พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
ตอนที่ ๔๗๘
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ทำไมกล่าวว่า ทุกคนอยู่ในโลกของความฝัน เพราะว่าอยู่ในโลกของความคิด มีคนมากมาย แล้วจริงๆ มีอะไร มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยทั้งสิ้น แต่การปรุงแต่งของสัญญาที่จดจำมา ไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว อัตตสัญญา นานแสนนานมาแล้ว เพราะไม่รู้ว่า ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเป็นธาตุที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ เพราะเกิดแล้วดับไป แต่เมื่อปรากฏด้วยความรวดเร็ว เหมือนกับพร้อมด้วยนิมิต
เพราะฉะนั้นอัตตสัญญา สัญญาจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ฝัน หรือไม่ หรือจริง จริงคือเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่เวลานึกเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ เหมือนฝันไหม ทั้งๆ ที่ไม่มีเลย ขณะนี้มีเห็น แล้วก็มีเราตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าด้วย หรือไม่ ยังมีเรา คือ ฝันว่ายังมี แต่ความจริงไม่มีเลย สภาพธรรมคือจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียว แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นที่ปรากฏเป็นเรื่องเป็นราวทั้งหมด ก็เหมือนในความฝัน เพราะฉะนั้นถึงแม้ขณะนี้ยังไม่ได้รู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นจริงๆ ยังคงเป็นคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ ก็เหมือนในฝัน ซึ่ง ความจริงไม่มี
เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจถึงความจริงของสภาพธรรมแต่ละอย่างเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถที่จะละคลาย การที่เคยยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนที่เที่ยง ก็จะรู้ว่า หลังเห็นแล้วก็คิด ซึ่งทุกคนคิดแล้วก็จำ
เพราะฉะนั้นการที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีจริงๆ แต่มีความเห็นผิดที่ยึดถือสิ่งนั้นว่าเที่ยง หรือไม่ เพราะฉะนั้นนอกจากจำได้ เป็นสัญญาวิปลาส ก็ยังมีทิฏฐิวิปลาสด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วไม่รู้ความจริงเป็นอกุศล หรือเป็นกุศล ขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นก็มีวิปลาส ทั้งสัญญาวิปลาส จำผิด จิตตวิปลาส ขณะนั้นก็ผิดด้วย และถ้ามีความเห็นผิดที่ยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะใครล่ะที่จะได้ฟังพระธรรม ที่จะกล่าวถึงสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา จนกระทั่งสามารถที่จะค่อยๆ สะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงนี้ และทรงพระมหากรุณาแสดงความจริงนี้ เพื่อให้คนอื่นอบรมปัญญา สามารถเห็นความจริงนี้ด้วย
เพราะฉะนั้นก็จะรู้ได้เลยว่า ที่จริงแล้ว แม้แต่ละคำที่เราได้ยินได้ฟัง ความจริงของสิ่งนั้นคืออะไร ต้องเป็นปัญญาที่ไตร่ตรอง แล้วก็เข้าใจขึ้น
อ.กุลวิไล คุณธีรพันธ์จำได้ไหม อานิสงส์ของเมตตา ๑๑ ประการ
อ.ธีรพันธ์ หลับเป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก เป็นที่รักของมนุษย์ และอมนุษย์ เทวดาย่อมรักษา และผู้นั้นไม่ถูกกล้ำกรายด้วยไฟ ศัสตรา ยาพิษ ไม่หลงทำกาละ และเมื่อตายไปแล้วไปเกิดในพรหมโลก แต่ผมไม่แน่ใจว่า จะครบ หรือไม่ ต้องไปค้นดูอีกที
