พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
ตอนที่ ๔๗๑
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ ซึ่งอาวัชชนจิตเป็นกิริยาจิตดับ ถึงกาลที่วิบากจิต ผลของกรรมจะเกิด ชอบไหม ชอบได้รับผลของกรรมไหม เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ชอบไหม หรือว่าเป็นวิบากไปเรื่อยๆ นี่แสดงให้เห็นความติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
เพราะฉะนั้นเมื่อมีทางเกิดขึ้นโดยอารมณ์ปรากฏ เวลาที่ปัญจทวารวัชชนจิตซึ่งเป็นกิริยาจิต เป็นแดนเกิด ของธรรมที่แสดงการสะสม ดับไปแล้ว ถ้าเป็นทางตา จักขุวิญญาณเกิดเห็น เป็นวิบาก เป็นชั่วขณะหนึ่งๆ ยากไหม ที่จะรู้ความรวดเร็วของจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อ ต่างประเภท เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี เป็นวิบากก็มี เป็นกิริยาก็มี แต่ละ ๑ ขณะ ที่จะเป็นความอัศจรรย์ของธรรม ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทางตา จักขุทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นกิริยาจิตดับไป เป็นปัจจัยให้ จักขุวิญญาณจิต จิตอาศัยตาเกิดขึ้นจึงเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นผลของกรรม ยังไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล พร้อมที่หลังจากนั้นถึงกาลที่ สิ่งที่สะสมมา จะเกิดได้ จึงเกิดได้
เพราะฉะนั้นเมื่อจักขุวิญญาณ ดับแล้ว เป็นปัจจัยให้ วิบากจิต ซึ่งกรรมทำให้เกิดขึ้น ทำหน้าที่สัมปฏิจฉันนะ รับรู้ต่อจากจักขุวิญญาณ ซึ่งเห็น แต่สัมปฏิจฉันนะไม่ได้เห็น ไม่ได้ทำทัสนกิจ แต่ ทำสัมปฏิจฉันนกิจ รู้ต่อ ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ วิบากจิต อีกขณะหนึ่งเกิดขึ้น ทำกิจพิจารณา สันตีรณกิจ พิจารณาในภาษาไทย คงต้องยาว แต่คิดถึง ๑ ขณะจิต ที่เกิดขึ้นทำกิจต่างกัน แล้วก็ดับไป เป็นปัจจัยให้ ชวนปฏิปาทกะ หมายความว่า จิต ชึ่งเป็นบาทเฉพาะที่จะให้อกุศลจิต หรือกุศลจิต หรือกิริยาจิต ของพระอรหันต์ ถ้าไม่กล่าวถึงโลกุตตระเกิดได้ ถึงกาลที่จะเกิดแล้ว สิ่งที่สะสมมาทั้งหมด แล้วแต่ว่าสะสมอะไรมา
เพราะฉะนั้นเลือกไม่ได้ เวลาที่โวฏฐัพพนะ ที่เป็นชวนปฏิปาทกะ เป็นบาทเบื้องต้น ที่จะให้กุศล หรืออกุศลที่สะสมมา ได้โอกาสเกิด เร็วแค่ไหน แค่เห็น พร้อมที่จะเป็น อกุศล ประเภทหนึ่งประเภทใด หรือกุศล แต่ก็ยาก ใช่ไหม สำหรับกุศล เพราะว่าส่วนใหญ่จะเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นได้ว่า เราไม่รู้เลยในขณะนี้เห็นดับไปแล้ว ใครรู้ รูปยังไม่ทันดับ จิตเป็นอกุศลประเภทใด เป็นโมหมูลจิต หรือเป็นโลภมูลจิต หรือเป็นโทสมูลจิต ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อย่างเสียง ดังๆ ทางหู ทุกคนก็คงจะเหมือนกันหมด เป็นเสียงที่ ไม่น่าพอใจเลย เพราะฉะนั้นทันทีที่โสตวิญญาณได้ยิน สัมปฏิจฉันนะรับ สันตีรณะพิจารณา โวฏฐัพพนะเกิด โทสมูลจิตก็เกิด โดยที่ว่าใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในเมื่ออารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ตรงนี้กล่าวถึงโดยทั่วไป แต่จะเห็นการที่สังขารขันธ์จะปรุงแต่ง จนกระทั่ง แม้หลังเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ก็ไม่มีอกุศลใดๆ เกิดได้เลย ทั้งกุศลก็เกิดไม่ได้ เพราะหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์
นี่คือการที่กว่าจะถึงขณะนั้น ก็คือว่าต้องเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ถ้าไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นเราที่พยายาม จะทำอย่างหนึ่งอย่างใด ที่จะ ไม่รู้ความจริงของธรรม เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถดับกิเลสได้
ด้วยเหตุนี้ชวนปฏิปาทกะ ก็ทำให้สิ่งที่สะสมมาแล้ว สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นแดนเกิดของกุศล หรืออกุศล ก่อนนั้นเกิดไม่ได้เลย กำลังเป็นภวังคจิต กุศลก็เกิดไม่ได้เลย อกุศลก็เกิดไม่ได้ กำลังเป็นกิริยาจิต ปัญจทวาราวัชชนจิต กุศล หรืออกุศล ก็ยังเกิดไม่ได้ เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ก็ยังไม่ใช่กาลที่ กุศล และอกุศล ที่สะสมมาจะเกิด แต่เมื่อโวฏฐัพพนจิต ทางปัญจทวาร หรือมโนทวาราวัชชนจิต ทางมโนทวารดับไป ถึงกาลที่อกุศล หรือกุศลเกิด ก็เกิดทันที ยับยั้งไม่ได้ เร็วมาก แล้วแต่เหตุปัจจัย
อ.กุลวิไล จะเห็นว่า จิตนี้น่าอัศจรรย์มาก เพราะเท่าที่สนทนากันมา อกุศลจิต ๑๒ ประเภท เวลาให้ผล ให้ผลเพียง ๗ เท่านั้นเอง และไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ซึ่งตรงข้ามกับมหากุศล ในชีวิตประจำวัน ในขั้นกามาวจร มหากุศล ๘ ประเภทให้ผลถึง ๑๖ และ ๑๖ มีทั้งมีเหตุเกิดร่วมด้วย และไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และก็คือชีวิตประจำวันด้วย เพราะเวลาจิตให้ผลของกรรม ก็ไม่ใช่เฉพาะนำเกิดอย่างเดียว ยังให้ผลหลังจากเกิดด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งกระทบสัมผัสทางกาย เป็นผลของกรรม ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นผลของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม แต่สำคัญที่หลังเห็นหลังได้ยิน ถ้าเป็นผู้ไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง และหนาแน่นด้วยกิเลส แน่นอนว่าต้องเป็นไปในฝ่ายอกุศล
อ.วิชัย ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวตั้งแต่ขณะปฏิสนธิว่าเป็นผลของกรรมในอดีต ซึ่งได้กระทำไว้แล้ว ประมวลมาที่ให้เกิดในภูมิต่างๆ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมก็เป็นปัจจัย ให้เกิดในอบายภูมิ ผลซึ่งเป็นปฏิสนธิจิตนั้น เป็นผลของ อกุศลกรรม เป็นอกุศลวิบาก ก็มีจิตเพียงประเภทเดียวเท่านั้น ที่ทำกิจปฏิสนธิ ในอบายภูมิ ก็คืออุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ซึ่งจริงๆ ก็ทรงแสดงธรรม ตามความเป็นจริง เพราะเหตุว่าผลของอกุศล จะมี อกุศลเจตสิก เกิดร่วมด้วยไม่ได้ เพราะเหตุว่า อกุศลเจตสิกก็คือชาติอกุศล ซึ่งผลของอกุศล เป็นชาติวิบาก ผลของกุศล ก็เป็นชาติวิบาก ซึ่งก็มีความต่างชาติหมายถึงการเกิด โดยชาติก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นชาติอกุศล จะเป็นชาติวิบาก ไม่ได้
