พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
ตอนที่ ๔๖๑
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ สำหรับพระสูตร บางคนก็บอกว่า พระสูตรง่าย ฟังแล้วก็เข้าใจได้ แต่เข้าใจเรื่องราว เพราะเหตุว่า แม้พระสูตร หรือพระวินัย ก็คือธรรม ซึ่งเป็นอภิธรรมนั่นเอง แต่ว่าอัธยาศัย ของแต่ละบุคคล ก็หลากหลายมาก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ อัธยาศัย ของแต่ละบุคคล จึงทรงแสดงธรรม ที่เหมาะควร ที่บุคคลนั้นสามารถเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นก็รวบรวมเป็นพระสูตร ตามควรแก่ความสั้น ความยาว ประการต่างๆ เป็นพระสุตตันตปิฎก
สำหรับเรื่องของพระอภิธรรมปิฎก ก็เป็นเรื่องของธรรมล้วนๆ เช่น ถ้ากล่าวถึงรูป ก็เฉพาะรูป ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลใดๆ แต่แม้กระนั้น ก็มี ปุคคลบัญญัติ เป็นคัมภีร์หนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การบัญญัติ เป็นบุคคลนั้น บุคคลนี้ ก็เพราะธรรมนั่นเอง ถ้าเป็นผู้มีอกุศลมาก คนนั้นก็เป็นคนพาล ก็บัญญัติว่าคนนั้น เป็นพาล หรือคนที่มีความรู้ความเข้าใจธรรม สามารถ รู้ความจริงของธรรม ซึ่งต่างกับคนพาล ก็จะเรียกคนพาลไม่ได้ ก็เรียกว่า บัณฑิต ก็แสดงให้เห็นว่า การบัญญัติต่างๆ อย่างเช่น มนุษย์ หรือสวรรค์ หรือนรก ก็ตามประเภทของจิต ที่เกิดขึ้น เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง เมื่อฟังแล้วก็จะเห็นว่า พระธรรมวินัยต้องสอดคล้องกัน ในแง่ที่ว่า บรรพชิตที่จะ ปฏิบัติตามพระวินัยนั้นยาก จะทำเหมือนคฤหัสถ์ ไม่ได้เลย ตรงนี้ก็สงสัยว่า การจะประพฤติ ปฏิบัติอย่างนั้นได้ ต้องมีความเห็นถูก เข้าใจถูก เพราะศึกษาพระอภิธรรม และพระสูตร ถ้ามีตัวตน ไปประพฤติ ปฏิบัติขัดเกลา เช่นนั้น ในความคิดไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะว่ายากมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่เข้าใจธรรม พระวินัยไม่สามารถผูกบุคคลนั้น ไว้ในพระศาสนา เพราะฉะนั้นบุคคลนั้น ศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติตามด้วย สำหรับ ผู้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ลาสิกขาบท ก็ต้องเป็นไปตามคุณธรรมด้วย
ผู้ฟัง นั่นแสดงว่า ในเพศบรรพชิตจริงๆ แล้ว ต้องเห็นถูกเข้าใจถูก ในสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นแล้ว บวชเพื่ออะไร ก็ต้องเพื่อศึกษาธรรม ปฏิบัติตามธรรม พร้อมกันนั้น ก็มีบทบัญญัติ ที่สมควรแก่บรรพชิต ที่จะประพฤติทางกาย ทางวาจา ให้เป็นอีกเพศหนึ่ง ซึ่งเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสมากกว่า คฤหัสถ์
ผู้ฟัง จริงๆ แล้ว เป้าหมายของพระพุทธศาสนา ก็คือ ต้องการให้ขัดเกลากิเลส มีปัญญา จนกระทั่งออกจากสังสารวัฏ
ท่านอาจารย์ เพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ว่า เป็นธรรม จึงได้ทรงแสดงธรรม
ผู้ฟัง สืบเนื่องจากปัญหาคุณวีระที่ว่า จิตเห็นไปเกิดที่ตา ใช้คำว่า “ไป” ท่านอาจารย์บอกว่า ถ้าละเอียดกล่าวอย่างนั้นไม่ได้
