็งมี ทำไมนิพพาน คำว่า “ทำไม” ซึ่งการศึกษาว่าทำไม มาจากไหน แต่จริงๆ เราเข้าใจว่า เมื่อมีเหตุปัจจัย แข็งก็เกิด แล้วมีจิตที่รู้แข็ง ถ้าแข็งเกิดแล้ว ไม่มีสภาพรู้ที่ไปรู้ ก็ไม่ปรากฏ ก็เหมือนกับดับไป ตรงนี้ในการศึกษา ดูเหมือนท่านอาจารย์ให้เราศึกษา โดยเข้าใจความจริง ที่มีปรากฏ แล้วก็หมดไป และถ้าศึกษาละเอียด ก็จะทราบว่า เขาก็เป็นอย่างนั้นตามเหตุปัจจัย แต่ถ้าเมื่อไรไปศึกษาว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้ ก็ไม่สามารถเข้าใจความจริงที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นไม่ว่าจะกล่าวถึงเรื่องอะไร ถ้าไม่บอกว่า คืออะไรก่อน จะรู้หรือไม่ อย่างแข็ง ก็ยังไม่ทันรู้เลยว่าคืออะไร แต่ทำไมเสียแล้ว โดยที่ไม่รู้ว่า แข็งคืออะไร

    เพราะฉะนั้นถ้าเป็นธรรมแล้วสามารถเข้าใจตั้งแต่แรก ว่าคืออะไรก่อน แล้วค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้นว่า สิ่งที่เป็นอย่างนั้นเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว มีปัจจัยอะไร ถึงจะเข้าใจ และไม่มีคำว่า ทำไม โดยที่ไม่รู้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร

    เหมือนอย่างเมื่อครู่นี้ที่กล่าวถึงพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมคืออะไร หรือว่ารู้แล้ว แต่ตามความเป็นจริง ต้องเป็นพระธรรมทั้งหมด เป็นเรื่องชีวิตประจำวันจริงๆ แต่พระวินัยคืออะไร และสำหรับใคร วินัย คือการกำจัดอกุศล ซึ่งอกุศลมีตั้งแต่ในจิต ยังไม่ได้ล่วงออกไป ทางกาย ทางวาจา ก็อย่างหนึ่ง และที่มีกำลังจนกระทั่งล่วงเป็นทุจริตทางกาย ทางวาจา จนกระทั่งถึงประทุษร้าย หรือเบียดเบียนบุคคลอื่น

    เพราะฉะนั้นก็มีอกุศล หลายระดับ ด้วยเหตุนี้ถ้ารู้ว่า พระวินัยคืออะไร สำหรับใคร พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ เมื่อได้ทรงแสดงแล้วก็มีผู้ที่รู้จักตัวเอง ต้องการขัดเกลากิเลส ในขณะที่ ฟังธรรม เพื่อจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็มีผู้ฟังที่ต่างอัธยาศัยกันมากมาย บางคนก็มีอัธยาศัย ที่เป็นคฤหัสถ์ บางคนก็รู้จักตัวเองว่า มีอัธยาศัยจะขัดเกลายิ่งขึ้นทางกาย ทางวาจา ในเพศที่ไม่ใช่คฤหัสถ์

    เพราะฉะนั้นจึง ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท เพื่อจะประพฤติธรรม อบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต ซึ่งในยุคแรกๆ ก็ยังไม่มีการบัญญัติพระวินัย เพราะว่า ผู้ที่บวชเป็นผู้จริงใจ เพื่อต้องการขัดเกลากิเลส แต่ไม่มีใครสามารถบังคับไม่ให้กิเลสเกิด ขณะนี้ใครรู้บ้างว่า มีกิเลสสะสมมาแค่ไหน ยังไม่เกิดไม่รู้ ไม่ปรากฏเลย ต่อเมื่อไรเกิด เมื่อนั้นเห็นเลยว่า ถ้าไม่มีการสะสมมาที่จะเป็นอกุศลระดับนี้ อกุศลระดับนี้ก็เกิดไม่ได้

