พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
ตอนที่ ๔๖๗
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ จากความเป็นปุถุชน จะถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม แต่ต้องมีเหตุปัจจัยเพียงพอ เพราะฉะนั้น จากการเป็นผู้ไม่เข้าใจสภาพธรรม เป็นปุถุชน แล้วก็มีโอกาสสะสม ที่จะถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้
ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์บอก ทุกคนอยู่ในโลกของความคิด ถ้าเราคิดในโลกของบัญญัติ คิดมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็จะสงสัยอยู่เรื่อยว่า โกรธเป็นธรรม เป็นอย่างไร ถ้าตราบใด เรายังไม่ได้อยู่ในโลกของปรมัตถ์ เราก็จะไม่เข้าใจมัน เราอยู่ในโลกของบัญญัติ ซึ่งเป็นโลกของความเห็นผิดนั่นเอง กระผมเข้าใจอย่างนี้ จะถูก หรือไม่
ท่านอาจารย์ ธรรมคืออะไร
ผู้ฟัง ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ มีจริงๆ รู้ หรือยัง
ผู้ฟัง รู้ตามตัวหนังสือ
ท่านอาจารย์ ตัวหนังสือว่าอย่างไร
ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริงๆ คือ สิ่งที่รู้ กับสิ่งที่ไม่รู้อะไร มี ๒ อย่าง
ท่านอาจารย์ และตอนนี้เห็นถูกอย่างนั้น หรือยัง
ผู้ฟัง ยัง
ท่านอาจารย์ มีหนทางไหมที่จะเข้าใจถูกขึ้น
ผู้ฟัง ไม่แน่ใจตัวเองว่ามีหนทาง หรือไม่
ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อใคร
ผู้ฟัง เพื่อตัวเรา
ท่านอาจารย์ เพื่อผู้ฟังเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นถ้าได้ยินได้ฟัง และพิจารณาต่อไปก็จะเข้าใจถูกต้องขึ้น
ผู้ฟัง พอเรากล่าวว่า ธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ ถูกไหม สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ถูกไหม อะไรก็ตามที่มีจริงๆ มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง เป็นธรรมแต่ละชนิด เพราะเหตุว่ามีลักษณะจริงๆ ไม่มีใครไปทำขึ้น
ผู้ฟัง แต่พอพูดถึงธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็จะนึกถึงโต๊ะเก้าอี้ ในโลกของบัญญัติ จริงๆ ถ้าในโลกของปรมัตถ์ มี ๒ อย่างเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ นั่นเราคิดเอง ใช่หรือ เพราะฉะนั้นแม้เพียงได้ยินคำว่า “ธรรม” หมายความถึงสิ่งที่มีจริง ก็ต้องฟังต่อไปว่า สิ่งที่มีจริงนั้น มีอะไรบ้าง ไม่ใช่ชื่อ ไม่ต้องเรียกชื่อเลย สิ่งนั้นมีจริงๆ หรือไม่ นี่คือการฟัง เพื่อพิจารณาว่า เข้าใจแม้แต่คำว่า “ธรรม” ขึ้น หรือไม่ ไม่ใช่ไปคิดเรื่องโต๊ะ เก้าอี้ ธรรมคือสิ่งที่มีจริง แม้ไม่เรียกชื่อ ธรรมนั้นก็มี
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้มีธรรม หรือไม่ เพื่อจะได้รู้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม หมายความว่าอย่างไร ต้องมีลักษณะจริงๆ ของธรรมนั้นด้วย ไม่ใช่ให้เรียกชื่อ แต่มีลักษณะจริงๆ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ ขณะนี้มีธรรมไหม มี อะไรบ้าง
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ แน่ใจนะ ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง แน่ใจ
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรจึงกล่าวว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง เพราะเป็นสิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เพราะกำลังปรากฏให้เห็น จะกล่าวว่าไม่มีไม่ได้