ท่านอาจารย์ จิตไปไม่ได้ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะจิตเกิดแล้วดับ
ท่านอาจารย์ ดับแล้ว
ผู้ฟัง ก็เป็นอนันตรปัจจัยให้ จิตขณะต่อไปเกิด อย่างสมมติมรณะคือตาย ก็จะชัด ถึงแม้จะเข้าใจว่า จุติจิตเกิด ดับ แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด ในเมื่อยังไม่เข้าใจความเป็นอนัตตา ยังเข้าใจว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นตัวตน ก็เหมือนกับมีภาพว่า จิตดับ แล้วเหมือนได้ไปเกิด ซึ่งความเหนียวแน่น ของความเป็นตัวตน ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ฟังแล้วเหมือนไม่เข้าใจว่า เป็นอนัตตา แล้วเป็นปัจจัยให้ไปเกิด เมื่อดับแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดต่อ ไปตามกรรม แล้วแต่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ถึงแม้ฟังอย่างนี้แล้ว แต่เมื่อฟังคุณวีระพูด ก็รู้เลยว่า ต้องเป็นไป ไม่ใช่เฉพาะคุณวีระที่ไป ไป
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจแล้วก็จะเห็นกำลังของสภาพธรรม แต่ละอย่างที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เช่น กัมมปัจจัย เจตนา ความจงใจ ตั้งใจที่กระทำกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง เมื่อถึงกาลที่กรรมใดจะให้ผล กรรมนั้นสามารถเป็นปัจจัยมีกำลังทำให้สภาพนั้นเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ จากโลกนี้ไปสู่นรก ห่างไกลกัน แต่กรรมสามารถทำให้ จิตนั้นเกิดที่นั่น หรือว่าสวรรค์ หรือพรหมโลกก็ตามกำลังของกรรม ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิ ฌานจิตขั้นต่างๆ เป็นปัจจัย กรรมนั่นเอง ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดที่นั่น เป็นปัจจัยให้เกิด แล้วแต่ว่าจะเกิดที่ไหน เพราะกำลังของกรรม
ผู้ฟัง ถ้าฟังมั่นคงอย่างนี้ ก็จะเข้าใจมากขึ้นว่า กำลังของกรรม เป็นอย่างนี้จริงๆ ว่า สามารถนำเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ไม่ใช่จุติจิตนี้ ดับแล้วไปเกิด แต่ว่าเป็นกรรมนั่นเอง แล้วแต่ว่ากรรมอะไร จะให้ผล ก็เป็นไปตาม กำลังของกรรม ว่าจะไปสู่ภพภูมิใด
ท่านอาจารย์ พอไกลๆ สงสัย เดี๋ยวนี้ เห็นดับแล้ว เป็นกาลที่กรรมทำให้จิตได้ยินเกิดขึ้น ไม่ใช่ตรงเห็นแล้ว เกิดที่โสตปสาท ใกล้ๆ แค่นี้ไม่สงสัย ก็เหมือนกัน จะใกล้ จะไกล อย่างไรก็คือเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ถ้าจะเอาสถานที่ออก ยิ่งชัดเจน เพราะเหตุว่า นามธรรมเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ไม่มีที่ใดๆ เลยในขณะที่จิตนั้นเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ถ้าเอารูปร่าง สถานที่ออก ก็จะเห็นว่า เป็นธรรมแต่ละขณะ แต่ละอย่าง
ท่านอาจารย์ เท่านั้นเอง เกิดดับอย่างเร็วมาก ละเอียดมาก ไม่มีอะไรเหลือเลย