ท่านอาจารย์ แค่นี้ก็มากมายแล้ว ใช่ไหม จะจำ หรือจะอบรมจนกระทั่งรู้ผลของเมตตาเป็นอย่างนี้ เพียงแค่เป็นที่รักของมนุษย์ อมนุษย์ไม่เห็น ก็ต้องพูดถึง อมนุษย์จะรัก หรือไม่รัก ก็คงไม่เดือดร้อน แต่เป็นที่รักของคนอื่น หรือไม่ เพราะอะไร เพราะเมตตา หรือเพราะโทสะ
ผู้ฟัง เพราะเมตตา
ท่านอาจารย์ เพียงแค่ประการเดียว
อ.กุลวิไล มีผู้เขียนมาเรียนถามท่านอาจารย์ และคณะวิทยากร ขอเรียนถามวา จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทีละ ๑ ขณะ และ ๑ อย่าง ดังนั้นในขณะที่เห็นโทษของโทสะ ขณะนั้นจะเป็นการเจริญเมตตา เป็นการเข้าใจผิด หรือถูก
อ.อรรณพ ก่อนอื่นควรเข้าใจก่อนว่า เมตตาคืออะไร และสติปัฏฐานที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม คืออย่างไร และก็เป็นความจริงว่า จิตเกิดขึ้นแต่ละขณะก็รู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ทีละอารมณ์ ทีละลักษณะ ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีจิตเกิดขึ้นอยู่สืบต่อทำกิจต่างๆ ก็มีทั้งรู้บัญญัติอารมณ์ ซึ่งก็ต้องรู้ว่าเป็นใคร แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้ว่าเป็นพระสารีบุตร เป็นท่านพระอานนท์ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการรู้บัญญัติ คือรู้ว่าเป็นบุคคลโน้น บุคคลนี้ โดยสมมติ แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นตัวตน
เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันเราก็ต้องมี อย่างที่คุณย่าพูดว่า เห็นใครก็เป็นมิตร เป็นเพื่อนกันไปหมด ก็คือขณะที่มีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์ มีสภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรมเกิดเป็นกุศลจิต มีอโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งอโทสเจตสิก เกิดกับจิตฝ่ายดีทั้งหมด แต่ถ้าเป็นจิตที่เป็นกุศลจิต คือ จิตฝ่ายดี ที่มีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์ อโทสเจตสิกเป็นเมตตา เพราะเป็นไปในกุศล ที่มีความเป็นมิตร เป็นเพื่อน ไม่มีความหยาบกระด้างของจิตขณะนั้นมีความอ่อนโยน ก็เป็นอโทสเจตสิกที่เป็นไปในสัตว์ บุคคล และเจตสิกอื่นด้วย แต่ท่านก็แสดงว่า อโทสะที่เป็นไปในสัตว์ บุคคลนั้นเป็นเมตตา
ทีนี้ถ้าสติปัฏฐาน คือการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม อย่างเช่นในขณะที่โทสะเกิดแล้วดับไป สติปัฏฐานรู้ตรงลักษณะของโทสะนั้น ขณะนั้นสติปัฏฐานมีสภาพธรรมเป็นอารมณ์ ไม่ใช่มีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์ ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นก็ตอบคำถามว่า ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้ ลักษณะของโทสะนั้น ขณะนั้นมีสภาพธรรมเป็นอารมณ์ ไม่ได้มีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์ แม้ว่าในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็ต้องมีโสภณสาธารณเจตสิกอย่างเช่น อโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย
แต่อโทสเจตสิกเป็นโสภณเจตสิกที่เกิดขึ้นปรุงแต่งทำกิจการงานร่วมกับสติ ร่วมกับปัญญาที่ระลึก และรู้ตรงลักษณะของโทสะ ขณะนั้นก็ไม่ได้มีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้เป็นเมตตา แต่สะสม อโทสะไว้อย่างมั่นคง ในขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น มีโสภณธรรม ประการต่างๆ ซึ่งเป็นไปในการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็มีอโทสะสะสมไปด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อสะสมอโทสะไว้ในจิต ก็เป็นปัจจัยได้ที่จะทำให้มีอโทสะที่เป็นไปในทั้งสภาพธรรม และทั้งเป็นไปในสัตว์ บุคคล
เพราะฉะนั้นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็มีโอกาสที่อโทสะจะสะสม แล้วก็เป็นผู้มีเมตตา ถ้ามีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์ หรือเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานยิ่งขึ้น ซึ่งก็ต้องมีอโทสเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมด้วย
เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องเข้าใจว่า คนละอารมณ์กัน สติปัฏฐานมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ส่วนเมตตานั้นมีสัตว์ บุคคลเป็นอารมณ์
อ.กุลวิไล มีอีกคำถามหนึ่ง บารมี ๑๐ ถ้าจะจัดเข้าใจหมวดไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะจัดได้ หรือไม่ อย่างไร
อ.วิชัย บารมีก็หมายถึงธรรมที่ยังให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน การรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่ใช่กุศลเพียงขั้นทาน หรือศีล หรือวิริยะ ความอดทนต่างๆ แต่ต้องอาศัยธรรมหลายอย่าง การสั่งสมอบรมเจริญบารมีในแต่ละชาติ ถ้าเราพิจารณาถึงอดีตชาติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขยแสนกัปป์ หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นกาลเวลาที่ยาวนาน รวมทั้งการพิจารณาอดีตชาติของพระสาวกต่างๆ แต่ละท่าน ก็อบรมบารมีมา ก็อาศัยเวลานานมาก แต่ที่สำคัญ ขณะนี้อบรมบารมีอะไร ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การมาก็ต้องอาศัยวิริยะที่มาฟัง บางครั้งอากาศก็หนาวไป ร้อนไป ก็มีความอดทนที่จะฟัง ตรงนี้ก็เป็นการอบรมเจริญกุศลต่างๆ ที่จะเกื้อกูลต่อปัญญาบารมี ที่จะเข้าใจถึงสภาพธรรม จนปัญญาค่อยๆ สมบูรณ์ขึ้นในแต่ละชาติ จึงต้องเป็นหนทางที่ยาวนานกว่าปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น แต่ต้องอาศัยบารมีอื่นๆ ด้วย ที่จะเกื้อกูลต่อปัญญาบารมี
เพราะฉะนั้นคิดว่าไม่จำเป็นต้องจัด แต่ถ้าเราเข้าใจถูก ก็รู้ว่า ขณะใดก็ตามที่เป็นกุศล ที่เป็นไปในทาน หรือศีล หรืออบรมเจริญปัญญา ตรงนั้นก็เป็นไปเพื่อการละ และขัดเกลาอกุศล จนถึงความสมบูรณ์ของปัญญาที่สามารถดับอกุศลเป็นสมุจเฉทได้
อ.กุลวิไล กราบเรียนท่านอาจารย์เรื่องบารมี ๑๐ และหมวดไตรสิกขา ที่เป็นศีล สมาธิ ปัญญา
ท่านอาจารย์ ก็ต้องขอตอบคุณรักษ์นิดหนึ่งที่ให้ไปค้น หรือไปอ่าน เพราะว่าถ้าเพียงมีใครตอบให้ ก็คงสนใจน้อย รับฟังแล้วก็ลืม แต่ถ้าค้นคว้าด้วยตัวเอง ก็อาจจะทำให้จำได้มากขึ้น หรือว่าบางที ที่ต้องการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็ขวนขวายอ่านบ้าง ก็จะเจอธรรมอีกมากมายที่จะทำให้เข้าใจขึ้น และเป็นประโยชน์ทั้งนั้นด้วย