เพราะฉะนั้นการให้ผล ของอกุศลกรรมก็ตาม ผลของกุศลกรรมก็ตาม ให้ผลต้องเป็นชาติวิบาก นี่กล่าวถึงนามธรรม ดังนั้นในส่วนของเจตสิกที่ดีงาม หมายความว่าเป็นโสภณเจตสิก ซึ่งโสภณเจตสิกเกิดเป็นชาติกุศลก็ได้ เมื่อเกิดเป็นชาติกุศล เจตสิกที่เป็นโสภณเจตสิกนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม แต่เป็นชาติกุศล หรือเกิดเป็นชาติวิบากก็ได้ หมายความว่า ขณะนั้นเป็นผลของกุศลกรรม ซึ่งกุศลกรรมสามารถให้ผลเป็นเจตสิกที่ดีงามที่เป็นชาติวิบากได้ ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้
ผู้ฟัง เรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ทุกขณะเป็นเรื่องของกรรม และการให้ผลของกรรมอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้ามีจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะจะมีเรื่องราวไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ แต่ว่าเกิดดับสืบต่อ และจดจำ มีคน มีสัตว์ มีเรื่องราวต่างๆ เพราะจิตเกิดดับสืบต่อ
ผู้ฟัง ทีนี้เรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ที่เป็นสภาวธรรม ที่เกิดขณะนี้ ฟังเหมือนเข้าใจ แต่ยังไม่แจ่มกระจ่างชัด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องรู้จริงๆ ว่า จิตขณะนั้นเป็นชาติอะไร ชาติคือเกิดขึ้นเป็นกุศล หรือว่าเป็นอกุศล เป็นเหตุ หรือเป็นผลของกุศล อกุศล หรือว่าไม่ใช่ทั้ง กุศล อกุศล และไม่ใช่วิบาก แต่ละขณะ เพราะว่า ไม่เคยปราศจากจิตเลย เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ ที่เป็นเรื่องราวยาวๆ ในขณะนั้นก็ต้องมีจิตเกิดขึ้น ทำกิจการงานแต่ละขณะ ซึ่งจากการเข้าใจถูก ก็สามารถทำให้รู้ว่า ขณะที่เห็น แน่นอนว่า ไม่ใช่กุศล อกุศล แต่เห็นแล้วเป็นอะไร กุศล หรืออกุศล เป็นของที่แน่นอน ใช่หรือไม่
ด้วยเหตุนี้ จึงมีทั้งวิบาก ซึ่งเป็นผลของกรรม แล้วก็มีกุศล และอกุศลด้วย แล้วก็มีกิริยาจิต ที่เป็นอเหตุกกิริยา ซึ่งเป็นแดนเกิดของธรรมทั้งหลาย ซึ่งได้สะสมมาที่จะปรากฏ เพราะว่า ถ้าเป็นเพียงภวังคจิต ไม่มีอะไรปรากฏเลย จะสะสมอะไรมามากน้อยสักเท่าไร ก็ไม่ปรากฏ จนกว่าจะมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย และคิดนึก
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในการศึกษา เมื่อเข้าใจวิถีจิต ถ้าเป็นภวังคจิต ก็เป็นชาติวิบาก เป็นผลของกรรม แล้วพอวิถีจิตเกิด จะเป็นเรื่องรับผลของกรรม แล้วก็จะสะสมกุศล อกุศลไปในภายภาคหน้า
ท่านอาจารย์ มีปัญญาพอเท่าที่จะรู้ได้ว่า ขณะไหนเป็นวิบาก ขณะเป็นกุศล อกุศล แต่ที่จะรู้กิริยา แล้วก็วิบากจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อก็คงยาก เพราะฉะนั้นขณะนี้ มีเห็น จะรู้ไหมว่า ก่อนเห็นมีจิตเกิดแล้ว เป็นอาวัชชนะทางหนึ่งทางใด ก็รวมเรียกว่า ปัญจทวาราวัชชนะ ถ้าเป็นทางใจเกิดคิดขึ้นมา กุศล อกุศลยังเกิดไม่ได้ แต่ต้องมีจิตซึ่งเป็นชวนปฏิปาทกะ เป็นเบื้องต้น เป็นแดนเกิด เกิดก่อนแล้วกุศล อกุศลทั้งหลายจึงเกิดได้
นี่แสดงให้เห็นว่า การที่เราสามารถรู้ธรรมได้ตามกำลังของปัญญา ขณะนี้กำลังเห็น รู้ได้ว่าเป็นผลของกรรม แค่นี้เอง จะไปรู้สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ก็ไม่ได้ เห็นแล้วเป็นกุศล หรืออกุศล ก็พอรู้ได้ เพราะฉะนั้น ปัญญา สามารถเพียงรู้ได้
ด้วยเหตุนี้ในพระสูตรก็กล่าวเท่าที่ผู้ฟังในขณะนั้นสามารถรู้ได้ ไม่มีการกล่าวถึงปัญจทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ เวลาแสดงธรรมกับท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ไม่ได้กล่าวถึงอย่างนี้ แต่แสดงธรรมให้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง
ตามความเป็นจริง เราใช้คำว่า “อกุศล” ไม่ดีงาม แล้วเห็นจริงๆ หรือไม่ ว่า อกุศลไม่ดี ชื่อก็บอก จำก็ได้ แล้วยังรู้ด้วยว่า มีอะไรบ้าง โลภะเป็นอกุศล โทสะเป็นอกุศล โมหะเป็นอกุศล แค่จำ แต่พิจารณาไตร่ตรองจริงๆ ถึงโทษ และความไม่งาม ความเป็นภัยของทั้งโลภะ โทสะ โมหะ หรือไม่ ลองคิดถึงความจริง เพียงไม่ติดข้อง ในอะไรทั้งสิ้น สบายไหม หมดเรื่องเลย แต่ที่ดิ้นรนเดือดร้อนอยู่ มีฉันทะเป็นแดนเกิด
วันนี้ทั้งวัน หรือวันก่อนๆ ไม่ว่าวันไหน ไม่ว่าจะทำอะไร จะไปไหนเพราะฉันทะ สะสมความพอใจที่จะเป็นอย่างนั้น ที่จะทำอย่างนั้น ที่จะเห็นอย่างนั้น ที่จะคิดอย่างนั้น ที่จะเป็นโลภะอย่างนั้น ที่จะเป็นโทสะอย่างนั้น นั่นคือ เราไม่เข้าใจสภาพธรรมแต่ละอย่างจริงๆ ว่า แต่ละธรรมเป็นปัจจัยอย่างไร แต่ถ้าจะพิจารณาจริงๆ ก็จะเห็นได้ว่า แม้วิริยะความเพียร ถ้าไม่มีฉันทะ ที่จะเพียรทำอย่างนั้น จะทำไหม
ด้วยเหตุนี้ทั้งวัน ยังไม่เคยรู้ว่า เป็นไปตามฉันทะ ของแต่ละคน ซึ่งไม่เหมือนกันเลย เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อนกันก็ตามแต่ ฉันทะคนละอย่าง แต่ละท่านนั่งอยู่ที่นี่ ก็มีฉันทะที่จะฟังธรรม แต่พี่ล่ะ น้องล่ะ เพื่อนล่ะ มีฉันทะทำอะไร ไปเล่นกอล์ฟ หรือฟังเพลง ไปเล่นดนตรี ก็ตามฉันทะทั้งหมดในวันหนึ่งๆ
เพราะฉะนั้นจึงเห็น สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ฉันทะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้นอกุศล เป็นอกุศล แม้แต่โลภะ พอใจ แล้วก็ติดข้อง มากหรือน้อย ถ้ามาก อยากได้ แสวงหาไหม รักษาไว้อย่างดี หรือไม่ สูญหายไม่ได้เป็นทุกข์ แล้วความติดข้อง ติดข้องหมดเลย ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ และยังในสัตว์ บุคคล ในตัวตน ในความเป็นเรา
เพราะฉะนั้นเดือดร้อนไหม เกิดมาวุ่นวายด้วยความติดข้อง ถ้าไม่มีความติดข้องตามมี ตามได้จริงๆ เพราะเหตุว่าใครก็ตาม จะได้อะไร เห็นอะไร ได้ยินอะไรก็ตามแต่ เกินเหตุที่ได้กระทำแล้วได้ไหม ต้องตามควรแก่เหตุที่ได้กระทำแล้ว
เพราะฉะนั้นที่จะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส แต่ละวันก็ต่างกันไป บางวันอาจจะคิดหวังว่า จะได้รับประทานอาหารอร่อย แต่ก็ตามมี ตามได้ แล้วแต่ขณะนั้นปัจจัยจะทำให้จิตเกิดขึ้น ลิ้มรสอะไร ซึ่งใครก็เลือกไม่ได้เลย ถ้ามีความเข้าใจธรรมจริงๆ ก็จะค่อยๆ ถึงความเป็นผู้ไม่มีโลภะ ดีไหม ต้องเห็นจริงๆ ว่า โลภะเป็นโทษ เพียงแค่ไม่ติดข้อง ไม่เดือดร้อน แต่ไม่รู้ตัวเลยว่า ตั้งแต่เกิดมา ติดข้องในอะไรบ้าง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในความเป็นเรา ในความเห็นผิด และในความไม่รู้ว่า การที่จะสามารถพ้นจากความติดข้อง เป็นอย่างไร มีหนทางเป็นไปได้อย่างไร ถ้าไม่เข้าใจถูกต้องที่จะเห็นโทษของอกุศล จะไม่มีการฟังธรรม แต่ฟัง เห็นโทษบ้าง ไม่เห็นโทษบ้าง กำลังฟังก็เห็น แต่ห้ามไม่ให้สะสมความติดข้อง ไม่ให้เกิด เป็นไปไม่ได้ เมื่อเหตุมี