ผู้ฟัง เมื่อฟังแล้วก็รู้ว่า ความลึกซึ้งของธรรมนี้ ก็ยากสำหรับผู้มีปัญญาน้อยอย่างเรา ก็คงต้องฟังไปเรื่อยๆ จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นจะไม่รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ห่างไกลกันมาก ปัญญาของผู้ไม่รู้ กับผู้รู้ ไม่มีใครสามารถประมาณได้เลย นี่เป็นเพียงส่วนที่ทรงแสดง สำหรับ ที่สามารถเข้าใจได้
ผู้ฟัง ปกติบางครั้งที่เหนื่อยมากๆ ก็ไม่รู้สึกอะไร แต่บ่อยครั้งที่เหนื่อยมากๆ แล้ว พอกลับถึงบ้าน ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องนอนนิ่งๆ และในขณะนั้นไม่มีแรงเลย ตอนนอนนิ่งๆ แน่ใจด้วยว่าไม่ได้หลับ มีความรู้สึกเหมือนกับ ตัวเองต้องชาร์จแบต พอดีมันเกิดหลายครั้ง แต่ก็ไม่สนใจ เพราะคิดว่าเป็นธรรมดาของตัวเอง จริงๆ แล้วขณะนั้น ปรมัตถธรรมอะไรปรากฏ เราก็ไม่ทราบ รู้แต่ว่าตัวเองไม่มีแรง พอสักครู่หนึ่งก็สามารถลุกขึ้นมาทำอะไรๆ ได้เหมือนเดิม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ธรรม ใช่ไหม เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล แต่ถ้าศึกษาธรรม เป็นจิต เป็นเจตสิก หรือเป็นรูป เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม สิ่งที่ผ่านหมดไปแล้ว ไม่กลับมาอีก เดี๋ยวนี้เป็นอะไร มิฉะนั้นจะไม่ได้สาระ จากพระธรรมเลย เพราะมัวคิดถึง เรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง เมื่อกี่วัน หรือเดือนก่อน อาทิตย์ก่อน หรือปีก่อนก็ได้ แต่ว่าไม่สามารถทำให้รู้ และเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ พระธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ว่าเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงแต่เราจำว่าเป็นธรรม และไม่รู้ว่า เดี๋ยวนี้ธรรมเป็นอย่างไร กำลังเห็นนี่เอง ลักษณะอย่างนี้ จริงๆ อย่างนี้ เป็นธรรม เพราะฉะนั้นยังไม่ได้รู้จักธรรม จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แม้แต่สิ่งที่ปรากฏ ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น แล้วก็หมดไป ค่อยๆ เข้าใจว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น แค่นี้ก็ยากแสนยาก เพราะลืมอีกแล้วว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้นเอง จนกว่าจะมีความมั่นคง
อ.นิภัทร ธรรมก็ลึกซึ้งอย่างนี้ มีให้เห็นอยู่ ก็ไม่รู้ ก็ไม่เห็น ลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก มีให้เห็นก็ไม่เห็น ธรรม คือ จิต ๘๑ ยกเว้นโลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๕๑ ยกเว้นโลภเจตสิก รูป ๒๘ รวมเป็น ๑๖๐ ลึกซึ้งจึงเห็นได้ยาก ปรากฏให้เห็น ก็ไม่เห็น ก็หา เห็นเป็นจิต หรือไม่ ถ้าไม่เป็นจิต แล้วเป็นอะไร ลึกซึ้งแค่ไหน ลึกซึ้งทั้งที่ปรากฏอยู่ก็ไม่เห็น ไปติดแต่ชื่อ แต่เรื่องราวหมด ชื่อไม่ใช่ไม่จำเป็น จำเป็นที่จะทำให้เราเข้าถึงความจริง เราก็ติดแต่ชื่อ ก็อยู่แค่นั้น ความจริงปรากฏก็ไม่รู้ ก็ไปสงสัยแต่เรื่องราวทั้งนั้น เรื่องราวทั้งหลายที่ปรากฏ