ผู้ฟัง แล้วสิ่งที่ปรากฏจริงๆ หมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ ต้องมีลักษณะเฉพาะ สิ่งที่ปรากฏทางตา ปรากฏทางอื่นไม่ได้ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทบกับรูป ทั่วทั้งตัวก็มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง แต่ก็มีรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา นี่คือความน่าอัศจรรย์ของกรรม กรรมทำให้มีรูปพิเศษ ที่สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเราผ่านพวกฝาผนัง ไม่มีอะไรปรากฏที่ฝาผนัง แต่ถ้าเป็นกระจก ก็มีเงา มีสิ่งที่ปรากฏได้ฉันใด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า นอกจากจะมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังมีรูปที่สามารถกระทบเฉพาะ เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ต้องสามารถกระทบส่วนหนึ่งของกาย ส่วนที่สามารถกระทบกับส่วนหนึ่งของกาย ส่วนนั้น กระทบกับสิ่งที่ปรากฏ เป็นจักขุปสาทรูป มีจริงๆ เป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ จักขุปสาทรูปเป็นธรรม เพราะอะไร ขณะนี้มี ใช่ไหม ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูป สิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนี้ปรากฏได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีสิ่งที่มีจริง แม้มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นจักขุปสาทรูปเป็นเรา หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่ เป็นจักขุปสาทรูป
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม เริ่มเข้าใจความหมายของธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริง แล้วก็มีลักษณะเฉพาะ ของสิ่งนั้นด้วยแต่ละลักษณะ เป็นธรรมแต่ละอย่าง ธรรมมีอย่างเดียว หรือไม่
ผู้ฟัง ธรรมมี ๒ อย่าง สิ่งที่รู้กับสิ่งที่ไม่รู้
ท่านอาจารย์ สภาพที่สามารถจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสภาพธรรมที่ต่างกับสภาพที่ไม่รู้ แม้มีจริง สภาพนั้น ก็ ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย กำลังฟังธรรม ต้องรู้ว่าฟังอะไร สิ่งที่มีจริงแต่ละอย่าง ให้เข้าใจความเป็นจริงว่าเป็นธรรม เพื่อละการยึดถือว่าเป็นเรา หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ผู้ฟัง อย่างที่มาอบรม มาฟังกันก็เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ขอต่อเรื่องปัญญา
ท่านอาจารย์ ปัญญาก็เป็นความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูก ในลักษณะของ สิ่งที่มี ที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ในการตั้งต้นศึกษา ดูเหมือนว่าอภิธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นพื้นฐานให้เข้าใจ ท่านอาจารย์ก็จะตั้งต้นว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง และในชีวิตประจำวันทุกอย่างก็เป็นธรรม และไม่มีเรา ซึ่งการกล่าวง่ายมาก แต่การฟังให้เข้าใจตรงนี้ ถ้าสังเกตจากคำถามของพิธีกร หรือท่านอาจารย์ถามกลับ ไม่ใช่ง่ายที่ฟังแล้วจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ที่ท่านอาจารย์กล่าว
ท่านอาจารย์ ก็ต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการที่จะอบรมให้มีปัญญา ก็อย่างที่มาฟัง ถ้ายังไม่เข้าใจพื้นฐาน ก็สะสมความเข้าใจไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นผู้ตรง คือ มีสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็ฟังเพื่อให้มีความเห็นถูก เข้าใจถูก ตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏ จะต้องการอะไรอีก หรือไม่ หรือว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ ฟังเพื่อเข้าใจถูกตามความเป็นจริง ของสิ่งที่ปรากฏ ความเห็นถูกคือปัญญา
