พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
ตอนที่ ๔๗๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแม้ว่า จะหวัง หรือต้องการ สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม แต่เมื่อไม่รู้เหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ชีวิตจึงมีทั้งสุขบ้าง ทุกข์บ้าง โดยไม่รู้เลยว่า ไม่มีใครสามารถบันดาลได้ทั้งสิ้น ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ให้ทราบว่า นี่คือชีวิต และความรู้คือความรู้ ความไม่รู้ก็คือความไม่รู้ และใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ละชีวิต หลังจากปฏิสนธิแล้ว คือ ปวัตติ เมื่อปฏิสนธิขณะดับไป ต้องเป็นไป ไม่มีใครหยุดยั้งสภาพธรรมซึ่ง จิตเป็นธาตุที่น่าอัศจรรย์ เป็นธาตุที่เป็นนามธรรม อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ทำหน้าที่ แล้วก็ดับไป แต่หน้าที่หนึ่งแน่นอน คือ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าขณะไหนทั้งสิ้น ก็เป็นลักษณะของจิต และจิตทุกประเภท ทุกขณะ เป็นอนันตรปัจจัย หมายความว่าทันทีที่จิตนั้นดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ตราบใดที่ จิตขณะนี้ยังไม่ปราศไป ยังไม่หมดสิ้นไป จิตขณะต่อไป เกิดไม่ได้เลย
ด้วยเหตุนี้จึงทรงแสดงปัจจัยของสภาพธรรม แม้แต่จิต ๑ ขณะนี้ ก็เป็นปัจจัยหลายอย่าง จิตที่ไม่เป็นปัจจัยให้ จิตขณะต่อไปเกิด ก็คือ จุติจิตของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นยังจะต้องอยู่ต่อไปในสังสารวัฏฏ์ ก็แล้วแต่อวิชชา และปัญญา
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อครู่นี้ แสดงว่าเวลาเราอยู่ในครรภ์ เป็นภวังค์ตลอดเลย หรือไม่มีใครทราบ และมโนทวารวิถีที่เกิดวิถีแรก ตอนใกล้จะคลอด หรือไม่
ท่านอาจารย์ เราก็จะมีแต่เรื่องราวของเรา ตอนนั้นเป็นเรา อยู่ที่ไหน ตอนนี้มีตา หรือยัง มีหู หรือยัง เห็น หรือยัง ได้ยิน หรือยัง ก็เราทั้งนั้นเลย แต่นี่กล่าวถึงจิตตามลำดับ ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าภพไหนภูมิไหน
เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถมีใครไปกำหนดรู้ได้ ระหว่างที่จิตกำลังเกิดดับ เป็นภวังค์ ใครจะไปรู้ว่า เมื่อไรเกิดคิดทางมโนทวาร มีจำกัดไหมว่า ต้องขณะนั้นกี่นาที ๑๐ นาที เดือนหนึ่ง ๒๐ เดือน หรืออะไรอย่างนั้น
ผู้ฟัง ที่ว่า “อัศจรรย์” ก่อนเห็น เมื่อยังไม่ได้เห็น เมื่อเห็นเกิดขึ้น ก็อัศจรรย์ ก่อนได้ยิน เมื่อได้ยินเกิดขึ้นก็อัศจรรย์ ซึ่งถ้าเราไม่ศึกษาเลยก็ธรรมดา เห็น แต่เมื่อศึกษาแล้วก็จะทราบว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้เห็นก็มีมากมาย และไม่มีใครสามารถทำได้ เรียนท่านอาจารย์ช่วยขยายความที่ว่า “อัศจรรย์”
