พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
ตอนที่ ๔๗๙
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วไม่มีใครเลย นอกจากจิต เจตสิกซึ่งเป็นธาตุ ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องสืบต่อตามเหตุตามปัจจัยที่จะให้เกิดสิ่งที่เราเข้าใจว่า เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเหตุการณ์ต่างๆ โดยไม่รู้
เพราะฉะนั้นที่ไม่ลืมก็คือว่า ไม่ใช่ฟังธรรมเพียงเพื่อเข้าใจ ไม่พอค่ะ ไม่ใช่พุทธประสงค์เพียงฟังให้เข้าใจ แต่สิกขาจริงๆ คือ การประพฤติปฏิบัติตาม อย่างปาติโมกขสังวรศีล ๒๒๗ ข้อ ศึกษาเพื่อให้รู้ หรือเพื่อประพฤติปฏิบัติตาม
เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นประโยชน์ของสิกขาบทแต่ละข้อโดยนัยของพระวินัย ก็จะทำให้มีศรัทธาที่จะประพฤติปฏิบัติตามฉันใด ขณะนี้ได้ฟังว่า เป็นธรรม มีศรัทธาที่จะเข้าใจถูก เห็นถูกโดยการฟัง และพิจารณาไตร่ตรอง ไม่มีการอยากรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมเมื่อไร หรือเดี๋ยวนี้ หรือหวังรอ แต่ขณะใดที่ฟังก็รู้ว่า ละคลายความไม่รู้ เพราะไม่ได้ฟัง จนกว่ากำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรมเป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา ก็จะรู้ความต่างกันว่า ศีลทั่วๆ ไป ไม่ใช่ศีลที่เป็นอธิศีลสิกขา เพราะว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ หรือแม้ความสงบของจิต หรือแม้ปัญญา ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ก็เป็นเพียงปริยัติ แต่ยังไม่ถึงสิกขา คือ ประพฤติปฏิบัติตามสามารถเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมได้
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด ไม่ต้องสงสัยโดยนัยใดๆ ทั้งสิ้น
อ.กุลวิไล ช่วงแรกดิฉันก็กราบเรียนท่านอาจารย์ ข้อความตอนท้ายที่ท่านกล่าวว่า เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมข้อใด เรื่องใด หรือแม้แต่คำใด ก็เป็นสิ่งที่ประมาทไม่ได้ เพราะเหตุว่าความลึกซึ้งของธรรมมากมหาศาล เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถรู้ความจริงของสภาพธรรมได้ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดง ความไม่ประมาท และความไม่เผินก็คือ แม้แต่คำว่า “นี้ทุกข์” มีใครรู้บ้างไหมคะว่า “นี้” คืออะไร แค่ ๒ คำนี้ ได้ยินคำว่า “ทุกข์” ไม่มีใครไม่เคยรู้จักคำว่า “ทุกข์” แต่พอถึงคำว่า “นี้ทุกข์” นี้ คืออะไร อยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้มี หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมเลย จะตอบได้ไหมว่า “นี้” อยู่ที่ไหน “นี้” คืออะไร แต่เมื่อฟังแล้ว ขณะนี้ ขณะนี้ ไม่ใช่ขณะอื่น เพราะฉะนั้น “นี้ทุกข์” ต้องเป็นในขณะนี้ หรือเปล่า หรือว่าเป็นขณะอื่น ต้องเป็น “นี้” คือ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ และขณะนี้อะไรเป็นทุกข์ ไม่เห็นมีใครเป็นทุกข์ ทุกคนก็หน้าตาสบายดี แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย นั่งอยู่ที่นี่ แต่พระธรรมที่ตรัสว่า “นี้ทุกข์” และขณะนี้มีอะไรที่เป็นทุกข์ ถ้าไม่ศึกษาจะไม่ทราบเลยว่า ความจริงก็คือสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้มี หรือเปล่า
ก่อนอื่นขณะนี้มีอะไรที่มีจริงๆ ในขณะนี้ จึงจะกล่าวได้ว่า “นี้” คือ สิ่งนั้นแหละ คือ สิ่งที่มีจริงนั้นแหละเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นก่อนอื่นก็จะต้องทราบว่า การฟังธรรมเพื่ออะไร เพื่อให้รู้ถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ไปพูดเรื่องอื่นที่ไม่มีในขณะนี้ และไม่ได้ปรากฏ แต่เดี๋ยวนี้เองมีสิ่งซึ่งมีจริงๆ กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรม คือ ให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ เพื่อมีความเห็นที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น “นี้ทุกข์” ตอบได้ หรือยังว่า ขณะนี้อะไรเป็นทุกข์ “นี้ทุกข์” สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ คือ เห็น มีจริงๆ ยากที่ใครจะเห็นว่า เห็นขณะนี้เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ คำใดที่ทรงแสดง เป็นความจริงของสิ่งนั้น ซึ่งไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นจากคำที่ได้ตรัสไว้ ก็แสดงว่า บุคคลผู้ตรัสไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เมื่อเป็นผู้ทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ แล้วคนอื่นไม่สามารถรู้ได้ จึงทรงแสดงความจริงให้เข้าใจสิ่งที่มีตามความเป็นจริง ยากไหมคะ ประมาทได้ไหมว่า เรารู้แล้ว ไม่ได้เลย แม้แต่เพียงฟังให้เข้าใจว่า “นี้ทุกข์” ก็ต้องละเอียด ฟังแล้ว ขณะนี้มีเห็น “นี้ทุกข์” คืออะไรเป็นทุกข์ เห็นเป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
กว่าใครจะเข้าใจแม้แต่คำที่ตรัสไว้ในอริยสัจ ซึ่งทุกคนก็ผ่านอริยสัจ ๔ อริยสัจจะที่ ๑ คือ ทุกข์ แม้แต่ทุกข์จริงๆ ก็ไม่รู้ว่า หมายความถึงเดี๋ยวนี้ สภาพธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่คือทุกขอริยสัจจะ
เพราะฉะนั้นไม่ใช่ใครคิดจะแปล หรือคิดจะเดา หรือคิดจะเข้าใจความหมาย โดยที่ไม่ศึกษาโดยละเอียด แต่ต้องเคารพในพระธรรมอย่างยิ่ง สิ่งที่ทรงแสดงฟังแล้วพิจารณาว่า จริง หรือเปล่า ถูกไหม มีใครปฏิเสธว่า ขณะนี้ไม่มีเห็น ในขณะที่กำลังเห็น เห็นมีแน่นอน เพราะฉะนั้นเห็น คือ “นี้เห็น” เห็นนี้แหละเป็นเห็นเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรมจริงๆ ก็คือเมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ถ้าเป็นเรา ก็ยังไม่ได้เข้าใจธรรม ถ้าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ยังไม่ได้เข้าใจธรรม แต่สิ่งที่เคยเป็นเรา เป็นเขา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งสามารถจะปรากฏตามความเป็นจริงให้รู้ได้แต่ละทาง มีสิ่งที่มีจริงๆ ปรากฏให้พิสูจน์ให้เข้าใจได้ ไม่ได้หมายความว่า เราไปพูดถึงสิ่งที่ไม่จริง และสิ่งที่มีจริงทนต่อการพิสูจน์ มีใครเห็นตลอดเวลาบ้าง ขณะที่ได้ยินไม่เห็น และจิตเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้น ๑ ขณะ เป็นธาตุรู้ ๑ สิ่งที่จิตกำลังรู้ ขณะที่กำลังเห็น จะมีสิ่งอื่นปรากฏไม่ได้เลย นอกจากสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นเท่านั้น ในขณะที่เสียงปรากฏ จะมีอย่างอื่นปรากฏไม่ได้ นอกจากเสียงที่กำลังปรากฏให้ได้ยินเท่านั้น
เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เพราะเกิดขึ้นสั้นมาก แล้วก็หมดไป ได้ยิน สั้นไหมคะ หมดแล้ว เห็นขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน เพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรมที่จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ แล้วก็รู้เพียงสิ่งหนึ่ง สิ่งที่จิตรู้ใช้คำว่า “อารัมมณะ” หมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็แล้วแต่ทั้งหมด ขณะนั้นจิตรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นก็เป็นอารัมมณะ หรือภาษาไทยใช้ว่า “อารมณ์ของจิต”
แสดงให้เห็นว่า พระธรรมที่ทรงแสดงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง “สังขาร” ไม่ได้หมายความถึงร่างกายอย่างเดียว อย่างที่เคยเข้าใจกัน แต่สังขารหมายความถึงธรรมทุกอย่างที่เกิดเพราะมีปัจจัย จึงเกิดได้ เมื่อเกิดแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง คือ สภาพธรรมใดก็ตามที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง คือ สิ่งนั้นไม่เที่ยง ไม่ต้องไปหาความไม่เที่ยงที่อื่นเลย ความไม่เที่ยงของสิ่งที่กำลังปรากฏนี้แหละ ที่จะต้องอบรมจนกระทั่งปัญญาสามารถเห็นทุกข์ คือการเกิดดับ ซึ่งไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมในครั้งแรกก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เข้าใจว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังนั้นถูกต้องไหม แล้วเมื่อเข้าใจถูกต้องแล้วจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไหมคะ เป็นไปไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็เพื่อให้เข้าใจมั่นคงขึ้นในแต่ละคำที่ตรัส เช่น ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็เริ่มเข้าใจว่า ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นได้เลย ต่อเมื่อมีปัจจัยเหมาะควรแก่สิ่งใดที่จะเกิด สิ่งนั้นก็เกิด เกิดแล้วก็ดับไป