    เพราะฉะนั้นบางวันกายก็ดี บางวันก็ไม่ดี บางวันวาจาก็ดี บางวันวาจาก็ไม่ดี มาจากไหน ต้องมีเหตุ คือการสะสมมา ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เห็นโทษของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย และต้องการขัดเกลา จึงได้มีชีวิตอย่างบรรพชิต คือ ผู้ที่ไม่ครองเรือน การเป็นผู้ไม่ครองเรือน แต่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ทำให้ปฏิบัติล่วงทุจริต ซึ่งไม่สมควรแก่เพศบรรพชิต ซึ่งเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ โดยอาศัยอาหารจากชาวบ้าน ท่านใช้คำว่า “ข้าว” ก็หมายความว่า อาหารจากชาวบ้าน

    เพราะฉะนั้นก็ต้องให้สมควรแก่ศรัทธาของผู้ที่ทะนุบำรุง เพื่อให้ผู้นั้นได้ขัดเกลากิเลสในเพศของบรรพชิต พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เห็นว่า สิ่งนั้นไม่ควรแก่เพศบรรพชิต โดยการประชุมสงฆ์ สอบถามเรื่องราว เป็นที่รับรองว่าไม่เหมาะไม่ควร เมื่อสงฆ์รับรองว่าไม่เหมาะไม่ควร ก็บัญญัติเป็นสิกขาบท คือ บทที่จะต้องศึกษา คือ ปฏิบัติตามในเพศของบรรพชิตมากมายตามลำดับเพิ่มขึ้น ซึ่งคฤหัสถ์ทำได้หรือไม่ ถ้าศึกษาพระวินัย คฤหัสถ์จะทำก็ได้ ไม่ได้ห้าม ว่าไม่ให้ทำ แต่เห็นคุณประโยชน์ ของการมีกาย วาจาที่งาม แม้เป็นอกุศล ที่เล็กน้อย นิดหน่อย ก็ไม่สมควรให้เกิดขึ้น ก็จะละอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยนั้นได้

    ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่า พระวินัยละเอียดมากในเรื่องของกาย วาจา ซึ่งต้องมาจากใจด้วย และทุกข้อจะกันอาสวะ คือ กิเลสอย่างละเอียดไม่ให้เกิด เพราะเหตุว่าถ้าเกิดแล้วก็จะเจริญขึ้น จนกระทั่งมีชีวิตเหมือนอย่างเพศคฤหัสถ์ได้ ด้วยเหตุนี้การศึกษา เห็นความลึกซึ้งของพระวินัย จึงเห็นพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนกับ ตัดไฟ ตั้งแต่ต้นลม ไม่ให้ลุกลาม หรือเกิดมากขึ้น

    นี่ก็คือความลึกซึ้ง ซึ่งผู้ที่ศึกษาพระวินัย ไม่ใช่เพียงศึกษาว่า บรรพชิตไม่ควรทำอย่างนี้อย่างนั้น แต่ควรรู้ถึงเหตุผลด้วยว่า เพราะอะไร จึงไม่สมควร ซึ่งเป็นเหตุผลที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงบัญญัติวินัยต่างๆ ลึกซึ้งมาก ถ้าไม่ได้ศึกษาพระวินัยแล้วคิดเอง ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า จริงๆ แล้วเมื่อ ได้ทรงบัญญัติพระวินัยแล้ว ก็ยังมีข้อปลีกย่อยติดตามมาอีกด้วย ซึ่งผู้ศึกษาจริงๆ สามารถรู้ถึงเหตุผลได้ว่า เพราะอะไร

    สำหรับพระสูตร บางคนก็บอกว่า พระสูตรง่าย ฟังแล้วก็เข้าใจได้ แต่เข้าใจเรื่องราว


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 169
    3 ก.ย. 2567