ท่านอาจารย์ อัศจรรย์เพราะไม่มีใครสามารถที่ทำให้ ธาตุชนิดหนึ่ง ชนิดใดเกิดขึ้นเป็นไปได้เลย แต่ ธาตุเหล่านั้นก็เป็นอย่างนั้นตามเหตุปัจจัย อย่างธาตุรู้ ใครจะคิดว่ามี ลองคิดดู น่าจะมีไหม เกิดขึ้นแล้วก็เห็น เกิดขึ้นแล้วก็คิด เกิดขึ้นแล้วก็รู้ เกิดขึ้นแล้วก็จำ เป็นธรรม เป็นธรรมดาของธาตุนั้นๆ ไม่มีใครสามารถจะทำอะไรได้เลย หรือรูปธาตุก็เช่นเดียวกัน แข็งเกิดเป็นแข็ง หวานเกิดแล้วเป็นหวาน เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใครทำให้เป็นอย่างนั้น นักคิดก็อาจจะคิดว่า เพราะธาตุเหล่านั้น ไปผสมกับธาตุเหล่านี้ ปลูกไปแล้วก็ทำอย่างนั้นไป รสชาติก็เปลี่ยนไป นั่นคือคิด แต่ที่เกิดขึ้นมาได้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่คิดใช่หรือไม่ แต่ต้องมีเหตุมีปัจจัย แม้แต่ขณะนี้ที่เห็น เป็นจิต ก็น่าอัศจรรย์ จิตนี้เกิดเห็น ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ให้ไปทำอย่างอื่นได้ไหม แล้วต้องอาศัยจักขุปสาท เป็นรูป อย่างธาตุแข็ง ไม่ใช่จักขุปสาท ไม่สามารถให้มีอะไรปรากฏเหมือนอย่างที่ กำลังปรากฏทางตาขณะนี้ได้ แม้แต่เพียงชีวิตประจำวัน ประตูหน้าต่างที่ไม่ใช่กระจก กับกระจกก็ต่างกันแล้ว แข็งเหมือนกัน แต่อย่างหนึ่งสามารถทำให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏได้ เดินผ่านกระจกมีอะไรปรากฏแล้วใช่หรือไม่ แต่เดินผ่านประตูไม้ มีอะไรปรากฏ หรือไม่ ก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า แม้ชีวิตประจำวันแต่ละขณะก็เป็นตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ซึ่งมีอากาศธาตุแทรกคั่น อย่างละเอียดยิบ มหาภูตรูป ๔ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่เปลี่ยนลักษณะ ธาตุดินแข็ง ธาตุน้ำเกาะกุม ธาตุไฟก็ร้อนอบอุ่น ธาตุลมก็ตึงไหว นั่นก็เป็นลักษณะของธาตุซึ่งเกิดขึ้น เป็นอย่างนั้น แต่ก็ยังมีจักขุปสาทรูป เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ต้นไม้ไม่มีจักขุปสาทรูปแน่ ไม่ใช่มีกรรมทำให้เกิดขึ้นเป็นต้นไม้ แต่สิ่งที่มีชีวิต ซึ่งเป็นจิต เจตสิก ก็จะมีความละเอียดซึ่งเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งมากมาย แล้วก็เกิดดับ เร็วจนกระทั่งว่า รู้ไหมว่า ไม่มีอะไรเหลือ ในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แม้รูปซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะ ก็เกิดดับสืบต่อกัน หมดไป หมดไปอยู่เรื่อยๆ แต่เพราะเหตุว่า ที่เกิดดับมากสืบต่อกัน ก็ปรากฏเป็นนิมิต รูปร่างสัณฐาน ที่ทำให้จำว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เหมือนยังมี ตัวจริงของธาตุ ซึ่งมีสีสันวัณณะรวมอยู่ด้วย ตัวรูปนั้นมีอายุแค่ ๑๗ ขณะ เกิดแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นความไม่รู้ความจริงทุกชาติที่เกิดมา มากมายสักแค่ไหน แม้แต่จะรู้ว่า ขณะนี้ ก็อยู่ในโลกของความจำเรื่องราวต่างๆ ทั้งๆ ที่ศึกษาเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป แต่ตราบใดที่ ยังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ ก็จะปรากฏเพียงนิมิตของสภาพธรรมนั้นๆ เท่านั้น