ผู้ฟัง แต่เวลาฟังจริงๆ ก็จะเป็นเรื่องราวของสภาพธรรม มากกว่าเข้าใจตัวสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องราวของสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะเข้าใจตามที่จะเข้าใจจากเรื่องราว
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในการเริ่มต้นอบรมเจริญปัญญา ก็เข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมที่พระพุทธองค์แสดง
ท่านอาจารย์ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงตรัสรู้ จะแสดงเรื่องราวความเป็นจริงของธรรมที่มีจริงๆ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่เมื่อสิ่งนี้มีจริง และเมื่อตรัสรู้ความจริง ก็แสดงความจริงให้คนอื่นได้สามารถพิจารณา เข้าใจได้ด้วย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในการเริ่มต้น ขั้นฟังก็คือฟัง สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงเรื่องราวลักษณะ ของสภาพธรรมแต่ละลักษณะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะเข้าใจถูกในสภาพธรรมนั้น
ผู้ฟัง ก็คือสะสมการฟัง
ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจผิด ฟังแล้วเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น
ผู้ฟัง กิเลสทำให้อกุศลจิตเกิด เมื่อก่อนฟังธรรมยังมีความไม่เข้าใจ เข้าใจว่า ผู้อื่นทำให้กิเลสของเราเกิด
ท่านอาจารย์ แล้วเดี๋ยวนี้เข้าใจแล้วใช่ไหม และถ้าเราไม่มีกิเลสเลย ใครจะทำให้กิเลสเกิดได้
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ก็ยังคิดอยู่อย่างนั้นว่า คนอื่น ทำให้กิเลสเราเกิด ถึงแม้ว่ากิเลสเรามี ถ้าจะกล่าวก็คือปัจจัยที่ทำให้กิเลสเกิดเหมือนกับว่าผู้อื่น ทำให้กิเลสเราเกิด ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ วันนี้ดอกไม้บูชาพระบรมสารีริกธาตุสวยไหม
ผู้ฟัง ก็ต้องตอบว่าสวย แต่จริงๆ ไม่ได้รู้สึกว่าสวยมากจริงๆ
ท่านอาจารย์ แต่ก็สวย ดอกไม้ทำให้คุณสุกัญญาเกิดกิเลส หรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าไม่ได้เห็นดอกไม้สวย ก็ไม่ได้เกิดกิเลส
ท่านอาจารย์ หมายความว่ากิเลสในใจมีพร้อมที่จะเกิด หรือไม่
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรถึงได้เกิดขึ้น ไม่ว่าอะไรจะปรากฏให้เห็น หรือให้ได้ยิน เพราะยังมีกิเลส พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เห็นดอกไม้ มีกิเลสหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าดับหมดแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่กิเลสเกิด เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่ายังมีกิเลสอยู่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งอื่นมาทำให้กิเลสเกิด
ผู้ฟัง แต่พระอรหันต์ก็เห็นดอกไม้สวยเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ แล้วมีกิเลสไหม
ผู้ฟัง ต้องไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ท่านอาจารย์ เพราะไม่มีกิเลสแล้ว เพราะฉะนั้นคนที่ยังมีกิเลส จะไม่ให้มีกิเลสได้ไหม เมื่อเห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อลิ้มรส เมื่อคิดนึก
ผู้ฟัง ที่กล่าวว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม”
