พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
ตอนที่ ๔๗๗
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมแต่ละลักษณะจริงๆ ถ้าสามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ ก็คือว่าหาความเป็นเรา หรือความเป็นตัวตนไม่ได้เลย เพราะว่าเป็นลักษณะของธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับ แล้วก็ไม่กลับมาอีกสักขณะเดียว
ผู้ฟัง ก็โกรธมีจริง แล้วก็รู้ว่าโกรธ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นใครรู้
ผู้ฟัง เรารู้
ท่านอาจารย์ แล้วโกรธเป็นใคร
ผู้ฟัง ก็ยังเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจถูก จะเข้าใจถูกได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการไตร่ตรอง แม้แต่คำว่า “ธรรม” มีความเข้าใจมั่นคงจริงๆ แค่ไหน หรือยังมีเราแทรกว่า เราเข้าใจธรรม แต่ถ้าฟังจริงๆ ธรรมเป็นสิ่งที่เกิดปรากฏ เมื่อมีปัจจัย ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ เกิดแล้วดับไปแล้วด้วย
นี่คือการค่อยๆ เข้าใจความจริงของธรรมว่า เป็นธรรม ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ก็เป็นเราตลอดไป เข้าใจก็เป็นเราเข้าใจ ไม่เข้าใจว่า แม้ขณะที่เข้าใจก็เป็นธรรมด้วย
ผู้ฟัง ปัจจัยที่ทำให้โกรธเกิดคืออะไร
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีลักษณะที่น่าพอใจก็มี ไม่น่าพอใจก็มี ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ จะไม่ชอบหรือ ถ้าน่าพอใจ ไม่มีทางที่ความโกรธ หรือความไม่ชอบจะเกิดได้เลย ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจจะชอบไหม ก็ไม่ชอบ ก็เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย
ผู้ฟัง แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่า ปัจจัยที่ทำให้โกรธ คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของบุคคล ตัวตน แล้วก็คิดนึก
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ายังไม่เข้าใจถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรมสักอย่างเดียว เพียงแต่ฟังเรื่องของธรรมหมดเลย เรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องโลภะ เรื่องโทสะ เรื่องปัจจัยให้เกิดโลภะ เรื่องปัจจัยให้เกิดโทสะ แต่ไม่รู้ว่า เป็นธรรมเลยสักอย่าง
เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฟังเพื่อให้มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก เพราะถ้ายังยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นเรา ไม่มีทางละอกุศลธรรมใดๆ ได้เลย เพราะเห็นผิดว่าเป็นเรา แล้วจะไปละอะไรได้ เมื่อมีเรา ก็ต้องการให้เรา มีความสุขมากๆ ความสุขนั้นมาจากไหน มาจากสิ่งที่เห็นทางตา หรือว่าเสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส ก็แค่นี้เอง
ผู้ฟัง ถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้ว่า ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นปรมัตถธรรม และเป็นธรรมจริงๆ เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล ก็ยังเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน แล้วเป็นความคิดนึกของเราเองตลอด
ท่านอาจารย์ และความเข้าใจที่สามารถรู้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม จะมีได้อย่างไร ถ้าไม่ฟังธรรมโดยละเอียด โดยประการทั้งปวง ไม่ใช่จำกัด แต่หมายความว่า ทุกอย่างเป็นธรรม กุศลก็เป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม คิดก็เป็นธรรม ชอบก็เป็นธรรม ไม่ชอบก็เป็นธรรม ขยันก็เป็นธรรม เกียจคร้านก็เป็นธรรม ในเมื่อทุกอย่างเป็นธรรม กว่าจะรู้ว่าเป็นธรรมไปหมด ต้องอาศัยการฟังธรรมแล้วไตร่ตรอง เป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่ง วันนี้เกิดแล้ว คือการฟังธรรม ผลของการฟังธรรมวันนี้จะปรากฏเมื่อไร รู้ไหม