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้เป็นทุกข์ อย่างเห็น คือ จิต จิตเกิดขึ้นต้องรู้แจ้งอารมณ์ แต่เราจะยึดถือเห็นว่าเป็นเราค่ะ แม้ความเห็นถูกที่จะเห็นว่า จิตไม่ใช่เรานั้นอย่างไรคะ
ท่านอาจารย์ จิตไหนไม่ใช่เรา
อ.กุลวิไล ส่วนใหญ่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรมก็ย่อมจะยึดถือจิตที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นจิตเห็น หรือจิตได้ยินว่า เป็นเรา นี่คือไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก่อนฟังพระธรรม มีเรา และถ้าไม่มีธรรม คือ เห็น จะมีเราเห็นไหม
อ.กุลวิไล ไม่มี
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีธรรมที่เกิดได้ยินเสียง จะมีความเข้าใจว่าเป็นเราได้ยิน หรือเปล่า เพราะฉะนั้นเมื่อมีสภาพธรรมซึ่งเกิดแน่นอนจึงปรากฏได้ แต่เพราะไม่รู้ ก็ยึดถือธรรมทั้งหมดนั้นว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เห็นดอกไม้ เห็นคน เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ได้เข้าใจถูกต้องว่า ก่อนที่จะเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้องเป็นเห็นก่อน และเห็นก็ไปเห็นเสียงไม่ได้ ไปเห็นกลิ่นไม่ได้ เห็นได้เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นในขณะนี้ทางตาเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นความจริงของแต่ละอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะคิดไม่ใช่ขณะเห็น เพราะว่าจิตเกิดขึ้นคิดแล้วดับไป จิตเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไป จิตเกิดขึ้นได้ยินแล้วดับไป เพราะฉะนั้นตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ก็คือจิต เจตสิก และรูป
อ.กุลวิไล จะเห็นได้ที่ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์เบื้องต้นของการรู้ธรรมตามความเป็นจริง ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้เมื่อวานนี้ว่า คือการฟังพระธรรมที่จะให้มีความเห็นถูกในธรรมที่เป็นจริง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ก็จะไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้
ท่านอาจารย์ แต่ละคำก็ต้องละเอียด แม้แต่คำว่า “พรหมจรรย์” เราได้ยินคำว่า “จรรย์” ในภาษาไทย จริยะ ความประพฤติ ความเป็นไป พรหม บางคนอาจจะเข้าใจว่า เป็นพระพรหมเท่านั้น แต่จะเป็นอะไรก็ตามแต่ ความหมายของ “พรหม” ก็คือประเสริฐ
เพราะฉะนั้นความเป็นไป หรือความประพฤติที่ประเสริฐในชีวิตคืออะไร ขณะใดที่กระทำทุจริต ไม่ประเสริฐแน่ แต่ถ้าขณะใดก็ตามที่กุศลธรรมประเภทหนึ่งประเภทใดเกิดขึ้น เป็นธรรมที่ประเสริฐ เพราะฉะนั้นบางครั้งจะทรงแสดงความกว้างของพรหมจรรย์ ทานก็เป็นพรหมจรรย์ ศีลก็เป็นพรหมจรรย์ และพรหมจรรย์สูงสุด คือ การอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะว่าเกิดมาแล้ว ก็ไม่รู้ว่า เกิดเพราะอะไร แล้วบางคนก็ถามว่า เกิดมาทำไม คือ ไม่รู้อะไรสักอย่าง ทั้งๆ ที่เกิดแล้ว ก็คือเกิดแล้วต้องเป็นไป คือเกิดแล้วต้องเห็นบ้าง ต้องได้ยินบ้าง ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ต้องคิดนึก วันหนึ่งๆ เป็นอย่างนี้ หรือว่ามากกว่านี้ นอกจากเห็น นอกจากได้ยิน นอกจากได้กลิ่น นอกจากลิ้มรส นอกจากรู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ชั่วขณะสั้นๆ เล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมด รวมกันแล้วก็เป็นชีวิตในวันหนึ่งๆ แล้วก็คิดนึกเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้นๆ เป็นเรา หรือเปล่า และนอกจากนี้มีอะไรอีก ลองหาดูซิคะ แต่เพราะมีสิ่งเหล่านี้โดยไม่รู้ ทั้งหมดเลยเป็นเรา