เพราะฉะนั้นต้องศึกษาให้เข้าใจ ไม่ใช่ให้ไปรู้ อย่างพอพูดถึงวิตกเจตสิก แล้วเป็นอย่างไร จะไปรู้วิตกเจตสิก ไม่ใช่อย่างนั้น ให้เข้าใจให้ถูกต้อง แล้วตัวปัญญาก็คือสภาพที่เห็นถูกยิ่งขึ้น
ผู้ฟัง การที่จะเข้าใจความอัศจรรย์ของลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏ ซึ่งถ้าไม่ศึกษาก็ไม่มีทาง ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้ความจริง และสอนให้สัตว์โลกรู้ตาม ก็ไม่มีทางรู้ได้เลย ตรงนี้การเริ่มต้นศึกษาให้เข้าใจตรงนี้ ดูเหมือนขั้นที่เป็นชื่อ และเรื่องราวของลักษณะของสภาพธรรม จริงๆ แล้วก็แล้วแต่การสะสมว่า ผู้ฟังจะเข้าใจขั้นต่างๆ แค่ไหน ตรงนี้ถ้าสะสมมาเข้าใจยาก ท่านอาจารย์ก็บอกว่า อย่างเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จริงๆ แล้วก็จะมีลักษณะของเห็น กับมีลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ดูเหมือนผู้ฟัง ที่สะสมมาที่จะเข้าใจแค่เป็นชื่อกับเรื่องราว ก็ยังไม่สามารถเข้าใจลักษณะ ถึงแม้จะปรากฏต่อหน้า
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมต้องเข้าใจว่า ธรรมคืออะไร แล้วต้องเข้าใจว่า ศึกษาให้เข้าใจทุกอย่าง ที่เป็นธรรมที่กำลังปรากฏ เริ่มเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม แม้แต่เห็นคน เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ ธรรมที่ปรากฏทางตา คือสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท ถูก หรือผิด ค่อยๆ สะสมความเห็นถูกทีละเล็กทีละน้อย จนคลายได้ เมื่อมีความมั่นคงว่า เป็นเพียงสิ่งที่เพียงปรากฏ
เพราะฉะนั้นจะรู้ลักษณะของสติ ขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจ ลักษณะที่ปรากฏถูกต้อง จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นไม่ติดข้องเพราะว่ามีสภาพธรรมอื่นปรากฏ แล้วก็สามารถรู้ว่า ต่างกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
ในขณะนี้ไม่ได้มีเพียงสิ่งที่ ปรากฏทางตา คิดนึกก็มี แต่ไม่เคยรู้ เหมือนสิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏตลอด แต่ถ้าสามารถที่จะละด้วยความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า สิ่งนี้ก็เพียงปรากฏให้เห็นเท่านั้น แล้วก็มีสิ่งอื่นปรากฏต่อแล้ว สติก็สามารถเริ่มเข้าใจสภาพธรรมอื่น ซึ่งต่างจากสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมทีละลักษณะ จนกว่าจะเพิ่มความเข้าใจว่า เป็นธรรม แต่ละลักษณะ แล้วก็คลายการยึดถือ สภาพธรรมว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง เป็นการอบรม ฟังมาแล้วนานเท่าไรก็ไม่ทราบ เข้าใจเมื่อไร นั่นคือได้อบรมการฟัง การไตร่ตรอง การเข้าใจ จนกว่าเมื่อเข้าใจเมื่อไร เมื่อนั้นก็รู้ว่า เพราะได้เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยนี่เอง