ในชีวิตประจำวัน เช่น คนตายแล้วไปไหน คนบ้านนอกบอกว่า ตายแล้วเป็นผี ไม่มีอะไรตาย เราก็ติดอยู่ว่าคนตาย ไม่มีอะไรตาย เป็นแต่ธรรมที่เกิดขึ้นทำหน้าที่ของเขาเท่านั้นเอง เกิดแล้วก็ดับๆ จุติจิตเกิดแล้วก็ดับ ปฏิสนธิจิตก็เกิดต่อ ไม่มีคนตาย ไม่มีสัตว์ตาย มีแต่ธรรมที่เกิดทำหน้าที่ทุกวัน ตลอดเวลา ลึกซึ้ง หรือไม่ อภิธรรมลึกซึ้ง อภิธรรมมีอยู่ ๗ คัมภีร์ คัมภีร์แรก เรียก ธัมมสังคนีปกรณ์ ปกรณ์ แปลว่า คัมภีร์ อย่าไปติดในชื่ออีก ธัมมสังคนีปกรณ์ คัมภีร์ที่ ๒ เรียกว่า วิภังคปกรณ์ คัมภีร์ที่ ๓ เรียกว่า ธาตุปกรณ์ คัมภีร์ที่ ๔ เรียกปุคคลบัญญัติปกรณ์ คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุปกรณ์ คัมภีร์ที่ ๖ ยมกปกรณ์ คัมภีร์ที่ ๗ ปัฏฐานปกรณ์
๗ คัมภีร์นี้พระอนุรุทธาจารย์ ผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก รุ่นราวคราวเดียวกับพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ที่แตกฉานมาก ท่านนำ ๗ คัมภีร์นี้ ย่อลงมาให้เราเข้าใจ เพื่อควรแก่การศึกษา ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ที่ท่านย่อๆ ลงไปอีกว่า จิ เจ รุ นิ จิ คือ จิต เจ ก็คือเจตสิก รุ คือ รูป นิ คือ นิพพาน นิพพานนี้ยกไว้ในที่สูง ท่านให้เราศึกษาเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป ซึ่งเป็นของมีอยู่ พระนิพพานมี แต่เราไม่มีปัญญาไปคิดไปใส่ใจในขณะนี้ เพราะว่ายังไม่รู้ จิต เจตสิก จิต เจตสิกยังไม่แตกฉาน หมายความว่ายังไม่เข้าใจทะลุปรุโปร่งเมื่อไร ก็ยังไม่ต้องพูดถึงพระนิพพาน เพราะว่าตรงกันข้าม ถ้ายังมัวติดอยู่กับจิต เจตสิก จะไปเห็นนิพพานได้อย่างไร เพราะเป็นธรรมตรงกันข้าม คนละฝั่ง ฝั่งนี้ กับฝั่งโน้น
เพราะฉะนั้นเราอยู่ฝั่งนี้ ก็ชะเง้อจะดูแต่ฝั่งโน้น ไม่ยอมดูฝั่งนี้ ฝั่งนี้มีอะไรบ้างที่เราจะต้องรู้ จิต เจตสิก รูป และไม่ได้อยู่ในตำรา อยู่ที่ตัวเราทุกคน เห็นทีหนึ่ง จิต เจตสิก รูปก็มีแล้ว ใช่ไหม อะไรเป็นจิต เห็นครั้งหนึ่ง
ผู้ฟัง ธาตุรู้เป็นจิต
อ.นิภัทร ธาตุรู้นั่นอะไร ธาตุรู้มีมากมาย
ผู้ฟัง จิต ๘๙ ทีละอย่าง ก็จิตเห็น จิตได้ยิน
อ.นิภัทร เห็นนี่ อะไรเป็นจิต
ผู้ฟัง สภาพรู้เป็นจิต
อ.นิภัทร คือจักขุวิญญาณ ภาษาพระ ภาษาไทยว่าเห็น นี่คือจิต จิตเห็นปรากฏที่ตา ปรากฏที่อื่นไม่ได้ อย่าให้ไปปรากฏที่จมูกเข้าล่ะ ปรากฏเพื่อทำหน้าที่เห็น ซึ่งมีหน้าที่ตายตัว เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น แล้วจิต จักขุวิญญาณเกิดที่ไหน ก็เกิดที่จักขุปสาท เวลาเกิด ท่านเรียกว่า จักขุวัตถุ เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ จิต เจตสิก รูปก็อยู่นี่ อยู่ที่ตัวเราทุกคน พยายามศึกษาตรงนี้ อย่าศึกษาชื่อ อย่าศึกษาเรื่องราว เพราะถ้าศึกษาชื่อ เท่าไรก็ไม่จบ