เพราะฉะนั้นปัญญาที่เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย และค่อยๆ เข้าใจอีกทีละเล็กทีละน้อย วันหนึ่งเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งที่จะเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่คนไม่คิดถึงเรื่องความเข้าใจถูก หรือความเห็นถูก มุ่งหน้าแต่จะละโลภะ โทสะ โมหะ แต่ว่าไม่ได้คิดเลยว่า ขณะนี้มีธรรม เข้าใจถูกตามความเป็นจริงของธรรมหรือยัง ถ้ายังไม่เข้าใจ จะเข้าใจโดยฟังแล้วถาม ฟังแล้วถามทุกวันนี้ เข้าใจได้ไหม หรือค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกต้องทีละเล็กทีละน้อยจากการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังเรื่องอะไรก็ตาม ก็เป็นธรรมทั้งนั้น แล้วใครจะรู้ว่า อีกนานสักเท่าไรที่จะต้องเกิดตาย แล้วก็เกิดตาย บางภพบางชาติก็ไม่ได้ฟังธรรมเลย ชาติก่อนฟังหรือยัง ก็ไม่รู้ ฟังหรือไม่ก็ไม่รู้ ฟังมากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ แต่ขณะนี้มีวันนี้ที่เริ่มสะสมความเห็นถูก
เพราะฉะนั้นที่ท่านอุปมาว่า ปัญญาที่อบรมแล้วเหมือนกับกระทะร้อน เพียงน้ำหยดลงไป น้ำนั้นก็เหือดแห้งไปได้ เพราะฉะนั้นถ้าขณะนี้ถ้าไม่มีการหวังว่า จะเข้าใจธรรมเมื่อไร แต่ค่อยๆ สะสมไป นั่นคือการทำให้กระทะร้อน
เพราะฉะนั้นท่านพระสารีบุตรฟังธรรมสั้นนิดเดียว ไม่ยึดติด แล้วสามารถละความไม่รู้ ความติดข้องในธรรม สภาพธรรมจึงปรากฏตามความเป็นจริง รู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันได้ ซึ่งถอยไปแสนกัป ท่านก็ไม่รู้ว่าท่านจะพบท่านพระอัสสชิ ท่านจะได้ฟังจากท่านพระอัสสชิ และเพียงได้ฟัง ปัญญาที่ได้อบรมแล้ว สามารถละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้
เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า เราฟังวันนี้ชาตินี้แล้วเราก็หวังว่า ก่อนตายคงละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ไม่ใช่เลย เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดงประมวลแล้วทั้งหมดคือ เพื่อถึงความไม่มีโลภะ ที่จะไม่มีโลภะได้ก็ต้องเป็นปัญญา เพราะเหตุว่าที่มีโลภะเพราะไม่รู้ความจริง เป็นอวิชชา จึงทำให้หลงยึดติดในสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นเรา เช่น ขณะนี้เราเห็น เราได้ยิน เราคิด เราฟังธรรม เราเป็นกุศล เราเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการฟังธรรมเข้าใจขึ้นๆ ก็จะถึงกาลเพียงฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏ เพราะอบรมมาแล้วมากที่จะรู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้นเอง แต่ “เท่านั้นเอง” ไม่ใช่เพียงอย่างเดียว ธรรมทั้งหมดที่ได้ยินได้ฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น โลภะมีจริง เป็นความติดข้อง ต่างกับโทสะ ซึ่งเป็นความขุ่นเคือง ต่างกับปัญญาซึ่งเป็นความเห็นถูก ทั้งหมดนี้ค่อยๆ สะสมไปเพื่อละความไม่รู้