เพราะฉะนั้นประการแรกที่สุด ก็คือละความคิดผิด เพราะไปยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเรา การฟังธรรมต้องมีความรู้ ความเข้าใจตามลำดับ เช่น เป็นเราหมดเลยตั้งแต่เกิดจนตาย ฟัง เพื่อให้รู้ว่า เป็นสภาพธรรมแต่ละขณะซึ่ง เกิดตามเหตุตามปัจจัย จนกว่าจะสามารที่จะดับ การเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน แต่ก็ยังคงมีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงให้เข้าใจความจริง ตามความเป็นจริง แต่บางคนก็อ่านพระไตรปิฎก แล้วก็ไปพยายามหา ไปทำ เพื่อจะให้ได้ เพราะเข้าใจว่า จะต้องไปทำให้มีขึ้น แต่ความจริงขณะนี้กำลังฟังธรรม มีเหตุมีปัจจัยให้เกิดแล้ว คืออะไร ครบตามที่ทรงแสดงทุกอย่าง เพียงแต่ เราไม่ต้องไปนั่งเสาะหาสาเหตุ แต่กระนั้นก็มีเหตุ ที่ทำให้ได้ฟังธรรม หรือแม้แต่ขณะที่ฟังเข้าใจ ต้องมีคนมาบอกไหมว่า ต้องตั้งใจฟังนะ หรือกำลังฟังเข้าใจ เพราะกำลังฟังด้วยความตั้งใจ ด้วยความสนใจ ด้วยการใส่ใจ ที่จะเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง
เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปหาเหตุอื่น หรือให้ใครมาบอกว่า ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ แต่เมื่อผลเกิดขึ้น ย่อมรู้ว่า ผลนั้นมาจากไหน ด้วยตัวเอง นี่คือการต้องเข้าใจธรรมตามลำดับว่า แม้แต่ความติดข้องซึ่งมีมากมาย ผู้ที่ละความติดข้องทั้งหมด คือ พระอรหันต์ แต่ไม่ใช่จากปุถุชนจะไปเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะการเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นพระอริยบุคคล ไม่ใช่เรา แต่ปัญญาที่เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ในขณะที่ฟัง จึงเริ่มจากการรู้ว่า เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา และธรรมแต่ละอย่าง ก็มีลักษณะของธรรมซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน และเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ผู้ฟัง ถ้าฟังในขั้นประจักษ์แจ้งตรงนั้นได้ ต้องเริ่มต้นด้วยฟังเข้าใจ ซึ่งเมื่อเข้าใจตรงนี้แล้ว ก็จะไม่ไป ตั้งต้นที่มีตัวตน หรือมีเราไปทำ ซึ่งสวนทางกับการไม่มีเราที่ เป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอริยสัจที่ ๒ คือ เห็นโลภะถูกต้องว่า เป็นสมุทัย จึงละโลภะ โลภะแรกที่ละ คือ โลภะที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ไม่ใช่ไปละโลภะอื่น
ผู้ฟัง ซึ่งการละก็เริ่มต้นด้วยปัญญาขั้นฟังเข้าใจว่า ธรรมเป็นอย่างนี้
อ.กุลวิไล เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ท่านอาจารย์ก็ได้ให้ความเข้าใจว่า เพราะมีความไม่รู้ ความจริงมาทุกชาติ ดังนั้นจึงควรรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ เพราะว่า สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ โดยปรมัตถธรรมแล้วไม่พ้นจิต เจตสิก และรูป ซึ่งถ้าไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมแล้ว การเข้าถึงตัวจริงของสภาพธรรม ก็เป็นสิ่งที่ยากมาก ขอกราบเรียนท่านอาจารย์ถึงการรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ โดยสภาพที่เป็นจิต เจตสิก และรูป
ท่านอาจารย์ เราก็พูดภาษาไทย และมีคำที่ได้ยินบ่อยๆ คือ ธรรม จิต เจตสิก รูป ภาษาไทยแท้ๆ แต่ก็สามารถทำให้เราเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ที่กำลังมีในขณะนี้ หรือไม่