เพราะฉะนั้นไม่อยากเพียงให้ฟัง แล้วมีคำถามแล้วก็ตอบไปเท่านั้น แต่ถ้ามีโอกาสได้สนใจธรรมด้วยตัวเอง ก็ทำให้ได้ความรู้อื่นเพิ่มเติมขึ้น เป็นเรื่องช่างคิด หรือไม่ เรื่องของบารมี ๑๐ กับศีล สมาธิ ปัญญา คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ต้องสอดคล้องกัน ไม่ได้แยกกันเลย แต่ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องจริงๆ ว่า แต่ละคำที่ใช้หมายความถึงอะไร บารมี หมายความถึงธรรมซึ่งทำให้ถึงฝั่ง ฝั่งนี้ฝั่งกิเลส อีกฝั่งหนึ่ง หมดกิเลส ไม่เหลือเลย ต้องการฝั่งไหน อยู่ต่อไปฝั่งนี้ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ หรือจะสู่ฝั่งซึ่งดับกิเลสหมดเป็นสมุจเฉท
เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ถ้าไม่มีโสภณธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สามารถทำให้ถึงฝั่งได้ไหม ไม่ใช่พอได้ยิน ๓ หัวข้อ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือทาน ศีล ภาวนา หรือบารมี ๑๐ ก็งง ว่าเป็นอย่างไร แต่ความจริงก็คือโสภณธรรมเท่านั้นที่ทำให้ถึงฝั่งได้ และโดยเฉพาะถ้าเข้าใจเรื่องของศีล เรื่องของสมาธิ เรื่องของปัญญา ก็จะเห็นได้ว่า ในชีวิตประจำวันขณะใดที่อกุศลจิตเกิด กายวาจาเป็นอกุศลไปด้วย มีหรือไม่ พูดจาเป็นอย่างไร ด้วยกำลังของอกุศล
เพราะฉะนั้นในขณะนั้นเมื่อเป็นความประพฤติทางกาย ทางวาจาจากอกุศลจิต ก็เป็นอกุศลศีล
เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยฟังคำว่า “อกุศลศีล” ก็จะต้องงงอีกว่า เคยได้ยินแต่ศีลที่เป็นเรื่องของวิสุทธิมรรค หรือเรื่องดับกิเลส เรื่องอบรมเจริญปัญญา แล้วทำไมถึงมีอกุศลศีล
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ไม่ใช่ฟังให้สงสัย แต่ฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ไตร่ตรองจนกระทั่งชัดเจนขึ้น อย่างธรรม ก็ไม่ใช่เพียงจำว่า ธรรมเป็นเพียงธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริง แต่แม้แต่ในขณะนี้เอง จักขุวิญญาณ จิตเห็น เป็นธาตุ หรือไม่ เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง
เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จะไม่สงสัยในคำ หรือในเรื่องที่ได้ยิน โลภะธาตุ มีไหม ในพระไตรปิฎก หรือพอไม่มี ก็พูดไม่ได้ แต่ความจริงมี ในเมื่อทุกอย่างเป็นธาตุ โลภธาตุ โทสธาตุ โมหธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ทุกอย่างเป็นธาตุหมด แล้วแต่ทรงประมวลรวบรวมไว้โดยประการใดที่จะทำให้ชัดเจน ที่จะไม่หลงลืม
ด้วยเหตุนี้ศีลความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่ไม่ดี จะเป็นบารมีได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะนี้ ไม่มีการกระทำทุจริต จิตเป็นกุศล หรือไม่ ไม่ใช่ไปจำตำรา ขณะนี้ไม่มีการกระทำทุจริตทางกาย ทางวาจา นั่งเฉยๆ อย่างนี้ เป็นกุศล หรือไม่ เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้ ใช่ไหม ต่อเมื่อใดมีการแสดงออกทางกาย ทางวาจา เมื่อนั้นถึงจะรู้ได้ว่า เป็นกาย วาจาที่เป็นไปกับกุศล หรืออกุศล
เพราะฉะนั้นพระธรรมไม่ใช่เพียงให้ขัดเกลาความประพฤติทางกาย ทางวาจา แล้วจะถึงฝั่งคือนิพพาน แต่เป็นเรื่องอบรมเพื่อขัดเกลาอกุศล ทุกประการ เพราะเหตุว่าประโยชน์ของการฟังพระธรรมที่ทรงอนุเคราะห์ถึงที่สุด คือ ดับกิเลสหมด ไม่เหลือเลย เพราะว่าผู้ที่สามารถแสดงธรรมจนถึงดับกิเลสได้หมด ต้องเป็นผู้มีปัญญาจริงๆ เพราะว่าใครจะดับกิเลสได้ ในเมื่อไม่รู้ แต่เมื่อทรงรู้หนทาง และรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงทรงแสดงหนทางที่สามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท เพียงทางกาย ทางวาจา นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ใจเป็นอะไร แค่ศีล หรือว่าสมาธิ หมายความถึงความสงบของจิตด้วย ซึ่งขณะใดที่จิตสงบ ขณะนั้นเป็นกุศล เพราะว่าจะไม่สงบด้วยอวิชชา ด้วยโลภะ ด้วยโทสะ และด้วยอกุศลอื่นๆ ทุกประเภททำให้ไม่สงบ