ผู้ฟัง จากที่ฟังจากเอ็มพี ๓ จะกล่าวถึง ปุถุชนผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ แม้เป็นปุถุชนผู้ได้สดับ ก็ยังต้องอาศัยการสะสมที่มีขันติ มีวิริยะที่จะเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก่อนนี้เข้าใจคำแปลของปุถุชน แต่ขณะที่เข้าใจอย่างนี้ ซึ้ง ถึงความเป็นปุถุชนหรือไม่ เพียงแปลได้ว่า ปุถุชนคือผู้ที่หนาด้วยกิเลส นั่นคือแปลคำ แต่เวลาที่รู้ว่า ไม่รู้อะไรบ้างทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เข้าใจลึกซึ้งหรือไม่ ถึงความเป็นปุถุชน ถ้าเห็นจริงๆ ว่า มากแค่ไหน ก็คือเข้าใจถูก ไม่ใช่เพียงแปลแล้วจำว่า ปุถุ หมายความว่าอะไร แต่ขณะที่กำลังไม่เข้าใจ ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นก็คือปุถุชนแน่นอน
ยังสงสัยในคำนี้ไหม
ผู้ฟัง ฟังแล้วก็จะชัดมากว่า สภาพธรรมสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นอาจารย์กุลวิไล เห็นเป็นท่านอาจารย์ ก็จะรู้ว่า ทุกครั้งที่เห็น หลังเห็น ก็เป็นอวิชชา ไม่สามารถรู้ตรงลักษณะ ของสภาพธรรมที่เป็นจริงๆ เหมือนกับข้ามปรมัตถธรรม แล้วไปรู้เรื่องราวที่นึกคิด ก็จะรู้ว่า เพราะเป็นปุถุชนที่หนาด้วยอวิชชา และหนาด้วยโลภะที่ติดข้อง ในสภาพธรรมที่ต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยิ่งฟังก็จะรู้ว่า หนาด้วยกิเลส เมื่อมาฟังที่นี่ก็จะรู้ว่า หนทางเดียวที่จะพ้นจากความเป็นปุถุชน หรือมีปัญญาที่จะอบรมให้รู้ความจริงได้ ก็คือฟังให้เข้าใจจนจรดเยื่อในกระดูก ปัญญาขั้นสัจญาณเกิด เป็นเหตุปัจจัยให้ สติสามารถระลึกรู้สภาพธรรมตามที่ ฟังเข้าใจนั้น ยิ่งทราบว่า หลังเห็น หลังได้ยิน ถ้ากุศลไม่เกิด ก็จะไม่รู้ และติดข้องพอใจ ไม่พอใจ ดูเหมือนนอกจากยังไม่ได้สะสมปัญญาแล้ว ก็ยังจะสะสมกิเลสมากขึ้น ซึ่งยาก กว่าจะเข้าใจความจริงได้
ท่านอาจารย์ ก็เห็นคุณประโยชน์ของความเข้าใจว่า จากที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจเลย ก็เริ่มเข้าใจคำที่ใช้ในพระไตรปิฎกด้วย ปุถุชน และกัลยาณปุถุชน ก็ยังดีกว่าอันธปุถุชน ซึ่งมืดบอด ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นที่ท่านอาจารย์บอกว่า สะสมบุญมาที่จะได้ฟังคำสอน เหมือนกับการตั้งต้นเริ่มเข้าใจความจริง ซึ่งถ้าไม่ฟัง ก็ไม่มีทางเข้าใจเลย
ท่านอาจารย์ ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง เป็นโอวาทปาติโมกข์
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์บอกว่า ชวนะแรกเป็นโลภะ เป็นความพอใจ
ท่านอาจารย์ ทางมโนทวาร
ผู้ฟัง แม้กระทั่งสัตว์นรก หรือ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ยังไม่รู้ว่าเกิดในนรกก็ได้ เพียงปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น สภาพธรรมเกิดดับเร็วมากเลย มีความพอใจที่ยังมีชีวิต หรือเป็นภาวะที่มีชีวิต
ผู้ฟัง แล้วอกุศลปกติก็มีมากกว่ากุศล สงสัยว่าทำไมเวลาเป็นวิบากถึงไม่มีอกุศลอยู่ในวิบากเลย แม้กระทั่งจิตที่เป็นวิบากของสัตว์นรก