เพราะฉะนั้นใครก็ตามหวังที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม โดยไม่รู้อะไรเลย จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะเหตุว่าไม่ได้ละอะไรเลยทั้งสิ้น มีแต่ความต้องการ แต่พระธรรมทรงแสดง แม้แต่ขณะนี้ที่กำลังฟังว่าเห็นเป็นธรรม เกิดแล้วดับแล้ว แล้วสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่ใช้ชื่ออะไรเลยทั้งสิ้น แต่ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้เอง คือ เข้าใจไหมว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ลึกไหม ไม่มีใครเลย เข้าใจตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น กว่าปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วรู้ว่า ในขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เพราะมีสภาพเห็น มิฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏไม่ได้เลย ถ้ามีความเข้าใจ " เห็น" ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ต้องใช้คำว่า นามธรรม รูปธรรม ไม่ใช้คำว่า “ธรรม” เลยก็ได้ แต่สามารถจะรู้ว่า สิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้เป็นจริงอย่างนี้ เมื่อเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อเป็นจริงอย่างนี้ ก็ตรงกับคำที่ใช้คำว่า “ธรรม” ใช่ไหม ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้ และแม้ไม่ใช้คำว่า “รูปธรรม” แต่สิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น ก็ไม่ใช่สภาพรู้อะไรเลย เพียงปรากฏเป็นสีสันวัณณะต่างๆ ที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นแม้ไม่ต้องเรียก ลักษณะจริงๆ ของธรรมนั้นก็คือเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ ส่วนสภาพที่กำลังเห็น ก็ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น ใครจะไปหารูปร่างของเห็น หาอย่างไร ไม่มีทางเลย นามธาตุเป็นนามธาตุเท่านั้นจริงๆ เกิดเมื่อไรก็รู้ คือแล้วแต่ว่ากำลังเห็น หรือกำลังได้ยิน หรือกำลังคิดนึก ทั้งหมดก็เป็นสภาพรู้
เพราะฉะนั้นไม่ใช้คำว่า “นามธรรม” แต่สิ่งที่รู้ก็เป็นธรรม และเมื่อไม่มีรูปร่าง และเมื่อเกิดขึ้นเมื่อไร ก็เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่ไปติดที่ชื่อ ได้ยินคำว่า “นามธรรม” “รูปธรรม” ก่อน ได้ยินคำว่า “ธรรม” ก่อน ก็ได้ แต่ไม่ใช่เพียงหยุดอยู่ที่ว่า ธรรม แล้วก็คิดว่า เข้าใจแล้ว แต่ธรรมถ้าเข้าใจแล้ว ก็คือเดี๋ยวนี้ สิ่งที่ปรากฏนี่เอง กำลังปรากฏนี่เอง เป็นธรรม มีจริงๆ และสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช้คำว่า รูปธรรม แต่เปลี่ยนลักษณะซึ่งไม่สามารถรู้อะไรได้ ให้เป็นสภาพรู้ หรือสภาพคิดไม่ได้เลย ก็จะเข้าใจความหมายของธรรม หรือว่าการศึกษาธรรมก็ต่อเมื่อรู้จักตัวธรรม และก็รู้ว่า ถ้าเข้าใจธรรมจริงๆ ขณะนั้นไม่ใช่คิดถึงคำ หรือไม่ใช่คิดถึงชื่อ แต่กำลังเข้าใจถูก เห็นถูกในความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น ซึ่งย่อมยากกว่าการรู้ความหมาย หรือคำแปล หรือเรื่องราวของสิ่งนั้น แต่ก็สามารถอบรมได้ โดยการที่รู้ความต่างกันว่า ถ้าเข้าใจลักษณะของธรรมคือ ขณะนั้นไม่ได้นึกถึงคำ หรือไม่ได้นึกถึงชื่อ
ผู้ฟัง แต่ท่านอาจารย์บอกว่า มันเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ แน่นอน เดี๋ยวนี้มี หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เหมือนเดิม กลับมาอีก หรือไม่ ที่พูดมาทั้งหมดเป็นขันธ์ที่เกิดแล้วดับไปหมดแล้ว
ผู้ฟัง บางทีมันเกิดขึ้นจนเหนื่อย แล้วมันก็หยุดของมันไปเอง