นี่แสดงถึงความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรม ซึ่งประมาทไม่ได้เลย แม้แต่คำว่า “ธรรม” อย่าคิดว่าฟังเรื่อง พื้นฐานพระอภิธรรมนาน แล้วก็เข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏได้แค่ไหน
นี่แสดงให้เห็นว่า แม้แต่สิ่งที่มีจริงแท้ๆ ตลอดชีวิตด้วย ตั้งแต่เกิดจนตาย และก็มีคำที่เราใช้เหมือนรู้ เหมือนเข้าใจ เป็นภาษาที่เราใช้ตั้งแต่เกิด แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้รู้จักสิ่งที่เราพูดถึงได้โดยถ่องแท้ เพราะเหตุว่าไม่ใช่เรื่องของภาษา แต่เป็นเรื่องลักษณะ ของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งความไม่รู้ หรืออวิชชา ไม่สามารถที่จะเห็นถูก หรือเข้าใจถูกในลักษณะของธรรมตามความเป็นจริงได้
เพราะฉะนั้นถึงอย่างไร ก็ต้องรู้จักธรรมเท่านั้น แล้วจะรู้ได้จริงๆ ว่า เมื่อรู้จักธรรมแล้ว ที่จะไม่รู้จักธรรมละเอียดขึ้น เป็นไปได้ไหม ถ้าเริ่มรู้จักธรรม เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็คือ ไม่ประมาทที่จะรู้ว่า แม้แต่คำที่เราได้ยินจนชิน แต่เข้าถึงความจริงของสภาพธรรมนั้นแค่ไหน
มีอะไรที่เป็นใหญ่กว่าธรรมไหม ลองคิดดู ในโลกนี้ ประเทศนี้ ประเทศไหนๆ วันไหน มีอะไรที่เป็นใหญ่กว่าธรรมไหม มีไหม ไม่มี เพราะธรรมมีจริงๆ และความจริงของธรรม คือ เป็นธาตุ ธาตุคือสิ่งที่มีจริง ถ้าขณะนี้ทุกคนจะไม่คิดถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ได้จำชื่อนั้นชื่อนี้ ไม่ได้คิดถึงเรื่องราวที่เราเคยจำมา แต่ว่ากำลังฟังเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเป็นใหญ่ เพราะว่าเป็นธรรม เป็นธาตุ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลง หรือเป็นใหญ่กว่าธาตุนี้ได้เลย เพราะเหตุว่าความหมายของธาตุ ก็คือสิ่งที่มีจริงๆ และมีลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ
เพราะฉะนั้นเลิกคิด เรื่องที่เราคิดเอง แต่ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็ฟังเพื่อให้เข้าใจลึกถึงตัวจริงของธรรม ว่าเป็นธาตุ ไม่ว่าอะไรทั้งหมดขณะนี้ เป็นธาตุ มีจริงๆ และมีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างๆ ซึ่งต่างกันไปด้วย ไม่มีอะไรเป็นใหญ่ กว่าธาตุ เพราะเหตุว่าใครก็ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงธาตุนั้นๆ ให้เป็นอย่างอื่นได้เลย มีปัจจัยจึงเกิดขึ้นถ้าไม่มีปัจจัย ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะมีการรู้อะไร หรือจะมีอะไรปรากฏ หรือไม่ ก็ไม่มีเลย แต่สิ่งที่มี ไม่มีใครไปทำให้เกิดขึ้นได้ แต่เป็นธาตุ เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เพียงแค่เกิดขึ้นปรากฏ แล้วหมดไป ไม่ว่าภพไหน ชาติไหน กี่ชาติก็ตามแต่ สิ่งที่เกิดปรากฏ จริง แล้วก็หมดไป เท่านั้นเอง นี่คือการเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
หลายคนก็บอกว่า ไม่เห็นจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่มีจริงเลย เขาก็มีชีวิตโดยที่ไม่เดือดร้อนเลย มีความสุขสบายดี เป็นของธรรมดาที่เกิดแล้วก็ตายแน่ๆ เขาก็เข้าใจได้ แต่ขณะที่กล่าวอย่างนั้นเป็นธาตุอะไร เป็นคน หรือไม่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480