ท่านอาจารย์ กิเลสเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นธรรม แต่จะกราบเรียนถามถึงขณะที่คิดว่า ผู้อื่นทำให้เรามีกิเลส
ท่านอาจารย์ คิดเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เวลาคิดสบายใจไหม
ผู้ฟัง ถ้าคิดแบบนั้นก็ไม่สบายใจ
ท่านอาจารย์ แล้วสบายใจเป็นธรรม หรือไม่ ไม่สบายใจเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง ทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมด
ท่านอาจารย์ พูดแล้วไม่เปลี่ยน
ผู้ฟัง อยากจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นอีกสักนิดหนึ่ง คือเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ตรงนี้ก็เข้าใจ แต่ว่า
ท่านอาจารย์ เข้าใจคำ แต่ไม่ได้เข้าใจลักษณะที่เป็นธรรม
ผู้ฟัง แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า ผู้อื่นทำให้กิเลสเราเกิด
ท่านอาจารย์ คิดอย่างนั้นถูก หรือผิด
ผู้ฟัง จริงๆ ต้องตอบว่าผิดใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีกิเลส ใครจะมาทำให้กิเลสเกิดได้
ผู้ฟัง แล้วเราทำไมโกรธคนอื่นล่ะ
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาโกรธ หรือโกรธเป็นกิเลส เป็นธรรม
ผู้ฟัง ใช่ เป็นกิเลส เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วไม่ใช่คุณสุกัญญา
ผู้ฟัง คือถ้าคิดว่าโกรธไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ถูก หรือไม่ ไม่ใช่คิดเท่านั้น เข้าใจถูก หรือไม่ ความจริงเป็นอย่างนั้น หรือไม่ นี่คือการศึกษาให้เข้าใจ ไม่ใช่เพียงแต่จำ แต่ต้องเข้าใจจริงๆ โดยเฉพาะเมื่อสภาพธรรมนั้นปรากฏเกิดขึ้น ก็จะได้รู้ความจริงว่า เป็นธรรม หรือไม่ มีลักษณะจริงๆ อย่างนั้น หรือ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือไม่ บังคับบัญชาไม่ได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าในชีวิตประจำวันเราคิดว่า คนอื่นทำให้เราโกรธ ก็เป็นความคิดที่ผิด
ท่านอาจารย์ ถูกไหม ผู้อื่นจะมาทำได้ไหม
ผู้ฟัง ทำไมเราเชื่อว่า เขาทำให้เราโกรธได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นความคิดที่ถูก หรือผิด
ผู้ฟัง จริงๆ ต้องตอบว่าผิด แต่ยังไม่หายข้องใจว่า มันผิดอย่างไร
ท่านอาจารย์ พูดอย่างไร ก็ต้องเข้าใจอย่างที่พูด ผิดคือผิด
ผู้ฟัง อย่างนั้นเราจะไปบังคับให้คนอื่นเป็นอย่างที่เราต้องการไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วบังคับตัวเอง ได้หรือไม่ ยังไม่ต้องไปคิดบังคับคนอื่น
ผู้ฟัง ได้มีโอกาสได้สนทนากับท่านอาจารย์ ก็รู้สึกว่า ในชีวิตประจำวันมีแต่ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตลอด
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่คุณสุกัญญา ทุกอย่างเป็นธรรม
ผู้ฟัง แต่ไม่ใช่ขั้นฟัง หรือขั้นเข้าใจใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เวลาฟัง เข้าใจด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง เข้าใจจริงๆ ขณะฟัง แต่ในชีวิตประจำวันจริงๆ มีสภาพธรรมเกิดขึ้น จะเป็นเรา แล้วจะเป็นคนอื่น ไม่ใช่ลักษณะนั้นปรากฏแล้วเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจนั้นเพียงขั้นฟัง ยังไม่ได้รู้จริงๆ ว่า เป็นธรรม
ผู้ฟัง ถ้ารู้จริงๆ ต้องต่างจากนี้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เป็นอย่างนี้ คือว่าถ้ายังไม่รู้แล้วจะไปทำให้รู้ ได้หรือ กำลังฟัง เข้าใจแค่นี้ จะให้ไปเข้าใจเหมือนท่านที่รู้แจ่มแจ้ง ได้ไหม ถึงอย่างไรๆ ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะแม้แต่ความรู้ก็ต้องเป็นความจริง รู้แค่ไหนก็คือแค่นั้น เปลี่ยนจากแค่นั้นให้เป็นแค่อื่น ที่มากกว่านั้นก็ไม่ได้ จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น เมื่อเจริญขึ้นคือเข้าใจขึ้น จะกลับถอยหลังมาไม่รู้ก็ไม่ได้ เพราะว่าเข้าใจแล้ว