อ.วิชัย ช่วงแรกท่านอาจารย์ก็กล่าวถึงนามธรรม ซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ แล้วมีสภาพรู้ ธาตุรู้ ที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏขณะนั้น จริงๆ ขณะนี้ก็กำลังรู้ คือมีนามธรรมที่เกิดขึ้นรู้ แต่ว่านามธรรมที่เกิดขึ้นรู้ นั้นมีหลายประเภท ซึ่งถ้าไม่ศึกษา ก็จะไม่เข้าใจเลย เพราะเหตุว่าขณะนี้ ก็สำคัญว่าเป็นเราทั้งหมด แล้วก็กำลังรู้ด้วย มีเห็น มีได้ยิน มีการคิดนึกเรื่องต่างๆ แต่ขณะที่นามธรรมขณะหนึ่งๆ เกิดขึ้น มีนามธรรม หลายประเภท ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน และต่างเป็นปัจจัยแก่กัน และกัน เกื้อกูลกันเกิดขึ้นในขณะหนึ่งๆ แล้วก็ดับไป เมื่อการดับไปของนามธรรม ที่ดับไปแล้ว ก็เป็นปัจจัย ให้นามธรรมอีกขณะหนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็มีนามธรรม หลายประเภทเกิดขึ้นพร้อมกัน
ที่ให้เห็น เพราะว่ามีความต่างกันของนามธรรมที่เกิดขึ้น ต่างไหม ขณะที่เห็น กับคิดนึก ขณะที่โกรธ กับขณะที่ติดข้อง ขณะที่เป็นอกุศลก็มีๆ ขณะที่เป็นกุศล ก็มี ตรงนี้ เห็นความหลากหลาย ของนามธรรมที่เกิดขึ้น แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ละเอียดที่จะรู้ และเข้าใจในลักษณะของนามธรรม จนกว่าจะศึกษาว่า ขณะที่เป็นอกุศล แม้อกุศลธรรม หรืออกุศลจิตที่เกิดขึ้น ก็มีนามธรรมหลายประเภท ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ตรงนี้ค่อยเห็นความละเอียด อย่างเช่น ขณะที่กำลังติดข้องพอใจ ชอบในรสบ้าง ในเสียงบ้าง ขณะที่พอใจขณะนั้นเป็นความโลภ เป็นความติดข้อง เป็นความยินดี แต่ความยินดีนั้น ก็ต้องเกิดขึ้น พร้อมกันกับจิต ซึ่งเป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ขณะที่ลิ้มรส จิตรู้แจ้งในรสที่ปรากฏ แต่ความพอใจก็เกิดขึ้น พร้อมในการติดข้องในรสนั้น ค่อยๆ เห็น พิจารณาถึงสภาพธรรมจริงๆ ที่มีจริง ที่กำลังเป็นไปอยู่ แต่ขณะนี้โลภะไม่ได้เกิด เพราะเหตุว่า ขณะนี้ก็เป็นไปในการฟังพระธรรม กุศลจิตเกิดขึ้น แม้กุศลจิตที่เกิดขึ้น ก็มีนามธรรมหลายประเภท ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ถ้าไม่มีศรัทธา ความเลื่อมใส ความตั้งมั่นโดยชอบในกุศลธรรม ก็ไม่ฟังพระธรรม ก็ไม่เจริญกุศล หรือขณะนี้ถ้าสติไม่เกิด กุศลก็ไม่เกิดขึ้น เพราะว่าสติเกิดขึ้นระลึกได้ ที่เป็นกุศลในการฟังพระธรรม แต่ต่างขณะ ถ้าคิดถึงเรื่องอื่น มีความติดข้อง หรือพอใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นไปในจิตขณะนั้น ขณะนั้นก็ไม่ใช่สติ แต่เมื่อกุศลจิตเกิด สติระลึกได้เป็นไปในการฟัง
ตรงนี้จะเห็นได้ว่า แม้ในขณะนี้ก็มีหลากหลาย มีความต่างกันของการเกิดดับอย่างรวดเร็วของจิตว่า จิตเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ ก็มีนามธรรม หลายประเภท อย่างเช่นอกุศล ความพอใจติดข้อง ก็เกิดพร้อมกับ
อกุศลประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น ความไม่รู้ธรรมที่ปรากฏ ก็เป็นไปด้วยความติดข้องด้วยในขณะนั้น เป็นไปด้วยความไม่รู้ด้วยในขณะนั้น เป็นไปกับอหิริกะ อโนตตัปปะด้วยในขณะนั้น ตรงนี้ก็จะค่อยๆ เห็นว่า แม้ความพอใจก็ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะเกิดขึ้นในขณะนั้น เราอาจนึกถึงการล่วงอกุศลกรรมบถต่างๆ เช่น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร วจีทุจริตต่างๆ เพราะไม่มีหิริ โอตตัปปะที่เป็นไปในขณะนั้น ซึ่งจิตเกิดดับอย่างรวดเร็วเป็นไปในอกุศลกรรมประเภทต่างๆ