เพราะฉะนั้นปัญญาเท่านั้นที่สามารถรู้ได้ว่า เพียงแค่สงบกาย และวาจาไม่พอ บางคนอาจจะบอกว่า คนนี้ดี เพราะอะไร เพราะกายดี วาจาดี เท่านั้นเอง แล้วใจเป็นอย่างไร รู้ใจของคนอื่น หรือไม่ว่า กำลังนั่งนิ่งๆ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องตรง เป็นไปเพื่อการขัดเกลาอย่างยิ่ง และแม้แต่คำที่ใช้ว่า “สมาธิ” อย่างเช่น ศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิไม่ได้หมายความถึงขณะที่จิตตั้งมั่น ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ แต่ต้องหมายความถึงการตั้งมั่นของความสงบจากอกุศล เพิ่มขึ้นจากการที่เพียงแต่กาย วาจา ไม่ประพฤติเป็นไปในทางอกุศล แต่แม้ใจในขณะนั้นก็สามารถสงบจากอกุศลด้วย
เพราะฉะนั้นกุศลจิตเกิดเมื่อไร ขณะนั้นสงบ และเป็นศีล เพราะไม่ทำทุจริตใดๆ เลย และเป็นทาน การให้ด้วย เพราะว่าเมื่อจิตเป็นกุศลเกิดขึ้น ก็แล้วแต่ว่าเป็นกาลที่จะสงเคราะห์เมตตาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลบุคคลอื่น หรือไม่ เมื่อกุศลจิตเกิดแล้ว ไม่มีการยับยั้ง เมื่อถึงเหตุการณ์ที่จะช่วย ถ้ากุศลจิตเกิดก็ช่วย ถ้าควรที่จะช่วย แล้วไม่ช่วย ขณะนั้นเป็นอะไร ก็เป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของสภาพธรรม เป็นเรื่องตรง นอกจากจิตสงบเป็นกุศล แต่กุศลของบางคนก็ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นเมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน จะดับอกุศลใดๆ ไม่ได้เลยทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ในแต่ละกาล แล้วแต่ว่าขณะนี้กำลังฟังธรรม เป็นเรื่องปัญญาที่เห็นถูก เข้าใจถูกในสภาพธรรม แต่ก็ยังมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาด้วย ไม่ใช่คนละเรื่อง เป็นเรื่องของธรรมทั้งหมด คือ เป็นเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องนิพพาน ซึ่งแสดงโดยนัยต่างๆ เพื่อให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วความเข้าใจนั้นก็จะอบรมความเห็นถูก ความรู้ถูกให้ยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นขณะนี้ฟังธรรม เป็นกุศล ไม่ได้ไปเบียดเบียนใครเลย แต่เป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หรือไม่ เพราะเหตุว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นก็เป็นเพียงศีลบางกาล เป็นความสงบบางกาล และเป็นปัญญาบางกาล แต่เมื่อไรที่ปัญญาสามารถรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ และทุกวันไม่ได้ฟังเรื่องอื่น นอกจากเรื่องธรรมที่มีจริงๆ ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพื่อประโยชน์อะไร จากไม่รู้ ไม่เข้าใจ เป็นค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ไม่ใช่เพียงฟังเรื่องราว แต่รู้ว่า ขณะนี้เป็นตัวธรรม ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการรู้จักธรรม