ท่านอาจารย์ วิบากจิตเป็นผลของกรรม ถ้าเป็นอกุศลวิบาก ชื่อบอกแล้วว่า อกุศลวิบาก ไม่ใช่อกุศลจิต เป็นผลของอกุศลจิต ตัวเหตุคืออกุศลจิต ตัวผลคืออกุศลวิบาก
ผู้ฟัง แต่ในจิตที่เป็นวิบาก ในอกุศลนั้นๆ เจตสิกที่เป็นอกุศลไม่มีประกอบเลย
ท่านอาจารย์ ไม่มีเลย เพราะเหตุว่าอกุศลเจตสิก ๑๔ ประเภทเกิดเมื่อไรเป็นอกุศลเมื่อนั้น เป็นอื่นไม่ได้เลย เป็นเหตุที่ทำให้เกิดผล ซึ่งได้แก่อกุศลวิบาก ๗ ประเภท เท่านั้นเอง แค่นั้นเอง แค่ ๗
ผู้ฟัง แล้วทำไม เจตสิกที่ดีงามประกอบอยู่ในวิบากได้ แต่เจตสิกที่ไม่ดีถึงประกอบอยู่ในวิบากไม่ได้
ท่านอาจารย์ เวลาที่อกุศลกรรมให้ผล ทำให้อกุศลวิบากเกิด จะมีปัญญาเกิดกับอกุศลวิบากไหม ไม่มี เพราะเป็นผลของอกุศล
ผู้ฟัง แต่ทำไมตอนที่เป็นภวังค์ ซึ่งเป็นวิบากเหมือนกัน ถึงมีเจตสิกที่ดีงามอยู่ในนั้นได้
ท่านอาจารย์ แล้วแต่เกิดที่ไหน แต่เกิดในนรก ไม่ใช่ผลของกุศลวิบาก ก็เป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑ ใน ๗ ของอกุศลวิบาก อกุศลวิบากมีเพียง ๗ เท่านั้น และอกุศลวิบากที่ ทำปฏิสนธิกิจคือ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่าถ้าโลภะเกิดเมื่อไร จิตเป็นอกุศล เป็นเหตุ ไม่ใช่เป็นผล
ผู้ฟัง แต่ที่เป็นอโลภะ อโทสะ อโมหะซึ่งเป็นเหตุ ก็อยู่ในวิบากได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความต่างกันของภพภูมิของการเกิด เกิดเป็นมนุษย์ ฟังอะไรก็เข้าใจได้ ฟังธรรมก็รู้ อบรมเจริญปัญญาก็ได้ เพราะว่าพื้นของจิตที่ปฏิสนธิเป็นผลของกุศล ถ้าประกอบด้วยปัญญา ก็สามารถอบรม ปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจธรรมก็ได้ ต่างกับขณะที่เป็นผลของอกุศล
ที่จริงถามอย่างนี้น่าจะดีใจ ที่ไม่มีอกุศลไปเกิดกับอกุศลวิบาก ไม่อย่างนั้นจะยิ่งแย่ และน่าจะดีใจ เมื่อเป็นผลของกุศล ก็ยังคงมีปัญญาเกิดร่วมด้วยได้ มีศรัทธา มีหิริ มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้
ผู้ฟัง ที่สงสัยเหมือนกับว่า ในเมื่อภวังค์มีแต่สิ่งที่ดีงาม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สิ่งที่ดีงาม แล้วแต่ว่าภวังค์นั้นเป็นผลของกรรมอะไร ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม จะไม่มีโสภณเจตสิก หรืออกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้เลย มีแต่จิตที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และในบรรดาอกุศลวิบาก ๗ คือ จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ โสตวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ ฆานวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ ชิวหาวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ กายวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบาก ๑ สันตีรณอกุศลวิบาก ๑ อกุศลกรรมให้ผลเป็นอกุศลวิบาก ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเลย ๗ ประเภทเท่านั้น