ท่านอาจารย์ ก็จริง ก็เป็นขันธ์ที่เกิดแล้ว จะเปลี่ยนเหนื่อยให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม ไม่เข้าใจธรรมว่า ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดๆ ก็เป็นธรรม ตอนเหนื่อยนี่เรา เหนื่อยขึ้นก็เรา ก็เราทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่ใครจะไปทำให้หมดความเป็นเรา แต่ว่าเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้
ถ้าไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ แล้วเวลาโกรธเกิดขึ้นแล้วเหนื่อยจะเข้าใจได้ไหม
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วเวลาสภาพธรรมเวลาปรากฏ อย่างโกรธปรากฏ ถามว่า รู้ไหมว่า โกรธ ก็คือรู้ แต่ยังไม่ใช่ลักษณะที่เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วอยากให้เป็นอย่างนั้นใช่ไหม ให้รู้ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง จริงๆ ถ้าไม่มีปัญญาก็รู้ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัญญา
ผู้ฟัง ที่เรียนถามท่านอาจารย์ เพราะว่าเดือดร้อนกับสภาพนั้นที่เกิด
ท่านอาจารย์ แล้วเดือดร้อนเป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง ก็เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ว่า เป็นธรรม เพราะฉะนั้นไม่รู้ว่าเป็นธรรม ทุกอย่างที่เกิดแล้วเป็นธรรมทั้งหมด ไม่ต้องเลือกว่าจะทำอย่างนี้ หรือจะทำอย่างนั้น เกิดแล้วดับแล้วด้วย ไม่ต้องทำอะไร แต่เข้าใจให้ถูกต้อง เหนื่อยเพราะจะไปทำ ที่จะไม่ให้มีโทสะอย่างนั้น
ผู้ฟัง แล้วในขณะที่เกิด ก็มีความรู้สึกว่า ต้องอดทนต่อสภาพนั้นมาก
ท่านอาจารย์ เราต้องอดทน หรือว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง
ผู้ฟัง จริงๆ ต้องเป็นธรรมแต่ละอย่าง แต่ในขณะนั้นเป็นเราที่ต้องทน
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นความรู้ขั้นฟัง ยังไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะรู้ลักษณะที่เป็นธรรม ฟังเข้าใจหมดเลย แต่ยังไม่สามารถเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะรู้ลักษณะ ตรงลักษณะ กำลังปรากฏด้วย
ผู้ฟัง แต่ก็มีความคิดว่า เป็นธรรม เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เป็นเราคิด
ผู้ฟัง แต่ไม่ได้ช่วยอะไรเลย
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะเป็นเรา หวังอีกแล้ว ฟังไปก็หวังไป หวังตลอดกาล ไม่ได้ละความไม่รู้
ผู้ฟัง คือท่านอาจารย์กำลังบอกว่า ต้องเป็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น เป็นปัจจัยให้สามารถรู้ลักษณะ ขณะที่กำลังรู้ลักษณะด้วยความเข้าใจว่า ขณะนั้นลักษณะนั้นเป็นธรรม นั่นคือสติสัมปชัญญะ เป็นที่ตั้งของสติที่รู้ความจริงที่กำลังปรากฏขณะนั้น ไม่ใช่รู้อย่างอื่น
ผู้ฟัง ไม่ใช่สภาพที่คิดว่าเป็นธรรม ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คิดเป็นธรรมด้วย ไม่มีอะไรเลยที่ไม่ใช่ธรรม
ผู้ฟัง ดูเหมือนเรื่องโทสะเป็นที่สนใจของผู้คน เนื่องจากที่ท่านอาจารย์ถามว่า ธรรมอย่างอื่นไม่สนใจ หรือ สนใจแต่โทสะ ขณะนี้โทสะอาจไม่เกิด เกิดตั้งหลายวันแล้วก็นำมาสนทนา เนื่องจากไม่ชอบโทสะเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับที่ท่านอาจารย์บอกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็ฟังเป็นหลับ
ไม่มีสติจะตื่นขึ้นมารู้ว่า เป็นธรรมจริงๆ อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว ตรงนี้ก็เหมือนกับว่า การจะตื่นฟังธรรม กับหลับฟังธรรม เหมือนเป็นปัญญาระดับไหน อย่างไร