อ.กุลวิไล เมื่อตอนต้นชั่วโมงที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า ปัญญาคือความเห็นถูกในสภาพธรรมที่เป็นจริง อย่างที่เราไม่เข้าใจถูก ในความเป็นธรรมแต่ละอย่าง เป็นเหตุให้อกุศลธรรม กลุ้มรุมในชีวิตประจำวัน แม้แต่โกรธผู้อื่น ถ้าเราไม่รู้ว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี แต่ทั้งหมดเป็นธรรม แล้วไม่รู้จักลักษณะของธรรม ก็จะยึดถือธรรมว่าเป็นคน แล้วไม่พอใจในบุคคลนั้น
ท่านอาจารย์ แล้วก็เป็นเราด้วยที่กำลังโกรธ
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์จะช่วยขยายความ มนสิการทำไมจึงเป็นแดนเกิดแห่งธรรมทั้งปวง
ท่านอาจารย์ เรื่องของสภาพธรรม คือเป็นสิ่งที่มีจริง แม้แต่ “มนสิการ” คำเดียว ก็ยังมี ๓ จะให้เป็นแต่เจตสิกอย่างเดียว อย่างที่เราเคยคิดได้ไหม ไม่ได้ นี่คือการศึกษาที่จะต้องคล้อยตามพยัญชนะ และอรรถในภาษาบาลีด้วย
เวลาที่เกิดปฏิสนธิจิต มี มนสิการเจตสิกไหม มี เป็นแดนเกิด หรือไม่ หรือว่ามีอะไรเป็นสมุทัย เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ก็จะมีความหมายเฉพาะ อย่างมนสิการ ที่เกิดกับปฏิสนธิจิต เป็นอารัมมณปฏิปาทกมนสิการ หมายความว่า การใส่ใจเป็นบาทเฉพาะให้จิตรู้อารมณ์นั้น คือ เจตสิกแต่ละเจตสิกก็มีสภาพธรรมที่ ทำหน้าที่ของตน
สำหรับมนสิการ ถ้าจะเป็นภาษาง่ายๆ ก็คือการใส่ใจ แต่เวลาที่ใช้คำว่า อารัมมณปฏิปาทกะ ก็ต่างกับวิถีปฏิปาทกะ หรือชวนปฏิปาทกะ
เพราะฉะนั้นอารัมมณปฏิปาทกมนสิการ การใส่ใจที่เป็นบาทเฉพาะ ให้จิตรู้อารมณ์ ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิด อารมณ์ไม่ปรากฏ แต่ก็มีเจตสิกนี้ เกิดแล้วด้วยกับจิตทุกประเภท ทำหน้าที่นั้น โดยที่อารมณ์ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่า ยังไม่ใช่แดนเกิดก็ได้ เพราะเหตุว่าอารมณ์ไม่ได้ปรากฏ รู้ไหม ขณะที่หลับสนิท เวลาที่ปฏิสนธิจิตดับ จิตขณะต่อไปต้องเป็นภวังคจิตประเภทเดียวกัน เกิดจากกรรมเดียวกัน แต่ไม่ได้ทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน แต่ทำภวังคกิจ คือ ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น ขณะใดก็ตามที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก จิตนี้ต้องเกิดเพื่อดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ จนกว่า จะถึงจิตขณะสุดท้าย ของชาตินี้ ซึ่งไม่ดำรงความเป็นบุคคลนี้ต่อไปอีกได้ เพราะเหตุว่าจิตขณะสุดท้าย แม้ว่าเป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิ และภวังค์ แต่ก็ทำกิจต่างกัน คือทำกิจเคลื่อนพ้นจากความเป็นบุคคลนี้
ทุกขณะจิตมีมนสิการเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะใดก็ตามที่ไม่ใช่วิถีจิต ขณะนั้นก็เป็นอารัมมณปฏิปาทกมนสิการ