เพราะฉะนั้นการที่เกิดมาแล้ว ความประพฤติเป็นไปในขั้นทาน ในขั้นศีล ก็ยังกระทำไปด้วยความไม่รู้ความจริงของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ก็คือการสามารถอบรมเจริญความเห็นถูกต้องในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ มิฉะนั้นก็ไม่ฟังพระธรรม ฟังเพื่ออะไรคะ เพื่อรู้ว่า
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทุกขณะของชีวิต เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นกุศลที่จะทำให้กุศลทั้งหลายเจริญขึ้น ถ้ามีปัญญาเห็นถูกต้องแล้วจะทำอกุศลไหมคะ ก็ไม่ทำ เพราะฉะนั้นปัญญาจะนำมาซึ่งกุศลทุกประการด้วย
อ.ประเชิญ เมื่อวานท่านอาจารย์ก็ให้ความเข้าใจแล้วว่า เบื้องต้นของพรหมจรรย์ หรืออธิพรหมจรรย์ ซึ่งสำนวนแปลก็มีหลากหลายความหมาย แต่โดยอรรถแล้วก็คือสิ่งเดียวกัน คือ สิ่งที่เป็นเบื้องต้นของการประพฤติประเสริฐ การประพฤติมรรคพรหมจรรย์ หรือการประพฤติมรรคเพื่อความเป็นผู้ประเสริฐ เบื้องต้นก็ต้องฟังสิ่งที่ถูกต้องก่อน
ถ้าไปฟังเรื่องอื่น ศาสตร์อื่นๆ เรื่องโลก เรื่องจักรวาล เรื่องเดรัจฉานกถาทั้งหลาย ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ทำให้ไม่เข้าใจตรงตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงความจริงที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว ทำให้สัตว์อื่นทั้งหลายได้รู้ความจริง เพราะผู้ที่รู้ความจริง คือ อริยสัจทั้ง ๔ เป็นพระอริยบุคคล เป็นผู้ประเสริฐ เพราะฉะนั้นเมื่อได้ฟังสิ่งที่ตรง และถูกต้องที่ไม่แปรผัน เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้นั้นก็จะเข้าถึงความประเสริฐ คือความเป็นพระอริยะ
ดังนั้นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ที่ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจแล้วว่า การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จริงอยู่ในบางนัย บางท่านไม่มีพื้นฐานในเรื่องความประพฤติดีทางกาย ทางวาจา พระผู้มีพระภาคก็จะทรงแสดงว่า ศีลเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ในเพศของบรรพชิต นั่นคือการแสดงเบื้องต้นในระดับของความประพฤติ แต่ก่อนที่จะเป็นผู้ประพฤติดีในขั้นศีล ก็ต้องได้ยินได้ฟังสิ่งที่ตรง และถูกต้องก่อน ถึงจะประพฤติปฏิบัติตรง และสมควรทางกาย ทางวาจา
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะประพฤติตามพระวินัย หรือขั้นศีลได้ตรง และถูกต้อง ผู้นั้นก็จะต้องศึกษา ถ้าไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ศึกษาพระธรรมวินัย ผู้นั้นก็จะปฏิบัติตรงไม่ได้
ดังนั้นการฟังจึงเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ถ้าขาดการฟังแล้ว ความประพฤติที่ดีที่ตรง ที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์เรื่องทุกข์
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มีค่ะ
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นทุกข์
ผู้ฟัง จริงๆ แล้ว สภาพธรรมที่ปรากฏ แล้วที่ฟังบรรยายมา ความหมายของทุกข์ก็คือ ความไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่อย่างจิตเห็น เป็นผลของกรรม เป็นชาติวิบาก แล้วทำไมถึงทุกข์
ท่านอาจารย์ จิตเห็น เกิด หรือเปล่า
ผู้ฟัง จิตเห็นเกิด
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ทุกคนกำลังเห็น แต่ลืมว่า ที่จิตเห็นขณะนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นจึงเห็น เห็นดับไหมคะ
ผู้ฟัง เห็นก็หมดไป
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่ปรากฏเพียงชั่วคราว ชั่วคราวนี่สั้นที่สุดเลยนะคะ เพียงแค่เห็นนิดเดียวแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรเร็วเท่าจิตที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปขณะนี้นับไม่ถ้วน และเป็นจิตประเภทต่างๆ ด้วย แต่ก็ไม่รู้เลยว่า เป็นจิตอะไรบ้าง ถ้าไม่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เพราะแม้กล่าวไว้ว่า ขณะนี้จิตเห็น ก็ยาก เพราะเคยเป็นเราเห็น แล้วจะเป็นจิตเห็น ไม่ใช่เรา เพราะว่าความจริงแล้ว ที่กล่าวว่า เห็น ก็คือกำลังมีสิ่งที่ปรากฏ และรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอย่างนี้ ถูกต้องไหมคะ กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ และรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏ คือ เห็นแจ้งในสิ่งที่ปรากฏว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ นั่นคือจิต เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นทางหู เสียงเป็นอย่างนี้ จิตกำลังรู้แจ้งเสียงนี้ ซึ่งเป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้นขณะนั้นที่กำลังรู้ คือ จิต เพราะฉะนั้นแม้จะพูดว่าจิต ทุกคนมีจิต แต่ก็ยากที่จะเข้าใจได้ว่า จิตไม่ใช่เรา แล้วก็เป็นเพียงธาตุ หรือสภาพธรรมซึ่งเมื่อมีปัจจัยเกิด ทำหน้าที่ที่เป็นหน้าที่เฉพาะของจิตนั้น แล้วก็ดับไป เล็กน้อยมาก นั่นคือความหมายของทุกข์
เพราะฉะนั้นกำลังฟังเรื่องทุกข์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ทุกข์ไม่ได้หมายความถึงความรู้สึกซึ่งเป็นทุกข์ เช่น เสียใจ หรือเจ็บปวด ไม่สบายใจ ไม่สบายกาย ไม่ใช่อย่างนั้นค่ะ แต่หมายความถึงทุกอย่างซึ่งเกิดขึ้น แล้วไม่เที่ยงเลย เพียงปรากฏชั่วคราว เล็กน้อยมาก แต่เพราะความรวดเร็วจึงไม่รู้ว่า เกิดแล้วดับแล้ว อยู่ตลอดเวลา ก็ทำให้เข้าใจว่า สิ่งนั้นเที่ยง
เพราะฉะนั้นก็อยู่ในโลกของการเห็น และไม่รู้ความจริงว่า สิ่งที่ปรากฏก็ดับ จิตที่เห็นก็ดับ เพราะเหตุว่าเกิดดับสืบต่อจนกระทั่งเป็นนิมิต เป็นรูปร่างสัณฐาน
เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ ก็เข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เขาก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้นไม้ใบหญ้าก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นถ้าทุกข์เป็นสิ่งที่รู้ง่าย จะต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะแทงตลอดถึงการประจักษ์การเกิดดับเป็นพระอริยบุคคล ดับความสงสัยในธรรมที่ได้ยิน ที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดดับ เพราะว่าได้ประจักษ์ความจริงนั้นด้วยตัวเอง
เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่จริง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น และสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏว่า ไม่เป็นอย่างอื่นเลย เป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้นไม่ใช่หมายความว่า ทุกคนรู้จักทุกข์ แทงตลอดทุกข์ ประจักษ์แจ้งทุกข์ แต่เริ่มเข้าใจว่า ทุกข์หมายความถึงความไม่เที่ยง สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เพียงเกิดขึ้นแล้วดับไป และไม่ใช่ของใครเลย มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เป็นของใคร หรือเปล่า แค่เห็น
มีสิ่งที่ปรากฏให้ได้ยินเป็นเสียงต่างๆ เป็นของใคร หรือเปล่า แค่ได้ยินแล้วก็หมด
ตลอดชาติเป็นอย่างนี้ค่ะ
ผู้ฟัง ถ้าความหมายของทุกข์เป็นอย่างนี้ แล้วเข้าใจ และมีปัญญารู้ว่า ทุกข์เป็นเช่นนี้ก็ไม่ทุกข์ซิคะ
ท่านอาจารย์ ปัญญาไม่เป็นทุกข์ เพราะปัญญารู้ความจริง แต่ขณะใดที่ไม่ใช่ปัญญา เราเป็นทุกข์ เพราะเข้าใจว่า เห็นเป็นเรา ได้ยินเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา อยากจะได้สิ่งที่ปรากฏทางตา อยากจะได้เสียง อยากจะได้กลิ่น เมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์ที่ไม่ได้ โดยไม่รู้ความจริงว่า ทุกอย่างไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย ไม่มีใครสามารถสร้างธรรมหนึ่งธรรมใดให้เกิดขึ้นได้เลย เพราะมีปัจจัยเกิดแล้วทั้งหมดในขณะนี้
ผู้ฟัง วัตถุประสงค์ของการเข้าใจว่าทุกข์ อยู่ตรงไหน เพราะจริงๆ แล้วถ้าปัญญารู้ และเข้าใจว่า ทุกสิ่งเป็นธรรม เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป แล้วก็ไม่เที่ยง และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย คือในความรู้สึกว่าไม่ใช่ทุกข์
ท่านอาจารย์ ค่ะ คุณสุกัญญาเกิดมาแล้วไม่เคยมีทุกข์ หรือมีบุคคลซึ่งเป็นที่รัก มีของซึ่งเป็นที่รักพลัดพรากจากไป หรือประสบ หรือประจวบพบคนที่ไม่รัก ไม่ชอบใจ เคยมีไหมคะในชีวิต
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 421
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 422
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 423
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 424
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 425
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 426
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 427
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 428
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 429
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 430
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 431
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 432
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 433
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 434
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 435
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 436
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 437
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 438
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 439
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 440
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 441
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 442
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 443
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 444
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 445
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 446
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 447
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 448
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 449
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 450
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 451
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 452
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 453
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 454
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 455
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 456
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 457
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 458
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 459
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 460
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 461
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 462
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 463
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 464
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 465
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 466
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 467
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 468
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 469
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 470
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 471
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 472
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 473
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 474
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 475
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 476
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 477
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 478
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 479
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 480