ฉะนั้นให้เข้าใจถูกว่า มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป เริ่มต้นเข้าใจถูก ว่าเป็นธรรม เพราะเหตุว่า อกุศลมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น เพราะเหตุว่า สั่งสมมาแล้วที่จะ เป็นอกุศล เกิดแล้วก็ดับ จะเปลี่ยนแปลงให้อกุศลไม่เกิด หรือเกิด แล้วจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ก็ไม่ได้ เพราะเกิดแล้ว ดับแล้ว แต่ว่ามีเหตุปัจจัย สามารถเกิดได้อีก แต่ถ้าสั่งสมกุศลมากขึ้น
มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก เมื่อสั่งสมกุศลมากขึ้น การสั่งสมของกุศลก่อนๆ ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้กุศลหลังๆ เกิดได้ เจริญขึ้น
เพราะฉะนั้นจะเห็นความเข้าใจก่อนเมื่อเริ่มต้นฟัง กับเมื่อฟังมากขึ้น ความเข้าใจก็ค่อยๆ เจริญขึ้น แม้กุศลขั้นต่างๆ เช่น ถ้าบุคคลไม่มีอัธยาศัย ในการให้ทานเลย แต่เมื่อเริ่มต้นให้ ก็มีเหตุปัจจัยให้กุศลที่เป็นไปในทานเกิดขึ้นอีกได้ ดังนั้น ก็เป็นไปตามเหตุ และปัจจัยทั้งหมด เป็นเรื่องของสภาพธรรม แล้วแต่ว่าจะมีเหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้ ธรรมแต่ละอย่าง เกิดขึ้น แต่ที่สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจถูกว่า ทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมด ตรงนี้เป็นความเห็นถูก เป็นความเข้าใจถูกว่า ธรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอกุศลธรรมก็ตาม กุศลธรรมก็ตาม หรือธรรมที่ไม่ใช่ทั้งกุศล ไม่ใช่อกุศลก็ตาม เป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง กราบเรียนถามอาจารย์วิชัย ที่เมื่อครู่กล่าวว่า เกิดพร้อมกัน อย่างเช่นอกุศลเกิดหลายดวงเป็นเจตสิกเกิดหลายๆ ดวง พร้อมกัน และดับไปพร้อมจิต ๑ ขณะ เกิดพร้อมกัน อย่างนี้เข้าใจผิดไหม
อ.วิชัย สภาพธรรมมีหลายอย่าง แม้อกุศลธรรมก็มีหลายอย่าง มานะเป็นอย่างหนึ่ง โลภะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเป็นอีกอย่างหนึ่ง โทสะ อวิชชา หิริ โอตตัปปะก็เป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งในแต่ละขณะๆ ธรรมที่เป็นอกุศลธรรม บางประเภทสามารถเกิดขึ้นพร้อมกันก็ได้ บางประเภทก็ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันก็ได้
ตรงนี้ก็หมายถึงอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นทีละขณะๆ แต่จิตต้องมีอยู่แล้ว เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ แล้วแต่ขณะนั้น จิตเกิดพร้อมกับเจตสิกที่เป็นอกุศลธรรมประเภทใด ซึ่งเจตสิกแต่ละประเภท บางประเภทก็เกิดพร้อมกันก็ได้ บางประเภทไม่เกิดพร้อมกันก็มี
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ยังไม่กระจ่างชัดที่ว่า มีจิตไป จิตไป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480