อย่างนี้ไม่สงสัย ใช่ไหม เป็นเรา หรือไม่ หรือว่า เป็นธรรมที่เป็นอย่างนั้น แต่ว่าเวลานี้ไม่ใช่ขณะนั้นเลย ขณะนี้มีเห็น ไม่ใช่ภวังคจิต แต่ก่อนที่จิตเห็นจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีรูป ที่สามารถกระทบกับจักขุปสาท และจิตเห็นเกิดขึ้น มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ แต่วิถีจิตแรกไม่เห็น เพียงแต่มีสิ่งที่ปรากฏ ที่กระทบกับจักขุปสาทเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรกทางปัญจทวาร จึงชื่อว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต หมายความถึงจิตที่รำพึง คือนึกถึง หรือรู้อารมณ์ที่กระทบแต่ละทวาร ทวารหนึ่งทวารใด มีมนสิการเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม มี แต่เพราะเหตุว่าจิตนี้เป็น วิถีปฏิปาทกมนสิการ เป็นสภาพที่กระทำให้อารมณ์ขณะนั้นปรากฏกับจิตนั้น เป็นปัจจัยให้วิถีจิตขณะต่อไปเกิดขึ้น
การใส่ใจในอารมณ์ ที่เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต ขณะนั้นเป็นมนสิการเจตสิก แต่สำหรับตัวจิต เพราะเหตุว่ามีการใส่ใจในอารมณ์ที่กระทบ เพราะเหตุว่าปัญจทวาราวัชชนจิต ก็มีมนสิการเจตสิก ซึ่งใส่ใจในอารมณ์ที่กระทบ โดยที่ยังไม่เห็น แต่เมื่อ
ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ วิถีจิตแรกที่ใส่ใจในอารมณ์ที่กระทบแม้ไม่เห็น เกิดก่อน แล้วก็ดับไป เป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการ ถ้าจิตนี้ไม่เกิด จิตอื่นที่เป็นวิถีทั้งหมด เกิดไม่ได้เลย ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยเหตุนี้ ปัญจทวาราวัชชนจิตจึงเป็น วิถีปฏิปาทกมนสิการ เป็นจิต ที่หมายถึงเป็นวิถีจิตแรก
ตอนนี้ก็ไม่สงสัยแล้วใช่ไหม ในชื่อของมนสิการ ซึ่งได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิตแรก เกิดขึ้นทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทวาร ถ้าไม่มีจิตนี้เป็นบาท เป็นเบื้องต้นของวิถีจิต วิถีจิตอื่นๆ เกิดไม่ได้เลย
ขณะนี้ปัญจทวาราวัชชนจิตดับ จักขุวิญญาณมีมนสิการไหม จิตทุกขณะมีมนสิการ เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนะที่เป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการ เป็นแดนเกิดของจิต ที่จะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ เริ่มที่จะจำ สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วเวลาที่วิถีจิตทางปัญจทวาร ทวารหนึ่ง ทวารใดดับไป แม้ว่ามีภวังคจิตคั่น แต่จากการเห็นนั้นเอง เป็นปัจจัยให้มโนทวาราวัชชนจิต รู้อารมณ์เดียวกับทางปัญจทวาร เป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ เพราะว่า ถ้ามโนทวาราวัชชนจิตดับแล้ว ชวนจิตต้องเกิด ซึ่งจะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ หรือเป็นกิริยาจิตก็ได้ ถ้าไม่กล่าวถึงโลกุตตรจิต
นี่เป็นสิ่งที่ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะไปรู้ทั้งหมดได้ทีเดียว
ทางปัญจทวาร ทวารหนึ่งทวารใดก็มีชวนจิตด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเห็นดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะเกิดแล้วดับไป สันตีรณะเกิดแล้วดับไป โวฏฐัพพนจิตก็คือมโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งไม่ได้ทำอาวัชชนกิจ แต่ทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร หลังจากดับไปแล้ว กุศล หรืออกุศลเกิดต่อ
ด้วยเหตุนี้มโนทวาราวัชชนจิตไม่ว่าจะเกิดทางทวารไหน ทำกิจอะไร ก็เป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ
เริ่มที่จะจำ เริ่มที่จะคิด เริ่มเป็นแดนเกิดของเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง เรื่องราวต่างๆ แม้แต่การใส่ใจในอารมณ์ จนกระทั่งมีความวิจิตรต่อมาจากขณะแรกๆ จนถึงแต่ละภพ แต่ละชาติ ก็ทำให้เป็นไปตามการสะสม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480