เพียงแต่ฟังเรื่องราวของธรรม เรียกชื่อได้ถูก ศึกษามากก็รู้เหตุให้เกิด ตำรับตำราอีกมากมาย แต่ตราบใดที่ไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นธรรม ชื่อว่า สิ่งที่ฟัง ถ้ามีความเห็นถูก เข้าใจถูกก็คือ กำลังปรุงแต่งที่สามารถให้ปัญญาเจริญพร้อมสติสัมปชัญญะ ที่สามารถรู้ลักษณะตัวจริงของธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามซึ่งกำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ซึ่งเกิดพร้อมกัน และเป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะเหตุว่าเกิดพร้อมกันในขณะนั้น ทั้งศีล และความสงบของจิต และปัญญา อธิ ยิ่งกว่าขณะอื่น เพราะเหตุว่าสามารถรู้ตัวจริงของธรรม ซึ่งเพียงเกิดปรากฏแล้วหมดไป ให้ทราบว่า ขณะนี้ที่ไม่สามารถรู้ความจริงของสภาพธรรมได้ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมเกิดแล้วดับไปเร็วมาก ขณะใดที่สติสัมปชัญญะไม่ได้รู้ และเข้าใจถูกในลักษณะที่มีจริงๆ ขณะนั้นไม่ใช่อธิศีล ไม่ใช่อธิจิต ไม่ใช่อธิปัญญา แต่ขณะใดที่มีการฟัง มีความเข้าใจปรุงแต่ง โพธิปักขิยธรรมเจริญ ไม่ใช่เราไปเจริญ แต่สติเจริญ ปัญญาเจริญ ศรัทธาเจริญ ขณะนี้ที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่มีศรัทธาในการฟัง แต่ไม่ใช่อินทรีย์ของศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา ซึ่งกำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทรงแสดงธรรมเรื่องใดๆ ก็ตาม ให้ทราบว่า โดยหัวข้อ โดยประเภท โดยนัยของ ๒ ของ ๓ ของ ๗ ของ ๘ ของ ๑๐ ก็ตาม ก็คือธรรมทั้งหมดที่ให้เข้าใจตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่ไปให้นึก ให้จำ ให้ท่อง เลยลักษณะที่จะรู้สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้
เพราะฉะนั้นการฟังทั้งหมดเพื่อนถึงการรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ จากปริยัติ ความเข้าใจขั้นการฟัง เป็นปัจจัยให้ถึงปฏิปัตติ คือ ถึงเฉพาะความจริงของลักษณะของธรรมซึ่งปรากฏสั้นมาก หมดอีกแล้ว ถ้าไม่รู้ แต่ขณะใดที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
ทำไมใช้คำว่า “สิกขา” สิกขาเป็นภาษาบาลี ภาษาไทยก็คือ “ศึกษา” ธรรมไม่ใช่เพียงฟัง แต่เพื่อประพฤติปฏิบัติตาม สามารถเข้าถึงประโยชน์นี้ไหม เพราะว่าบางคนอยากจะศึกษาธรรม ตำรามากๆ รู้เยอะๆ ปัจจัยต่างๆ แต่ประพฤติปฏิบัติตาม หรือไม่ หรือว่าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามเลย เพราะไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม
เพราะฉะนั้นสิกขา อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ก็คือศึกษา ประพฤติหนทางที่เข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะไม่รู้ธรรม จึงเข้าใจว่า เราเกิด แล้วก็มีเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตมากมาย สุขบ้าง ทุกข์บ้าง แล้วเราตาย แต่ไม่รู้เลยว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเลย นอกจากจิต เจตสิก ซึ่งเป็นธาตุ ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องสืบต่อตามเหตุตามปัจจัยที่จะให้เกิดสิ่งที่เราเข้าใจว่า เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเหตุการณ์ต่างๆ โดยไม่รู้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480