ท่านอาจารย์ ที่ว่าเหมือนหลับ เพราะเหตุว่าแม้จะพูดเรื่องธรรมสักเท่าไร ก็ไม่รู้จักธรรมตัวจริงๆ อย่างขณะนี้กำลังเห็น แล้วก็ได้ยินว่า เห็นเป็นธรรม ก็ได้ยิน แต่รู้ลักษณะที่เป็นธรรม หรือไม่ แข็งเป็นธรรม รู้ลักษณะแข็งที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรม หรือไม่ ฟังเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดมาแล้วก็จะต้องเป็นไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่หยุดเลย จนกว่าขณะสุดท้ายของชาตินี้ แต่ว่าฟังแล้วรู้จักตัวธรรม หรือไม่ ถ้าไม่รู้จัก ตื่น หรือยัง แข็งก็กำลังแข็ง ตื่น หรือยัง เห็นกำลังเห็น ตื่น หรือยัง ได้ยิน กำลังได้ยิน ตื่นที่จะรู้ว่าเป็นธรรม หรือยัง
ผู้ฟัง ณ ขณะนี้ยัง
ท่านอาจารย์ พุทธะ คือ ผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน ไม่ใช่เพียงกล่าวถึงเรื่องราวของธรรม
แต่ธรรมมีจริงๆ และมีลักษณะแต่ละลักษณะซึ่งพร้อมที่ปัญญาที่ได้อบรมแล้ว สามารถรู้ความจริง แทงตลอดความจริงตรงตามที่ได้ฟังทุกอย่าง ไม่คลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้นกี่ภพ กี่ชาติที่ได้ฟัง ฟังแบบหลับๆ ฟังแบบหลับๆ ตื่นๆ หรือฟังแบบตื่น แล้วก็เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถรู้ความจริงของสภาพธรรม ดับกิเลสได้
ผู้ฟัง ขอเล่าประสบการณ์เมื่อเช้านี้ คือนั่งรถเมล์มา แล้วรถเมล์แล่นช้ามาก กลัวว่าจะมาเรียนไม่ทัน คิดว่าจะต้องนั่งรถแท๊กซี่ พอเกิดความคิดว่าจะลงจากรถเมล์มานั่งรถแท็กซี่ ก็คิดว่า ตรงนี้ก็เป็นธรรม ทำไมเราไม่เรียนตรงนี้ ทำไมต้องรีบมาเรียนที่นี่ ก็ทำให้สงบลง และนั่งรถมาเรื่อยๆ ก็เกิดวิบากขึ้น คือกระเป๋ารถเมล์กับคนขับทะเลาะกัน คนขับก็โมโหมาก หนูเห็นโทษของความโกรธ แต่ไม่ใช่ความโกรธของหนู คนขับโมโหมากขับรถเร็วมาก ฉวัดเฉวียนเหมือนงู ตรงนั้นหนูไม่เกิดโทสะ แต่เกิดกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยกับตัวหนูเอง และพี่ที่มา หนูก็จะลงจากรถอีก พอดีพี่บอกว่า เดี๋ยวก็ถึงแล้ว อย่าเพิ่งลงเลย ก็ดูใจตัวเองด้วยว่า ไม่ได้โกรธ แต่กลัวจะเกิดอันตรายกับผู้โดยสารรวมทั้งตัวเราด้วย แต่ผลสุดท้ายก็นั่งต่อไปจนมาถึงที่นี่อย่างปลอดภัย
ท่านอาจารย์ ก็ขอขอบคุณที่เล่าเรื่องจริงให้ฟัง แสดงให้เห็นว่า ทั้งหมดจริงๆ แล้วเป็นธรรม แต่จะรู้ขณะไหนว่าเป็นธรรมอะไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เพียงฟัง ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคลเลย แม้แต่อะไรจะเกิดขึ้นก็เป็นธรรมที่มีเหตุปัจจัยจะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ลองคิดซิ ใครยับยั้งความคิดได้ ที่จะคิดว่า แม้ขณะนี้ก็เป็นธรรม ทำไมต้องไปศึกษา หรือไปที่ไหน ถ้าสามารถเข้าใจลักษณะของธรรมในขณะนี้ได้
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เราคิดอย่างนี้บ่อยๆ หรือไม่ หรือแสดงความเป็นอนัตตาของการเคยฟังธรรมมา ไม่ทราบว่าเมื่อไร ปรุงแต่งจนกระทั่งขณะที่กำลังอยู่บนรถ และคิดจะลง แต่ก็ยังคิดอย่างนี้ได้
เพราะฉะนั้นธรรมเป็นอนัตตาทุกขณะ และแสดงความเป็นอนัตตาด้วย แต่ปัญญาไม่ถึงระดับที่จะเห็นว่าเป็นธรรม ที่เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า ให้เราไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น จะทำอะไรเมื่อไร ก็คือมีเครื่องกั้นการที่จะเข้าใจสภาพที่เป็นธรรม และเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็คือสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะนี้เกิดแล้ว เห็นไหม เกิดแล้ว เกิดแล้ว หรือไม่ เสียงนี้เกิดแล้ว