ผู้ฟัง แต่ตอนนั้นเป็นขณะที่เราเห็น หมายถึงได้รับรู้ทาง ๖ ทวาร
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นไม่ใช่วิบากที่เป็นภวังค์
ผู้ฟัง ตรงนั้นเข้าใจ แต่ในกรณีที่เราเกิดเป็นมนุษย์ เราก็เกิดอยู่ในวิบากจิต ๘ ดวง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เราเกิดในวิบาก วิบากจิตเกิดเป็นผลของกุศล มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยทำให้ต่างกับขณะที่เป็นอกุศลวิบาก
ผู้ฟัง แต่เราก็ยังเป็นปุถุชน เลยสงสัยว่า ทำไมใน ๘ ดวงนั้นถึงไม่ประกอบด้วยอกุศลเจตสิกบ้างเลย
ท่านอาจารย์ อกุศลเจตสิกเป็นชาติเดียว เป็นอกุศลเหตุเท่านั้น เป็นอื่นไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ตรงนั้นคือเหตุ ๖ ใช่หรือไม่ แต่ไม่มีเหตุผลเบื้องหลังว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ อกุศลเกิดแล้ว จะเป็นผล ได้อย่างไร กำลังเป็นตัวเหตุแท้ๆ เพราะฉะนั้นฝ่ายกุศลวิบากจะต่างกับฝ่ายอกุศลวิบาก มากกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย แล้วแต่เหตุ กุศลเกิดยากหรือไม่
ผู้ฟัง กุศลเกิดยาก แต่ว่าอยู่ในวิบาก ๘ ดวง
ท่านอาจารย์ กุศลเกิดยาก เพราะฉะนั้นเวลาให้ผล ให้ผลสิ่งที่เกิดยากรวมอยู่ด้วย ทั้งหิริ ทั้งโอตตัปปะ ทั้งโสภณธรรมอื่นๆ
เพราะฉะนั้นสำหรับโสภณเจตสิก จะเป็นกุศลก็ได้ เป็นวิบากก็ได้ เป็นกิริยาก็ได้ แล้วแต่ว่า ถ้าเป็นกุศลก็เป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก ถ้าเป็นกุศลวิบาก ก็เป็นผลที่มาจากกุศลเหตุ ถ้าเป็นกิริยา ที่เป็นวิบากโสภณ ก็ไม่เป็นเหตุให้เกิดผล ที่เป็นวิบาก
นี่คือธรรม เข้าใจความเป็นจริงของธรรม เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อ.กุลวิไล ไม่ทราบท่านอาจารย์มีอะไรเพิ่มเติมสำหรับความอัศจรรย์ของจิตที่สามารถสะสมได้ทั้งธรรมฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดี
ท่านอาจารย์ ก็สะสมกันมา ต่างคนก็ต่างสะสม ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่า สะสมอะไรมาแค่ไหน แต่ก็มีเวลา หรือกาลซึ่งสภาพธรรมที่ได้สะสมมาแล้ว จะปรากฏ กำลังหลับสนิท ไม่ต่างกันเลย โจรผู้ร้าย พระอรหันต์ พระโสดาบัน เหมือนกันหมด คือ ไม่พูด ไม่คิดใดๆ ทั้งสิ้น แล้วสิ่งที่สะสมมาเมื่อไรจะเกิด เห็นไหม สะสมมาทำไม ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล ถ้าสะสมแล้วไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้มีอะไรเกิดขึ้น ก็คือว่างเปล่า แต่สิ่งที่สะสมมาจะเกิดได้ เมื่อวิถีจิตแรกเกิด ถ้าเป็นทางตา ต้องมีรูป อายุสั้นมาก ทั้งสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท และจักขุปสาทก็อายุสั้นมากด้วย เพียงอย่างรวดเร็วถึงกาลที่ กรรมให้ผล เป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นวิถี คือ ไม่ใช่ภวังค์อีกต่อไป ธรรมดาของจิตที่ดำรงภพชาติ ก็เกิดดับสืบต่อเป็นภวังค์อยู่เรื่อยๆ แต่พอจะรู้อารมณ์ใหม่ จิตนั้นก็จะรู้อารมณ์นั้น ทันทีไม่ได้ จากภวังค์ก็เริ่มรู้อารมณ์ใหม่ โดยเป็นภวังคจลนะ ๑ ขณะดับไป แล้วขณะที่ ๒ คือ ภวังคุปัจเฉทะ ได้ยินคำนี้เมื่อไร หมายความว่าจิตต่อไปเป็นภวังค์อีกไม่ได้เลย เพราะว่า “ภวังคุปัจเฉทะ” หมายความถึงการสิ้นสุดกระแสของภวังค์
นี่จะเริ่มแล้ว สิ่งที่สะสมมาจะปรากฏแล้ว โดยที่ว่า ถ้าเป็นทางปัญจทวาร วิถีจิตแรก คือ ปัญจทวาราวัชชนะ เพียงรู้ว่า สิ่งที่กระทบทวารไหน แต่ไม่เห็น ถ้าเป็นสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท เป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นวิถีแรกเกิดขึ้น เหมือนรู้ตัวว่า มีอารมณ์กระทบทางตา ถ้าเป็นทางหู จิตนี้ก็เกิดรู้อีกว่า มีอารมณ์กระทบทางนั้น แต่ว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน
เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตเป็น วิถีปฏิปาทกมนสิการ วิถีจิตแรกเกิดแล้วดับไป ทำให้วิถีจิตต่อๆ ไปเกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกัน จะไม่วิถีจิตที่เกิดเพียง ๑ ขณะเลย เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ ปัญจทวาราวัชชนะ จึงชื่อว่าเป็นแดนเกิดของธรรมที่สะสมมาแล้วทั้งหมด เมื่อไรจะเกิด เมื่อไรจะปรากฏ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และไม่มีการคิดนึก สิ่งที่สะสมมาแล้วก็ปรากฏไม่ได้เลย แต่สิ่งที่สะสมมาแล้วจะปรากฏ เมื่อวิถีจิตเกิด ขณะที่เห็น ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นชาติกิริยา เพราะอารมณ์ที่ปรากฏที่กระทบ ถ้าเป็นอารมณ์ดี อกุศลวิบากเกิดไม่ได้ เป็นผลของกรรมที่ทำให้เห็นสิ่งที่ดี หรือได้ยินเสียงที่ดี เพราะฉะนั้นสำหรับอารมณ์ที่ดีเป็นปัจจัย หรือถึงกาลที่กรรมดีจะให้ผล ก็รู้สิ่งที่ดีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่เลือกว่าเป็นอารมณ์ใดๆ อารมณ์ดี หรืออารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก็ตามแต่ จิตนี้เพียงเกิดขึ้นรู้ว่า มีอารมณ์กระทบ
เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตจึงเป็นแดนเกิดของสิ่งที่สะสมมาที่จะปรากฏว่า สะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน
สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่กุศลวิบาก ไม่ใช่อกุศลวิบาก แต่เป็นกิริยาจิต ก่อนเห็น ก่อนได้ยิน ก่อนได้กลิ่น ก่อนลิ้มรส ก่อนรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส พระอรหันต์มีไหม ลองสมมติว่า เป็นพระอรหันต์ แต่จิตเห็นก่อนจะเกิดขึ้นเห็น ต้องมี อาวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรกเกิดก่อน ทางตาก็เป็นจักขุทวาราวัชชนะ ซึ่งอาวัชชนจิตเป็นกิริยาจิตดับ ทีนี้ถึงกาลที่วิบากจิต ผลของกรรมจะเกิด ชอบไหม ชอบได้รับผลของกรรมไหม เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ชอบไหม หรือว่าเป็นวิบากไปเรื่อยๆ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480