นี่คือไม่ได้ไปเป็นเรื่องเป็นราวด้วยความเป็นตัวตน แต่มีปัจจัยพอที่จะรู้ว่า สภาพธรรมมีจริงๆ แล้วเป็นลักษณะ แล้วแต่ว่าสติสัมปชัญญะจะเกิดระลึกได้เมื่อไรเท่านั้นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า มีตัวตนที่สามารถจะไปพยายามทำให้สติสัมปชัญญะ หรือปัญญาเกิด แต่ทั้งหมดจะเห็นการสะสม การอบรมไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งแม้ความคิดก็เป็นทางฝ่ายกุศล และกุศลที่เกิดขึ้น บางขณะก็ประกอบด้วยปัญญา และบางขณะก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นด้วย
เพราะฉะนั้นก็เป็นภาวนา คือ การอบรมจริงๆ อบรมที่จะละความไม่รู้ อบรมที่จะรู้ลักษณะที่เป็นธรรม
ผู้ฟัง นั่นหมายความถึงว่า ขณะนี้เมื่อทราบว่า ฟังธรรมโดยหลับ ไม่ได้ตื่น แต่จะต่างจากคนที่ไม่ได้ฟังตรงที่ว่า อบรมเจริญปัญญาเพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ตื่น เมื่อปัญญาถึงขั้นที่สามารถฟังโดยตื่นได้ ขณะนี้ก็ให้รู้ว่า ยังฟังเรื่องราวกับชื่อของธรรม ก็เข้าใจขั้นเรื่องราว และชื่อ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นการเตรียมตัว เมื่อปัญญาขั้นนี้พร้อมก็สามารถฟังธรรมโดยตื่นได้ แทนที่จะหลับ คือต่างกับหลับที่แบบไม่รู้อะไรเลย แต่หลับแบบที่ยังรู้ว่า เมื่อตื่นแล้วเป็นอย่างไร ก็สามารถไปรู้ตรงนั้นได้
ท่านอาจารย์ ฟังขณะหลับ ยังไม่ได้ตื่น และตื่นเมื่อไร เมื่อครู่นี้หลับอยู่ หรือไม่ ฟัง แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของธรรม
เพราะฉะนั้นจากการฟัง ก็จะทราบได้ว่า ขณะที่ไม่รู้ลักษณะของธรรมซึ่งเกิดดับนับไม่ถ้วน แล้วไม่รู้ ทั้งๆ ที่ฟัง ถูกต้องไหม สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก นับไม่ถ้วนเลยเมื่อครู่นี้ ขณะใดก็ตามที่ไม่ใช่ขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะที่มีจริงๆ ขณะนั้นไม่ต้องเรียกว่า สติ สติสัมปชัญญะ หรือสติปัฏฐาน เพราะมีสิ่งที่ปรากฏ และปัญญาเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยในสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นคือตื่น แต่ขณะนี้สภาพธรรมเมื่อครู่นี้ดับไปเท่าไร ทั้งจิต และเจตสิก นับไม่ถ้วน ด้วยความไม่รู้ในลักษณะนั้นๆ ก็เหมือนไม่ได้ตื่นที่จะรู้ความจริง
ผู้ฟัง เมตตาเป็นความรัก เป็นความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข มีมิตรไมตรีให้แก่สัตว์ทั่วหน้า ให้มีความสุขถ้วนหน้า อานิสงส์ของเมตตามีถึง ๑๑ ประการ ผมอยากจะทราบว่า ๑๑ ประการมีอะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ มีในพระไตรปิฎก ง่ายนิดเดียวเลย เปิดขึ้นมาก็อ่านได้
เมื่อครู่ฝัน หรือไม่ หลับแล้วฝันด้วย หรือไม่ เมื่อครู่นี้
ผู้ฟัง ไม่ได้หลับครับ
ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะของธรรมอะไร
ผู้ฟัง รู้ลักษณะของธรรมเรื่องอโทสะ
ท่านอาจารย์ รู้ หรือฟัง แล้วก็ไม่ได้รู้ลักษณะของโทสะ
ผู้ฟัง รู้เมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ ถามว่า เมตตาคืออะไร คุณเมตตาก็บอกว่า อโทสะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคนเคยฝัน เวลาหลับก็ฝัน แต่ไม่รู้หรอกว่า ฝันก็คือคิดธรรมดาๆ ฝันว่าไปเที่ยว ฝันว่าทำอะไรก็แล้วแต่ ฝันว่าฟังธรรม กำลังฝัน เพราะอะไร หมดแล้วไม่เหลือเลย จนกว่าจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมเมื่อไร
เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ทำไมกล่าวว่า ทุกคนอยู่ในโลกของความฝัน เพราะว่าอยู่ในโลกของความคิด มีคนมากมาย แล้วจริงๆ มีอะไร
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480